Group Blog
 
 
มีนาคม 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
17 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
บทที่ 3 วิถีเวียนสู่ความมั่งคั่ง

บทที่ 3
วิถีเวียนสู่ความมั่งคั่ง

ผมเลือกปี 2000 ให้ปลอดภัยไว้ก่อน นั่นพอจะทำให้เอ็ดได้ลิ้มรสชาดของโลกที่อเมริกาเป็นพวกเปิดเสรีการค้ากับต่างชาติ

“เราอยู่ที่ไหนกัน?” เอ็ด ถาม

“เพื่อน เราอยู่ในลานจอดรถของโรงภาพยนตร์ในเมืองสตาร์ อิลลินอยส์ บ้านเกิดคุณในปี 2000”

“ทำไมโรงหนังต้องมีลานจอดรถกว้างขวางขนาดนี้เหรอ?”

“เพราะมันมีโรงภาพยนตร์ 16 โรงที่นี่และพวกเขาต้องการพื้นที่ว่างพอสมควรเลย”

“โรงหนัง 16 โรง! เกิดอะไรขึ้นกับ บิจู (Bijou) หรือ?”

“บิจู ในเมืองน่ะหรือ? ผมเกรงว่ามันถูกทุบทิ้งไปแล้วเมื่อมีโครงการชื่ออะไรสักอย่าง “เปลี่ยนเมืองใหม่” หรือไงเนี่ย”

“ว้า แย่งจัง เราจะไปชมโรงงานโทรทัศน์สเตลลาร์ได้มั้ย?”

“ผมเกรงว่ามันก็หายไปแล้วด้วยนะ เอ็ด”

“หายไป!” เอ็ดเริ่มสะอื้น ทิ้งลงตัวข้างรถฮอนด้า แอคคอร์ด เหมือนเป็นที่พักใจ

“ผมเกรงว่า ที่จริงแล้ว มัลติเพล็กซ์นี้ –ชื่อสมัยใหม่ของโรงภาพยนตร์ที่รวมกันอยู่เยอะๆ- กำลังตั้งอยู่บนจุดที่โรงงานของคุณเคยตั้งอยู่”

“ริยำจริง, ทำไม...”

“เอ็ด, ระวังคำพูดหน่อย คุณอาจได้อย่างที่คุณพูดนะ”

“โทษที แต่ไม่มีใครผลิตโทรทัศน์ในอเมริกาต่อไปอีกแล้วหรือ?”

“มีสิ แต่จริงๆแล้ว พวกเขาผลิตด้วยค่าแรงและต้นทุนวัตถุดิบราคาถูกกว่าที่คุณเคยทำได้ในปีที่เจ๋งที่สุดของคุณเสียอีก”

“ต้องเป็นโมโตโรล่า (Motorola) แน่ๆ พวกเขาแข่งขันได้คู่คี่สูสีกับผมเสมอล่ะ”

“โมโตโรล่า ผลิตโทรทัศน์เครื่องสุดท้ายเมื่อปี 1974”

“อ้าว แล้วเป็นใครกันล่ะ”

“ผมมีอะไรให้คุณดู เราจะต้องออกจากสตาร์ไปอีกเล็กน้อย แต่นั่นไม่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับพวกที่อยู่เบื้องบนหรอกนะ”

“เราอยู่ที่ไหนกัน เดฟ”

“ราห์เวย์, นิวเจอร์ซี่ (Rahway, New Jersey)”

“ไหนล่ะ โรงงานโทรทัศน์?”

“ก็ที่คุณกำลังเห็นอยู่นี่ไงเล่า”

“แต่ป้ายมันบอกว่า “เมิร์คแอนด์โค, อิงค์” (Merck and Co., Inc.) บริษัทเภสัชกรรม” ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาผลิตยาเหรอ?”

