Group Blog
 
 
มีนาคม 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
17 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
บทที่ 7 ภาษีการนำเข้า (Tariffs) ปะทะ การจำกัดปริมาณ (Quotas)

บทที่ 7
ภาษีการนำเข้า (Tariffs) ปะทะ การจำกัดปริมาณ (Quotas)

“นั่นมันช่างเหมาะเจาะและดีจริงๆเลย, เดฟ แต่ร่างกฎหมายต้นฉบับของแฟรงค์ เบทส์เป็นเรื่องการจำกัดปริมาณ (quota) นะไม่ใช่การเก็บภาษีการนำเข้า (tariffs) สำหรับผมพวกมันดูแตกต่างกันเล็กน้อย”

“มันมีความแตกต่างกันแต่ผมสงสัยว่าพวกเรากำลังคิดไปทางเดียวกันนะ คุณคิดว่าความแตกต่างนั้นคืออะไรล่ะ?”

“ภาษีการนำเข้าเป็นเหมือนภาษีที่จัดเก็บจากพวกต่างชาติ แต่โควตาเป็นแค่การลดปริมาณสินค้าของต่างชาติที่สามารถนำเข้ามาได้ โควตาจึงเป็นการเสนอสินค้าต่างชาติเป็นตัวสำรองรองจากสินค้าผลิตในสหรัฐฯ ให้แก่ผู้บริโภคชาวอเมริกัน”

“เอ็ด, คุณว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากมีโทรทัศน์ต่างชาติที่สามารถซื้อหาได้ไม่กี่เครื่อง?”

“โทรทัศน์ต่างชาติก็จะแพงขึ้นสินะ, ผมเดาว่างั้น”

“และจากการที่มีโทรทัศน์ต่างชาติเพียงไม่กี่เครื่องที่ซื้อหาได้ในราคาแพง คุณคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับความต้องการโทรทัศน์อเมริกันล่ะ?”

“มันต้องเพิ่มขึ้น และราคาก็คงเพิ่มขึ้นด้วยใช่หรือเปล่า, เดฟ? อืมม มันฟังดูเหมือนภาษีการนำเข้าจังเลย”

“อันที่จริง เหตุการณ์เชื่อมต่อที่คล้ายๆ กันเกิดขึ้นอีกแล้วสำหรับสินค้าพวกนั้นที่สนองตอบต่อราคาที่สูงขึ้น เหล่าผู้ผลิตภายในประเทศจึงขยายกำลังการผลิตของพวกเขา ทั้งโทรทัศน์ต่างชาติและของผลิตในสหรัฐฯ ต่างจบลงด้วยราคาที่เริ่มแพงขึ้น ด้วยการขยับราคาทำให้ผู้บริโภคได้รับผลเสีย ชาวอเมริกันมีโทรทัศน์ที่ใช้ผ่อนคลายความทุกข์น้อยลงกว่าเดิม แต่ยังคงมีโทรทัศน์ผลิตในประเทศด้วยวิถีทางตรงมากเกินไปและมีโทรทัศน์ที่ผลิตด้วยวิถีเวียนไม่มากนัก”

“ผมยังคงสับสนเกี่ยวกับปริมาณโดยรวมของโทรทัศน์ที่ต้องลดลงว่าเป็นเพราะเหตุใด ทำไมการขยายการผลิตของอเมริกันไม่ได้ทำให้การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศสูญหายไปด้วยการใช้ระบบโควตาบ้างหรือ?”

“นั่นเป็นเพราะเหตุว่าด้วยระบบโควตาจึงยังมีการลดปริมาณสินค้าต่างชาติอยู่เป็นเหตุให้ราคาของโทรทัศน์มีการขยับขึ้น เพื่อสนองต่อราคาที่สูงขึ้นการผลิตในสหรัฐฯ จึงขยายตัว แต่มันไม่เคยเท่ากันหรือมากกว่าการลดปริมาณสินค้าต่างชาติ สมมติว่ามันสอดคล้องกับการลดลงของสินค้าต่างชาติแล้ว ในภาพรวมที่ได้ผนวกโทรทัศน์ภายในประเทศและต่างชาติสำหรับผู้บริโภคอเมริกันก็อาจถอยหลังกลับไปสู่ระดับที่เคยเป็นมาก่อน ถ้าหากการผลิตย้อนกลับไปอย่างที่เคยเป็นในอดีตแล้วราคาจะเป็นเท่าเดิมอย่างที่เคยเป็นก่อนการกำหนดโควตาด้วย แต่ในเมื่อคุณอาจมีความเห็นที่ตรงข้ามกัน เหตุใดผู้ผลิตอเมริกันเช่นเดียวกับคุณจึงต้องขยายการผลิตล่ะถ้าสุดท้ายแล้วราคาก็ยังคงที่เหมือนเดิม? และถ้าหากคุณทำไปโดยความผิดพลาดแล้วคุณก็อาจปิดโรงงานบางแห่งเมื่อคุณเห็นว่าราคาใหม่มันเท่ากับราคาเก่า เพราะใช่ว่าโรงงานใหม่ของพวกเขาทุกโรงจะสามารถทำกำไรได้ด้วยราคาเดิมหรือคุณอาจจะเปิดพวกมันก่อนหน้านี้ ผลกระทบสุทธิของระบบโควตาก็คือ สินค้าที่มีปริมาณลดลงและราคาโทรทัศน์ขยับสูงขึ้น ทั้งแบบผลิตในประเทศและแบบนำเข้า”

