"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 
 
4 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 

ภาพที่ ๖๗. ถึงเพ็ญเดือน ๓ พรรษาที่ ๔๕ พญามารเข้าเฝ้าทูลให้เสด็จปรินิพพาน ทรงรับอาราธนา









ถึงเพ็ญเดือน ๓ พรรษาที่ ๔๕
พญามารเข้าเฝ้าทูลให้เสด็จปรินิพพานทรงรับอาราธนา







สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร


ภาพที่ ๖๗

ถึงเพ็ญเดือน ๓ พรรษาที่ ๔๕
พญามารเข้าเฝ้าทูลให้เสด็จปรินิพพาน ทรงรับอาราธนา


พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกประกาศพระศาสนาตามแคว้นและเมืองต่างๆ เป็นเวลา ๔๕ พรรษา

นับตั้งแต่วันตรัสรู้เป็นต้นมา พรรษาที่ ๔๕ จึงเป็นพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า และเป็นเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุได้ ๘๐ ปี นับแต่ประสูติเป็นต้นมา

พรรษาสุดท้าย พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่เวฬุคาม แขวงเมืองไพศาลี ระหว่างพรรษาทรงพระประชวรเพราะอาพาธหนัก จวนเจียนจะเสด็จนิพพาน พระสงฆ์ทั้งปวงที่ยังเป็นปุถุชน

หรือแม้แต่พระอานนท์ องค์อุปัฏฐากต่างก็หวั่นไหว เพราะตวามตกใจที่เห็นพระพุทธเจ้าประชวรหนัก

พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ว่า เวลานี้พระกายของพระองค์ถึงอาการชรามาก มีสภาพเหมือนเกวียนชำรุด ที่ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่

ทรงหายจากอาพาธคราวนี้แล้ว และเมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ เสด็จไปประทับที่ร่มพฤกษาแห่งหนึ่งในปาวาลเจดีย์ แขวงเมืองไพศาลี

เวลากลางวัน พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอภาศนิมิตแก่พระอานนท์ว่า 'อิทธิบาทสี่' (ชื่อของธรรมหมวดหนึ่งมี ๔ ข้อ) ถ้าผู้ใดได้บำเพ็ญได้เต็มเปี่ยมแล้ว สามารถจะต่ออายุให้ยืนยาวไปได้อีกกำหนดระยะเวลาหนึ่ง

'โอภาสนิมิต' แปลเป็นภาษาชาวบ้านว่าบอกใบ้ คือพระพุทธเจ้ามีพระชนมายุจะสิ้นสุดลงในปีที่กล่าวนี้ จึงทรงบอกใบ้ให้พระอานนท์กราบทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุยืนยาวต่อไปอีกระยะหนึ่ง

แต่พระอานนท์ท่านนึกไม่ออก ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกใบ้ถึง ๓ หน

ปฐมสมโพธิบอกว่า เมื่อพระอานนท์นึกไม่ออกเช่นนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกพระอานนท์ ให้ไปนั่งอยู่ที่ใต้ร่มไม้อีกแห่งหนึ่ง แล้วมารก็เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลพระพุทธเจ้าให้เสด็จนิพพาน พระพุทธเจ้าทรงรับคำแล้วทรงปลงอายุสังขาร

'ปลงอายุสังขาร' แปลเป็นภาษาสามัญได้ว่ากำหนดวันตายไว้ล่วงหน้า วันนั้นเป็นวันเพ็ญ เดือนสาม พระพุทธเจ้าตรัสว่า นับจากนี้ไปอีก ๓ เดือนข้างหน้า (กลางเดือนหก) พระองค์จะนิพพานที่ เมืองกุสินารา


ขอขอบพระคุณ

- DhammaPerfect@hotmail.com
- อ.เหม เวชกร
- กรอบ ป้ามด

_________________________________________
บันทึก ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
ติดต่อ : DhammaPerfect@hotmail.com


สิริสวัสดิ์ศุกรวารวัฒนา ชนมาสืบยืนสี่หมื่นวันนะคะ




 

Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2554
41 comments
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2554 0:00:06 น.
Counter : 1502 Pageviews.

