หมากรุกไทย - หมากไล่-หนี นกกระจาบทำรัง(?)
.....นกกระจาบทำรังข้างหมากหนี .............. นั้นเบี้ยมีอยู่กับม้าท่าสับสน ข้างหมากไล่ได้เรือเจือระคน .................... เข้าปะปนเบี้ยหงายรายระดม เรือกับม้าท่าทีก็พอสู้ .............................. ตำราครูกล่าวไว้ให้เห็นสม หกสิบสี่หนีได้โดยนิยม ........................... เข้าเกลือกกลมแอบเบี้ยไม่เสียที ถ้าเบี้ยผูกถูกกันท่านให้ต่อ ....................... เอาเบี้ยล่อรอรับขับให้หนี ข้างหมากไล่ก็จะเหลิงในเชิงที .................. ถึงแต้มมีก็คงหมดกำลังลง
รูปแบบที่ ๑๐ นกกระจาบทำรัง ฝ่ายไล่: ขุน, เรือ ๑, เบี้ยหงาย ๑ ฝ่ายหนี: ขุน, ม้า ๑, เบี้ยหงาย ๑ (ตรงกันกับฝ่ายไล่)

หมากไล่-หมากหนี นับศักดิ์กระดาน ๖๔ รูปนี้คือ รูปแบบที่ ๑๐ จากเพลงยาวกระบวรไล่หมากรุก ตามที่นำเสนอไว้ในบล็อกชื่อ หมากรุกไทย - ๑๒ รูปแบบ หมากไล่-หมากหนี
สำหรับหัวข้อของบล็อกนี้ที่ใส่เครื่องหมาย ? ไว้ เพราะมีข้อควรพิจารณาอยู่ กล่าวคือ ตัวอย่างการไล่-หนีที่นำมาแสดงในบล็อกนี้ ซึ่งนำมาจาก ตำราหมากรุกไทยเซียนป่อง ฉบับลูกสูตรสะท้านฟ้า จินตนาการไร้ขอบเขต โดย อ.ป่อง สุชาติ ชัยวิชิต (โดยปรับเล็กน้อยคือ เปลี่ยนจากเม็ดเป็นเบี้ยหงาย) จะเป็นรูปเบี้ยหงายไม่ตรงกัน ซึ่งถ้าพิจารณาจากคำกลอนแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่ารูปแบบนกกระจาบทำรังนี้ จะกำหนดเฉพาะเบี้ยหงายตรงกัน แต่ถ้าอ้างอิงจากตำราหมากรุกไทย โดย สุนทร ศราภัยวานิช จะอธิบายว่า หมากไล่-หนีที่เข้ารูป นกกระจาบทำรัง จะต้องมีเบี้ยหงายตรงกัน ซึ่งในตำราของอ.ป่องก็กล่าวในทำนองเดียวกัน และขยายความว่า รูปนกกระจาบทำรัง ซึ่งเบี้ยหงายตรงกันนั้น วิธีหนีคือพยายามต่อเบี้ยออกให้เหลือม้ากับเรือ ซึ่งจะทำให้ไล่ไม่จน (สอดคล้องกับคำกลอนที่ว่า 'ถ้าเบี้ยผูกถูกกันท่านให้ต่อ')
และหากเบี้ยหงายไม่ตรงกัน อ.ป่องกล่าวว่าจะไม่เข้ารูป นกกระจาบทำรัง เพราะเป็นรูปหมากที่หนียากมาก โดยในคำอธิบายของอ.ป่องครั้งแรก ยังแสดงวิธีไล่ให้จนด้วยซ้ำไป พร้อมทั้งตั้งชื่อว่ารูปหมากที่เบี้ยหงายไม่ตรงกันนี้ว่า 'นกกระจอกแตกรัง' คือหนีไม่ออก
แต่ต่อมาอ.ป่องได้พัฒนาวิธีการหนีให้เสมอ สำหรับรูปหมากที่เบี้ยหงายไม่ตรงกันนี้ขึ้นมา พร้อมทั้งตั้งชื่อว่ารูปหมาก 'นกกระจอกทำรัง' ซึ่งเป็นการตั้งชื่อที่มีลักษณะ 'คารวะคนรุ่นเก่า' อยู่มาก
ดังนั้น ผมจึงใส่เครื่องหมาย ? ไว้ที่บล็อกนี้ว่าตัวอย่างนี้จะเป็นรูปแบบ นกกระจาบทำรัง ได้หรือไม่ โดยตอนนี้ผมจะถือตาม อ.ป่อง ไปก่อนนะครับ เพื่อเป็นการคารวะอ.ป่อง ที่ได้พัฒนาการหนีรูปหมากนี้ขึ้นมา ว่ารูปหมากนี้คือ นกกระจอกทำรัง ซึ่งเป็นการหนีที่ยากมาก ฝ่ายหนีจะต้องใช้วิธีตั้งรูประหว่างม้ากับเบี้ยหงายไว้ โดยอ.ป่องเปรียบกับนกกระจอกที่ทำรังไว้ เพื่อไม่ให้ฝ่ายไล่เข้ามาในรูปการรุกจน แล้วใช้ขุนหนีวนไปมา ซึ่งในหนังสือของอ.ป่องดังกล่าวนี้ จะมีคำอธิบายที่ละเอียดมากกว่าในบล็อกนะครับ

