1. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.

ฐานาฐานะ :-
             1. ช่วยอธิบายให้เห็นถึงภัยของวัฏฏสงสารด้วยค่ะ [วันรัฐธรรมนูญ 54 23:28:12]
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/12/Y11442477/Y11442477.html

             2. นี่คือรูปพระอะไรคะ [5 ม.ค. 55 14:51:31]
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/01/Y11540192/Y11540192.html

             3. ขอถามค่ะว่า พระสูตรไหนแสดงถึงการบรรลุพระอรหัตของท่านพระสารีบุตร [21 ก.พ. 55 16:28:37]
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/02/Y11736976/Y11736976.html

             4. พระอานนท์บรรลุเป็นพระโสดาบัน เพราะฟังธรรมจากใคร? [21 มี.ค. 55 00:06:18]
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/03/Y11859877/Y11859877.html

             5. ข้อความนี้เป็นพุทธภาษิตหรือไม่? [21 มี.ค. 55 00:10:50]
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/03/Y11859889/Y11859889.html

             6. วันพระมีประวัติความเป็นมาอย่างไรคะ [4 พ.ค. 55 00:22:44]
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/05/Y12045944/Y12045944.html

             7. ดูกรกัสสป ก็เธอเล็งเห็นอำนาจประโยชน์อย่างไร จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ... [17 พ.ค. 55 12:56:34]
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/05/Y12106258/Y12106258.html

             8. เนื่องในวันวิสาขบูชา ปี พ.ศ. 2555 อันเป็นวันครบ 2,600 ปี
ที่องค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้… [วันวิสาขบูชา 55 00:02:39]
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/06/Y12188410/Y12188410.html

             9. สีหสูตร พระตถาคตทรงแสดงธรรมโดยเคารพ [3 ก.ค. 55 00:09:52]
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/07/Y12320707/Y12320707.html

             10. ราชสูตร ... ผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น ฯ [26 ก.ค. 55 00:14:48]
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/07/Y12425121/Y12425121.html

             11. มรณัสสติสูตร ... เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ประมาท จักเจริญมรณัสสติ ฯลฯ ... [25 ส.ค. 55 00:01:32]
//www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y12560599/Y12560599.html

             12. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=thanathana&month=11-03-2013&group=2&gblog=1


ฐานาฐานะ :-
             การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจากกระทู้หัวข้อว่า
             มรณัสสติสูตร ... เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ประมาท จักเจริญมรณัสสติ ฯลฯ
//www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y12560599/Y12560599.html
จากคุณ : GravityOfLove เขียนเมื่อ : 25 ส.ค. 55 00:01:32
ถูกใจ : ฐานาฐานะ, Dangerousman, แมวเปอร์เซีย
22:07 11/3/2556


ฐานาฐานะ, 6 มกราคม เวลา 20:56 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า อนังคณสูตร ว่าด้วยผู้ไม่มีกิเลส จบบริบูรณ์.    
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=752&Z=1023

             พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             อากังเขยยสูตร ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1024&Z=1135
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=73

             วัตถูปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยผ้า
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1136&Z=1236
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=91

             สัลเลขสูตร ว่าด้วยธรรมเครื่องขัดเกลากิเลส
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1237&Z=1517
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=100

             สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1518&Z=1753
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110

             สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1754&Z=2150
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=131

GravityOfLove, 7 มกราคม เวลา 11:44 น.

คำถามอรรถกถา อากังเขยยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=73&bgc=lavender

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ส่วนพระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกซึ่งเป็นอันเตวาสิกของพระสุมนเถระนั้น กล่าวว่า
             พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาฏิโมกขสังวรศีลไว้ในบาลีประเทศถึง ๒ แห่ง ปาฏิโมกขสังวรเท่านั้น ชื่อว่าศีล (แต่อาคต)
สถานที่กล่าวรับรองไว้ว่า ศีล ๓ อย่างนอกนี้ที่เป็นศีล ก็มีอยู่ ท่านเมื่อไม่เห็นด้วยจึงกล่าวแย้งไว้แล้ว กล่าว (ต่อไป) ว่า
คุณ เพียงแต่การรักษาทวารทั้ง ๖ ก็ชื่อว่าอินทรียสังวร. คุณ เพียงแต่การบังเกิดขึ้นแห่งปัจจัยโดยธรรมโดยสม่ำเสมอ ก็ชื่อว่าอาชีวปาริสุทธิ.
คุณ เพียงแต่การพิจารณาปัจจัยที่ตนได้แล้วว่าสิ่งนี้มีอยู่ ดังนี้แล้วจึงบริโภค ก็ชื่อว่าปัจจยสันนิสสิตศีล.
             แต่ว่าโดยตรง ปาฏิโมกขสังวรเท่านั้นชื่อว่าศีล ปาฏิโมกขสังวรศีลนั้นของผู้ใดขาดแล้ว ผู้นั้นใครๆ ไม่ควรกล่าวว่า
ผู้นี้จักรักษาศีลที่เหลือไว้ ดังนี้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีศีรษะขาดแล้วก็ไม่อาจที่จะรักษามือและเท้าไว้ได้ฉะนั้น.

             ขอบพระคุณค่ะ

ฐานาฐานะ, 7 มกราคม เวลา 22:35 น.

             คำถามอรรถกถา อากังเขยยสูตร
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=73&bgc=lavender

             กรุณาอธิบายค่ะ
             ส่วนพระจูฬนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกซึ่งเป็นอันเตวาสิกของพระสุมนเถระนั้น กล่าวว่า
             พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปาฏิโมกขสังวรศีลไว้ในบาลีประเทศถึง ๒ แห่ง ปาฏิโมกขสังวรเท่านั้น ชื่อว่าศีล (แต่อาคต)
สถานที่กล่าวรับรองไว้ว่า ศีล ๓ อย่างนอกนี้ที่เป็นศีล ก็มีอยู่ ท่านเมื่อไม่เห็นด้วยจึงกล่าวแย้งไว้แล้ว กล่าว (ต่อไป) ว่า
คุณ เพียงแต่การรักษาทวารทั้ง ๖ ก็ชื่อว่าอินทรียสังวร. คุณ เพียงแต่การบังเกิดขึ้นแห่งปัจจัยโดยธรรมโดยสม่ำเสมอ ก็ชื่อว่าอาชีวปาริสุทธิ.
คุณ เพียงแต่การพิจารณาปัจจัยที่ตนได้แล้วว่าสิ่งนี้มีอยู่ ดังนี้แล้วจึงบริโภค ก็ชื่อว่าปัจจยสันนิสสิตศีล.
             แต่ว่าโดยตรง ปาฏิโมกขสังวรเท่านั้นชื่อว่าศีล ปาฏิโมกขสังวรศีลนั้นของผู้ใดขาดแล้ว ผู้นั้นใครๆ ไม่ควรกล่าวว่า
ผู้นี้จักรักษาศีลที่เหลือไว้ ดังนี้ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีศีรษะขาดแล้วก็ไม่อาจที่จะรักษามือและเท้าไว้ได้ฉะนั้น.
             ขอบพระคุณค่ะ

