Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2551
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
13 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
การสกัดหัวน้ำหอม Essential Oil

วิธีสกัด หัวน้ำหอม น้ำมันหอมระเหย ( Essential Oils )



น้ำมันหอมระเหยคืออะไร
น้ำมันหอมระเหยเป็นสารอินทรีย์ที่พีชผลิตขึ้นตามธรรมชาติ เก็บไว้ตามส่วนต่าง ๆเช่น กลีบดอก ผิวของผล เกสร ราก หรือเปลือกของลำต้น มักมีกลิ่นหอมระเหยง่าย เวลาที่ได้รับความร้อนของอนุภาพเล็กๆ ของน้ำมันหอมระเหยจะระเหยออกมาเป็นไอ ทำให้เราได้กลิ่นหอม
ประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยมีอะไรบ้าง
กลิ่นของน้ำมันหอมระเหยในส่วนของดอกไม้มีบทบาทสำคัญในการช่วยดึงดูแมลงมาผสมเกสร ปกป้องการรุกรานจากศัตรู และรักษาความชุ่มชื้นแก่พืช
สำหรับประโยชน์ต่อมนุษย์ น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค บรรเทาอาการอักเสบ หรือลดบวม คลายเครียด หรือกระตุ้นให้สดชื่น ทั้งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด

องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหย มีอะไรบ้าง
องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยมีอยู่มากมายหลายร้อยชนิด แต่สามารถแยกเป็นกลุ่มของสารได้ 7 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มแอลกอฮอล์ กลุ่มอัลดีไฮด์ กลุ่มเอสเทอร์ กลุ่มคีโทน กลุ่มออกไซด์ กลุ่มฟีนอล และกลุ่มเทอร์ปีน โดยปรกติน้ำหอมระเหยแต่ละชนิดจะมีสารองค์ประกอบทางเคมีตั้งแต่ 50-500 ชนิด องค์ประกอบทางเคมีแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป แต่เมื่อมาผสมผสานกันอยู่ก็จะทำให้เกิดคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณะของน้ำมันหอมระเหยจากพืชแต่ละชนิดที่มีจุดเด่นความเหมือนและความแตกต่างในการบำบัดต่างกันออกไป

พืชอะไรบ้างที่มีน้ำมันหอมระเหย
พืชที่ให้น้ำมันหอมระเหยมีกระจายอยู่ในวงศ์พืชต่างๆ ไม่เกิน 60 วงศ์ที่สำคัญได้แก่ Labiatae ( มิ้นต์ ) Rutaceae ( ส้ม ) Zingiberaceae ( ขิง ) Gramineae ( ตะไคร้ )
พืชที่ให้น้ำมันหอมระเหยที่ปลูกเป็นการค้ามีอยู่ไม่เกิน 100 ชนิด ที่สำคัญเช่นสะระแหน่ ตะไคร้ ตะไคร้หอม กระดังงา เบอร์กามอต โหระพา
อันที่จริงน้ำมันหอมระเหยไม่ได้มาจากพืชเท่านั้นแต่ได้มาจากสัตว์ด้วย แต่ที่พบมีที่ได้จากสัตว์แค่ 4 ชนิดเท่านั้น คือ กลิ่นอำพัน มาจากปลาวาฬหัวทุน กลิ่นชะมด มาจากตัวชะมด กลิ่น castoreum จากตัวบีเวอร์ และกลิ่นจากกวาง สาระเหยที่ได้จากสัตว์จะมีราคาแพงและหายาก เพราะต้องฆ่าสัตว์เหล่านั้นมาจึงจะได้กลิ่นหอม

น้ำมันหอมระเหยมีวิธการสกัดมาได้อย่างไร
ในสมัยโบราณจะนิยมนำดอกไม้หอมมาแช่น้ำทิ้งไว้ และนำน้ำที่มีกลิ่นหอมนั้นมาดมหรืออาบ ต่อมากได้มีการพัฒนาวิธีการสกัดกลิ่นหอม เพื่อให้ได้กลิ่นหอมหรือน้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพ และมีปริมาณสูงสุด ซึ่งวิธีการสกัดมีหลายวิธี การที่จะเลือกใช้วิธีใดนั้นต้องพิจารณาลักษณะของพืชที่จะนำมาสกัดด้วย

วิธีการสกัดน้ำมันหอมระเหยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

1 .การกลั่นโดยใช้น้ำและไอ้น้ำ

วิธีนี้ใช้อุปกรณ์สำหรับกลั่นประกอบด้วย หม้อกลั่น เครื่องควบแน่น และภาชนะรองรับน้ำมัน หลักการของวิธีนี้คือให้ไอน้ำเป็นตัวพาน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในเนื้อเยื่อพืชออกมาพร้อมกัน เมื่อผ่านเครื่องควบแน่น ไอน้ำและไอของน้ำมันหอมระเหยจะควบแน่นเป็นของเหลว ได้น้ำมันหอมระเหย และน้ำแยกชั้นกัน หลังจากนั้นจึงแยกน้ำมันหอมระเหยออกจากน้ำ วิธีการนี้ทำได้หลายแบบ คือ อาจต้มพืชที่จะสกัดน้ำมันหอมระเหยกับน้ำเลย พอน้ำเดือดก็จะพาน้ำมันหอมระเหยออกมาด้วย หรืออาจจะต้มน้ำอีกภาชนะหนึ่งแล้วผ่านไอน้ำมายังภาชนะที่บรรจุพืชไว้ ไอน้ำก็จะพาน้ำมันหอมระเหยออกมา ซึ่งสองวิธีการนี้ วิธีการหลังพืชไม่สัมผัสกับความร้อนโดยตรง ทำให้น้ำมันหอมระเหยมีคุณภาพดีกว่าวิธีการแรก

