เมษายน 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
 
 
ทะเลหมอก.. บนยอด ภูชี้ฟ้า


หากกล่าวถึง “ภูชี้ฟ้า” สำหรับนักเดินทางแล้ว หลายคนคงมีโอกาสได้มาชื่นชมทัศนียภาพ ทะเลหมอก พระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า อาบลมห่มหนาว นั่งดูดาวยามค่ำคืน ถ้าบางคนยังไม่มีโอกาสได้สัมผัสบรรยากาศดังกล่าวก็ควรหาเวลาว่าง มาให้รางวัลแก่ชีวิตกันดูบ้างซักครั้ง...




เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ก็เหมือนเข้าสู่ฤดูกาลแห่งการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการหลั่งไหลของผู้คนสู่ตอนบนของประเทศ
สถานที่ท่องเที่ยวตามดอยและอุทยานต่างๆ ดูจะเย้ายวนเหล่าบรรดานักท่องเที่ยว หนึ่งในความงามเหล่านั้น สถานที่ที่มีเสน่ห์ดึงดูดมากที่สุด ก็คงจะปฏิเสธไปไม่ได้ว่าคือที่นี้ "ภูชี้ฟ้า" เพราะทะเลหมอก บรรยากาศ และธรรมชาติ ที่สวยงามจับใจของภูชีฟ้านั้น สวยงาม... ราวกับภาพวาดในฝันทีเดียว





ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีดอกเสี้ยวหรือชงโคป่า จะออกดอกสีขาวอมชมพูบานสะพรั่งบริเวณเชิงภูชี้ฟ้า ทางอำเภอเทิงซึ่งนำโดยนายนิพนธ์ ขันธปราบ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานของอำเภอเทิง กลุ่มผู้นำท้องถิ่นในตำบลตับเต่า และกลุ่มผู้นำและพี่น้องชาวไทยภูเขาจึงได้จัดงาน “ดอกเสี้ยวบาน ณ ภูชี้ฟ้า” ขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2534 โดยขอความร่วมมือจากนายช่างจรวย สงวนแก้ว นายช่างโครงการอาสา ผู้รับผิดชอบการก่อสร้างเส้นทางสาย บ้านฮวก – ผาตั้ง มาทำการปรับปรุงเส้นทางในบริเวณบ้านร่มฟ้าไทยและบริเวณงานเชิงภูชี้ฟ้า โดยได้รับความร่วมมือจากกลุ่มผู้นำชาวม้งได้จัดชุดการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น การละเล่น การแข่งขันกีฬาชาวเขา และการประกวดธิดาสายหมอก ซึ่งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จึงได้บรรจุเอา วันที่ 13 – 15 กุมภาพันธ์ของทุกปีลงในปฏิทินกรท่องเที่ยวว่าจะมีการจัดงาน “ดอกเสี้ยวบาน ณ ภูชี้ฟ้า”







เชียงรายมีจุดชมวิวทะเลหมอกอยู่หลายจุด เช่น ภูชี้ฟ้า และ ดอยกาดผี อย่างไรก็ตาม มีคนกล่าวถึง ภูชี้ฟ้า ไว้ว่า “ท้องฟ้ากลางคืนที่ภูชี้ฟ้าดาวสวยมาก เช้าตรู่ชมทะเลหมอกสุดลูกหูลูกตา จนหลายคนยกให้ว่าสวยที่สุดในเมืองไทย ภูเขาอะไรงามจริงๆ และไม่มีดอยใดในประเทศไทยนี้อีกแล้วที่จะเหมือน สมแล้วที่หลายคนขนานนาม ว่า "ภูชี้ฟ้า..หลังคาสยาม" เพราะรูปร่างคล้ายจั่วยื่นไปบนฟ้า เห็นทะเลหมอกอบอวลอยู่เบื้องล่างก็คือแผ่นดินลาว และเมื่อหมอกจาง จะเห็นแผ่นดินลาวชัดเจน เห็นหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อบ้านเจียงตอง ว่ากันว่าชาวบ้านเจียงตองจะเดินทางไป-มา เพื่อซื้อของกินของใช้จากฝั่งไทยมานานปีแล้ว และนี่ก็คือภูชี้ฟ้า นับเป็นความมหัศจรรย์ของขุนเขาที่แม้จะต้องเดินทางไกลสักเพียงไร ทุกคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า คุ้มแล้วที่ได้มาเห็น” (Trips Magazine)




