"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 
 
15 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 
ภาพที่ ๗๘. พอพระมหากัสสปถวายบังคมบาทพระพุทธศพ เพลิงสวรรค์ก็บันดาล ลุกโชติช่วง










พอพระมหากัสสปถวายบังคมบาทพระพุทธศพ
เพลิงสวรรค์ก็บันดาล ลุกโชติช่วง






สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร


ภาพที่ ๗๘

พอพระมหากัสสปถวายบังคมบาทพระพุทธศพ เพลิงสวรรค์ก็บันดาล ลุกโชติช่วง

เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ทางคณะสงฆ์และทางบ้านเมือง คือ เจ้ามัลลกษัตริย์ผู้ครองเมืองกุสินารา ได้ทำพิธีสักการบูชาพระศพพระพุทธเจ้าอยู่เป็นเวลาถึง ๖ วัน

ในวันที่ ๗ จึงเชิญพระศพเป็นขบวนไปทางทิศเหนือของเมือง ผ่านใจกลางเมือง แล้วเชิญพระศพไปมกุฏพันธนเจดีย์ ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเมือง เพื่อถวายพระเพลิง

วันที่กำหนดจะถวายพระเพลิงนั้น ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๖ ซึ่งทุกวันนี้ทางเมืองไทยเราถือว่า เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เรียกว่า 'วันอัฐมีบูชา'

ผู้เชิญหรือหามพระศพพระพุทธเจ้า เรียกว่า 'มัลลปาโมกข์' มีจำนวน ๘ นาย แต่ละนายรูปร่างใหญ่กำยำล่ำสัน มีกำลังมาก 'มัลลปาโมกข์' แปลว่า หัวหน้านักมวยปล้ำ

พระศพพระพุทธเจ้าห่อด้วยผ้าใหม่ ที่ปฐมสมโพธิบอกจำนวนไว้ว่ามีถึง ๕๐๐ ชั้น ถอดเอาใจความว่ามีหลายชั้นนั่นเอง แต่ละชิ้นซับด้วยสำลี แล้วเจ้าหน้าที่เชิญลงประดิษฐานในหีบทอง ที่เต็มไปด้วยน้ำหอม แล้วปิดฝาครอบไว้ แล้วเชิญขึ้นจิตกาธานที่ทำด้วยไม้หอมหลายชนิด

พอได้เวลาเจ้าหน้าที่ได้จุดไฟขึ้นทั้ง ๔ ด้าน ตำนานว่าจุดเท่าไรไฟก็ไม่ติด เจ้าหน้าที่ทางบ้านเมืองจึงเรียนถามพระอนุรุทธ์ (พระอนุรุทธ์เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ มีศักดิ์เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้าเป็นพระสาวกได้สำเร็จพระอรหันต์)

พระอนุรุทธ์จึงแจ้งให้ทราบว่า ฃเป็นเพราะเทพเจ้าต้องการให้รอพระมหากัสสป ซึ่งกำลังเดินทางมายังไม่ถึง ได้ถวายบังคมพระศพเสียก่อน

ต่อมาเมื่อพระมหากัสสปพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารเดินทางมาถึง ได้ถวายบังคมพระศพพระพุทธเจ้าแล้ว จึงเกิดเพลิงทิพย์ด้วยเทวาฤทธานุภาพ

ภายหลังจากนั้น เพลิงได้ไหม้พระสรีระของพระพุทธเจ้าจนหมดสิ้น เหลืออยู่แต่พระอัฐิ พระเกศา พระทนต์ และผ้าอีกคู่หนึ่ง พระพวกมัลลกษัตริย์ได้นำน้ำหอมหลั่งลงดับถ่านไฟที่จิตกาธาน

แล้วเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ ที่สัณฐาคารศาลา คือหอประชุมกลางเมือง

รอบหอประชุมนั้นจัดทหาร ถืออาวุธพร้อมสรรพคอยพิทักษ์รักษา และทำสักการบูชาด้วยฟ้อนรำ ดนตรี ประโคมขับ และดอกไม้นานาประการ และมีนักขัตฤกษ์เอิกเกริกกึกก้องฉลองถึง ๗ วันเป็นกำหนด


ขอขอบพระคุณ


- DhammaPerfect@hotmail.com
- อ.เหม เวชกร
- กรอบ ป้ามด

________________________________________
บันทึก ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
ติดต่อ : DhammaPerfect@hotmail.com


สิริสวัสดิ์ภุมวาร สิริมานรมณีย์นะคะ



Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 15 กุมภาพันธ์ 2554 0:00:00 น. 20 comments
Counter : 2139 Pageviews.

 
กล่าวคือ พระพุทธองค์ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานเพราะความดับไปแห่งสมุทัย คือ ได้ทรงถอนเสียสิ้นซึ่งต้นและราก กิเลสตัณหาอันเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงนี้แล้วเมื่อในวันตรัสรู้

การเสด็๋จดับขันธปรินิพพานนี้จึงเป็นการตายครั้งสุดท้ายของพระพุทธองค์ โดย "สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ" (สิ้นตัณหาเมื่อคราวตรัสรู้ และสิ้นขันธ์ห้า เมื่อคราวปรินิพพาน)

เมื่อนั้นได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ โลมชาติลุกขึ้นชูชัน กลองทิพย์บรรลือลั่นไปในอากาศ ไว้อาลัยแด่การจากไปของพระพุทธองค์ ผู้ทรงเป็นบรมครูของโลก

กายของพระองค์สิ้นเชื้อคือตัณหาที่จะนำไปเกิดในภพใหม่ ครั้นกายแตกดับแล้ว ถึงความเป็นของว่าง ไม่มีอะไรเหลือสำหรับส่วนผสมของกายในภพต่อไป

พระพุทธองค์ทรงจากไป ณ ยามสุดท้ายแห่งราตรี วันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ก่อนพุทธศก (ตามการนับของไทย) 1 ปี


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


โดย: nart (sirivinit ) วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:0:05:23 น.  

