7. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.

             การสนทนาธรรมนี้ต่อเนื่องมาจาก :-
             6. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=thanathana&month=12-03-2013&group=2&gblog=6

ความคิดเห็นที่ 14-57
GravityOfLove, 4 กุมภาพันธ์ เวลา 12:13 น.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๑. มูลปริยายวรรค
๑๐. สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
//www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1754&Z=2150&bgc=lavender

             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ
             พระผู้มีพระภาคตรัสเีรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
             สติปัฏฐาน ๔ เป็นหนทางเป็นที่ไปอันเอก (เป็นทางเอกไม่ใช่ทางสองแพร่ง)
             คือ เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ (บริสุทธิ์จากมลทิน เช่น ราคะ)
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ (คร่ำครวญด้วยความเสียใจ) เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

สติปัฏฐาน ๔ ประการ คือ

๑. พิจารณาเห็นกายในกาย
             (กายส่วนย่อยในกายส่วนใหญ่ กายส่วนย่อยในรูปกาย)
             (กายานุปัสสนา - สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญาอ่อน)
             มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา (โลภอยากได้ของคนอื่น)
และโทมนัสในโลก (กาย)
             คำว่า สัมปชัญญะ. สติ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ธรรมมีอุปการะมาก

๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
             (ความรู้สึกอารมณ์ส่วนย่อยในความรู้สึกอารมณ์ส่วนใหญ่)
             (เวทนานุปัสสนา - สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริต มีปัญญากล้า)
             มีความเพียร...

๓. พิจารณาเห็นจิตในจิต
             (จิตส่วนจิตย่อยในจิตส่วนใหญ่ คือจิตดวงใดดวงหนึ่ง ในจิตที่เกิดขึ้นดับไปมากดวง)
             (จิตตานุปัสสนา - สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญาอ่อน)
             มีความเพียร...

๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรม (ธรรมส่วนย่อยในธรรมส่วนใหญ่)
             (ธัมมานุปัสสนา - สำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริต มีปัญญากล้า)
             มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา (โลภอยากได้ของคนอื่น)
และโทมนัสในโลก (กาย)
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สติปัฏฐาน

กายานุปัสสนา (พิจารณาเห็นกายในกาย) ได้แก่
๑. อานาปานสติ (เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน)
             กำหนดรู้ตลอดการหายใจเข้าออก คือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว
...หายใจเข้ายาว...หายใจออกสั้น...หายใจเข้าสั้น
             ดังนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง (กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกของตนเองบ้าง
ของผู้อื่นบ้าง ทั้งของตนเองและของผู้อื่นบ้าง)
             พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ความเสื่อม ทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมของ
ลมหายใจ อันประกอบด้วย กรัชกาย (มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป) ช่องจมูก และจิต
             มีสติรู้ว่า สักว่าเป็นแต่กาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา อย่าให้ตัณหาและทิฐิมาอาศัย
ไม่ถือมั่นอะไรๆ (รูป...วิญญาณ) ในโลก
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุปาทายรูป

๒. กำหนดรู้ทันอิริยาบถ (เป็นอุปจารกัมมัฏฐาน)
             ตั้งกายไว้ด้วยอาการใด ก็รู้ชัดอาการนั้น เช่น เมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน...ยืน...นั่ง...นอน...
(เราไม่ได้เดินยืนนั่งนอนเอง แต่เกิดจากการเกิดขึ้นของจิตๆ ทำให้เกิดธาตุลมๆ ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว)
             ดังนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ... (พิจารณาเห็นอิริยาบถ ๔ ของตนเองบ้าง
ของผู้อื่นบ้าง ทั้งของตนเองและของผู้อื่นบ้าง)
             พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ความเสื่อม ทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมของรูปขันธ์
ในกาย (รูปขันธ์เกิืดเพราะอวิชชา ตัณหา กรรม อาหาร และเมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความเกิด
ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดแห่งรูปขันธ์
             ส่วนความเสื่อมก็พิจารณาในทำนองกลับกัน << เรียกว่า อาการ ๕)
             มีสติรู้ว่า...