2 .การสกัดโดยใช้ตัวทำละลาย

การสกัด น้ำมันหอมระเหย ที่ไม่สามารถใช้วิธีการกลั่นโดยใช้ไอน้ำได้เนื่องจากองค์ประกอบของสารหอมระเหยในดอกไม้จะสลายตัวเมื่อถูกความร้อนสูง ดังนั้นจึงใช้ตัวทำละลาย เช่น เฮเซน สกัดน้ำมันหอมระเหยออก หลังจากนั้นระเหยไล่ตัวทำละลายออกที่อุณหภูมิและความกดดันต่ำ ก็จะได้น้ำมันหอมระเหยออกมา

3 .การสกัดโดยใช้ไขมัน

การสกัดโดยวิธีนี้เป็นวิธีการสกัดแบบดั้งเดิม มักใช้กับดอกไม้กลีบบาง เช่น มะลิ ซ่อนกลิ่น โดยใช้ไขมันประเภทน้ำมันหมูเกลี่ยลงบนถาดไม้ แล้วนำดอกไม้มาเกลี่ยทับเป็นชั้นบาง ๆจนเต็มถาด ตั้งทิ้งไว้ 24 ชม.แล้วเปลี่ยนดอกไม้ชุดใหม่ ทำซ้ำประมาณ 7-10 ครั้ง ไขมันก็จะดูดซับสารหอมไว้ หลังจากนั้น ละลายสารหอมออกจากไขมันโดยใช้เอทานอล แล้วนำไประเหยเอทานอล ออก ก็จะได้น้ำมันหอมระเหยออกมา

4.วิธีการบีบ

วิธีนี้มักใช้กับเปลือกผลไม้ตระกูลส้ม เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด น้ำมันหอมระเหยที่ได้จะมีคุณภาพดี และราคาแพง



หลักการเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยมีอะไรบ้าง

หลีกเลี่ยงน้ำมันหอมระเหยที่ฉลากระบุว่า Perfume oil ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการนำน้ำมันหอมระเหยชนิดสังเคราะห์ที่ได้กลิ่นเหมือนกันมาใช้แทน ไม่มีประโยชน์ในการบำบัด กลิ่นแรกหลังจุดจะรู้สึกแสบจมูก

หากน้ำมันหอมระเหยบรรจุอยู่ในขวดแก้วใส คุณสมบัติหรือประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยจะหาย กลิ่นจะไม่คงทน และประโยชน์ในการบำบัดก็จะลดลงตามไปด้วย วิธีการเลือกซื้อที่ถูกต้อง คือ ต้องเลือกใช้ภาชนะบรรจุที่มีขวดแก้วสีทึบ เข่น สีน้ำตาล สีน้ำเงิน หรือสีเขียว เป็นต้น

หลีกเลี่ยงการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เป็นจวดพลาสติก หรือมีจุกยาง เนื่องจากคุณสมบัติของน้ำมันหอมระเหยจะละลายพลาสติกหรือจุกยางได้

ราคาของน้ำมันหอมระเหยโดยปกติแล้วมีราคาประมาณ 1,000 – 10,000 บาทต่อลิตร โดยเฉพาะมะลิและกุหลาบจะมีราคาแพงมาก เพราะฉะนั้นหากท่านเลือกซื้อน้ำมันหอมระเหยได้ในราคาถูก ขอให้หยุดคิดสักนิดว่าอาจไม่ใช่ของแท้ 100 เปอร์เซ็นต์

หากพบน้ำมันหอมระเหยมีตะกอนอยู่ก้นขวดหรือแขวนลอยอยู่ ขอให้เลี่ยงเพราะน้ำมันหอมระเหยดังกล่าวอาจถูกเก็บไว้นานเกินไป

ควรหลีกเลี่ยงผู้ค้าที่มาขายในช่วงเทศกาลหรือตามสถานที่จัดงานต่าง เนื่องจากไม่มีแหล่งที่อยู่ที่แน่นอน ไม่สามารติดต่อได้ภายหลัง ควรซื้อจากร้านสปา โดยตรง

การเลือกซื้อควรได้พิสูจน์กลิ่นก่อนว่ากลิ่นเป็นอย่างไร แสบจมูก หรือฉุนหรือไม่ ผู้ขายสามารถอธิบายถึงสรรพคุณของน้ำมันหอมระเหยดังกล่าวได้หรือไม่

-------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลจาก

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
196 พหลโยธิน จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900



Create Date : 13 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2551 18:28:33 น. 2 comments
Counter : 3963 Pageviews.

 
สมดี


โดย: อ้อมไง IP: 118.172.205.156 วันที่: 11 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:54:55 น.  

 
กำลังหาข้อมูลพอดีเลย
ขอบคุณมากครับ ^^


โดย: Engine IP: 119.42.76.225 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2553 เวลา:22:45:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

UltraToey2322
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




♥ ยินดีต้อนรับ เข้าสู่บล๊อก คนบ้างานถักตุ๊กตาครับ ทำไปเรื่อยๆ ตามอารมณ์ ศิลปินครับ ไม่อยากทำ ก็ไม่ทำ ดองงาน เหอเหอ ตอนนี้กำลังแต่งบล๊อกเรื่อยๆ ครับหาความลงตัว อิอิ มีอะไร หลังไมค์ครับพี่น้อง ♥


ส่งข้อความถึง"UltraToey"ได้ทาง
หลังไมค์
My Friend Flock
My Hi5








Friends' blogs
[Add UltraToey2322's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.