ทริปวงกลมภาคเหนือ 11 วัน ตอนที่ 1 : แพะเมืองผี วัดพระธาตุแช่แห้ง วัดช้างค้ำ วัดภูมินทร์ น่าน


ขับผ่านแถวเด่นชัย เห็นท้องฟ้าสวยดี แต่ถนนช่วงพิษณุโลก เด่นชัย บางช่วงไม่ดี กำลังขยายถนน ต้องขับรถด้วยความระมัดระวังด้วยนะคะ





ก่อนเข้าน่าน ผ่านแพร่ เลยแวะดูแพะเมืองผีหน่อย จริงๆแล้วอยากแวะพระธาตุช่อแฮ ด้วยแต่สมาชิกหลับกันในรถเลยได้แวะแค่แพะเมืองผีเท่านั้น เสียดายเหมือนกัน





แพะเมืองผี

อยู่บนเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูกกัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆประวัติความเป็นมา วนอุทยานแพะเมืองผี เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักบริหาร จัดการในพื้นที่อนุรักษ์ 13 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้มีการประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2524 มีเนื้อที่ 167 ไร่ เป็นสถานที่มีความสวยงามด้าน ธรณีวิทยา หน้าผา เสาดิน และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ..........."แพะเมืองผี " มีตำนานเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ ความลี้ลับจนเป็นความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่บรรพบุรุษได้เล่าสืลต่อกันมาว่า มียายชราคนหนึ่ง เข้าไปในป่าถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้พบหลุมเงินหลุมทองยายชราพยายามจะเอาเงิน เอาทองใส่หาบกลับบ้าน แต่เทพยาดาอารักษ์ไม่ให้เอาไปเพียงแต่เอาอวดให้เห็นเท่านั้น พอไปตามชาวบ้านมาดูก้พบแต่รอบเท้า หาบเงิน หาบทอง หายไป ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่นี้ว่า "แพะเมืองผี"

การเดินทาง

ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำชำ ใช้เส้นทางหลวงสายแพร่ - น่าน ทางหลวงหมายเลข 101 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าไปอีก 6 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ ประมาณ 15 กิโลเมตร

ที่มา : //www.phrae.go.th/Tourist/Maeung-paemeaungpee.htm







แดดแรงมั่กๆๆ










































ถึงน่านตอนบ่ายๆ เช้าเช็คอินที่ศศิดารารีสอร์ท น่าน ก่อนจะออกไปเที่ยวที่วัดพระธาตุแช่แห้งกัน






พระธาตุแช่แห้ง

ประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ ๓ กิโลเมตร องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ เป็นสีทองสุกปลั่ง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง ๒ เส้น เป็นอนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัย ในอดีต ที่เชิงเนินปูด้วยอิฐ ลาดขึ้นไปยังยอดเนิน กว้างประมาณ ๒๐ วา มีบันไดนาคขนาบทั้งสองข้าง องค์พระเจดีย์เป็นแบบลานนาไทย ฐานเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกันขึ้นไปจนสูง ใช้แผ่นทองเหลืองบุรอบฐาน แล้วลงรักปิดทอง

จากพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า พระยาการเมือง เจ้านครน่านได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากกรุงสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับสรงน้ำที่ริมฝั่ง แม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก ที่บ้านห้วยไค้ และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้นไปแช่น้ำก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปที่นี่จะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน จึงเรียกพระสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ว่า พระธาตุแช่แห้ง

ที่มา : //www.heritage.thaigov.net/religion/pratat/index10.htm


























อิทธิฤทธิ์ของ 10-22 เล่นเอามึน .. ไหงมันลู่ได้ขนาดนี้เนี่ย







ใช้เวลาอยู่ที่นี่กันพอสมควร



































จากจุดนี้มองลงไปเห็นเมืองน่านสวยเลยล่ะ







อีกวันเป็นวันสงกรานต์เลยเที่ยวเล่นน้ำในเมืองน่านกัน






ตอนไปเที่ยวเป็นวันสงกรานต์ที่กรุงเทพวุ่นวายมาก น่านเองก็มีการชุมนุมของคนเสื้อแดงอยู่ตรงข้ามวัดภูมินทร์เลยด้วยซ้ำ หวั่นๆอยู่เหมือนกัน







ขนาดเป็นงานใหญ่ประจำปี ยังดูจุ๋มจิ๋มน่ารักดี







พวกเราเองก็เดินเล่น และเล่นน้ำอยู่แถวนี้เหมือนกัน










วัดช้างค้ำวรวิหาร

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ถนนสุริยพงษ์ ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1949 เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091
ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) รอบฐานองค์พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือก และที่มุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ “ค้ำ” องค์เจดีย์ไว้ ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย และภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดยืนปางประทานอภัย อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางประทานอภัยที่วัดราชธานี จังหวัดสุโขทัย พระประธานเป็นปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสน ฝีมือสกุลช่างน่านที่มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งของเมืองน่าน

ที่มา : //travel.ohpicpost.com/thread-1127-1-1.html














พระธาตุช้างค้ำ






ถ่ายจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่าน







คุ้มเจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน)

ตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อ.เมือง จ.น่าน ลักษณะเป็นบ้านสถาปัตยกรรมพื้นบ้านผสมผสานกับรูปแบบทางตะวันตกที่นิยมสร้างกันมากในสมัยร.5 ภายนอกตัวอาคารบ้านประดับด้วยลวดลายไม้ฉลุเป็นลายต่างๆ สวยงามมาก คุ้มเจ้าราชบุตร จากประวัติเจ้าราชบุตรหลังที่เห็นปัจจุบันนั้น เป็นหลังที่สร้างขึ้นใหม่ หลังเดิมนั้นสร้างขึ้นโดยเจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ กับเจ้าแม่ศรีโสภา เจ้ามหาพรหมสุรธาดาฯ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์สุดท้ายก่อนที่จะย้ายไปประทับที่หอคำ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านปัจจุบัน) การก่อสร้างคุ้มหลังเดิมสร้างปีท.ศ.2446 เป็นคุ้มที่พำนักจนถึง พ.ศ.2484 รวม 38 ปี ต่อมาเจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) พระโอรสของเจ้ามหาพรหมสุธาดาฯ ได้รื้อถอนคุ้มหลังเดิมและสร้างขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2484 คุ้มเจ้าราชบุตร สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2485 จวบจนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งสภาพในปัจจุบันนี้ค่อนข้างจะเก่า และทรุดโทรมตามกาลเวลา เนื่องจากขาดการดูแลรักษา (สัมภาษณ์เจ้าสมปรารถนา สุริยา เจ้าของบ้านเมื่อ 11 กันยายน 2540


ที่มา : //www.geocities.com/amazing_nan/nanc.html





ตอนที่ไปเป็นวันสงกรานต์ เลยไม่ได้เปิดให้เข้าชม แต่เห็นสภาพด้านนอกแล้วเศร้าใจเหมือนกันเพราะเก่าและทรุดโทรมมาก ถ้าไม่รู้ว่าเป็นคุ้มเจ้าราชบุตร ก็จะนึกว่าเป็นบ้านร้างแน่ๆ ที่นี่จะอยุ่ด้านหลังของวัดช้างค้ำเลยนะคะ






วัดภูมินทร์

อยู่ในอำเภอเมือง อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เป็นวัดที่มีลักษณะแปลกกว่าวัดอื่นๆ คือ โบสถ์และวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน ประตูไม้ทั้งสี่ทิศแกะสลักลวดลายงดงามโดยฝีมือช่างล้านนาไทย นอกจากนี้ ฝาผนังภายในวิหารยังมีจิตรกรรมฝาผนังแสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุคสมัยที่ผ่านมา ตามพงศาวดารของเมืองน่าน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้สร้างขึ้นหลังจากที่ครองนครน่านผ่านได้ 6 ปี มีปรากฏในคัมภีร์เมืองเหนือว่า เดิมชื่อ วัดพรหมมินทร์ ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้างวัด แต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ดังกล่าว







ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใคร เป็นหนึ่งเดียวในเมืองไทยคือ เป็นพระอุโบสถทรงจตุรมุขพระประธานจตุรพักตร์ นาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้กลางลำตัวนาคพระอุโบสถจตุรมุข กรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย ตรงใจกลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 4 องค์ หันพระพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศ หันเบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน ประทับนั่งบนฐานชุกชี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ผู้ที่ไปชมความงามของพระอุโบสถนี้ ไม่ว่าขึ้นบันไดไปทางทิศไหนจะพบพระพักตร์พระพุทธรูปทุกด้าน






วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2410 หลังจากที่สร้างมาได้ 271 ปี โดยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่านโปรดให้ซ่อมแซมครั้งใหญ่ แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2418 ใช้เวลาซ่อมแซมนานถึง 9 ปี กรมศิลปากรสันนิษฐานว่า ภาพจิตรกรรมฝาผนังคงจะวาดในสมัยที่ซ่อมแซมครั้งใหญ่นี้ สำหรับช่างผู้วาดนั้นไม่ปรากฏประวัติ ทราบแต่ว่าเป็นศิลปกรรมแบบชาวไทยลื้อ








งานจิตรกรรมฝาผนังแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ แสดงเรื่องชาดก วิถีชีวิตตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต ได้แก่ การแต่งกายคล้ายผ้าซิ่นลายน้ำไหล การทอผ้าด้วยกี่ทอมือ การติดต่อซื้อขายกับชาวต่างชาติ ซึ่งเป็น ภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเลื่องชื่อไปทั่วประเทศ


ที่มา : //www.hamanan.com/tour/nan/phumintemple.html









รูปวาดปู่ม่าน ย่าม่าน อันโด่งดัง






แสงน้อยจัด แถมไม่ได้ใช้แฟลชและขาตั้ง รูปสั่นระเบิด เบลอสนั่น







ชอบจิตรกรรมฝาผนังของชาวไทลื้อจังเลย ลายเส้น และการลงสีเป็นเอกลักษณ์ดี



















แวะทานอาหารเที่ยงที่ร้านเฮือนฮอม .... ร้านดังของที่นี่ และขอบอกว่าขนมจีนน้ำเงี้ยวอร่อยอย่างแรงงงจ้า














ขอบคุณที่แวะไปเที่ยวด้วยกันคะ ขอปิดเม้นท์ซักพักนะคะ



Create Date : 22 พฤษภาคม 2552
Last Update : 25 มกราคม 2553 12:12:41 น.
Counter : 4207 Pageviews.

0 comments
วัดพระธาตุเสด็จ อำเภอเมือง ลำปาง tuk-tuk@korat
(14 เม.ย. 2567 13:54:44 น.)
ระยองฮิสั้น จันทราน็อคเทิร์น
(12 เม.ย. 2567 15:33:48 น.)
ซ้งเย็นตาโฟ ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา พุทธมณฑลสาย 1 แมวเซาผู้น่าสงสาร
(11 เม.ย. 2567 10:45:53 น.)
สักการะองค์พญานาคใหญ่ที่สุดในไทย วัดถ้ำแจง เพชรบุรี นายแว่นขยันเที่ยว
(8 เม.ย. 2567 12:34:14 น.)

Jbunny.BlogGang.com

มาเรีย ณ ไกลบ้าน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 445 คน [?]

บทความทั้งหมด