 
พุทธสังเวชนียสถานเนื่องด้วยวันวิสาขบูชา

เหตุการณ์สำคัญทั้ง 3 เหตุการณ์ที่เกิดในวันวิสาขบูชา เกิดภายในบริเวณที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล หรือประเทศอินเดียและเนปาลในปัจจุบัน

โดยสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงประสูติอยู่ที่ลุมพินีวัน ประเทศเนปาลในปัจจุบัน, สถานที่ตรัสรู้ อยู่ที่ พุทธคยา และสถานที่ปรินิพพานอยู่ที่ กุสินารา ประเทศอินเดียในปัจจุบัน โดย 2 ใน 3 ของพุทธสังเวชนียสถานที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชาได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก

สถานที่เนื่องด้วยการประสูติ (ลุมพินีวัน)

ลุมพินีวันเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย

ตัวลุมพินีวันอยู่ใกล้กับชายแดนประเทศอินเดียตอนเหนือ ห่างจากสิทธารถนคร(หรือ นครเทวทหะ) ทางทิศตะวันตกประมาณ 22 กิโลเมตร

และห่างจากเมืองติเลาราโกต (หรือ นครกบิลพัสดุ์) ทางทิศตะวันออก 22 กิโลเมตร ซึ่งถูกต้องตามตำราพระพุทธศาสนา

ที่กล่าวว่าลุมพินีวันสถานที่ประสูติ ตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ ปัจจุบัน ลุมพินีวันได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540


ลุมพินีวันในสมัยพุทธกาล

ในสมัยพุทธกาล ลุมพินีวันอยู่ในเขตแห่งดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีป ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของพระเจ้าสุทโธทนะ และกรุงเทวทหะ เมืองหลวงของพระเจ้าชนาธิป เป็นพระราชอุทยานลาดลุ่มร่มรื่น กึ่งกลางระหว่างทางสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของกษัตริย์และประชาชน

สภาพของลุมพินีวันในสมัยนั้นอาจจะพิจารณาได้จากคัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน ได้พรรณนาเป็นภาษาบาลีไว้ว่า

"ทวินฺนํ ปน นครานํ อนฺตเร อุภยนครวาสีนมฺปิ ลุมพินีวนํ นาม มงฺคลสาลวนํ อตฺถิ, ตสฺมึ สมเย มูลโต ปฏฺฐาย ยาว อคฺคสาขา สพฺพํ เอกปาลิผุลฺลํ อโหสิ สาขนฺตเรหิ เจว ปุปฺผนฺตเรหิ จ ปญฺจวณฺณา ภมรคณา นานปฺปการา จ สกุณสงฺฆา มธุรสฺสเรน วิกูชนฺตา สกลํ ลุมฺพินีวนํ จิตฺตลตาวนสทิสํ ฯเปฯ"

แปลว่า: "ในระหว่างเมืองทั้งสอง มีป่าสาละชื่อลุมพินีวันอันเป็นมงคล สมัยนั้นสาละทั้งหมดล้วนมีดอกออกสะพรั่งเป็นแนวเดียวกัน แต่รากจนสุดปลายกิ่ง

ตามกิ่งก้านสาขาและดอกนั้นล้วนมีหมู่ภมรนานาชนิด และหมู่นกหลากหลายชนิดส่งเสียงกู่ร้องประสานสำเนียง ดังทั่วทั้งป่า ลุมพินีวันนั้นจึงประดุจเช่นเดียวกับสวนจิตรลดา (อันมีในดาวดึงสเทวโลก) ฉะนั้น ฯลฯ"

— วิสุทฺธชนวิลาสินี ๑, หน้า ๖๔


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


โดย: นาถ (sirivinit ) วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:0:08:10 น.  

 
หลังจากการประสูติของพระพุทธองค์แล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานอื่นว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมา ณ ที่แห่งนี้แต่อย่างใด

แม้พระพุทธเจ้าจะได้เสด็จมา ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ก็ประทับที่นิโครธารามที่พระประยูรญาติจัดถวายหาได้มาประทับหรือแสดงธรรม ณ ลุมพินีวันอีกไม่

เนื่องเพราะลุมพินีวันนั้นเป็นอุทยานไม่มีผู้คนอาศัยนั่นเอง

ลุมพินีวันหลังพุทธปรินิพพาน
หลังพุทธปรินิพาน กษัตริย์ซึ่งได้รับส่วนแบ่งแห่งพระบรมสารีริกธาตุ

ได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ในสถูปแห่งหนึ่ง ไม่ไกลจากลุมพินีวันนัก

จวบจนพุทธศักราชได้ 294 ปี พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จนมัสการพุทธสังเวชนียสถานทั่วทั้งชมพูทวีป พร้อมด้วยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ (หรือพระอุปคุต) ได้เสด็จมานมัสการ ณ ลุมพินีนี้

พระองค์โปรดฯ ให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ นำทางและชี้จุดที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ แล้วทรงสร้างอาราม พระเจดีย์และเสาศิลาจารึกไว้เป็นสัญลักษณ์ว่า

ลุมพินีวันนี้มีความสำคัญอย่างไร ซึ่งเสาศิลาหินทรายของพระเจ้าอโศกยังคงตั้งอยู่ ณ ที่เดิมจนถึงปัจจุบัน

หลังจากยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช เรื่องราวของลุมพินีวันได้หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาเกือบ 700 ปี

โดยไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารที่สามารถสืบค้นถึงความเป็นไปของลุมพินีวันในช่วงนี้ได้

จนในประมาณ พ.ศ. 900 สมณะฟาเหียนได้เดินทางจากประเทศจีนมาถึงลุมพินีวัน ท่านได้กล่าวไว้สั้น ๆ เพียงว่าได้พบบ่อสรงสนาน

และระบุที่ตั้งของลุมพินีวันว่าอยู่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 14-16 กิโลเมตร

ต่อมา ในปี พ.ศ. 1181 สมณะเฮี้ยนจัง หรือ พระถังซำจั๋ง ได้เดินทางมาถึงลุมพินีวัน โดยได้ทำการการจดบันทึกระบุที่ตั้งสถานที่ต่าง ๆ ในลุมพินีวันไว้คร่าว ๆ

ท่านได้กล่าวถึงบ่อสรงสนาน ซึ่งคงเป็นบ่อเดียวกับที่สมณะฟาเหียนกล่าวไว้ในบันทึก ซึ่งบ่อนี้ยังคงมีอยู่มาจนปัจจุบัน และกล่าวว่าไม่ไกลจากบ่อนั้นไปประมาณ 24 ก้าว มีต้นสาละต้นหนึ่ง

เชื่อกันว่าเป็นจุดที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ จากจุดนั้นไปทางใต้มีเจดีย์องค์หนึ่ง เชื่อกันว่าเป็นจุดที่พระอินทร์ เสด็จจากสวรรค์ลงมาต้อนรับพระราชโอรสที่ประสูติใหม่

ใกล้ ๆ กันมีเจดีย์อีกสี่องค์ ที่สร้างไว้เพื่อถวายแก่ท้าวจตุโลกบาล ที่ทำหน้าที่ถวายอภิบาลพระโอรสประสูติใหม่ และใกล้กันนั้นมีเสาอโศกรูปสิงห์ประดิษฐานอยู่บนยอด

จวบจน พ.ศ. 2438-2439 เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮมและคณะ ได้ค้นพบเสาศิลาพระเจ้าอโศก ซึ่งถูกฝังดินไว้และพบจารึกเป็นอักษรพราหมี

ระบุว่าที่แห่งนี้คือสถานที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ

จากนั้นจึงเริ่มมีการขุดค้นทางโบราณคดี โดยพบซากปรักหักพังจำนวนมาก ซากสถูปกว่า 50 องค์ และซากวิหารอาราม มีอายุตั้งแต่สมัยราชวงศ์โมริยะ ราชวงศ์ศุงคะ ราชวงศ์กุษาณะ และสมัยคุปตะ (ประมาณ พ.ศ. 300 - พ.ศ. 950)


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี




โดย: นาถ (sirivinit ) วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:0:11:12 น.  

 


โดย: เค็ง (ลงสะพาน...เลี้ยวขวา ) วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:1:00:22 น.  

 



มีความสุขในวันแห่งความรัก มีรักที่ดีในทุกๆ วันนะคะ


โดย: deeplove วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:1:28:46 น.  

 



อรุณสวัสดิ์เช้าวันอังคารค่ะ


โดย: KeRiDa วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:4:37:40 น.  

 
ก๊อกๆๆๆ..พี่นาถขา..ฟ้ามาปลุกตื่นหรือยังค่ะ
ฟ้ามาเสพพระธรรมเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในยามเช้าค่ะ
ประมาณว่า"อรุณนี้มีธรรมเข้าคุ้มครอง "ค่ะพี่นาถ รักน่ะ จุ๊บๆๆๆ อิอิอิ


โดย: พิรุณร่ำ วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:5:13:43 น.  

 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


โดย: kobnon วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:8:59:05 น.  

 
คันธาทิพย์อวลอบตลบสรวง
กำจายล่วงล่องพระพายกรายกลิ่นหอม
ละมุนละไมอบใจให้นอบน้อม
มโนพร้อมเพรียกกุศลดลศรัทธา


ขอน้อมนบประนมหัตถ์นมัสการ
พระผู้ทรงโพธิญาณมาสู่หล้า
ตรัสรู้เอกองค์พระสัมมา
ผู้ปราบปวงมาราให้พ่ายไป


ทรงพลิกศรย้อนจักรผลักชีวิต
ให้หมุนทวนตรวนจิตที่หม่นไหม้
สู่ความงามความประเสริฐเลิศพิไล
ทรงโปรยธรรมสู่เวไนยด้วยกรุณา


สี่สิบห้าพรรษาทรงพร่าทุกข์
ให้ปวงสัตว์พบสุขสร้างคุณค่า
ทรงมอบธรรมมรดกให้พกพา
แม้นสิ้นกาลจากลาปรินิพพาน


ปัณนรสีอัฐมีนี้เวียนครบ
ประชุมเพลิงเริงพระศพ ณ สถาน
ปวงกษัตริย์จัดถวายจิตกาธาน
ปริเทวนาการทุกผองชน


มาบัดนี้มีเพียงพระบรมธาตุ
ที่ประกาศแทนองค์พระทรงผล
กราบบูชาเป็นมิ่งแห่งมงคล
น้อมกมลสักการะพระพุทธคุณฯ


ขอขอบคุณ

- อาจารย์บุษกร เมธางกูร [23 พ.ค. 2546 , 09:51:35 น.] ( IP = 203.107.202.174 : : )

- มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


โดย: nart (sirivinit ) วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:12:10:17 น.  

 

เชิญประเทียบพระหีบทองผ่องพิลาส
เป็นภาชนะรองพระธาตุพระชินสีห์
พระบรมสารีริกธาตุพุทธบดี
ประดิษฐานคารวะที่อันสมควร

เจ็ดราตรีหลังพิธีถวายพระเพลิง
กำหนดการเถลิงพระเกียรติ์หวน
จึ่งพรั่งพร้อมพุทธบริษัทเหล่าทั้งมวล
ร่วมขบวนทักษิณาบูชาคุณ

เพื่อระลึกถึงพุทธคุณการุณยิ่ง
ทรงแสดงความเป็นจริงเพื่ออุดหนุน
ให้เวไนยได้เสริมสร้างเส้นทางบุญ
ละพิษภัยวายวุ่นวัฏฏะกรรม

อัฐมีบูชาในครานี้
ขออัญเชิญกุศลศรีที่เลิศล้ำ
กราบบูชาพระคุณแห่งจอมธรรม
ผู้น้อมนำสันติสุขปลุกชีพชน

ขอขอบคุณ


- คุณณรังษี [23 พ.ค. 2546 , 12:17:42 น.] ( IP = 203.113.67.38 : : )

- มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


โดย: ืฟพะ (sirivinit ) วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:12:12:47 น.  

 
สวัสดีค่ะพี่นาถ...




โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:15:25:29 น.  

 
ข้ามไปสามตอน พรุ่งนี้จะตามเข้ามาอ่านค่ะ ส่วนวันนี้นอนหลับฝันดีค่ะย่านาถ


โดย: aenew วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:23:57:52 น.  

 

ขอบคุณค่ะย่านาถ กลับมาอ่านซ้ำอีกรอบ
เรื่องราวดีดีแบบนี้ อ่านหลายรอบก็ไม่เบื่อค่ะ


โดย: aenew วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:22:20:12 น.  

 
เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ทางคณะสงฆ์และทางบ้านเมือง คือ เจ้ามัลลกษัตริย์ผู้ครองเมืองกุสินารา ได้ทำพิธีสักการบูชาพระศพพระพุทธเจ้าอยู่เป็นเวลาถึง ๖ วัน

ในวันที่ ๗ จึงเชิญ พระศพเป็นขบวนไปทางทิศเหนือของเมือง ผ่านใจกลางเมือง แล้วเชิญพระศพไปมกุฎพันธนเจดีย์ ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเมือง เพื่อถวายพระเพลิง

ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๖ ซึ่งทุกวันนี้ทางเมืองไทยเราถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เรียกว่า วันอัฐมีบูชา

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมกราบถวายอภิวาทแด่พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐยิ่งแล้ว

ขอกราบสักการะพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยความเคารพสักการะอย่างสูงสุดยิ่งแห่งชีวิตนี้เชิญ

ประเทียบพระหีบทองผ่องพิลาส
เป็นภาชนะรองพระธาตุพระชินสีห์
พระบรมสารีริกธาตุพุทธบดี
ประดิษฐานคารวะที่อันสมควร

เจ็ดราตรีหลังพิธีถวายพระเพลิง
กำหนดการเถลิงพระเกียรติ์หวน
จึ่งพรั่งพร้อมพุทธบริษัทเหล่าทั้งมวล
วมขบวนทักษิณาบูชาคุณ

เพื่อระลึกถึงพุทธคุณการุณยิ่ง
ทรงแสดงความเป็นจริงเพื่ออุดหนุน
ให้เวไนยได้เสริมสร้างเส้นทางบุญ
ละพิษภัยวายวุ่นวัฏฏะกรรม

อัฐมีบูชาในครานี้
ขออัญเชิญกุศลศรีที่เลิศล้ำ
กราบบูชาพระคุณแห่งจอมธรรม
ผู้น้อมนำสันติสุขปลุกชีพชน


พระศพพระพุทธเจ้าห่อด้วยผ้าใหม่ ที่ปฐมสมโพธิบอกจำนวนไว้ว่ามีถึง ๕๐๐ ชั้น ถอดเอาใจความว่า มีหลายชั้นนั่นเอง

แต่ละชั้นซับด้วยสำลี แล้วเจ้าหน้าที่เชิญลงประดิษฐานในหีบทองที่เต็มไปด้วยน้ำมันหอม แล้วปิดฝาครอบไว้ แล้วเชิญขึ้นจิตกาธานที่ทำด้วยไม้หอมหลายชนิด

ผู้เชิญหรือหามพระศพพระพุทธเจ้า เรียกว่า ‘มัลลปาโมกข์’ มีจำนวน ๘ นาย แต่ละนาย รูปร่างใหญ่กำยำล่ำสัน มีกำลังมาก ‘มัลลปาโมกข์’ แปลว่า หัวหน้านักมวยปล้ำ

พอได้เวลาเจ้าหน้าที่ได้จุดไฟขึ้นทั้ง ๔ ด้าน ตำนานว่าจุดเท่าไรไฟก็ไม่ติด เจ้าหน้าที่ทางบ้านเมืองจึงเรียนถามพระอนุรุทธ์

(พระอนุรุทธ์มีศักดิ์เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า เป็นพระสาวกได้สำเร็จเป็นอรหันต์)

พระอนุรุทธ์จึงแจ้งให้ทราบว่า เป็นเพราะเทพเจ้าต้องการให้รอพระมหากัสสปะ ซึ่งกำลังเดินทางมายังไม่ถึง ได้ถวายบังคมพระศพเสียก่อน

ขอขอบคุณ

อาจารย์บุษกร เมธางกูร ลานธรรม มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


โดย: นาถ (sirivinit ) วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:13:55:05 น.  

