พื้นที่ของผู้ชายคนสุดท้าย...Where Knowledge, Nonsense, and Simplicity Converge
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
12 พฤศจิกายน 2550
 
All Blogs
 
เขียนเรื่อยเปื่อยแต่เครียด: อะไรคือหน้าที่ของอาจารย์สอน writing (กันแน่ว่ะ)



RELATED ESSAY, also by me:
A Freewrite: What Composition Studies Is and Why It Matters


ก่อนอื่นผมต้องขอบคุณพี่ Krisdauw (texanprofessor) ที่ส่งบทความหนึ่งมาให้ผม เพราะว่าถ้าไม่มีบทความนั้น ก็คงไม่มีงานเขียนชิ้นนี้ของผมครับ

งานเขียนชิ้นนั้นคือ "Composition at the Turn of the Twenty-First Century" ของ Richard Fulkerson งานเขียนที่ทำให้ผมนั่งไม่ลง ถึงขนาดว่าอ่านจบแล้วต้องเขียน(บลอก)ให้ได้วันนี้ ทั้งๆ ที่มันเป็นเวลาตี 2 แล้วก็ตาม สิ่งที่ผมได้มาจากการอ่านงานของ Fulkerson ไม่ใช่คำตอบว่า Comp. Studies ในยุคนี้ไปถึงไหนกันแล้ว แต่กลับเป็นคำถามมากมายที่ผมถามตัวเองทุกหน้าขณะอ่าน แต่วันนี้ผมขอยกมาแค่ 1 ประเด็นครับ นั่นคือ อะไรกันแน่ที่เป็นหน้าที่ของครูที่มีหน้าสอนสอนการเขียน หรือว่าถ้าจะให้ชัดกว่านั้น อะไรกันแน่ที่่้เป็นหน้าที่ของผม คนที่อยากเป็นอาจารย์สอนการเขียนเชิงวิชาการ ในฐานะครูสอนการเขียน? หน้าที่ของผมคือ ผลิตนักเขียนที่ดี หรือว่าสร้างนักคิดนักต่อสู้เพื่อสังคม?

หน้าที่ของผมคือ ผลิตนักเขียนที่ดีนั้นหรือ?

ผมว่าตลกดีเหมือนกันนะที่ผมตั้งคำถามนี้ ว่าไหมครับ วิชาที่เรียนที่สอนก็บอกชัดอยู่แล้วว่ามันคือ “Writing” ดังนั้นคำถามนี้ก็ไม่ยากเลยที่จะตอบ ก็ถูกครับ แต่ผมเองถามตัวเองมาตลอดตั้งแต่อยู่ปี 4 ว่า "เห้ย เราเรียนวิชาทางมนุษยศาสตร์มาทำไม มันมีประโยชน์อะไรมันไม่เห็นเหมือนคนที่เรียนจิตวิทยา ซึ่งเรียนไปเพื่อเ็ป็นนักจิตวิทยา หรือว่าคนที่เรียนวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเรียนไปเพื่อเป็นวิศวกร ออกแบบ สร้างตึก”

ดูเหมือนเป็นคำถามที่งี่เง่ามาก ยิ่งสำหรับคนเรียนทางด้านมนุษยศาสตร์แล้ว มันเหมิอนกับว่าสาขานี้ไม่มีประโยชน์เลย เหมือนกับว่าไปดูถูกสาขาที่ตัวเองเรียนมาสะอีก ดังนั้นผมขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้คิดแบบนั้น ผมสนุกและชอบมากกับการเรียนสาขานี้ และเห็นว่ามันมีประโยชน์มาก -- เพียงแต่ผมคิดว่ามันน่าจะมีประโยชน์มากกว่านี้ถ้าสาขานี้ได้ออกไปรับใช้สังคมและประชาชนในวงกว้างมากกว่านี้