 

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ

1. ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น)

การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5

2. ทุกขสมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์,

ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ

วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ

3. ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง

4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ
1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ
2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ
4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ
6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ
7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ
8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ

ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง

มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงในไตรสิกขา ได้ดังนี้

1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ

2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ และ

3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ

อริยสัจ 4 นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

โดย: nart (sirivinit ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 0:02:41 น.  

 

กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่

1.ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา

2.ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ

3.สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย

4.ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา

กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ

ของแถมค่ะ

อิทธิบาท หรือ อิทธิบาท 4

เป็นศัพท์ในพุทธศาสนา หมายถึง ฐานหรือหนทางสู่ความสำเร็จ หรือ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ คุณเครื่องสำเร็จสมประสงค์ ทางแห่งความสำเร็จ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย มี ๔ ประการ คือ

ฉันทะ (ความพอใจ) คือ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไป

วิริยะ (ความเพียร) คือ ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระไม่ท้อถอย

จิตตะ (ความคิด) คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใฝ่ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป

วิมังสา (ความไตร่ตรอง หรือ ทดลอง) คือ หมั่นใช้ปัญญา พิจารณาใคร่ครวญ ตรวจหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

โดย: นาถ (sirivinit ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 0:05:24 น.  

 

มาย้ำเตือนให้ระลึกถึงค่ะ

พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ

1.เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข)

2.กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์)

3.มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นมีความสุขในทางที่เป็นกุศล)

4.อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง)

การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์

ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
ที่ได้เคยกระทำไว้

จะดีหรือชั่วก็ตาม กรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

โดย: นาถ (sirivinit ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 0:07:25 น.  

 

สังคหวัตถุ แปลว่า ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์กัน,
ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน หมายถึง หลักการครองใจคน, หลักยึดเหนี่ยวใจกันไว้, วิธีทำให้คนรัก, หลักสังคมสงเคราะห์

ซึ่งเป็นเครื่องประสานใจและเหนี่วรั้งใจคนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ และทำให้อยู่กันด้วยความรักความปรารถนาดีต่อกัน

เหมือนลิ่มสลักรถที่ตรึงตัวรถไว้มิให้ชิ้นส่วนกระจายไป ทำให้รถแล่นไปได้ตามที่ต้องการ

สังคหวัตถุ มี ๔ ประการ คือ

1.ทาน การให้ การเสียสละ การแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น ช่วยปลูกฝังให้เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว แบ่งปันกัน (แบ่งปันไปมา)

2.ปิยะวาจา การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน จริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เหมาะกับกาลเทศะ พูดดีต่อกัน (พูดจาจับใจ)

3.อัตถจริยา ช่วยเหลือกัน (ช่วยกิจกันไป)

4.สมานัตตา การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ โดยประพฤติตัวให้มีความเสมอต้นเสมอปลาย วางตัวดีต่อกัน (นิสัยเป็นกันเอง)


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

โดย: นาถ (sirivinit ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 0:12:05 น.  

 

ฆราวาสธรรม ประกอบด้วย 2 คำ "ฆราวาส" แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตในทางโลก, ผู้ครองเรือน และ "ธรรม" แปลว่า ความถูกต้อง, ความดีงาม, นิสัยที่ดีงาม, คุณสมบัติ, ข้อปฏิบัติ

ฆราวาสธรรม แปลว่า คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ

1.สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้
2.ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ
3.ขันติ แปลว่า อดทน
4.จาคะ แปลว่า เสียสละ

ความสำคัญของหลักธรรม 4 ประการ ที่มีต่อการสร้างตัวนี้ พระพุทธองค์ถึงกับท้าให้ไปถามผู้รู้ท่านอื่นๆ ว่า

มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างเกียรติยศให้คนเราได้เท่ากับการมี "สัจจะ" หรือไม่

มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างปัญญาให้คนเราได้เท่ากับการมี "ทมะ" หรือไม่

มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างทรัพย์สมบัติให้คนเราได้เท่ากับการมี "ขันติ" หรือไม่

มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างหมู่มิตรให้คนเราได้เท่ากับการมี "จาคะ" หรือไม่