“มันฟังดูคล้ายกับการเก็บภาษีการนำเข้ามากๆ เลย”

“ความจริงแล้ว คุณสามารถกำหนดโควตาไว้จำลองการเก็บภาษีนำเข้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ สมมติว่าสหรัฐฯ นำเข้าโทรทัศน์มูลค่า 20 ล้านดอลลาร์ในช่วงที่ปลอดภาษีนำเข้าและระบบโควตา สมมติว่าเมื่อคุณกำหนดภาษีการนำเข้าเข้าไป 25 ดอลลาร์ ราคาจึงเพิ่มขึ้นจาก 250 เป็น 275 ดอลลาร์ และการนำเข้าร่วงไปร้อยละ 25 เหลือโทรทัศน์มูลค่า 15 ล้านดอลลาร์ คุณอาจได้รับผลกระทบต่อราคาโทรทัศน์แบบเดียวกันเป๊ะจากการจำกัดปริมาณโทรทัศน์ต่างชาติไว้ที่ 15 ล้านดอลลาร์ ราคาจะขยับไปที่ 275 ดอลลาร์เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในระบบจัดเก็บภาษีการนำเข้า”

“มันมีความแตกต่างระหว่างการจัดเก็บภาษีการนำเข้าและระบบโควตาเกิดขึ้นในทั้งสองสถานการณ์ใช่มั้ย, เดฟ?”

“ระบบโควตามูลค่า 15 ล้านจำลองผลกระทบทั้งหลายของภาษีการนำเข้า 25 ดอลลาร์ในตัวอย่างที่ผมอธิบายได้เกือบทั้งดุ้น ในทั้งสองกรณี ร้านค้าจะขายโทรทัศน์อยู่ที่ราคา 275 ดอลลาร์ ความแตกต่างคือว่าในกรณีของภาษีการนำเข้าส่วนของราคาที่เพิ่มขึ้นนั้นรัฐบาลสหรัฐฯ จะได้ไปในรูปแบบของรายได้ทางภาษี”

“แล้วมันทำงานอย่างไรล่ะ?”

“ด้วยภาษีการนำเข้า 25 ดอลลาร์ ผู้นำเข้าโทรทัศน์ต้องชำระให้รัฐบาล 25 ดอลลาร์ ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ขาดทุนไป 25 ดอลลาร์สำหรับโทรทัศน์นำเข้าด้วย อย่างน้อยชาวอเมริกันบางคนก็อาจได้ประโยชน์จากค่าของเงิน 25 ดอลลาร์ที่เป็นรายได้ของรัฐบาลอยู่บ้างหากมันถูกนำมาใช้จ่าย อย่าลืมว่าจากแง่คิดเกี่ยวกับการดูไปที่ชาวอเมริกันทั้งหมด ผลกำไรหรือขาดทุนจากเงิน 25 ดอลลาร์โดยตัวมันเองแล้วก็เจ๊ากันไป”

“ทำไมคุณพูดว่า โดยตัวมันเอง ล่ะ?”

“ก็เพราะว่าเงินได้เปลี่ยนมือจากผู้บริโภคไปสู่รัฐบาลซึ่งการสร้างประโยชน์ด้วยการใช้จ่ายของรัฐมันก็เจ๊ากันไป ผู้บริโภคอเมริกันคนหนึ่งจนลง 25 ดอลลาร์ ขณะที่การใช้จ่ายที่ก่อประโยชน์ของรัฐบาลทำให้คนอเมริกันอีกคนรวยขึ้น 25 ดอลลาร์ ไม่ว่ามันจะส่งต่อจากอเมริกันคนหนึ่งไปยังอีกคนจะยุติธรรมหรือไม่ก็เป็นอีกคำถามหนึ่ง แต่ผลกระทบจากการส่งต่อเงิน 25 ดอลลาร์โดยพฤติกรรมของผู้คนนั้นไม่ทำให้ผลมันออกมาเจ๊าได้ โทรทัศน์เพียงไม่กี่เครื่องก็สร้างความรื่นรมย์ได้และสหรัฐฯ ก็สละทรัพยากรมากเกินไปเพื่อผลิตโทรทัศน์อย่างตรงไปตรงมาแทนที่จะผลิตผ่านวิถีเวียน นั่นมันจึงไม่เจ๊ากัน แต่มันคือผลขาดทุนสุทธิต่างหากที่ทำให้สหรัฐฯ จนลง”

“แล้วระบบโควตาต่างออกไปอย่างไร?”

“ในกรณีของระบบโควตา คุณยังคงขาดทุนจากโทรทัศน์ที่ถูกซื้อไปไม่กี่เครื่องและการใช้ทรัพยากรที่มากเกินไปในการผลิตโทรทัศน์แบบวิถีทางตรง แต่การที่ผู้บริโภคจ่ายพิเศษอีก 25 ดอลลาร์สำหรับโทรทัศน์นำเข้านั้นจะไปถึงไม่ว่าจะเป็นผู้นำเข้าอเมริกันที่นำโทรทัศน์เข้ามาจากต่างประเทศหรือผู้ผลิตในต่างประเทศ หากเป็นกรณีหลังผู้ผลิตต่างชาติก็จะมีเงินดอลลาร์อเมริกันเพิ่มอีก 25 ดอลลาร์เพื่อซื้อสินค้าพวกเวชภัณฑ์, คอมพิวเตอร์ และสินค้าอเมริกันอื่นๆ”

“แล้วมันแปลกยังไงล่ะ?”

“ด้วยระบบภาษีการนำเข้า อำนาจการจับจ่ายและสิทธิเกื้อหนุนต่อสินค้าและบริการของอเมริกันจาก 25 ดอลลาร์นั่นจึงอยู่ในเมืองของชาวอเมริกัน แต่ด้วยระบบโควตา 25 ดอลลาร์ดังกล่าวอาจจบลงในมือของผู้ผลิตต่างชาติที่ไหนซักแห่ง นี่จึงเปิดทางให้พวกต่างชาติอ้างสิทธิการเกื้อหนุนสินค้าและบริการของอเมริกันได้ด้วยการทิ้งคอมพิวเตอร์, ยา และสินค้าอื่นๆ ไว้บ้างสำหรับสร้างความสุขให้แก่คนอเมริกัน ภาษีการนเข้าทำให้แน่ใจได้ว่าสินค้าพวกนี้ยังคงอยู่ในน้ำมืออเมริกัน”

“แต่คุณเพิ่งบอกผมก่อนหน้านี้ว่าเมื่อพวกต่างชาติมีดอลลาร์แล้วพวกเขาได้กระตุ้นบริษัทอเมริกันที่ส่งออกอย่างเมิร์คและโบอิ้งให้กระชุ่มกระชวยได้”

“ใช่พวกเขาก็ทำ แต่มันอาจดีกว่ากับสหรัฐฯ หากพวกต่างชาติเก็บดอลลาร์ไว้และไม่ต้องนำมาใช้ชูกำลังในภาคเศรษฐกิจของเรา สหรัฐฯ อาจไม่เอาโทรทัศน์แล้วก็ได้ดีกว่าต้องเอายาและเครื่องบินไปแลกมันมา ทันใดนั้นชาวอเมริกันก็อาจมีความสุขกับยารักษาโรคและเครื่องบินที่เพิ่มขึ้นก็ได้แทนที่จะเป็นพวกญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้รู้สึกสนใจจะแบ่งปันโทรทัศน์ให้หรอกนะ พวกเขาหวังแค่จะได้อะไรกลับไปบ้าง อย่างกรณีที่เรากำลังสนทนากันอยู่นี้ คำถามที่ว่าใครมีเงินใช้ 25 ดอลลาร์ อเมริกันหรือต่างชาติกันล่ะ? มันย่อมจะดีต่อสหรัฐฯ อยู่เสมอถ้าหากสหรัฐฯ ได้เงินพิเศษมา 25 ดอลลาร์แทนที่จะให้พวกต่างชาติได้มันไป ด้วยแนวทางนั้นค่าของสินค้าต่อเงินพิเศษ 25 ดอลลาร์ก็ยังคงอยู่ในสหรัฐฯ แทนที่จะเป็นประเทศญี่ปุ่น”

“สิ่งใดที่ใช้วัดว่าบริษัทอเมริกันที่ดำเนินธุรกิจนำเข้าหรือผู้ผลิตในญี่ปุ่นต้องเก็บเงินพิเศษ 25 ดอลลาร์นี้ไว้?”

“มันก็แล้วแต่ว่าระบบโควตาได้รับการจัดโครงสร้างอย่างไร ภายใต้ระบบโควตามาตรฐาน (a standard quota) นั้นรัฐบาลจะให้สิทธิแก่ผู้นำเข้าที่ได้รับใบอนุญาตให้นำเข้าสินค้าซึ่งถูกจำกัดปริมาณการนำเข้าได้จำนวนหนึ่ง ด้วยระบบดังกล่าวเงินพิเศษ 25 ดอลลาร์จะแฝงอยู่ในรูปของราคาที่เพิ่มขึ้นโดยตกแก่ผู้นำเข้าที่โชคดีพอจะได้รับใบอนุญาต”

“แล้วที่ว่าผู้นำเข้ารายใดจะโชคดีนั้นตัดสินจากอะไรบ้างล่ะ?”