             อธิบายว่า เนื้อความเหล่านี้เป็นการแสดงความเห็นของพระเถระต่อคำว่า ศีล.
             ความว่า แม้ศีลจะประกอบด้วยนัย 4 คือ
              1. ปาฏิโมกขสังวรศีล
              2. อินทรียสังวรศีล
              3. อาชีวปาริสุทธิศีล
              4. ปัจจัยสันนิสิตศีล
             กล่าวคือ เมื่อประกอบครบทั้ง 4 ศีลย่อมตั่งมั่น เป็นไปเพื่อความเจริญในสิกขาขั้นต่อไปได้
ก็จริง แต่หากกล่าวถึงความสำคัญที่สุดใน 4 ข้อนี้
             ข้อที่สำคัญที่สุดคือ ปาฏิโมกขสังวรศีล
             เพราะอะไร?
             1. ถ้าไม่มีอินทรียสังวรศีล กิเลสอาจจะกลุ้มรุมได้ เช่น ไม่ระวังรูปารมณ์ที่น่าใคร่
สัททารมณ์ ฯลฯ จิตย่อมไปตามกิเลส กล่าวคือ ราคะกลุ้มรุมอยู่ แม้จะทำให้สิกขาขั้นต่อไป
เจริญไม่ได้ก็จริง แต่ว่า ศีลยังไม่ขาด.
             2. ภิกษุบางรูปเอ่ยปากขอบิณฑบาตหรือจีวรจากคนที่ไม่ได้ปวารณาเป็นต้น
อันอาจกล่าวได้ว่า อาชีวะ ไม่ค่อยบริสุทธิ์ แต่ยังไม่ถึงขั้นศีลขาด (ขาดจะความเป็นสมณะ)
             3. ภิกษุบางรูป บางครั้งบริโภคเพลิดเพลินไปบ้าง ตกแต่งจีวรให้สวยงามบ้าง
ก็อาจกล่าวได้ว่า ขาดข้อการพิจารณาใช้สอยปัจจัยสี่ แต่ศีลยังไม่ขาด.
             ดังนั้น แม้ 3 ข้อนี้บกพร่องไปบ้าง แต่ก็ยังพอเป็นสมณะได้อยู่
             แต่ถ้าล่วงปาฏิโมกขสังวรศีล เช่น ทุศีลเลย เช่น ขโมยบ้าง เสพเมถุนธรรมบ้าง
เมื่อล่วงปาฏิโมกขสังวรศีลแล้ว เช่นขโมยของเป็นปาราชิก แต่มีอินทรียสังวรเป็นต้น
ภิกษุเสพเมถุนธรรม แต่สำรวมในการใช้สอยปัจจัย 4 หรือเที่ยวบิณฑบาตโดยอาการ
อย่างสมณะ แมัจะมีอินทรียสังวรศีล อาชีวปาริสุทธิศีลและปัจจัยสันนิสิตศีลครบถ้วน
ก็ไม่อาจรักษาศีลได้เลย เพราะว่า ศีลแท้ๆ ขาดไปแล้ว.
             เหมือนคนคอขาดแล้ว จะตกแต่งอย่างไร ก็ไม่ได้ทำให้ฟื้นมีชีวิตขึ้นมาได้.
             นี้เป็นการยกเอาปาฏิโมกขสังวรศีลแบบรุนแรง คือขาดแล้ว ขาดจากความเป็นสมณะเลย
เป็นตัวอย่างเพื่อให้เห็นชัดๆ ว่า ปาฏิโมกขสังวรศีลสำคัญที่สุด.

             คำว่า ปาริสุทธิศีล 4
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาริสุทธิศีล
GravityOfLove, 8 มกราคม 2556 เวลา 16:39 น.

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๑. มูลปริยายวรรค      
๖. อากังเขยยสูตร (อากงฺเขยฺย) ว่าด้วยข้อที่พึงหวังได้ ๑๗ อย่าง
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1024&Z=1135&bgc=lavender&pagebreak=0

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี
             ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย แล้วได้ตรัสพุทธwจน์นี้ว่า
(เพื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ ๑๗ ประการแห่งศีลแก่ภิกษุผู้บวชไม่นาน หรือคนผู้มีปัญญาทรามเป็นต้น)
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์ มีปาติโมกข์อันสมบูรณ์
             จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
(สำรวมในปาฏิโมกข์ คือรักษาสิกขาบทเคร่งครัดตามที่ทรงบัญญัติไว้ในพระปาติโมกข์)
             ถึงพร้อมด้วยอาจาระ (ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา และทางใจ
ความสำรวมระวังในศีลทั้งปวง และความที่ภิกษุไม่เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาอาชีวะ)
             และโคจร
(คือการไม่เที่ยวไปยังสถานที่ไม่ควรเที่ยวไป การไม่คลุกคลีกับบุคคลที่ไม่สมควรคลุกคลีด้วย)
             จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย
             สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ปาฏิโมกข์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาติโมกข์&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อาจาระ
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=โคจร
             คำว่า มิจฉาอาชีวะ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=10#อเนสนา #อเนสนา
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สิกขาบท#find6 #find6
             ว่าด้วย อโคจร
//84000.org/tipitaka/read/?29/917

