+++++ น้ำทุกหยาดมีประโยชน์ หากทุกคนใช้อย่างคุ้มค่าและประหยัด +++++
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
5 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
การส่งน้ำชลประทานแบบ ส่ง 8 หยุด 4

บทที่ 1

ขอ copy มาก่อน (ตามระเบียบ)
อธิบดีกรมชลประทานนำสื่อมวลชนเยี่ยมชมความสำเร็จแก้มลิงธรรมชาติ “ทุ่งท่าวุ้ง” จังหวัดลพบุรี



นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายสาทร เรืองจิระอุไร ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 12 และนายนพพร ชัยพิชิต ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 10 นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมการบริหารจัดการน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท แก้มลิงธรรมชาติทุ่งท่าวุ้ง หนองสมอใส จังหวัดลพบุรี และทะเลสาบบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในช่วงน้ำหลากกับคณะสื่อมวลชน ว่า กรมชลประทานใช้เขื่อนเจ้าพระยาเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการน้ำให้อยู่ในภาวะสมดุลมากที่สุด โดยไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ท้ายเขื่อน โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง พร้อมกับพยายามลดผลกระทบต่อพื้นที่เหนือเขื่อนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มีฝนตกหนักเหนือเขื่อน มีปริมาณน้ำจำนวนมาก กรมชลประทานพยายามบริหารจัดการน้ำ โดยใช้พื้นที่แก้มลิงเป็นเครื่องมือในการบรรเทาปัญหา โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งเป็นทุ่งรับน้ำนองเดิมตามธรรมชาติ นายชลิต กล่าวว่า ขณะนี้กรมชลประทานประสบความสำเร็จในการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นแก้มลิงที่ใช้รับน้ำในฤดูน้ำหลากในพื้นที่นำร่อง “ทุ่งท่าวุ้ง” อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จำนวน 25,000 ไร่ โดยมีหลักสำคัญ คือ การมีส่วนร่วมของเกษตรกร ซึ่งหน่วยงานของกรมชลประทานได้ร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่หาแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมให้สามารถทำการเกษตรได้เต็มศักยภาพ โดยในพื้นที่ทุ่งท่าวุ้งนี้สามารถรองรับปริมาณน้ำหลากได้มากถึง 80 ล้านลูกบาศก์เมตร และยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก โดยการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการปลูกข้าวของเกษตรกรที่เดิมทำนาปีระหว่างเดือนมิถุนายน-กุมภาพันธ์ และมักถูกน้ำท่วมเสียหายเป็นประจำในฤดูฝน มาเป็นการปลูกข้าวนาปรังปีละ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ระหว่างเดือนธันวาคม-มีนาคม และครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม แทน โดยงดปลูกข้าวในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม และปรับให้เป็นแก้มลิงธรรมชาติที่สามารถรองรับปริมาณน้ำหลากได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นกรมชลประทานยังได้บริหารจัดการน้ำที่เก็บกักไว้ในแก้มลิงธรรมชาติให้มีประโยชน์สูงสุดโดยนำน้ำที่รองรับไว้มาใช้ในการเตรียมแปลงก่อนการเพาะปลูก และปริมาณน้ำในคลองสายหลักยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่สามารถนำไปใช้ในฤดูแล้งต่อไป ทำให้พื้นที่ทุ่งท่าวุ้งสามารถทำนาได้ถึง 2 ครั้ง ซึ่งกรมชลประทานจะนำเอาความสำเร็จของทุ่งท่าวุ้งนี้ไปขยายผลในพื้นที่ลุ่มต่ำอื่นอีกต่อไป

บทที่ 2

ที่มา : //www.rid.go.th/2009/index.php?option=com_content&view=article&id=153:-2-&catid=6:2009-04-12-07-50-21&Itemid=7

บทที่ 3

โครงการฯ นี้ เคยคิดและประชาคมไว้ตั้งเกือบสิบปีที่แล้ว (สมัยนายมงคลฯ เป็น ชคบ. คนสุดท้ายของโครงการฯ) แล้วเรียกกันจนติดปากว่า ส่ง 8 หยุด 4 ซึ่งหมายถึง ส่งน้ำชลประทาน 8 เดือนติดกันตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมิถุนายน แล้วหยุดส่งน้ำเพื่อซ่อมแซมคลอง ประกอบกับช่วงนี้เป็นฤดูฝนน้ำจะท่วมอยู่แล้ว 4 เดือน คือเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม
แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจาก
1. คุณต้องไปทำรายละเอียดโครงการฯ มาให้ละเอียด รวมถึงผลกระทบ ฯลฯ
2. ทำไมผิดจากที่กรมฯ ให้ส่งน้ำ 2 รอบคือ รอบแรก พฤศจิกายน-พฤษภาคม และ รอบที่สอง มิถุนายน-ตุลาคม คุณต้องอธิบาย
3. ตอนนี้รู้แล้วว่า นายถูกเสมอ