๓. สัมปชัญญะ (เป็นอุปจารกัมมัฏฐาน)
             ทำความรู้สึกตัวในอิริยาบถต่างๆ เช่น ในการก้าว ในการถอย ในการแล ... ในการเดิน การยืน
การนั่ง การหลับ การตื่น ...
             ดังนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ... (พิจารณาอิริยาบถด้วยสัมปชัญญะ ๔
ของตนเองบ้าง ของผู้อื่นบ้าง ทั้งของตนเองและของผู้อื่นบ้าง)
             พิจารณาเห็นธรรม คือ ...
             มีสติรู้ว่า ...
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัมปชัญญะ_4

๔. ปฏิกูลมนสิการ (เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน)
             พิจารณาเห็นกายนี้ถูกห่อหุ้มด้วยหนัง เต็มไปด้วยของไม่สะอาดต่างๆ ได้แก่ ผม ขน
เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ
อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
             ดังนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ... (พิจารณาเห็นสิ่งไม่สะอาดเหล่านี้ของ
ตนเองบ้าง ของผู้อื่นบ้าง ทั้งของตนเองและของผู้อื่นบ้าง)
             พิจารณาเห็นธรรม คือ ...
             มีสติรู้ว่า ...
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ทวัตติงสาการ

๕. ธาตุมนสิการ (เป็นอุปจารกัมมัฏฐาน)
             พิจารณาเห็นกายนี้ประกอบด้วย ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม พิจารณาเห็นร่างกาย
ของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ
             ดังนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ... (พิจารณาเห็นธาตุทั้ง ๔ นี้ของตนเอง
บ้าง ของผู้อื่นบ้าง ทั้งของตนเองและของผู้อื่นบ้าง)
             พิจารณาเห็นธรรม คือ ...
             มีสติรู้ว่า สักว่าเป็นธาตุ ๔ ...

๖. นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน ๙ ระยะเวลา
             (ว่าด้วยป่าช้า ๙ ข้อ)
             กายนี้ยังทนยืนเดินเป็นต้นอยู่ได้ ก็เพราะมีธรรม ๓ อย่างนี้ คืออายุ ไออุ่น และวิญญาณ
เมื่อธรรม ๓ อย่างนี้พรากจากกันก็กลายเป็นศพเหมือนๆ กัน
                    ๖.๑ พิจารณาซากศพในป่าช้าที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด
                    ๖.๒ พิจารณาซากศพในป่าช้าที่ถูกสัตว์กัดแทะกิน
                    ๖.๓ พิจารณาซากศพในป่าช้าที่เป็นร่างกระดูกยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นอยู่
                    ๖.๔ พิจารณาซากศพในป่าช้าที่เป็นร่างกระดูกปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด
มีเส้นเอ็นอยู่
                    ๖.๕ พิจารณาซากศพในป่าช้าที่เป็นร่างกระดูกปราศจากเนื้อและเลือดแต่ยังมี
เส้นเอ็นอยู่
                    ๖.๖ พิจารณาซากศพในป่าช้าที่เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็น กระดูกชิ้นต่างๆ
กระจัดกระจาย
                    ๖.๗ พิจารณาซากศพในป่าช้าเป็นกระดูกมีสีขาว
                    ๖.๘ พิจารณาซากศพในป่าช้าเป็นกองกระดูกเรียงรายอยู่แล้วเกินหนึ่งปีขึ้นไป
                    ๖.๙ พิจารณาซากศพในป่าช้าเป็นกระดูกผุเป็นผง
             พิจารณาซากศพในป่าช้าด้วยสภาพต่างๆ ๙ ประการนี้ว่า ถึงร่างกายเราก็จะเป็นเช่นนี้
เป็นธรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้
             ดังนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ... (พิจารณาเห็นสภาพต่างๆ ทั้ง ๙ เหล่านี้
ของตนเองบ้าง ของผู้อื่นบ้าง ทั้งของตนเองและของผู้อื่นบ้าง)
             พิจารณาเห็นธรรม คือ ...
             มีสติรู้ว่า ...
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สภาพอันไม่งาม&detail=on