การที่พระพุทธองค์ทรงท้าให้ไปถามผู้รู้อื่นๆ อย่างนี้ก็หมายความว่า ไม่มีธรรมะใดๆ ที่จะใช้สร้างตัวให้ประสบความสำเร็จได้ยิ่งกว่าการสร้างสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะให้เกิดขึ้นในตนอีกแล้ว

หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ คนที่จะยืนหยัดผ่านอุปสรรคต่างๆ ในโลกนี้ไปจนกระทั่งพบความสำเร็จได้นั้น เขาต้องสร้าง "ฆราวาสธรรม" ให้เป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานประจำตนก่อนนั่นเอง

เพราะฉะนั้น ความหมายที่แท้จริงของ ฆราวาสธรรม คือ คุณสมบัติของผู้ที่สามารถสร้างเกียรติยศ สร้างปัญญา สร้างทรัพย์สมบัติ และสร้างหมู่ญาติมิตรให้เกิดขึ้นได้สำเร็จด้วยกำลังความเพียรของตน


อานิสงส์ของการสร้างตัวให้มีฆราวาสธรรม

อานิสงส์ของการมีสัจจะ - ปลูกนิสัยความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัว - เป็นคนหนักแน่นมั่นคง - มีความเจริญก้าวหน้าในการประกอบหน้าที่การงาน - ได้รับการเคารพยกย่อง - มีคนเชื่อถือ และยำเกรง - ครอบครัวมีความมั่นคง - ได้รับเกียรติยศชื่อเสียง

อานิสงส์ของการมีทมะ - ปลูกฝังนิสัยรักการฝึกฝนตนให้เกิดขึ้นในตัว - ทำให้เป็นคนมีความสามารถในการทำงาน - ไม่มีเวรกับใคร - ยับยั้งตนเองไม่ให้หลงไปทำผิดได้ - สามารถตั้งตัวได้ - มีปัญญาเป็นเลิศ

อานิสงส์ของการมีขันติ - ปลูกฝังนิสัยการอดทนต่ออุปสรรคและปัญหาต่างๆ - ทำงานได้ผลดี - สามารถเป็นหลักในครอบครัวได้ - สามารถเป็นหลักให้กับบริวารได้ - ไม่มีเรื่องวิวาทกับคนอื่น - ไม่หลงผิดไปทำความชั่วได้ - ทำให้ได้ทรัพย์มา

อานิสงส์ของการมีจาคะ - ปลูกฝังการมีอารมณ์ผ่องใสและนิสัยเสียสละให้เกิดขึ้นในตัว - เป็นการสร้างความปลอดภัยแก่ตนเอง - เป็นที่นับหน้าถือตาของคนทั่วไป - ครอบครัวและสังคมเป็นสุข - มีกัลยาณมิตรรอบตัว

สรุปแล้วคุณของการมีฆราวาสธรรมโดยรวม ก็คือ เมื่อมีสัจจะย่อมมีเกียรติยศชื่อเสียง เมื่อมีทมะย่อมได้รับปัญญา เมื่อมีขันติย่อมเกิดทรัพย์ในบ้าน และเมื่อมีจาคะย่อมเกิดมิตรที่ดีไว้เป็นสมัครพรรคพวกในสังคม


โทษของการไม่สร้างตัวให้มีฆราวาสธรรม

โทษของการขาดสัจจะ- ปลูกนิสัยขาดความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัว - เป็นคนเหลาะแหละ - พบแต่ความตกต่ำ - มีแต่คนดูถูก - ไม่มีคนเชื่อถือ - ไม่สามารถรองรับความเจริญต่างๆ ได้ - ไร้เกียรติยศชื่อเสียง

โทษของการขาดทมะ - ขาดนิสัยรักการฝึกฝนตนเอง - ทำให้ขาดความสามารถในการทำงาน - สามารถหลงผิดไปทำความชั่วได้ง่าย - จะเกิดการทะเลาวิวาทได้ง่าย - จะจมอยู่กับอบายมุข - ครอบครัวเดือดร้อน - ไม่สามารถตั้งตัวได้ - เป็นคนโง่เขลา