แต่ก็ยังดี จะได้ แก แก่ แก้ไขได้ต่อไป

บทที่ 4

แก้ปัญหาน้ำ 'วิน-วิน'

หนึ่งในแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานเพื่อการ “แก้ปัญหาเรื่องน้ำ” ให้กับเหล่าพสกนิกรชาวไทย คือโครงการ “แก้มลิง” ซึ่งทางกรมชลประทานได้น้อมนำแนวพระราชดำริมาดำเนินการจัดทำโครงการแก้มลิงในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีความ เหมาะสม

และที่ “ทุ่งท่าวุ้ง” จ.ลพบุรี ก็เป็นหนึ่งใน “กรณีศึกษา”

ทั้งนี้ โครงการแก้มลิงนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะคือ... แก้มลิงที่เกิดจากการดำเนินการปรับปรุงพัฒนา และแก้มลิงธรรมชาติ โดยอธิบดีกรมชลประทาน ชลิต ดำรงศักดิ์ ระบุว่า... พื้นที่แก้มลิงนั้นเป็นพื้นที่ช่วยจัดการปัญหาน้ำ เช่น ช่วยจัดการน้ำในฤดูฝนที่มีมาก ซึ่งแต่เดิมในบ้านเรามีพื้นที่ที่เป็น “แก้มลิงธรรมชาติ” ที่ถูกเรียกว่า “ทุ่งน้ำนอง” ฝนที่ตกจากทางเหนือจะไหลลงมาสู่พื้นที่ข้างล่าง น้ำส่วนหนึ่งก็จะไหลเข้าไปอยู่ในทุ่งน้ำนองธรรมชาติ ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องน้ำท่วม แต่เพราะพื้นที่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก พื้นที่ถูกใช้ทำการเกษตรมากขึ้น ทุ่งน้ำนองมีน้อยลง เมื่อมีฝนตกลงมาในปริมาณมาก ก็ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม

“ทางกรมจึงต้องมีแผนงานสร้างแก้มลิงธรรมชาติเพื่อรองรับน้ำเหนือ บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้านตะวันออกใน จ.สระบุรี และ จ.ลพบุรีอีก ซึ่งแก้มลิงธรรมชาติท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี”

โครงการแก้มลิงธรรมชาติท่าวุ้ง เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำที่รองรับน้ำในช่วงน้ำหลากด้วยเนื้อที่ 25,000 ไร่ โดยเป็นที่ดินของชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทำนา ที่ยินยอมให้ผันน้ำเข้าเก็บไว้ในช่วงน้ำหลาก เดือน ต.ค.-พ.ย. และสามารถปรับเปลี่ยนจากการทำนาปีช่วงน้ำหลาก ปีละ 1 ครั้ง เป็นการทำนาปรังปีละ 2 ครั้งหลังน้ำลด

กับแก้มลิงธรรมชาติที่ท่าวุ้งนี้ นพพร ชัยพิชิต ผอ.สำนักชลประทานที่ 10 เสริมข้อมูลว่า... รองรับน้ำที่ผันจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ประมาณ 80 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งแต่เดิมการทำนาของเกษตรกรในพื้นที่จะทำกันได้ปีละ 1 ครั้ง และไม่มีระบบคันคูน้ำ ทำให้ชาวนาได้รับผลกระทบมากมาย จนหลังจากปี พ.ศ. 2539 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาโคกกระเทียมได้ประชุมพูดคุยกับกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหา

และก็สรุปลงตัวที่โครงการ “แก้มลิงธรรมชาติ” โดยชาวนางดเว้นการทำนาปีในช่วงน้ำหลาก ปรับเปลี่ยนเป็นการทำนาปรัง ปีละ 2 ครั้ง ซึ่งก็ช่วยให้ชาวนาที่ทุ่งท่าวุ้งมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