และนี่เองเป็นจุดที่เปิดประเด็นว่า ถ้าผมสอนนักเรียนให้เขียน ผมควรจะสอนให้พวกเค้าเขียนได้เท่านั้นเองหรือ? จริงๆ ถ้ามองลึกๆ แล้ว ผมก็ไม่ได้สอนแค่การเขียนเท่านั้น แม้ว่าจุดประสงค์ของผมคือสอนให้พวกเค้าเขียนได้(ดี) เพราะว่าถ้าเค้าเขียนได้ดีแล้ว เค้าก็สามารถที่จะนำทักษะที่ “versatile” นี้ไปทำประโยชน์มากให้กับสังคม เช่นเขียนชักชวน (pursuasive writing) เพื่อให้ประชาชนช่วยกันทำอะไรสักอย่าง (ที่ดีและมีประโยชน์) หรือเขียนคอลัมน์ตามหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อให้ความรู้กับประชาขน ฯลฯ

แต่ว่าการเขียนชักชวน หรือการเขียนคอลัมน์นั้นก็ถือว่าเป็นการแสดงแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ใช่หรือครับ ดังนั้นในฐานะครู(ในอนาคต) ผมควรที่จะไม่สอนให้นักเรียนมีแนวคิดหรือ ผมไม่ได้บอกว่าผมจะต้องยัดเยียดแนวความคิดของผมให้นักเรียน เพราะว่านั่นคงไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่ผมหมายถึงอย่างน้อยผมก็น่ามีหน้าที่ที่จะยื่นเสนอแนวความคิดหลากหลายให้กับพวกเค้า และช่วยให้พวกเค้าหาจุดยืนของตัวเอง และเพราะจุดนี้แหละครับ ก็ทำให้ผมคิดว่า ถ้าผมสอนแบบนี้แล้ว มันจะหมายความว่าผมกำลังสอนให้นักเรียนเป็นนักคิดนักต่อสู้ทางความคืดหรือเปล่า?

หน้าที่ของผมคือ ผลิตนักคิดหรือนักต่อสู้ทางความคิดนั้นหรือ

ถ้าผมจะสอนแบบนี้จริงๆ นักเรียนหลายคนจะคิดว่าตัวเองมาลงผิดวิชาหรือเปล่า เพราะว่ามีอีกๆ หลายคอร์สที่สอนเรื่องนี้ โดยเฉพาะคอร์สในภาควิชาสังคมศาสตร์ เ้ค้าไปลงเรียนสังคมศาตร์ไม่ดีกว่าเหรอ ทำไมต้องมาลงเรียนวิชาการเขียนนี้? ก็จริงนะครับ แต่ผมก็เชื่อว่าถ้าไม่สอนแนวนี้ นักเรียนก็จะเป็นแค่คนที่เขียนได้(ดี)เท่านั้น แต่ขาดแนวคิดที่ดีๆ นักเขียนจะเขียนดีเท่าไหร่ก็ตามแต่ถ้าสิงที่เขียนมัน "กลวง" หรือ "โบ๋" แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรหละครับ

อีกอย่างถ้าไม่สอนแนวนี้ นักเรียนก็อาจจะตกไปอยู่เบื้องล่างของความคิดของอื่นได้ นั่นหมายถึง งานเขียนที่ออกมาก็จะเป็นแนวคิดเดิมๆ ซ้ำๆ เหมือนกับที่ผมเขียนไว้ในบทความก่อนหน้าที่เรื่อง Heteroglossia (Heteroglossia: Working the Theory that is Working Me) นั่นคือถ้านักเขียนขาดความเข้าใจว่าสิ่งที่พวกเค้าเขียน พูดหรือคิดนั่น มักจะเป็น “ของคนอื่น” มากกว่าของตัวเอง เค้าก็จะเขียนอะไรแปลกใหม่ไม่ได้เลย ถ้าเป็นแบบนี้แล้วจะมีประโยชน์อะไร

บทสรุป(เฉพาะตอนนี้)

