นอนดึก ตื่นสาย เดินซุเปอร์
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




หัว เปลี่ยน Bullet เปลี่ยนอมยิ้ม เปลี่ยนสี font ของ link
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
17 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add นอนดึก ตื่นสาย เดินซุเปอร์'s blog to your web]
Links
 

 
Time-out คือ ??

Time-Out
1. ไม่ใช่การลงโทษ ไม่ใช่การชดเชยความผิด
2. Time-out คือการให้เด็กไปสงบสติอารมณ์ ฝึกควบคุมตัวเอง ใจเย็นลง หยุดพฤติกรรมก้าวร้าว
3. อย่าเอาชนะ อย่าทะเลาะ เพราะมันไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น
4. อย่าใช้ความรุนแรง เพราะจะยิ่งทำให้เด็กต่อต้าน จะทำให้เด็กเลียนแบบความรุนแรง

สถานที่ทำ time-out
1. เก้าอี้มุมห้อง, ทางเดินที่ไม่มีคน, บันได, ห้องที่เปิดประตูไว้ สถานที่ไม่มีสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งสนใจชั่วคราว เช่น TV ของเล่น
2. สถานที่ สงบบบบบบ ทั้งทาง - และทาง +
2. ห้ามขังเด็ก xxxxxxxx

ขั้นตอน
1. ทำตัวปกติ น้ำเสียงปกติ อย่าเสียงดัง อย่าขู่
2. ทำทันทีที่เห็นเด็กมีพฤติกรรมที่ต้องการแก้ไข หรือ นับเตือน ครั้งที่ 1---2---3 จับ time-out เลย
3. แยกเด็กจากสิ่งกระตุ้นหรือสิ่งสนใจชั่วคราว เช่น TV ของเล่น
4. ในขณะ time-out ไม่บ่น ไม่พูด ไม่สอน แต่ต้องอยู่ใกล้ๆ ในสายตา แต่อย่าตอบสนอง
5. ครบเวลา พูดกับเด็กสั้นๆ ว่าเพราะอะไรถึงโดน time-out
เช่น“พ่อให้หนูนั่งสงบตรงนี้เพราะหนูขว้างของ คราวหลังถ้าหนูโกรธก็บอกได้นะไม่ต้องขว้างของ ตอนนี้หนูใจเย็นแล้วไปเล่นต่อได้”
6. บางกรณีเด็กอาจแสดงท่าทีว่าไม่เดือดร้อนเมื่ออยู่ใน time-out เช่น แสดงสีหน้ายั่วยวน หรือพูดท้าทาย
ไม่ได้แปลว่าเด็กไม่เดือดร้อนจริงและการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอของพ่อแม่ย่อมได้ผล

ถ้าไม่ยอมนั่ง
- จับตัวเด็กให้นั่งบนเก้าอี้ที่กำหนด แล้วจับทางข้างหลังเก้าอี้แล้วรวบแขน 2 ข้างของเด็กกอดไว้
- บอกเด็กว่าจะเริ่มจับเวลาเมื่อเด็กสงบ ถ้าเริ่มสงบจึงปล่อยแขนแล้วจับเวลา ไม่ต้องเพิ่มเวลา
(เด็กอาจต่อต้านในระยะแรก แต่ถ้าปฏิบัติอย่างเอาจริงและสม่ำเสมอ เด็กก็จะยอมตามในที่สุด)
- ชมเด็กเมื่อเขายอมนั่งและสงบลงได้

เวลาในการ time-out
1. คือ 2-5 นาที เช่น 1 ขวบ = 1 นาที // 3 ขวบ = 3-5 นาที ไม่เกินนี้ // 7 ขวบ = 7-10 นาที ไม่เกินนี้
2. นานกว่านี้ เด็กจะต่อต้าน อย่าลืม "ไม่ใช่การทำโทษ"

อายุที่เหมาะ
1. สามารถใช้กับเด็กได้ตั้งแต่ประมาณ 9-10 เดือนเป็นต้นไป สามารถใช้ได้ผลไปจนถึงเด็กวัยเรียน
2. บางคนบอก 2 ขวบ เพราะบอกว่า เด็กอาจจะเด็กไปแล้วไม่รู้ว่าทำไม ยังไง