“อาห์...ความจริงแล้วไม่มีเรื่องความโชคดีมาเกี่ยวด้วยเลยซักนิด ภายใต้ระบบภาษีการนำเข้ารัฐบาลเป็นผู้ได้รับเงินพิเศษ 25 ดอลลาร์จากโทรทัศน์ทุกเครื่องที่นำเข้ามาแล้วใช้มันต่อไปในโครงการของรัฐ ภายใต้ระบบโควตา รัฐบาลก็ยังคงได้รับ 25 ดอลลาร์นั่นอยู่แต่หลังจากที่ใบอนุญาตถูกแจกจ่ายไปถึงมือผู้นำเข้าแล้ว อย่างที่คุณคาดไว้ล่ะมันไม่ได้เสร็จสิ้นลงด้วยการสุ่มเลือกแน่ๆ”

“ผมคิดเอาเองว่าผู้นำเข้าทั้งหลายต่างแข่งขันกันยื่นข้อเสนอที่เผ็ดร้อนต่อพวกข้าราชการเพื่อจะได้เป็นผู้รับผลประโยชน์จากที่รัฐบาลได้แบ่งสันปันส่วนให้”

“ผมก็คิดเอาเองเช่นกันว่าคงเป็นแบบนั้น ในมุมมองโดยรวมทางเศรษฐกิจแล้วการแข่งขันมากๆ อะไรอย่างนั้นมันทำให้สูญเสียทรัพยากรไปอย่างไร้ค่า และกลายเป็นต้นทุนพิเศษภายในระบบโควตาเอง ในบางครั้งรัฐบาลจะแจกใบอนุญาตให้แก่พวกที่เคยได้รับมันมาแล้วในอดีต และถึงแม้ว่าการคัดเลือกที่ดูเหมือนจะใสซื่ออย่างนั้นมันดูคล้ายกับเป็นการสร้างแรงกดดันต่อคนอีกหลายพวกก็ตาม”

“ระบบโควตาสามารถนำผู้ผลิตต่างชาติไปตักตวงเงิน 25 ดอลลาร์ที่เพิ่มขึ้นจากราคาโทรทัศน์ได้อย่างไรกันล่ะ, เดฟ?”

“มันเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลจัดตั้ง “ระบบโควตาแบบสมัครใจ” (Voluntary quota) ขึ้น”

“อะไรคือระบบโควตาแบบสมัครใจล่ะ?”

“ระบบโควตาแบบสมัครใจก็คือเมื่อพวกต่างชาติต่างเห็นด้วย “โดยไม่ได้ขัดขืน” ที่จะจำกัดการส่งออกสินค้าของตนเองในปริมาณที่คงที่ โควตาเหล่านี้บางครั้งก็เรียกว่า VERs หมายถึง “การจำกัดการส่งออกแบบสมัครใจ” (Voluntary Export Restraints) หรือไม่ก็ VRA หมายถึง “ข้อตกลงจำกัดโดยสมัครใจ” (Voluntary Restraint Agreements) แต่สิ่งที่เดียวที่ดูเป็นการสมัครใจภายใต้ระบบโควตาคงมีเพียงแต่ชื่อเท่านั้น ส่วนประกอบที่บิดเบือนอย่างน่าเกลียดได้เข้ามาในเกมแล้ว รัฐบาลสหรัฐฯ เคยกล่าวกับรัฐบาลญี่ปุ่นว่า “เราต้องการให้พวกคุณจำกัดปริมาณรถยนต์ญี่ปุ่นที่เข้ามาในสหรัฐฯ ให้มากขึ้นและมากขึ้นอีก”

“แต่หากพวกเขาปฏิเสธล่ะ?”

“ถ้าพวกเขาปฏิเสธ รัฐบาลก็สามารถบังคับใช้ระบบโควตา “ของแท้” ได้

“อะไรคือความได้เปรียบของการมีระบบโควตาที่ดูเหมือนจะเป็นไปโดยสมัครใจล่ะ?”

“ข้อได้เปรียบอย่างหนึ่งนั่นก็คือบรรดานักการเมืองอเมริกันจำต้องเดินหน้าสนับสนุนระบบโควตาอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ส่วนข้อได้เปรียบอื่นตามหลักการแล้วพบว่ามันมีความยืดหยุ่นอยู่มาก ในทางทฤษฎี รัฐบาลอเมริกันอาจทวงถามให้ทางญี่ปุ่นผ่อนคลายหรือรับสัญญาโควตาได้โดยไม่จำเป็นต้องทำเรื่องถึงสภาคองเกรส (Congress) ในทางปฏิบัติมันมีลักษณะคล้ายกับโควตาที่รับรองโดยฝ่ายนิติบัญญัติเป็นอย่างมากแต่ก็มีข้อแตกต่างอย่างหนึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางผู้ที่ทำกำไรจากราคาที่เพิ่มขึ้นได้ ด้วยระบบโควตามาตรฐาน หรือ “แบบฝืนใจ” (Involuntary) ผู้นำเข้าในสหรัฐฯ สามารถควบคุมใบอนุญาตที่หาได้ยากรวมถึงการทำกำไรมหาศาลจากการขยับราคาขึ้นซึ่งคนจ่ายก็คือผู้บริโภค แต่ด้วยระบบโควตาแบบสมัครใจ รัฐบาลต่างประเทศเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะให้ใครเป็นผู้ส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ รัฐบาลต่างประเทศจะได้รับสิทธิอันหาได้ยากและมีคุณค่าไปแทนผู้นำเข้าของสหรัฐฯ ผู้นำเข้าเหมือนกับแก่งแย่งกันเพื่อให้ได้สินค้าต่างชาติที่มีไม่มากนักและเป็นอีกหนที่ราคาถูกถีบตัวให้สูงขึ้นด้วยส่วนเพิ่มเติมอีก 25 ดอลลาร์ แต่ถึงตอนนี้กลายเป็นพวกต่างชาติแล้วที่ได้เงินนั่นไป”