“พวกเขาผลิตจริงๆ, เอ็ด พวกเขาส่งยาบางชนิดไปยังญี่ปุ่น ขากลับญี่ปุ่นก็ส่งโทรทัศน์มายังอเมริกา มันเป็นการผลิตโทรทัศน์แบบสองทาง –ไม่ใช่ทางตรง (direct way) แต่เป็นทางเวียน (roundabout way) ทางตรง คือ การสร้างโรงงานแบบคุณในสตาร์และประกอบวัตถุดิบทั้งหลายด้วยแรงงานคนและเครื่องจักรจนกลายเป็นโทรทัศน์ แต่ด้วยทางเวียนของการผลิตโทรทัศน์นั้นคุณอาจผลิตอะไรสักอย่าง เช่น ยา และขายมันเพื่อแลกเอาโทรทัศน์มา อุตสาหกรรมยาของญี่ปุ่นไม่อาจผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการยาทั้งหมดภายในประเทศ ดังนั้นญี่ปุ่นจึงนำเข้ายาและส่งออกโทรทัศน์ อะไรที่คุณเห็นอาจเป็นแค่ผู้ผลิตยา แต่พวกเขาได้ผลิตโทรทัศน์ป้อนความสนุกสนานให้อเมริกาด้วยการส่งออกสินค้าบางอย่างที่พวกเขาผลิตได้นั่นเอง”

“แต่เมิร์คไม่ได้ขายยาให้ญี่ปุ่นเพื่อแลกกับโทรทัศน์นี่ พวกเขาขายเพื่อแลกกับเงินต่างหาก”

“นั่นล่ะเป็นจุดสำคัญเลย แค่เมิร์คยอมรับในค่าเงินของญี่ปุ่นเพียงแค่นั้น เพราะอเมริกาต้องการใช้ค่าเงินนั่นเพื่อซื้อสิ่งของบางอย่างเช่นโทรทัศน์จากญี่ปุ่นไง หากไม่มีใครต้องการซื้อสินค้าจากญี่ปุ่น เมิร์คคงต้องใช้เงินนั่นไปแปะฝาผนังแทน พวกเขาก็จะขายยาให้ญี่ปุ่นไม่ได้”

“พวกเขาสามารถแลกเงินญี่ปุ่นเป็นดอลลาร์ได้ที่ธนาคารหรือ?”

“ใช่ พวกเขาทำได้ เหมือนแปลงสภาพของเลย แต่การแปรสภาพที่เกิดขึ้นได้เป็นเพราะบางคนที่มีเงินดอลลาร์ต้องการซื้อสินค้าจากญี่ปุ่นและต้องการใช้เงินเยนเพื่อการนั้น อีกอย่าง ไม่มีใครหน้าไหนจะไม่ยอมแลกดอลลาร์กับเงินเยนหรอกและธนาคารก็ไม่อยากเข้าไปยุ่งกับการแลกเปลี่ยนค่าเงิน คุณจึงเห็นคนอเมริกันกำลังซื้อโทรทัศน์ และให้เงินญี่ปุ่นเป็นดอลลาร์ รวมถึงคนญี่ปุ่นกำลังซื้อยาด้วยเงินเยน แต่จริงๆ แล้ว คนอเมริกันกำลังสลับยาแลกกับโทรทัศน์ต่างหาก กระแสเงินจึงมีส่วนอำนวยกระบวนการแปลกเปลี่ยนเพียงจิ๊บๆ”

เอ็ดมองมาที่ผมแบบไม่เหมือนเดิม

“แต่จะเกิดอะไรบ้าง หากญี่ปุ่นเพิ่มวัตถุดิบเพื่อการผลิตยาภายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น”

“พวกเขาอาจจะทำหรือไม่ทำก็ได้ ญี่ปุ่นไม่ได้ทำเป็นไปเสียทุกอย่างนี่ เอาล่ะถ้าพวกเขาทำได้แต่พวกเขาก็ไม่อาจผลิตทุกอย่างให้ดีเท่ากันได้หรอก ก็เหมือนๆกับทุกชาตินั่นล่ะที่มีทรัพยากรอยู่อย่างจำกัด ด้วยทรัพยากรของพวกเขาซึ่งผมไม่ได้หมายถึงแต่วัตถุดิบเท่านั้น แต่ผมหมายถึงแรงงานและจำนวนชั่วโมงการทำงานต่อวัน ความยากลำบากของงานที่คนอยากจะทำ มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ญี่ปุ่นจะทำทุกอย่างได้ดีกว่าประเทศอื่นบนโลกใบนี้ และแม้ว่าพวกเขาจะทำได้ แต่การทำอย่างนั้นมันก็ไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ฉลาดเอาเสียเลย”

“ทำไมล่ะ?”