1) ง, ค3 - ข2 ร, ญ8 - ญ3 2) ง, ข2 - ค3 ง, ค4 - ง3+ 3) ข, ค2 - ข3 ร, ญ3 - ญ8

4) ข, ข3 - ก4 ร, ญ8 - ข8 5) ข, ก4 - ก3 ง, ง3 - ค2 6) ข, ก3 - ก2 ร, ข8 - ข6 7) ข, ก2 - ก3 ง, ค2 - ข1 8) ง, ค3 - ข2 ง, ข1 - ค2 9) ง, ข2 - ค3 ร, ข6 - ข8

10) ข, ก3 - ก2 ง, ค2 - ง3 11) ข, ก2 - ก3 ร, ข8 - ก8+ 12) ข, ก3 - ข3 ร, ก8 - ก7 13) ข, ข3 - ข2 ง, ง3 - ค4 14) ข, ข2 - ค2 ร, ก7 - ข7 15) ม, ง2 - จ4+ ข, ค5 - ง5

16) ม, จ4 - ง2 ร, ข7 - ข8 17) ง, ค3 - ข2 ข, ง5 - ง4 18) ง, ข2 - ค3+ ข, ง4 - ง5

19) ง, ค3 - ข2 ร, ข8 - ญ8 20) ง, ข2 - ค3 ร, ญ8 - ญ2 21) ข, ค2 - ข2 ง, ค4 - ง3 22) ข, ข2 - ข3 ร, ญ2 - ญ8 23) ข, ข3 - ข2 ร, ญ8 - ข8+ 24) ข, ข2 - ก3 ง, ง3 - ค2 25) ข, ก3 - ก2 ข, ง5 - จ5 26) ข, ก2 - ก3 ข, จ5 - ฉ4 27) ง, ค3 - ข4 ข, ฉ4 - จ3 28) ม, ง2 - ค4+ ข, จ3 - ง4 29) ม, ค4 - ก5 ร, ข8 - ข6

30) ข, ก3 - ข2 ง, ค2 - ง3 31) ข, ข2 - ข3 ข, ง4 - ง5 32) ข, ข3 - ก4 ง, ง3 - ค4 33) ข, ก4 - ก3 ร, ข6 - ญ6

34) ข, ก3 - ข2 ร, ญ6 - ญ3 35) ข, ข2 - ก2 ข, ง5 - ง4 36) ข, ก2 - ข2 ข, ง4 - ง3

37) ข, ข2 - ก3 ข, ง3 - ค2 เปิด+ 38) ข, ก3 - ก4 ร, ญ3 - ญ4 39) ม, ก5 - ข7

อ้างอิง - ตำราหมากรุกไทยเซียนป่อง ฉบับลูกสูตรสะท้านฟ้า จินตนาการไร้ขอบเขต โดย สุชาติ ชัยวิชิต - สนุกกับหมากรุกไทย โดย วินัย ลิ้มดำรงค์ชิต - หมากรุกไทย โดย นายแพทย์ ประกอบ บุญไทย - หลักการและวิธีการเดินหมากรุกไทย โดย สุนทร ศราภัยวานิช - ภาพ และข้อความบันทึกหมากส่วนใหญ่ นำมาจากโปรแกรมถอดหมาก thaichess.net/chess ที่พัฒนาโดยคุณเอก และคุณไพรัฐ ศรีดุรงคธรรมพ์ (ข้อมูลจาก thaichess.net/?page_id=673)
Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2555 |
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2555 11:34:21 น. |
|
7 comments
|
Counter : 2961 Pageviews. |
 |
|
|