“แล้วสหรัฐฯ เคยใช้โควตาแบบสมัครใจไปจำกัดการนำเข้าบ้างหรือเปล่า, เดฟ”

“ไม่เลยหากแฟรงค์ เบทส์ได้รับเลือกตั้งในปี 1960 การเลือกตั้งของแฟรง เบทส์ ทำให้สหรัฐฯ ต้องพึ่งพาตนเองโดยสิ้นเชิง –ไม่มีการนำเข้า นั่นเป็นโลกที่เราอยู่ในตอนนี้ในเมืองสตาร์ซึ่งดูเหมือนจะเป็นอย่างที่มันเคยเป็นและทุกๆคนขับรถฟอร์ด แฟร์เลน หรือไม่ก็เชฟวี่ อิมพาลา ในโลกเช่นนี้ ระบบโควตาไม่มีความหมายเลย เพราะไม่มีอะไรที่ต้องจำกัด”

“แต่สหรัฐฯ เป็นอย่างไรล่ะถ้าแฟรงค์ เบทส์ไม่ได้รับการเลือกตั้ง?”

“เมื่อสหรัฐฯ เดินตามวิถีของการค้าเสรีมากยิ่งขึ้นแล้ว นั่นคือโลกที่เราเคยได้เห็นเมื่อช่วงหัวค่ำ ถึงแม้ว่ายังเป็นโลกที่ผู้ผลิตในสหรัฐฯ สามารถลดการแข่งขันกับต่างชาติได้ในบางช่วงด้วยการใช้ภาษีการนำเข้า, โควตา และวิธีอื่นๆ ดังเช่นในปี 1981 สหรัฐฯ ร้องขอให้ญี่ปุ่นจำกัดการส่งออกรถยนต์ของพวกเขาโดยสมัครใจ เป็นอย่างที่คุณคาดไว้นั่นล่ะ ข้อจำกัดดังกล่าวดันไปทำให้ราคารถยนต์ทั้งในและนอกประเทศขยับราคาที่เสนอขายผู้บริโภคให้สูงขึ้นไปอีก นักเศรษฐศาสตร์ประมาณการว่าการตั้งข้อจำกัดการนำเข้าโดยสมัครใจจากญี่ปุ่นส่งผลกระทบทำให้ราคารถยนต์อเมริกันแพงขึ้นอย่างน้อย 400 ดอลลาร์ต่อคัน นั่นหมายความว่าในปี 1984 ผู้บริโภคได้จ่ายเงินพิเศษไปกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์อเมริกันและแรงงานของพวกเขาเนื่องจากข้อจำกัดในการนำเข้า แต่ระบบโควตาทั้งแบบสมัครใจหรือแบบบัญญัติเป็นกฎหมายก็ยังคงส่งผลกระทบกว้างขวางกว่านั้น”

“ลองยกตัวอย่างหน่อย?”

“ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นหลายรายสร้างโรงงานอยู่ในสหรัฐฯ เพื่อให้พ้นจากข้อจำกัด นี่ดูเหมือนจะช่วยรักษางานของชาวอเมริกันไว้ แต่มันรักษาได้เฉพาะงานในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์เท่านั้น ถ้าระบบโควตาแบบสมัครใจได้รับการยกเลิกไปและรถยนต์ต่างชาติถูกนำเข้ามาเพิ่มขึ้น มันอาจมีเกิดการขยายตัวของงานในตลาดที่ผลิตสินค้าให้กับพวกญี่ปุ่น ยิ่งกว่านั้นนี่อาจเปิดช่องทางความเชี่ยวชาญในกิจกรรมใหม่ๆ แก่ชาวอเมริกันโดยทำกำไรได้จากความชำนาญการนั้นๆ –นวัตกรรมและสมรรถนะที่เพิ่มขึ้นจากความคุ้นเคยกับภาระงานที่เพิ่มขึ้น นี่จึงเป็นวิถีเวียนสู่ความมั่งคั่งอย่างที่เราได้พูดถึงกันมาแล้วช่วงระยะหนึ่ง มิหนำซ้ำ การสร้างโรงงานของพวกญี่ปุ่นในสหรัฐฯ ก็ยังพบว่ามีความไร้ประสิทธิภาพซึ่งหากพวกมันตั้งอยู่ที่ญี่ปุ่นก็คงจะดีกว่านี้”

“แต่จะอย่างไรก็ตามพวกญี่ปุ่นคงไม่ได้ต้องการสร้างโรงงานในสหรัฐเพื่อให้ใกล้ชิดกับลูกค้าอเมริกันมากขึ้นใช่มั้ย? ซึ่งพวกเขาสามารถประหยัดต้นทุนการขนส่งและได้ความรู้จากลูกค้าอย่างง่ายดายมากขึ้น”

“ถ้าหากคิดให้สมเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์แล้ว พวกเขาอาจทำเช่นนั้นโดยไม่ต้องพึ่งโควตา บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นเริ่มต้นการสร้างโรงงานรถยนต์ในสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 1982 เป็นปีหลังจากโควตาแบบสมัครใจได้บังคับใช้ไปแล้ว บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นหกแห่งสร้างโรงงานขึ้นระหว่างปี 1982 ถึง 1990 แต่กรณีรถยนต์เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งของระบบโควตาแบบสมัครใจเท่านั้น”

“แล้วอย่างอื่นล่ะ?”

