10. เครื่องเล่นพัฒนาเด็ก ขณะอยู่ที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น พวกเราได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมสถานที่พัฒนาศักยภาพของเด็กหลายแห่ง อย่างเช่นที่ มุคุโนะคิ ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับเด็กพิการและเด็กที่มีพัฒนาการช้า มีปัญหาเรื่องความบกพร่องทางสติปัญญา สถานเลี้ยงดูเด็กที่มีความผิดปกติมีอยู่ประมาณ 250 แห่ง ซึ่งรองรับเด็กได้ 30-40 % เท่านั้น เด็กบางคนส่วนต้องไปอยู่ในสถานเลี้ยงเด็กธรรมดา บางคนอยู่ที่บ้าน ในเกียวโตมีเด็กที่ผิดปกติจำนวน 600 คน แต่มาอยู่ในสถานเลี้ยงดูเด็กที่มีความผิดปกติประมาณ 180 คน นับว่ายังไม่เพียงพอ ส่วนนักเรียนที่มุคุโนะคิมีราว 20 กว่าคน อายุตั้งแต่ 1 ปี 3 เดือน ไปจนถึง 5 ปี มุคุโนะคิต่างจากสถานรับเลี้ยงเด็กทั่วไปคือ มีการใช้หลักจิตวิทยาและคำนึงถึงสรีระวิทยาของระบบประสาทในการเลี้ยงดูเด็ก พร้อมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเฉพาะด้านของเด็กด้วย โดยให้ความช่วยเหลือเด็กโดยเริ่มจากการสร้างร่างกายที่แข็งแรง มีเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ ทำให้เด็กสามารถทำสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นในการใช้ชีวิต การพัฒนาเฉพาะด้าน เช่น ให้เด็กสามารถเคลื่อนไหวออกกำลังกายได้หลายท่า เช่น ยืดแขนไปข้างหน้าหลัง ซ้ายขวา, ใช้อุปกรณ์อย่างเช่นตุ๊กตาประกอบการเล่น, ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับร่างกายของตน, สามารถเลียนแบบผู้อื่นหรือเล่นสมมติ, ยอมรับคำแนะนำหรือคำสั่งจากผู้อื่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กมีความเข้าใจภาษาและสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ อาจารย์ชิบูย่า ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ของที่นี่ เล่าให้ฟังว่า นักเรียนยังเป็นเด็กเล็ก ระบบการเรียนการสอนจึงเน้นการเล่นเป็นสื่อหลัก โดยเน้นกิจกรรมกลุ่ม และกิจกรรมการเล่นให้เข้าถึงเด็กแต่ละคน อาจารย์ชิบูย่าพาชมอุปกรณ์ต่างๆ เริ่มจากบอลลูนยักษ์ เมื่อเด็กที่มีพัฒนาการช้ามาเล่น ก็จะฝึกการทรงตัว หากเด็กซนๆ มาเล่น จะเกิดการเรียนรู้ว่า การยืนอย่างมั่นคงบนบอลลูนไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ก็จะสอนให้เด็กรู้จักเรื่องแรงดึงดูดของโลกที่มีต่อร่างกายของเรา เมื่อกระโดดโลดเต้นไปด้วยก็จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อไปด้วย ภายในห้องมีอุปกรณ์ต่างๆ ให้เด็กเล่นมากมาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกัน แต่ส่วนใหญ่เน้นเรื่องการปรับความสมดุลของร่างกาย เช่น อุปกรณ์ให้เด็กนั่ง อุปกรณ์ฝึกดันตัว โดยให้เด็กนอนคว่ำลงแล้วใช้แขนขาดันไปข้างหน้า อุปกรณ์สำหรับเด็กตาบอด เป็นต้น ขณะที่เราไปเยี่ยมโรงเรียน เป็นช่วงพักกลางวันพอดี พวกเราจึงได้เห็นเด็กๆ กินอาหารกันอยู่ เจ้าหน้าที่บอกกับเราว่า ที่นี่จะไม่ใจดีเหมือนโรงเรียนทั่วไป จะบังคับให้เด็กกินอาหารที่จัดไว้ ถ้าเลือกแต่อาหารที่ตนเองชอบ จะทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ อีกทั้งอยากให้เด็กสามารถปรับตัวได้ ในกรณีที่ไม่มีอาหารที่อยากกินอีกด้วย ส่วนบางคนไม่สามารถเคี้ยวอาหารตามปกติได้ เราได้มีการฝึกอย่างเป็นขั้นตอนจนสามารถป้อนข้าวได้ด้วยตนเอง พี่แอนคิดว่านับเป็นโรงเรียนตัวอย่างอีกแห่งหนึ่ง ที่ส่งเสริมเด็กพิการ และเด็กที่มีพัฒนาการช้า ให้เรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง ต่อจากมุคุโนะคิ เราพักกินข้าวกลางวันที่สวน Maru Yama แล้วเดินทางต่อไปที่สถานดูแลเด็กอีกหลายแห่ง ซึ่งแตกต่างกันอย่างไรนั้น พี่แอนขอเก็บไว้เล่าต่อตอนหน้าค่ะ ขอบคุณค่า มาตามดู เดี๊ยจะไปหาอะไรมาทำให้ลูกเล่นบ้าง บางอยา่งนะ
โดย: ปันฝัน วันที่: 14 กันยายน 2553 เวลา:7:26:56 น.
|
บทความทั้งหมด
|
เป็นสถานที่ที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาเด็กๆมากเลยนะคะ
ขอบคุณที่นำเรื่องดีดีมาให้อ่านกันยามเช้านะคะ