“ถ้าหากพวกเขาทำได้ พวกเขาจะทำได้ดีกว่าด้วยการมีความเชี่ยวชาญในสินค้าไม่กี่อย่างแทนที่จะลองทำมันไปเสียทุกอย่าง ดูอย่างตัวคุณเองสิ ผมทราบว่าคุณชนะการประกวดพิมพ์ดีดสมัยเรียนปีสองที่โรงเรียนมัธยมปลายสตาร์ ทำสถิติดีที่สุดตลอดกาลเลยใช่หรือเปล่า?”

“ใช่ผมเคยทำได้”

“ถ้าอย่างนั้นในฐานะประธานบริษัทโทรทัศน์สเตลลาร์ คุณจะไม่มีเลขานุการเป็นของตัวเองซักคนหรือ?”

“มี แน่นอน”

“แต่คุณพิมพ์ดีได้ดีกว่าที่หล่อนทำนะ ทำไมคุณยังจ้างหล่อนอีกล่ะ?”

“เพราะผมเอาเวลาไปบริหารโรงงานจะดีกว่าน่ะสิ”

“ถูกต้องเลย เวลาของคุณมีอยู่จำกัด ดังนั้นแม้ว่าคุณพิมพ์ดีดได้คล่องแคล่วมากกว่าคุณเอเวอร์ส มันจะดูโง่ๆ หากคุณมัวแต่นั่งพิมพ์ดีดใช่หรือเปล่า ก็เหมือนกับความเป็นจริงของประเทศญี่ปุ่นล่ะ ในฐานะชาติๆหนึ่ง พวกเขาเชี่ยวชาญในการผลิตโทรทัศน์แต่ก็ยังนำเข้ายาแม้ว่าพวกเขาอาจจะฝึกฝนเหล่าวิศวกรโทรทัศน์พวกนั้นไปเป็นนักเคมีได้ก็ตาม ในทางกลับกัน อเมริกาต้องการทั้งยาที่ช่วยชีวิตและโทรทัศน์ สินค้าทั้งสองอย่างจึงถูกผลิตด้วยวิถีทางที่เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือ สำหรับเรื่องยา มีการเก็บรักษาส่วนหนึ่งไว้เพื่อการบริโภคภายในประเทศ และส่งส่วนที่เหลือไปที่ญี่ปุ่นเพื่อแลกกับโทรทัศน์ไง”

“แง่คิดเจาะลึกอย่างนี้มีการระบุชื่อเรียกหรือเปล่า?”

“มีสิ แต่มันฟังไม่ค่อยจับใจเท่าไหร่นะ “ทฤษฏีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ” (The Theory of Comparative Advantage) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษคนหนึ่งคิดมันขึ้นน่ะ”

“ใครคือนักเศรษฐศาสตร์คนนั้นล่ะ เดฟ?”

“ผมไม่อาจบอกว่าผมจำได้หรอก, เอ็ด จะยังไงก็ช่าง คุณและผมจะตั้งชื่อมันใหม่ให้แตกต่างออกไปว่า “วิถีเวียนสู่ความมั่งคั่ง” (The Roundabout Way to Wealth) ชื่อเดิมของมันอาจสื่อผิดพลาดได้ว่า “เชิงเปรียบเทียบ” (Comparative) ตามชื่อแรกนั้นไม่ได้หมายถึงเปรียบเทียบกับชาติอื่นๆ แต่มันหมายถึงเปรียบเทียบกับสินค้าอื่นๆ ต่างหาก แม้ว่าสหรัฐฯ ได้เร่งการผลิตโทรทัศน์แล้วก็ตาม แต่ชาวอเมริกันทำได้ดีกว่าในเรื่องการผลิตเวชภัณฑ์ สหรัฐฯ ไม่ได้มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบในเรื่องโทรทัศน์แต่มีในเรื่องเวชภัณฑ์ และแม้ว่าการผลิตโทรทัศน์ในสหรัฐฯ จะใช้แรงงานน้อยกว่าที่ผลิตในญี่ปุ่นก็ตาม แต่สหรัฐฯ ก็เชี่ยวชาญในการผลิตเวชภัณฑ์จึงได้ยกเลิกการผลิตโทรทัศน์เสีย ก็เหมือนกับคุณล่ะที่เลิกนั่งพิมพ์ดีดแล้วเอาเวลามาทุ่มเทกับการบริหารโรงงาน”

“แต่คุณรู้ได้ไงล่ะว่าวิถีเวียนสู่ความมั่งคั่งนั้นมันถูกกว่า? มันเป็นแค่ทฤษฎี แล้วรัฐบาลได้ยืนอยู่ข้างหลังเฉยๆ ดูธุรกิจอย่างโมโตโรล่าและสเตลลาร์ล้มไป...”

“โมโตโรล่ายังทำธุรกิจอยู่, เอ็ด”

“แต่คุณบอกว่า...”

“ผมบอกว่าพวกเขาหยุดผลิตโทรทัศน์เฉยๆ”

“อืมม..พวกเขาแค่หยุดผลิตโทรทัศน์ สหรัฐฯ จึงผลิตโทรทัศน์ในระบบวิถีเวียน แต่สหรัฐฯ กำลังเสียเงินไปให้ญี่ปุ่นนะ, ผมพนันได้ว่าเงินก้อนใหญ่พอดู มันจะไม่ดีกว่าหรือหากเงินก้อนนั้นยังอยู่ในสหรัฐฯ? แบบนั้นสหรัฐฯ ก็จะได้เงินแทนที่จะเป็นญี่ปุ่น ด้วยเงินมากกว่า เราก็ย่อมรวยกว่า มันดีกว่ามั้ยถ้าไม่ต้องแบ่งเงินนั้นกับพวกต่างชาติ?”

“มันก็แล้วแต่นะ, เอ็ด ความมั่งคั่งของสังคมมิได้วัดกันด้วยปริมาณกระดาษที่พลเรือนของสังคมถืออยู่ ถ้าสหรัฐฯ ไม่ได้ค้าขายกับญี่ปุ่นนะ, เอ็ด ชาวอเมริกันจะมีกระดาษเพิ่มขึ้นมากเลยล่ะ แต่พวกเขาจะมีสินค้าและบริการรวมถึงเวลาที่จะสนองความสุขมากขึ้นหรือเปล่า? เว้นแต่ว่าญี่ปุ่นได้ส่งโทรทัศน์ให้สหรัฐฯ โดยปราศจากความกรุณาในหัวใจพวกเขาแล้วสหรัฐฯ ก็จะไม่มีโทรทัศน์ญี่ปุ่นเลย หากไม่มีโทรทัศน์ของญี่ปุ่นแล้วสหรัฐฯ ก็ต้องผลิตโทรทัศน์พวกนั้นภายในประเทศเอง การผลิตโทรทัศน์ภายในประเทศก็ยังต้องการแรงงานและวัตถุดิบด้วย แต่วิถีเวียนของการผลิตโทรทัศน์ด้วยการผลิตยาและแลกเปลี่ยนมันกับโทรทัศน์นั้นเป็นการผลิตโทรทัศน์ที่ต้นทุนถูกกว่า”

“ทฤษฏีมันฟังดูดีนะแต่ไหนล่ะหลักฐาน? คุณอ้างว่าเมิร์คสามารถผลิตโทรทัศน์ได้ถูกกว่าโรงงานโทรทัศน์ที่เราเคยทำแบบสมัยเก่าด้วยการใช้วิถีเวียน พิสูจน์ให้ผมดูหน่อยสิว่าโทรทัศน์มีราคาถูกลงแล้วไม่ต้องใช้ทฤษฎีหรูหราอะไรนั่นนะ”

“ใจเย็นๆ, เอ็ด สงบใจหน่อย กลับไปในปี 1960 แรงงานคนหนึ่งของคุณต้องใช้เวลานานเท่าใดในการทำงานเพื่อให้ได้เงินพอจะซื้อโทรทัศน์สักเครื่องล่ะ?”

