ความสำเร็จกับพื้นที่ยุทธศาสตร์ ![]() ในสงครามและการรบ การที่จะพิจารณาว่าฝ่ายใดมีโอกาสชนะมากกว่ากันนั้น พื้นที่ยุทธศาสตร์จัดเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่จะถูกหยิบยกมาพิจารณา ฝ่ายใดได้ครอบครองพื้นที่ยุทธศาสตร์ก็ถือว่าได้เปรียบ และมีโอกาสชนะมาก ที่เหลือจึงประกอบด้วยปัจจัยอื่น ผมเชื่อว่าคนไทยหลายคนชื่นชมความสำเร็จของประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ แต่ก็ไม่ได้นึกรวมเอาพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ดีเข้าไปไว้ในปัจจัยของความสำเร็จด้วย มุ่งเชิดชูด้านความสามารถของคนกันอย่างเดียวซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง แม้คนของสิงคโปร์จะมีคุณภาพ แต่ก็มีปัจจัยหลายอย่างประกอบให้มันเป็นอย่างนั้น โดยมีเรื่องพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางการค้าเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่ง โลกยุคก่อน พื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญจะเกี่ยวกับการสงคราม การคอบครองพื้นที่สูงจะได้เปรียบผู้ครอบครองพื้นที่ต่ำ แต่ในปัจจุบัน ยุคที่โลกมุ่งทำการค้ามากกว่าสงคราม การครอบครองพื้นที่ต่ำและลาบลุ่มจะได้เปรียบผู้ที่ครอบครองพื้นที่สูงและเป็นที่ดอน ![]() พื้นที่ยุทธศาสตร์ของสิงคโปร์ (ซึ่งเดิมเป็นของสุลต่านรัฐยะโฮ -ใต้สุดของมาเลเซีย) นั้นจะเกี่ยวข้องกับการค้าในลักษณะของเมืองท่า เพราะเป็นเกาะที่ขบวนเรือการค้าต่างๆ ต้องแล่นผ่านเพื่ออ้อมแหลมลายู เกาะแห่งนี้จึงเป็นเมืองท่าทางการค้ามายาวนานแล้ว ยิ่งในภายหลังเซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด ราฟเฟิล ชาวอังกฤษได้ทำสนธิสัญญาเช่าเกาะจากสุลต่านยะโฮ เพื่อประโยชน์ทางการค้าของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ก็ยิ่งทำให้เกาะสิงคโปร์นั้นเจริญรุดหน้า (เกาะสิงคโปร์นั้นเดิมมีชื่อมาจากภาษาญี่ปุ่นว่า เทมาเสค ที่แปลว่า เมืองทะเล) ในทางกลับกัน ผมอยากจะยกตัวอย่างประเทศที่ค่อนข้างเสียเปรียบประเทศอื่นๆ เพราะมีชัยภูมิที่ไม่ดีนัก คือประเทศลาว ซึ่งที่จริงแล้วชัยภูมิของประเทศลาวนั้นไม่ได้เลวร้ายอะไร แต่เผอิญไปถูกแบ่งแยกด้วยลักษณะทางการเมืองให้กลายเป็นรัฐหรือประเทศที่ไม่ติดทะเล และถูกห้อมล้อมด้วยประเทศอื่นๆ อีก 4 ประเทศ คือ ไทย จีน เวียดนาม และกัมพูชา มองเผินๆ อาจจะเหมือนดีที่แวดล้อมไปด้วยประเทศที่มีอนาคตทางการค้าอย่างน้อย 2 ประเทศ และ1 ประเทศที่น่าจะเป็นมหาอำนาจทางการค้าได้ในอนาคต แต่กลับมีข้อเสียก็คือ ประเทศลาวจะต้องพึ่งพิงเฉพาะ 4 ประเทศแวดล้อมนี้ การทำการค้าขายกับประเทศอื่นๆ จะทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยผ่านประเทศเพื่อนบ้านอันจะทำให้ต้องเพิ่มต้นทุนทางภาษีและการเดินทาง(ทางรถ ก่อนไปลงเรือ) จากพื้นที่ทางยุทธศาสตร์เช่นนี้ ทำให้ลาวมีความเสียเปรียบอันเกิดจากพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่ไม่ดีนัก