8. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.

             การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก :-
             7. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=thanathana&month=12-03-2013&group=2&gblog=7

ความคิดเห็นที่ 14-65
ฐานาฐานะ, 8 กุมภาพันธ์ เวลา 14:50 น.

GravityOfLove, วันพุธ เวลา 18:39 น.
             คำถาม อรรถกถาจูฬสีหนาทสูตร
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=153&bgc=lavender
...
6:39 PM 2/6/2013
              สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นมติของอรรถกถาในอันที่จะแจกแจงอธิบายข้อ 154.
              จูฬสีหนาทสูตร
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=2151&Z=2295#154
              กล่าวคือ ในข้อ 154 พระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องความเนิ่นช้า อันได้แก่
ปปัญจ เครื่องเนิ่นช้า 3 อย่าง แต่ว่า ก่อนหน้านั้นไม่มีเนื้อความเรื่องมานะเลย
(หนึ่งในเครื่องเนิ่นช้า).
             อรรถกถาจึงอธิบายว่า ก็ในที่นี้ ท่านประสงค์เฉพาะตัณหาและทิฏฐิเท่านั้น.
             ส่วนอรรถธิบายอื่นๆ ก็เป็นแจกแจงตามนัยว่า คำนี้สงเคราะห์เข้ากามคุณ
นี้เข้าภวตัณหาเป็นต้น.
             คำว่า ปปัญจ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปปัญจ

ความคิดเห็นที่ 14-66
GravityOfLove, 8 กุมภาพันธ์ เวลา 15:00 น.

อรรถกถาจึงอธิบายว่า ก็ในที่นี้ ท่านประสงค์เฉพาะตัณหาและทิฏฐิเท่านั้น

เข้าใจตามใจความนี้นะคะ นอกนั้นข้ามไปก่อน ขอบพระคุณค่ะ

ความคิดเห็นที่ 14-67
GravityOfLove, 8 กุมภาพันธ์ เวลา 15:09 น.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค          
๑. จูฬสีหนาทสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท (สมฺมา สีหนาทํ นทถ)
//www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=2151&Z=2295&pagebreak=0&bgc=Seashell

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
             สมณะ (หรือสมณะที่หนึ่ง) สมณะที่สอง สมณะที่สาม สมณะที่สี่ มีในพระศาสนานี้เท่านั้น
             (หมายถึงพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ตามลำดับ)
ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากพระสมณะผู้รู้ทั่วถึงนี้ จงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้
             (บันลือสีหนาทคือ ประกาศอย่างอาจหาญ ไม่มีความเกรงกลัว ไม่ติดขัด)
(เหตุตรัสพระสูตรนี้เพื่อทรงปฏิเสธคำกล่าวอ้างของพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ที่ต้องเสื่อมลาภไป)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_4

              ถ้าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ถามว่า เพราะอะไรจึงกล่าวอย่างมั่นใจอย่างนั้น
              พึงตอบว่า
              เพราะมีธรรม ๔ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้เห็น ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ (คือย่อมเป็นไปเพื่อสลัดออกจากทุกข์ในภพ) ตรัสไว้แล้ว
             ซึ่งเราทั้งหลายพิจารณาเห็น (ว่ามี) ในตน จึงกล่าวอย่างนี้
             ธรรม ๔ ประการคือ
             ๑. ความเลื่อมใสในพระศาสดา
             ๒. ความเลื่อมใสในพระธรรม
             ๓. ความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
             ๔. ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตผู้ประพฤติธรรมร่วมกัน (สหธรรมิก แต่ในที่นี้หมายถึงพระอริยสาวก)
เป็นที่รักเป็นที่พอใจของเราทั้งหลาย
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สหธรรมิก

             ถ้าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์บอกว่า ลัทธิของพวกตนก็มีธรรม ๔ ประการนี้เหมือนกัน
แล้วอะไรเ่ล่าเป็นข้อแตกต่าง มีความมุ่งหมายอย่างไร และมีการกระทำต่างกันอย่างไร
(จุดมุ่งหมาย หมายถึง จุดหมายของความเลื่อมใส ซึ่งแต่ละลัทธิต่างก็มีจุดหมายที่แตกต่างกันไป)

             พึงถามกลับว่า
             ๑. จุดมุ่งหมาย (ความสำเร็จ) มีอย่างเดียว หรือมีหลายอย่าง
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อจะตอบให้ถูกต้อง (โดยชอบ) ควรตอบว่า จุดมุ่งหมายมีอย่างเดียวเท่านั้น
ไม่มีหลายอย่าง

             ๒. จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้มีราคะ (ความกำหนัด) หรือของผู้ปราศจากราคะ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบว่า จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับ
ผู้ปราศจากราคะ มิใช่ของผู้มีราคะ

             ๓. จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้มีโทสะ (ความคิดประทุษร้าย) หรือ ...
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบว่า จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับ
ผู้ปราศจากโทสะ มิใช่ ...

             ๔. จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้มีโมหะ (ความหลง) หรือ ...
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบว่า จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับ
ผู้ปราศจากโมหะ มิใช่ ...

             ๕. จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้มีตัณหา (ความทะยานอยาก) หรือ ...
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบว่า จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับ
ผู้ปราศจากตัณหา มิใช่ ...

             ๖. จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้มีอุปาทาน (ความยึดมั่น) หรือ ...
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบว่า จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับ
ผู้ปราศจากอุปาทาน มิใช่ ...

             ๗. จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้รู้แจ้งหรือ ...
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบว่า จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับ
ผู้รู้แจ้ง มิใช่ ...

             ๘. จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้ยินดียินร้าย หรือ ...
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบว่า จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับ
ผู้ไม่ยินดีไม่ยินร้าย มิใช่ ...

             ๙. จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้พอใจในธรรมอันเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีใน
ธรรมอันเป็นเหตุให้เนิ่นช้า
             หรือผู้พอใจในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
(ในที่นี้หมายถึงตัณหาและทิฎฐิ)
             พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อจะตอบให้ถูกต้อง ควรตอบว่า จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมาย
สำหรับผู้พอใจในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
             มิใช่สำหรับผู้พอใจในธรรมอันเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมอันเป็นเหตุให้เนิ่นช้า

             คำว่า ธรรมอันเป็นเหตุให้เนิ่นช้า
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปปัญจธรรม_3

             ทิฏฐิ ๒ ประการ คือ
             (๑) ภวทิฏฐิ (หมายถึงสัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง)
             (๒) วิภวทิฏฐิ (หมายถึงอุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ)
             ผู้ที่ยึดติด (แอบอิง) เข้าถึง เกาะติด (หยั่งลงสู่) ภวทิฏฐิ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อวิภวทิฏฐิ
             ผู้ที่ยึดติด เข้าถึง เกาะติดวิภวทิฏฐิ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ยินร้ายต่อภวทิฏฐิ
             ผู้ที่ไม่รู้ชัด (ไม่รู้ทั่วถึง) ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัด (ถ่ายถอน)
ทิฏฐิ ๒ ประการนี้ตามความเป็นจริง
             ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้มีราคะ มีโทสะ มีโมหะ มีตัณหา มีอุปาทาน เป็นผู้ไม่รู้แจ้ง เป็นผู้ยินดียินร้าย
พอใจในธรรมอันเป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมอันเป็นเหตุให้เนิ่นช้า
             เรากล่าวว่า พวกเขาไม่พ้นจากชาติ (ความเกิด) ชรา (ความแก่) มรณะ (ความตาย)
โสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ)
และอุปายาส (ความคับแค้นใจ)
             ไม่พ้นจากทุกข์
             ผู้ที่รู้ชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดทิฏฐิ ๒ ประการนี้ตามความเป็นจริง
             ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ปราศจากตัณหา ไม่มีอุปาทาน
เป็นผู้รู้แจ้ง เป็นผู้ไม่ยินดีไม่ยินร้าย เป็นผู้พอใจในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมอันไม่เป็น
เหตุให้เนิ่นช้า
             เรากล่าวว่า พวกเขาพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
             พ้นจากทุกข์

             อุปาทาน ๔ ประการ คือ
             (๑) กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม)
             (๒) ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ)
             (๓) สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลและวัตร)
             (๔) อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา)
             มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่ไม่บัญญัติความรอบรู้
อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ (ครบ)
             กล่าวคือ อาจสามารถบัญญัติความรอบรู้ได้เพียงกามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน
เท่านั้น แต่ไม่อาจบัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทานเลย
             ทั้งนี้เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ฐานะในสิ่งที่ไม่ได้บัญญัติเหล่านั้นตามความเป็นจริง

             ในลัทธิอื่นใดที่แม้มีธรรม ๔ ประการ แต่ถ้าเป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยที่ศาสดากล่าวไว้ผิด
ประกาศไว้ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่อันผู้รู้เองโดยชอบ
ประกาศไว้
             เราไม่กล่าวว่า ดำเนินไปชอบในธรรมวินัยเห็นปานนี้

             พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น เป็นผู้มีวาทะว่า รอบรู้อุปาทานทุกอย่าง
จึงบัญญัติความรอบรู้อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ
             เรากล่าวว่าธรรม ๔ ประการดำเนินไปชอบในธรรมวินัยเห็นปานนี้
             เพราะเป็นความเลื่อมใสในธรรมวินัยอันศาสดากล่าวดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็นเหตุนำสัตว์
ออกจากทุกข์ เป็นไปเพื่อความสงบ อันท่านผู้รู้เองโดยชอบประกาศแล้ว

             ๑. อุปาทาน ๔ ประการนี้ มีตัณหาเป็นต้นเหตุ มีตัณหาเป็นเหตุเกิด มีตัณหาเป็นกำเนิด
มีตัณหาเป็นแดนเกิด
             ๒. ตัณหา มีเวทนาเป็นต้นเหตุ ...
             ๓. เวทนา มีผัสสะเป็นต้นเหตุ ...
             ๔. ผัสสะ มีสฬายตนะเป็นต้นเหตุ ...
             ๕. สฬายตนะ มีนามรูปเป็นต้นเหตุ ...
             ๖. นามรูป มีวิญญาณเป็นต้นเหตุ ...
             ๗. วิญญาณ มีสังขารเป็นต้นเหตุ ...
             ๘. สังขาร มีอวิชชาเป็นต้นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด
มีอวิชชาเป็นแดนเกิด
             เมื่อใดละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
             เมื่อนั้นจะไม่ยึดมั่นกามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน
เพราะกำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาจึงเกิดขึ้น
             เมื่อไม่ยึดมั่น ก็ไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ก็ปรินิพพานเฉพาะตน
             รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
             อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว (ได้เป็นพระอเสขะ ส่วนพระเสขะ ๗ จำพวก และกัลยาณปุถุชนชื่อว่า
กำลังประพฤติพรหมจรรย์)
            ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว (ทำกิจมีความกำหนดรู้ เป็นต้นในอริยสัจ ๔ ด้วยมรรค ๔)
            ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป (ปลงกิเลสภาระ(ภาระคือกิเลส) ขันธภาระ
(ภาระคือร่างกาย) และอภิสังขารภาระ (ภาระคืออภิสังขาร) ลงแล้ว)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อริยบุคคล_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=กิจในอริยสัจจ์_4

             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม 14-68]

ความคิดเห็นที่ 14-68
ฐานาฐานะ, 8 กุมภาพันธ์ เวลา 18:32 น.

GravityOfLove, 2 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๒. สีหนาทวรรค
             ๑. จูฬสีหนาทสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท (สมฺมา สีหนาทํ นทถ)
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=2151&Z=2295&bgc=Seashell
...
3:09 PM 2/8/2013

             ย่อความได้ดีครับ มีข้อติง 3 ข้อ คือ
             1. คำว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ
พึงพยากรณ์อย่างนี้ว่า
             ควรให้ได้เนื้อความว่า
             พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อจะตอบให้ถูกต้อง (โดยชอบ) ควรตอบว่า

             2. ในการย่อความด้วย ... จุด 3 จุดนี้ กรณีแรกและกรณีสุดท้ายที่ใช้
ควรจะเป็นข้อความเป็น คือ
             ๒. จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้มีราคะ (ความกำหนัด) หรือ ...
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกจะตอบว่า จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้ปราศจากราคะ มิใช่ ...

             ควรเริ่มต้นการย่อโดยเนื้อความเต็มก่อน ดังนี้ :-
             ๒. จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมายสำหรับผู้มีราคะ (ความกำหนัด) หรือของผู้ปราศจากราคะ
พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกเมื่อจะตอบให้ถูกต้อง (โดยชอบ) ควรตอบว่า จุดมุ่งหมายนั้นเป็นจุดมุ่งหมาย
สำหรับผู้ปราศจากราคะ มิใช่ของผู้มีราคะ

             3. ย่อความว่า
             มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่ไม่บัญญัติความรอบรู้
อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ (ครบ)
             เช่น บัญญัติความรอบรู้กามุปาทาน แต่ไม่บัญญัติความรอบรู้อุปาทานที่เหลือ
             ทั้งนี้เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ฐานะในสิ่งที่ไม่ได้บัญญัติเหล่านั้นตามความเป็นจริง
- - - - - - - - - -
             ควรแจกแจงเนื้อความให้ครบ เนื่องจากว่า
             เนื้อความทรงแสดงว่า อัตตวาทุปาทาน เป็นเพียงข้อเดียวที่
ที่นักบวชนอกพระศาสนาไม่บัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทาน ในทุกกรณี.

             มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งปฏิญาณลัทธิว่ารอบรู้อุปาทานทุกอย่าง แต่ไม่บัญญัติความรอบรู้
อุปาทานทุกอย่างโดยชอบ (ครบ)
             กล่าวคือ อาจสามารถบัญญัติความรอบรู้ได้เพียงกามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน
เท่านั้น แต่ไม่อาจบัญญัติความรอบรู้อัตตวาทุปาทานเลย
             ทั้งนี้เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่รู้ฐานะในสิ่งที่ไม่ได้บัญญัติเหล่านั้นตามความเป็นจริง
             ดูนัยจากภรัณฑุสูตรและวรรณนาสุตตันตภาชนีย์
             ภรัณฑุสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=7284&Z=7336

             พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๕  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
             วิภังคปกรณ์ ข้อ 98
//84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=35&item=98#98top
             อรรถกถาอธิบายความในวิภังคปกรณ์ ข้อ 98
             วรรณนาสุตตันตภาชนีย์
[บางส่วน]
             จริงอยู่ เมื่อถ้วยชาม หรือขัน หรือวัตถุอะไรๆ ตกจากมือแตกแล้ว
ชนทั้งหลายย่อมพูดว่า โอ! มันไม่เที่ยง ความไม่เที่ยง ชื่อว่า ปรากฏแล้ว
อย่างนี้  ก็เมื่อฝีต่อมเป็นต้นตั้งขึ้นในอัตภาพแล้ว หรือว่าถูกตอหรือหนามทิ่ม
เอาแล้วก็ย่อมพูดว่า โอ! เป็นทุกข์ ทุกข์ชื่อว่า ปรากฏแล้วอย่างนี้.
             อนัตตลักษณะไม่ปรากฏ มืดมน ไม่แจ่มแจ้ง แทงตลอดได้โดย
ยาก แสดงได้โดยยาก ทำให้เข้าใจได้โดยยาก. แต่อนิจจลักษณะและ
ทุกขลักษณะ พระตถาคตทั้งหลายจะทรงอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ตาม
ย่อมปรากฏ. อนัตตลักษณะ เว้นจากการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแล้วย่อม
ไม่ปรากฏ ย่อมปรากฏในพุทธุปบาทเท่านั้น.
             จริงอยู่ ดาบสและปริพาชกทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
แม้มีสรภังคศาสดาเป็นต้น ย่อมสามารถกล่าวว่า อนิจจัง ทุกขัง ได้ แต่ไม่
สามารถจะกล่าวว่า อนัตตา ได้ แม้ถ้าพวกดาบสเป็นต้นเหล่านั้นพึงสามารถ
กล่าวคำว่า อนัตตา ในบริษัทที่ประชุมกันแล้ว บริษัทที่ประชุมกันก็จะพึง
แทงตลอดมรรคและผล เพราะการประกาศให้รู้อนัตตลักษณะไม่ใช่วิสัยของ
ใครๆ อื่น เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเท่านั้น อนัตตลักษณะนี้จึง
ไม่ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น พระศาสดาเมื่อจะแสดงอนัตต-
ลักษณะจึงทรงแสดงโดยความไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง
โดยทั้งความไม่เที่ยงทั้งความเป็นทุกข์บ้าง แต่ในอายตนวิภังค์นี้ พึงทราบ
ว่า ทรงแสดงอายตนะนั้นทั้งโดยความไม่เที่ยง  ทั้งโดยความเป็นทุกข์  ดังนี้.
             ถามว่า ก็ลักษณะเหล่านี้ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการอะไร
ไม่แทงตลอดอะไร และอันอะไรปิดบังไว้.
             ตอบว่า  อนิจจลักษณะก่อน ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ
ไม่แทงตลอดความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป และเพราะสันตติปิดบังไว้. ทุกข-
ลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดความบีบคั้นเนือง ๆ
และเพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้. อนัตตลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะ
ไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดการแยกธาตุต่างๆ และเพราะอันฆนสัญญาปกปิดไว้.
             ก็พระโยคาวจรกำหนดความเกิดและความเสื่อมเพิกสันตติได้แล้ว
อนิจจลักษณะ ย่อมปรากฏโดยกิจตามความเป็นจริง มนสิการการบีบคั้น
เนืองๆ สับเปลี่ยนอิริยาบถได้แล้ว ทุกขลักษณะ ย่อมปรากฏโดยกิจตามความ
เป็นจริง เมื่อแยกธาตุต่างๆ แล้วทำการแยกความเป็นก้อน อนัตตลักษณะ
ย่อมปรากฏโดยกิจตามความเป็นจริง.
             อนึ่ง ในอธิการนี้ พึงทราบวิภาค (การจำแนก) นี้ คือ
                   อนิจฺจํ (ความไม่เที่ยง)
                   อนิจฺจลกฺขณํ (ลักษณะแห่งความไม่เที่ยง)
                   ทุกฺขํ (ความทุกข์)
                   ทุกฺขลกฺขณํ (ลักษณะแห่งทุกข์)
                   อนตฺตา (ไม่ใช่อัตตา)
                   อนตฺตลกฺขณํ (ลักษณะแห่งอนัตตา).
             บรรดาวิภาคทั้ง ๖ เหล่านั้น คำว่า อนิจจัง ได้แก่ ขันธ์ ๕.
เพราะเหตุไร? เพราะความที่ขันธ์ ๕ มีความแปรเปลี่ยนไปด้วยความเกิดและ
ความเสื่อม หรือว่า เพราะมีแล้วกลับไม่มี. ความที่ขันธ์ ๕ มีความแปร
เปลี่ยนไปด้วยความเกิดและความเสื่อม หรือว่า ความเปลี่ยนแปลงแห่งอาการ
(ลักษณะ) กล่าวคือ เป็นแล้วกลับไม่เป็น ชื่อว่า อนิจจลักษณะ.
             เบญจขันธ์นั้นนั่นเอง ชื่อว่า ทุกข์ เพราะพระบาลีว่า สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้น เป็นทุกข์ ดังนี้. เพราะเหตุไร? เพราะมีการบีบคั้นเนืองๆ
อาการ (คือลักษณะ) ที่บีบคั้นเนืองๆ ชื่อว่า ทุกขลักษณะ.
             ก็เบญจขันธ์นั้นนั่นเอง ชื่อว่า อนัตตา เพราะพระบาลีว่า สิ่งใด
เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้. เพราะเหตุไร? เพราะไม่เป็นไป
ในอำนาจ. อาการ (คือลักษณะ) ที่ไม่เป็นไปในอำนาจ ชื่อว่า อนัตตลักษณะ
เพราะฉะนั้น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา จึงเป็นอย่างหนึ่ง อนิจจลักษณะ
ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ จึงเป็นอย่างหนึ่ง.
             จริงอยู่ คำว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ นี้แม้ทั้งหมด ชื่อว่า
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แต่วิการ (การเปลี่ยนแปลง) แห่ง
อาการ (ลักษณะ) มีประการตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า อนิจจลักษณะ
ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ ฉะนี้แล.
             อนึ่ง ว่าโดยสังเขปในอายตนวิภังค์นี้ อายตนะ ๑๒ เป็นกามาพจร
อายตนะ ๒ (คือ มนายตนะ และธรรมายตนะ) เป็นไปในภูมิ ๓ วาระว่า
ด้วยการพิจารณา พึงทราบว่า ตรัสไว้ในอายตนะแม้ทั้งหมดแล.
             วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ

ความคิดเห็นที่ 14-69
ฐานาฐานะ, 8 กุมภาพันธ์ เวลา 19:05 น.

             คำถามในพระสูตรชื่อว่า จูฬสีหนาทสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=2151&Z=2295

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?

ความคิดเห็นที่ 14-70
GravityOfLove, 8 กุมภาพันธ์ เวลา 19:25 น.

             ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า จูฬสีหนาทสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=2151&Z=2295

             เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง?
             ๑. พระโสดาบันเป็น สมณะที่ 1 พระสกทาคามีเป็นสมณะที่  2  พระอนาคามีเป็นสมณะที่ 3  
พระอรหันต์เป็นสมณะที่  4          
             สมณะทั้ง 4 มีในพระศาสนานี้เท่านั้น ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากสมณะผู้รู้ทั่วถึงนี้

             ๒. ที่กล้ากล่าวได้อย่างมั่นใจเช่นนี้ เพราะในพระศาสนานี้มีธรรม 4 ประการคือ
ความเลื่อมใสในพระศาสดา พระธรรม ทำให้ศีลบริบูรณ์ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตผู้ประพฤติธรรม
ร่วมกันเป็นที่น่่ารักน่าพอใจ
             - พวกนอกศาสนากล่าวว่า ตนก็มีธรรม 4 ประการนี้เหมือนกัน แต่แท้จริงแล้วยังมีทิฏฐิ 2
ประการอยู่คือ ภวทิฏฐิและวิภวทิฏฐิ ซึ่งขัดกับคำตอบที่ตอบมา 9 ข้อ เมื่อเป็นเช่นนี้พวกเขาจึง
ยังไม่พ้นจากทุกข์
             - บางพวกก็บัญญัติอุปาทานไม่สมบูรณ์ เพราะไม่รู้จริง
             - บางพวกแม้มีธรรม 4 ประการเช่นนี้จริง แต่ถ้าศาสดากล่าวไ้ว้ไม่ถูกต้อง ฯลฯ ก็ไม่เรียกว่า
ดำเนินไปโดยชอบ
             ถ้าละอวิชชาได้แล้ว จะไม่มีอุปาทาน ก็จะไม่สะดุ้ง ก็จะปรินิพพานเฉพาะตน

             ๓. ทิฏฐิ 62 เรียกว่า ติตถะ (ท่าข้าม), เจ้าลัทธิ เรียกว่า ติตถกร (มี 6 คน), ผู้ถือลัทธิของเจ้าลัทธินั้นแล้วบวช
ชื่อว่า เดียรถีย์หรือปริพาชก
             ผู้ให้ปัจจัยแก่เดียรถีย์เหล่านั้น เรียกว่า ติตถิยสาวก (สาวกของเดียรถีย์)
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ติตถกร

             ๔. พระอริยสาวกแม้อยู่ในระหว่างภพ เมื่อไม่รู้ความที่ตนเป็นพระอริยเจ้า ก็ไม่ล่วงละเมิดศีล 5
เหล่านั้น

             ๕. ศาสดาในศาสนาที่ไม่เป็นเครื่องนําสัตว์ออกจากทุกข์  ตายแล้วไปเกิดเป็นสิงโต เสือ หมีบ้าง
ส่วนสาวกทั้งหลายของ ศาสดานั้น ไปเกิดเป็นหมูบ้างกระต่ายบ้าง
             จึงฆ่ากันกินโดยไม่เอ็นดู ว่าสัตว์เหล่านี้เคยเป็นอุปัฏฐากของเรา

ความคิดเห็นที่ 14-71
ฐานาฐานะ, 8 กุมภาพันธ์ เวลา 19:37 น.

GravityOfLove, 6 นาทีที่แล้ว
คำถามในพระสูตรชื่อว่า จูฬสีหนาทสูตร
//84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=2151&Z=2295
...
7:24 PM 2/8/2013
             ตอบคำถามได้ดีครับ.
             คำถามต่อไปว่า เนื้อความว่า
             ๑. พระโสดาบันเป็น สมณะที่ 1 พระสกทาคามีเป็นสมณะที่  2  พระอนาคามีเป็นสมณะที่ 3  
พระอรหันต์เป็นสมณะที่  4          
             สมณะทั้ง 4 มีในพระศาสนานี้เท่านั้น ลัทธิของศาสดาอื่นว่างเปล่าจากสมณะผู้รู้ทั่วถึงนี้
- - - - - -
             เนื้อความที่มีใจความนี้ คุณ GravityOfLove เคยได้ศึกษาในพระสูตรชื่อว่าอะไร?

             การสนทนาธรรมนี้ย้ายไปที่ :-
             9. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=thanathana&month=12-03-2013&group=2&gblog=9





Create Date : 12 มีนาคม 2556
Last Update : 12 มีนาคม 2556 19:56:20 น.
Counter : 685 Pageviews.

0 comments

ฐานาฐานะ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog