ผู้รู้...ผู้ตื่น...

<<
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
1 พฤษภาคม 2556
 

รู้ด้วยการ"หยั่ง"

รู้ด้วยการ “หยั่ง”


ผู้ถาม :ตัวปัญญาหรือตัวสติที่เห็นมันบางเบาหรือว่ามันไม่เข้าไปถึงตัวพิจารณา และที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันต้องแก้ไขอะไรบ้างครับ

ลพ : ไม่ต้องไปแก้อะไร รู้เบาๆ นั่นแหละ รู้เบาๆ ขอให้มันมีกายมีรู้อยู่ไม่ต้องไปหาอะไรมาก

ผู้ถาม: ที่ ลพ.บอกว่าไปใช้ปัญญาหยั่งลงไปที่ความรู้สึกลองปฏิบัติดูมันเห็นเพียงแว๊บเดียว ตรงนั้นถูกต้องหรือเปล่าครับ?

ลพ: ถูกแล้ว... กายนะมันเกิดขึ้นเป็นแว็บอยู่แล้ว ปัจจุบันกายเวทนากับวิญญาณ แต่อันนี้ไม่ใช่แว๊บเดียวแล้วก็หาย แว็บเปลี่ยนไปเปลี่ยนมามันจะไม่อยู่คงที่ ต้องคอยหยั่งไว้เสมอ

ผู้ถาม: แล้วที่มันไม่ตั้งมั่นตลอดนี่ หมายความว่าจิตมันยังส่ายถ้ากรณีจิตตั้งมั่น มันจะนิ่งแน่วตรง ?

ลพ: ตัวปัญญาจะเห็นชัด มันไม่คอยหยั่งลงมาเสมอมันหยั่งลงด้วยความต่อเนื่อง จะเกิดความต่อเนื่อง ต้องคอยหยั่งลงเสมอเพราะว่าจิตมันยังทำงานพาออกนอกกายไปตลอด เลยต้องคอยหยั่งลงเสมอ เพราะว่าเวลาเราทำงานมันจะมีเรื่องให้ข้องแวะอยู่ตลอด มันเลยจะต้องอาศัยการหยั่งอยู่เสมอ  พอมันหยั่งไปสักระยะนึงเมื่อออกจากการงานภายนอกที่มาข้องแวะ รูปเสียงกลิ่นรส ตรงเนี้ยมันหยั่งด้วยกำลังของสมาธิมันเริ่มปุ๊บเนี้ยมันไม่ต้องหยั่งอยู่เสมอ พอหยั่งปุ๊บมันจะอยู่รู้ อยู่กับสิ่งที่มันรู้นั้นต่อเนื่องเอง เพราะว่าจิตมันจะหมดการทำงาน หมดการส่ายแส่ จากการกระทบหรือว่าความฟุ้งซ่านของสัญญาภายในคือจิตมันจะฟุ้งอยู่สองอาการ คือจากรูปเสียงกลิ่นรสภายนอก และจากสัญญาอารมณ์ตัวเอง มันจะฟุ้งอยู่แค่นั้นแหละพอมันเริ่มหยั่งๆๆ ละ มันก็มีกำลังของสมาธิ พวกนี้(รูปเสียงกลิ่นรส,สัญญาอารมณ์)มันก็จะอ่อนตัวลง มันก็จะอยู่ตัว และขณะที่มันอยู่ตัวเป็นระยะเป็นพรีเรียดท่านเรียกว่า "อุปจาร" 

ผู้ถาม: เป็นเองโดยที่ไม่ได้...

ลพ: เป็นเอง..ไม่ได้เจตนา คือเจตนาเดียวคือเจตนา "หยั่ง"

ผู้ถาม: "หยั่ง..."

ลพ: แค่นั้น...คือเจริญ การเจริญสติ คือการจะประกอบเหตุเขาเรียกว่าการประกอบเหตุแห่งศีลด้วยสติ ต้องเจริญขึ้นด้วยการหยั่ง หยั่งรู้หยั่งเห็นอยู่ภายใน และทุกอย่างจะเป็นไปตามครรลองของมัน

ผู้ถาม: มันก็ต้องหยั่งบ่อยๆ รู้บ่อยๆ

ลพ:หยั่งแล้วถ้ามันได้ที่มันก็จะอยู่ของมันเอง มันก็จะเห็นอาการเป็นกอง...ต่อเนื่องไป คราวนี้เมื่อมันเห็นเป็นกองต่อเนื่องไปเนี้ยก็ไม่ต้องหยั่งแล้ว จิตมันไม่ไปไหนแล้ว มันก็อยู่ตัว อยู่ตัวได้เป็นห้านาทีสิบนาที ตรงนี้มันจะเป็นฐานของอุปจาระ ปัญญามันจะเกิดเมื่อตอนที่เป็นอุปจาระนี่แหละ มันไม่เกิดตอนที่หยั่งๆ

ผู้ถาม: ตรงที่หยั่งนั้นเป็นขณิกะ?..

ลพ: เป็นขณิกะ..

ผู้ถาม2: มันจะพยายามไปข้างนอกตลอด..