“ประมาณสองสัปดาห์”

“แต่เดี๋ยวนี้แรงงานอเมริกันโดยเฉลี่ยใช้เวลาน้อยกว่า 3 วันอีกนะ”

“ล้อเล่นหรือเปล่า! แล้วเรื่องคุณภาพล่ะ ถ้าคุณกำลังเปรียบเทียบโทรทัศน์ปี 1960 กับโทรทัศน์ปี 2000 คุณก็ต้องเปรียบเทียบโทรทัศน์ที่มีคุณภาพทัดเทียมกันด้วย ถ้าโทรทัศน์พวกนั้นผลิตในญี่ปุ่นก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะใช้งานได้ดีนี่นา”

“เรื่องนั้นผมจะให้คุณตัดสินเอง กลับไปที่อิลลินอยส์กันเหอะ ผมมีอะไรให้ดู”

“ผมเดาว่าร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าของวิลลี่ก็คงหายไปแล้วแหงเลย”

“เกรงว่าเป็นเช่นนั้น มีร้านโยเกิร์ตแช่แข็งมาตั้งอยู่แทนที่ แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เราอาจไปค้นหาทีหลัง แต่ไม่ต้องกังวลไปหรอก คุณยังสามารถหาซื้อโทรทัศน์ได้ในเมืองสตาร์”
กลับมาที่เมืองสตาร์ ผมได้พาเอ็ดไปที่เซอร์กิต ซิตี้ (Curcuit City: ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ)เพื่อชมโทรทัศน์ในปี 2000 ดูเหมือนเขาจะเป็นปลื้มกับรูปร่างและขนาดของมันเสียเหลือเกิน เมื่อเราไปชมโทรทัศน์ขนาด 20 นิ้ว

“หา!” เอ็ดอุทาน “นั่นมันไม่ได้อะไรเลยนะ เนี่ยหรือที่คุณว่าแรงงานโดยเฉลี่ยสามารถซื้อมันได้ภายใน 3 วัน”

“แรงงานโดยเฉลี่ยทั่วไปทำได้ แม้ว่าเดี๋ยวนี้ราคาโทรทัศน์จะแพงกว่าในปี 1960 ก็ตามแต่ก็เป็นเพราะภาวะเงินเฟ้อรวมถึงค่าแรงด้วย –ก็เหมือนสินค้าอื่นๆนั่นล่ะ- นั่นคือเหตุผลที่ว่าการคำนวณจำนวนวันทำงานที่แรงงานทำจนซื้อโทรทัศน์ได้จึงมีประโยชน์ ซึ่งก็คือ มันได้ขจัดผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อที่มีต่อค่าแรงงานและโทรทัศน์ออกไป”

“น้อยกว่า 3 วันรึ มันช่างมหัศจรรย์ ดูความคมชัดของภาพนั่นสิช่างน่าพิศวงจริง”

“และมันก็ยังไม่เหมือนโทรทัศน์แบบเก่าๆ ที่คุณเคยใช้หรอกนะ, เอ็ด, แบบใหม่นี้น่ะมันเสียยากมากเลยทีเดียว”

ผมยังเตือนใจเอ็ดว่าโทรทัศน์ในปี 1960 ไม่เหมือนกับของปี 2000 ที่โทรทัศน์สีนั้นเป็น “กฎ” ไม่ใช่แค่สิ่งของหาดูยาก

“ผมประทับใจมาก, เดฟ แต่ถึงโทรทัศน์ใหม่ๆ พวกนี้มันจะดูเจ๋งนะ, เดฟ แต่ผมก็ไม่อาจเชื่อว่าสหรัฐฯ ไม่สามารถแข่งขันได้แม้กระทั่งการผลิตสินค้าให้ได้ดี เกิดอะไรขึ้นกับองค์ความรู้เก่าที่ดีๆ ของสหรัฐฯ กันหรือ?”