หรือว่าผมจะรวมแนวความคิด 2 อันนี้เค้าด้วยกันสะเลย ผมก็ไม่รู้ว่าเหมือนว่ามันจะเป็นไปไม่ได้ได้อย่างไร แต่มันคงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะไม่ฉะนั้นแล้ว Comp. Studies คงไม่ีมีการแบ่งหรือแตกแขนงออกมาเป็นกลุ่ม Cultural/Critical Composition (แนวคิดที่สร้างนักคิดและนักต่อสู้) หรือ Rhetorical Composition (แนวคิดที่มุ่งเน้นไปเรื่องการเขียนโดยตรง) และอื่นๆ ตามที่ Fulkerson เสนอในบทความ ผมคงต้องศึกษาต่อไปเรื่อยๆ แต่ตอนนี้ผมก็รู้สึกสนุกกับ comp studies แล้วสิครับ เพราะว่ามันเป็นศาสตร์ที่ไม่มีอะไรตายตัว แต่มีการเติบโตตลอดเวลา ทั้งๆ ที่หลายคนมักจะคิดว่า Comp. Studies จะมีอะไรนอกจากสอนให้เขียนได้เท่านั้น

หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้ต้องการบอกว่าแนวคิดไหนดีกว่ากันนะครับ สาเหตุที่ผมถามคำถามพวกนี้อาจจะเป็นเพราะว่าผมเองยังศึกษาไม่มากพอก็ได้

รูปภาพ: //school.discoveryeducation.com/clipart/images/writing-color.gif


Create Date : 12 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2550 3:51:10 น. 5 comments
Counter : 993 Pageviews.

 
วิชาการเขียน
เป็นการศึกษาแพทเทิร์นการเขียนตามชนิดงาน
รวมถึงวิเคราะห์ "งานตัวแทน" ของการเขียนแต่ละประเภท---- เป็นการเรียนรูปแบบการนำเสนอ

ส่วนเนื้อหา
เป็นการสั่งสมข้อมูล การเรียนรู้ ประสบการณ์ และจินตนาการของผู้เขียน---- เป็นการตกผลึกทางปัญญาส่วนบุคคล

มีไม่น้อยที่นักเขียนใหม่ๆ ซึมซับอิทธิพลนักเขียนรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จ จนเป็นที่มาของประโยค "เหล้าเก่าในขวดใหม่"

แต่ถ้าไม่หยุดการค้นหา เมื่อผ่านไปซักระยะ ก็จะหา "ทาง" ของตัวเองเจอ แล้วก็ฉีกตัวแยกออกไปทางของตัวเองได้ในที่สุด

ตามความเข้าใจของเรา งานเขียนเป็นการสะท้อนผลึกความคิดและปัญญาส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่สำเนากันไม่ได้ สิ่งที่สำเนาได้คือรูปแบบและวิธีการ ซึ่งปรากฏอยู่ในวิชา writing


โดย: ริมยมนา วันที่: 12 พฤศจิกายน 2550 เวลา:4:29:48 น.  

 
ขอบคุณที่แวะมานะครับคุณ ริมยมนา นึกว่าจะไม่มีคนอ่านสะแล้ว ฮ่าๆ

คุณริมยมนา : "วิชาการเขียน
เป็นการศึกษาแพทเทิร์นการเขียนตามชนิดงาน
รวมถึงวิเคราะห์ "งานตัวแทน" ของการเขียนแต่ละประเภท---- เป็นการเรียนรูปแบบการนำเสนอ"

เจ้าของบลอก (จขบ) : ใช่ครับ นั่นคือมุมมองของ compositionist แบบ rhetoric ที่สอนเรื่อง "form"(รูปแบบ) ด้วยในการสอนการเขียน เพราะว่ารูปแบบแต่ละชนิดนั้น จะมีผลต่อคนอ่านต่างๆ กัน ดังนั้นในฐานะนักเขียน คนๆ นั้นต้องเข้าใจว่าอะไรคือจุดมุ่งหมาย (ends) และมีรูปแบบไหน (means) ที่จะพอไปถึงจุดหมายนั่นได้ แต่สำหรับ compositionist แบบอื่นๆ แล้ว รูปแบบมีความสำคัญน้อยกว่า เนื้อหา (content) ที่นำเสนอครับ นัก compositionist บางกลุ่มยังเป็นว่า "form" กับ "content" แยกกันไม่ได้เลย

