หมากรุกไทย - หมากไล่ โคน 1 เบี้ยหงาย 1 (หลังโคน เบี้ยหงายตรงมุม)
การไล่หลังโคน ถ้าฝ่ายหนี หนีไปยังมุมที่มีเบี้ยหงายตรงมุม ฝ่ายไล่สามารถที่จะไล่ฝ่ายหนีให้จน โดยไม่ต้องสกัดตาเดินให้มายังหน้าโคน
รูปจน

กลการไล่ กลการไล่ให้เข้ารูปจน แสดงดังภาพ โดยตาต่อไปจะเป็นฝ่ายไล่เดิน

จากนั้นเดินดังนี้ ๑) ค, ฉ๓-ฉ๔ ข, ญ๒-ญ๑ ๒) ง, ช๔-ฉ๓ ข, ญ๑-ญ๒ ๓) ค, ฉ๔-ช๓+ ข, ญ๒-ญ๓ ๔) ง, ฉ๓-ช๒++
การปรับรูปหมากให้เข้ากล
ปัญหาของการไล่รูปนี้คือ ทำอย่างไรให้เข้ากลการไล่ ซึ่งหากไม่เข้ากล จะมีการแก้ที คือการปรับรูปหมากให้เข้ากล ซึ่งขอนำเสนอ ๔ แบบ คือ
แบบที่ ๑

ขุนฝ่ายหนีอยู่ในตำแหน่งที่ต่างออกไปจากกลการไล่หนึ่งช่อง ฝ่ายไล่สามารถปรับรูปหมากได้ดังนี้
๑) ค, ฉ๓-ช๒+ ข, ญ๑-ญ๒ ๒) ค, ช๒-ฉ๑ ข, ญ๒-ญ๑ ๓) ข, ฉ๒-จ๓ ข, ญ๑-ช๑ ๔) ข, จ๓-จ๒ ข, ช๑-ญ๒ ๕) ข, จ๒-ฉ๓ ข, ญ๒-ช๑ ๖) ค, ฉ๑-จ๒ ข, ช๑-ญ๑ ๗) ข, ฉ๓-ช๓ ข, ญ๑-ช๑ ๘) ง, ช๔-ญ๓ ข, ช๑-ญ๑ ๙) ข, ช๓-ฉ๒ ข, ญ๑-ญ๒ ๑๐) ง, ญ๓-ช๔ ข, ญ๒-ญ๑ ๑๑) ค, จ๒-ฉ๓ ข, ญ๑-ญ๒
อธิบายเพิ่มเติม ในการเดินตาที่ ๓ ถึง ๖ ขุนฝ่ายหนีสามารถเลือกตาเดินได้ โดยตาเดินที่แสดงเป็นการเดินชิงทีเพื่อหนีให้นานที่สุด (ซึ่งอาจทำให้เสมอได้ เพราะนับครบศักดิ์กระดาน) และฝ่ายไล่ก็พยายามเดินแก้ที เพื่อให้เข้ารูปกลให้เร็วที่สุด
ตัวอย่างจากภาพ หลังจากฝ่ายไล่เดิน ๓) ข, ฉ๒-จ๓

ถ้าฝ่ายหนีไม่เดิน ข, ญ๑-ช๑ แต่เดิน ข, ญ๑-ญ๒ ๓) _______ ข, ญ๑-ญ๒ ๔) ข, จ๓-ฉ๓ ข, ญ๒-ช๑ ๕) ค, ฉ๑-จ๒ ข, ช๑-ญ๑ ๖) ข, ฉ๓-ช๓ ข, ญ๑-ช๑ ๗) ง, ช๔-ญ๓ ข, ช๑-ญ๑ ๘) ข, ช๓-ฉ๒ ข, ญ๑-ญ๒ ๙) ง, ญ๓-ช๔ ข, ญ๒-ญ๑ ๑๐) ค, จ๓-ฉ๓ ข, ญ๑-ญ๒
สังเกตว่าฝ่ายหนี หนีได้น้อยลงจากเดิมหนึ่งตา หากเดิน ข, ญ๑-ญ๒ ในตาที่ ๓
และหากเดิน ข, ญ๑-ญ๒ ในตาที่ ๓ นี้ แล้วตาที่ ๔ ไม่เดิน ข, ญ๒-ช๑ แต่ไปเดิน ข, ญ๒-ญ๑ จะทำให้เข้ากลเร็วขึ้นดังนี้ ๓) _______ ข, ญ๑-ญ๒ ๔) ข, จ๓-ฉ๓ ข, ญ๒-ญ๑ ๕) ข, ฉ๓-ฉ๒ ข, ญ๑-ญ๒ ๖) ค, ฉ๑-จ๒ ข, ญ๒-ญ๑ ๗) ค, จ๒-ฉ๓ ข, ญ๑-ญ๒ แบบที่ ๒

๑) ข, จ๒-จ๑ ข, ช๑-ญ๒ ๒) ข, จ๑-ฉ๒ ข, ญ๒-ญ๑ เป็นการเข้ารูปตามแบบที่ ๑ การเดินต่อไปจึงเป็นการปรับรูปหมากตามแบบที่ ๑
(ถ้าฝ่ายหนีเดิน ๑) ข, จ๒-จ๑ ข, ช๑-ญ๑ ๒) ข, จ๑-ฉ๒ ข, ญ๑-ญ๒ จะเป็นการเดินเข้ากลการไล่โดยไม่ต้องปรับรูปหมากอีก)
แบบที่ ๓

โคนกับเบี้ยหงายสลับตำแหน่งกัน สามารถปรับรูปหมากได้ดังนี้ ๑) ง, ฉ๓-จ๒ ข, ญ๒-ญ๑ ๒) ข, ฉ๒-ช๓ ข, ญ๑-ช๑ ๓) ค, ช๔-ฉ๓ ข, ช๑-ญ๑ ๔) ง, จ๒-ง๓ ข, ญ๑-ช๑ ๕) ค, ฉ๓-จ๒ ข, ช๑-ญ๑ ๖) ง, ง๓-จ๔ ข, ญ๑-ช๑ ๗) ง, จ๔-ฉ๓ ข, ช๑-ญ๑ ๘) ข, ช๓-ฉ๒ ข, ญ๑-ญ๒ ๙) ง, ฉ๓-ช๔ ข, ญ๒-ญ๑ ๑๐) ค, จ๒-ฉ๓ ข, ญ๑-ญ๒
แบบที่ ๔

๑) ค, ช๔-ญ๓ ข, ญ๑-ญ๒ ๒) ง, ฉ๓-ช๔ ข, ญ๒-ญ๑ ๓) ค, ญ๓-ช๒+ ข, ญ๑-ญ๒
จากนั้น เดินตามแบบที่ ๑ ตั้งแต่ลำดับที่ ๒ ถึง ๑๑ ดังนี้ ๔) ค, ช๒-ฉ๑ ข, ญ๒-ญ๑ ๕) ข, ฉ๒-จ๓ ข, ญ๑-ช๑ ๖) ข, จ๓-จ๒ ข, ช๑-ญ๒ ๗) ข, จ๒-ฉ๓ ข, ญ๒-ช๑ ๘) ค, ฉ๑-จ๒ ข, ช๑-ญ๑ ๙) ข, ฉ๓-ช๓ ข, ญ๑-ช๑ ๑๐) ง, ช๔-ญ๓ ข, ช๑-ญ๑ ๑๑) ข, ช๓-ฉ๒ ข, ญ๑-ญ๒ ๑๒) ง, ญ๓-ช๔ ข, ญ๒-ญ๑ ๑๓) ค, จ๓-ฉ๓ ข, ญ๑-ญ๒
อ้างอิง: - ตำรากลหมากรุก โดย บ. พยัคฆ์ - แม่ไม้หมากรุกไทย 'ตำราเซียนป่อง' โดย สุชาติ ชัยวิชิต
Create Date : 02 พฤศจิกายน 2554 |
Last Update : 3 มิถุนายน 2555 21:59:28 น. |
|
2 comments
|
Counter : 1855 Pageviews. |
 |
|
|
หมูปิ้งเล่นไม่เป็นอ่า แง แง