|
|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 | |
|
 |
|
วิธีรักษา โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก |
|
ในปี 2563 ขั้นตอนการรักษานั้นมีหลากหลายวิธี โดยจะมีแนวทางการรักษาไปตามระยะของโรค ประกอบกับดูในเรื่องของสุขภาพร่างกายของผู้ป่วยด้วย โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ มีวิธีการรักษาดังนี้
 การเฝ้าระวัง หากผู้ป่วยตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และแพทย์คาดการณ์ว่าเซลล์มะเร็งเติบโตอย่างช้าๆ รวมถึงอาการของผู้ป่วยเองไม่ได้บ่งบอกว่ามีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันจะไม่จำเป็นจะต้องรักษาโดยทันที แต่ในช่วงของการเฝ้าระวังนี้ ย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้นเช่นกัน ฉะนั้นจึงควรเข้ารับการตรวจค่า PSA และการตรวจด้วยวิธีอื่นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอประมาณ 3-4 ครั้ง/ปี และควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
การผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด เป็นการผ่าตัดเพื่อเอาต่อมลูกหมากที่เป็นมะเร็ง เนื้อเยื่อรอบๆ รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด ซึ่งวิธีนี้จะใช้รักษาผู้ป่วยในระยะที่คาดว่ามะเร็งจะเริ่มออกจากต่อมลูกหมาก แต่ยังไม่ลามไปถึงต่อมน้ำเหลือง ที่สำคัญจะต้องดูเรื่องของสภาพร่างกายของผู้ป่วยร่วมด้วย โดยทั่วไปจะทำการรักษาด้วยการผ่าตัดในช่วงอายุไม่เกิน 70 ปี จะสามารถหวังผลให้หายขาดได้ และวิธีการผ่าตัดมีหลายวิธี อาทิ
การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง (Open radical prostatectomy : ORP) วิธีแรกเริ่มของการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก มีข้อดีคือสามารถเลาะต่อมน้ำเหลืองออกได้ง่ายกว่า แพทย์ทั่วไปที่มีความชำนาญสามารถทำการผ่าตัดได้ง่ายกว่า แต่ผู้ป่วยจะเจ็บแผลค่อนข้างมาก แผลใหญ่และหายช้า
การผ่าตัดเเบบส่องกล้อง (Laparoscopic radical prostatectomy : LRP) เป็นที่นิยมมากกว่าการเปิดหน้าท้อง เพราะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยน้อยกว่า โดยผู้ป่วยจะไม่เจ็บตัวมากนัก ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น มีผลข้างเคียงน้อยกว่า และมีแผลผ่าตัดขนาดเล็กบริเวณใต้สะดือ ที่สำคัญคือผลของการรักษามักออกมาดีกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง แต่จะต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทำการผ่าตัดผ่านจอมอนิเตอร์ และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง
การผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านอวัยวะเพศ (Transurethral Resection of the Prostate : TURP) เป็นวิธีที่ใช้เวลาผ่าตัด และผู้ป่วยเองฟื้นตัวเร็ว ไม่เกิน 3-4 วัน หลังการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดลักษณะนี้สามารถรักษาโรคอื่นๆ เกี่ยวกับต่อมลูกหมากได้อีก เช่น โรคต่อมลูกหมากโต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น โดยจะใช้เครื่องมือรีเซคโทสโคป (Resectoscope) ที่มีลักษณะเป็นแท่งโลหะบางและยาว ปลายแท่งมีไฟ กล้อง และขดลวด เพื่อสอดเข้าไปในท่อปัสสาวะเข้าสู่บริเวณต่อมลูกหมาก แล้วจึงปล่อยกระแสไฟฟ้าแบบประจุเดี่ยว ซึ่งมีความปลอดภัยสูง ไปทำความร้อนที่ขดลวดตรงปลายท่อ แล้วตัดหรือขูดชิ้นส่วนต่อมลูกหมากออก แต่วิธีนี้จะสามารถทำได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยหลังจากผ่าตัดผู้ป่วยยังคงต้องคาสายสวนปัสสาวะอีก 2-3 วัน เพื่อรอให้ปัสสาวะได้เองตามปกติ
การผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด(Robotic-assisted laparoscopic prostatectomy : RALP) เป็นการผ่าตัดโดยใช้แขนกลหุ่นยนต์ที่ควบคุมโดยแพทย์ วิธีนี้คือวิธีที่ผู้ป่วยเจ็บตัวน้อย และใช้เวลาพักฟื้นเร็วที่สุดด้วยเช่นกัน ที่สำคัญคือจะได้รับผลกระทบหลังจากผ่าตัดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบอื่นๆ เช่น อวัยวะเพศสามารถแข็งตัวได้ตามปกติ ควบคุมการกลั้นปัสสาวะได้ดีกว่าหลังผ่าตัด แต่สำหรับการรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องให้แพทย์พิจารณาถึงความเหมาะสมเป็นรายคนไป
ขอบคุณที่มา https://thaiprostatecancer.com
อ่าน วิธีรักษา โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เพิ่มเติม >>
Create Date : 05 พฤษภาคม 2563 |
Last Update : 5 พฤษภาคม 2563 14:59:19 น. |
|
0 comments
|
Counter : 319 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|