เวทนานุปัสสนา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา คือ
             เมื่อเสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนา หรือเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่าเราเสวย
ทุกขเวทนา หรือเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็รู้ชัดว่าเราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
             หรือ เสวยเวทนา ๓ ดังกล่าวโดยมีอามิส (เครื่องล่อใจ เหยื่อ สิ่งของ) หรือไม่มีอามิส
ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนา ๓ นี้โดยมีอาิมิสหรือไม่มีอามิส (เวทนารวมทั้งหมด ๙ อย่าง)
             ดังนี้ย่อม พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง ... (เห็นเวทนา ๙ นี้ในเวทนาทั้งหลาย
ของตนบ้าง ของผู้อื่นบ้าง ทั้งของตนและของผู้อื่นบ้าง)
             พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้น ความเสื่อม ทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อม ในเวทนา
(เ้วทนาเกิดเพราะอวิชชา ตัณหา กรรม ผัสสะ และเมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่งความเกิด ก็ย่อม
พิจารณาเห็นความเกิดแห่งเวทนาขันธ์ ความเสื่อมก็พิจารณาในทำนองกลับกัน << เรียกว่า อาการ ๕)
             มีสติรู้ว่า สักเป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาที่เสวยเวทนา เวทนาต่างหาก
ที่เสวยโดยกระทำวัตถุให้เป็นอารมณ์
             อย่าให้ตัณหาและทิฐิมาอาศัย ไม่ถือมั่นอะไรๆ (รูป...วิญญาณ) ในโลก

จิตตานุปัสสนา พิจารณาเห็นจิตในจิต คือ
             จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ ... จิตมีโทสะ ... จิตปราศจากโทสะ ... จิตมีโมหะ
... จิตปราศจากโมหะ ... จิตหดหู่ ... จิตฟุ้งซ่าน ... จิตเป็นมหรคต (จิตที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร)
...จิตไม่เป็นมหรคต (จิตที่เป็นกามาวจร) ... จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า (จิตเป็นกามาวจร) ...
จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า (จิตที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร) ... จิตเป็นสมาธิ (อัปปนาสมาธิและอุปจารสมาธิ)
...จิตไม่เป็นสมาธิ ... จิตหลุดพ้น (จิตหลุดพ้นด้วยตทังควิมุตติ และวิกขัมภนวิมุต)... จิตไม่หลุดพ้น ...
             ดังนี้ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตใน
จิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง (เห็นจิต ๑๖ อย่างข้างบนในจิตหลายๆ อย่างของตนเองบ้าง ของผู้อื่นบ้าง
ทั้งของตนเองและของผู้อื่นบ้าง)

             พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นบ้าง ความเสื่อมบ้าง ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม
ในจิตบ้าง (จิตหรือวิญญาณเกิดเพราะอวิชชา ตัณหา กรรม นามรูป และเมื่อพิจารณาเห็นลักษณะแห่ง
ความเกิด ก็ย่อมพิจารณาเห็นความเกิดแห่งวิญญาณขันธ์
             ความเสื่อมก็พิจารณาในทำนองกลับกัน << เรียกว่า อาการ ๕)
             มีสติรู้ว่า สักเป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา อย่าให้ตัณหาและทิฐิมาอาศัย
ไม่ถือมั่นอะไรๆ (รูป...วิญญาณ) ในโลก
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มหรคต
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิมุตติ_๕

ความคิดเห็นที่ 14-58
(ต่อ)