“มันมีมากมายเลย กรณีโทรทัศน์อาจจะทำให้คุณสนใจ จำได้มั้ยที่ผมเคยบอกคุณว่าคู่แข่งชาวอเมริกันของคุณได้ยุติการผลิตโทรทัศน์ไปแล้ว?”

“จำได้ๆ”

“เรื่องที่เกิดขึ้นก็คือ เซนิท (Zenith) เห็นว่ามันทำกำไรได้น้อยลง เนื่องจากการแข่งขันจากต่างชาติ แรงกดดันประเภทนี้สวนทางกับภาษีการนำเข้า เมื่อคู่แข่งต่างชาติโจมตีจนราคาลดลง ผู้ผลิตชิ้นส่วนอเมริกันต่างก็ถูกโจมตีด้วยราคาที่ถูกลงเพื่อดึงให้เข้ามาแข่งขันด้วย เซนิทตอบโต้กับผู้ผลิตต่างชาติด้วยการทุ่มตลาด (dumping) และร้องขอให้รัฐบาลลงโทษคู่แข่งของพวกเขา”

“แล้วพวกเขาชนะมั้ย?”

“ไม่หรอก พวกเขาไม่ชนะ แม้ว่ารัฐบาลได้ยืดหยุ่นในเรื่องคำนิยามของการทุ่มตลาดว่าประกอบด้วยอะไรบ้างแล้วก็ตาม แต่พวกเขาก็ได้รับการบรรเทาทุกข์ด้วยกฎหมายบางฉบับขณะที่ยังไม่สามารถยุติกรณีพิพาทได้ รัฐบาลได้บังคับใช้ “ข้อตกลงว่าด้วยระเบียบทางการตลาด” (Orderly Marketing Arrangement) ”

“มันช่างยืดยาวอีกแล้ว”

“มันเป็นแค่ระบบโควตาแบบสมัครใจที่มีชื่อหรูหราแต่ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไร ข้อตกลงดังกล่าวได้จำกัดการนำเข้าโทรทัศน์ของต่างชาติ”

“แล้วมันช่วยได้มั้ย?”

“มันได้ชักชวนให้ผู้ผลิตต่างชาติเข้ามาสร้างโรงงานประกอบในสหรัฐฯ เพื่อเลี่ยงกฎหมายอย่างที่เคยเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมยานยนต์นั่นล่ะ นี่จึงเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่ว่าเหตุใดคุณจึงสามารถขายบริษัทให้กับพวกญี่ปุ่นได้ในโลกของการค้าเสรีซึ่งคุณไปพบเห็นมาก่อนหน้านี้ และเหตุผลที่ว่าเหตุใดพวกเขาจึงต้องสงวนโรงงานไว้นอกเมืองชิคาโก (Chicago) โดยเปิดเป็นโรงงานประกอบชิ้นส่วน ถึงแม้ว่าเมื่อ “ข้อตกลง” จะหมดอายุไปแล้ว แต่ผู้ผลิตต่างชาติยังเกรงว่าจะมี “ข้อตกลง” ในอนาคตจึงได้สร้างโรงงานขึ้นในเมืองนี้อย่างต่อเนื่อง นี่มันช่างกลับผกผันกลับตาลปัตร ขณะที่บริษัทต่างชาติกำลังย้ายโรงงานมาในสหรัฐฯ เซนิทก็กำลังย้ายฐานการผลิตขนาดมหึมาของพวกเขาไปยังประเทศเม็กซิโก (Mexico)”

“มันฟังดูแหม่งๆ นิดหน่อยนะ”

“ไม่ค่อยน่าดึงดูดใจเท่าไหร่ว่ามั้ย, เอ็ด? เซนิทตอบโต้คู่แข่งของเขาให้ใช้จ่ายไปเยอะกับการก่อสร้างโรงงานในสหรัฐฯ และใช้แรงงานอเมริกันที่มีค่าแรงแพงกว่าด้วยการขอให้รัฐบาลบังคับใช้ระบบโควตาแบบสมัครใจ ในเวลาเดียวกันนั้นเองพวกเขาก็ลงทุนไปมากกับฐานการผลิตโดยใช้แรงงานราคาถูกที่เม็กซิโก”

“แต่มันไม่ได้ผลใช่มั้ย?”

“มันไม่ได้ผลเลย แม้ครั้งหนึ่งเซนิทพ่ายแพ้ต่อคดีการทุ่มตลาดแต่พวกเขาก็ผ่านไปได้ การพิจารณาของศาลได้รับความชื่นชมจากเหล่าผู้บูชาในระบบการค้าเสรีและถูกด่าทออย่างเสียๆหายๆ ตรงไปตรงมาจากพวกนิยมลัทธิกีดกันทางการค้า แต่พวกกีดกันทางการค้าก็ไม่อาจอธิบายได้ว่าเหตุใดโทรทัศน์จึงยังคงมีราคาต่ำอยู่ได้เมื่อเทียบกับค่าแรงอย่างที่เราเคยเห็นเมื่อครั้งไปเยี่ยมเซอร์กิต ซิตี้ (Circuit City)”

“แล้วระบบโควตาทำให้เกิดอะไรอย่างอื่นอีกหรือเปล่า, เดฟ?”