“มันก็ยังคงทำงานอยู่ เพียงแต่ถูกนำไปใช้โดยตรงกับอุตสาหกรรมแบบอื่นที่สร้างผลิตภาพสูงกว่าเท่านั้นเอง คล้ายๆ กับเรื่องทักษะการพิมพ์ดีดของคุณนั่นล่ะ เหตุใดคุณถึงเลิกล้มที่จะพิมพ์ดีดต่อไปทั้งที่คุณเป็นคนที่พิมพ์ได้เก่งที่สุดในตึกล่ะ มันทำให้ต้นทุนของคุณสูงขึ้นหากคุณยังคงนั่งพิมพ์ดีดเอง ผลประโยชน์ที่ถ่ายทอดไปสู่โรงงานซึ่งได้จากการพิมพ์ดีดของคุณนั้นมีค่าน้อยกว่าประโยชน์ที่โรงงานจะได้รับจากการที่คุณสละเวลาไปบริหารจัดการมันเสียเอง เช่นเดียวกับเรื่องโทรทัศน์ สหรัฐฯ ก็สามารถผลิตโทรทัศน์ที่ดีที่สุดในโลกได้อย่างง่ายๆ เช่นกัน”

“แล้วทำไมพวกเราไม่ทำล่ะ”

“ก็เพราะว่าจะเป็นการดีกว่าถ้าเรานำทรัพยากรที่เอาไปผลิตโทรทัศน์ที่ดีที่สุดในโลกไปผลิตเป็นยาที่ดีที่สุดในโลกและนำมันไปแลกกับโทรทัศน์ที่ประเทศอื่นๆ ผลิตไง”

“คุณอาจจะพูดถูก แต่คุณรู้ได้ยังไงว่าใครเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะไม่เชี่ยวชาญในเรื่องโทรทัศน์แล้วจะไปเชี่ยวชาญในเรื่องยาแทน? และคุณรู้ได้ยังไงว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง?”

“ไม่มีใครหรอกที่จะตัดสินใจ เรื่องนั้นมันเป็นสิ่งที่ยากเกินจะเข้าใจ แต่มันก็สวยงามจริงๆ นะ หากพวกอเมริกันบางคนสามารถผลิตโทรทัศน์คุณภาพเดียวกับญี่ปุ่นด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าได้พวกเขาก็อาจกลายเป็นมหาเศรษฐีระดับตำนานเลยทีเดียว แต่โดยหลักฐานแล้วโทรทัศน์ที่สหรัฐฯ ผลิตอาจมีต้นทุนสูงกว่าที่ญี่ปุ่นผลิตได้ในปัจจุบัน”

“คุณรู้ได้ไงล่ะ?”

“เพราะหากมันทำได้จริง คงมีคนบางคนตั้งหน้าตั้งตาผลิตแต่โทรทัศน์แบบนั้นและร่ำรวยไปแล้ว ในการผลิตโทรทัศน์แบบดังกล่าว คุณอาจจะต้องดึงเอาวิศวกรและองค์ความรู้ด้านการผลิตเชิงหัตถอุตสาหกรรม (Manufacturing know-how) ออกมาจากภาคอุตสาหกรรมอื่น เช่น อากาศยาน คอมพิวเตอร์ รวมถึงเวชภัณฑ์ แต่มันคงจะดีกว่าถ้าพวกมีพรสวรรค์จะอยู่ในภาคอุตสาหกรรมเหล่านั้นต่อไป”

“คุณรู้ได้ยังไงล่ะ?”

“ถ้ามันไม่จริง ป่านนี้ผู้ผลิตโทรทัศน์คงแย่งกันประมูลชิงเอาพวกมีพรสวรรค์ในภาคอุตสาหกรรมเหล่านั้นมาร่วมงานแล้ว และแน่นอนว่าอุตสาหกรรมโทรทัศน์ก็พร้อมที่จะเสนอค่าแรงสูงๆให้กับพวกมีพรสวรรค์เหล่านั้นได้เสมอ หากแต่เรายังไม่ยักกะเห็นปรากฏการณ์เช่นนั้นเลย แต่ในเชิงประจักษ์แล้ว ค่าแรงจำเป็นต้องใช้จูงใจแรงงานทักษะ (Skill labor) ให้ออกจากอุตสาหกรรมเดิมมาสู่อุตสาหกรรมโทรทัศน์ก็ย่อมมีขนาดใหญ่โตตามไปด้วย ดังนั้นราคาตั้งขายโทรทัศน์ของอเมริกันเครื่องหนึ่งก็ยังไม่อาจแข่งขันได้กับราคาโทรทัศน์ของญี่ปุ่นอยู่ดี”