ลพ: เป็นธรรมดา.. บอกแล้วว่า เบื้องต้นต้องกำราบจิต เข้าใจไหม? เพราะจิตมันยังมีพลังหรือว่าความไม่รู้ของอำนาจของตัญหาอวิชา มันยังมีกำลังความเป็นเราในอดีตอนาคตยังแรงสูง เพราะฉะนั้นการฝึกเบื้องแรกต้องกำราบจิตด้วยสติ และระลึกรู้ด้วยการหยั่ง จนกว่ามันจะมีกำลังมากกว่ามันจึงจะค่อยหยุดเป็นระยะระยะ เมื่อกำลังมีมากกว่าปุ๊บเนี้ย เขาเรียกกว่า ได้ทีขี่แพะไล่เลยเอาให้อย่าให้ขาดเลย อยู่ตรงนั้น มันก็จะสะสมพลังของสมาธิ ตอนเนี้ยมันจะเกิดความมั่งคง ดวงจิตผู้รู้ก็จะชัดเจนขึ้นในลักษณะที่เป็นอุปจาระนี่ แต่ในขณะที่หยั่งๆ เนี้ย ความรู้ความเห็นจะไม่ชัด

ผู้ถาม: ใช่...ไม่ชัด เบา เบา...

ลพ:ทำให้รู้เบาๆ เห็นเบาๆ ปัญญายังไม่เกิดชัดเจนตรงนี้หรอก

ผู้ถาม: แต่ก็เป็นทางที่จะไปสู่ตรงนั้นได้..ใช่ไหมครับ

ลพ: กำราบจิตไง..ไม่งั้นสมาธิไม่เกิด ถ้าสมาธิไม่เกิดปัญญาไม่เกิดหรอกและต้องเป็นสมาธิระดับอุปจาระขึ้นไป ระดับขณิกะก็พอฟัดพอเหวี่ยงกับกิเลสเท่านั้นแหละและก็ส่วนมากกิเลสจะใหญ่กว่า หรือความอยากความไม่อยากใหญ่กว่าเพราะฉะนั้นในระหว่างขณิกะเนี้ย อารมณ์ร้อยแปดได้หมดเลยและก็สุดท้ายก็จะไหลไปตามอารมณ์ เพราะมันทานไม่อยู่ ทานอำนาจกิเลสไม่อยู่หรอกแต่ระดับอุปจาระนี่ ทานอยู่ และกิเลสขึ้นได้พร้อมกันหมดด้วย แต่ทานอยู่เพราะเมื่อมันทานอยู่ปั๊บเนี้ยหมายความว่า มันเริ่มเห็นความเป็นกิเลสที่แท้จริงแล้วคืออะไรก็เห็นเป็นแค่ของกองหนึ่งกลุ่มหนึ่งก้อนหนึ่งแล้วก็ผ่านไป อย่างงี้เรียกว่าความเป็นไตรลักษณ์จะเกิดขึ้น แต่ถ้ามันทานไม่อยู่หมายความว่ามันจะเข้าไปเป็นเราเข้าไปเป็นเราในอารมณ์ ทีนี้ก็จบ ล้ม เขาเรียกว่าศีลสมาธิปัญญาล้มพอล้มเมื่อไหร่ก็เป็นเราเมื่อนั้น

ผู้ถาม: ย้อนกลับไปเริ่มใหม่..

ลพ: เริ่มใหม่ ก็กลับไปรู้กายใหม่ แก้แค่นี้ กลับมารู้ที่เดียวกลับมาตั้งต้นที่ศีลอยู่ตลอดจนเกิดความสม่ำเสมอต่อเนื่อง เรียกกว่าสัมปะชัญญะขึ้นมาเมื่อนั้นเมื่อสัมปะชัญญะขึ้นมา ตัวสัมปะชัญญะมันจะรักษาสมาธิให้ต่อเนื่อง ถ้าไม่เกิดเป็นสัมปะชัญญะ สมาธิจะไม่ต่อเนื่องจิตก็ไม่ตั้งมั่นพอไม่ตั้งมั่นก็ไม่มีกำลังที่จะเห็นหรือว่าทนทานต่อสภาพธรรมที่ปรากฎอดไม่ได้ที่จะเป็นเราของเรา และก็ไปร่วมเล่น เป็นเหตุ เคือง แช่

ลพ: ทิ้งไม่ได้เลย ศีล สมาธิ ปัญญา คือพิจารณาไปพิจารณามามันอยู่ในแง่ของศีล สมาธิปัญญานี้ตลอดเวลาและเผอิญสมมติว่าไม่มีอะไรมา มันล้มหายหมดสิ้นเลย แปลว่า ศีลสมาธิปัญญานี้มันล้มเหลวเลย มันล้มไปแล้ว ก็ตั้งขึ้นมาใหม่โดยสติระลึกขึ้นที่กายเขาเรียกว่าตั้งศีลขึ้นมาใหม่ สมาธิก็ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นก่อตัวขึ้นตามลำดับการรู้การเห็นก็จะชัดเจนขึ้นตามลำดับ
---------------------------------------

ณ ถ้ำผาปล่อง




 

Create Date : 01 พฤษภาคม 2556
0 comments
Last Update : 1 พฤษภาคม 2556 15:54:57 น.
Counter : 1035 Pageviews.

 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนุ่มทิพย์
 
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เว็บบล็อคแห่งนี้ เป็นสถานที่สำหรับบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ได้จากประสบการณ์การศึกษาปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐานสี่ ของข้าพเจ้า...
web counter
[Add หนุ่มทิพย์'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com