โทษของการขาดขันติ - ไม่สามารถอดทนต่อปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ได้ - เป็นคนจับจด ทำงานคั่งค้าง - ไม่สามารถเป็นหลักให้ครอบครัวได้ - หลงผิดไปทำความชั่วได้ง่าย - ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่น - เต็มไปด้วยศัตรู - ขาดความเจริญก้าวหน้า - ทำให้เสื่อมจากทรัพย์

โทษของการขาดจาคะ - ปลูกฝังความตระหนี่ให้เกิดขึ้นในใจ - ได้รับคำครหาติเตียน - เป็นทุกข์ใจ - ไม่มีใครอยากเข้าใกล้ สรุปแล้วโทษของการขาดฆราวาสธรรมโดยรวมก็คือ

เมื่อขาดสัจจะย่อมเกิดปัญหา ถูกหวาดระแวง เมื่อขาดทมะย่อมเกิดปัญหาความโง่เขลา เมื่อขาดขันติย่อมเกิดปัญหาความยากจน และเมื่อขาดจาคะย่อมเกิดปัญหาความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นในสังคม

ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

โดย: นาถ (sirivinit ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 0:16:01 น.  

 

สติปัฏฐาน 4 เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม

คำว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ) แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ

แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็น​เจตสิกประ​เภทหนึ่ง​ ส่วนปัฏฐาน ​แปล​ได้​หลายอย่าง​

​แต่​ใน​ ​มหาสติปัฏฐานสูตร​ ​และ​ ​สติปัฏฐานสูตร​ ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น

โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่

1.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟมาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย

ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรมหนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

2.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนาด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา

คือไม่มองว่าเรากำลังทุกข์ หรือเรากำลังสุข หรือเราเฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

3.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำจิตมาระลึกรู้เจตสิกหรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา

คือไม่มองว่าเรากำลังคิด เรากำลังโกรธ หรือเรากำลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

4.ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้งรูปธรรมและนามธรรมล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา


มติอาจารย์บางพวก
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า .-

"กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณารูปขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายสุภวิปลาส (สำคัญความไม่งามว่างาม) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นตัณหาจริตทั้ง 3 คือราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต และเป็นสมถยานิก คือมีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เหนือกว่า ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ซึ่งต้องเพิ่มการพิจารณาให้สมดุลกับสมาธิที่มีมากกว่า

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาเวทนาขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายสุขวิปลาส (สำคัญความทุกข์ว่าสุข) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นตัณหาจริตทั้ง 3 คือราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต และเป็นวิปัสสนายานิก คือมธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ เหนือกว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ซึ่งต้องเพิ่มสมาธิให้สมดุลกับปัญญาที่มีมากกว่า

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาวิญญาณขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนิจจวิปลาส (สำคัญความไม่แน่นอนว่าแน่นอน)

เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นสมถยานิก คือมีวิริยะพละ สมาธิพละ เหนือกว่าศรัทธาพละ ปัญญาพละ ด้วยการเพิ่มกำลังวิริยะพละ สมาธิพละ ให้สมบูรณ์

ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การพิจารณาสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนัตตวิปลาส (ความไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3

คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็นวิปัสสนายานิก คือมีศรัทธาพละ ปัญญาพละเหนือกว่าวิริยะพละ สมาธิพละ ด้วยการเพิ่มกำลังศรัทธาพละ ปัญญาพละให้สมบูรณ์ " ดังนี้

ข้อนั้น ไม่สมกับพระไตรปิฎก เพราะคำว่า สมถะยานิก ไม่ได้หมายถึง ความมีสมาธิมากหรือน้อย แต่กล่าวถึง ผู้ที่ใช้สมถะนำเพราะเหมาะแก่ตน ซึ่งบุคคลคนๆนั้น อาจมีสมาธิมาก หรือน้อยก็ได้ มีมากก็เช่นในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส มีน้อยก็ตามเนตติปกรณ์และสติปัฏฐานสูตร.

จริงอย่างนั้น ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส ท่านกล่าวสมถะยานิกไว้ในฐานะที่มีสมาธิมาก, ส่วนในเนตติปกรณ์และสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น

ท่านกล่าวไว้ในฐานะที่เหมาะกับตัณหาจริต เพราะเป็นสภาพที่เป็นปฏิปักษ์กัน จึงเหมาะแก่การกำจัดจริตฝ่ายชั่วนั้นๆ.

แต่ท่านไม่ได้หมายถึง การที่พระสมถะยานิก มีโพชฌงค์ฝ่ายสมาธิมากในที่นั้นเลย มีแต่ในวิสุทธิมรรค ซึ่งคนละนัยยะกับสติปัฏฐานสูตร มตินั้น จึงเป็นเพียงแต่อาจารย์นั้นๆคิดขึ้นเท่านั้น เทียบเนตติหามิได้

ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

โดย: นาถ (sirivinit ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 0:19:19 น.  

 

สัมมัปปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 คือ การมุ่งมั่นทำความชอบ มี 4 ประการ

1.สังวรปทาน คือ เพียรระงับการกระทำอกุศล ไม่ให้เกิดขึ้น

2.ปหานปทาน คือ เพียรละเลิกอกุศลที่กำลังกระทำอยู่

3.อนุรักขปทาน คือ เพียรรักษา กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว

4.ภาวนาปทาน คือ เพียรฝึกฝนบำรุงกุศลธรรม ให้เจริญยิ่งขึ้น

กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ)

ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้

1.สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
1.นี่คือทุกข์
2.นี่คือเหตุแห่งทุกข์
3.นี่คือความดับทุกข์
4.นี่คือทางแห่งความดับทุกข์

2.กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
1.ทุกข์ควรรู้
2.เหตุแห่งทุกข์ควรละ
3.ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
4.ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น

3.กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
1.ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
2.เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
3.ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
4.ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

โดย: นาถ (sirivinit ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 0:21:15 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่นาถ

บล้อกนี้เนื้อหาค่อนข้างเยอะเลยนะครับ







 

โดย: กะว่าก๋า 4 กุมภาพันธ์ 2554 5:51:02 น.  

 

สวัสดีตอนเช้ามืดจ้า นาถจังยังไม่ตื่นใช่มั้ยล่า เราตื่นก่อนแหงมๆเลยละ อิอิ

 

โดย: ดอยสะเก็ด 4 กุมภาพันธ์ 2554 5:55:20 น.  

 

ซินเจียยู่อี่ มีหนี้ไม่ต้องใช้ค่ะ

พี่นาถ

พี่นาถ พูดจริงนะค่า เค็งยึดมานี้เลยนะค่า มีหนี้ไม่ต้องใช้ 555555



ขอให้เฮงงงงงงงงงงงง นะค่า

 

โดย: ลงสะพาน...เลี้ยวขวา 4 กุมภาพันธ์ 2554 6:00:16 น.  

 


มอร์นิ่งนะคะ
วันนี้อากาศเย็นนิดหน่อยอากาศดีจ้า

 

โดย: อุ้มสี 4 กุมภาพันธ์ 2554 6:18:01 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


สวัสดีเช้าวันศุกร์
มีความสุขตลอดวันนะค่ะ

 

โดย: ดอกฝิ่นในสายลมหนาว 4 กุมภาพันธ์ 2554 7:46:50 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับ...พี่นาถ



เหมียวน้อยมาสวัสดียามเช้าค๊า

 

โดย: Little Knight 4 กุมภาพันธ์ 2554 7:53:56 น.  

 

หาอะไรต่อมิอะไรใส่บล็อกแก้กลุ้ม
ห้ามถามด้วยว่ากลุ้มอะไร

.
.


ผมไม่กล้าถามเลยครับ
เพราะรู้ว่าพี่นาถไม่สบายใจเรื่องอะไร


แอบกังวลตามไปด้วยครับพี่นาถ



 

โดย: กะว่าก๋า 4 กุมภาพันธ์ 2554 8:07:33 น.  

 

อรุณสวัดิ์ครับ
มาเติมความรู้ครับ

ฮี่ๆ

 

โดย: มนุษย์ต่างดาว..ผมยาว..ปากหวาน.. (เป็ดสวรรค์ ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 8:11:10 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับ พี่นาถ
ธรรมะนำใจครับ
ผู้แสวงธรรม ย่อมมีเรื่องกลุ้มใจน้อยกว่าผู้ไม่แสวงธรรม เหมือนบัวสี่เหล่า

 

โดย: เศษเสี้ยว 4 กุมภาพันธ์ 2554 8:38:01 น.  

