4. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร. ความคิดเห็นที่ 14-36 ฐานาฐานะ, 22 มกราคม เวลา 22:20 น. GravityOfLove, 36 นาทีที่แล้ว คำถามสัลเลขสูตร ๑. อธิบายว่า อธิมานะว่าเราเป็นพระสกทาคามี จะไม่เกิดแก่พระโสดาบัน. อธิมานะว่า เราเป็นพระอนาคามี จะไม่เกิดแก่พระสกทาคามี. อธิมานะว่า เราเป็นพระอรหันต์จะไม่เกิดแก่พระอนาคามี. แต่จะเกิดเฉพาะการกบุคคลเท่านั้น ผู้ข่มกิเลสไว้ได้ด้วยอำนาจสมถะหรือ ด้วยอำนาจวิปัสสนาผู้ปรารภวิปัสสนาแล้วขะมักเขม้นเป็นนิจ. //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=100&p=1&bgc=lavender#หน้าที่ของทิฏฐิ อธิมานะหรือความเข้าใจผิดไปเอง สำคัญไปเองว่า ได้บรรลุอริยมรรค อริยผล จะไม่เกิดแก่พระอริยบุคคล กล่าวคือ พระโสดาบันจะไม่เข้าใจผิดไปเองว่า เราเป็นพระสกทาคามี ... พระอรหันต์ พระสกทาคามีจะไม่เข้าใจผิดไปเองว่า เราเป็นพระอนาคามี ... พระอรหันต์ พระอนาคามีจะไม่เข้าใจผิดไปเองว่า เราเป็นพระอรหันต์ แต่จะเกิดเฉพาะบุคคลผู้ปรารภความเพียร มีการข่มกิเลสได้นานด้วยอำนาจ สมถะหรือวิปัสสนา เมื่อกิเลสไม่เกิดนาน จึงเข้าใจไปเองว่า ตนได้บรรลุแล้ว. อรหัตตสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=10072&Z=10084 //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=347 เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=8643&Z=8691#232top อธิมานวตฺถุวณฺณนา บางส่วน ถามว่า ก็ความสำคัญว่าได้บรรลุนี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ใคร? ไม่เกิดขึ้นแก่ใคร? แก้ว่า ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยสาวกก่อน. //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=231#อธิมานวตฺถุวณฺณนา ๒. ความจริง ธรรมดามิจฉาสติก็เหมือนกับมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น ไม่เป็นธรรมอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ คือไม่มีธรรมอะไรๆ. แต่คำว่า มิจฉาสติ นี้เป็นชื่อของขันธ์ที่เป็นอกุศลทั้ง ๔ ขันธ์ที่เป็นไปแล้วสำหรับผู้คิดถึงอดีต. แม้คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวว่า อนุสสตินั้นมีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี ซึ่งได้แก่อนุสสติของผู้ตามระลึกถึงการได้บุตร ตามระลึกถึงการได้ลาภ หรือตามระลึกถึงการได้ยศ ภิกษุทั้งหลาย. แม้คำนั้น พึงทราบว่า พระองค์ตรัสหมายเอาการเกิดขึ้นด้วยสติเทียมของผู้คิดถึงเรื่องนั้นๆ. //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=100&p=2&bgc=lavender#กรรมบถ_-_มิจฉัตตะ ขอบพระคุณค่ะ 9:41 PM 1/22/2013 สันนิษฐานว่า อรรถกถาพยายามอธิบายว่า มิจฉาสติ ก็คือสติเทียม โดยมีหลักว่า สติ เป็นกุศลธรรมหรืออัพยากตธรรมเท่านั้น ไม่มีที่เป็นอกุศลธรรมเลย จึงใช้คำอธิบายว่า สติเทียม. สติ คือการระลึกได้ถึงสิ่งที่ทำ คำที่พูดแล้ว แม้นานได้. พวกโจรที่ออกปล้น เช่น พวกปล้นตู้นิรภัย ก็อาศัยการระลึกถึงวิทยาการ ที่ฝึกฝนมา เป็นต้นว่า ตู้นิรภัยรุ่นนี้ต้องเปิดอย่างไร? เมื่อการปล้นประสบปัญหา ก็ระลึกถึงการแก้ปัญหาในครั้งก่อนๆ ว่า ปัญหานี้แก้ไขอย่างไร? การระลึกอย่างนี้ ก็จัดเป็นมิจฉาสติ ระลึกได้ที่เป็นอกุศล. วัสสการสูตร //84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=21&A=945&w=แม้นานได้ ความคิดเห็นที่ 14-37 GravityOfLove, 22 มกราคม เวลา 22:23 น. ขอบพระคุณค่ะ ตอบเร็วมากค่ะ แต่คืนนี้สมองไม่แจ่มใสแล้ว ไว้อ่านพรุ่งนี้ค่ะ คงได้ส่งย่อความพรุ่งนี้ด้วย ความคิดเห็นที่ 14-38 ฐานาฐานะ, 22 มกราคม เวลา 22:26 น. รับทราบครับ. ความคิดเห็นที่ 14-39 GravityOfLove, 23 มกราคม เวลา 09:13 น. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๑. มูลปริยายวรรค ๘. สัลเลขสูตร ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1237&Z=1517&bgc=lavender สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามว่า ทิฏฐิต่างๆ ที่ปรารภเกี่ยวกับอัตตา (๒๐ ประการ) เกี่ยวกับโลก (๘ ประการ) เมื่อภิกษุมนสิการธรรมเพียงเบื้องต้น (เจือวิปัสสนา) เท่านั้น ก็สามารถละและ สลัดทิ้งทิฏฐิเหล่านั้นได้หรือ (ทูลถามเพื่ออนุเคราะห์อันเตวาสิกของท่านให้เข้าใจการละและสลัดทิ้งมิจฉาทิฏฐิเหล่านั้น) ตรัสว่า ทิฏฐิเหล่านั้นเกิดขึ้นในอารมณ์ (เบญจขันธ์) ใด นอนเนื่องอยู่ในอารมณ์ใด และท่องเที่ยวอยู่ในอารมณ์ใด เมื่อพิจารณาเห็นอารมณ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง (ด้วยวิปัสสนาปัญญาอันมีปัญญาในโสดาปัตติมรรคเป็นที่สุด) ว่า นั่นมิใช่ของเรา (ตัณหา) เรามิใช่นั่น (มานะ) นั่นมิใช่ตัวตนของเรา (ทิฏฐิ) ก็จะสามารถละทิฏฐิเหล่านั้นได้ เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปเมื่อบรรลุรูปฌานแต่ละขั้น (ปฐมฌาน ... จตุตถฌาน) จะคิดว่า ตนเองอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสแล้ว แต่พระองค์ไม่ทรงตรัสว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เป็นแต่เพียงธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในอัตภาพนี้ (ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรม) ในวินัยของพระอริยะ (เพราะเมื่อออกจากฌานแล้วไม่ได้พิจารณาสังขารทั้งหลาย (วิปัสสนา)) เป็นไปได้ที่ภิกษุบางรูปเมื่อบรรลุอรูปฌานแต่ละขั้น (อากาสานัญจายตนฌาน ... เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน) จะคิดว่า ตนเองอยู่ด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลสแล้ว แต่พระองค์ไม่ทรงตรัสว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เป็นแต่เพียงธรรมเครื่องอยู่สงบระงับ (สันตวิหารธรรม) ในวินัยของพระอริยะ สักกายทิฏฐิ ๒๐ //84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=0&Z=105#4top #4top มิจฉาทิฎฐิ ๘ //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=100&p=1&bgc=lavender#มิจฉาทิฏฐิ_๘ #มิจฉาทิฏฐิ_๘ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เบญจขันธ์ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปปัญจธรรม_3 คำว่า รูปฌาน //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน_4 คำว่า อรูปฌาน //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อรูป ธรรมเครื่องขัดเกลามีดังนี้ คือโดยคิดว่า ๑. แม้คนอื่นจะเป็นผู้เบียดเบียนกัน แต่เราจะไม่เบียดเบียนกัน ๒. ... ผู้ฆ่าสัตว์ ... งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๓. ... ผู้ลักทรัพย์ ... งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๔. ... เสพเมถุนธรรม ... ประพฤติพรหมจรรย์ ๕. ... กล่าวเท็จ ... งดเว้นจากการกล่าวเท็จ ๖. ... กล่าวส่อเสียด .. งดเว้นจากการกล่าวส่อเสียด ๗. ... กล่าวคำหยาบ ... งดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ ๘. ... กล่าวคำเพ้อเจ้อ ... งดเว้นจากการกล่าวเพ้อเจ้อ ๙. ... มักเพ่งเล็งภัณฑะ (ทรัพย์) ของผู้อื่น ... ไม่เพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่น ๑๐. ... มีจิตพยาบาท ... ไม่มีจิตพยาบาท ๑๑. ... มีความเห็นผิด ... จักมีความเห็นชอบ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อกุศลกรรมบถ ๑๒. ... มีความดำริผิด ... มีความดำริชอบ ๑๓. ... มีวาจาผิด ... มีวาจาชอบ ๑๔. ... มีการงานผิด ... มีการงานชอบ ๑๕. ... มีอาชีพผิด ... มีอาชีพชอบ ๑๖. ... มีความเพียรผิด ... มีความเพียรชอบ ๑๗. ... มีสติผิด ... มีสติชอบ ๑๘. ... มีสมาธิผิด ... มีสมาธิชอบ ๑๙. ... มีญาณ (ความรู้) ผิด ... มีญาณชอบ ๒๐. ... มีวิมุติ (ความหลุดพ้น) ผิด ... มีวิมุติชอบ //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มิจฉัตตะ ๒๑. ... ถูกถีนมิทธะ (ความหดหู่และง่วงเหงา) กลุ้มรุม ... ปราศจากถีนมิทธะ ๒๒. ... ผู้ฟุ้งซ่าน ... ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ๒๓. ... มีวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ... ห้ามพ้นจากวิจิกิจฉา //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิวรณ์ ๒๔. ... มีความโกรธ ... ไม่มีความโกรธ ๒๕. ... ผูกโกรธไว้ ... ไม่ผูกโกรธไว้ ๒๖. ... ลบหลู่คุณท่าน ... ไม่ลบหลู่คุณท่าน ๒๗. ... ยกตนเทียมท่าน ... ไม่ยกตนเทียมท่าน ๒๘. ... มีความริษยา ... ไม่มีความริษยา ๒๙. ... มีความตระหนี่ ... ไม่มีความตระหนี่ ๓๐. ... โอ้อวด ... ไม่โอ้อวด ๓๑. ... มีมารยา ... ไม่มีมารยา ๓๒. ... ดื้อด้าน ... ไม่ดื้อด้าน ๓๓. ... ดูหมิ่นท่าน ... ไม่ดูหมิ่นท่าน //84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อุปกิเลส ๓๔. ... เป็นผู้ว่ายาก ... เป็นผู้ว่าง่าย ๓๕. ... มีมิตรชั่ว ... มีกัลยาณมิตร ๓๖. ... เป็นคนประมาท .. เป็นคนไม่ประมาท ๓๗. ... เป็นคนไม่มีศรัทธา ... เป็นคนมีศรัทธา ๓๘. ... ไม่มีหิริ (ความละอายบาป) ... มีหิริในใจ ๓๙. ... ไม่มีโอตตัปปะ (ความเกรงกลัวบาป) ... มีโอตตัปปะ ๔๐. ... มีสุตะ (ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก) น้อย ... มีสุตะมาก ๔๑. ... เป็นคนเกียจคร้าน ... เป็นผู้ปรารภความเพียร ๔๒. ... เป็นผู้มีสติหลงลืม ... เป็นผู้มีสติดำรงมั่น ๔๓. ... เป็นคนมีปัญญาทราม ... เป็นคนถึงพร้อมด้วยปัญญา (วิปัสสนาปัญญา) //84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อสัทธรรม ๔๔. แม้คนอื่นจะเป็นคนลูบคลำ (ยึดมั่นถือมั่น) ทิฏฐิของตน ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยยาก แต่เราจะไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฏฐิของตน ไม่ยึดถืออย่างมั่นคง และสละคืนได้โดยง่าย เพียงแต่คิด (จิตตุปบาท) กุศลธรรม ก็ยังมีอุปการะมาก จึงไม่ต้องกล่าวถึงการลงมือทำด้วยกายและวาจา ฉะนั้น จึงควรคิดว่า แม้คนอื่นเขาเบียดเบียน แต่เราจะไม่เบียดเบียน เป็นต้น เปรียบเหมือนพึงมีทางเรียบอีกทางหนึ่ง เพื่อเลี่ยงทางไม่เรียบ พึงมีท่าน้ำที่เรียบอีกท่าหนึ่ง เพื่อเลี่ยงท่าน้ำที่ไม่เรียบ การไม่เบียดเบียน ฯลฯ ก็ฉันนั้น ก็เพื่อเลี่ยงบุคคลผู้เบียดเบียน ฯลฯ เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องล่าง (ความเสื่อม) กุศลธรรมทั้งมวล เป็นเหตุให้ถึงความเป็นเบื้องบน (ความเจริญ) ฉันใด ความไม่เบียดเบียน ฯลฯ ก็ฉันนั้น ย่อมเป็นธรรมสำหรับความเป็นเบื้องบน ของบุคคลผู้เบียดเบียน ฯลฯ คนที่จมอยู่ในเปือกตมอันลึกแล้ว ย่อมยกคนที่จมด้วยกันขึ้นไม่ได้ คนที่ไม่จม จึงจะยกคนที่จมได้ คนที่ไม่ฝึกตน ไม่แนะนำตน ไม่ดับสนิทด้วยตนเอง ย่อมฝึกสอน จักแนะนำผู้อื่น ให้ดับสนิทไม่ได้ คนที่ฝึกตน แนะนำตน ดับสนิทด้วยตนเอง จึงจะฝึกสอน แนะนำผู้อื่น ให้ดับสนิทได้ ความไม่เบียดเบียน ฯลฯ ก็ฉันนั้น ย่อมเป็นทางสำหรับดับสนิทของบุคคลผู้เบียดเบียน ฯลฯ แล้วตรัสว่า ได้ทรงแสดงเหตุเหล่านี้แล้วคือ ๑. เหตุแห่งธรรมเครื่องขัดเกลา (๔๔ ข้อ) ๒. เหตุแห่งจิตตุปบาท (เพียงแต่คิดกุศลธรรม ก็ยังมีอุปการะมาก ...) ๓. เหตุแห่งการหลีกเลี่ยง (เปรียบเหมือนพึงมีทางเรียบอีกทางหนึ่ง ...) ๔. เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน (เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวลเป็นเบื้องล่าง การขัดเกลาเป็นเบื้องบน) ๕. เหตุแห่งความดับสนิท (คนที่มีกิเลสเช่นวิหิงสาเป็นผู้ยังไม่ดับกิเลสได้ เปรียบเหมือนคนจมอยู่ในเปือกตม การขัดเกลาเป็นการฝักฝ่ายการดับกิเลส เหมือน การขึ้นจากเปือกตม) ทรงทำกิจที่ศาสดาพึงทำเพื่อทรงอนุเคราะห์แก่เหล่าสาวกแล้ว (หมายความว่า ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของสาวกในการปฏิบัติ) นั่นเรือนว่าง (สถานที่ๆ สงัดจากคน) สาวกทั้งหลายจงเพ่งพินิจ (เจริญสมถะและวิปัสสนา) อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อน (เพราะความประมาท) ในภายหลัง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค [แก้ไขตาม 14-40, 14-41] ความคิดเห็นที่ 14-40 GravityOfLove, 29 มกราคม เวลา 14:02 น. ฐานาฐานะ, 3 นาทีที่แล้ว ๔. เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน (เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวล ...) ๕. เหตุแห่งความดับสนิท (คนที่จมอยู่ในเปือกตม ...) ควรแก้ไขเป็น ๔. เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน (เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวลเป็นเบื้องล่าง การขัดเกลาเป็นเบื้องบน) ๕. เหตุแห่งความดับสนิท (คนที่มีกิเลสเช่นวิหิงสาเป็นผู้ยังไม่ดับกิเลสได้ เปรียบเหมือนคนจมอยู่ในเปือกตม การขัดเกลาเป็นการฝักฝ่ายการดับกิเลส เหมือน การขึ้นจากเปือกตม) ความคิดเห็นที่ 14-41 ฐานาฐานะ, 29 มกราคม เวลา 14:25 น. GravityOfLove, 8 นาทีที่แล้ว พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๑. มูลปริยายวรรค ๘. สัลเลขสูตร ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1237&Z=1517&bgc=lavender 9:12 AM 1/23/2013 ย่อความได้ดี รวบรวมประเด็นได้ครบถ้วน. คำที่ควรแก้ไขมีบ้างเล็กน้อย คือ มื่อพิจารณาเห็นอารมณ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง (ด้วยโสดาปัตติมรรค) ว่า นั่นมิใช่ของเรา (ตัณหา) เรามิใช่นั่น (มานะ) นั่นมิใช่ตัวตนของเรา (ทิฏฐิ) ก็จะสามารถละทิฏฐิเหล่านั้นได้ ควรแก้ไขเป็น