เมื่อมาถึงภูชี้ฟ้า ใครๆก็ต้องมาจุดชมวิวทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงาม อีกทั้งทิวทัศน์ของภูเขาสลับซับซ้อนดูกว้างไกล โดยในตอนเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมในหุบเขาเบื้องล่าง มีพระอาทิตย์ขึ้นผ่านพ้นทะเลหมอก ท่ามกลางทุ่งหญ้า แซมด้วยทุ่งดอกโคลงเคลง (ในช่วงฤดูฝนไปจนถึงฤดูหนาว) และหากรอจนสายหมอกถูกความร้อนระเหยหมดแล้ว ก็ยังคงมองเห็นสายน้ำโขงไหลคดเคี้ยว ท่ามกลางป่าไม้ของฝั่งลาวที่เขียวสุดสมบูรณ์อีกด้วย หากมาเที่ยวภูชี้ฟ้า ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม เส้นทางขึ้นภูชี้ฟ้าจะผ่านป่าซากุระหรือต้นพญาเสือโคร่งสีชมพูสวยงามมากอีกเช่นกัน




ใครก็ตามที่คิดจะไปยลโฉมทะเลหมอกที่ภูชี้ฟ้า ก็ต้องขยันกันหน่อย เพราะที่พักจะตั้งอยู่บริเวณเชิงภู ซึ่งห่างจากจุดชมวิวประมาณ 1.5 กิโลเมตร ดังนั้น จึงควรขึ้นไปยอดภูตั้งแต่ฟ้ายังมืด ประมาณตีห้า กำลังเหมาะ เพราะเมื่อฟ้าเริ่มสว่างจะทำให้เห็นสายหมอกค่อยๆ ก่อตัวเป็นภาพต่างๆ ดูสวยงามราวกับมีช่างวาดฝีมือมาแต่งแต้ม สร้างความประทับใจมิรู้ลืม


นอกจากนี้เสน่ห์ของ "ภูชี้ฟ้า" ยังคงมีบรรยากาศเมืองเหนือเหมือนอุทยานและดอยอื่นๆ มีหมู่บ้านชาวเขา บริเวณตีน ภูชี้ฟ้า เป็นบรรยากาศของการท่องเที่ยว มีที่พักขนาดเล็กๆ หลายแห่งให้เลือกใช้บริการ และที่บริเวณบ้านเช็งเม้งก่อนขึ้นสู่ตีนภูชี้ฟ้า เป็นหมู่บ้านชาวม้ง หากมาเยือนภูชี้ฟ้า ในช่วงปีใหม่ยังจะได้ชมงานปีใหม่ ที่ชาวม้งจะแต่งตัวม้งครบถ้วนทั้งหญิงและชาย จุดเด่นของงาน คือ การโยนลูกช่วงหรือลูกหินระหว่างหนุ่ม – สาว




สำหรับภูมิอากาศบนภูเขา จะค่อนข้างเย็นแต่ฤดูกาลจะเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์




สำหรับภูมิอากาศบนภูเขา จะค่อนข้างเย็นแต่ฤดูกาลจะเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์




ภูชี้ฟ้า เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชัน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,628 เมตร (5,426 ฟุต) ตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อแนวตะเข็บของเส้นแบ่งพรหมแดนของประเทศไทยและบ้านเชียงตองแขวงไชยบุรี สปป.ลาว บนเทือกเขาผาหม่น ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างให้ชื่อของภูชี้ฟ้า ตามก้อนหินขนาดมหึมา ทรงเหลี่ยม แหลม ปลายยอดชี้ขึ้นไปบนฟ้าว่า “หลังคาแห่งสยาม”
ภูชี้ฟ้า เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นสลายหมอกอีกแห่งหนึ่ง ช่วงที่สวยงามมากคือเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เวลา 6.30-7.30 น. อยู่ห่างจากดอยผาตั้ง 25 กม. มีลักษณะเป็นยอดเขาที่แหลมชึ้นขึ้นไปบนฟ้า โดยมีหน้าผายื่นเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว บนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้าง แซมด้วยทุ่งโคลงเคลงมีมีดอกสีชมพูอมม่วง ซึ่งจะบานระหว่างเดือน กรกฏาคม-มกราคม