“ด้วยระบบโควตาแบบ “สมัครใจ” ช่วงทศวรรษ 1980 ทำให้ผู้ผลิตญี่ปุ่นต้องส่งรถยนต์ที่บรรทุกลูกเล่นเด่นๆ มาเต็มอัตรา เนื่องจากระบบโควตาเป็นการจำกัดปริมาณรถยนต์ให้คงที่ โดยปกติแล้วในตลาดที่ไม่มีกฎเกณฑ์บังคับพวกเขาอาจส่งรถยนต์ที่ผสมกันมาหลายแบบ เช่น บางคันมีลูกเล่นมากมายอย่างเครื่องปรับอากาศและอย่างอื่นที่คล้ายๆ กัน ขณะที่รถยนต์ของเจ้าอื่นอาจเป็นรุ่นพื้นฐานขายในราคาที่ถูกกว่า เป็นเพราะพวกเขาสามารถส่งมาขายได้ในปริมาณที่จำกัด ดังนั้นพวกเขาจึงส่งรถรุ่นหรูหราและแพงที่สุดมาขาย ลูกค้าจึงมีทางเลือกไม่มากนัก”

“รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจได้อย่างไรว่าผู้ผลิตรายใดจะได้ส่งรถยนต์ของพวกเขาเข้ามาจนถึงขีดจำกัด?”

“นั่นเป็นอีกเรื่องที่ไม่มีประสิทธิภาพอย่างมาก ผมทึกทักเอาว่าผู้ผลิตญี่ปุ่นได้แข่งขันกันยื่นข้อเสนอร้อนแรงให้แก่รัฐบาลของพวกเขาเพื่อที่จะให้ได้ช่องทางทำเงินอันมีค่าในตลาดอเมริกัน คล้ายๆ กับที่ผู้นำเข้าในสหรัฐฯ แย่งใบอนุญาตโควตามาตรฐานจากรัฐบาลสหรัฐฯ ทรัพยากรถูกใช้ไปกับการโน้มน้าวให้รัฐบาลญี่ปุ่นตอบรับเป้าหมายที่ไม่เกิดผลิตภาพ เป็นเพราะระบบโควตาที่ทำให้ความคิดริเริ่มและพลังซึ่งโดยทั่วไปจะส่งไปรับใช้ผู้บริโภคแต่กลับต้องถูกเบี่ยงเบนไปที่อื่น ปรากฏการณ์คล้ายๆ กันที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ คือ ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ที่ทำกำไรได้จากรถยนต์ต่างชาติหายากที่พวกเขากำลังขายอยู่ รถยนต์แต่ละคันทำกำไรมหาศาล แต่ก็ยังหาได้ยากอยู่ ทำอย่างไรตัวแทนจำหน่ายจึงสามารถทำให้มีรถยนต์พร้อมจำหน่ายอย่างแน่นอนและสม่ำเสมอได้? จำนวนรถยนต์ที่มีอยู่ไม่อาจอยู่คงที่ได้เพราะระบบโควตาจำกัดปริมาณไว้ พวกตัวแทนจำหน่ายจึงทั้งติดสินบนและอ้อนวอนให้บรรดาตัวแทนของผู้ผลิตเพื่อให้สามารถเข้าถึงปริมาณรถยนต์ที่มีอยู่จำกัดได้มากขึ้น การทำเช่นนี้เป็นการลวงเอาพลังมาจากการรับใช้ผู้บริโภคอีกหนแล้ว”

“ผมเข้าใจจุดยืนของคุณ, เดฟ ผมแค่สงสัยว่ามันสำคัญมากน้อยแค่ไหน”

“พลังและความคิดริเริ่มเป็นของที่มีอยู่จำนวนจำกัดเช่นเดียวกับสินค้าทั่วไป ในโลกแห่งการค้าเสรีนั้นผู้ผลิตชาวอเมริกันถูกกดดันให้คงสภาพความฉลาดช่างประดิษฐ์เอาไว้หรือให้ล้ำหน้ากว่าต่างชาติ ในโลกแห่งการค้าที่ถูกจำกัดผู้ผลิตต่างใช้เวลาของพวกเขาไปกับความพยายามชี้นำรัฐบาลเพื่อข้อจำกัดที่กว้างขวางยิ่งขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน”

“ดังนั้นการต่อต้านสินค้าต่างชาติโดยสิ้นเชิงของแฟรงค์ เบทส์ จึงลงเอยด้วยปัญหาเช่นนั้นใช่มั้ย?”