เมื่อพิจารณาเห็นอารมณ์นั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง (ด้วยวิปัสสนาปัญญาอันมีปัญญาในโสดาปัตติมรรคเป็นที่สุด) ว่า นั่นมิใช่ของเรา (ตัณหา) เรามิใช่นั่น (มานะ) นั่นมิใช่ตัวตนของเรา (ทิฏฐิ) ก็จะสามารถละทิฏฐิเหล่านั้นได้ - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ๔. เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน (เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวล ...) ๕. เหตุแห่งความดับสนิท (คนที่จมอยู่ในเปือกตม ...) ควรแก้ไขเป็น ๔. เหตุแห่งความเป็นเบื้องบน (เปรียบเหมือนอกุศลธรรมทั้งมวลเป็นเบื้องล่าง การขัดเกลาเป็นเบื้องบน) ๕. เหตุแห่งความดับสนิท (คนที่มีกิเลสเช่นวิหิงสาเป็นผู้ยังไม่ดับกิเลสได้ เปรียบเหมือนคนจมอยู่ในเปือกตม การขัดเกลาเป็นการฝักฝ่ายการดับกิเลส เหมือน การขึ้นจากเปือกตม) คำถามในพระสูตรชื่อว่า สัลเลขสูตร 1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? 2. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้ตั้งใจสมาทานอย่างไรบ้าง? ความคิดเห็นที่ 14-42 GravityOfLove, 29 มกราคม เวลา 20:19 น. ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า สัลเลขสูตร 1. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้อะไรบ้าง? ๑. ทิฏฐิต่างๆ ที่ปรารภเกี่ยวกับอัตตา (๒๐ ประการ) เกี่ยวกับโลก (๘ ประการ) ไม่สามารถละได้อย่างเด็ดขาดด้วยการมนสิการธรรมเบื้องต้นเท่านั้น แต่ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นมิใช่ของเรา (ตัณหา) เรามิใช่นั่น (มานะ) นั่นมิใช่ตัวตนของเรา (ทิฏฐิ) ๒. ฌาน ๑ ถึงฌาน ๔ พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่ใช่ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส แต่เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันในวินัยของพระอริยะ ๓. อรูปฌาน ๑ ถึงอรูปฌาน ๔ พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่ใช่ธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส แต่เป็นธรรมเครื่องอยู่สงบระงับในวินัยของพระอริยะ ๔. เพียงแต่คิดในกุศลธรรมทั้งหลาย พระองค์ยังตรัสว่า มีอุปการะมาก จึงไม่ต้องกล่าวถึงการลงมือทำด้วยกายและวาจา ๕. ผู้ที่ยังไม่ได้ฝึกฝนตน ยังไม่ได้แนะนําตน ยังดับกิเลสไม่ได้ด้วยตน จะฝึกสอน จะแนะนําผู้อื่น จะให้ผู้อื่นดับกิเลส ไม่ได้ ๖. เป็นธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อมีผู้ถวายบังคม ทรงตรัสระบุชื่อของผู้นั้นๆ ว่า จงเป็นสุข ๆ เถิด ๗. ผู้ใดเมื่อไม่เห็นการฟุ้งขึ้นแห่งกิเลสที่ข่มไว้ด้วยสมถะ หรือที่ข่มไว้ได้ด้วยวิปัสสนา ย่อมเข้าใจว่า ตนเองเป็นพระโสดาบันบ้าง เป็นพระอรหันต์บ้าง ๘. ทานที่บุคคลถวายแก่ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ มีผลมากกว่าทานที่ให้แก่คนนอกศาสนาที่แม้ได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ก็ตาม -------------------------------------- 2. เมื่อศึกษาพระสูตรนี้แล้ว ได้ตั้งใจสมาทานอย่างไรบ้าง? การขัดเกลากิเลสให้เริ่มที่ตนเอง แม้คนอื่นจะกระทำบาปอกุศลธรรมนั้นๆ ตัวเราก็อย่าทำอย่างนั้น อย่าคิดอย่างนั้น เมื่อคิดก็เป็นกุศลแล้ว ยิ่งได้ลงมือทำด้วย กาย วาจา ก็ยิ่งเป็นกุศลขึ้นไปอีก การที่เราไม่ทำอกุศลธรรมอย่างนั้นก็เป็นการหลีกเลี่ยงผู้ที่มีอกุศลธรรมนั้นๆ ด้วย ทั้ง ๔๔ ข้อนี้พยายามทำให้ได้มากที่สุด เพื่อขัดเกลากิเลสตัวเองให้ได้มากที่สุด ถ้าตัวเองยังฝึกฝนตัวเองไม่ได้ จะไปบอกกล่าวคนอื่นได้อย่างไร ความคิดเห็นที่ 14-43 ฐานาฐานะ, 29 มกราคม เวลา 20:59 น. GravityOfLove, 27 นาทีที่แล้ว ตอบคำถามในพระสูตรชื่อว่า สัลเลขสูตร //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1237&Z=1517 ... 8:19 PM 1/29/2013 ตอบได้ดีครับ. แก้ไขคำตอบบางส่วนดังนี้ :- ข้อ 1. ๗. ผู้ใดเมื่อไม่เห็นการฟุ้งขึ้นแห่งกิเลสที่ข่มไว้ด้วยสมถะ หรือที่ข่มไว้ได้ด้วยวิปัสสนา ย่อมเข้าใจว่า ตนเองเป็นพระโสดาบันบ้าง เป็นพระอรหันต์บ้าง ควรแก้ไขเป็น ๗. ผู้ใดเมื่อไม่เห็นการฟุ้งขึ้นแห่งกิเลสที่ข่มไว้ด้วยสมถะ หรือที่ข่มไว้ได้ด้วยวิปัสสนา อาจเข้าใจว่า ตนเองเป็นพระโสดาบันบ้าง เป็นพระอรหันต์บ้าง ข้อ 1 และ 2. คำว่า ๔. เพียงแต่คิดในกุศลธรรมทั้งหลาย พระองค์ยังตรัสว่า มีอุปการะมาก จึงไม่ต้องกล่าวถึงการลงมือทำด้วยกายและวาจา และ เมื่อคิดก็เป็นกุศลแล้ว ยิ่งได้ลงมือทำด้วย กาย วาจา ก็ยิ่งเป็นกุศลขึ้นไปอีก พระพุทธwจน์ :- [๑๐๕] ดูกรจุนทะ เราย่อมกล่าวแม้จิตตุปบาทว่า มีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ก็จะต้องกล่าวไปไยในการจัดทำให้สำเร็จ ด้วยกาย ด้วยวาจาเล่า เพราะเหตุนั้นแหละ จุนทะ ในข้อนี้ เธอทั้งหลายพึงให้จิตเกิดขึ้นว่า ชนเหล่าอื่นจักเป็นผู้เบียดเบียนกัน ในข้อนี้ เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกัน. //84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1237&Z=1517#105 ควรเข้าใจว่า ความเกิดขึ้นแห่งจิตอันเป็นกุศลดังนี้ว่า เราจะขัดเกลาความเป็นผู้เบียดเบียน โดยการเป็นผู้ไม่เบียดเบียนเป็นต้น แม้ชนเหล่าอื่นจะเบียดเบียนกัน ความเกิดขึ้นแห่งจิตดังนี้ มีอุปการะมาก เพราะเป็นกุศลด้วย และเป็นจุดเริ่มต้น ในการให้สำเร็จด้วยกาย ด้วยวาจา. ความคิดเห็นที่ 14-44 GravityOfLove, 29 มกราคม เวลา 21:05 น. เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณค่ะ ความคิดเห็นที่ 14-45 ฐานาฐานะ, 29 มกราคม เวลา 22:04 น. เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สัลเลขสูตร จบบริบูรณ์. //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1237&Z=1517 พระสูตรหลักถัดไป คือสัมมาทิฏฐิสูตรและสติปัฏฐานสูตร. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1518&Z=1753 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110 สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน //84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1754&Z=2150 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- //84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=131 การสนทนาธรรมนี้ย้ายไปที่ :- 5. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร. //www.bloggang.com/mainblog.php?id=thanathana&month=12-03-2013&group=2&gblog=5 |
ฐานาฐานะ
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Group Blog
All Blog
Link |
|||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |
3. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=thanathana&month=12-03-2013&group=2&gblog=3