 

ผมถนัดขวาครับ

แต่วางสมุดเอียง 45 องศาเวลาเขียนครับ

ติดมาตั้งแต่สมัยเรียน เพราะต้องให้เพื่อนลอกการบ้านไปด้วย เขียนไปด้วยครับ

เหอๆ

 

โดย: มนุษย์ต่างดาว..ผมยาว..ปากหวาน.. (เป็ดสวรรค์ ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 8:38:47 น.  

 



67 แล้ว
ดี.ใกล้จะเริ่มอ่านแล้วค่ะ
รอให้เสร็จงานที่กำลังทำอยู่ก่อน
เพราะตอนนี้ งานก็ทำซ๊า
สมองล้าๆๆๆเลยค่ะ



 

โดย: d__d (มัชชาร ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 8:39:16 น.  

 

สาธุ
แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ยังต้องละสังขาร
ธรรมทั้งปวงมีมากมาย แต่รวมลงในข้อเดียวคือความไม่ประมาท
พญามารคงพลางตาพลางใจพระอานนท์ไว้มิให้ทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงต่ออายุพระองค์กระมัง(คือฟังแล้วก็ไม่ทราบ ไม่เข้าใจ)
สวีสดี อรุณสวัสดิ์ครับ

 

โดย: nordcapp (nordcapp ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 8:42:14 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

 

โดย: kobnon 4 กุมภาพันธ์ 2554 8:59:58 น.  

 

พญามาร ก็จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต รู้สึกว่าจะองค์ที่ 5 นับจากนี้ เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวที่ผิดวิสัยของพระพุทธเจ้าทั่วๆไปเพราะมาจากฝ่ายมาร และ ในกัลป์นั้น ก็มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวด้วย เมื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระฉายา จึงมีคำว่า "มาร" ติดอยู่ด้วย...

อันนี้ผมเดาว่า พระพุทธเจ้าที่เสด็จดับขันธ์ก่อน คงเทศนาจน มาร เปลี่ยนเป็นสัมมาทิฐิ ได้นะครับ

แต่ในช่วง พระศรีอริยเมตตรัย มารมาทำอะไรไม่ได้เลยเพราะว่า บุญบารมีท่านมากมายนัก สะสมมา 80 อสงไขยกัลป์ ซึ่งมากกว่า พระพุทธเจ้าปัจจุบันถึง 4 เท่า

 

โดย: wbj 4 กุมภาพันธ์ 2554 9:01:37 น.  

 

ธรรมชาติใกล้ตัว
เกิด แก่ เจ็บ ตาย
อยู่ทุกวัน

 

โดย: เศษเสี้ยว 4 กุมภาพันธ์ 2554 9:05:50 น.  

 

นาถจังอ่านนิยายของจังตุ้ยมั่งหรือเปล่าเนี่ย ถ้าไม่อ่านคงเสียใจแย่เลย อุตส่าห์นั่งหลังขดหลังแข็งแต่งน่ะเนี่ย ฮิฮิ

 

โดย: ดอยสะเก็ด 4 กุมภาพันธ์ 2554 10:48:07 น.  

 

ที่บอกว่อ่านไปอมยิ้มไปน่ะ ชอบลีลายียวนกวนประสาทของพระเอกใช่มั้ยล่ะ เอ๊ะ หรือว่าชอบหนวด ฮิฮิ

 

โดย: ดอยสะเก็ด 4 กุมภาพันธ์ 2554 13:13:03 น.  

 

 

โดย: sirivinit 4 กุมภาพันธ์ 2554 13:36:58 น.  

 

ขอบคุณค่ะ...ที่แวะมาแก่งคุดคู้ด้วยกัน

 

โดย: แว่นแว่น (cheering ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 14:05:47 น.  

 

ดีใจค่ะที่แวะมาเที่ยวแก่งคุดคู้ด้วยกัน

 

โดย: แว่นแว่น (cheering ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 14:14:22 น.  

 

เกิด แก่ เจ็บ ตาย
ไม่มีใครเลี่ยงได้จริงๆ นะคะพี่นาถ
แต่การทำความดีเลือกไม่เลี่ยงที่จะทำได้
ขอบคุณพี่นาถเช่นเคยค่ะ

 

โดย: Sweety-around-the-world 4 กุมภาพันธ์ 2554 16:19:00 น.  

 

 

โดย: วาดฝันมธุรพจน์ 4 กุมภาพันธ์ 2554 17:40:16 น.  

 

จริงๆนะพี่
จะส่งโต๊ะจีนไปให้
แต่ถ้าแก่ที่ร้านถามว่าบ้านที่จะส่งนะอยู่ที่ไหน จะได้ส่งโต๊ะไปถูก
55555
เอาอีกแล้วพี่เรา รอไปเหอะ
ว่าแต่แถวบ้านผมมีร้านเตี๋ยวเหอะ
พี่มาซิ แล้วผมจะพาไปเลี้ยง อย่างนี้ง่ายกว่านะ 5555
สวัสดียามเย็นครับ เพิ่งกลับมาจากตีกอล์ฟที่ศาลายาครับ

 

โดย: nordcapp (nordcapp ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 18:44:42 น.  

 

From : chabori [4 กุมภาพันธ์ 2554 20:13]
ใครมีหน้าที่การงานขอให้ก้าวหน้า
ใครที่ทำการค้าขอให้กล้าแกร่ง
คิดหวังสิ่งใดขอให้คลื่นแรง
ดั่งเปลวเทียนเปล่งแสงผ่องอำไพ

 

โดย: sirivinit 4 กุมภาพันธ์ 2554 20:21:35 น.  

 




แวะมาส่งเข้านอน ฝันดีนะค่ะ

 

โดย: นู๋หญิงจ๋า 4 กุมภาพันธ์ 2554 21:01:03 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

 

โดย: หยุดนิ่ง 4 กุมภาพันธ์ 2554 21:16:50 น.  

 

ปลงสังขาร ยายมักจะพูดบ่อย
แต่ไม่ได้รู้คำแปลลึกซึ้งขนาดนี้ "กำหนดวันตายไว้ล่วงหน้า"

เอ๋เข้าใจว่า ปลง ปลงร่างกายซะเถอะ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็มีเท่านี้

สวัสดีตอนค่ำค่ะย่านาถ
พรุ่งนี้วันหยุดค่ะ ตื่นเช้าพรุ่งนี้ ซักผ้าค่ะ
เพราะเย็นนี้ไปวิ่งออกกำลังกายมาแล้วค่ะ

 

โดย: aenew 4 กุมภาพันธ์ 2554 21:24:36 น.  

 

 

โดย: นาถ (sirivinit ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 21:26:39 น.  

 

พี่นาถเช่นกัน่ะค่ะ

 

โดย: หยุดนิ่ง 4 กุมภาพันธ์ 2554 21:29:31 น.  

 



พี่นาถ แวะพาหลานมาเยี่ยมจร้า :)

 

โดย: สาวสะตอใต้ 4 กุมภาพันธ์ 2554 21:46:41 น.  

 

 

โดย: นาถ (sirivinit ) 4 กุมภาพันธ์ 2554 21:54:23 น.  

 



ฝันดีนะคะ

 

โดย: jamaica 4 กุมภาพันธ์ 2554 23:19:45 น.  

 

เงียบไปเลยเนอะ นาถจัง ใจร้ายจิงจิ๊งไม่ยอมมาเจิมให้ตุ้ยจัง ไปนอนดีกว่า ชิชิ

 

โดย: ดอยสะเก็ด 4 กุมภาพันธ์ 2554 23:34:13 น.  

 

ว่าบทความที่บล๊อกยาวแล้วที่นี่ยาวกว่า และยาวได้สาระด้วยค่ะ ขอบคุณนะคะ และขอให้ฝันดีทุกคืนด้วยค่ะ

 

โดย: deeplove 5 กุมภาพันธ์ 2554 1:48:21 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.