---------------------------------------------------------------------------

คุณริมยมนา : "ส่วนเนื้อหา
เป็นการสั่งสมข้อมูล การเรียนรู้ ประสบการณ์ และจินตนาการของผู้เขียน---- เป็นการตกผลึกทางปัญญาส่วนบุคคล"

จขบ : เห็นด้วยครับ แต่หน้าที่ของอาจารย์การเขียนต้องเป็นผู้นำเสนอประสบการณ์ ข้อมูลเหล่านั้นให้นักเรียนด้วยไม่ใช่เหรอครับ? ถ้าอาจารย์สอนการเขียนเน้นแต่เรื่อง "เขียนให้ดีๆ นะ" แล้วเราจะให้อะไรแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนไป "ตกผลึก" ได้หละครับ

---------------------------------------------------------------------------

คุณริมยมนา : มีไม่น้อยที่นักเขียนใหม่ๆ ซึมซับอิทธิพลนักเขียนรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จ จนเป็นที่มาของประโยค "เหล้าเก่าในขวดใหม่" แต่ถ้าไม่หยุดการค้นหา เมื่อผ่านไปซักระยะ ก็จะหา "ทาง" ของตัวเองเจอ แล้วก็ฉีกตัวแยกออกไปทางของตัวเองได้ในที่สุด

จขบ : ถ้ามองในมุมมองของ Bakhtin แล้ว จะเห็นว่า Bakhtin เสนอความคิดว่า สังคมที่เราอยู่เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อสิ่งที่เราพูด คิด เขียนทั้งสิ้น ดังนั้น Bakhtin ไม่ได้บอกว่าให้เราพยายามดึงตัวเองออกมาจากอิทธิพลนั้น (เพราะว่ามันเป็นไปไม่ได้) แต่เราควรรับรู้ตลอดว่าความคิดเราถูกเคลือบไปด้วยความคิดคนอื่นนะ เราจะทำยังไงให้ความคิดเรา "แตกต่างจากพวกเค้าทั้งๆ ที่ยังเหมือนกับพวกเค้า"


โดย: เมื่อลมแรง...ใบไม้ก็ร่วง วันที่: 12 พฤศจิกายน 2550 เวลา:4:44:37 น.  

 
สวัสดีค่ะ
ขอบคุณนะคะที่แวะไปทักทาย
ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ


โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา:4:24:15 น.  

 
Knock Knock!!!

Hello...thx for droppin by, nice to meet u


โดย: The Zephyr วันที่: 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา:6:29:12 น.  

 
"Good writing is clear thinking made visible."
- Ambrose Bierce


ตอนเรียนวิชาการเขียนที่มหาลัยก็คิดว่าตัวเองรู้มากแล้ว แต่พอมาทำงานที่นี่ถึงรู้ตัวว่าไม่ได้รู้อะไรเลย ต้องมาเริ่มเรียนรู้การเป็น"นักเขียน"ใหม่หมด นักเขียนทุกคนที่บริษัทถูกส่งไปอบรมการเขียนที่ Writers Workshop ที่ Delaware พออบรมเสร็จรู้สึกเหมือนได้เกิดใหม่ จริงๆนะคะไม่ได้พูดเล่น

ส่วนตัวคิดว่าความคิด เนื้อหาและสไตล์การเขียนต้องไปด้วยกันเสมอ อย่างที่เขาว่าไว้ว่า Without facts, you're writing garbage. Without grace, nobody cares about your facts.





โดย: Rive Gauche วันที่: 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา:7:56:13 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เมื่อลมแรง...ใบไม้ก็ร่วง
Location :
Citizen of the World---who lives in the United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add เมื่อลมแรง...ใบไม้ก็ร่วง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.