ถ้าเป็นยุคสมัยก่อน ก็คงต้องแก้ด้วยการรบแล้วหาทางเปิดช่องออกทะเล แต่ปัจจุบันคงจะทำแบบนั้นไม่ได้แล้ว ลาวจึงยังคงแก้ปัญหาไม่ตก นอกจากนี้ผมอยากจะขอลองยกประโยชน์จากพื้นที่ยุทธศาสตร์ขึ้นมาอีกหนึ่งตัวอย่างที่คล้ายกับสิงคโปร์ ก็คือประเทศปานามา ซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ ที่อยู่ในช่วงคอคอดระหว่างทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ซึ่งคอคอดนี้ทำให้การเดินทางระหว่างสองมหาสมุทร คือ มหาสมุทรแปซิฟิก ในฝั่งซ้าย กับมหาสมุทรแอตแลนติก ในฝั่งขวา เป็นไปได้ยาก ต้องเดินทางอ้อมมหาสมุทรเลยทีเดียว การที่ประเทศปานามา ตัดสินใจขุดคลองปานามา เพื่อสำหรับให้เรือสินค้าแล่นผ่านไปได้ จากนั้น ประเทศปานามา และคลองปานามา จึงกลายเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางการค้า(แบบเมืองประตูหน้าด่าน)ทันที ที่กล่าวมานี้ ยังไม่รวมถึงพื้นที่ยุทธศาสตร์ในลักษณะของทรัพยากรธรรมชาติ ที่ทำให้ประเทศที่ครอบครองแหล่งขุดน้ำมันได้เจริญก้าวหน้าจากน้ำมันอย่างเดียวดังที่ทราบๆ กันในหลายๆ ประเทศ การได้ครอบครองพื้นที่ยุทธศาสตร์จึงเกี่ยวข้องกับความได้เปรียบ-เสียเปรียบในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก แม้ว่าบุคลิกและความสามารถของคนในชาติจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญก็ตาม และที่จริงแล้ว ประเทศไทยเราจัดเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดีประเทศหนึ่ง เพราะมีอาณาเขตอยู่ตรงกลางของแหลมสุวรรณภูมิ และมีพื้นที่ติดทะเลทั้งสองฝั่งคือ มหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก แต่ผมก็รู้สึกว่าเรายังพัฒนาประเทศได้ไม่ดีนักทั้งๆ ที่เรามีพื้นที่ชัยภูมิที่ดีมาก อาจเรียกได้ว่าดีที่สุดในประเทศแถบนี้ก็ว่าได้ ซึ่งก็หวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นต่อไปในอนาคตครับ หวังว่าวันหนึ่งเราคงได้หยิบเรื่องคอคอดกระมาพิจารณาอย่างจริงจังอีกครั้ง หรือคิดหายุทธ์ศาสตร์ป้องกันปัญหาความมั่นคง ตามที่ฝ่ายทหารกลัวเกรงกันอยู่ แต่ก็คิดว่าคงไม่ง่าย เพราะเท่ากับประเทศสิงคโปร์จะลำบากเลยทีเดียวถ้าไทยเราทำแบบนั้น
เรื่องนี้คงต้องรอกันอีกนานทีเดียวครับ โดย: Jimmy Walker
![]() |
บทความทั้งหมด
|
ผมคิดว่าน่าจะทำคอคอดกระมาได้ตั้งนานแล้วอ่ะ
แต่คิดว่าปัญหาการเมืองในปัจจุบันนี้ คงมีความหวังน้อยมากๆ ไม่นับปัญหาการเมืองภายนอกประเทศไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงค์โปร์ เขาคงไม่ปล่อยให้เราทำง่ายแน่ๆ คงมีการกีดกันแทรกแซงทางการเมืองอีกเยอะ มาเลเซียก็เกี่ยวกับโจรใต้ แบ่งแยกศาสนาและดินแดน สิงค์โปรก็มีทุนหนา และศักยภาพทางเศรฐกิจเติบโตใหญ่กว่าไทยมาก คงมีนักการเมื่องหลายคนพร้อมที่จะรับเงินเพื่อช่วยเหลือไม่ให้โครงการนี้เกิดขึ้น อีกทั้งการพรรคการเมืองทางภาคใต้ก็ผูกขาดพรรคเดียว และมีแนวโน้มว่าจะเป็นแต่ฝ่ายค้าน คงยากที่จะผลักดันโครงการให้สำเร็จอะครับ