“มีความคล้ายคลึงเล็กน้อยกับการแข่งขันกีฬาในโอลิมปิค, เอ็ด ในทศวรรษ 1960 และ 1980 ชาวเยอรมันตะวันออกและชาวคิวบาได้ครอบงำโอลิมปิคฤดูร้อนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชากรของพวกเขาโดยเฉพาะ อเมริกันชนต่างสงสัยว่าประเทศเล็กๆ สามารถผลิตนักกรีฑาที่เยี่ยมยอดได้อย่างไร เมื่อชาวอเมริกันถูกหยามพวกเขาจึงเรียกร้องทีมนักกีฬาโอลิมปิคที่ดีกว่าเดิม แน่นอนว่าสหรัฐฯ สามารถชิงเหรียญทองมาได้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคทุกครั้งหากพวกเขาต้องการ สหรัฐฯ อาจระดมทรัพยากรขนาดมหาศาลภายในประเทศสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกซ้อมและเพื่อทำให้แน่ใจได้ว่านักวิ่ง, นักกระโดดสูง และนักยิมนาสติกได้มุมานะในอาชีพนักกีฬาแบบเต็มเวลาได้ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญอาจได้รับการแต่งตั้งขึ้นซึ่งมิได้ประกอบด้วยบุคคลจากภาคกีฬาเท่านั้นแต่จะมาจากการดำเนินชีวิตหลากหลายรูปแบบที่มีศักยภาพเป็นนักกรีฑาได้ คณะกรรมการจะสร้างความมั่นใจว่านักกรีฑาเหล่านี้จะได้รับการตอบแทนเพียงพอที่จะเดินตามเส้นทางนักกรีฑาแทนที่จะเดินไปตามอาชีพเดิมของตัวเอง”

“สหรัฐฯ อาจจะชนะทุกเหรียญทองได้ด้วยวิธีดังกล่าว แต่มันคุ้มค่ากันมั้ยเล่า? สหรัฐฯ อาจได้รับเกียรติยศอยู่บ้าง แต่สิ่งที่เรามองไม่เห็นคือ กิจกรรมต่างๆ และโอกาสที่เราต้องสละไปเพียงได้มาซึ่งเกียรติยศอะไรนั่น มันไม่คุ้มกันเลย มันไม่คุ้มค่าสำหรับเยอรมนีตะวันออกหรือคิวบา โอ้! นักกรีฑามีความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างดีและมันคุ้มค่าสำหรับพวกเขา แต่ขณะเดียวกันกับที่พวกเขาคว้าชัยชนะเหรียญทองมา บรรดาผู้คนในฮาวาน่า (Havana) และเบอร์ลินตะวันออก (East Berlin) ยังมีชีวิตที่ยากจนและซอมซ่อ ตลาดเสรีอาจมิเคยได้สร้างอะไรที่เป็นผลสัมฤทธิ์แต่มันกลับทำให้รัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยมกระทำการผิดพลาดครั้งมโหฬารดังกล่าวแล้ว”

“ความผิดพลาดเล็กๆ (ที่คล้ายๆกัน) อาจยืนยันได้ว่าอย่างน้อยสหรัฐฯ ก็เคยชนะเหรียญทองวิ่ง 100 เมตร เพราะชาวอเมริกันชนะวิ่ง 100 เมตรอยู่เสมอๆ แต่สหรัฐฯ ควรยืนกรานว่าจะผลิตโทรทัศน์ที่ดีที่สุดในโลกด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่ามันเป็นเช่นนั้นประจำอยู่แล้วหรือไม่? ถ้าหากสามารถผลิตโทรทัศน์ในต้นทุนที่ต่ำกว่าได้ด้วยวิถีเวียน (a roundabout way) แล้วมันก็คงดีกว่าหากสหรัฐฯ ผลิตโทรทัศน์ได้ด้วยระบบวิถีเวียน




Create Date : 17 มีนาคม 2552
Last Update : 17 มีนาคม 2552 22:51:11 น. 0 comments
Counter : 280 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Winnie The PeeH
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Winnie The PeeH's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.