วิธีการจับสว่านมือ ที่ถูกต้อง
กระทู้เก่า มาเล่าใหม่ใส่Blog //topicstock.pantip.com/home/topicstock/2012/07/R12329103/R12329103.html
ใครเคยสงสัยไหมว่าส่วนเว้าท้ายสว่าน มีไว้ทำไม
บางคนอาจนึกไม่ถึง บางคนอาจไม่นึก บางคนอาจไม่สนใจ บางคนอาจคิดว่าเป็นแค่การดีไซน์ให้สวยๆ
หากไม่มีประโยชน์ หรือมีประโยชน์แค่รูปแบบการดีไซน์ BOSCHคงไม่คิดมาแบบนี้
คลิ้กที่รูป เพื่อดูภาพเต็มได้

ส่วนเว้าท้ายสว่าน มีไว้ให้การจับสว่าน ได้แนวตรงกับดอกสว่าน แนวมือที่กด กับแนวสว่านจะได้ตรงกัน การส่งแรงก็ไปตรงๆ
อาจไม่คุ้นกับมือคนไทยที่ค่อนข้างเล็กบ้าง แต่ก็เป็นวิธีที่ถูกต้อง
สมัยก่อนดีไซน์ด้ามของBOSCHจะใหญ่กว่านี้ แต่ภายหลังBOSCHก็ได้พยายามเปลี่ยนแปลงดีไซน์ให้ด้ามมีขนาดเล็กลง เพื่อให้เหมาะสมกับมือคนเอเชียที่สุดแล้ว แต่ก็อาจจะยังใหญ่กว่ามือคนไทยทั่วไป
บางคนใหม่ๆไม่ถนัด อาจบอกว่าเมื่อย เราจับแบบนี้จนเป็นนิสัยแล้ว ไม่เมื่อยเลย
จับตามรูป นิ้วก้อยกดสวิทช์(บางคนจะใช้นิ้วนางร่วมด้วยก็แล้วแต่สรีระของท่าน)

เพราะฉะนั้น การจับสว่านที่ด้ามก็ไม่ใช่เรื่องผิดสำหรับมือคนไทย เพียงแต่ต้องจับให้แน่น กำให้เที่ยง กดให้แรงและตรงเท่านั้น
หากใส่ด้าม แล้วจะใช้อีกมือช่วยกดช่วยจับให้ดีก็ได้
สังเกตแนวแรง จะไม่ตรงกับแนวดอกสว่าน อาจทำให้เป๋ เจาะรูไม่ตรง เผลอเมื่อไหร่ดอกสว่านหักได้ทันที

แถมให้เรื่องจำปาขันล๊อคหัวสว่าน(บางคนเรียกจำปี แต่ในที่นี้ขอเรียกจำปา เพื่อไม่ให้ติดเรท)
ปกติวิสัยช่างมักจะทำงานไม่เป็นที่เป็นทาง จึงมักจะเผลอวางจำปาไว้ที่โน่นที่นี่ พอจะใช้งานทีก็หากันให้ควั่ก สุดท้ายหาไม่เจอ ก็สรรหาสารพัดของมาตอกจำปา
เราจึงนำสายไฟเส้นไม่ใหญ่ไม่เล็กนัก คือใช้สายไฟขนาดประมาณ ๑ ตร.มม. ความยาวพอขันจำปาได้ มาผูกเงื่อนตะกรุดเบ็ดไว้ แล้วรัดด้วยเคเบิ้ลไทด์อีกที ทีนี้จำปาก็ไม่หายไปไหนได้แล้ว

บุญกุศลที่ได้จากการแนะนำกระทู้ ขออุทิศให้แก่คุณพ่อคุณแม่ครูบาอาจารย์ และอดีตเพื่อนร่วมงานทุกคน
รูป เงื่อนตะกรุดเบ็ด

Create Date : 06 พฤศจิกายน 2555 |
|
0 comments |
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2555 8:54:09 น. |
Counter : 9468 Pageviews. |
 |
|