หมากรุกไทย - หมากไล่ โคน 1 เบี้ยหงาย 1 (หน้าโคน)
หมากไล่ โคน ๑ เบี้ยหงาย ๑ นับศักดิ์หมาก ๔๔ อาจแบ่งรูปแบบการไล่ได้ ๓ รูปแบบคือ การไล่หน้าโคน, การไล่หลังโคน เบี้ยหงายตรงมุม และการไล่หลังโคน เบี้ยหงายไม่ตรงมุม
การไล่หน้าโคน
รูปจน

ตำแหน่งสำคัญคือ ขุน อยูในตำแหน่งคอลัมน์ ๒ แถว ๓ (นับจากมุม) แล้วใช้โคนรุกจน
กลการไล่

กลการไล่นี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งในการไล่หน้าโคน เพื่อให้เข้ารูปจน สังเกตการเดินของขุนฝ่ายหนี ซึ่งในบางตาจะเลือกเดินได้หลายตา ลองพิจารณาดูว่าทำไมถึงเดินตานั้น แล้วถ้าไม่เดินตานั้น ฝ่ายไล่จะทำอย่างไร เพื่อให้เข้ารูปจน โดยตำแหน่งสำคัญคือขุน
๑) ค, ช๗-ฉ๖+ ข, จ๗-ง๘ ๒) ข, จ๕-ง๖ ข, ง๗-ค๘ ๓) ข, ง๖-ค๖ ข, ค๘-ข๘ ๔) ข, ค๖-ข๖ ข, ข๘-ค๘ ๕) ค, ฉ๖-จ๗ ข,ค๘-ข๘ ๖) ค, จ๗-ค๖ ข, ข๘-ก๘ ๗) ง, จ๖-ง๗ ข, ก๘-ข๘ ๘) ค, ง๖-ค๗+ ข, ข๘-ก๘ ๙) ค, ค๗-ค๘ ข, ก๘-ข๘ ๑๐) ค, ค๘-ข๗++
รูปจน

อีกรูปแบบหนึ่งของฝ่ายไล่คือ ตำแหน่งขุนอยู่ที่คอลัมน์ ๓ แถว ๒ เบี้ยหงายตรงมุม ใช้โคนรุกจน
กลการไล่

ตัวอย่างกลการไล่นี้ มีข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ การเดินแบบเป็นทีของขุนฝ่ายหนี และการแก้ทีของขุนฝ่ายไล่ เพื่อให้เข้ารูปและจังหวะการไล่จน
๑) ข, ช๔-ฉ๔ ข,ฉ๖-ฉ๗ ๒) ข, ฉ๔-ช๕ ข, ฉ๗-จ๘ ๓) ข, ช๕-ฉ๖ ข, จ๘-ง๘ ๔) ข, ฉ๖-จ๖ ข, ง๘-ค๘ ๕) ง, ฉ๕-จ๔ ข, ค๘-ข๗ ๖) ค, ง๖-ค๕ ข, ข๗-ก๖ ๗) ค, ค๕-ข๔ ข, ก๖-ข๗ ๘) ข, จ๖-ง๗ ข, ข๗-ก๘ ๙) ค, ข๔-ข๕ ข, ก๘-ข๘ ๑๐) ง, จ๔-ง๕ ข, ข๘-ข๗ ๑๑) ข, ง๗-ง๘ ข, ข๗-ข๘ ๑๒) ง, ง๕-ค๖ ข, ข๘-ก๘ ๑๓) ข, ง๘-ค๘ ข, ก๘-ก๗ ๑๔) ข, ค๘-ค๗ ข, ก๗-ก๘ ๑๕) ง, ค๖-ข๗+ ข, ก๘-ก๗ ๑๖) ค, ข๕-ข๖++
อ้างอิง: ตำรากลหมากรุก โดย บ. พยัคฆ์
Create Date : 01 พฤศจิกายน 2554 |
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2554 15:13:16 น. |
|
2 comments
|
Counter : 1553 Pageviews. |
 |
|
|