คะนอง เอมถมยา กำนันตำบลบางคู้ และประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรท่าวุ้ง ร่วมให้ข้อมูลความเป็นมาของโครงการแก้มลิงธรรมชาติท่าวุ้งว่า... เดิมเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี จะปลูกข้าวกันปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเป็นข้าวนาปี โดยข้าวส่วนใหญ่ที่ปลูกจะเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง คือข้าวฟางลอย เป็นข้าวพันธุ์ที่ขึ้นน้ำ เนื่องจากช่วงเวลาปลูกข้าวจะเป็นช่วงที่มีน้ำมาก แต่ข้าวพันธุ์ดังกล่าวนี้เป็นพันธุ์ที่มีผลผลิตต่ำ เพียงประมาณ 30-40 ถัง ต่อไร่ และถ้าปีไหนฝนเยอะ ก็เกิดปัญหาน้ำท่วมสร้างความเสียหายให้กับข้าวที่ปลูกอีก

จากการที่เกษตรกรชาวนาที่นี่สามารถทำนาได้เพียงปีละ 1 ครั้ง และผลผลิตไม่สูง ซ้ำร้ายบางปีผลผลิตก็เสียหาย ส่งผลให้เกษตรกรส่วนใหญ่เกิดปัญหาเรื่องหนี้สินกันทั่วหน้า ต่อมาชาวบ้านจึงรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ช่วยกันคิดหาวิธีต่อสู้กับปัญหา เริ่มมีการทำนาปรัง โดยมีการเข้าไปคุยกับทางกรมชลประทาน จนที่สุดก็ได้ข้อตกลงในการแก้ปัญหาการทำนา ที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ทั้งต่อชาวนา และต่อภารกิจของหน่วยงานรัฐ

ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตรท่าวุ้ง ระบุต่อไปว่า... ทางกลุ่มชาวนาท่าวุ้งยินยอมที่จะให้มีการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าพื้นที่นาเพื่อเก็บน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก หรือที่เรียกว่า “แก้มลิงธรรมชาติ” เพื่อเป็นการช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงสู่พื้นที่ลุ่มภาคกลาง ป้องกันปัญหาเรื่องน้ำท่วม ซึ่งรวมถึงพื้นที่กรุงเทพฯ

การผันน้ำเข้าพื้นที่ทุ่งท่าวุ้งจะทำในช่วงที่เดิมนั้นชาวบ้านเคยทำนากัน แต่ก็ปรับเปลี่ยนเป็นยังไม่ทำ รอจนหลังจากพ้นช่วงน้ำหลากแล้วทางกรมชลประทานก็จะปล่อยน้ำออกจากที่นา แต่จะให้เหลือปริมาณน้ำที่เหมาะสมสำหรับการทำนา ซึ่งชาวนาที่นี่ก็สามารถทำนาปรังได้ปีละ 2 ครั้ง แทนการทำนาปีเพียงปีละ 1 ครั้ง และ สามารถเปลี่ยนจากการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง เป็นการปลูกพันธุ์ กข ซึ่งทำให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้นมาก

จากที่เคยปลูกข้าวได้ประมาณ 30-40 ถังต่อไร่ ก็สามารถปลูกข้าวได้มากถึง 90-100 ถังต่อไร่ ที่สำคัญยังสามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง ทำให้ชาวนาเริ่มมีรายได้ดีขึ้น เฉลี่ยแล้วชาวนาในพื้นที่นี้มีรายได้ประมาณวันละ 250-300 บาท ซึ่งเทียบแล้วถือว่ามีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 80%

“ในช่วงที่มีการผันน้ำเข้ามาเก็บไว้ในที่นา ชาวบ้านก็ยังมีอาชีพเสริมโดยทำประมงจับปลาได้ด้วย และยังมีข้อดีอีกอย่างคือในช่วงที่ที่นามีน้ำท่วมขังนั้นจะช่วยย่อยสลายฟางข้าวที่อยู่ในนาเป็นปุ๋ย ทำให้ดินในที่นามีความอุดมสมบูรณ์ดีขึ้นอีกด้วย” ... ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่นี้กล่าว

“แก้มลิงธรรมชาติทุ่งท่าวุ้ง” เป็นกรณีศึกษาน่าสนใจ

โครงการนี้เกิดขึ้นโดยประชาชนเองก็ยินยอมพร้อมใจ

บนหลักการ “วิน-วิน” ได้ประโยชน์กันทุกฝ่าย !!!.


ที่มา : //www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=23&contentID=30217

ขอเพิ่มเติมไว้ก่อน ตอนนี้ยังไม่ comment


Create Date : 05 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2552 14:20:40 น. 0 comments
Counter : 745 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

kuk-42
Location :
พิจิตร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add kuk-42's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.