             ๑. ถ้าหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก เคารพ ยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ (ทำให้บริบูรณ์ในจตุปาริสุทธิศีล)
             หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน (เครื่องสงบใจภายในตน)
             ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา (หมายถึงอนุปัสสนา ๗)
             พอกพูนสุญญาคาร (เพิ่มพูนเรือนว่าง)

             [อรรถกถา]
             อนุปัสสนา ๗ ประการ คือ
(๑) อนิจจานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
(๒) ทุกขานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความเป็นทุกข์
(๓) อนัตตานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความไม่มีตัวตน
(๔) นิพพิทานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความน่าเบื่อหน่าย
(๕) วิราคานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด
(๖) นิโรธานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความดับกิเลส
(๗) ปฏินิสสัคคานุปัสสนา - พิจารณาเห็นความสลัดทิ้งกิเลส

             [อรรถกถา]
             เพิ่มพูนเรือนว่าง หมายถึงการเรียนกัมมัฏฐาน คือ สมถะและวิปัสสนา
เข้าไปสู่เรือนว่างนั่งพิจารณาอยู่ตลอดคืนและวัน
             แล้วบำเพ็ญอธิจิตตสิกขาด้วยสมถกัมมัฏฐาน
             บำเพ็ญอธิปัญญาสิกขาด้วยวิปัสสนากัมมัฏฐาน
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาริสุทธิศีล
             ๒. ถ้าหวังว่า เราพึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
             (ไม่ใช่ทรงให้แสวงหาลาภ แต่ทรงอนุเคราะห์ผู้ที่มีอัธยาศัยว่า
             เมื่อไม่ได้ลำบากด้วยปัจจัยเหล่านี้แล้ว จะสามารถบำเพ็ญศีลเป็นต้นให้บริบูรณ์ได้
ปัจจัยเหล่านี้ต่างหากคืออานิสงส์ที่แท้จริงของศีล)
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...

             ๓. ถ้าหวังว่า เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ของเทวดาหรือมนุษย์เหล่าใด
             ขอสักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น พึงมีผลใหญ่ (โลกิยสุขมาก)
มีอานิสงส์ใหญ่ (โลกุตตรสุขมาก) (แก่ทายก)
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ....

             ๔. ถ้าหวังว่า ญาติและสาโลหิตของเราเหล่าใด ที่ล่วงลับที่ไปแล้ว
มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงเราอยู่ (ว่าเป็นพระเถระผู้มีศีล มีธรรมอันงาม)
             ขอความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น พึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ (แก่ผู้ระลึกถึง)
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...

             ๕. ถ้าหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่ม ครอบงำ ย่ำยีความไม่ยินดีและความยินดีได้
ความไม่ยินดีอย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...

             ๖. ถ้าหวังว่า เราพึงเป็นผู้ข่มความกลัวและความขลาดได้
ความกลัวและความขลาดอย่าพึงครอบงำเราได้เลย เราพึงครอบงำ ย่ำยี ความกลัว
และความขลาดที่เกิดขึ้นแล้วได้
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...

             ๗. ถ้าหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้ฌานทั้ง ๔ อันเกิดขึ้นเพราะจิตยิ่ง (อภิเจตสิก คือ อุปจารสมาธิ)
เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน คือ รูปาวจรฌาน)
ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยากลำบาก
(เข้าหรือออกฌานได้ในขณะที่ตนต้องการได้ ข่มธรรมที่เป็นข้าศึกต่อวสีได้โดยไม่ยาก)
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อุปจารสมาธิ&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วสี#find1 #find1

             ๘. ถ้าหวังว่า เราพึงถูกต้องด้วยกายซึ่งวิโมกข์ (่ความหลุดพ้น) อันก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว
เป็นธรรมไม่มีรูปสงบระงับอยู่
             (เราพึงบรรลุวิโมกข์ที่สงบ เป็นอรูปฌาน เพราะก้าวล่วงรูปาวจรฌานด้วยนามกาย)
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...      
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิโมกข์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ฌาน
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=นามกาย

             ๙. ถ้าหวังว่า เราพึงเป็นโสดาบัน (ผู้ถึงกระแส อันประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘)
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓
             พึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา (ไม่ไปสู่อบายอีก)
             เป็นผู้เที่ยงมีอันตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า (ต่อไปตรัสรู้แน่นอน)
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...  
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังโยชน์
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรค_4
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อบาย

             ๑๐. ถ้าหวังว่า เราพึงเป็นพระสกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓
[และ] เพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบาง
             พึงมาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว (เจริญมรรคในโลกนี้แล้ว บังเกิดในเทวโลก
ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นจนสิ้นอายุแล้ว บังเกิดในมนุษย์โลกนั้นอีกแล้วปรินิพพาน)
แล้วพึงทำที่สุดทุกข์ได้
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...

             ๑๑. ถ้าหวังว่า เราพึงเป็นอุปปาติกสัตว์ (ในที่นี้หมายถึงพระอนาคามีที่บังเกิด
ในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส แล้วดำรงภาวะอยู่ในชั้นนั้นๆ ปรินิพพานสิ้นกิเลสในสุทธาวาสนั่นเอง)
             ไม่กลับมาเกิด (ด้วยการปฏิสนธิ) เป็นมนุษย์อีก เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โอปปาติกะ&detail=on
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สุทธาวาส_5&detail=on

             ๑๒. พึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ
คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ (ข้อ ๑ ในอภิญญา ๖)
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อภิญญา_6

             ๑๓. พึงหวังว่า เราพึงได้ยินเสียงทั้ง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์
ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ (ข้อ ๒ ในอภิญญา ๖)
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...

             ๑๔. พึงหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น  (ข้อ ๓ ในอภิญญา ๖)
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...

             ๑๕. พึงหวังว่า เราพึงระลึกชาติก่อนได้ ฯลฯ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการ (เช่น ผิวพรรณ) พร้อมทั้งอุเทศ (นามและโคตร) (ข้อ ๔ ในอภิญญา ๖)
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...

             ๑๖. พึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ฯลฯ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์
ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม (ข้อ ๕ ในอภิญญา ๖)
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์ ...
(อภิญญาข้อที่ ๑ ถึง ๕ ซึ่งเป็นโลกียอภิญญา แท้จริงก็เป็นอานิสงส์ของศีล)

             ๑๗. พึงหวังว่า
             เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ (สมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตตผล หลุดพ้นจากราคะ)
ปัญญาวิมุติ (ปัญญาที่สหรคตด้วยอรหัตตผล หลุดพ้นจากอวิชชา)
             อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน (ข้อ ๖ ในอภิญญา ๖ ซึ่งเป็นโลกุตตรอภิญญา)
             ก็พึงทำให้ศีลบริบูรณ์
             หมั่นประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
             ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา
             พอกพูนสุญญาคาร
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิมุตติ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาสวะ

             ตรัสว่า เราเห็นประโยชน์จึงกล่าวว่า
             เธอทั้งหลายจงมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์สมบูรณ์ จงสำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์
เพียบพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
             จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธwจน์นี้แล้ว
             ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค
[แก้ไขตาม คห 14-5]


ฐานาฐานะ :-
             การสนทนาธรรมนี้ย้ายไปที่ :-
             2. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=thanathana&month=12-03-2013&group=2&gblog=2




Create Date : 11 มีนาคม 2556
Last Update : 12 มีนาคม 2556 15:27:28 น.
Counter : 3026 Pageviews.

0 comments

ฐานาฐานะ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog