Group Blog
 
 
มีนาคม 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
17 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
เกริ่นนำ/แนะนำตัวละคร/บันทึกผู้เขียน

The Choice: A Fable of Free Trade and Protectionism
Russell Roberts

เกริ่นนำ

เมื่อหนังสือฉบับนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ชาวอเมริกันจำนวนมากตกอยู่ในความหวาดกลัวต่อประเทศญี่ปุ่น นักวิเคราะห์, ผู้เชี่ยวชาญ และบัณฑิต ต่างอ้างว่ารัฐบาลญี่ปุ่นและบริษัทญี่ปุ่นกำลังได้เปรียบและเอาชนะสงครามเศรษฐกิจกับสหรัฐฯ กลยุทธ์ของชาวญี่ปุ่นที่โดดเด่นประกอบด้วยการอุดหนุนเทคโนโลยีหลักที่สำคัญและกีดกันผลิตภัณฑ์จากสหรัฐฯ จากตลาดภายในประเทศ ผู้เชี่ยวชาญบางคนยุส่งให้สหรัฐฯ เล่นแรงๆ กับญี่ปุ่น ขณะที่ประเทศอื่นต้องการให้สหรัฐฯ ตอบโต้ด้วยการลอกเลียนนโยบายของญี่ปุ่น

เนื้อหาส่วนใหญ่ในฉบับพิมพ์ครั้งแรกของหนังสือได้รับการสละให้แก่มุมมองที่มีจุดยืนแตกต่างกัน และการปฏิเสธมโนทัศน์การทำสงครามเศรษฐกิจทั้งหมดในระดับชาติ รวมถึงอ้างถึงการที่แม้ว่าบริษัทญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ต่างอยู่ในการแข่งขันก็ตาม ความสำเร็จของญี่ปุ่นก็ไม่ได้เกิดจากการใช้จ่ายของสหรัฐฯ การถกเถียงกันทุกวันนี้ดูจิ๊บจ๊อยลงไป เมื่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ป่วยกระเสาะกระแสะ และสมรรถนะเหนือธรรมดาของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ผลักดันความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจญี่ปุ่น-สหรัฐฯ โดยมิได้เป็นประเด็นพาดหัวหรืออยู่นอกเหนือความคิดของอเมริกันชน

ในฉบับปรับปรุงนี้ ผมได้ลดการเน้นย้ำประเด็นถกเถียงเรื่องความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่มีต่อสหรัฐลง ผมทำสิ่งนี้ไปด้วยความรู้สึกระอักกระอ่วนใจในบางเรื่อง เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็เห็นท่าไม่ดีแต่ญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวขึ้น เราจะได้ยินเหตุผลที่ว่าทำไมญี่ปุ่นจึงเป็นอุปสรรคต่อสหรัฐฯ อีกหนแน่ๆ ดังนั้นผมจึงได้ฝากบางเนื้อหาบางบทที่เกี่ยวกับญี่ปุ่นโดยปลูกฝังให้คนอ่านติดตามการบุบบิบบู้บี้ของญี่ปุ่นที่จะลุกลามในอนาคต

เพื่อให้สอดคล้องกับการลดความสนใจต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ – ญี่ปุ่น ผมจึงเพิ่มบทสนทนาต่อประเด็นที่กลายเป็นเรื่องสำคัญมาตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1990 โดยเฉพาะบทใหม่เกี่ยวกับการเสียดุลการค้า (trade deficits) (บทที่ 10) และเกี่ยวกับประเทศเม็กซิโกรวมถึงชาติที่มีค่าแรงต่ำ (low-wage nations) ผมยังเพิ่มเอาบทสนทนาในประเด็นปัญหาสภาพแวดล้อม, มาตรฐานแรงงาน และองค์การการค้าโลก (World Trade Organization) รวมถึงปรับช่วงเวลาของเรื่องจากปี 1995 เป็น 2000 ตลอดจนปรับปรุงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันให้ทันสมัยขึ้น พร้อมทั้งผนวกบทสนทนาถึงพัฒนาการในปัจจุบัน เช่น อินเตอร์เน็ต และหยิบเนื้อหาจากฉบับพิมพ์ครั้งแรกมาควบรวมอย่างมีเหตุมีผลยิ่งขึ้น

Russell Roberts (Roberts@csab.wustl.edu)
Center for the Study of American Business, Washington University in St. Louis


แนะนำตัวละคร

เดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) นักเศรษฐศาสตร์อังกฤษผู้เป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะผู้ใช้วิธีวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์แบบอนุมาน (deductive method) ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดผู้หนึ่ง เขาเกิดในกรุงลอนดอนเมื่อวันที่ 18 เมษายน ปี 1772 จากบิดามารดาที่เป็นยิวออร์โธดอกซ์ ได้ร่ำเรียนในช่วงอายุ 11 ถึง 13 ปี ด้วยพระคัมภีร์ตัลมูดของยิว (Tulmud Torah) ในโบสถ์ยิวของชาวโปรตุเกส กรุงอัมเตอร์ดัม ริคาร์โดได้เป็นพวกแปลกแยกจากครอบครัวเมื่อเขากลายเป็นพวกนับถือพระเจ้าองค์เดียว (Unitarian) และแต่งงานกับพวกคริสต์นิกายเควกเกอร์ (Quaker) ในปี 1793 เขาถูกจ้างงานเป็นครั้งแรกโดยพ่อของเราในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนเมื่อปี 1786 และได้บริหารที่นั่นโดยลำพังระหว่างปี 1793 ถึง 1816 โดยในปี 1813 เขาได้สั่งสมทรัพย์สินไว้จำนวนมหาศาล และปลดระวางตัวเองจากธุรกิจ เขามีโอกาสรับใช้สภาผู้แทนราษฎรในฐานะสมาชิกจากพอร์ตอาร์ลิงตัน (Portarlington) ตั้งแต่ปี 1819 จนกระทั่งเสียชีวิตในโกลอูเชสเตอไชร์ (Gloucestershire) เมื่อวันที่ 11 กันยายน 1823 งานอันเลื่องลือที่สุดของริคาร์โด “On the Principles of Political Economy and Taxation” ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1817

เอ็ด จอห์นสัน (Ed Johnson) เอ็ด จอห์นสัน เกิดในปี 1917 ในเมืองสตาร์ รัฐอิลลินอยส์ เขาได้รับปริญญาทางวิศวกรรมจาก University of Illinois ในปี 1939 จอห์นสันเข้าประจำการกองทัพสหรัฐฯ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนได้รับยศนายพันตรี (Major) เขายังได้รับเหรียญ Silver Star สำหรับความกล้าหาญในการทำหน้าที่ ณ หาดโอมาฮา (Omaha beach) ในปฏิบัติการ D-Day ภายหลังสงคราม เขากลับมายังเมืองสตาร์, อิลลินอยส์ ทำงานในบริษัทโทรทัศน์สเตลลาร์ (Stellar Television Company) จนได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานบริษัทในปี 1955 เขาแต่งงานกับมาร์ธา เฮลแมน (Martha Hellman) ในปี 1948 ตระกูลจอห์นสันมีลูกสองคน คือ สตีเวนส์ เกิดในปี 1949 และ ซูซาน เกิดในปี 1954


บันทึกผู้เขียน

บริษัทโทรทัศน์สเตลลาร์, เมืองสตาร์, เมืองคลากส์วิลล์ และเมืองเคลียร์วิลล์ รัฐอิลลินอยส์ พลเรือนของเมืองที่ถูกกล่าวถึงในที่นี้ และสมาชิกสภาวุฒิสภา แฟรงก์ เบทส์ (Frank Bates) เป็นผลจากการจินตนาการเอาเองของผู้เขียน ความคล้ายคลึงกับบุคคลใดของตัวละครไม่ว่ามีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตแล้วเป็นเหตุบังเอิญล้วนๆ แต่บริษัทอื่นๆ ทั้งหมดรวมถึงผู้คนเป็นของจริง ผมพยายามเสนอภาพพวกเขาและเศรษฐกิจสหรัฐฯ อย่างแม่นยำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งสามารถค้นหาแหล่งที่มาได้ในตอนสรุปของเรื่องในบทที่ 16




Create Date : 17 มีนาคม 2552
Last Update : 17 มีนาคม 2552 22:41:49 น. 0 comments
Counter : 656 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Winnie The PeeH
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Winnie The PeeH's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.