 
ต่อมาเมื่อพระมหากัสสปะพร้อมด้วย พระสงฆ์บริวารเดินทางมาถึง ได้ถวายบังคมพระศพพระพุทธเจ้าแล้ว

จึงเกิดเพลิงทิพย์ด้วยเทวาฤทธานุภาพ ถอดความที่กล่าวนี้ก็ว่า ทางเจ้าหน้าที่และพระสงฆ์ได้ทราบข่าวพระมหากัสสปะกำลังเดินทางมาจวนจะถึงแล้วให้รอไว้ก่อน อย่าเพิ่งถวายพระเพลิงนั่นเอง

ภายหลังจากนั้น เพลิงได้ไหม้พระสรีระของพระพุทธเจ้าจนหมดสิ้น เหลืออยู่แต่พระอัฐิ พระเกศา พระทนต์ และผ้าอีกคู่หนึ่ง

พระพวกมัลลกษัตริย์ได้นำน้ำหอมหลั่งลงดับถ่านไฟที่จิตกาธาน แล้วเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ที่สัณฐาคารศาลา คือหอประชุมกลางเมือง

รอบหอประชุมนั้นจัดทหารถืออาวุธพร้อมสรรพคอยพิทักษ์รักษา และทำการสักการบูชาด้วยฟ้อนรำ ดนตรีประโคมขับ และดอกไม้นานาประการ และมีนักขัตฤกษ์เอิกเกริกกึกก้องฉลองถึง ๗ วันเป็นกำหนด

(พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค)

ขอขอบคุณ

อาจารย์บุษกร เมธางกูร ลานธรรม มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


โดย: นาถ (sirivinit ) วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:13:57:19 น.  

 
สมัยนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราประชุมกันอยู่ที่สัณฐาคารด้วยเรื่องปรินิพพานนั้นอย่างเดียว

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปยังสัณฐาคารของพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ครั้นเข้าไปแล้ว ได้บอกแก่พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า

ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด

พวกเจ้ามัลละกับโอรส สุณิสาและประชาบดี ได้ทรงสดับคำนี้ของท่านพระอานนท์แล้ว เป็นทุกข์เสียพระทัย เปี่ยมไปด้วยความทุกข์ในใจ บางพวกสยายพระเกศา ประคองหัตถ์ทั้งสองคร่ำครวญอยู่ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาดุจมีบาทอันขาดแล้ว ทรงรำพันว่า

พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลกอันตรธานเสียเร็วนัก

ดังนี้ ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราตรัสสั่งพวกบุรุษว่า ดูกรพนาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงเตรียมของหอมมาลัยและเครื่องดนตรีทั้งปวง บรรดามีในกรุงกุสินาราไว้ให้พร้อมเถิด

พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ทรงถือเอาของหอมมาลัยและเครื่องดนตรีทั้งปวงกับผ้า ๕๐๐ คู่ เสด็จเข้าไปยังสาลวัน อันเป็นที่แวะพักแห่งพวกเจ้ามัลละ

และเสด็จเข้าไปถึงพระสรีระพระผู้มีพระภาค ครั้นเข้าไปถึงแล้วสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาคด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอม ดาดเพดานผ้า ตกแต่งโรงมณฑล ยังวันนั้นให้ล่วงไปด้วยประการฉะนี้

ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราได้มีความดำริว่า การถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาคในวันนี้พลบค่ำเสียแล้ว

พรุ่งนี้เราจักถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาค พวกเจ้ามัลละเมือง กุสินาราสักการะ เคารพ นับถือ บูชา พระสรีระพระผู้มีพระภาคด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอม ดาดเพดานผ้า ตกแต่งโรงมณฑล ยังวันที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ที่หก ให้ล่วงไป

ครั้นถึงวันที่เจ็ด พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราได้มีความดำริว่า เราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอมจักเชิญไปทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แล้วเชิญไปภายนอกพระนคร ถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาค ทางทิศทักษิณแห่งพระนครเถิด ฯ

ขอขอบคุณ

อาจารย์บุษกร เมธางกูร ลานธรรม มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


โดย: นาถ (sirivinit ) วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:13:59:55 น.  

 
สมัยนั้น มัลลปาโมกข์ ๘ องค์ สระสรงเกล้าแล้วทรงนุ่งผ้าใหม่ ด้วยตั้งพระทัยว่า เราจักยกพระสรีระพระผู้มีพระภาค ก็มิอาจจะยกขึ้นได้

ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ข้าแต่ท่านอนุรุทธะ อะไร หนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ให้มัลลปาโมกข์ ๘ องค์นี้ ผู้สระสรงเกล้าแล้ว ทรงนุ่งผ้าใหม่ ด้วยตั้งใจว่า เราจักยกพระสรีระพระผู้มีพระภาคก็มิอาจยกขึ้นได้ ฯ

อ. ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย ความประสงค์ของพวกท่านอย่างหนึ่ง ของพวก เทวดา อย่างหนึ่ง ฯ

ม. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ความประสงค์ของพวกเทวดาเป็นอย่างไร ฯ ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย ความประสงค์ของพวกท่านว่า เราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค

ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัย และของหอม จักเชิญไปทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แล้วเชิญไปภายนอกพระนคร ถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาคทางทิศทักษิณแห่งพระนคร

ความประสงค์ของพวกเทวดาว่า เราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการ ฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอมอันเป็นทิพย์

จักเชิญ ไปทางทิศอุดรแห่งพระนคร แล้วเข้าไปสู่พระนครโดยทวารทิศอุดร เชิญไปท่ามกลางพระนคร แล้วออกโดยทวารทิศบูรพา แล้วถวายพระเพลิงพระสรีระพระผู้มีพระภาค ที่มกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศบูรพาแห่งพระนคร ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้เป็นไปตามความประสงค์ของพวกเทวดาเถิด ฯ

สมัยนั้น เมืองกุสินาราเดียรดาษไปด้วยดอกมณฑารพโดยถ่องแถวประมาณแค่เข่า จนตลอดที่ต่อแห่งเรือน บ่อของโสโครกและกองหยากเยื่อ

ครั้งนั้น พวกเทวดาและพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระ พระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคม มาลัยและของหอม