“ถูกต้องแล้วและมันลงเอยด้วยกำแพงปิดกั้นการแข่งขันกับต่างชาติเสียอีก ยังจำได้ถึงการเดินทางเที่ยวแรกของคุณไปยังวอชิงตันเพื่อพบแฟรงค์ เบทส์ เรื่องการป้องกันการค้าในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ได้ใช่มั้ย? การเดินทางครั้งนั้นเปลืองเวลาและพลังงานไปมาก แทนที่จะมองไปยังหนทางการผลิตโทรทัศน์ที่ดีกว่าเดิมคุณกลับไปชี้นำแฟรงค์ เบทส์ ให้กันคุณออกจากคู่แข่งเสียนี่ และเมื่อแฟรงค์ เบทส์ ผ่านร่างกฎหมายปกป้องคุณและอุตสาหกรรม แต่เมื่อคุณได้ตามวิถีทางของคุณแล้ว การแข่งขันกับต่างชาติที่หายไปได้เปลี่ยนแปลงปริมาณของเวลาที่คุณต้องพยายามปรับปรุงสินค้าของคุณหรือเปล่า? บอกผมหน่อยสิ, เอ็ด คุณรู้ได้อย่างไรว่าพวกรถยนต์ที่ผู้คนกำลังขับอยู่ในสหรัฐฯ ซึ่งไม่พึ่งพาการนำเข้าเป็นฟอร์ด แฟร์เลน?”

“ไม่เอาน่า, เดฟ ผมรู้ว่าฟอร์ด แฟร์เลนมันหน้าตาเป็นยังไง”

“ก็ใช่ และมันดูเหมือนเดิมอย่างในปี 1960 เลยเมื่อถึงปี 2000 สงสัยมั้ยว่าทำไม?”

“โอเค ผมเข้าใจประเด็นของคุณแล้ว เมื่อการแข่งขันน้อยลงก็เลยไม่เกิดประโยชน์อะไรจากการเปลี่ยนแบบรถยนต์กันบ่อยๆใช่หรือเปล่า? คุณก็สามารถประหยัดต้นทุนการออกแบบและปรับแต่งเครื่องยนต์กลไกไปได้”

“ก็อาจใช่นะ ผู้บริโภคส่วนใหญ่หลงใหลในความหลากหลาย สำหรับพวกที่ไม่เป็นอย่างนั้นก็มีบริษัทบางแห่งได้เก็บแบบของรถยนต์บางรุ่นโดยไม่เปลี่ยนแปลงเลยเป็นเวลาหลายปีเอาไว้ให้ แต่การประหยัดหรือขาดทุนจากความหลากหลายที่น้อยลงเป็นเรื่องสำคัญลำดับรองลงไปเมื่อเทียบกับผลกระทบที่สำคัญยิ่งกว่า การเปลี่ยนแปลงระดับหัวใจหลัก คือ หากปราศจากการแข่งขันกับต่างชาติแล้ว ผู้ผลิตรถยนต์อเมริกันก็จะขี้เกียจและความตั้งใจที่จะปรับปรุงสิ่งใหม่ลดลง ฟอร์ด แฟร์เลน เป็นตัวอย่างถึงกรณีนี้ได้แบบไม่มีที่ติ”

“แต่, เดฟ มันเป็นรถที่ดีใช้ได้เลยนะ”

“ใช่มันใช้ได้ดีเลย แค่เราจะไม่มีทางเห็นว่ามันใกล้เคียงกับรถยนต์ในปี 2000 เลย เมื่อมีระบบการค้าเสรีเกิดขึ้น ลองย้อนกลับไปยังที่จอดรถของโรงภาพยนตร์ดูซิ คุณคงไม่ลืมฮอนด้า แอคคอร์ด ที่คุณเลื้อยตัวลงข้างๆ หรอกนะ มันมีถุงลมนิรภัย, ระบบเบรกป้องกันล้อล็อค และวิทยุเอฟเอ็มที่สามารถเล่นเทปที่ถูกอัดเสียงมาก่อนได้ ลองเทียบกับแฟร์เลนสิ มันอาจปลอดภัยกว่าในเชิงโครงสร้างหากเกิดเหตุรถชนแม้ว่าถุงลมนิรภัยและระบบเบรกป้องกันล้อล็อคจะไม่ทำงานก็ตาม มันอาจเดินทางได้ระยะทางไกลอีกร้อยละ 50 ด้วยน้ำมันเต็มถัง แต่มันก็ไม่ได้ผลาญน้ำมันและเครื่องติดๆดับๆน้อยกว่าที่เป็นอยู่เสมอๆหรอก”

“แล้วถุงลมนิรภัยกับระบบเบรกป้องกันล้อล็อคนี่มันเป็นยังไง?”

“ลูกเล่นเพื่อความปลอดภัยที่จะไม่อาจพบได้ในฟอร์ด แฟร์เลน แต่สุดท้ายแล้วฟอร์ดก็ได้ออกแบบรถยนต์ที่สามารถแข่งขันกับฮอนด้าได้ เรียกว่า เทารัส (Tauras) มันมีลูกเล่นทั้งหมดอย่างที่แอคคอร์ดมีและมีบางอย่างมากกว่าด้วย คุณคิดว่าฟอร์ดจะผลิตเทารัสได้หรือเปล่าล่ะ ถ้าฮอนด้า แอคคอร์ดยังคงมีแต่ที่ญี่ปุ่น?”




Create Date : 17 มีนาคม 2552
Last Update : 17 มีนาคม 2552 23:18:18 น. 0 comments
Counter : 3868 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Winnie The PeeH
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Winnie The PeeH's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.