ธัมมานุปัสสนา เห็นธรรมในธรรม คือ
๑. นิวรณ์ ๕
                    ๑.๑ กามฉันทะ เมื่อกามฉันท์มีอยู่ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ากามฉันท์มีอยู่ภายในจิตของ
เรา หรือเมื่อกามฉันท์ไม่มีอยู่ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ากามฉันท์ไม่มีอยู่ภายในจิตของเรา
                     กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิด
ขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
                     ๑.๒ พยาบาท ...
                     ๑.๓ ถีนมิทธะ ...
                     ๑.๔ อุทธัจจกุกกุจจะ ...
                     ๑.๕ วิจิกิจฉา ...
             ดังนี้ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
             (เห็นนิวรณ์ ๕ ของตนเองบ้าง ของผู้อื่นบ้าง ทั้งของตนเองและของผู้อื่นบ้าง)
             พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้น ความเสื่อม ทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมในธรรม
             มีสติรู้ว่า สักเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา อย่าให้ตัณหาและทิฐิมาอาศัย
ไม่ถือมั่นอะไรๆ (รูป...วิญญาณ) ในโลก
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=นิวรณ์

             [อรรถกถา] : ความเกิดและความเสื่อมของนิวรณ์ ๕
             - กามฉันท์เกิดขึ้นเพราะมนสิการโดยไม่แยบคายในสุภนิมิต (สิ่งหรืออารมณ์ที่งาม)
จะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการ (การใส่ใจโดยแยบคาย) ในอสุภนิมิต
             - พยาบาทเกิดเพราะอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิต (อารมณ์ที่ช่วยให้เกิดความขุ่นใจ)
จะละได้ก็ด้วยการใส่ใจโดยแยบคายในเมตตาเจโตวิมุตติ
             - ถีนมิทธะเกิดด้วยอโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลาย เช่น ความไม่ยินดีด้วยความเกียจคร้าน
จะละได้ด้วยโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลาย เช่น เริ่มความเีพียร ออกไปจากความเกียจคร้าน
             - อุทธัจจกุกกุจจะเกิดด้วยอโยนิโสมนสิการในความไม่สงบแห่งใจ
จะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการในความสงบแห่งใจ คือสมาธิ
             - วิจิกิจฉาเกิดได้ด้วยอโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา
จะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการในธรรมมีกุศล อกุศล ธรรมที่มีโทษ ไม่มีโทษ

๒. อุปาทานขันธ์ ๕ พิจารณาเห็นว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป
อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา ...สัญญา ...สังขาร ... วิญญาณ
             ดังนี้ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง ...
             พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้น ความเสื่อม ทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมในธรรม
(เห็นความเกิด ความดับแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ด้วยอาการ ๕ เช่น เพราะอวิชชา ตัณหา กรรม ... เกิด
รูปขันธ์จึงเกิด)
             มีสติรู้ว่า สักเป็นแต่เพียงธรรม ...
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุปาทานขันธ์

๓. อายตนะภายในและภายนอก ๖
                    ๓.๑ ตาและรูป (รูปเกิดจาก ๔ สมุฏฐาน คือ กรรม ฤดู จิต อาหาร) เป็นที่อาศัยเกิดของ
สังโยชน์
             สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้น สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสีย
ได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้น
                    ๓.๒ หูและเสียง ...
                    ๓.๓ จมูกและกลิ่น ...
                    ๓.๔ ลิ้นและรส ...
                    ๓.๕ กายและสิ่งที่ถูกต้องกาย (โผฏฐัพพะ) ...
                    ๓.๖ ใจและธรรมารมณ์ ...
             ดังนี้ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายใน ...
             พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง ...
             มีสติรู้ว่า สักเป็นแต่เพียงธรรม ...
//84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อายตนะ
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังโยชน์

๔. โพชฌงค์ ๗
                    ๔.๑ สติสัมโพชฌงค์ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า
สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ภายในจิต เมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์
ไม่มีอยู่ภายในจิต
                    สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วจะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
                    ๔.๒ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
                    ๔.๓ วิริยสัมโพชฌงค์ ...
                    ๔.๔ ปีติสัมโพชฌงค์ ...
                    ๔.๕ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
                    ๔.๖ สมาธิสัมโพชฌงค์ ...
                    ๔.๗ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ...
             ดังนี้ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง ...
             พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง ...
             มีสติรู้ว่า สักเป็นแต่เพียงธรรม ...
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=โพชฌงค์