ทั้งที่ เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เชิญไปทางทิศอุดรแห่งพระนคร แล้วเข้าไปสู่ พระนคร โดยทวารทิศอุดร เชิญไปท่ามกลางพระนคร แล้วออกโดยทวารทิศบูรพา

แล้ววางพระสรีระ พระผู้มีพระภาค ณ มกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศ บูรพาแห่งพระนคร

ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ พวกข้าพเจ้าจะปฏิบัติอย่างไรในพระสรีระพระผู้มีพระภาค ฯ

อ. ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย พวกท่านพึงปฏิบัติในพระสรีระพระตถาคต เหมือนที่เขาปฏิบัติในพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิฉะนั้น ฯ

ข้าแต่ท่านอานนท์ ก็เขาปฏิบัติในพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไร ฯ

ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย เขาห่อพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าใหม่ แล้วซับด้วยสำลี แล้วห่อด้วยผ้าใหม่

โดยอุบายนี้ ห่อพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิด้วย ผ้า ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญพระสรีระลงในรางเหล็กอันเต็มด้วยน้ำมัน ครอบด้วย รางเหล็กอื่น แล้วกระทำจิตกาธารด้วย ไม้หอมล้วน ถวายพระเพลิงพระสรีระ พระเจ้าจักรพรรดิแล้ว

สร้างสถูปของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง เขาปฏิบัติในพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิด้วยประการฉะนี้แล

พวกท่านพึงปฏิบัติในพระสรีระพระตถาคต เหมือนที่เขาปฏิบัติในพระเจ้าจักรพรรดิ พึงสร้างสถูป ของพระตถาคตไว้ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง

ชนเหล่าใดจักยกขึ้นซึ่งมาลัยของหอมหรือ จุณ จักอภิวาท หรือจักยังจิตให้เลื่อมใสในพระสถูปนั้น การกระทำเช่นนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน ฯ

ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราตรัสสั่งพวกบุรุษว่า ดูกรพนาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงเตรียมสำลีไว้ให้พร้อมเถิด

พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ห่อพระสรีระพระผู้มีพระภาคด้วยผ้าใหม่ แล้วซับด้วยสำลี แล้วห่อด้วยผ้าใหม่ โดยอุบายนี้ ห่อ พระสรีระพระผู้มีพระภาคด้วยผ้า ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็ก

อันเต็มด้วยน้ำมัน ครอบด้วยรางเหล็กอื่น แล้วกระทำจิตกาธารด้วยไม้หอมล้วน แล้วจึงเชิญพระสรีระพระผู้มีพระภาคขึ้นสู่จิตกาธาร ฯ

ขอขอบคุณ

อาจารย์บุษกร เมธางกูร ลานธรรม มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


โดย: นาถ (sirivinit ) วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:14:04:48 น.  

 
สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลจากเมืองปาวามาสู่เมืองกุสินารา ลำดับนั้น ท่าน พระมหากัสสปแวะออกจากทางแล้วนั่งพักที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ฯ

สมัยนั้น อาชีวกคนหนึ่ง ถือดอกมณฑารพในเมืองกุสินารา เดินทางไกล มาสู่เมืองปาวา ท่านพระมหากัสสปได้เห็นอาชีวกนั้นมาแต่ไกล

จึงถามอาชีวกนั้นว่า ดูกรผู้มีอายุ ท่านยังทราบข่าวพระศาสดาของเราบ้างหรือ

อาชีวกตอบว่า อย่างนั้น ผู้มีอายุ เราทราบอยู่ พระสมณโคดมปรินิพพานเสียแล้ว ได้ ๗ วันเข้าวันนี้ ดอก มณฑารพนี้เราถือมาจากที่นั้น

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใด ยังไม่ปราศจาก ราคะ ภิกษุเหล่านั้น บางพวกประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือก ไปมาดุจมีเท้าอันขาดแล้ว

รำพันว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลก อันตรธาน เสียเร็วนัก ดังนี้

ส่วนภิกษุเหล่าใด ปราศจากราคะแล้ว ภิกษุเหล่านั้น มีสติ สัมปชัญญะ อดกลั้นด้วยธรรมสังเวชว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น เหล่าสัตว์จะพึงได้ในสังขารนี้แต่ที่ไหน ฯ

สมัยนั้น บรรพชิตผู้บวชเมื่อแก่ นามว่าสุภัททะ นั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย ครั้งนั้นสุภัททวุฒบรรพชิตได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า อย่าเลยอาวุโส พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไร ไปเลย พวกเราพ้นดีแล้ว

ด้วยว่าพระมหาสมณะนั้น เบียดเบียนพวกเราอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ ก็บัดนี้ พวกเรา ปรารถนาสิ่งใด ก็จักกระทำสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่กระทำสิ่งนั้น ฯ

ลำดับนั้น ท่านพระมหากัสสปเตือนภิกษุทั้งหลายว่า อย่าเลยอาวุโส พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไรไปเลย พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสอนไว้อย่างนี้ ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น จากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ต้องมี

เพราะฉะนั้น จะพึงได้ในของรักของชอบใจนี้ แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็นธรรมดา การปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯ

ขอขอบคุณ

อาจารย์บุษกร เมธางกูร ลานธรรม มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


โดย: นาถ (sirivinit ) วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:14:07:37 น.  

 
สมัยนั้น มัลลปาโมกข์ ๔ องค์ สระสรงเกล้าแล้วทรงนุ่งผ้าใหม่ ด้วยตั้งใจว่า เราจักยังไฟให้ติดจิตกาธารของพระผู้มีพระภาค ก็มิอาจให้ติดได้ ลำดับนั้น

พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ข้าแต่ท่าน อนุรุทธะ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ที่ให้มัลลปาโมกข์ทั้ง ๔ องค์นี้ ผู้สระสรงเกล้าแล้ว ทรงนุ่งผ้าใหม่ ด้วยตั้งใจว่า เราจักยังไฟให้ติดจิตกาธาร ก็มิอาจให้ติดได้ ฯ

อ. ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย ความประสงค์ของพวกท่านอย่างหนึ่ง ของ พวกเทวดาอย่างหนึ่ง ฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ความประสงค์ของพวกเทวดาเป็นอย่างไร ฯ

ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย ความประสงค์ของพวกเทวดาว่า ท่านพระมหากัสสป นี้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลจากเมืองปาวามาสู่ เมืองกุสินารา

จิตกาธารของพระผู้มีพระภาคจักยังไม่ลุกโพลงขึ้น จนกว่าท่าน พระมหากัสสปจะถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยมือของตน ฯ

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้เป็นไปตามความประสงค์ของพวกเทวดาเถิด ฯ

ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้าไปถึงมกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ในเมืองกุสินารา และถึงจิตกาธารของพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วกระทำจีวรเฉวียงบ่า ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณจิตกาธาร ๓ รอบ แล้วเปิดทางพระบาท

ถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูป เหล่านั้น ก็กระทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณ ๓ รอบ แล้วถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า

เมื่อท่านพระมหา กัสสปและภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นถวายบังคมแล้ว จิตกาธารของพระผู้มีพระภาคก็โพลงขึ้นเอง เมื่อพระสรีระของพระผู้มีพระภาคถูกเพลิงไหม้อยู่ พระอวัยวะส่วนใดคือ พระฉวี พระจัมมะ พระมังสะ พระนหารู หรือพระลสิกา เถ้า เขม่า แห่งพระอวัยวะส่วนนั้น มิได้ปรากฏเลย

เหลืออยู่แต่พระสรีระอย่างเดียว เมื่อ เนยใสและน้ำมันถูกไฟไหม้อยู่ เถ้า เขม่า มิได้ปรากฏ ฉันใด เมื่อพระสรีระ ของพระผู้มีพระภาคถูกเพลิงไหม้อยู่ พระอวัยวะส่วนใด คือ พระฉวี พระจัมมะ พระมังสะ พระนหารู หรือพระลสิกา เถ้า เขม่าแห่งพระอวัยวะส่วนนั้น มิได้ ปรากฏเลย

เหลืออยู่แต่พระสรีระอย่างเดียวฉันนั้นเหมือนกัน และบรรดาผ้า ๕๐๐ คู่ เหล่านั้น ไฟไหม้เพียง ๒ ผืนเท่านั้น คือ ผืนในที่สุด กับผืนนอก เมื่อพระสรีระ พระผู้มีพระภาคถูกไฟไหม้แล้ว ท่อน้ำก็ไหลหลั่งมาจากอากาศดับ จิตกาธารของ พระผู้มีพระภาค

น้ำพุ่งขึ้นแม้จากไม้สาละ ดับจิตกาธารของพระผู้มีพระภาค พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ดับจิตกาธารของพระผู้มีพระภาคด้วยน้ำหอมล้วนๆ

ลำดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารากระทำสัตติบัญชรในสัณฐาคารแวดล้อมด้วย ธนูปราการ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาคตลอดเจ็ดวัน ด้วยการฟ้อนรำ ด้วยการขับ ด้วยการประโคม ด้วยพวงมาลัย ฯ


ขอขอบคุณ

อาจารย์บุษกร เมธางกูร ลานธรรม มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


โดย: นาถ (sirivinit ) วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:14:10:53 น.  

 
กล่าวโดยสรุปก็คือ.....
เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว..... ทางคณะสงฆ์และทางบ้านเมือง คือ "เจ้ามัลลกษัตริย์" ผู้ครองเมืองกุสินารา..... ได้ทำพิธีสักการบูชาพระศพพระพุทธเจ้าอยู่เป็นเวลาถึง ๖ วัน.....

ในวันที่ ๗ จึงเชิญพระศพเป็นขบวนไปทางทิศเหนือของเมือง ผ่านใจกลางเมือง แล้วเชิญพระศพไป..... "มกุฏพันธนเจดีย์" ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเมือง เพื่อถวายพระเพลิง.....

วันที่กำหนดจะถวายพระเพลิงนั้น ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๖ ซึ่งทุกวันนี้ทางเมืองไทยเราถือว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เรียกว่า ..... \\´วันอัฐมีบูชา\\´

ผู้เชิญหรือหามพระศพพระพุทธเจ้า เรียกว่า..... \\´มัลลปาโมกข์\\´ มีจำนวน ๘ นาย..... แต่ละนายรูปร่างใหญ่กำยำล่ำสัน มีกำลังมาก \\´มัลลปาโมกข์\\´ แปลว่า หัวหน้านักมวยปล้ำ

พระศพพระพุทธเจ้าห่อด้วยผ้าใหม่ ที่ปฐมสมโพธิบอกจำนวนไว้ว่ามีถึง ๕๐๐ ชั้น ถอดเอาใจความว่ามีหลายชั้นนั่นเอง แต่ละชิ้นซับด้วยสำลี แล้วเจ้าหน้าที่เชิญลงประดิษฐานใน หีบทอง ที่เต็มไปด้วย น้ำหอม แล้วปิดฝาครอบไว้ แล้วเชิญขึ้นจิตกาธานที่ทำด้วยไม้หอมหลายชนิด

พอได้เวลาเจ้าหน้าที่ได้จุดไฟขึ้นทั้ง ๔ ด้าน ตำนานว่าจุดเท่าไรไฟก็ไม่ติด เจ้าหน้าที่ทางบ้านเมืองจึงเรียนถาม ..... พระอนุรุทธ์

(พระอนุรุทธ์เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ มีศักดิ์เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้าเป็นพระสาวกได้สำเร็จพระอรหันต์) .....

พระอนุรุทธ์จึงแจ้งให้ทราบว่า..... เป็นเพราะเทพเจ้าต้องการให้รอ "พระมหากัสสป" ซึ่งกำลังเดินทางมายังไม่ถึงได้ถวายบังคมพระศพเสียก่อน.....

ต่อมาเมื่อพระมหากัสสป พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารเดินทางมาถึง ได้ถวายบังคมพระศพพระพุทธเจ้าแล้ว จึงเกิดเพลิงทิพย์ด้วยเทวาฤทธานุภาพ

ภายหลังจากนั้น..... เพลิงได้ไหม้พระสรีระของพระพุทธเจ้าจนหมดสิ้น เหลืออยู่แต่พระอัฐิ พระเกศา พระทนต์ และผ้าอีกคู่หนึ่ง พระพวกมัลลกษัตริย์ได้นำน้ำหอมหลั่งลงดับถ่านไฟที่จิตกาธาน

แล้วเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ที่สัณฐาคารศาลา คือ หอประชุมกลางเมือง รอบหอประชุมนั้นจัดทหารถืออาวุธพร้อมสรรพคอยพิทักษ์รักษา และทำสักการบูชาด้วยฟ้อนรำ ดนตรี ประโคมขับ และดอกไม้นานาประการ และมีนักขัตฤกษ์เอิกเกริกกึกก้องฉลองถึง ๗ วันเป็นกำหนด “วันอัฐมีบูชา”.....

ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ (หากปีใดตรงกับอธิกมาสก็เลื่อนเป็นวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๗)

ความเป็นมาของประเพณีการจำลองพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระพุทธเจ้า….

ในประเทศไทยเรานั้นพบว่าเคยมีมานานแล้ว แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเริ่มในสมัยใด โดยสถานที่ที่จัดพิธีนี้อย่างยิ่งใหญ่จนเป็นที่รู้จักกันดี ก็คือ…..

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ ณ เมืองทุ่งยั้งนี้….. จะได้รับการสมมติว่าเป็นเมืองกุสินารา ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน…..

ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งจะถูกตกแต่งอย่างสวยงามก่อนถึงวันงานที่ยิ่งใหญ่นี้ มีการสร้างพระบรมศพจำลองของพระพุทธเจ้า ในพระอิริยาบถ “ไสยาสน์”

ชุมชนทุ่งยั้ง อำเภอลับแล เป็นชุมชนที่มีความเก่าแก่ ชุมชนหนึ่ง จากตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ชื่อหมู่บ้านทุ่งยั้งใต้นี้ ถือกำเนิดมาครั้งก่อนพุทธกาล เชื่อว่ามีการเสด็จมาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อมาถึงทุ่งนาที่กว้างใหญ่พระองค์ทรงหยุดทอดพระเนตรออกไปสู่ทุ่งนาดังกล่าว จึงเป็นสาเหตุที่ใช้ชื่อเรียกชุมชนที่อยู่ละแวกนี้ว่า “ทุ่งยั้ง”

ชุมชนทุ่งยั้งเป็นชุมชนที่เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ที่มีความเชื่อถือและขนบธรรมเนียม ประเพณีที่เป็นศูนย์กลางความเคารพศรัทธาอยู่หลาย ๆ อย่างด้วยกันประกอบด้วย

งานอัฐมีบูชา จัดว่าเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาของชาวทุ่งยั้ง เป็นการจัดงานช่วงของวันวิสาขบูชา ซึ่งจะมีการจัดงานถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า หรือที่เรียกกันว่า “อัฐมีบูชา”

ซึ่งถือได้ ว่าในปัจจุบันมีแห่งเดียวของประเทศ ซึ่งจะจัดหลังจากวันวิสาหกิจบูชา คือวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ 10 วัน

การจัดงานมีมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิม โดยชาวบ้านจะนำไม้ไผ่มาสานจำลองเป็นพระพุทธรูป เมื่อถึงวันวิสาขบูชาหลังจากที่มีการเวียนเทียนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะมีเผาหรือถวายพระเพลิงพระบรมรูปจำลองที่ได้ร่วมกันทำนั้น

ซึ่งก่อนที่จะมีการถวายพระเพลิงก็จะจัดให้มีการเทศน์และกล่าวสรุปประวัติวันวิสาขบูชา ภายหลังได้เปลี่ยนให้มีการจัดงานทั้งหมด 10 วัน

โดยมีการบำเพ็ญกุศลนับเริ่มตั้งแต่วันวิสาขบูชา รูปแบบเมรุก็เปลี่ยนให้เป็นแบบทรงไทย ซึ่งแต่เดิมเป็นแบบอินเดียซึ่งมีการทำบุญ 7 วัน ตามจำนวนลูกของท้าวสามล ได้แก่ มลิวรรณ์ ถันวิลา มลุลี ยี่สุ่นเทศ เกษเมือง เรืองยศ และรจนา

โดยวันที่ 8 จะมีการจัดงานสลากภัต ส่วนในวันที่ 9 ของการจัดงานก็จะมีการเลี้ยงพระ และวันที่ 10 จะเป็นการจัดงานอัฐมีบูชา ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจำลอง

ประกอบการแสดงแสง สี เสียง ซึ่งเป็นความร่วมมือร่วมใจในการจัดงานของชาวทุ่งยั้งอย่างแท้จริง เพื่อสืบทอดประเพณีอันดีงามอันนี้ให้สืบต่อไปตราบจนชั่วลูกสืบหลาน


ขอขอบคุณ

อาจารย์บุษกร เมธางกูร ลานธรรม มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ


โดย: นาถ (sirivinit ) วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:14:14:38 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.