กฎเหล็ก
1. ต้องสม่ำเสมอ
2. อย่าขู่ เช่น ถ้าไม่ทำ จะโดน time-out
3. อย่าเตือนบ่อยเกินไป
4. จะดีกว่าถ้าให้อยู่ใน time-out ตั้งแต่เด็กเริ่มโกรธแล้วมีท่าทางจะควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กสงบได้ง่ายกว่ารอจนเด็กอาละวาดเต็มที่
5. อย่าใช้ตอนเด็กดื้อเพราะเกิดจากความกลัว เช่น ร้องไห้ ไม่ไปโรงเรียน เด็กไม่ยอมกิน
6.ครบกำหนดเวลา พูดกับเด็กว่าต้องอยู่ time-out เพราะอะไร สั้นๆ อย่าพูดยาว อย่าติเตียน
9. เอากิจกรรมที่ชอบมาต่อรองก็ได้
เช่น เด็ก 3 ขวบ โกรธ ปาของ พ่อแม่อาจจับเด็กไปนั่งที่เก้าอี้มุมห้อง แล้วบอกว่า "ตอนนี้หนูกำลังโกรธ หนูต้องไปนั่งใจเย็นก่อน"
จนสงบแล้ว ค่อยปล่อยให้กลับไปทำกิจกรรมอื่นต่อ
10. อย่าทำ time out สำหรับ กิจกรรมที่เด็กไม่ต้องการทำอยู่แล้ว


ข้อดี
1. สามารถหลีกเลี่ยงวิธีการลงโทษอย่างรุนแรง

มี time-out ก็ต้องมี time-in
1. ต้องตอบสนองตอนมีพฤติกรรมดีๆ ด้วย อย่าเพ่งเล็งหรือตอบสนองแต่พฤติกรรมไม่ดี
2. พอเด็กอยู่ในช่วงปกติ พ่อแม่ไม่สนใจ พอเด็กปรี๊ดแตก พ่อแม่มีการตอบสนอง เด็กก็ปรี๊ดแตก เพื่อเรียกร้องความสนใจ
3. ต้องแตะตัว โอบไหล่ พยักหน้า ยิ้ม เป็นระยะๆ
4. ต่อให้โตยังไงก็ยังต้องการการชม การยอมรับเป็นระยะๆ ว่าการปฏิบัติของเขานั้นเป็นที่พอใจของพ่อแม่ และเมื่อเขาก็มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
พ่อแม่ก็ควรช่วยให้เขาพยายามควบคุมตนเอง การทำเช่นนี้จะช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในความรักของพ่อแม่และในคุณค่าของตนเอง
ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญของการเติบโตอย่างมีสุขภาพจิตที่ดีต่อไป

//porpiang.diaryclub.com/20080510/%E0%C3%D4%E8%C1%E3%AA%E9-Time-out-%E4%B4%E9%B5%D1%E9%A7%E1%B5%E8%CD%D2%C2%D8%E0%B7%E8%D2%E3%B4

ตัวอย่างของฝรั่งที่ทำ time-out ตั้งแต่นาทีที่ 4 เป็นต้นไป
ขั้นที่ 1 : บอกเด็กว่าให้"หยุดพฤติกรรมนั้นๆ"
ขั้นที่ 2 : เริ่มเตือนด้วยเสียง ที่"หนักแน่น" ประมาณว่า เอาจริงแล้วนะ
ขั้นที่ 3 : จับไปนั่ง time-out 1 ขวบ 1 นาที ,2 ขวบ 2 นาที
ขั้นที่ 4 : บอกเหตุผล ว่าเพราะอะไรถึงโดน time-out
ขั้นที่ 5 : ถ้ายังไม่ยอมนั่ง ให้จับมานั่งแล้ว"ไม่ต้องพูดอธิบายอะไรทั้งสิ้น"แล้วเริ่มนับเวลาใหม่(นั่งนิ่งแล้วค่อยนับ)
ถ้าเด็กยังวิ่งไปมา ไม่ยอม ก็จับไปนั่งอีก จับไปเรื่อยๆ
ในคลิปนี้ เด็กหนีการนั่งทั้งหมด 43 ครั้ง

ขั้นที่ 6 : อธิบาย ว่าทำไมเด็กถึงโดน time-out
ขั้นที่ 7 : ให้เด็กขอโทษ
ขั้นที่ 8 : กอดและหอม



Free TextEditor


Create Date : 17 ตุลาคม 2554
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2554 20:54:53 น. 0 comments
Counter : 2522 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.