๕. อริยสัจ ๔ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=พระธรรมเทศนาขั้นสุดยอด&detail=on
                    ๕.๑  ทุกขอริยสัจ (ทุกข์ / ทุกขสัจจะ) ได้แก่
                    - ชาติ คือ ความเกิด ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบของสัตว์
                    - ชรา คือ ภาวะความแก่
                    - มรณะ คือ ความเคลื่อน ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความขาด
แห่งชีวิตินทรีย์
                    - โสกะ คือ ความเศร้าโศก                 - ปริเทวะ คือ ความคร่ำครวญ
                    - ทุกข์ คือ ความลำบากกาย  - โทมนัส คือความทุกข์ทางจิต  
                    - อุปายาส คือ ความคับแค้น - ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก  
                    - ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก   - ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ก็เป็นทุกข์
             โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์
             (อุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

                    ๕.๒ ทุกขสมุทัยอริยสัจ  (สมุทัย / สมุทัยสัจจะ) สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่
             ตัณหา 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ตัณหา_3
             ตัณหาเกิดและตั้งอยู่ที่
             ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ - รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ -
             จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ -
             จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส -
             จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา -
              รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา -
              รูปสัญเจตนา สัททสัญเจตนา คันธสัญเจตนา รสสัญเจตนา โผฏฐัพพสัญเจตนา
ธัมมสัญเจตนา -
              รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา -
              รูปวิตก สัททวิตก คันธวิตก รสวิตก โผฏฐัพพวิตก ธัมมวิตก -
              รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร

             ๕.๓ ทุกขนิโรธอริยสัจ (นิโรธ / นิโรธสัจจะ) คือ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป คือ นิพพาน
             ละและดับตัณหาได้ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ... รูปวิจาร สัททวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร
โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร

             ๕.๔ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (มรรค / มัคคสัจจะ) คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
คือ มรรคมีองค์ ๘
//84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=มรรคมีองค์_8
                  - สัมมาทิฏฐิ ได้แก่ ความรู้ในอริยสัจ ๔
                  - สัมมาสังกัปปะ ได้แก่ ความดำริในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท
ความไม่เบียดเบียน
                  - สัมมาวาจา ได้แก่ การงดเว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
                  - สัมมากัมมันตะ ได้แก่ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
                  - สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพที่ชอบ
                  - สัมมาวายามะ คือ เกิดฉันทะพยายาม ปรารภความเพียร ตั้งจิตไว้เพื่อมิให้อกุศลธรรม
อันชั่วช้าที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันชั่วช้าที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่
เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่งๆ ขึ้นไปแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว
                 - สัมมาสติ ได้แก่เห็นกายในกาย ... เวทนา ... จิต ... ธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
                 - สัมมาสมาธิ คือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุรูปฌาน ๔ ตามลำดับ
            ดังนี้ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
             พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้น ความเสื่อม ทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมในธรรม
             มีสติรู้ว่า สักเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา อย่าให้ตัณหาและทิฐิมาอาศัย
ไม่ถือมั่นอะไรๆ (รูป...วิญญาณ) ในโลก

             องค์ต่างๆ ในสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ อานาปานสติ ... สัจจะ ๔ แจกแจงโดยอริยสัจ ๔ ได้
ดังนี้คือ
             สติที่กำหนดลมอัสสาสปัสสาสะเป็นอารมณ์ ... สติที่กำหนดสัจจะ๔ เป็นอารมณ์ เป็นทุกขสัจ
             ตัณหาก่อนๆ นี้อันยังทุกขสัจให้เกิดขึ้น เป็นสมุทัยสัจ
             การหยุดทุกขสัจและสมุทัยสัจทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ
             อริยมรรคที่กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัยมีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ
             ผู้ที่ขวนขวายในสัจจะ ๔ ย่อมบรรลุพระนิพพาน

             กายานุปัสสนา เป็นรูปกัมมัฏฐาน
             เวทนานุปัสสนาและจิตตานุปัสสนา เป็นอรูปกัมมัฏฐาน
             ธัมมานุปัสสนา ผสมกันระหว่างกัมมัฏฐานทั้งสอง

อานิสงส์ของการเจริญสติปัฏฐาน ๔ (สำหรับเวไนยบุคคลปานกลาง)
             ถ้าเจริญสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ ปี ได้อานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้คือ
             ๑. จะบรรลุพระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือ
             ๒. ถ้ายังมีกิเลสเหลืออยู่ จะบรรลุพระอนาคามิผล

             ถ้าเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ อย่างนี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ...๒ ปี ... ๑ ปี
... ๗ เดือน ... ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ...
กึ่งเดือน ... ๗ วัน ก็ได้ผลดัง ๒ ข้อนี้เช่นกัน

             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
             หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ (เอกายนมรรค)
             ดังนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค

[แก้ไขตาม 14-59]

ความคิดเห็นที่ 14-59
ฐานาฐานะ, 5 กุมภาพันธ์ เวลา 18:52 น. 

GravityOfLove, 21 ชั่วโมงที่แล้ว
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             ๑. มูลปริยายวรรค
             ๑๐. สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
//www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1754&Z=2150&bgc=lavender
...
12:12 4/2/2556

             ย่อความได้ดีครับ จับประเด็นได้ครบถ้วนดี เหมือน #125
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2012/05/Y12045944/Y12045944.html#125

             ผู้ที่ขวนขวยในสัจจะ ๔ ย่อมบรรลุพระนิพพาน
แก้ไขเป็น
             ผู้ที่ขวนขวายในสัจจะ ๔ ย่อมบรรลุพระนิพพาน

             - สัมมาสติ ได้แก่เห็นกายในกาย .. เวทนา ... จิต ... ธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
แก้ไขเป็น
             - สัมมาสติ ได้แก่เห็นกายในกาย ... เวทนา ... จิต ... ธรรม มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก

             คำถามในสติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1754&Z=2150&bgc=lavender
             พระสูตรนี้ และมหาสติปัฏฐานสูตร ว่าโดยพระไตรปิฎก
เนื้อความคล้ายกันมากจนกระทั่งเรียกได้ว่า พระสูตรเดียวกัน.
//84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6257&Z=6764

             คำถามคือ ในส่วนของอรรถกถา มีการแปลที่ต่างกันอยู่
             ขอให้แจกแจงข้อแตกต่างกันของอรรถกถาทั้งสองพระสูตรนี้.

ความคิดเห็นที่ 14-60
GravityOfLove, 5 กุมภาพันธ์ เวลา 20:49 น.

ขอบพระคุณค่ะ
เพิ่มเติม แก้ไข
จาก
๒. [uอุปาทานขันธ์ ๕

แก้ไขเป็น
๒. อุปาทานขันธ์ ๕
-----------------------
             คำถามคือ ในส่วนของอรรถกถา มีการแปลที่ต่างกันอยู่
             ขอให้แจกแจงข้อแตกต่างกันของอรรถกถาทั้งสองพระสูตรนี้.
             ๑. ตอนจบของอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร  ระบุจำนวนภิกษุที่บรรลุอรหัตผล ๓๐,๐๐๐ รูป
             ในเวลาจบเทศนา ภิกษุสามหมื่นรูปดำรงอยู่ในพระอรหัตแล.
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10.0&i=273&p=6

ตอนจบของอรรถกถาสติปัฏฐานสูตรไม่ได้ระบุ
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=131&p=6

ความคิดเห็นที่ 14-61
ฐานาฐานะ, 6 กุมภาพันธ์ เวลา 11:13 น.

GravityOfLove, 13 ชั่วโมงที่แล้ว
...
20:48 5/2/2556

             ตอบคำถามได้ดีครับ
             แต่ยังจะมีส่วนอื่นๆ อีกที่แตกต่างกันในส่วนของอรรถกถาทั้งสอง
             เช่น อรรถกถาสติปัฏฐานสูตรมีเรื่องพระเจ้ามันธาตุราช,
ที่มาของคำว่า กัมมาสธัมมะ, สัมปชัญญะ_๔,
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=131&p=1
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=131&p=3#สัมปชัญญะ_๔ #สัมปชัญญะ_๔

             อรรถกถามหาสติปัฏฐานมีเรื่องอธิบายบทภาชนะ ในสัจจบรรพ
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10.0&i=273&p=6#อธิบายบทภาชนะ

ความคิดเห็นที่ 14-62
GravityOfLove, 6 กุมภาพันธ์ เวลา 11:35 น.

ขอบพระคุณค่ะ
เทียบจนมึนเลยค่ะ เมื่อวาน

ความคิดเห็นที่ 14-63
ฐานาฐานะ, 6 กุมภาพันธ์ เวลา 17:36 น.

             เป็นอันว่า พระสูตรชื่อว่า สติปัฏฐานสูตร จบบริบูรณ์.
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=1754&Z=2150

             พระสูตรหลักถัดไป คือจูฬสีหนาทสูตรและมหาสีหนาทสูตร.
             พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
             มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
             จูฬสีหนาทสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=2151&Z=2295
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=153

             มหาสีหนาทสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งการบันลือสีหนาท
//84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=2296&Z=2783
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
//84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=159

ความคิดเห็นที่ 14-64
GravityOfLove, 6 กุมภาพันธ์ เวลา 18:39 น.

             คำถาม อรรถกถาจูฬสีหนาทสูตร
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=153&bgc=lavender

             บทว่า ปปญฺโจ นั้น เป็นชื่อของตัณหาทิฏฐิและมานะ อันเป็นไปแล้วโดยความเป็นอาการของผู้มัวเมาและผู้ประมาทแล้ว. ก็ในที่นี้ ท่านประสงค์เฉพาะตัณหาและทิฏฐิเท่านั้น. กิเลสอย่างเดียวเท่านั้นมาแล้วในฐานะ ๕ ว่าของผู้มีราคะเป็นต้น พึงทราบอาการและความเป็นต่างๆ ของกิเลสนั้น.
              ก็ท่านถือเอากิเลสด้วยอำนาจราคะที่เจือด้วยกามคุณห้าในที่ท่านกล่าวว่า สราคสฺส. ถือเอากิเลสด้วยอำนาจภวตัณหาในบทว่า สตณฺหสฺส. ถือเอากิเลสด้วยอำนาจการยึดถือในบทว่า สอุปาทานสฺส. ถือเอากิเลสด้วยอำนาจคู่ในบทว่า อนุรุทฺธปฏิวิรุทฺธสฺส. ถือเอากิเลสด้วยอำนาจการแสดงความเกิดขึ้นของกิเลสเครื่องเนิ่นช้าในบทว่า ปปญฺจรามสฺส.
              อีกอย่างหนึ่ง ถือเอากิเลสด้วยอำนาจอกุศลมูลในบทนี้ว่า สราคสฺส. ถือเอากิเลสด้วยอำนาจอุปาทาน เพราะตัณหาเป็นปัจจัยในบทนี้ว่า สตณฺหสฺส.

ขอบพระคุณค่ะ

             การสนทนาธรรมนี้ย้ายไปที่ :-
             8. พระสูตรหลักถัดไป คืออากังเขยยสูตรและวัตถูปมสูตร.
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=thanathana&month=12-03-2013&group=2&gblog=8




Create Date : 12 มีนาคม 2556
Last Update : 12 มีนาคม 2556 19:39:55 น.
Counter : 1005 Pageviews.

0 comments

ฐานาฐานะ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มีนาคม 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog