Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
1 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 

❉...ทัวร์แล็บจำลองฟ้าผ่ากลางกรุง...❉




     ตะกรุด สร้อย โทรศัพท์มือถือ MP3 เป็นสื่อล่อฟ้าหรือไม่ อะไรคือสาเหตุของฟ้าผ่าที่แท้จริง ค้นหาคำตอบได้ที่ห้องปฏิบัติการจำลองฟ้าผ่า จุฬาฯ

     ห้องปฏิบัติการจำลองฟ้าผ่าของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้ 1.4 ล้านโวลต์ ไม่ได้มีไว้เพื่อสร้างปรากฏการณ์ฟ้าผ่าอย่างเดียว แต่ยังใช้ทดสอบประสิทธิภาพของรางรถไฟฟ้าทั้งสายลอยฟ้า และใต้ดิน

     ห้องจำลองฟ้าผ่าเป็นส่วนหนึ่งของอาคารปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูง ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถือว่า เป็นห้องทดลองทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูงแห่งแรกของไทยที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 โดยการสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศสวิตเซอร์แลนด์

     ห้องปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูงเริ่มสร้างขึ้นหลังจากเขื่อนภูมิพลสร้างแล้วเสร็จและจะต้องทำหน้าที่ส่งกระแสไฟฟ้า 220 โวลต์มาที่กรุงเทพมหานคร

     “ตอนนั้นจำเป็นต้องมีเครื่องมือตรวจสอบอุปกรณ์ส่งกระแสไฟฟ้า 220 โวลต์มาที่กรุงเทพ ทางรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์จึงสนับสนุนงบประมาณและส่งวิศวกรมาร่วมออกแบบและจัดสร้างห้องปฏิบัติการไฟฟ้าแรงสูงพร้อมกับอุปกรณ์ต่างๆ" ดร.คมสัน เพ็ชรรักษ์ หัวหน้าห้องจำลองฟ้าผ่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

     เครื่องมือที่สำคัญภายในห้องจำลองฟ้าผ่า ประกอบด้วยชุดหม้อแปลงแรงสูงมากกว่า 100 ล้านบาท ทำหน้าที่สร้างแรงดันสูงกระแสสลับขนาด 500 กิโลโวลต์ สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้กับกระแสไฟฟ้า 220 โวลต์



     ภายในห้องปฏิบัติการมีเครื่องจำลองฟ้าผ่าสามารถสร้างกระแสไฟ 1.4 ล้านโวลต์ จำลองการเกิดฟ้าผ่าได้ระดับหนึ่งเพื่อศึกษาการเกิดและผลกระทบจากฟ้าผ่า ได้รับจากรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์อีกเช่นกัน

     ภารกิจของห้องจำลองฟ้าผ่าคือ จำลองการเกิดฟ้าผ่า และทดสอบผลที่เกิดขึ้นกับคน สัตว์ สิ่งของที่โดนฟ้าผ่า หรืออยู่ในรัศมีใกล้กับสถานที่ที่ฟ้าผ่า ต่างกันที่กระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่าของจริงสูงหลายสิบล้านโวลต์ ทำให้ผลที่เห็นอาจจะไม่รุนแรงเท่าเหตุการณ์จริง

     “จุดมุ่งหมายหลักของห้องจำลองฟ้าผ่ามีอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ การเป็นห้องปฏิบัติการให้นิสิตด้านวิศวกรรมไฟฟ้าแรงสูงสามารถเรียนรู้ เป็นห้องทดสอบให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น และเป็นห้องปฏิบัติการวิจัยของนิสิตในระดับปริญญาโท” ดร.คมสันกล่าว

     ห้องปฏิบัติการยังได้รับมอบหมายจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ให้เป็นสถานที่ทดสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบจากห้องจำลองฟ้าผ่ามีอยู่มากมาย อาทิเช่น ลูกถ้วยไฟฟ้า, หม้อแปลง, สายเคเบิ้ล รวมไปถึงรางรถไฟฟ้าบีทีเอส และเหล็กที่ใช้ในการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าแรงสูงเป็นหลัก

     เนื่องจากห้องปฏิบัติการผลิตกระแสไฟฟ้ากำลังมหาศาลและเป็นอันตรายถึงชีวิต การเรียน และทดลองในห้องจำลองฟ้าผ่าจึงมีกฎระเบียบด้านความปลอดภัยสูงควบคู่กันไป

     “เราเน้นเสมอว่า ต้องทำทุกอย่างด้วยความรอบคอบ ปลอดภัย ต้องดูให้ดีก่อนที่จะเข้าไปใกล้เครื่องมือต่างๆ เช็คก่อนว่า เครื่องเปิดอยู่หรือเปล่า และการใช้ห้องต้องทำกันอย่างน้อย 2 คน หากใครเป็นอะไรจะได้มีคนช่วย หรือหากเป็นงานที่นิสิตต้องทำก็จะมีอาจารย์คอยดูอยู่ด้วยเสมอ” ดร.คมสันกล่าว



ขอบคุณข้อมูลดีดี : กรุงเทพธุรกิจ












 

Create Date : 01 กรกฎาคม 2552
0 comments
Last Update : 1 กรกฎาคม 2552 11:18:37 น.
Counter : 746 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ของขวัญในสายลม
Location :
ตรัง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ALL ABOUT CODE
Friends' blogs
[Add ของขวัญในสายลม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.