* ก่อนถึงภูชี้ฟ้า 50 เมตรด้านขวามือเป็นดอยหลังเต๋า
* เขตแดนแนวสันเขาของภูชี้ฟ้าเป็นเส้นแนวแบ่งเขตไทยลาว
* ระยะทางจากจุดลานจอดรถขึ้นภูชี้ฟ้า 700 เมตร เดินทางเท้า
* มีแม่คะนิ้ง ตลอดทางเดิน
* มีดอกไม้ป่าขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ดอกโคร่งเครา ดอกหญ้า ต้นแอบเปิ้ลป่า ผักกูดป่า(กินไม่ได้) ต้นไม้ที่ใช้ทำไม้กวาด(ต้นกก หรือต้นก๋ง) สตอร์ป่าออกตอนหน้าแล้ง องุ่นป่า


เส้นทางที่สามารถขึ้นไปยังจุดชมวิวมี 3 ทาง คือ
1. ทางบ้านร่มฟ้าไทย หมู่ที่ 24 ตำบลตับเต่า อำเภอเทิง ทางเดินรถถนนลาดยางผ่านวนอุทยานภูชี้ฟ้า ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงลานจอดรถเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 700 กว่าเมตร
2. ทางบ้านร่มฟ้าไทย ทางเดินเท้าจากหมู่บ้านขึ้นไประยะทาง 1,800 เมตร สำหรับหนุ่ม – สาว และนักเดินทางทางธรรมชาติ
3. ทางบ้านร่มฟ้าทอง ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น ถนนคอนกรีต ถึงหน่วยจัดการต้นน้ำ หงาว – งาว 2042 แล้วเดินต่อด้วยเท้าประมาณ 800 เมตร


การเดินทางไปภูชี้ฟ้า
จากจังหวัดเชียงราย สามารถเดินทางไปยังภูชี้ฟ้า ซึ่งอยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 113 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที ตามเส้นทางหมายเลข1021 (เชียงราย – อำเภอเทิง) ถึงอำเภอเทิง ระยะทาง 64 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางจากอำเภอเทิงสามารถเดินทางขึ้นไปยังภูชี้ฟ้าได้ 3 เส้นทาง คือ
1. เส้นทางอำเภอเทิง – บ้านปางค่า โดยใช้เส้นทางหมายเลข 1021 และ 1155 ผ่านบ้านราษฎร์ภักดี ถนนสาย 1093 แยกไปทางขวาระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงบ้านร่มฟ้าไทย ถ้าแยกไปทางซ้ายระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงบ้านร่มฟ้าทอง ระยะทางประมาณ 49 กิโลเมตร
2. เส้นทางอำเภอเทิง – บ้านปางค่า โดยใช้เส้นทางหมายเลข 1021 และ 1155 ระยะทางประมาณ 22 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง จากบ้านปางค่าเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมาเลข 1093 บ้านปางค่า – บ้านร่มโพธิ์ไทย (เล่าอู่) – บ้านร่มฟ้าไทย ระยะทางประมาณ 21 กิโลเมตร สภาพเป็นดินลูกรัง ขึ้นเขาและมีสภาพชันเป็นบางช่วง เหมาะสำหรับขับเคลื่อน 4 ล้อ
3. เส้นทางอำเภอเทิง – บ้านสบบง (อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา) บ้านฮวก โดยเส้นทางหมายเลข 1021 และทาง รพช. หมายเลข 11022 ระยะทางประมาณ 49 กิโลเมตร และจากบ้านฮวก ถึงบ้านร่มฟ้าไทย (ภูชี้ฟ้า) ใช้เส้นทางหมายเลข 1093 ระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางขึ้นเขาและเลียบริมเขาตลอดจนถึงบ้านร่มฟ้าไทย (ภูชี้ฟ้า) รวมระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตร




ขอบคุณบทความ และรูปภาพจาก ...

//hilight.kapook.com/
//www.tourismchiangrai.com/
//www.phucheefahhill.com/activity.html



Create Date : 26 เมษายน 2555
Last Update : 2 กรกฎาคม 2555 9:17:32 น.
Counter : 3481 Pageviews.

3 comments
  
โดย: xyzjung วันที่: 26 เมษายน 2555 เวลา:13:48:31 น.
  
เอาทะเลหมอกมายั่วหน้าร้อนทำให้ เย็นอีกหน่อย อิอิ

โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 26 เมษายน 2555 เวลา:21:30:22 น.
  
โดย: Kavanich96 วันที่: 27 เมษายน 2555 เวลา:7:34:32 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เธอ มิใช่สายน้ำ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ลิงลา