your enjoyable TENTarized knowledge :)
เข้าไปถามคำถามในเฟซบุคที่จะสะดวกตอบกว่านะ ^^
<<
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
25 ตุลาคม 2552

Q&A: ถามคำถามในบทเรียน

หน้านี้เอาไว้ถามคำถามชีววิทยาม.ปลายนะครับ
ข้อสอบที่โรงเรียน ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ข้อสงสัยในวิชาชีววิทยาต่างๆ
ไม่ช่วยทำการบ้านให้นะ, ไม่ตอบคำถามที่ไม่ได้คิดมาก่อนด้วย

ถ้าว่าง (ซึ่งไม่ค่อยว่าง) จะเข้ามาตอบให้นะครับ
บางอย่างถ้าไม่รู้ จะบอกว่าไม่รู้นะ (55+) เพราะไม่ได้เก่งขนาดนั้นอะ ^^"
ถ้าอันไหนพี่อยากรู้ไปด้วยจะพยายามค้นมาให้ละกันนะ

เต๊น



Create Date : 25 ตุลาคม 2552
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2552 20:28:28 น. 188 comments
Counter : 16748 Pageviews.  

 
พี่เต๊นขอถามอะไรหน่อยนะคะ

คือว่ามีข้อสอบ PAT2 ข้อหนึ่งอยากจะถามพี่อ่ะค่ะ
ถามว่า...
การลำเลียง Na+ และ K+ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทขณะถูกกระตุ้นจะเกิดโดยวิธีใด
คือหนูตอบว่าแพร่ธรรมดาอ่ะค่ะ แต่สทศ เฉลยว่าแพร่แบบฟาซิลิเทต

หนูก็เลยงงว่าทำไมมันเป็นฟาซิลิเทต
แล้วก็ไม่มีหนังสือเล่มไหนบอกรายละเอียดเลย

หนูอยากจะบอกว่าหนูอ่านของพี่เต๊นจบเล่มแล้วด้วย อิอิ
ขออ้างอิงเนื้อหาหน้า 127 นะคะ

คือพี่เต๊นบอกแค่ว่า เมื่อมีสิ่งกระตุ้น จะทำให้ Na+ แพร่เข้าเซลล์

หนูก็เลยไม่รู้ว่า แพร่แบบธรรมดาหรือฟาซิลิเทต

คือหนูอยากจะถามพี่เต๊นว่า
"ทำไมเมื่อมีสิ่งกระตุ้น การลำเลียง Na+ และ K+ ถึงเป็นแพร่แบบฟาซิลิเทต"

ขอบคุณค่ะ

คือหนูคิดมาตลอดเลยว่าเป็นการแพร่แบบธรรมดา เพียงแต่ว่าเร็วขึ้นหน่อย แต่ไม่น่าจะใช่ฟาซิลิเทตแบบที่ สทศ เฉลยเพราะว่าแบบนั้นมันต้องเป็นช่องโปรตีนไม่ใช่หรอ เกี่ยวอะไรกับช่อง Na+ และ K+ ด้วย

ถ้าหนูเข้าใจอะไรผิดก็ขอให้พี่เต๊นช่วยอธิบายด้วยนะคะขอบคุณมากๆค่าๆๆๆๆๆๆๆ



โดย: เกตุ IP: 203.155.228.201 วันที่: 8 ตุลาคม 2552 เวลา:16:25:53 น.


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 25 ตุลาคม 2552 เวลา:10:51:44 น.  

 
- เรื่องข้อสอบ PAT
ต้องเข้าใจก่อนว่า คำว่า facilitated diffusion กับการเคลื่อนที่ของไอออนผ่าน ion channel นั้น
textbook แต่ละเล่มให้คำนิยามไว้ไม่เหมือนกัน
บางเล่มบอกว่ามันเป็น facilitated แต่บางเล่มบอกว่าเป็น simple diffusion
พี่จะยึดหนังสือสสวท.(เล่มมด) ซึ่งบอกว่า การเคลื่อนของ ion ผ่าน ion channel นั้นเป็น simple diffusion
และการเคลื่อนที่ของสารผ่านช่องที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอำนวยความสะดวก เป็น facillitated diffusion
แต่ข้อนี้เฉลยถูกแล้วครับ ..ซึ่งพี่จะขออธิบายเพิ่มจากหลักสูตรม.ปลายดังนี้
ion channel แบ่งเป็น 2 อย่าง
1. ungated (leakage) ion channel คือช่องที่เปิดไว้ตลอดเวลา นั่นคือเวลา Na+ เข้าเซลล์, K+ ออกเซลล์ตลอดเวลา ก็ผ่านช่องนี้
ลักษณะของช่องนี้ให้นึกว่าเป็นรูโบ๋ๆไปเลย ไอออนวิ่งเข้าออกตามความต่างศักย์และความเข้มข้นไปเรื่อยๆ ในหนังสือเรียนถือว่าเป็น simple diffusion ครับ
2. gated ion channel คือช่องที่เปิด/ปิดเมื่อได้รับการกระตุ้น เช่น เมื่อศักย์ไฟฟ้าถึง threshold แล้ว gated ion channel ของ Na+ จะพร้อมใจกันเปิด (นั่นจึงทำให้ Na+ พรูเข้ามาในเซลล์เกิด depolarization นั่นเอง), หรือเมื่อมี acetylcholine (ACh) ไปเกาะที่ postsynaptic neuron จะทำให้ช่องไอออนบางอย่างเปิด/ปิด
ทั้งสองกรณีนี้ threshold potential และ ACh คือตัวกระตุ้นครับ
ที่น้องต้องรู้ (แต่หลักสูตรไม่ได้บอก) คือ gated channel มันนำแบบ facilitated ครับ เพราะมันไม่ได้เป็นแค่รูโบ๋ๆ แต่เมื่อมีสิ่งกระตุ้น โครงสร้างโปรตีนจะเปลี่ยนแปลงรูปร่าง เวลาไอออนมันแพร่ผ่านก็จะเกิดแรงต่างๆในโปรตีนมากมาย จนท้ายสุดไอออนก็หลุดออกมาที่ด้านหนึ่ง
สรุปคือน้องเกตุต้องทำความเข้าใจใหม่ว่า Na+ ที่แพร่เข้ามาก่อน threshold กับหลัง threshold นั้นใช้ channel ไม่เหมือนกันเลยนะครับ กลไกก็ต่างกัน (คือ simple แล้ว facillitated, อ้างอิงหนังสือเรียน)
พี่ว่าที่เค้าไม่อธิบายในหนังสือเรียน+ในเฉลย เพราะมันค่อนข้างซับซ้อนนะเนี่ย
เด็กๆจะรู้แค่ว่า เมื่อศักย์ถึง threshold ประตูNa+ จะเปิดเยอะๆ เท่านั้นเอง -*-


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 25 ตุลาคม 2552 เวลา:10:52:13 น.  

 
รบกวนช่วยอธิบาย เรื่อง Barr body ให้หน่อยนะครับพี่ เต็นท์ ^^ ขอบคุณครับ...



โดย: ภีม IP: 58.9.56.134 วันที่: 25 ตุลาคม 2552 เวลา:5:53:29 น.


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 25 ตุลาคม 2552 เวลา:10:54:57 น.  

 
เอามาจากไหนหว่า สมัยม.ปลายพี่ไม่เห็นรู้จักเลย 55

ในเพศหญิงมันมีโครโมโซม X สองอันใช่ไหม
ทีนี้ในแต่ละเซลล์มันมีแค่ X เดียวก็แสดงออกได้แล้ว
ขณะเกิดเซลล์ต่างๆเซลล์จะผ่านกระบวนการที่เรียกว่า
X inactivation เหมือนกับปิดหูปิดตาแท่งหนึ่งไว้ซะจะได้ไม่แสดงออก
กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างสุ่มกับ X แท่งใดแท่งหนึ่งเรียก Lyon hypothesis
X แท่งนั้นจะกลายเป็นซากที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้เรียก Barr body
มักมองเห็นในเซลล์ neutrophil เป็นโครงสร้างเรียก drumstick
ดังนั้น neutrophil drumstick จึงเป็นโครงสร้างที่พบเฉพาะในเพศหญิงนั่นเอง (ลูกศรชี้)



โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 25 ตุลาคม 2552 เวลา:10:57:18 น.  

 
ขอบคุณนะครับ


โดย: ภีม IP: 58.9.232.24 วันที่: 25 ตุลาคม 2552 เวลา:23:20:28 น.  

 
รบกวนอีกนิดนะคร้าบ....

Bombay blood group พี่ครับ ผมไม่ทราบว่ามันมายังไง
เอาแค่นี้ก่อนนะครับ เกรงใจ...


โดย: ภีม IP: 58.9.74.59 วันที่: 26 ตุลาคม 2552 เวลา:18:39:06 น.  

 
ถามยากอีกแล้วนะ 55+

bombay blood group เกี่ยวกับ H antigen
H antigen มีหน้าที่เอา antigen A และ antigen B ไปอยู่ที่ผิวเซลล์

AAH_ : กรุ๊ปเอ มี antigen A, antigen H
AOH_ : กรุ๊ปเอ มี antigen A, antigen H
BBH_ : กรุ๊ปบี มี antigen B, antigen H
BOH_ : กรุ๊ปบี มี antigen B, antigen H
ABH_ : กรุ๊ปเอบี มี antigen A, antigen B, antigen H
แต่เมื่อใดก็ตามที่เป็น hh ไม่ว่า ABO จะเป็นยังไง จะไม่มี H antigen สำหรับเอา antigen A และ B ไปอยู่ที่ผิวเซลล์
ทำให้เรียกว่า O bambay
AA, AO, BB, BO, AB, AB, OO ตัวไหนก็ตามถ้าเป็น hh เรียกหมู่เลือดโอบอมเบย์หมด

ถ้าเกิดพ่อโอ แม่เอ ลูกจึงอาจเป็นเอบี, หรือบีได้ ถ้าเกิดพ่อเป็นบอมเบย์
หมู่เลือดนี้รับเลือดจากใครไม่ได้เลย (เพราะคนปกติเขามี antigen H กัน ถ้ารับมั่วอาจสร้าง antibody ต่อ H เป็นอันตรายได้)
จึงรับได้จากโอบอมเบย์ด้วยกันเท่านั้น
ซึ่งในไทยมีคนหมู่นี้ไม่ถึง 100 คน ส่วนใหญ่เป็นประชากรแขก จึงลำบากในการหาเลือดมาก


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 26 ตุลาคม 2552 เวลา:22:17:14 น.  

 
ขอบคุณครับพี่.....

งงว่าทำไมถึงไม่มีในบทเรียนเนอะครับ แบบนี้ถ้าพี่ไม่บอกคงไม่รู้เลย

ขอบคุณจากใจจริงนะครับ .. ต้องให้พี่ช่วยอยูเรือยเลย :-)


โดย: ภีม IP: 58.9.65.15 วันที่: 26 ตุลาคม 2552 เวลา:22:44:29 น.  

 
เค้าคงคิดแล้วมั้งว่ามันคงยากไป

ไม่เหมาะกับเนื้อหา ม.ปลาย


โดย: เอ่อ IP: 110.49.118.242 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2552 เวลา:0:42:46 น.  

 
อืม.....


โดย: ภีม IP: 58.9.65.165 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2552 เวลา:17:34:09 น.  

 
พี่ครับ....ผมสงสัยว่า การในกระแสไฟฟ้าใน dendrite อ่ะครับ จำเป็นต้องเป็นรูปแบบ ...แบบ ม. ปลายเสมอเหรอไม่อ่ะครับ ผมคิดว่าน่าจะมีได้หลายแบบนะครับ....

ปล.รู้สึกบางอันไม่สอดคล้องกับ all or none หรือเปล่าไม่แน่ใจ ^^

ขอบคุณครับ


โดย: ภีม IP: 58.9.65.165 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2552 เวลา:17:36:33 น.  

 
action potential มีหลายแบบแน่นอนครับ
เป็นกระแสไฟที่เกิดขึ้นในเซลล์ที่กระตุ้นได้ (excitable cell) เช่นเซลล์ประสาท เซลล์กล้ามเนื้อ
ที่เรียนในม.ปลายเป็นของเซลล์ประสาทครับ
ถ้าเกิดไปดูของเซลล์ pacemaker ที่หัวใจ (ที่ทำให้หัวใจเต้นได้) หรือที่เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ (แต่ละอวัยวะก็ไม่เหมือนกัน) จะไม่ใช่รูปอย่างที่เคยเรียนครับ
กลไกก็ไม่ได้มี 4 phase เหมือนที่น้องรู้ และช่องไอออนก็ทำงานแตกต่างกันด้วย
ส่วนใน dendrite มีหลายรูปแบบรึเปล่า พี่ไม่แน่ใจอะ (ไม่มีเวลาค้นให้ด้วย ;P)
แต่พี่คิดว่าน่าจะเป็นแบบในม.ปลายทั้งหมด
หรือไม่งั้นก็เป็นข้อยกเว้นที่ไม่ต้องใส่ใจอะไรเลยครับ
(เช่นแบบ เกิดขึ้นเฉพาะเซลล์ bd%#s ในสมองส่วน ifms^*d ไรเงี้ย)



โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 5 พฤศจิกายน 2552 เวลา:21:20:37 น.  

 
ขอบคุณครับพี่....


...อันนี้ขอถามอีกนะพี่...คือ wiki ไรงี้มันช่วยไม่ได้จริงๆๆ
คือ per capita population growth rate หาไงครับ ...

ผมไม่ทราบสูตรอ่ะ ^^

ปล.ไม่ว่างไม่เป็นไรนะครับ


โดย: ภีม IP: 58.9.65.215 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2552 เวลา:0:14:13 น.  

 
พี่เต๊นเมื่อกี้หนูสอบเทคนิคการแพทย์ มธ มาค่ะ
ขอถามชีวะ 2 ข้อ

1) การเกิด Reflex action ขึ้นอยู่กับอะไรมั่ง
a. จำนวนไซแนปส์
b. ระยะห่างโนดออฟเรนเวียร์
c. ขนาดของแอคชั่นโพเทนเชียล

1. a b
2.
3.
4. a b c

หนูไม่มั่นใจช้อยส์ 1 กับ 4 ค่ะ
คือว่าพี่เต๊นบอกว่าความแรง(แอมพลิจูด)ของแอคชั่นโพเทนเชียลไม่มีผล แต่ความถี่มีผล!
หนูก็เลยงงว่า ขนาดของแอคชั่นโพเทนเชียล ในช้อยส์ที่มันให้มาเนี่ย มันหมายความว่า ความแรงหรือความถี่อ่ะคะ?

2) กลั้นหายใจแล้วเกิดอะไรขึ้น?
1. เลือดเป็นกรด เฮโมโกบินจับออกซิเจนลดลง
2.
3. เลือดเป็นกรด เฮโมโกบินจับออกซิเจนเพิ่มขึ้น
4.

หนูคิดว่าข้อ 3 อ่ะ เพราะว่าเฮโมโกบินก็ต้องเพิ่มการลำเลียงออกซิเจนเพื่อไม่ให้เลือดเป็นกรดเกินไป แต่หนูก็ไม่แน่ใจเพราะว่าเฮโมโกบินจะเอาออกซิเจนที่ไหนมาลำเลียง?(ในหนังสือพี่เต๊นไม่ได้พูดถึงเฮโมโกบินตอนกลั้นหายใจเลยอ่ะค่ะหนูก็เลยถามในนี้ดีกว่า - -)


โดย: เกตุ IP: 124.121.12.14 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2552 เวลา:17:15:50 น.  

 
# น้องภีม
อัตราการเจริญปชก. = อัตราการเจริญต่อหัว x จำนวนประชากร
dN/dt = per capita pop growth rate x N
โดยที่ per capita growth rate ของ
1. exponential growth มีค่าเท่ากับ rmax
2. logistic growth มีค่าเท่ากับ rmax x [(K-N)/K]
ซึ่ง rmax คือ intrinsic rate of increase
N = pop size, t = time, K = carrying capacity
พอได้ไอเดียไป search ต่อนะ,, อ่านใน campbell ก็ได้

# น้องเกตุ
ตอบข้อ 1. เพราะ ความแรง = ขนาด = แอมพลิจูด
ขนาดกับความถี่ยังไงๆก็ไม่น่าอันเดียวกันอยู่แล้วนะ -*-
ข้อต่อมาตอบ 1. จริงๆมันเกินหลักสูตร
แต่ใช้ common sense ได้ว่าถ้าเกิดขาดอากาศ Hb ต้องจับ O2 ได้ลดลงเพื่อปล่อย O2 ให้เนื้อเยื่อมากขึ้น
ค้นคำว่า oxygen dissociation curve, Bohr effect ดู


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 7 พฤศจิกายน 2552 เวลา:20:24:25 น.  

 
พี่เต๊น ข้อสอบ GAT PAT ครั้งที่ 3 ออกแล้วค่ะ

หนูขอถาม PAT2 ข้อที่ 6 ค่ะ

//img132.imageshack.us/img132/833/89430741.jpg

ช้อยส์ 1 กับ 2 เหมือนกันเด๊ะเลยอ่ะพี่เต๊น
หนูไม่รู้นะว่าเขาจงใจหรือเปล่า โทรถาม สทศ แล้ว
เขาก็บอกว่าไม่รู้เรื่องไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น!

หนูคิดว่าตอบ 4. อ่ะ เพราะว่าช้อยส์ 1 กับ 2 สามารถจับข้างล่างได้
ส่วนช้อยส์ 3 เมื่อกลับด้านแล้ว ก็จับข้างบนได้ได้

ไม่รู้ว่าหนูคิดถูกเปล่าอ่ะพี่เต๊น ?


โดย: เกตุ IP: 203.155.226.17 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา:14:56:28 น.  

 
ใช่แล้วครับ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา:16:31:19 น.  

 
พี่เต๊นคือหนูจะบอกว่า
มีคนบอกหนูว่า
ช้อยส์ 3 ผิดอ่ะ! เพราะ

ช้อยส์ 3 ถ้าจะจับกับสายบน
เบสตัวที่ 4 นับจาก 5' นั้นต้องเป็น T ไม่ใช่ G
ตัวที่ 5 ก็ต้องเป็น G ครับ ไม่ใช่ T

หนูก็ลองเขียนออกมาดู ที่คนนั้นบอกก็ถูกอ่ะ หนูว่าหนูผิด
ตกลงก็ต้องตอบช้อยส์ 1 กับ 2 อ่ะ

พี่เต๊นลองดูอีกทีให้หน่อย - -


โดย: เกตุ IP: 203.155.229.100 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา:23:07:40 น.  

 
//img27.imageshack.us/img27/6820/91992640.jpg

อันนี้หนูลองโยงเองอ่ะ (ไม่รู้ว่าจะงงหรือเปล่า)
ตกลงใครถูกอ่ะพี่เต๊น?


โดย: เกตุ IP: 203.155.229.100 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2552 เวลา:0:00:18 น.  

 
พี่เต๊นตอบผมหน่อยนะ

ผมสงสัยจริงๆว่า การสลาย Acetyl COA.
เมื่อเข้าสู่ว.เครบส์ 1โมเลกุล มันจะได้กี่ ATP

ของพี่เต๊นเฉลยว่าได้ 11 ATP
ถ้าแยกดูแล้วมันจะได้ 3 NADH=9ATP
1 FADH=2 ATP

แต่ที่ผมไปเปิดสมุดตอน ม.ปลาย แล้วก็ที่เรียนพิเศษ
มันจะได้ 12 ATPอ่ะครับ
เพราะเขานับอีก 1 ATP ที่มันหลุดมาตอนเข้าเครบส์ด้วยอ่ะครับ

ก็เลยสับสนว่าตกลง 11 หรือ 12 กันแน่ รบกวนทีนะครับ
ขอบคุณมากๆๆ


โดย: มีมี่ IP: 114.128.115.134 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2552 เวลา:15:32:58 น.  

 
ถึง คุณ มีมี่....

มันยังได้ ATP อิสระ 2 ATP (ที่แปลงมาจาก GTP )อ่ะ....
ในขั้นจาก succinyl CoA เป็น Succinic acid ไงครับ
(ในการวน kreb 2 รอบนะ)
พอหาร 2 เลยเพิ่มมาอีก 1 ATP ไงครับ



โดย: ภีม IP: 58.9.60.231 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:8:25:54 น.  

 
# น้องเกตุ ใช่แล้ว ครั้งแรกพี่ดูผิดไป
ข้อ 3 ผิดนะครับ มันต้องสลับ 5' เป็น 3' นะถึงจะถูก
ตอบ 1. กับ 2. อะ

# น้องมีมี่
acytyl CoA เข้า kreb's cycle 1 ครั้งได้
9 ATP จาก 3 NADH (oxidative)
2 ATP จาก FADH2 (oxidative)
1 ATP จากการเปลี่ยน succinyl CoA เป็น succinate (substrate-level)
ถ้าเกิดนับทั้งหมดจึงเป็น 12 ATP ต่อ 1 acetyl CoA
แต่โจทย์ของพี่อะ มันถามว่า "จากการถ่ายทอดอิเล็กตรอน" นะครับ
นั่นคือนับเฉพาะที่วงเล็บไว้ว่า oxidative นะ เลยเป็น 11 ไง


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:9:49:23 น.  

 
ข้อสุดท้ายค่ะ
ข้อ 28.
//img101.imageshack.us/img101/4278/44819416.jpg
ข้อนี้หนูสงสัยค่ะว่า
- ไทลาคอยด์ที่สมบูรณ์ หมายความว่าอย่างไร?
- ทำไมต้องใส่ในกรด ในเบสอ่ะ ต้องการวัดอะไร?
- สารละลาย เป็นตัวแทน stroma ใช่มั้ยคะ?

หนูคิดว่าตอบช้อย 1 กลูโคส
คือตอนที่ใส่กรดอ่ะ มันมีแสงน่าจะเป็น light reaction
ในเยื่อไทลาคอยด์ ทำให้เกิด NADPH + ATP
ส่วนตอนที่ใส่เบส แต่มืด หนูคิดว่าเกิด calvin cycle ที่ stroma
ตอนสุดท้ายเกิดเป็นน้ำตาล PGAL
หนูก็เลยคิดว่า ตอบกลูโคส อ่ะค่ะ
เพราะสมการมันเป็น C6H12O6 อ่ะ น่าจะใช่

พี่เต๊นเฉลยให้หน่อยค่ะ


โดย: เกตุ IP: 124.121.10.140 วันที่: 21 พฤศจิกายน 2552 เวลา:1:01:41 น.  

 
Wowwww!!!กรี๊ด

กระจ่างแล้วครับพี่เต๊น
แหม สะเพร่าจริงๆ ไม่อ่านให้รอบคอบ

ยังไงก็ขอบคุณจริงๆนะค๊า
ผมจะไม่สับสนการทำข้อสอบเหมือนสับสนเพศตัวเองอีกแร้นน


โดย: มีมี่ IP: 112.142.80.40 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2552 เวลา:15:36:16 น.  

 
พี่ครับวานถามหน่อยครับ...........

ทานนมมากๆๆเกินไปแล้ว....จะทำให้ตัวไม่สูงขึ้นเท่าที่ควรใช่ไหมครับ

มันไปรบกวนสมดุลของฮอร์โมนใช่ไหมครับ


โดย: ภีม IP: 58.9.75.53 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2552 เวลา:16:25:11 น.  

 
พี่ครับ มีข้อสอบ IJSO เคยถามว่า
กลุ่มสิ่งมีชีวิตข้อใด ที่มีเซลล์โปรคาริโอต
1
2
3 แบคทีเรีย อะมีบา
4 ไซยาโนแบคทีเรีย สาหร่ายเกลียวทอง
มีคนเฉลยเป็นข้อ3 กะข้อ4
ผมเลยไม่มั่นใจ แต่ถ้าให้ผมตอบ ผมจะตอบข้อ 4
เพราะไซยาโนแบคทีเรีย(สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) มันอยู่ในไฟลัมแบคทีเรีย แต่ผมไม่มั่นใจว่าสาหร่ายเกลียวทองจะใช่แบคทีเรียด้วยอ๊ะเปล่า เลยฝากรบกวนหน่วยนะคร้าบ~~


โดย: ป๋วย IP: 222.123.188.3 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2552 เวลา:21:31:03 น.  

 
เกลียวทองเป็น cyanobacteria ครับ

สาหร่ายเกลียวทอง หรือ สไปรูไลน่า(Spirulina) เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน พบในน้ำจืดและบางส่วนพบในน้ำทะเล ลักษณะคล้ายแบคทีเรีย คือ ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เป็นสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ มีคลอโรฟิลล์แต่ไม่มีคลอโรพลาส ภายในมีสารไฟโคไซยานิน (Phycocyanin)


โดย: ภีม IP: 58.9.60.133 วันที่: 2 ธันวาคม 2552 เวลา:2:28:10 น.  

 
พี่คะ รบกวนถามในหนังสือนะคะ
ในหน้า12ที่บอกว่า(ในเซลล์พืชไม่มีcentriole แต่ถือว่ามีcentrosome) แต่พี่บอกว่าcentrosomeเป็นตำแหน่งของcentriole แล้วพืชมันจะมีcentrosomeได้ไงอ่า
หน้า14 1เหรียญในคลอโรพลาสเรียกว่าไรอะคะ (หนูเคยเข้าใจว่า1ตั้งคือไทลาคอย 1เหลียญคือกลานุมอะ)
หน้า31 พวกfungi imperfecti มันอยู่ในไฟลัมไหนอะ
ขอบคุณล่วงหน้าคะ


โดย: sane IP: 58.9.95.99 วันที่: 2 ธันวาคม 2552 เวลา:9:19:36 น.  

 
ขอโทษที่ตอบช้านะครับ อ่านหนังสือสอบ

# น้องเกตุ
พี่เคยเห็นโจทย์ประมาณนี้ในข้อสอบ ก.พ. / โควต้าเชียงใหม่
ค่อนข้างยากและต้องวิเคราะห์มาก พี่ไม่รู้ว่าถูกมั้ย
ที่น้องเกตุวิเคราะห์ออกมาก็ดีแล้ว พี่คิดว่า
๑. intact thylakoid โจทย์แค่จะบอกว่าให้ระบบภายใน thylokoid และผิวเยื่อของมันเหมือนอยู่ใน chloroplast, ทำปฏิกิริยาได้เหมือนอยู่ในเซลล์จริงๆ
๒. เมื่อเอาไปใส่ใน pH 4 ที่มีแสง จะเกิดปฏิกิริยาแสง
ปั๊มโปรตอนเข้า lumen ไปเรื่อยๆ แต่ยังไม่เกิด ATP
เพราะ ATP จะเกิดจากการแพร่ (passive) ดังนั้นมันออกไปไม่ได้ เพราะข้างนอกมีโปรตอนเยอะ
และไม่เกิด NADPH เพราะการรีดิวซ์ NADP+ จะเกิดขึ้นใน stroma สารละลายบัฟเฟอร์ที่ใส่มาไม่ได้เป็นตัวแทนของ stroma มีแต่ H+ เฉยๆ
๓. เมื่อเอาไปใส่ใน pH 8 จะทำให้ความแตกต่างของความต่างศักย์และความเข้มข้นของโปรตอนมากขึ้น
โปรตอนที่สะสมอยู่ใน lumen จะแพร่ออกมา โดยที่ไม่สร้าง ATP เพราะต้องการ ADP + Pi ที่อยู่ใน stroma เหมือนกัน
(โจทย์ที่พี่เคยเห็นจะบอกว่าใส่ในสารละลายที่มีคุณสมบัติเหมือน stroma และมี pH = ...)
๔. สำหรับกลูโคสไม่เกิดอยู่แล้ว เพราะต้องการ kreb's cycle ใน stroma
๕. พี่จึงคิดว่าตอบ ง. เพราะโปรตอนมันแพร่ออกมา
โจทย์ข้อนี้จะเป็นจริงเสมอถ้า pH ที่เราวัดนั้นเกิดขึ้นทันทีทันใดหลังโปรตอนแพร่ออกมา
เพราะอย่าลืมว่าสารละลาย pH 8 นั้นมีความเป็นบัฟเฟอร์ สามารถปรับให้ pH สูงขึ้นได้
๖. แต่โปรตอนที่สะสมอยู่ใน lumen อาจจะแพร่ออกมาจนเกินกำลังการปรับ pH ของ buffer ไปเลยก็ได้ (ปรับไม่ขึ้น)
ซึ่งโจทย์ควรจะให้ข้อมูลอื่นๆมา เช่น กำลังการปรับ pH, คุณสมบัติของ buffer (ค่า pKa ฯลฯ), ความสามารถในการ active transport โปรตอนเข้า lumen ในขณะที่อยู่ใน pH 4 (ซึ่งพี่คิดว่าน่าจะขึ้นอยู่กับ species ของสิ่งมีชีวิตที่เอามาด้วย)
เพราะฉะนั้นย่อหน้า ๖. นี้พี่อาจจะคิดมากไป คนออกข้อสอบน่าจะต้องการแค่ย่อหน้า ๕. วัด concept พอ

# น้องภีม
เรื่องนมพี่ก็เคยอ่านเจอพวกที่บอกว่า กินนมมากแล้วจะเป็นมะเร็ง กินนมแล้วจะหยุดสูง บลาๆ
ซึ่งการวิจัยไม่รู้เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน
แต่ยังไงพี่ว่านมเป็นอาหารที่มีประโยชน์ กินๆไปเหอะนะ ^^"
อีกอย่างความสูงมันไม่ได้ขึ้นกับอาหารอย่างเดียว
และที่สำคัญ อายุประมาณม.ปลาย มันสูงขึ้นมากไม่ได้แล้วนะ แหะๆ

# น้องป๋วย
สาหร่ายเกลียวทอ่ง (spirulina) เป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินครับ
สาหร่ายเทาน้ำ (spirogyra) เป็นสาหร่ายสีเขียว
ขอบใจน้องภีมที่ช่วยอธิบายนะ

# น้อง sane
- centrosome เอาง่ายๆคือบริเวณที่มี microtubule มากระจุกกัน สามารถยื่น spindle ออกไปช่วยแบ่งเซลล์ได้ครับ (microtubule organizing center: MOC)
สัตว์ก็มี centrosome ที่ microtubule กระจุกกันเป็น centriole
แต่พืชไม่มี centriole และ centrosome ของพืชเรียก polar cap ครับ
พอเข้าใจไหมอะ ^^~
- เยื่อทั้งหมดภายใน chloroplast = thylakoid membrane
เหรียญ = thylakoid
ตั้งของเหรียญ = granum
ทั้งหมดมีชื่อเรียกอีกได้หลายๆอย่างนะ
- fungi imperfecti เมื่อก่อนจัดอยู่ในไฟลัม deuteromycophyta ครับ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 2 ธันวาคม 2552 เวลา:11:38:59 น.  

 
นึกว่าผมเป็นตัวยุ่งในบอร์ดีซัอีกพี่ tent 55+


โดย: ภีม IP: 58.9.71.208 วันที่: 2 ธันวาคม 2552 เวลา:23:18:01 น.  

 
นิดนึงนะพี่....

เรื่อง นมครับ....

ผมรู้สึกว้ ทานนมมากจะทำให้ ฟอสเฟตมากเกินไป(เหรอเปล่า) ทำให้ calciferal สลายกระดูก และทำให้ Ca 2+ ที่ทานลงปัสสาวะหมดเลยอ่ะครับ....
มีคนอธิบายผมแบบนี้....
เลยอยากทราบว่าจริงเหรอไม่ครับ


โดย: ภีม IP: 58.9.71.208 วันที่: 2 ธันวาคม 2552 เวลา:23:24:33 น.  

 
จิงดิ O.o"
พี่ไม่เคยได้ยินเลยอะครับ
พี่ว่าการควบคุม metabolism ของแคลเซียมมันซับซ้อนกว่านั้นมากอะ
มีคาบเรียนสำหรับเรื่องนี้โดยเฉพาะหลายชั่วโมงเลย
ถ้านมมันอันตรายจริงคงตัวเตี้ยกันหมดแล้วนะ (โดยเฉพาะพี่)

ค้นมาให้
นมธรรมดาแก้วนึง (244g) มีฟอสเฟตอยู่ 222mg (และใช่ว่าจะดูดซึมได้หมด)
ร่างกายวันหนึ่งถ้ารับฟอสเฟตไม่เกิน 4000mg/day สามารถปรับสมดุลได้สบายๆ
ภาวะฟอสเฟตเกินเรียก hyperphosphatemia มักจะมาร่วมกับแคลเซียมต่ำ เรียก hypocalcemia
มักจะเกิดจากปัจจัยภายในร่างกายเอง เช่น ไตวาย, hypoparathyroid, acromegaly, กล้ามเนื้อสลาย ฯลฯ
ปัจจัยภายนอกจะต้องได้รับฟอสเฟตจำนวนมากๆ
เช่นน้องไปกินยาแก้ท้องผูกที่มีฟอสเฟตมากๆ (4.25 mmol/mL) ไปประมาณ 3-6 ชั่วโมง ก็จะตายได้
กินๆไปเหอะนมอะ อร่อยดีออก ^^a


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 3 ธันวาคม 2552 เวลา:10:30:29 น.  

 
ขอบคุณที่พี่ช่วยตอบเรปที่แล้วคะ
ฝากคำถามเพิ่มด้วยคะ รบกวนพี่อีกทีนะคะ

เรื่องบทนำชีวะ
1. หนูไม่เข้าใจ biome อะ พี่ช่วยขายความอีกนิดนึงนะ
2. กฎเปลี่ยนแปลงได้มั้ย
3. หนูเข้าใจว่าเนื้อเยื่อเป็นcellชนิดเดียวกันรวมกัน แล้วอวัยวะคือเนื้อเยื่อหลายชนิดรวมกันอะ (มันผิด?) พี่ช่วยอธิบายเพิ่มนิดนึง

เรื่องเซลล์
1.cytoskeleton3แบบมันเป็นโปรตีนหมด แล้วมันหน้าตาต่างกันมั้ยอะ
2. gel กับ sol เป็นmicrofilamentเหมือนกันรึเปล่า แล้วmyosinคืออะไร
3.Ribosome ที่เกาะอยู่บนneuclear membrane ทำหน้าที่อะไร
4.peroxisome เกิดจากgolgi complex RER SER รึเปล่า
5.Spindle fiberเป็นท่อmicrotubule หรือเป็น9+2
6.ทุกอย่างที่สร้างจากSER RER ต้องผ่านgolgicomplexหมดเลยรึเปล่า แล้วโปรตีนทุกอย่างที่สร้างจากRERต้องผ่านSERก่อนรึเปล่า
7.RER :ไรโบโซมเกาะข้างในหรือข้างนอก แล้วตอนสังเคราะห์โปรตีนมันสังเคราะห์ข้างในรึเปล่า แล้วข้างในมันมีRNAด้วยรึเปล่า
8.เยื่อหุ้มเซลล์ถือเป็นชั้นเดียวรึเปล่า แล้วเยื่อหุ้ม2ชั้นคือแบบเยื่อหุ้มcell 2ชั้นใช่มั้ยอะ

อื่นๆ
1.Tissue culture , wet mount คืออะไรอะ
2.Neuclei,neucleoli,neucleoid คืออะไรอะ มันเหมือนกันรึเปล่า
3.พืชที่มีflagellaมีมั้ยอะ
4.Plasma ที่จริงแล้วคือไรอะ (น้ำเลือด,plasma membrane ?)
5.พี่ช่วยแนะนำวิธีจำหน่อย อ่านจบบทแล้วก็จำไรไม่ได้TTหนูทำshortnoteเองพอทิ้งไปซักพักก็อ่านไม่รู้เรื่องแล้ว
6.ต้องหาโจทย์ทำเพิ่มด้วยรึเปล่า (หนูว่าของพี่น่าจะคลุมแล้วนะ)

ขอบคุณล่วงหน้าคะ
ป.ล.ปกหนังสือพี่artมาก มองผ่านๆนึกว่าหนังสือศิลปะอยู่ผิดเชลท เหอๆ


โดย: sane IP: 58.9.102.167 วันที่: 10 ธันวาคม 2552 เวลา:23:25:21 น.  

 
หน้า 14 ข้อ 3.23 leucoplast เป็น non-pigmented plastid( colorless ) น่าจะใช้ว่า "ไม่มีสี" แทน "สีขาว" หรือไม่ครับ


โดย: pongsak IP: 116.68.144.202 วันที่: 11 ธันวาคม 2552 เวลา:10:32:32 น.  

 
# น้อง sane

อยู่ม.สี่รึเปล่า ถามเยอะแยะเลย ^^"
- biome = ลักษณะระบบนิเวศแบบต่างๆ เช่น ทุนดรา ป่าสน ป่าไม้เขตร้อน ป่าดงดิบ ฯลฯ
ซึ่งแต่ละพื้นที่ของโลกเราก็จะพบไอ้พวกนี้กระจายอยู่ตามที่ต่างๆ
ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี
เค้าจะกำหนดเอาไว้เลยว่าป่าดงดิบต้องมีอุณหภูมิเฉลี่ยเท่านี้ๆ ปริมาณน้ำฝนเท่านี้ๆ
- กฎเปลี่ยนแปลงได้เสมอถ้ามีทฤษฎีใหม่ๆมาอธิบายได้ครับ
- เนื้อเยื่อสำหรับสัตว์คือเซลล์หลายชนิดมาทำงานร่วมกันอะ
เช่น กระดูกของเราก็มีเซลล์หลายๆแบบ, เลือดก็มีเม็ดเลือดแดงเม็ดขาวเกล็ดเลือด ไรเงี้ย
ส่วนอวัยวะคือเนื้อเยื่อหลายชนิดมาอยู่ด้วยกัน ถูกแล้ว
- cytoskeleton ทั้งสามชนิดเกิดจากโปรตีนไม่เหมือนกันเลย
รูปร่างและขนาดต่างกันมากๆ ลอง search รูปใน google ดูได้นะ
- gel กับ sol เป็นส่วนของ cytosol ที่มีความหนืดมากน้อยต่างกัน
ความหนืดส่วนหนึ่งถูกกำหนดโดย microfilament (actin) ที่ควบคุมรูปร่าง
ส่วน myosin ก็เป็น microfilament ชนิดหนึ่งที่พบในกล้ามเนื้อ
- ribosome บน nuclear membrane เป็นส่วนที่ต่อมาจาก RER เพราะมันมีบางส่วนเชื่อมกัน หน้าที่ก็เอาไว้สร้างโปรตีน
- peroxisome เป็น organelle ที่แบ่งตัวเป็นสองเวลาแบ่งเซลล์ (เหมือน mitochondria, chloroplast)
แต่นักวิทยาศาสตร์ก็คิดว่ามันน่าจะสัมพันธ์กับ ER ได้บางอย่าง
- spindle fiber เป็นท่อ tubulin
- สิ่งที่สร้างจาก RER, SER ไม่จำเป็นต้องผ่าน golgi จะผ่านก็ต่อเมื่อต้องเติม carbohydrate หรือจะ exocytosis ออกจากเซลล์
โปรตีนที่สร้างจาก RER ไม่มีความเกี่ยวข้องกับ SER เป็น organelle ที่แยกกัน
- RER มี ribosome เกาะข้างนอก แล้วสังเคราะห์โปรตีนเข้ามาข้างในเรื่อยๆ ข้างในไม่มี RNA เป็นส่วนสำคัญ
- เยื่อ 1 เยื่อ = มี 2 ชั้นของไขมัน (phospholipid bilayer)
เยื่อสองชั้นของ nucleus, chloroplast, mitochondria คล้ายๆเป็นเยื่อหุ้มเซลล์สองชั้น
- tissue culture = การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
wet mount = เทคนิกการดู specimen อย่างง่ายๆ เช่น ที่น้องดูสาหร่ายหางกระรอกแล้วหยดน้ำลงไปสองหยด
- nuclei, nuclei = พหูพจน์ของ necleus, nucleolus ตามลำดับ
nucleoid (แปลได้ว่า คล้ายนิวเคลียส) = บริเวณที่มีสารพันธุกรรมของ prokaryote (เพราะมันไม่มีนิวเคลียส)
- ระยะของพืชที่มี flagella = เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชไม่มีเมล็ด
- plasma, cytoplasm, plasma membrane ฯลฯ ความหมายต่างกัน แต่มาจากรากศัพท์เดียวกัน ไม่ต้องสนใจหรอก แปลแล้วจะยิ่งงง -*-
ที่จริงแล้วคืออะไรบอกไม่ได้ ต้องดูบริบท
plasma = น้ำเลือด แต่ plasma membrane = เยื่อหุ้มเซลล์
- โจทย์ ลองหาของที่โรงเรียน , หนังสือเล่มอื่นๆมาดู
short note ทำไว้ก็ดีมากๆ เอามาท่องบ่อยๆพี่ก็จำได้เอง
สมัยม.ปลายพี่อ่านซ้ำไปซ้ำมามากๆ

- คุณพงษ์ศักดิ์ (เขียนยังงี้รึเปล่า ^^")
ขอบคุณที่แนะนำมาครับ
ผมเห็นว่าแปลตามตัวจากรากศัพท์คือ "ก้อนสีขาว" อะ
ประกอบกับการที่มัน colorless เพราะมันไม่มี pigment
แต่มักสะสมโปรตีน ไขมัน โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต
ซึ่งเกือบทั้งหมดเห็นเป็นสีขาวครับ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 11 ธันวาคม 2552 เวลา:17:16:16 น.  

 
พี่เต๊นค่ะ หนู่เพิ่งไปซื้อมาอ่านค่ะยอมรับเลยว่าเดินผ่าน
หลายรอบมากหลายงานด้วยทั้งศูนย์หนังสือจุฬาหรือจะเป็นงานสัปดาห์หนังสือ เเต่พอหนูอ่านไปเรื่องที่เรียนเเล้วก้อพอเข้าใจนะค่ะพี่ เเต่ศัพท์บางตัวหนูอ่านไม่ออกจิงๆๆอ่ะ อ่านไม่ออกเเล้วเรื่องเเปลความหมายไม่ต้องพูดถึงเลย ทั้งที่คิดมาพยายามลองหาเเล้วก้อ ยังไม่เข้าใจอยู่ดีเเล้วหนังสือเเบบนี้ส่วนใหญ่ยังก้อหนีไม่พ้นภาษาอังกฤษ หนูควรทำยังไงดีค่ะ เเต่ตอนนี้กำลังพยายามศึกษารากศัพท์อยู่ค่ะ คิดว่าอาจมีหวัง
ถ้าจะให้ถามเกี่ยวกับหนังสือคงมากมายซะจนพี่ตอบเหนื่อยเลยล่ะ
หนูเลยขอถามเท่านี้ดีกว่า ส่วนอะไรที่ไม่เข้าใจจิงๆๆ
ค่อยมาถามนะค่ะพี่ ขอบคุนที่เขียนหนังสือเล่มนี้ค่ะ
ปล. เม้น Hi5 ให้พี่เเล้วมันไม่ขึ้นน่ะค่ะ
ขอบคุนนะค่ะจะมาถามใหม่ๆๆ


โดย: เวลา IP: 124.121.90.76 วันที่: 12 ธันวาคม 2552 เวลา:12:55:50 น.  

 
รากศัพท์จริงๆไม่ต้องรู้ทุกคำก็ได้นะ
ไว้ประมาณปลายปีมั้งพี่เลยตั้งใจจะเขียน "รวมศัพท์ชีววิทยาม.ปลาย" เอาไว้
อยู่ในบล๊อกนี่แหละ น้องๆไม่เข้าใจคำไหนจะได้มาอ่านดู
ส่วน hi5 พี่ยังไม่มีเวลาจัดการเลย ต้องรอสอบเสร็จก่อนนะ ^^"


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 12 ธันวาคม 2552 เวลา:14:27:57 น.  

 
พี่เต๊นคับผมมีข้อสอบจะถามพี่เต๊นอ่ะคับ เป็นข้อสอบเอ็นทรานซ์ ต.ค. ปี2541 คับ
1.คำถาม...หนูทดลองตัวใดมีปริมาณโซเดียมในปัสสาวะมากกว่าหนูปกติ
(จริงๆเค้าเป็นตารางแต่พอดีเห็นว่าใส่ตารางในนี้ไม่ได้อ่าคับเลยพิมพ์เป็นอย่างงี้เลยหล่ะกัน...)
หนูทดลองตัวที่ 1
อะดรีนัลคอร์เทกซ์ปกติ อะดรีนัลเมดัลลาปกติ
การทดลอง ผูกหลอดเลือดที่ออกจากต่อมหมวกไตทุกเส้น
หนูทดลองตัวที่ 2
อะดรีนัลคอร์เทกซ์ถูกตัดและย้ายที่ อะดรีนัลเมดัลลาถูกตัดและย้ายที่
การทดลองย้ายปลูกต่อมหมวกไตไปไว้ที่เยื่อยึดลำไส้
หนูทดลองตัวที่ 3
อะดรีนัลคอร์เทกซ์ตัดทิ้ง อะดรีนัลเมดัลลาปกติ
การทดลอง-
หนูทดลองตัวที่ 4
อะดรีนัลคอร์เทกซ์ปกติ อะดรีนัลเมดัลลาตัดทิ้ง
การทดลอง-
แล้วในหนังสือเล่มนี้เค้าเฉลยว่า ตอบ หนูทดลองตัวที่ 3 คือ ผมคิดว่าน่าจะ ตอบตัวที่ 3 & ตัวที่ 1 เพราะตัวที่ 1 มันก็น่าจะเกิดความผิดปกติด้วยไม่ใช่หรอคับ เพราะถึงจะผลิตฮอร์โมนได้ตามปกติ แต่ว่ามีการผูกหลอดเลือดทุกเส้นที่ออกจากต่อมหมวกไต น่าจะทำให้ฮอร์โมนไม่สามารถถูกส่งจากต่อมหมวกไตไปยังที่ที่จะออกฤทธิ์ด้วยได้ หรือว่าจริง ๆ แล้วมันไม่มีผลอ่ะคับ???

กับอีกข้อนึง... 2.ลักษณะในข้อใดที่ทำให้สัตว์ในคลาสครัสเตเชียน แตกต่างจากสัตว์อื่นในไฟลัมอาร์โทรโปดา
ก.มีขาเดิน 5 คู่
ข.มีหนวด 2 คู่
ค.มีส่วนหัวกับส่วนอกเชื่อมรวมกัน
ง.มีเหงือกสำหรับหายใจ
เค้าเฉลยว่า ตอบ ข้อ ก.มีขาเดิน 5 คู่อ่ะคับ แต่ผมคิดว่าน่าจะ ตอบ ข้อ ข.มีหนวด 2 คู่มากกว่า เพราะจากตามหนังสือพี่หน้า 40บอกว่า “มีหนวด 2 คู่และขา 6-10 ขา คือ C.Crustacea” แล้วผมก็คิดว่าขามันไม่ค่อยเฉพาะอ่ะคับ ขาเดิน 5 คู่มันก็มีใน C.Merostomata ด้วยนิคับ หรือว่า 10 ขาในพวกแมงดา มันไม่ใช่ขาเดินหรอคับ???

พี่เตีนช่วยตอบคำถามด้วยน่ะคับ ขอบคุณคับ


โดย: ui IP: 124.122.161.43 วันที่: 14 ธันวาคม 2552 เวลา:19:45:18 น.  

 
พี่ลองกลับไปเปิดหนังสือเล่มนั้นดูแล้ว
- ข้อหนูทดลอง
ตรงข้อ 1. สมัยนั้นพี่ก็เขียนว่า "Na ปกติ"
แต่พอฟังน้องพูดแล้วมันก็ไม่น่าจะปกติได้เลย
เพราะฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตจะรวมๆกันหลั่งออกมาทาง vein เส้นนึง (suprarenal vein)
แล้วจะกระจายไปยัง target organ ต่างๆ
ถ้าเกิดไปมัดแน่นซะขนาดนั้น aldosterone ก็ไม่ออกฤทธิ์อย่างที่น้องว่าอะแหละ
พี่ว่า 1 + 3 เหมือนน้องนะ ^^"

- ส่วนข้อ crustacean พี่ว่ามันเฉลย ข. มากกว่านะ
อย่างที่น้องเข้าใจอะถูกแล้ว
ข้อนี้หนังสือพี่ก็มี (ข้อ 15 ตอน 4 บทอนุกรมวิธาน)


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 14 ธันวาคม 2552 เวลา:20:10:14 น.  

 
ขอบคุณน่ะคับ ^^ พี่เต๊นที่ช่วยตอบคำถามให้ จะได้มั่นใจว่าไม่ได้คิดไปเองคนเดียว 555

ขอให้พี่เต๊นได้คะเเนนเยอะๆๆน่ะคับ(ที่พี่เพิ่งสอบไป ใช่มั้ยอ่ะ..)


โดย: ui-ik IP: 115.87.89.153 วันที่: 15 ธันวาคม 2552 เวลา:18:45:12 น.  

 
จากคุณ เกตุ

//img101.imageshack.us/img101/4278/44819416.jpg

การทดลองนี้มีอยู่ในCampbellบทสรุปคอนท้ายของการสังเคราะห์แสงตอนท้ายสุดนะ Campbellอธิบายว่าสร้างได้ATP
แต่ของเค้ามีADP+Pi
แต่อันนี้ไม่แน่ใจแต่การทดลองเหมือนเปี๊ยบบ


โดย: Rosa IP: 58.9.252.57 วันที่: 17 ธันวาคม 2552 เวลา:22:07:52 น.  

 
พี่เต๊นคะ ทำไมพืชC4 ถึงมีจุดอิ่ม CO2 ละคะ
คิดมาสองวันแล้ว ก็ยังหาคำตอบที่ดีให้ตัวเองเข้าใจไม่ได้เลยค่ะ

และก็อีกอย่างก็คือที่พี่เต๊นบอกว่า calvin cycle ที่จริงแล้วเป็นปฏิกิริยาใช้แสง เพราะเอนไซม์ส่วนใหญ่ต้องถูกกระตุ้นด้วยแสงก่อน หนูเลยไปดูในเลนิงเจอร์ของเพื่อนอะค่ะ ในนั้นบอกประมาณว่าเอนไซม์สี่ตัวจะถูกกระตุ้นด้วยแสงแต่เป็นแบบ indirect และก็สรุปสุดท้ายว่า calvin cycle เป็นปฏิกิริยาไม่ใช้แสง

หนูเลยสับสนค่ะ พี่เต๊นช่วยอธิบายหน่อยนะคะ
ขอบคุณมากๆค่ะ


โดย: JIBBY IP: 202.176.69.62 วันที่: 17 ธันวาคม 2552 เวลา:23:28:16 น.  

 
# น้องจิ๊บบี้
- พืช C4 มีจุดอิ่ม CO2 เพราะการตรึง CO2 (calvin cycle) ของมัน อยู่ในสภาพที่เต็มไปด้วย CO2 อยู่แล้ว
เข้าใจไหมอะ -*-
อย่างพืช C3 เพิ่ม CO2 ไปเรื่อยๆก็สังเคราะห์มากขึ้นเรื่อยๆ
เพราะมัน want CO2 เป็นอย่างมาก
แต่พืช C4 นี่ เพิ่มแป๊บนึงก็ไม่เพิ่มอีกแล้ว
เพราะใน bundle sheath มีแต่ CO2 CO2 CO2 CO2 CO2 CO2 CO2 CO2
เต็มไปหมดเลย ..มีเยอะขึ้นถึงจุดหนึ่ง เอนไซม์ที่ใช้ตรึง CO2 ก็ทำงานเพิ่มไปกว่านั้นไม่ได้แล้วอะ
- หนังสือพี่ไม่ได้บอกว่า calvin cycle เป็นปฏิกิริยาใช้แสงนะ
อ่านหน้า 71 ดีๆ ^^" พี่เขียนว่า เดิมเรียกว่า dark cycle ซึ่งมันผิด
ที่เลนิงเจอร์พี่ว่าคงขยายความสิ่งที่พี่บอกไปมากกว่า


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 18 ธันวาคม 2552 เวลา:22:01:01 น.  

 
ค่ะน้องอ่านผิดจริงๆด้วย -*- อิอิ

ขอบคุณพี่เต๊นมากนะคะ

ปล. ขอให้สอบได้คะแนนเยอะๆนะคะ


โดย: JIBBY IP: 202.176.68.44 วันที่: 19 ธันวาคม 2552 เวลา:13:12:13 น.  

 
ถามเรื่องระบบนิเวศหน่อยคะ
ส่งสัยว่าทำไมE.coliในลำไส้ปลวกกับคนมีความสัมพันธ์กันแบบพึ่งพายังไงอ่ะ

คือถ้าคนขาดE.coliนี่อันตรายมากเลยหรอคะ

ขอบคุณค่ะ


โดย: จุบุจูบุ IP: 58.8.25.154 วันที่: 20 ธันวาคม 2552 เวลา:19:59:25 น.  

 
ตั้งใจจะถามว่า e.coli สำคัญกับคนยังไงรึเปล่าครับ (พิมพ์คำว่าปลวกเกินมาใช่มะ ^^")
e.coli สร้างวิตามินได้ครับ แต่ตรงนั้นไม่ค่อยสำคัญเพราะตรงลำไส้ใหญ่การดูดซึมวิตามินไม่ค่อยมี
ที่สำคัญมันเป็น"เชื้อประจำถิ่น (normal flora)" ครับ
เป็นกลไกอย่างหนึ่งของร่างกายที่เชื้อเจ้าบ้านจะต่อสู้เพื่อป้องกันเชื้อที่จะมารุกรานครับ
ถ้าเกิด e.coli จะแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่หายไป (เช่นกินยาปฏิชีวนะบ่อยๆ) ก็อาจจะทำให้ลำไส้ใหญ่ติดเชื้อโรคร้ายแรงได้นะ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 20 ธันวาคม 2552 เวลา:21:25:45 น.  

 

พี่ครับ....ผมสงสัยเรื่อง การนอนอ่ะครับ มันมี REM กับ non-rem อ่ะครับ...ผมไม่เข้าใจ-*-
เลยอยากทราบถึงกลไก ความแตกต่าง อ่ะครับ ...

ขอบคุณครับ ^^


โดย: ภีม IP: 58.9.64.146 วันที่: 22 ธันวาคม 2552 เวลา:22:04:21 น.  

 
# น้องภีม

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=ailurophile&month=31-10-2009&group=1&gblog=2

พี่อธิบายได้ไม่หมดหรอกนะน้อง ลองหา search ตาม google ละกัน
เรื่องนี้มันยาก พี่ไม่ชอบเลย

1. non-REM sleep : เรียกว่าเรามีสมองที่กลวงโบ๋ในร่างกายที่ขยับได้
ถ้าเกิดเราฝันในช่วงนี้ (ซึ่งไม่ค่อยฝัน) จะตื่นมาแล้วจำไม่ได้ครับ เพราะสมองกำลังกลวงโบ๋ ไม่คิดอะไร การละเมอก็เกิดช่วงนี้
2. REM sleep : หรือช่วงหลับลึก เรียกว่าเรามีสมองที่ตื่นตัวในร่างกายที่อัมพาต
เป็นช่วงที่เรามักจะฝัน ตื่นมามักจะจำได้ เป็นช่วงที่สมองจะทำงานหนักเหมือนกำลังตื่น ลูกตาจะกลอกไปมา
บางทีถ้าเราเผลอตื่นขึ้นมาในระยะนี้ ทำให้เราขยับไม่ได้ บางครั้งเมื่อรวมกับการเห็นภาพหลอน บางคนจึงเรียกว่าผีอำ

# น้องที่ถามมาในหน้า guestbook

ANET 51 BIO
1. ข้อใดเป็นการเปลียนแปลงที่เกิดเมื่อให้ความร้อนกับอาหารเป็นเวลานานจน สายpeptide สลายตัวเป็น amino acid
a. denaturation b. hydrolysis c. glycolysis d. phosphorylation

ANS: a หนูตอบ : b
หนูเข้าใจว่า การ denaturation นั่นคือแค่ H-bond ขาดและ peptide คลายเกลียวจนเสียรูปร่างเฉยๆไม่ใช่ว่า peptide bond ขาดจนกลายเป็น amino หนูเลยตอบ b ค่ะ


น้องเข้าใจถูกแล้ว การ hydrolysis ในบางครั้งไม่ต้องใช้ enzyme ก็เกิดขึ้นได้ถ้าเจอกรดมากๆ ความร้อนมากๆ หรือสารเคมีบางชนิด

2. fovea จะไวต่อแสงมากกว่าบริเวณอื่นของretina True/false?

พี่ว่าไม่น่าใช่ถ้าใช้คำว่า "ไวแสง"
fovea มี cone cell หนาแน่นที่สุด
cone cell เอาไว้มองภาพสี จะไม่ไวแสง แยกสี ดีในที่สว่าง
ตรงข้ามกับ rod cell ที่เอาไว้มองภาพขาวดำ ที่พี่เขียนไว้ว่า ไวแสงไม่แยกสีดีในที่มือ
คำว่าไวแสงหมายความว่า มีแสงนิดนึงก็โอเคเห็นได้แระ
ซึ่งคุณสมบัตินี้น่าจะเกี่ยวกับ rod cell ที่มองได้ดีในที่แสงนิดนึงมากกว่า

3. Cellular respiration
-pyruvic acid สามารถรับ e- จาก NADH
true/false (อยู่ในเรืองไหนค่ะ)

-NAD+ เป็นตัวรับ e- ที่เยื่อหุ้มชั้นในของ mito
true/false (อยู่ตรงไหนอะค่ะ)

-oxygen เป็นตัวรับ e- ที่อยู่ในช่องว่งระหว่างเยื่อหุ้มชั้นในของ mito
true/false (อยู่ตรงไหนอะค่ะ)


- ถูก pyruvate รับ e- จาก NADH กลายเป็นกรดแลกติก (น. 65)
- ผิด NAD+ เป็น coenzyme อยู่ติดกับเอนไซม์ใน glycolysis (ใน cytosol) หรือเอนไซม์ในการสร้าง acetyl coA, ในวัฏจักรเครบส์ (ใน matrix)
- ผิด การรีดิวซ์ O2 ให้เป็นน้ำเกิดใน matrix (ดูรูป น. 63)


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 23 ธันวาคม 2552 เวลา:11:19:45 น.  

 
พี่เต๊นคะ

จำนวนชุดโครโมโซมขององุ่นไร้เมล็ดเป็นเท่าไหร่คะ
1.n 2.2n 3.3n 4.4n

ถามครูคนนึงเขาบอกว่ามันยังบอกไม่ได้ เพราะถ้าเป็นเปลือกกับเนื้อผลจะเป็น 2n แต่ถ้าเป็นส่วนของเมล็ด(ซึ่งไม่มี)จะเป็น n

แล้วถ้าโจทย์มันถามแบบข้อข้างบน เราจะเลือกตอบข้อไหนถึงจะถูกอ่ะคะ



โดย: ปอ IP: 118.174.96.165 วันที่: 26 ธันวาคม 2552 เวลา:23:27:25 น.  

 
เรื่องนี้อยู่ในหน้า 197 ครับ
พืชไร้เมล็ดจะเป็นพืช 3n นะ
ที่เค้าทำกันในปัจจุบันมักเป็นแตงโมกับองุ่น
วิธีทำ
1. เหนี่ยวนำต้นปกติ (2n) ด้วย colchicine (น. 197) ให้กลายเป็น 4n
2. เอา 4n มาผสมกับ 2n ได้ 3n
3. เอาเมล็ด 3n ที่ได้มาปลูก พืชต้นนั้นจะ meiosis ไม่ได้เพราะโครโมโซมมีจำนวนเลขคี่ จึงไม่มีเมล็ด
ถ้าเป็นองุ่นก็จะใส่ giberrellin ที่ปกติสร้างจากเมล็ด (ตอนนี้ไม่มี) ให้มันอวบอ้วนเต่งตึงขึ้น
ประมาณนี้อะน้อง แต่รายละเอียดลึกกว่านี้พี่ก็ไม่รู้แล้วนะ ^^"


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 27 ธันวาคม 2552 เวลา:14:04:53 น.  

 
ขอบคุณมาๆค่ะพี่เต๊น


โดย: ปอ IP: 118.172.125.48 วันที่: 27 ธันวาคม 2552 เวลา:22:24:45 น.  

 
ผมสงสัยอีกแล้ว ^^ !

พี่ครับ คำเท่าที่เรียนมาครับ พี่ผมคิดว่า 1 gene 1 expression ครับ..

แล้ว Pleiotropy คือ อะไร กันครับ ???

ปล.ทราบดีว่า มี blog นี้เพื่อคำถาม ม.ปลาย ... แต่ผมไม่รู้จะพึ่งใครละครับ ^^ ขอบคุณมากครับ


โดย: ภีม IP: 58.9.62.12 วันที่: 28 ธันวาคม 2552 เวลา:0:47:21 น.  

 
1 gene ไม่ใช่ 1 expression ครับ
1 gene คือ 1 polypeptide หนังสือพี่ก็เขียนไว้นะ

แต่ polypeptide บางอย่างนั้น เมื่ออยู่ในเซลล์ต่างกันจะทำหน้าที่ต่างกัน
เรียก pleiotropy
นั่นคือ 1 single gene ควบคุมหลาย phenotype ผ่าน 1 polypeptide
เช่น โรคพันธุกรรมที่เรียก Marfan syndrome หรือ phynylketonuria (PKU)
ขาดโปรตีนตัวเดียวแต่มีอาการแสดงของโรคหลายๆระบบครับ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 28 ธันวาคม 2552 เวลา:21:47:16 น.  

 
ขอบคุณคับ


โดย: ภีม IP: 58.9.69.212 วันที่: 29 ธันวาคม 2552 เวลา:1:35:16 น.  

 
ขอบคุณมากเลยค่ะที่ช่วยตอบ

ต้องขอรบกวนหน่อยน่ะค่ะจะสอบเดือนหน้าแล้ว T^T

1. germs ที่เข้าสู่ circulatory system ส่วนใหญ่ถูกดักจับและทำลายที่อวัยวะใด
a. Thymus gland b. ต่อมน้ำเหลือง
c. spleen d. bone marrow
หนูตอบ c อะค่ะเพราะในโจทย์เขาบอกว่า ใน cir. sys. แต่ b นี้มันของ lymphatic sys. หนูเลยไม่ตอบแต่เขาเฉลอ b อ่ะค่ะ

2. lymphocyte ใน อวัยวะใดของ immune sys. ที่ไม่สราง antibody?
1. bone marrow 2. thymus gland
3. spleen 4. lymph node
a. 1. & 2 b. 2. & 3 c. 3. & 4.
d. 1. & 4
หนูตอบ a ค่ะเพราะ bone marrow สร้างแค่ T กับ B lymphocyte ซึงไม่สร้าง antibody ส่วน thymus ไม่มันใจแต่ตัด choice เอาเพราะอันอื่นน่าจะมีตัวที่สร้าง antibody ได้ค่ะแต่เขาดั้นไปเฉลย b อ่ะค่ะ

3. what is correct in light reacton?
a. กลุ่ม protein สำคัญในการถ่ายทอด e- ใน light reaction มีเพียง 2 กลุ่มคือ PSI & PSII
b. chorophyll ทุก molecule ในระบบแสง สามารถเป็นตัวให้e- ใน light reaction ได้หากได้รับคลื่นแสงที่เหมาะสม
c. ATP synthase ที่อยู่บริเวณ thylakoid membrane เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการสร้าง ATP ใน light reaction
d. การถ่ายทอดe-แบบ noncylic ทำให้ได้ NADH
หนูตอบ c ค่ะเพาระพออ่านครบทุก choice, a,b,d พิอหมด แต่สงไสว่า c ถูกไหมค่ะ

4. โพลาร์นิวคลีไอ มี chromosome 1 ชุด T/F
5. เมือเกิด eutrophication ค่า DO ต่ำ BOD สูง T/F

ขอบคุณค่ะ และก็ Happy new year ล่วงหน้าค่ะ!!!


โดย: ขอถามผู้รุ้ IP: 110.164.43.202 วันที่: 29 ธันวาคม 2552 เวลา:17:15:14 น.  

 
โทษที่ค่ะ o/\\o ลืมไปค่ะว่ามีอีก 1 คำถาม

ไม้ส่วนที่เอาไปทำเขี่ยงในครั่วคือส่วนใดของพืช
a. primary xylem
b. primary phloem
c. secondary xylem
d. secondary pholem
e. corK


โดย: ขอถามผู้รุ้ รอบ 2 IP: 110.164.43.202 วันที่: 29 ธันวาคม 2552 เวลา:17:37:20 น.  

 
คำถามสุดท้าย ตอบ a คับ...ใช้ แก่นไม้ นั่น คือ primary xylem คับ

ปล. กระพี้ไม้(secondary xylem)ไม่แข็งพอที่จะนำมาใช้นะ ^^


โดย: ภีม IP: 58.11.22.38 วันที่: 29 ธันวาคม 2552 เวลา:18:19:01 น.  

 
1. น้องเข้าใจถูกแล้ว ม้ามเอาไว้ดักจับเชื้อโรคในเลือด แต่ต่อมน้ำเหลืองนี่อยู่ในระบบน้ำเหลืองนะพี่ว่า
2. ข้อนี้ anet ใช่ไหม น้องเข้าใจถูกอีกแล้ว ไขกระดูกกับไทมัสเป็นแหล่งสร้าง ยังทำงานไม่ได้
ส่วนต่อมน้ำเหลืองกับม้ามเป็นแหล่งปฏิบัติงาน จึงสร้าง Ab ได้
3. ข้อ c ถูกแล้ว ไม่มีจุดไหนผิดเลยแม้แต่น้อย
อยู่ที่ thylakoid membrane และเป็นเอนไซม์ (เร่งปฏิกิริยา) ในการสร้าง ATP ของ light reaction
4. ผิดนะ polar nuclei มีสองชุด จริงๆเป็น n + n (เพราะไม่ได้มาจากพ่อและแม่ผสมกัน) แต่เขียนเป็น 2n ก็ได้
เวลาผสมกับ spern nucleus ก็กลายเป็น endosperm (3n) ไง
5. ถูก ลองอ่านในหนังสือพี่ดูที่บอกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ O2, ปริมาณสารอินทรีย์ และชนิดแบคทีเรียในน้ำเสีย
6. ตอบ c นะ (น้องภีมเข้าใจผิดนะครับ กลับมาอ่านด้วยนะ)
เนื้อไม้ (wood) เป็นผลจากการเจริญขั้นที่สอง เกือบทั้งหมดเป็น secondary xylem
แก่นไม้ เป็น secondary xylem ที่ลำเลียงไม่ได้แล้ว
กระพี้ เป็น secondary xylem ที่ยังใหม่ๆและลำเลียงได้อยู่
ส่วน primary xylem ถูกเบียดอัดเป็นซากตรงกลางบริเวณเล็กๆตั้งนานแล้วอะ แทบไม่มีความสำคัญในความเป็นเนื้อไม้เลย

HNY เช่นกัน ^^"


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 29 ธันวาคม 2552 เวลา:21:28:53 น.  

 
ขอโทษครับๆ -*-


โดย: ภีม IP: 58.11.20.126 วันที่: 29 ธันวาคม 2552 เวลา:22:43:07 น.  

 
P' Tent!!
what's Nymp ??


โดย: frozen IP: 222.123.158.98 วันที่: 31 ธันวาคม 2552 เวลา:23:41:55 น.  

 
ขออีกคำถามนะพี่ ต้อนรับปีใหม่ ~~

คือในหนังสือเรื่อง cell พี่บอกว่าคาร์โบไฮเดรตทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ใช่ป้ะ แพรวไปอ่านเจอในหนังสือเล่มนึงอ่ะ เค้าบอกว่าโปรตีนก้อนกลมใน cell membrane ทำให้ cell จดจำกันได้ และทำให้ cell ยึดติดกัน มันความหมายเดียวกันป่าวอ่ะพี่ แล้วที่แพรวอ่านเจอมานี่ถูกรึเปล่าอ่ะคะ

ขอบคุณค๊า หวัดดีปีใหม่นะพี่เต๊น =)


โดย: frozen IP: 222.123.158.98 วันที่: 1 มกราคม 2553 เวลา:9:07:26 น.  

 
HNY เช่นกันนะน้อง
ไอ้ที่น้องพูดถึงเค้าเรียกว่า cell-adhesion molecule อะ
มีเป็นร้อยๆพันๆชนิดเลย
ถ้าจะบอกว่าช่วยใน cell comminication ก็ได้นะ
หน้าที่ของมันประมาณว่ายึดติดระหว่างกัน, เป็น sensor รับสัญญาณต่างๆ, แปลผลจากสารเคมีแวดล้อม ไรเงี้ย
แต่หน้าที่ไม่ค่อยเหมือนคาร์โบไฮเดรตซะทีเดียว
พี่ก็พอรู้แค่นี้ (เรียนตอนปีหนึ่งอะ) แต่ที่น้องอ่านมาก็ถูกแล้วครับ ^^" แต่ว่ามันไม่อยู่ในม.ปลายเท่านั้นเอง
เพราะโปรตีนที่เยื่อหุ้มตอนม.ปลายรู้แค่ receptor, channel, carrier, enzyme, electron transporter ก็พอแล้วอะ

ส่วน nymp..พี่ก็ไม่รู้เหมือนกันนะ -*-
ใช่ nymph รึเปล่า,, หรือว่าผึ้งมิ้ม,, หรือว่าตัวนิ่ม ..?
ไม่รุ้อะ 55


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 1 มกราคม 2553 เวลา:14:40:29 น.  

 
อาจจะเป็น nymph ก็ได้นะพี่ = = แพรวก็ไม่ค่อยแน่ใจแหะๆ เคยเจอตอนทำข้อสอบชีวะ ไม่รุที่ไหน งงมั่ก

พี่เต๊น ถามๆ (อีกแล้วไอ้นี่ - -')

DAB reaction ใน peroxisome มันคือไรหรอพี่ เกี่ยวกับไรอ่ะ มีเพื่อไร

ปล.จะสอบ กสพท. แล้วอ่าพี่เต๊นน!! ชีวะนี่อ่าน+ทำโจทย์เฉพาะของพี่แค่นี้ได้ป่าว ตอนนี้แล้วคิดว่าไปทวนอ่านเล่มอื่นอีกคงไม่ทัน ~~ เพราะที่จริงอ่านไปแล้วไง แต่แบบแค่ทวนๆอ่า ของพี่น่าจะพอ..ป้ะ??


โดย: frozen IP: 222.123.158.98 วันที่: 1 มกราคม 2553 เวลา:16:30:39 น.  

 
- nymph คือตัวอ่อนแมลง อ่านหน้า 108 นะ
- DAB reaction เป็นอะไรที่ไม่ต้องสนใจเลย พี่ก็ไม่เคยเรียนหรอก พึ่งรู้นี่เอง
ว่ามันเป็นปฏิกิริยาเอาไว้ย้อมเอนไซม์ใน peroxisome อะ จะทำให้ peroxisome ติดเป็นสีน้ำตาล คงใช้ในห้องแล็บชั้นสูงไรเงี้ย


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 1 มกราคม 2553 เวลา:19:30:42 น.  

 
พี่เต๊นๆ ใน rep แรกบนสุดเลยอ่ะพี ที่พี่ตอบคุณเกตุเรื่อง facilited ในเซลล์ประสาท

งงว่าทำไมพี่ไม่พูดถึง active transport เลยอ่าพี่ คือที่เคยเรียนๆอ่านๆมา เค้าบอกว่า Na-K pump เป็น active transport อ่ะ หรือแพรวเข้าใจผิดมาตลอดเลยอ่าพี่?? = =


โดย: frozen IP: 117.47.64.215 วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:8:18:08 น.  

 
เพราะ Na/K pump ไม่ได้เกิดขึ้นขณะถูกกระตุ้นอย่างที่เค้าถามไงครับ
เป็น active transport ถูกแล้ว แต่เกิดขึ้นขณะ resting state แล้วก้ขณะ undershoot นะ
ดูรูป น. 127


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:13:48:00 น.  

 
cellular respiration อ่ะพี่
ตกลงว่า Kreb's cycle หรือการสร้าง Acetyl CoA กันแน่ที่เป็นปฏิกริยากลางของการสลายโมเลกุลอาหารทั้งของ protein ,lipid,carbohydrate อ่ะ??

แต่การสร้าง acetyl CoA นี่เป็นจุดเริ่มต้นของ Kreb ถูกป่ะ? จะถือว่าทั้งสองอันเป็น ป.กลางเหมือนกันได้มั้ยพี่เต๊น


โดย: frozen IP: 117.47.64.215 วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:14:58:57 น.  

 
ในพวก prokaryote cellular respiration จะเป็นแบบไหนอ่าคะพี่เต๊น ต่างจาก eukaryote รึเปล่า หรือต่างแค่บริเวณที่เกิดเป็น mesosome??


โดย: frozen IP: 117.47.64.215 วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:16:21:43 น.  

 
- การสร้าง acetyl CoA ครับ (หน้า 66)
- การหายใจใน prokaryote สรุปเอาไว้ 8 บรรทัดสุดท้ายหน้า 64 ครับผม


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:21:24:19 น.  

 
ความผิดแพรวเองแหละที่ถามไม่เคลียร์อ่า.. -/|\\-

คือพี่บอกในหนังสือว่า ETC ของ prokaryote เกิดที่ mesosome ใช่ป่ะ

แล้วพวก glycolysis แล้วก็พวก Kreb อ่ะพี่ เกิดที่ไหน cytoplasm หมดเลยหรือเปล่า เพราะว่า glycolysis มันเกิดในสมช.ทุกชนิดเลยใช่ป่ะพี่(ตาม หนังสือ ดร.. นั่นแหละ แหะๆ)


โดย: frozen IP: 222.123.159.154 วันที่: 3 มกราคม 2553 เวลา:9:26:15 น.  

 
อ่อครับใช่แล้ว
glycolysis, การสร้าง acetyl CoA, Krebs เกิดใน cytoplasm ของ prokaryote ครับ ^^"


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 3 มกราคม 2553 เวลา:14:10:12 น.  

 
พี่เต๊น เรื่อง digestion ของสัตว์เคี้ยวเอื้องอ่ะพี่ บางเล่มก็บอกว่ามันสำรอกตอนอาหารอยู่ใน rumen(เช่น ดร.ทั้งสองสำนักเลย) แต่บางเล่มก็บอกว่าจาก rumen วนไป reticulum แล้วค่อยสำรอกมาเคี้ยวใหม่ ตกลงอันไหนถูกอ่าพี่เต๊น


โดย: frozen IP: 117.47.66.229 วันที่: 5 มกราคม 2553 เวลา:11:39:37 น.  

 
จริงรึเปล่าพี่ที่ว่า กรดน้ำดีจะช่วยป้องกันเอนไซม์จากตับอ่อนไม่ให้ถูกย่อยโดยเอนไซม์ย่อยโปรตีน??


โดย: frozen IP: 117.47.66.229 วันที่: 5 มกราคม 2553 เวลา:13:47:38 น.  

 
จริงหรือเปล่าพี่ที่ว่า ดูโอดินัมดูดซึมสารอาหารเกือบทุกชนิดรวมทั้งวิตามินต่างๆ เจจูนัมดูุดซึมพวกไขมัน และ ไอเลียมดูดซึมวิตามินบี 12 และเกลือน้ำดีอ่ะ


โดย: frozen IP: 117.47.66.229 วันที่: 5 มกราคม 2553 เวลา:14:03:29 น.  

 
# น้อง frozen
- เอ..พี่ว่าน่าจะ reticulum นะ
เพราะ rumen จะใหญ่เบ้อเริ่มและติดกับ reticulum ที่เล็กๆ
สองส่วนนี้มักทำงานสัมพันธ์กัน เรียกว่า reticulorumen
กลไกการเคี้ยวเอื้องประกอบด้วยขั้นย่อยๆเยอะมากๆ ..(ซึ่งพี่ก็ไม่ค่อยรู้เพราะไม่ค่อยมีประโยชน์กับตัวเองเท่าไหร่ ^^")
สัตว์พวกนี้มักเป็นผู้ถูกล่า เลยต้องเก็บอาหารไว้มาเคี้ยวบ่อยๆ จะประเจิดประเจ้อในทุ่งหญ้าไม่ได้
กลไกสรุปๆจะเริ่มจากการผสมอาหารไปมาในสองส่วนนี้ (reticuloruminal contraction)
แล้วจะมีการเรอ (eructation)
แล้วก็สำรอกเอา bolus ในสองส่วนนั้นออกมา (regurgitation)

//www.vivo.colostate.edu/hbooks/pathphys/digestion/herbivores/rumination.html

- อันนี้พี่ไม่รู้เลยอะ เอามาจากไหนอะ
สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ protease ไม่ไปย่อยน้ำย่อยตัวอื่นๆคือการหลั่งออกมาในรูป proenzyme แล้วทำงานได้เมื่อถึงตำแหน่งทำงาน
และหน้าที่สำคัญที่สุดของ bile acid คือการช่วยย่อยไขมันอะ
ถ้าเกิดมันเป็นอย่างที่น้องว่าจริง คงเป็นหน้าที่เสริมที่ไม่สำคัญหรอกนา..

- สารอาหารเกือบทุกชนิดดูดซึมมากสุดที่ jejunum + duodenum อะ
เมื่อก่อนมักบอกว่า jejunum แต่อาจารย์พี่เคยบอกว่าหลักฐานใหม่ๆพบว่า dudenum มีพท.หน้าตัดมากกว่า และอาหารที่ jejunum จะผ่านไปเร็วๆกว่า
(เมื่อก่อนพอผ่าอ.ใหญ่เค้าพบว่า jejunum อาหารเกลี้ยงเลย แปลว่าต้องดูดซึมได้มากแน่ๆ ..เปล่า เพราะมันเคลื่อนผ่านไปเร็วๆต่างหาก)
เมื่อก่อนจะบอกว่าน้ำกับไขมันสามารถ simple diffuse ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ตลอดความยาวลำไส้
แต่เดี๋ยวนี้เค้าก็พบ active transport ของ fatty acid บางอย่างแล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่าจะอยู่ตำแหน่งไหนมากเป็นพิเศษ
(เรื่องพวกนี้มันโคตรจะไม่แน่นอนเลย อ.ที่โรงเรียนไม่ควรเอามาถามหรอกนะ)
ส่วนปลายของ ileum อันนี้แน่นอนว่าดูดเกลือน้ำดีกับ B12 อะ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 6 มกราคม 2553 เวลา:18:52:58 น.  

 
ตอบซะยาวเลย ขอบคุณค๊า ^^''

ถามต่อเลยแล้วกันนะ แหะๆ (ช่วยหน่อยน๊าพี่เต๊น ไม่รู้จะไปถามใครแล้ว)
พวกนี้จริงรึเปล่าอ่ะพี่เต๊น..

1.RBC สร้างที่ endothelium ของเส้นเลือดฝอยในไขกระดูสีแดง
2.WBC พวก granulocyte สร้างจาก reticuloendothelial cell นอกเส้นเลือดฝอยในไขกระดูกสีแดง
3.lymphocyte สร้างที่เนื้อเยื่อน้ำเหลือง ต่อมไทมัส ม้าม ต่อมน้ำเหลือง
4.monocyte สร้างที่ม้ามและไขกระดูก
5.RBC อายุมาก จะถูกกำจัดด้วย phagocytosis โดย reticuloendothelial cell ที่ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ไขกระดูก

ขอบคุณน๊า พี่เต๊น ^^



โดย: frozen IP: 117.47.16.52 วันที่: 6 มกราคม 2553 เวลา:20:31:33 น.  

 
ขอถามพี่ไม่ใช่บทเรียนบ้างนะครับ พี่ว่า เฉลย ENT ของ ดร.ส กับ ผศ.ป อันไหนเฉลยผิดน้อยกว่ากันครับ คือ
ผมเครียดมากครับที่ทำ 2 เล่ม คะแนน ต่างกันสุดกู่เลย....ผมไม่รู้ว่าอันไหนผิดน้อยกว่าอ่ะครับ

ขอบคุณมากครับ ^^

ปล......ในอนาคต อยากให้พี่ทำครับ .....


โดย: ภีม IP: 58.9.72.243 วันที่: 6 มกราคม 2553 เวลา:23:44:13 น.  

 
1. ไม่ใช่นะ, endothelium คือเซลล์บุหลอดเลือด
RBC สร้างมาจาก stem cell ใน bone marrow ต่างหาก
2.ไม่ใช่นะ, RE cell เป็นเซลล์เอาไว้กำจัดเม็ดเลือดมากกว่า
WBC สร้างมาจาก stem cell อีกกลุ่มใน bone marrow เหมือนกัน
3. ไม่ใช่ lymphocyte สร้างจาก bone marrow
พัฒนาทีา bone marrow หรือ thymus แล้วทำงานที่อวัยวะน้ำเหลือง
4. ไม่ใช่อ่า เหมือนข้อ 2.
5.ใช่ๆ การกำจัดเม็ดเลือดเป็นยังงี้แหละ

ปล. พี่ว่ส ดร.ส ดีกว่านะ ผิดน้อยที่สุดในหมู่ข้อสอบเอนท์แล้วล่ะ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 7 มกราคม 2553 เวลา:10:26:13 น.  

 
พี่ครับ....ถ้า ADh มากชึ้นนี. จะทำให้ นำลดลงครับ ...แต่ ผมไม่แน่ใจว่า ความเข็มข้นของ Na+ เป็นไงครับ เพราะบางที่เค้าบอกว่า Na+ นั้นไปพร้อมนำด้วยอ่ะครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ.........


โดย: ภีม IP: 58.9.54.205 วันที่: 8 มกราคม 2553 เวลา:2:10:11 น.  

 
เออพี่ครับ พืชกินแมลง ถือว่าเป็น
"การย่อยสลายทางชีวภาพ" ไหมครับ

ขอบคุณครับ


โดย: ภีม IP: 58.9.54.205 วันที่: 8 มกราคม 2553 เวลา:2:46:57 น.  

 
เนื้อหาของ ผศ.ป นี่มั่วอื้อเลย ที่แพรวเอามาถามพี่อ่ะ เหอๆ -"-

พี่เต๊นๆ เรื่องระบบประสาทอ่ะ ภาพความหนาแน่นของตุ่มรับรสบนลิ้นมันแปลกๆป่าวอ่ะพี่ เค็มมันสลับกับหวานรึเปล่า แหะๆ แพรวอาจจะเข้าใจผิด เลยมาถามก่อน

คำถามๆ

1. CSF สร้างที่ไหนอ่ะพี่ บางเล่มบอกว่าสร้างจากเส้นเลือดฝอยในโพรงสมองและไขสันหลัง
2.motor neuron พบที่สมองและไขสันหลังเป็นส่วนใหญ่ T/F

ขอบคุณค่ะ ^^''


โดย: frozen IP: 117.47.21.162 วันที่: 8 มกราคม 2553 เวลา:5:26:51 น.  

 
1.เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ..มีกี่ nucleus กันแน่ครับ.
2.ตับอ่อนหรือลำไส้เล็กครับที่ผลิตนำย่อยมากชนิดที่สุด


Thanks a lot.


โดย: พงษ์ศักดิ์ IP: 116.68.144.202 วันที่: 9 มกราคม 2553 เวลา:9:24:22 น.  

 
Q Endocrine sys. :

1.hormone ส่วนใหญ่ถูกสลายที่ตับ แล้วขับออกทางไตT/F
2.adrenalin และ noradrenalin มีผลต่อระบบร่างกายคล้ายๆกันยกเว้นผลต่อเส้นเลือดคือ adrenaline ทำให้เส้นเลือดขยายตัวแต่อีกอันทำให้เส้นเลือดหดตัว t/f
3.thyroxine และ triiodothyronin ถูกสังเคราะห์จาก กรดอะมิโน tyrosine+iodine t/f
4.prostaglandin ที่พบในต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ เป็น prostaglandin ตัวเดียวกับที่หลั่งมาจากเนื้อเยื่อของทารกตอนก่อนคลอดรึเปล่าพี่ ที่มีส่วนช่วยให้มดลูกบีบตัวอ่ะ
5.มีหนังสือเล่มนึงเค้าบอกว่า hormone มีผลทั่วร่างกายเพราะไหลเวียนในกระแสเลือด แพรวพอเข้าใจนะแต่สงสัยว่า hormone จะออกฤทธิ์กับ cell ใด cell นั้นจะต้องมี receptor เฉพาะเจาะจงกับ hormone นั้นๆไม่ใช่หรอพี่ หรือแพรวเข้าใจผิดมาตลอดอ่ะ? หนังสือเล่มนี้ถูกหรือแพรวเข้าใจผิด? หรือว่า receptor มันมีอยู่เกือบทั่วร่างกายเลย ? (เริ่มงึ้มเองแล้ว - -') (ในหนังสือเค้าเปรียบเทียบกับระบบประสาทน่ะพี่ ว่า hormone ออกฤทธิ์ทั่วร่างกายแต่ระบบประสาทเป็นอวัยวะเฉพาะที่)
6.หนังสือเล่มเดียวกะข้อที่แล้วเค้าบอกว่า อวัยวะเดียวอาจจะมี ตัวรับฮอร์โมนได้หลายชนิด t/f (เห็นป่ะ หนังสือเล่มเดียวกันด้วยอ่ะ หรือแพรวอ่านแล้วงงเองเนี่ย -"-)
7.จำนวนตัวรับฮอร์โมนสามารถเปลี่ยนแปลงได้ถามปริมาณฮอร์โมนในกระแสเลือด เช่นถ้าฮอร์โมน a ในกระแสดเลือดมีมาก ตัวรับฮอร์โมน a ก็จะน้อยลง t/f
8.ตกลง estrogen สร้างมาจาก follicle cell หรือ theca interna กันแน่อ่ะ? (theca interna คือเนื้อเยื่อรอบนอกของ grafian follicle นี่นา หรือว่ามันอันเดียวกันหว่า)
9. (ขอนอกเรื่อง) พี่เต๊น granule กับ vesicle ต่างกันยังไงอ่ะ


โดย: frozen IP: 222.123.95.192 วันที่: 9 มกราคม 2553 เวลา:12:40:46 น.  

 
ตอบสั้นๆนะพี่จะสอบอีกแล้ว -*-

# น้องภีม
- ADH ดูดน้ำกลับ Na ก็กลับตามน้ำด้วยครับ เข้าใจถูกแล้ว
- การย่อยสลายทางชีวภาพ พี่เคยเจอคำนี้ในข้อสอบเอนท์อะ มันแปลว่า decompose (แบคทีเรีย ฟังไจ) ไม่ใช่ digest
พืชกินแมลงจึงไม่ใช่การย่อยสลายทางชีวภาพนะ

# น้อง frozen
- ช่าย ตุ่มรับรสถ้าจะเอาตามหนังสือเรียนพี่สลับผิดอะ
- CSF สร้างมาจากโครงสร้างที่เรียก choroid plexus อะไม่ได้เป็นเส้นเลือดอะไรเลย
เป็นขยุยสีแดงๆในโพรงสมองน่ารักดีนะ
- ตัวเซลล์ motor neuron ส่วนใหญ่พบที่ CNS ถูกแล้ว
ถ้านับรวมตัวเซลล์ใน autonomic ganglion ด้วยก็จะมีใน PNS อีกนิดนึง
1.พี่ว่าน่าจะเป็นยังงั้นมั้ง เพราะถ้าผู้ป่วยตับ/ไตพังสมดุลฮอร์โมนก็จะเสียไปหมด
ถ้าไม่สลายที่ตับคงมีบางตัวที่สลายที่อื่นๆบ้างอะแหละ
2. ใช่ แต่ต้องดูว่าเป็นเส้นเลือดที่ไหนด้วย บางที่ก็ตอบสนองไม่เหมือนกัน
3. ใช่
4. seminal fluid มี PGE, PGF คล้ายๆกับที่เอาไว้ให้มดลูกบีบตัว
แต่พี่คิดว่าน่าจะมีปริมาณน้อยและไม่มีความสำคัญทางสรีรวิทยาใดๆต่อผู้หญิงนะ คือมีไปงั้นๆแหละ
5. คำว่ามีผลทั่วร่างกายของเค้าคงไม่ได้แปลว่ามีผลต่อทุกเซลล์ในร่างกายหรอก
แต่ว่ามันไปได้ทั่วๆเพราะเลือดมันไหลไปทั่วร่างกาย
ยังไงก็ต้องการตัวรับที่เฉพาะอยู่ดี เข้าใจถูกแล้ว
6. ถูกแล้ว อย่างเซลล์ตับที่เกี่ยวกับการสร้าง glycogen ก็ต้องมีตัวรับของ insulin, glucagon และอื่นๆไง
7. ถูก เป็นการปรับตัวของร่างกายต่อปริมาณฮอร์โมนบางชนิด
8. theca cell เป็นส่วนหนึ่งของ follicular cell
9. พี่ว่า granule คือ vesicle ที่ใส่สารที่จะหลั่งออกนอกเซลล์
vesilcle อาจเป็นถุงที่เคลื่อนไปมาในเซลล์อย่างเดียวก็ได้
แต่เรียกๆปนๆกันไปเหอะไม่มีใครซีเรียสนะ
ปล.คำถามน้องเริ่มยากและเกินหลักสูตรแล้วนะ 55 เอามาจากหนังสือเล่มไหนเนี่ย
เป็นคำถามที่เค้าถามจริงๆหรือบางข้อน้องเห็นประโยคบางประโยคมันแปลกๆเลยมาตั้งเป็น T/F หรือเปล่า?
ถ้ามีเฉลยให้อยู่แล้วก็เชื่อๆเข้าไปเหอะนะ^^"

# น้องพงษ์ศักดิ์
- กน.หัวใจมี 1-2 นิวเคลียส ส่วนมาก 2
- ไม่แน่ใจ แต่พี่ลองนับจากหนังสือเรียนพี่
ตับอ่อนย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน: มี 11 ตัว
ลำไส้เล็กย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต: มี 6 ตัว
แต่ที่จริงมันคงมีเยอะกว่านี้มากนะ,,และอย่าถามเลยว่า 11 กับ 6 มีอะไรบ้าง^^


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 9 มกราคม 2553 เวลา:14:15:43 น.  

 
พี่ครับ Enzyme อย่าง Lipase Disacharase (Sucrase Maltase Lactase) พวกนี้ก็เป็นโปรตีนไม่ใช่หรอครับ แล้วมันไม่ถูกย่อยด้วย Enzyme ที่ย่อยโปรตีนจนทำงานไม่ได้หรอครับหรอครับ


โดย: แตงโม IP: 58.9.46.109 วันที่: 10 มกราคม 2553 เวลา:0:12:49 น.  

 
ที่พี่ว่า
พี่จะยึดหนังสือสสวท.(เล่มมด) ซึ่งบอกว่า การเคลื่อนของ ion ผ่าน ion channel นั้นเป็น simple diffusion
ungated (leakage) ion channel คือช่องที่เปิดไว้ตลอดเวลา นั่นคือเวลา Na+ เข้าเซลล์, K+ ออกเซลล์ตลอดเวลา ก็ผ่านช่องนี้ลักษณะของช่องนี้ให้นึกว่าเป็นรูโบ๋ๆไปเลย ไอออนวิ่งเข้าออกตามความต่างศักย์และความเข้มข้นไปเรื่อยๆ ในหนังสือเรียนถือว่าเป็น simple diffusion ครับ
อยู่หน้าไหนหรอครับ


โดย: แตงโม IP: 58.9.46.109 วันที่: 10 มกราคม 2553 เวลา:0:17:13 น.  

 
ที่พี่ว่า
- gel กับ sol เป็นส่วนของ cytosol ที่มีความหนืดมากน้อยต่างกัน
ความหนืดส่วนหนึ่งถูกกำหนดโดย microfilament (actin) ที่ควบคุมรูปร่าง
แล้วส่วนอื่นที่ทำให้ความหนืดมีปัจจัยต่างกันคืออะไรหรอครับ นอกจาก microfilament (actin) แล้ว


โดย: แตงโม IP: 58.9.46.109 วันที่: 10 มกราคม 2553 เวลา:0:22:38 น.  

 
ขอบคุณมากเลยพี่เต๊นที่ช่วยตอบให้ =]

ที่พี่ทายก็ถูกอ่ะแหละ เห็นประโยคมันแปลกๆก็เลยเอามาเป็น t/f อ่ะ มันเป็นหนังสือของ รศ.ดร.ย (จบ วท.บ วท.ม จุฬาฯอ่ะ) ไม่รู้ตัวย่อนั่นคือไรเหมือนกัน = ='' ที่เอามาถามพี่ก่อนนี่เสียวผิดเหมือน 2 สำนักพิมพ์ยอดฮิตนั่นไง
แต่เล่มนี้ไม่ค่อยผิดเหมือน ป. กะ ส. แต่ของพี่นี่แหล่มสุดแล้ว เหมาะอ่านสอบ อิอิ


โดย: frozen IP: 222.123.95.192 วันที่: 10 มกราคม 2553 เวลา:11:53:18 น.  

 
ไม่ต้องรีบตอบก็ได้นะพี่เต๊น จะสอบแล้วโชคดีนะพี่ แพรวก็จะสอบแพทย์แล้วเหมือนกัน -"-

Q : ที่พี่บอกว่าการแบ่งไซโกตของสมช.ชั้นต่ำเป็นแบบ meiosis พี่ช่วยยกตัวอย่างหน่อยได้มั้ยคะ


โดย: frozen IP: 222.123.95.192 วันที่: 10 มกราคม 2553 เวลา:16:38:08 น.  

 
ขอ ให้เธออย่าท้อ อย่าหน้างอไปเลยหนา
จง รู้ว่าชะตา ใช่ลิขิตชีวิตคน
อย่า หยุดการเดินหน้า ต้องฟันฝ่าพายุฝน
ท้อ นิดเราต้องทน เกิดเป็นคนอย่าแพ้ควาย
แท้ จริงเรามีเพื่อน คอยย้ำเตือนไม่ห่างหาย
และ อีกพ่อแม่นาย กำลังใจทุกเวลา
อย่า หยุดการก้าวเดิน ต้องเผชิญกับปัญหา
ถอย ก้าวตั้งตัวมา แล้วเดินหน้าอย่างภาคภูมิ
^^


โดย: ภีม IP: 58.11.48.25 วันที่: 10 มกราคม 2553 เวลา:23:26:30 น.  

 
ชอบมากเลยครับ ภีม เจ๋งๆ..... ชอบอ่ะ พอดีเราชอบถาษาไทยแต่แต่งกลอนไม่เก่ง


โดย: แตงโม IP: 58.9.50.37 วันที่: 11 มกราคม 2553 เวลา:16:47:57 น.  

 
# แตงโม
- การแพร่ หนังสือเล่มมด อ่านน. 96 - 97 + น. 100
ดูรูปทั้งสองรูปประกอบกัน อ่านข้อความใหม่อีกครั้ง
ถ้าไม่เข้าใจ ก็อ่านใหม่อีกครั้งนะครับ ^^" เดี๋ยวก็ get
- น้ำย่อยในลำไส้สุดท้ายก็ถูกย่อยเหมือนกัน หมดไปเป็นมื้อๆ จึงหลั่งออกมาเป็นมื้อๆ
- ปัจจัยอื่นสำหรับความหนืดของ gel กับ sol พี่ก็ไม่รู้ ฝากไปเป็นการบ้านละกันนะ

# น้องแพรว (ใช่มั้ย?)
- พวกเชื้อราหรือโพรทิสต์หรือสาหร่ายบางอย่าง ร่างกายเป็น n
บางทีจะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่เป็น n มาผสมกันเป็น 2n (zygote)
แล้วเปลี่ยนกลับเป็นร่างกายใหม่โดย meiosis ประมาณนี้อะ

//www.biologycorner.com/resources/haploid_life_cycle.gif
อย่างในรูปเป็นตัวอะไรไม่รู้ 55+ คล้ายๆงี้แหละ (แต่ไอ้ตัวนี้เหมือนจะไม่สร้างเซลล์สืบพันธุ์นะ)

# น้องภีม มาอารมณ์ไหน ^^"


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 11 มกราคม 2553 เวลา:21:11:58 น.  

 
พี่เต๊น ถ้า HCl ในกระเพาะอาหารช่วยทำไม่ให้อาหารบูดเน่า แล้วในลำไส้เล็กล่ะพี่ ใช่น้ำดีรึเปล่าที่ช่วยไม่ให้อาหารบูดเน่าอ่ะ(อ่านเจอในหนังสือเล่มนึงอ่ะพี่) แล้วก็ พี่เต๊นจำได้ป่าวแพรวเคยถามพี่เรื่องกรดน้ำดีช่วยทำให้ enz.ย่อยโปรตีนไม่ย่อย enz กันเองในลำไส้เล็ก ถ้าแพรวคิดเล่นๆว่า enzย่อยโปรตีนในลำไส้เล็กส่วนใหญ่มันจะย่อยพวก peptide สายสั้นหรือย่อยทางฝั่งหมู่อะมิโนหรือหมู่คาร์บอกทำให้มันไม่ย่อย enz ซึ่งเป็น polypeptide ส่วนกระเพาะอาหารมันมีพวก HCl และเมือกป้องกันอยู่แล้วเลยไม่เป็นไร อย่างงี้จะได้รึเปล่าพี่เต๊น

ปล. ใช่เลย น้องชื่อแพรว แหะๆ ^^''


โดย: frozen IP: 172.16.3.49, 202.129.12.194 วันที่: 13 มกราคม 2553 เวลา:10:00:56 น.  

 
พี่เต้นครับถามหน่อยครับว่า phragmoplast คืออะไร ทำหน้าที่อะไร ขอบคุนครับ


โดย: plug IP: 58.9.22.43 วันที่: 13 มกราคม 2553 เวลา:12:31:58 น.  

 
# น้องแพรว
- เรื่องอาหารบูดเน่าในทางเดินอาหารพี่ไม่คุ้นเลยอะ -*- เค้าเขียนว่าไงอะ
เค้าบอกว่า HCl ช่วยฆ่าเชื้อโรคที่มากับอาหารทำให้อาหารไม่บูดเน่าหรือเปล่า
ถ้าใช่มันไม่จำเป็นต้องเป็นกรดเกลือหรอก เป็นกลไกทางภูมิีคุ้มกันอื่นๆของทางเดินอาหารที่ฆ่าเชื้อโรคก็ได้
อย่างเอนไซม์ฺต่างๆ หรือสารเคมีภูมิคุ้มกันอีกเยอะแยะเลยที่ฆ่าเชื้อโรคในอาหารอะ
- พี่ว่าอย่าง trypsin หรือ chymotrypsin ความสามารถในการย่อยก็พอๆกับ pepsin นะ, protease ในลำไส้ย่อยได้แทบทุกรูปแบบเลย
และ protease ในลำไส้ก็สามารถไปย่อยน้ำย่อยตัวอื่นๆได้ด้วยนะ น้ำย่อยเลยต้องหลั่งออกมาเป็นครั้งๆไง

- # น้องปลั๊ก
phragmoplast คือแกนในระยะ cytokinesis ของเซลล์พืช
ที่ต่อไปจะกลายเป็น cell plate แล้วก็ middle lamella ตามลำดับครับ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 13 มกราคม 2553 เวลา:13:06:58 น.  

 
พี่เต๊น พี่ช่วยค้นให้หน่อยได้มั้ย (ไม่รีบเท่าไหร่พี่ รอพี่สอบเสร็จก่อนก็ได้อ่ะ) ว่าใน light reaction non-cyclic กับ cyclic อ่ะ แต่ละแบบเนี่ย e 1ตัวให้กี่ ATP แล้วที่แพรวเข้าใจก็คือเวลาถ่ายทอด e เนี่ย ใช้รอบละ 1 e ถูกป่ะ ? สอวน.หน้าไรซักอย่างบอก 1 แต่ถัดไปอีก 2 หน้าบอก 2 (มันเป็นรูปcycle อ่ะพี่ งงมากเลย) แล้วพวก text มันไม่ค่อยพูดถึงจำนวนด้วยเท่าที่เปิดๆอ่า มันจะบอกแค่ว่าได้ไรบ้าง ไม่บอกว่าได้กี่ ATP อ่ะ

ขอบคุณค่ะ


โดย: frozen IP: 172.16.3.19, 202.129.12.194 วันที่: 13 มกราคม 2553 เวลา:13:28:59 น.  

 
พี่เต๊นท์ครับ เวลาที่ปากใบเปิดเนี่ย
1.จำเป็นไหมครับว่าต้องขับ CO2 ออกมาอย่างเดียวหรือเปล่า
2.มีขับ O2 จากภายในไหม
3.ถ้าภายนอกมันสูงกว่า O2 และ CO2 เข้าไปได้ป่ะครับ


โดย: pete IP: 58.64.71.182 วันที่: 14 มกราคม 2553 เวลา:4:51:42 น.  

 
พี่เต๊นคะ ช่วยบอกความแตกต่างของplasma น้ำเหลือง และ CSF ให้หน่อยได้มั้ยอ่าพี่ แบบว่าอันนี้มีโปรตีนโมเลกุลใหญ่ อีกอันไม่มี ไรเงี้ยย

ขอบคุณค๊า


โดย: frozen IP: 117.47.20.171 วันที่: 14 มกราคม 2553 เวลา:20:02:13 น.  

 
พี่เต๊น ช่วยแพรวหน่อยนะ

Q: ข้อใดเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของ NADP+ ในกระบวนการสำคัญของการสังเคราะห์ด้วยแสง
ก.ทำหน้าที่เป็นตัวรับและให้ไฮโดรเจนแก่สารอื่น
ข.ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิต ATP
ค.ช่วยทำให้โมเลกุลของน้ำแตกตัวได้ H+ และ O2

1.ก 2ก ข 3.ขค 4.กขค


โดย: frozen IP: 172.16.3.21, 202.129.12.194 วันที่: 15 มกราคม 2553 เวลา:14:38:12 น.  

 
พี่ครับ...ขอถามนิดนะครับ...

สมมุติว่าทานนำวันละมากๆ ประมาณ 2-3 ลิตรนี่..
ดีไหมครับ ?? มีคนบอกผมว่าจะทำให้รบกวนปริมาณโซเดียมในสมอง...ซักอย่าง....แล้วสมองจะเสื่อม....

ผมกังวลมากเพราะผมกินวันละ 2-3 ลิตรครับ

ปล.ในเน็ตตีกันว่นวายไปหมด จึงมาพึ่งพี่ TENT ครับ ^^


โดย: ภีม IP: 58.9.252.60 วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:22:42:49 น.  

 
หนูอยากทราบว่า
- พืช c3 หรือ พืช c4 มีอัตราการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิมากกว่ากันค่ะ และทำไมค่ะ
- พืช c3 หรือ c4 อย่างไหนจะมีข้อได้เปรียบและความสามารถอยู่รอดในอนาคตซึ่งจะมีปริมาณคาร์บอนสูงขึ้นได้ดีกว่ากันค่ะ

ขอบคุณค่ะ ^^


โดย: ติ๊ IP: 125.24.220.144 วันที่: 23 มกราคม 2553 เวลา:15:48:42 น.  

 
พี่ค้าบ.....DNA polymerase 2 ไว้ทำอะไรค้าบ ขอบคุณค้าบ


โดย: ภีม IP: 203.144.144.165 วันที่: 28 มกราคม 2553 เวลา:1:50:13 น.  

 
โทษทีนะพี่ตอบช้ามากกกก 55+ ไม่รู้น้องๆจะเข้ามาตอบอีกหรือเปล่า

# น้องแพรว พี่เคยถามอ.ที่คณะวิทย์เรื่องนี้เหมือนกัน
- จำนวน e- ที่เด้งออกมาจาก chlorophyll a มี 2 โมเลกุล
- ในปัจจุบันไม่สามารถบอกว่าสัมพันธ์ระหว่างจำนวน e- (ทั้ง cyclic และ non-cyclic)
กับจำนวน ATP ที่สร้างขึ้นได้
ว่า 1 e- สร้างได้กี่ ATP
เรารู้เพียงแค่ว่าสมการรวมเกิด redox ของกี่ e-
ไม่เหมือนกับของการหายใจระดับเซลล์ที่ 1 NADH ได้ประมาณ 3 ATP และ 1 FADH2 ได้ประมาณ 2 ATP
- เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็ไม่ต้องคิดมากนะ
- ส่วนพลาสมา น้ำเหลือง CSF เอาง่ายๆเลยว่า
พลาสมา โปรตีนเยอะมาก ก้อนใหญ่ก้อนเล็กมีหมด
น้ำเหลือง โปรตีนก้อนใหญ่ๆไม่ค่อยหลุดออกมาจากหลอดเลือดฝอย
ส่วนใหญ่มีโปรตีนน้อย ถ้าหลุดมาจากตับจะมีมากหน่อย อาจมีโปรตีนแปลกๆเช่นที่ไว้ลำเลียงไขมัน
CSF โปรตีนน้อยมากๆ ส่วนใหญ่หลุดออกมาจากแถว blood-CSF barrier ถ้ามีมากขึ้นจะเป็นโรคในระบบประสาทส่วนกลาง
- NADP+ รับส่งโปรตอน ถูก,,
สร้าง ATP ผิด มันคนละปฏิกิริยากัน,,
ทำให้น้ำแตกตัว ผิด ไม่เกี่ยวกัน น้ำแตกตัวได้ต้องใช้ complex ที่มี Mn กับ Cl เป็นส่วนประกอบเหมือนที่พี่เขียนไว้ในหนังสือ

# น้อง pete
ปากใบเปิด สูญเสียไอน้ำไปเรื่อยๆแน่นอนเพราะข้างในความชื้นสัมพัทธ์เกือบร้อย
แต่ O2 กับ CO2 นี่มันแพร่เข้าๆออกๆเพราะพืชทั้งสร้างและใช้แก๊สสองชนิดนี้
ทั้งสองมีทั้งขับออก และแพร่เข้า
อย่าง O2 ต้องขับออกอยู่แล้วไง ที่ที่มีต้นไม้เยอะๆอากาศเลยบริสุทธิ์
ถ้าภายนอกแก๊สทั้งสองสูงกว่า (ซึ่งต้องเกิดขึ้นในห้องทดลองเพราะจริงๆมี N2 ตั้ง 79%)
พี่ว่ามันก็น่าจะแพร่เข้าได้นะ

# น้องติ๊
- C3, C4 จะเปรียบเทียบกันต้องดูด้วยว่าแสงเป็นยังไง ความเข้ม CO2 รอบๆเป็นยังไง (กราฟ น.74)
- โดยภาพรวมแล้ว C4 จะมากกว่าถ้ามีแสงเยอะ เพราะมันชอบแสง ทุกอย่างที่มันปรับเปลี่ยนก็เพื่ออยู่ในที่แสงจ้า
- ส่วน C3 จะดีถ้ามีความเข้มเข้น CO2 มาก เพราะ C4 พอถึงจุดหนึ่งมันจะอิ่มตัว
- ถ้าในอนาคต CO2 มากกขึ้นจะเป็นประโยชน์กับ C4 มากกว่า
เพราะ C4 เป็นพืชที่มีความสามารถและประสิทธิภาพในการตรึง CO2 มาใช้ได้มากกว่า

# น้องภีม
- น้ำกินวันละ 6-8 แก้วก็พอแล้วนะน้อง
- แต่พี่คิดว่ากินน้ำมากๆไม่น่าส่งผลต่อความดันในสมองหรือ electrolyte ในสมอง
เพราะในสมองทุกอย่างมันควบคุมอย่างแน่นหนามากๆ ถ้าโซเดียมขึ้นนิดเดียวเซลล์สมองก็ทำงานพลาดกันหมด ไม่น่าเป็นไปได้เลย
- และโรคสมองเสื่อมก็ไม่น่าเกี่ยวกับโซเดียมในสมองด้วยนะพี่ว่า
- แต่ถ้ากินน้ำมากๆก็ตายได้นะ -*- พี่เคยเห็นคนที่เมกาเค้าแข่งกันกินน้ำ ตายเลย..
- DNA polymerase ถ้าตามด้วยตัวเลขจะเป็นของ prokaryote ถ้าตามด้วยอักษรกรีก (แอลฟ่า เบต้า ฯลฯ) จะเป็นของ eukaryote
1: เอา RNA primer ออกไป จะได้สร้าง DNA ได้
2: ณ ปัจจุบันยังไม่รู้หน้าที่ (มั้ง) เค้าว่าน่าจะเกี่ยวกับ DNA repair
3: เกี่ยวกับการสังเคราะห์ DNA


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:20:53:30 น.  

 
แหม รอตั้งนาน 555


โดย: ภีม IP: 203.144.144.165 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:22:08:19 น.  

 
พี่ครับ sporopollenin นี่มันคืออะไรครับแล้วมันคือ cell wallของ spore เปล่าครับ
ขอบคุณครับ


โดย: ภีม IP: 58.11.20.221 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:22:14:59 น.  

 
ประมาณนั้นแหละ
อยู่ในผนังนอกสุดของ spore กับ pollen ครับ (แปลตามชื่อมันเลย)


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:9:48:47 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะพี่เต๊น :D


โดย: frozen IP: 117.47.68.42 วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:19:14:12 น.  

 
พี่ครับ มีเด็กถามผมมาว่า ถ้างูกัดบริเวณใบหน้าจะทำไงครับ เพราะว่า ถ้ารัดคอ ก็ตาย ถ้าไม่รัด พิษก็เข้าสู่หัวใจเร็ว แล้วจะปฐมพยาบาลยังไงครับ


โดย: แตงโม IP: 203.144.144.164 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:21:29:25 น.  

 
ไม่ต้องรัดครับ
ล้างแผล อยู่นิ่งๆ รีบส่งพยาบาล
กัดแขนกัดขาไม่ต้องรัดก็ได้ครับ
รัดมั่วเนื้อจะเน่าเอาเปล่าๆ
อย่าลืมเอาซากงูไปด้วยล่ะ





โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:19:09:04 น.  

 
ขอบคุณครับพี่ ตอนนี้ผมติดทันตะ จุฬาฯแล้วนะครับ พี่ครับ ขอบคุณพี่นะครับ ที่เขียนหนังสือดีดีออกมา และเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของผม หนังสือพี่ช่วยได้เยอะครับ
แม้ว่าจะไม่ได้แพทย์จุฬาฯก็ตาม โอ้.....ชีวิต....T_T กระซิก กระซิก เศร้า...อะไรอย่างนี้


โดย: แตงโม IP: 203.144.144.165 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:19:30:59 น.  

 
สวัสดีครับ เข้ามาเป็นครั้งแรก ได้อ่านหนังสือของพี่แล้วครับ น่าสนใจมากเลยครับ
ผมเป็นสอวน ค่าย 2 ศูนย์มหิดลวิทยานุสรณ์อ่ะครับ
มีหนังสือแนะนำไหมครับเรื่องของโอลิมปิกเพราะผมต้องการเนื้อหาที่มีความเข้มสูงอ่ะครับ ผมอยากได้ สสวท จังเลย หะหะ


โดย: ทาม IP: 110.164.187.205 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:15:26:26 น.  

 
เอ..เนื้อหาเข้มข้นสูงสำหรับติดสสวท.หรอครับ
พี่ว่าอ่านแคมเบลไปเลยดีกว่านะ ถ้าหวังไว้ให้ลึกขึ้นเรื่อยๆก็ต้องได้ใช้แน่นอนอะ
หนังสืออื่นอ่านเสริมไม่ต้องก็ได้ แต่เวลาอยู่ในค่ายตั้งใจเรียน+ทำแล็บให้ดีๆ
ข้อสอบในค่ายสอวน.ก็เอามาจากอ.ที่เลคเช่อทั้งนั้นครับ
ความรู้จากอ.ในค่ายบางอย่างก็หาจากที่อื่นอีกไม่ได้เลยนะ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 3 มีนาคม 2553 เวลา:12:23:59 น.  

 
เอ่อแล้วอยากรู้แหล่งข้อสอบชีววิทยาอ่ะครับอย่างผมหาข้อสอบพวก สอวน ยากเหลือเกินครับ
อยากถาม progeny virus ต่างกับ virus ใน lysogenic virus ยังไงครับ
ขอบคุณครับ


โดย: ทาม IP: 203.144.144.164 วันที่: 3 มีนาคม 2553 เวลา:22:13:27 น.  

 
แหล่งข้อสอบสอวน. ไม่มีครับ ถ้าอ่านที่อ.สอนก็ทำได้อยู่แล้ว
ที่ขายในร้านมีแต่ข้อสอบเอนท์นะ

progeny virus = ไวรัสตัวลูกที่สร้างขึ้นมาใหม่ในเซลล์ติดเชื้อ
lysogenic cycle = วงจรชีวิตของไวรัสที่แทรกตัวเข้าจีโนมโฮสต์แล้วแอบแบ่งตัวเองพร้อมเซลล์ไปเรื่อยๆ
lytic cycle = วงจรชีวิตของไวรัสที่ทำให้เซลล์แตก

//en.wikipedia.org/wiki/File:Phage2.JPG


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 4 มีนาคม 2553 เวลา:18:11:31 น.  

 
เอ่อ ครับแล้วก็อยากถามเรื่อยๆ ฮิๆ
1.อยากรู้วิธีแยกปรง (Cycad) กับ เฟิน ( Pterophyte ) อ่ะครับ เพราะว่าทั้งสองตัวนี้มีใบที่ม้วนงอเหมือนกันแต่ว่าปรงสร้าง cone เฟิน สร้าง strobilus แต่ดูยังไงก็ไม่ออกซะทีแล้วก็ถ้าทั้งสองตัวนี้ยังไม่สร้าง gamete เราจะดูได้ยังไงครับ
2.ในการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศของฟองน้ำมีความเกี่ยวข้องกับเจมมูลไหมครับ
3. ส่วนที่คล้ายราของราเมือกอ่ะครับ ตอนที่มันสร้างเป็นก้านแล้วมีสปอแรงเจียมอยู่ข้างบนอ่ะครับเป็นแบบแฮพพลอยด์หรือดิพลอยด์อ่ะครับ
ขอบคุณครับ


โดย: ทาม IP: 183.89.64.4 วันที่: 6 มีนาคม 2553 เวลา:12:00:10 น.  

 
อ้อ ถามด้วยครับ ว่า
founder effect กับ การอพยพ มัน่ต่างกันยังไงและเหมือนกันยังไง ทั้งที่มันก็เกิดจากการย้ายเข้า ย้ายออกทำให้ความถี่ของยีนเปลี่ยนแปลงเหมือนกันไม่ใช่หรอครับ


โดย: ทาม IP: 183.89.64.4 วันที่: 6 มีนาคม 2553 เวลา:17:44:28 น.  

 
อยากถามว่าRibosomal size คืออะไรและเลข 70s กับ 80s
sมันคืออะไร


โดย: penguin IP: 114.128.136.102 วันที่: 6 มีนาคม 2553 เวลา:22:16:28 น.  

 
สงสัยอ่ะครับอ่านหนังสือของพี่แล้วบางทีมันไม่ค่อยตรงกับการเข้าใจของผมอ่ะครับ อยากให้พี่ช่วยตรวจสอบหน่อย
หน้า 42 อ่ะครับส่วนทีเป็นตารางที่บอวว่า amphibia มี cranial nerve 10 คู่ อ่ะครับผมจำได้ว่า กบมี cranial nerve 9 คู่แล้วมี spinal nerve 10 คู่หรือเปล่าครับ ช่วยตรวจสอบให้หน่อย

แล้วก็หน้าที่พี่บอกว่าพอร้อนเนี่ยเส้นเลือดจะขยายตัว เพื่อให้เลือดเข้ามา แต่ผมจำได้อีกแบบว่าถ้าอากาศเย็นเนี่ยเลือดถึงจะเข้ามาเพราะว่าเลือดจะพาความอุ่นมาให้ อันนี้ไม่แน่ใจครับแต่วานตรวจสอบให้หน่อย

แล้วก็ผมงงอ่ะครับว่าจริงๆแล้วเนี่ย สนหางสิงห์ เป็นพืประเภทไหนกันแน่เพราะว่า บางตำราก็บอกว่า หางสิงห์ เป็นซิแลกจิเนลลาแล้วสนหางสิงห์เป็นพวกเดียวกับสนเกี๊ยะแต่ตำราของพี่บอกว่า สนหางสิงห์เป็นพวกซิแลกจิเนลลาผมเลยงงอ่ะครับ

แต่หนังสือพี่ดีมากเลยครับผมตั้งใจจะอ่านให้จบเร็วๆนี้แหละครัยแต่มีข้อสงสัยดังกล่าวจึงขอฝากถามไว้ ขอบคุณมากครับ


โดย: ทาม IP: 203.144.144.164 วันที่: 12 มีนาคม 2553 เวลา:21:54:09 น.  

 
ขอบคุณค่ะ เพราะได้ p'Tent ช่วย clear ข้อสงไสทำให้เข้าใจ bio ได้อย่างท่อแท้ ทำข้อสอบได้อย่างมันใจ ขอบคุณค่ะ

keep up the good work

P.S ได้เป็น SI121 แล้วค่ะ! เพราะหนังสือ p'tent แท้ๆเลยขอบอก

P.S.S ตอนนี้ใครถามหนูว่าจะ ent แพทย์อ่าน bio เล่มไหนดี หนูตอบได้อย่างมันใจว่าต้องเล่มนี้เลย คนเขียนเขารู้จริง ไม่ใช้ของใครหรอกค่ะ แต่ก็คือหนังสือ P'Tent นั้นเอง!!!! ขอยัมว่าดีมาก

ขอขอบคุณอีกครั่งน่ะค่ะ !!!!


โดย: ถามผู้รู้ IP: 183.89.198.250 วันที่: 12 เมษายน 2553 เวลา:12:59:25 น.  

 
คือเป็นข้อสอบปี 44 ค่ะซึ่งมีคนเฉลยต่างกัน
ยีนโฟลว์เกิดขึ้นในสถาวะใด
ก สิ่งมีชีวิตมีการเคลื่อย้ายที่อยู่
ข การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางพันธุกรรม
ค การผสมพันธุ์
ง การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต

1กข 2ขค 3คง 4กขคง

มีคนเฉลย 3และ 4


รกช่วยป้องกันอันตรายได้หรือเปล่าค่ะ


ไส้ติ่งของวัวย่อยและดูดซึมอาหารได้หรือเปล่า

การแปรผันเกิดจาก
ก การเปลี่ยนแปลงของยีน
ขการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
ค การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

1ก 2กข 3กค 4กขค


โดย: lek IP: 203.209.93.26 วันที่: 14 เมษายน 2553 เวลา:21:14:28 น.  

 
พี่คับช่วยอธิบายเรื่ิองวัทจักรเครปหน่อยนะคับพี่


โดย: เจ้าชายแกงจืด IP: 183.89.62.12 วันที่: 17 เมษายน 2553 เวลา:20:52:33 น.  

 
# น้องทาม
- เฟินกับปรง ต่างกันมากมาย
ง่ายสุดคือสร้างเมล็ดกับไม่สร้างเมล็ด, แยกเพศกับไม่แยกเพศ
ปรงสร้าง cone ส่วนเฟินไม่ได้สร้าง strobilus อย่างที่น้องว่านะ มักสร้างอับสปอร์มากกว่า
การม้วนของใบอ่อนที่น้องบอกก็แยกได้ ถ้าเป็นเฟินบางชนิดจะม้วนจากปลายเข้ามาหาโคน (circinate vernation)
แต่ถ้าเป็นปรงบางชนิดจะม้วนจากขอบใบมาหาเส้นกลางใบ (involute vernation)
ปล. ปรงส่วนใหญ่รูปร่างเหมือนๆกัน ถ้าเกิดจำได้มันก็คล้ายๆกันหมด ดูไม่ยากหรอกมั้ง
- ราเมือก พี่ไม่ค่อยรู้ ค้นมาให้
//theyesmen.org/agribusiness/halliburton/about/images/28-30-CellSlimeMoldLife-L.jpg
//www.bio.miami.edu/dana/pix/slime_mold_lifecycle.gif
จากรูปจึงเห็นได้ว่าราเมือกสายพันธุ์ต่างกันวงจรชีวิตต่างกัน คำถามที่น้องว่าจึงตอบไม่ได้
- การอพยพ คือส่วนหนึ่งของประชากรออกไปหรือเข้ามา ทำให้"ขนาดประชากร"เปลี่ยนแปลง
- founder effect เป็นผลจากการอพยพของประชากรส่วนหนึ่งออกไปตั้งถิ่นฐานกลายเป็นประชากรกลุ่มใหม่
ทำให้ยีนพูลไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรกลุ่มเดิมได้
- จะเห็นว่า founder effect เกิดจากการอพยพออก ที่มีเงื่อนไขของมัน และเราโฟกัสไปที่"ยีนพูล"มากกว่า"ขนาดประชากร"
- กบมี CN และ SN อย่างละ 10 คู่ครับ
- การควรคุมเลือดที่มาเลี้ยงผิวหนัง ขึ้นอยู่กับ 2 อย่าง ซึ่งต่างสั่งการผ่านระบบ sympathetic โดย adrenaline, acetylcholine ฯลฯ
อาจเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสองอย่างพร้อมกัน
การเปลี่ยนแปลงปริมาตรเลือดทำให้สีผิวเปลี่ยนไป (มาก=แดง, น้อย=ซีด)
1. ระบบ reflex: มี sensor อยู่ที่ทั้งผิวหนัง และสมองส่วน hypothalamus
2. คุมโดยตรง: หลอดเลือดจะขยาย-หดขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายนอก
ยิ่งร้อน ยิ่งขยาย ช่วยระบายความร้อน *
ยิ่งเย็น ยิ่งหด รักษาความร้อน *
ถ้าเย็นกว่า 15C จะขยายตัว เวลาเด็กฝรั่งไปเล่นกลางหิมะจึงหน้าแดง
(แต่ขยายเพื่อเอาความอุ่นมาให้หรือเปล่า อันนี้ไม่แน่ใจ น่าจะเกี่ยวกับเกินกำลังที่จะหดแล้วมากกว่า)
ปล. ถ้าอยู่ม.ปลายอ่านสองบรรทัดที่เขียน * พอแล้ว
- หางสิงห์ เป็น lycopodium สนหางสิงห์ เป็นสน
อันนี้พี่พลาดเอง พึ่งรู้เหมือนกัน ขอบใจมากนะ

# ตอบน้องเพนกวิน
S ย่อมาจาก svenberg unit of sedimentation
เป็นหน่วยการตกตะกอนครับ อนุภาคใหญ่ๆจะตกตะกอนได้ไวกว่า มีค่า S มากกว่า แค่นี้เอง
อย่าง ribosome 80S ของ eukaryote เกิดจากหน่วยใหญ่ 60S มารวมกับหน่วยเล็ก 40S
ที่มันเอามาบวกกัน (60+40=80) ไม่ได้เพราะเวลาประกอบกันมันมีปัจจัยเรื่องพื้นที่ผิวและอื่นๆมาประกอบกันครับ

# ตอบน้องเล็ก
- จากตัวเลือกที่ให้มาพี่ตอบ 3 ครับ
ค. - สิ่งมีชีวิตจากประชากรกลุ่มหนึ่งมาผสมพันธุ์กับกลุ่มหนึ่ง = ยีนโฟลว
ง. - การแพร่กระจายของสัตว์ พืช เกสรดอกไม้ไปผสมกับประชากรกลุ่มอื่น = ยีนโฟลว
ข. - ไม่น่าใช่ - จะเกี่ยวกับยีนโฟลวก็ต่อเมื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุกรรมในระดับยีนพูล
แต่นั่นเป็น 'ผล' ของยีนโฟลว ไม่ใช่ 'เหตุ' อย่างที่โจทย์ต้องการ
และพี่อ่านดูแล้วคำว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพันธุกรรมเฉยๆ น่าจะหมายถึงในระดับปัจเจก (individual) มากกว่า
เช่นการเกิด mutation ไรเงี้ย
ก. - น่าคิด แต่ช้อยส์มันไม่มี - การที่สิ่งมีชีวิตมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่ อาจจะไปผสมกับประชากรกลุ่มอื่นได้ แต่น้ำหนักมีไม่มากเท่ากับการกระจายพันธุ์ (ง.)
และถ้าไม่ต้องคิดมาก การ'ย้ายที่อยู่'ก็คือหาที่อยู่ใหม่ จบ ไม่ต้องไปยุ่งอะไรกับประชากรกลุ่มอื่น
- รกป้องกันทารกจากแบคทีเรียและสารเคมีบางชนิดได้ครับ
แต่ถ้าหมายถึง mechanical defense ควรเป็นของน้ำคร่ำมากกว่า
- วัวไม่มีไส้ติ่งครับ
ไส้ติ่งที่เหมือนของคนปรากฎอยู่ใน marsupial บางตัวเท่านั้น
เช่น วอมแบท กระต่าย หนู ape มนุษย์
ถ้าหมายถึง cecum ของวัวล่ะก็เอาไว้หมักกากอาหารและมีแบคทีเรียช่วยย่อย cellulose ครับ
//www.answersingenesis.org/tj/v3/i1/appendix.asp
- ความแปรผันพี่คิดว่าตอบ 1 นะ
ก. การเปลี่ยนแปลงของยีน - ถูกที่สุด
ข. การคัดเลือก - ความแปรผันทำให้เกิดการคัดเลือก (ถ้าไม่มีความแปรผันเลยสิ่งมีชีวิตจะไม่ถูกคัดเลือกและไม่มีวิวัฒนาการ)
ผิดที่บอกว่าการคัดเลือกทำให้เกิดความแปรผัน
ค. การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม - ไม่จำเป็นที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปแล้วประชากรจะมีความแตกต่างกันขึ้นมา
แต่การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม + ความแปรผัน = การคัดเลือก
เช่น อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น + ปลาการ์ตูนมีสายพันธุ์ทนร้อนกับสายพันธุ์ขี้ร้อน = ปลาการ์ตูนสายพันธุ์ทนร้อนถูกคัดเลือกเอาไว้


โดย: แฮปปี้สงกรานต์ (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:18:22:40 น.  

 
นึกว่าพี่จะไม่ตอบซะแล้วครับหายไปนาน ขอบคุณครับ
ยังสงสัยต่อ
1. กล้วยเป็นผลประเภท berry ใช่ไหมครับแล้วทำไมถึงเป็นดอกย่อยล่ะครับ แล้วเป็นดอกประเภทเดียวกับ หน้าวัว อุตพิต รึเปล่าครับ(spadix type) เพราะว่ามี bract ขนาดใหญ่

2.รูปที่พี่ให้มาอ่ะครับ ราเมือกทำไมรวมแล้วเกิด meiosis ทันทีล่ะครับ เพราะว่าราเมือกพอ fertilization แล้วต้องเป็นระยะ plasmodial slime mold ไม่ใช่หรอครับ

ถามลึกนิดนึง
3.การกำหนดหัวของ Drosophilia ที่เป็นตัวคล้ายๆแมลงวันอ่ะครับ เกิดจากอะไรซักอย่างที่เรียกว่า bicoid มันคืออะไรครับ (~อ่านจาก campbell)

ปล.ผมไม่ติดตัวแทนศูนย์อ่ะครับ+หนังสือพี่ดีมากเลยครับ


โดย: time IP: 183.89.74.157 วันที่: 21 เมษายน 2553 เวลา:9:52:22 น.  

 
ผมมีข้อสงสย 5 ข้อครับ
1. AcetylCoA ในกระบวนการไกลโคลิซิสมีส่วนประกอบของ CoA อยากถามว่า CoA ไปไหนแล้วครับในวัฏจักรเครบส์ไม่เห็นว่าสารไหนจะมี CoA เป็นองค์ประกอบ

2.ถ้าพืชลำเลียงน้ำด้วยกระบวนการ transpiration pull แล้วต้นไม้ที่สูงๆเวลาที่บรรยากาศภายนอกอิ่มตัวทำให้คายน้ำได้น้อยหรือได้ยาก พืชนั้นจะลำเลียงน้ำไม่ได้หรือครับ

3. เวลาที่เราทามน้ำร่างกายมีกระบวนการที่ เมื่อดื่มน้ำเข้ามาน้ำถึงบริเวณลำคอการกระหายน้ำก็หายไปแล้วเพื่อไม่ให้น้ำในเซลล์มากเกินไป ถามว่าแค่น้ำไปถึงลำคอแล้วร่างกายลดการกระหายน้ำได้ยังไงอ่ะครับ

4.อยากทราบวงจรการลำเลียงเลือดของปลาหมึกเพราะเห็นว่ามันมี 3 หัวใจที่ไม่ติดกัน ผมไม่ทราบอ่ะครับ

5.ทำไมวัวไม่มีไส้ติ่งอ่ะครับเพราะผมเห็นว่าหนังสือหลายเล่มเขียนว่า มีไส้ติ่งขนาดใหญ่และมีแบคทีเรียช่วยย่อยอาหาร ?


โดย: time IP: 183.89.78.191 วันที่: 22 เมษายน 2553 เวลา:8:57:18 น.  

 
ถามเรื่อยๆครับ มีคำถามเยอะ
1. ทำไมพี่เขียนว่ามี Ca มากตอบสนองช้าละครับในเรื่องฮอร์โมน เพราะว่าผมเห็นว่าด้าน synapse ก็ใช้ Ca ด้านกล้ามเนื้อก็ใช้ Ca นี่ครับ
2. อยากรู้ว่าพวก gymnosperm ทั้ง 4 ตัวมีใบเลี้ยงเท่าไรบ้างอ่ะครับ แล้วทำไมพืชดอกบางพวกเราถึงไม่เคยเห็นผล( fruit ) ของมันล่ะครับ(เช่นผลดาวเรือง etc ) แล้วเมล็ดอย่างเมล็ดส้ม เมล็ดมะม่วงเกิดจากการปฏิสนธิของ sperm กะ egg สามารถเพาะลงดินได้เลยรึเปล่าครับ


โดย: time IP: 183.89.3.228 วันที่: 23 เมษายน 2553 เวลา:22:39:41 น.  

 
พี่ค่ะ
หญิงศีรษะไม่ล้าน แต่มีพ่อศีรษะล้าน แต่งง่นกับชายศีรษะล้าน ได้ลูก 2 คน ลูกชายคนแรกศีรษะล้านและลูกคนที่ 2 เป็นหญิง จงคำนวณโอกาสที่เป็นไปได้ที่ลูกสาวคนนี้จะมีศีรษะไม่ล้าน
1. 12.5 % 2. 25% 3. 60% 4. 75%

ข้อใดอธิบายลักษณะศีรษะล้านของลูกของครอบครัวนี้ได้อย่างถูกต้อง เมื่อพ่อมีศีรษะล้านแต่ย่าศีรษะไม่ล้านและครอบครัวของย่าไม่เคยมีประวัติใครศีรษะล้านมาก่อน และแม่มาจากครอบครัวที่ไม่เคยมีศีรษะล้านมาก่อนมีลูกสองคนเป็นชายหนึ่งคนและหญิงหนึ่งคน
1. ทั้งลูกชายและลูกสาวทุกคนศีรษะไม่ล้าน
2. ทั้งลูกชายและลูกสาวมีโอกาสศีรษะล้านเท่าๆกัน
3.ลูกชายอาจจะศีรษะล้านหรือไม่ล้านก็ได้ แต่ลูกสาวศีรษะจะไม่ล้าน
4. ลูกชายทุกคนศีรษะไม่ล้าน แต่ลูกสาวอาจจะมีศีรษะล้านหรือไม่ล้านก็ได้



โดย: pung IP: 125.24.4.247 วันที่: 24 เมษายน 2553 เวลา:23:46:10 น.  

 
กล้วยสุกทำให้พืชมียอดเพิ่มมากขึ้นในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

เปรียบเทียบ
SNS ทำงานเมื่อมีการกระตุ้น
ANS ทำงานได้เองไม่ต้องกระตุ้น

การเกิดครอสซิงโอเวอร์ทำให้เซลล์สืบพันธุ์มีจีโนไทป์ต่างกัน
บางเล่มบอกว่าผิด เพราะ ยีนบนเซลล์สืบพันะเรียกว่าแอลลีล ไม่ใช่จีโนไทป์

เป็นนิ่วในไตมีผลต่ออัตราการกรองที่โกลเมอรูลัส

วัฏจักรของยีสต์ป็นอย่างไร

ระยะฟีตัสสมองโตเร็วกว่าแขน
ศร๊ษะชะลอการเติบโตตอนอายุ 20
เอมบริโอเพิ่มขนาดด้วยอัตราเร็วสูงสุดในช่วง 2เดือนแรก

ก้านสมองควบตุมการหลับตื่นรู้สึกตัว

แคลเซียมช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
ทั้งหมดนี้ผิดถูกยังไงค่ะ

ความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีเรียเรืองสร้างกับปลาทะเลน้ำลึกคือ

สารละลายไหนเข้าสุ่ทางเดินอาหารจะมีผลยับยั้งการย่อยโปรตีนในกระเพาะ
กNa2CO3
ขNaHCO3
คNa2HPO4
งNaH2PO4

1กข 2ขค 3คง 4กง

ระบบนิขคเวศที่มีการเปลี่ยนแปลงแทนที่มากที่สุด
ป่าดิบชื้น ทุ่งทานตะวัน
สวนป่าสัก ป่าชายเลน


โดย: เลข IP: 203.209.97.134 วันที่: 25 เมษายน 2553 เวลา:12:39:21 น.  

 
พี่เต๊นคับ amino acid ดูดซึมเข้าสู่เซลล์ ด้วยวิธี active transport รึเปล่าครับ


โดย: kkk IP: 222.123.213.188 วันที่: 1 พฤษภาคม 2553 เวลา:0:38:08 น.  

 
ถามหน่อยค้าบ
ในการดูดซึมไขมัน กลีเซอรอลเเละกรดไขมันที่ถูกย่อยเเล้วจะรวมตัวเป็นไตรกลีเซอไรด์ที่ใด
1 ในท่อน้ำเหลือง
2 ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของลำไส้เล็ก
3 ในเซลล์บุของวิลลัส
4 ในหลอดเลือดฝอยที่ตับ


โดย: quark IP: 222.123.213.2 วันที่: 3 พฤษภาคม 2553 เวลา:14:35:15 น.  

 
cell ชนิดใดพบอยุ่นอกระบบประสาทส่วนกลาง
ก เซลล์ประสาทรับความรู้สึก
ข เซลล์ประสาทสั่งการ
ค เซลล์ประสาทประสานงาน

1 ก 2 ข 3 ก ข 4 ก ข ค


โดย: quark IP: 222.123.213.2 วันที่: 3 พฤษภาคม 2553 เวลา:14:37:40 น.  

 
พี่เต๊นค่ะ เมื่อวันก่อนหนูเพิ่งไปสอบ พสวท มาอ่ะค่ะ
คือ สงสัยว่า
แต่หนูจำคำถามไม่ค่อยได้นะค่ะ มันเป็นข้อสอบที่ว่ามีหลายๆข้อเรื่องอัตราการคายน้าม ให้ตอบว่า เพิ่มขึ้น ลดลงหรือคงที่
คือมีคำถามข้อหนึ่ง ประมาณว่า
ถ้ามีปริมารน้าม ในชั้นmesophyll มาก จะมีอัตราการคายน้าม เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง หรือคงที่ค่ะ คือหนูตอบว่าเพิ่มขึ้น


โดย: ตาแหลม IP: 118.173.237.97 วันที่: 10 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:39:50 น.  

 
ถามหน่อยค่ะ คือหนูไปเจอข้อสอบในหนังสือ ชีวม.4 เล่มสีเทาๆของ พ.ศ. มามันมีอยู่ข้อหนึ่ง หน้าที่ 28 ข้อที่ 23 เค้าถามว่า เส้นผ่านศูนย์กลางของอาณาเขตที่เห็นจากกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งใช้เลนส์ใกล้ตา 10xและเลนส์วัตถุ10x วัดได้ 1200 ไมโครเมตร
เมื่อเปลี่ยนเลนส์เป็น40x จะเห็นภาพของวัตถุเป็นสัดส่วนกับอาณาเขตที่เห็นได้ดังภาพ

ถามว่าวัตถุที่เห็นมีความยาวจริงเท่าไร
=ขอบคุณค่ะ


โดย: jar IP: 111.84.15.220 วันที่: 16 พฤษภาคม 2553 เวลา:13:52:21 น.  

 
ไม่ตอบมานานมาก ขอโทษนะครับที่คณะมันวุ่นๆ

# น้องทาม พี่จะตอบเฉพาะที่ตอบได้นะ ไม่มีเวลามาค้นให้
- กล้วยเป็น berry ถูกแล้วครับ แต่การจัดประเภทนี้ไม่ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นดอกย่อยหรือเปล่า เป็นช่อดอกไหม
ขึ้นกับลักษณะของเมล็ดและ ovule ในดอกแต่ละดอกครับ
- ไม่ใช่ครับ สมชว.ชั้นต่ำอย่างแบคทีเรีย ฟังไจ จะมีเซลล์ร่างกายเป็น n
เวลา fertilize แล้วมักจะ meiosis ให้ร่างกายกลับเป็น n เหมือนเดิม
plasmodial slime mold ไม่ได้เกิดจากการปฏิสนธิครับ ส่วนใหญ่เกิดจากหลายๆเซลล์ n มา aggregate กันมากกว่า
- bicoid ใน campbell พี่ลืมไปหมดแล้วล่ะ ~*
- CoA เป็นหมู่เอาไว้นำอะตอม C ไปผสมกับสารอื่นครับ
acetyl CoA พอกลายเป็น citrate หมู่ CoA มันก็หลุดไปครับ
ใน Krebs ยังมีสารที่ชื่อ succinyl CoA ด้วยเหมือนกัน เปิด campbell ดูสิ
- บรรยากาศที่อิ่มตัวด้วยไอน้ำมากขึ้นน่าจะทำให้พืชคายน้ำได้ลดลงครับ
เพราะมากขึ้นยังไงก็ไม่น่าจะมากกว่าในโพรงใบที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูงเกือบ 100% อยู่แล้ว
ไม่อย่างนั้นพืชในป่าดงดิบคงคายน้ำไม่ได้และตายภายหลังฝนตกน่ะสิ
- พอน้ำถึงคอแล้วเราหยุดหิวน้ำ โดยที่แรงดันออสโมติกของเลือดยังไม่เปลี่ยนแปลง
เป็นเพราะสมองสั่งครับ แบบว่ากินน้ำแล้วนะ หยุดหิวน้ำได้แล้ว
- วงจรลำเลียงเลือดของปลาหมึก พี่ก็ไม่รู้ครับ
- ไส้ติ่งวัวขนาดใหญ่ที่เล่มอื่นเขียน พี่คิดว่าคงเป็น caecum มากกว่า
ไส้ติ่งมนุษย์ที่ยื่นออกมาเป็นตัวหนอนและไม่มีประโยชน์ เรียก vermiform appendix ปรากฏในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่กี่ชนิดครับ
- Ca กับการตอบสนอง ไม่ได้เกี่ยวกับการหลั่งสารสื่อประสาทครับ
เกี่ยวกับ Ca ไปมีผลต่อศักย์ไฟฟ้าเยื่อหุ้มเซลล์มากกว่า เมื่อศักย์เปลี่ยนไปก็ทำให้ภาวะถูกกระตุ้น (excitability) เปลี่ยนแปลงไปด้วย
- พืช gymnosperm มีจำนวนใบเลี้ยงแตกต่างกันในแต่ละ species ครับ สนแต่ละชนิดก็มีใบเลี้ยงแตกต่างกัน
- พืชดอกทุกชนิดต้องมีผลและเมล็ดครับ ที่เราไม่เห็นไม่ใช่ว่ามันไม่มี อย่างดาวเรืองที่น้องว่าพี่ก็เคยเห็นนะ
- เมล็ดส้มเอาลงดิน ตอนเด็กๆพี่เคยทำมันก็งอกนะ
ส่วนเมล็ดมะม่วงเหมือนเกษตรกรจะต้องเอาเปลือกหุ้มเมล็ดที่หนาๆออกไปก่อนถึงจะเพาะได้ รู้มาแค่นี้ล่ะ

# น้อง pung (ปุ๋ง?)
- ข้อแรกโจทย์ให้มาแค่นี้หรอครับ
มีผู้ชายสามคนที่จีโนไทป์เป็น B1B1 หรือ B1B2 ก็ได้
กับผู้หญิงคนนึงที่จีโนไทป์เป็น B1B2 หรือ B2B2 ก็ได้
พี่ว่ามันน่าจะคิดยากมากและต้องแยกกรณีคิด + ใช้ช้อมูลความถี่อัลลีลในยีนพูลด้วยเลยนะ?
โจทย์ควรจะมีคำว่า homozygous หรือ heterozygous โผล่มาอย่างน้อยคำนึงก็ยังดี
- ข้อต่อมาตอบ 3. นะ
คุณย่ากับคุณแม่เป็น B2B2 เพราะผมปกติและไม่มีประวัติ
คุณพ่อหัวล้าน เป็น B1__ แต่รับ B2 มาจากย่า จึงเป็น B1B2
เมื่อ B1B2 (พ่อ) x B2B2 (แม่) ลูกที่เกิดจะ B1B2 50% และ B2B2 50%
ถ้าเป็นลูกชายจึงหัวล้านครึ่งนึง ถ้าเป็นลูกสาวจึงผมปกติ

# น้องเลข
ถ้าได้เป็นโจทย์เต็มๆมาจะดีกว่านี้นะครับ
- กล้วยสุก น่าจะหมายถึง ethylene มากกว่า cytokinin นะครับ มีโจทย์ข้อนี้ในหนังสือ
- ANS ก็ต้องการสิ่งเร้าครับ ม่านตาก็ต้องการแสง หัวใจเต้นแรงก็ต้องการความเครียด เป็นต้น
- ที่บอกว่าผิดและเรียกว่าอัลลีล พี่ว่ามันจับผิดเกินไปและไม่ใช่ประเด็นที่ต้องมาออกข้อสอบ
ถามอ.ให้แล้ว คำว่าจีโนไทป์หมายถึงลักษณะพันธุกรรม
แบคทีเรียมี n เดียวก็เรียกว่าจีโนไทป์ได้ไม่เห็นต้องเรียกว่าอัลลีล
gamete ปกติเป็น n เดียวถ้าเรียกว่าจีโนไทป์ก็ไม่น่าผิดอะไร
- นิ่วในไตอาจไม่ส่งผลต่อค่าอัตราการกรองโดยตรงแต่ส่งผลทางอ้อมได้ ขึ้นกับตำแหน่งและความรุนแรงของโรค
- วัฎจักรยีสต์อะไรครับ ยิสต์มี 1500 สปีชี่ส์นะ
ถ้ายีสต์ขนมปังล่ะก็ //www.microbiologyprocedure.com/genetics/genetically-important-organisms/life-cycle-of-saccharomyces-cerevisiae-yeast.htm
- ระยะฟีตัสสมองโตเร็วกว่าแขน? บอกไม่ได้ครับ
ถ้ามองในแง่พัฒนาการ
แขนกลายเป็นแขนที่สัปดาห์ 8 สมองยังสร้างรอยหยักไปเรื่อยๆจนถึงสัปดาห์ 38
ถ้ามองในแง่ขนาด มันก็ใหญ่ขึ้นพร้อมๆกันน่ะแหละครับ
แขนก็ยาวขึ้นของมัน สมองก็ใหญ่ขึ้นของมัน
ถึงแม้ว่าขนาดศีรษะจะลดอัตราการเพิ่มลงที่สัปดาห์ 12 ให้ได้สัดส่วนกับขนาดร่างกายก็ตาม
เป็นประโยคที่ไม่น่าเอามาตั้งคำถามนะพี่ว่า
- กระดูกมนุษย์หยุดเจริญที่อายุปรมาณ 20 ครับ
แขนขา จะยืดยาวในช่วงวัยเจริญพันธุ์มาก
แต่กะโหลกศีรษะ เกิดมาก็ 63% ของ maximum แล้ว
ขวบปีแรก 88% พอสิบขวบ 95% ดังนั้นภายใน 10-20 ปีขนาดกะโหลกจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆไม่เหมือนกระดูกแขนขาที่ได้รับอิทธิพลฮอร์โมนเพศครับ
- เอมบริโอเพิ่มขนาดสูงสุดในช่วงแปดสัปดาห์แรก?
เอมบริโอมันนับถึงปลายสัปดาห์ที่สิบนะครับ
ปลายสัปดาห์ที่ 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10
เอมบริโอจะมีขนาด (mm) 4, 8, 13, 18, 30, 50, 61 ตามลำดับ
บอกไม่ได้หรอกมั้ง ลองใช้แคลคูลัสดูเส้นกราฟดูสิครับ ^^
- ก้านสมองช่วยคุมความรู้สึกตัว (consciousness) ถูกครับ
- แคลเซียมช่วยสร้าง RBC? ไม่ได้สร้างโดยตรงครับ
มีในแบบฝึกหัดแล้ว ต้องตอบว่าไม่ช่วย
ถึงแม้ว่า Ca จะมีบทบาทในการนำสัญญาณ metabolism ต่างๆ แต่ก็ไม่ได้เฉพาะกับการสร้าง RBC เท่านั้น
- แบคทีเรียเรืองแสงให้ปลาทะเลน้ำลึกจับเหยื่อ ในทางกลับกันแบคทีเรียก็ได้ที่อาศัย
เป็น mutaulism ครับ
- ยับยั้งการย่อยโปรตีนในกระเพาะ ตอบข้อที่เป็นเบสครับ
ขNaHCO3 คNa2HPO4 ตอบข้อ 2.
Na2HPO4 เป็นเบสอ่อนในขณะที่ NaH2PO4 เป็นกรดอ่อน และ Na2CO3 เป็นกลางครับ
ใช้เคมีม.6 นะ
- ระบบนิเวศที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด เลือกที่มัน complex ที่สุดครับ
คือ "ดูมีอะไร" มากที่สุด ตอบป่าดิบชื้นครับ

# น้อง kkk
กรดอะมิโนดูดซึมในลำไส้เล็กได้หลายแบบครับ
มีโปรตีนตัวพาเป็นสิบระบบที่แตกต่างกัน
facilitated diffusion ก็มี, active transport ก็มี (แต่เป็นชนิดที่ใช้พลังงานจากศักย์ไฟฟ้าของ Na+ ไม่ได้ใช้ ATP อย่างที่น้อยรู้จัก)
แบบอื่นๆที่แปลกๆก็มีครับ

# น้อง quark
ข้อแรกตอบ 3. มีอยู่ในหนังสือ น.86
โจทย์ข้อสองมีอยู่ในแบบฝึกหัดครับ น.263

# น้องตาแหลม
ปกติไอน้ำในชั้น mesophyll มันมากอยู่แล้ว เรียกได้ว่าความชื้นสัมพัทธ์เกือบจะ 100% เลยล่ะ
ความชื้นสัมพัทธ์ที่มากในโพรงใบไม้นี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แก๊สแพร่จากในใบออกไปนอกใบ นั่นก็คือการคายน้ำนั่นแหละ
ถ้าเกิดไอน้ำใน mesophyll มากขึ้นได้อีก พี่ว่ามันก็ต้องแพร่ขึ้นได้มากกว่าเดิมนะ น้องน่าจะตอบถูกแล้ว

# น้อง jar
10x กับ 10x เป็น 100 เท่า เห็นสนามภาพ 1200 ไมครอน
10x กับ 40x เป็น 400 เท่า จึงเห็นสนามภาพ 300 ไมครอน
อย่าลืมว่าพอกำลังขยายมากขึ้น สนามภาพจะแคบลง เพราะมันจะซูมที่แคบๆนั้นให้เห็นรายละเอียดมากขึ้น
โจทย์บอกว่าภาพที่เห็นเป็นสัดส่วนกับอาณาเขต แสดงว่าเห็นภาพเต็มจอพอดี คือ 300 ไมครอน
กำลังขยาย = ขนาดภาพที่เห็น / ขนาดภาพจริง
400 = 300 ไมครอน / ขนาดภาพจริง
ขนาดภาพจริง = 0.75 ไมครอน ตอบ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 18 พฤษภาคม 2553 เวลา:12:59:15 น.  

 
พี่คะ ขอถามเรื่องK.Fungiหน่อยนะคะ
- หนูงงคำว่า sexual spore กับ asexual spore มากมาย
ก็ถ้าสร้างสปอร์มันจะเป็นการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ(รึเปล่า?) แล้วasexual มันโผล่มาจากไหน
-fungi imperfect อ่ะคะมันสร้างได้เฉพาะasexual เหรอคะ ทำไมหนังสือบางเล่มบอกว่า มันคือประเภทของฟังไจที่ยังไม่แน่นอนว่ามีลักษณะอย่างไร?
- เกณฑ์ในการแบ่งฟังไจ โดยใช้ sexual spore แบ่งเป็น4แบบ แสดงว่าถ้ามันไม่ได้สร้างsexual ก็จะไม่อยู่ใน4ไฟลัมนี้ใช่มั้ยคะ แต่ทำไมในไฟลัมAscomycata มันถึงมียีสต์ที่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศอ่าT___T
-สุดท้ายคือ หนูอ่านหนังสือมา5เล่มแล้ว
ทำไมมันแบ่งpennicilium กับ Aspergillus ไม่เหมือนกันซักเล่มเลยอ่า บางคนก็บอกว่ามันอยู่ในAscomycata
เพราะว่ามันสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยใช้Ascosporeได้
หนูงงมากคะ เขียนคนละขั้วกันเลย(แต่หนูก็เชื่อของพี่เต๊นเป็นหลักนะ แต่แค่งงว่าทำไมแค่ฟังไจแค่นี้มันถึงมีได้หลายทฤษฎีเหลือเกิน)
สรุปที่งงสุดๆก็คือการสืบพันธุ์อาศัย/ไม่อาศัยเพศ
แล้วก้ก.สร้างsexual/asexualสปอร์ นะคะ
รบกวนช่วยเคลียร์ด้วยนะคะพี่เต๊นน!
อ้อ แล้วก็อีกคำถามนึงก็คือ
สนหางสิงห์ไม่ได้อยู่ในConiferophytaเหรอคะ มันดูสนๆ
เหมือนกันทำไมกระโดดมาอยู่Lycophytaตัวเดียวหละ


ปล.พี่วาดรูปในหนังสือได้น่ารักมากเลยชอบที่สุดดด!



โดย: OR IP: 61.90.122.160 วันที่: 24 พฤษภาคม 2553 เวลา:11:49:16 น.  

 
อ๊ะ ลืมคำว่า"ไม่"
สร้างสปอร์เป็นการสืบพันแบบไม่อาศัยเพศ บรรทัด3ๆ
อย่าลืมมาตอบนะคะ รออยู่วววT______T


โดย: OR IP: 58.9.95.233 วันที่: 25 พฤษภาคม 2553 เวลา:17:23:21 น.  

 
สวัสดีครับขอบคุณครับที่ตอบคำถาม

อยากถามว่า ถั่วเช่นถั่วลิสงอ่ะครับ
หนึ่งเมล็ดถั่วที่เราทามเข้าไปนี่คือ 1 เมล็ดหรือว่าหนึ่งผลครับ แล้วเปลือกหุ้มที่มีสีน้ำตาลนี้มันคือ อะไรครับ


โดย: ทาม IP: 203.144.144.164 วันที่: 25 พฤษภาคม 2553 เวลา:23:49:19 น.  

 
งง กับคำว่า Homosporous plant ครับ
คำนี้มันเกี่ยวยังไงกับ dioecious ไหมครับ ว่า Homo แล้วต้อง dioecious หรือ monoecious หรือเปล่า

ทำไมมอสที่เป็น Homosporous plant ถึงเป็นต้นที่แยกเพศล่ะครับ แล้วทำไม Selaginella ที่เป็น Heterosporous ถึงต้องใช้น้ำในการเข้าผสมละครับ ถ้ามันอยู่ต่างต้นกัน


โดย: ทาม IP: 183.89.79.160 วันที่: 7 มิถุนายน 2553 เวลา:23:05:03 น.  

 
ถึงพี่เต๊นครับ
ผมซื้อหนังสือของพี่ไปพิมพ์ครั้งที่3นะครับ งงตรงตาราง หน้าที่177 บทที่20 ในEx2 ที่พ่อRrYy * แม่RrYy ทำไม 1/4RY ของพ่อ * 1/4rY ของแม่ ทำไมได้ = RrYy แล้วทำไมจึงไม่ได้ RrYY ครับ
สงสัยจังครับ


โดย: Henjikoong IP: 125.27.55.198 วันที่: 7 มิถุนายน 2553 เวลา:23:44:55 น.  

 
ครับถามว่า ทำไมเวลาที่กรองของเสียที่โกลเมอรูลัสอ่ะครับ
ในเลือดมีความเข้มข้น 300 มิลลิออสโมล/ml แล้วทำไมพอ
กรองเสร็จแล้วก็ยัง300 มิลลิออสโมล/mlเท่าเดิมล่ะครับเท่าเดิมล่ะครับ


โดย: ทาม IP: 183.89.56.231 วันที่: 11 มิถุนายน 2553 เวลา:12:20:36 น.  

 
ไส้เดือนสืบพันธ์อย่างไรอ่ะครับ เพาะว่าผมอ่านแล้ว งงๆ
ตกลงที่ Citellum มีอะไรครับ sperm matheca หรือว่า sperm receptable


โดย: ทาม IP: 183.89.56.231 วันที่: 11 มิถุนายน 2553 เวลา:13:36:48 น.  

 
พี่ครับข้อสอบจุดประสงค์ที่โรงเรียนถามว่า สารใดไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรงได้ พอดีมันมี 2 ตัวเลือกไม่ค่อยแน่ใจระหว่าง ไฮไดรเจนไอออนกับกลูโคส ขอบคุณมากครับ


โดย: วศวัตติ์ IP: 125.26.110.64 วันที่: 24 มิถุนายน 2553 เวลา:20:15:16 น.  

 
อยากถามเกี่ยวกับส่วนต่างๆของลำไส้ใหญ่ว่าส่วนไหนที่
-สกัดน้ำออกจากอาหาร
-หมักอาหารที่ย่อยได้ไม่หมด
-รอยต่อของลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก
-เก็บอุจจาระ
-เก็บอุจจาระส่วนล่าง
-ขับอุจจาระออกจากระบบ
-ส่งอุจจาระไปทวารหนัก
ขอบคุณค้า


โดย: Noon IP: 58.8.129.15 วันที่: 26 มิถุนายน 2553 เวลา:21:11:24 น.  

 
ถ้าพืช C4 มีแต่เซล์ mesophyll ที่ชั้นล่างกะชั้นบนเหมือนกันดังนั้นถ้า ใบไม้ของพืช C4 ความเข้าด้านบนกับความเข้าด้านหลังใบกะท้องใบก็จะเท่าๆกันเหรอรับ งั้นเราก็ใช้วิธีนี้แยก C3 กับ C4 ได้ใช่ไหมครับ


โดย: ทาม IP: 183.89.61.193 วันที่: 27 มิถุนายน 2553 เวลา:8:48:29 น.  

 
อิโอซิโนฟิล กับ ลิมโฟไซต์ อันไหนที่ไม่เกิดฟาโกอะครับ หนังสือบางเล่มก้อบอกว่าอิโอ บางเล่มบอกว่าลิมโฟ งงครับ ขอคำแถลงไข ^^


โดย: นัท IP: 180.180.59.238 วันที่: 9 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:56:39 น.  

 
พี่คะ น้ำเข้าสู่เซลล์ ไม่ใช่ออสโมซิสหรอคะ

แล้ว osmosis pressure กับ osmotic pressure ใช่อันเดียวกันรึป่าว



โดย: น้ำฝน IP: 180.183.51.6 วันที่: 16 กรกฎาคม 2553 เวลา:20:31:30 น.  

 
พี่เต้น ครับ ในหนังสือหน้า 87 อะครับ
บันทัดแรกเลย ครับ ที่พี่บอกว่า duodenum มีการดูด ซึมมากที่สุด ทีจริงมันเป็นJejunum ไม่ใช่เหรอครับ หรือว่าผมเข้าใจผิดครับ ของร้องตอบด้วยนะครับผมสับสนม๊ากๆ(^_^)


โดย: ซัน IP: 222.123.87.184 วันที่: 24 กรกฎาคม 2553 เวลา:11:29:39 น.  

 
ขอถามอีกอย่างนะครับพี่เต้น คือว่าผมไปเจอข้อสอบชัววิทยาของ ม.ข มาอ่าครับ เค้าถามว่าระบบประสาทรัศมีพบในสิ่งมีชีวิต ประเภทใด

ระบบประสาทรัศมี มารยังไงอ่าครับ ผมเคยได้ยินแต่ แบบวงแหวน ขั้นบันได ถ้าจาให้ผมเดานะครับผมตอบพวก ปลาดาวอะครับ

ช่วยบอกหน่อยนะครับ ถ้าไม่สดวกก้อม่ายเปงรายครับ :)



โดย: ซัน IP: 222.123.210.51 วันที่: 26 กรกฎาคม 2553 เวลา:12:15:51 น.  

 
อยากรู้อ่ะครับว่า ถ้าเกิด ฮอร์โมน oxytocin ได้รับมากไป หรือ มีน้อยเกินไป จะเกิดผลอย่างไรบ้างอ่ะครับ (พอดีหาใน google แล้วไม่เจออ่า)

ปล. ขอแบบละเอียดหน่อยนะครับ ^^"


โดย: kid IP: 124.122.188.139 วันที่: 27 กรกฎาคม 2553 เวลา:23:03:09 น.  

 
คือผมอยากรู้ว่าทำไม ribosome 50s+30s=70s อ่ะครับ

มีวิธีคิดยังไง


โดย: 50s+30s=70s IP: 114.128.166.70 วันที่: 24 สิงหาคม 2553 เวลา:20:06:34 น.  

 
ช่วยตอบหน่อยครับมีข้อสอบ ent เมษายน ปี 41 (ถ้าพี่มีก็ลองดูนะครับ) ข้อที่เป็นเรื่องเซลล์
มันจะมีตารางอยู่

จำนวนเซลล์
วันที่ทดลอง | พวกไม่มีนิวเคลียส พวกที่มีนิวเคลียส |
1 100 100
2 80 79
3 60 74
4 30 72
5 3 72
คำถาม : การทดลองในตารางข้างบน พิสูจน์สมมิตฐานข้อใด
1. นิวเคลียสจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์
2. นิวเคลียสจำเป็นต่อการมีชีวิตของเซลล์
3. ไซโทพลาสซึมจำเป็นต่อการมีชีวิตของเซลล์
4. ไซโทพลาสซึมไม่จำเป็นต่อการมีชีวิตของเซลล์

พอดูเฉลยในหนังสือ หลายๆ เล่ม (ประมาณ 3-4 เล่ม) กับ นพ.พิชญ์ (Bio Beam) เฉลยมันไม่ตรงกันอะครับ

ตามหนังสือ : ตอบ 2 เพราะในเซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียสมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากเซลล์ตายไป

ตาม นพ.พิชญ์ : ตอบ 1 เพราะหากนิวเคลียสจำเป็นต่อการมีชีวิตตามข้อ 2 จริง เซลล์พวก Prokaryote หรือ เม็ดเลือดแดงก็คงจะตายกันหมด ดังนั้นนิวเคลียสจึงมีผลต่อการแบ่งเซลล์เพราะเป็นส่วนที่จำลอง DNA ในการแบ่งเซลล์(ประมาณเนี่ย ที่เค้าอธิบาย)

แล้วตกลงยังไงมันถูกแน่อะครับ (หากถามซ้ำหรือพี่มีเฉลยในเว็บไปแล้วก็ขอโทษด้วย ยังดูไม่หมด) ขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ.........


โดย: Seohyun_FEVER IP: 223.206.1.131 วันที่: 29 สิงหาคม 2553 เวลา:20:45:15 น.  

 
ช่วยตอบหน่อยครับมีข้อสอบ ent เมษายน ปี 41 (ถ้าพี่มีก็ลองดูนะครับ) ข้อที่เป็นเรื่องเซลล์
มันจะมีตารางอยู่

จำนวนเซลล์
วันที่ทดลอง | พวกไม่มีนิวเคลียส พวกที่มีนิวเคลียส |
1 100 100
2 80 79
3 60 74
4 30 72
5 3 72
คำถาม : การทดลองในตารางข้างบน พิสูจน์สมมิตฐานข้อใด
1. นิวเคลียสจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์
2. นิวเคลียสจำเป็นต่อการมีชีวิตของเซลล์
3. ไซโทพลาสซึมจำเป็นต่อการมีชีวิตของเซลล์
4. ไซโทพลาสซึมไม่จำเป็นต่อการมีชีวิตของเซลล์

พอดูเฉลยในหนังสือ หลายๆ เล่ม (ประมาณ 3-4 เล่ม) กับ นพ.พิชญ์ (Bio Beam) เฉลยมันไม่ตรงกันอะครับ

ตามหนังสือ : ตอบ 2 เพราะในเซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียสมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากเซลล์ตายไป

ตาม นพ.พิชญ์ : ตอบ 1 เพราะหากนิวเคลียสจำเป็นต่อการมีชีวิตตามข้อ 2 จริง เซลล์พวก Prokaryote หรือ เม็ดเลือดแดงก็คงจะตายกันหมด ดังนั้นนิวเคลียสจึงมีผลต่อการแบ่งเซลล์เพราะเป็นส่วนที่จำลอง DNA ในการแบ่งเซลล์(ประมาณเนี่ย ที่เค้าอธิบาย)

แล้วตกลงยังไงมันถูกแน่อะครับ (หากถามซ้ำหรือพี่มีเฉลยในเว็บไปแล้วก็ขอโทษด้วย ยังดูไม่หมด) ขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ.........


โดย: Seohyun_FEVER IP: 223.206.1.131 วันที่: 29 สิงหาคม 2553 เวลา:20:52:50 น.  

 
1.ถ้าสมองขาดเลือด 5 วินาทีจะเป็นอย่างไรค่ะ
2.สารไคตินเป็นสารประเภทใดทำหน้าท่าอย่างไรค่ะ
3.ทำไมนักดำน้ำที่ดำในที่ลึกต้องใช้ก๊าซออกซิเจนด้วยอัตรา1/4ของฮีเลียม ใช้ออกซิเจนบริสุทธ์เลยไม่ได้เหรอ


โดย: tata 777 IP: 223.207.174.166 วันที่: 3 กันยายน 2553 เวลา:13:17:09 น.  

 
อะไรมีพิษมากกว่ากันระหว่างแอมโมเนียม กรดยูริก ยูเรีย
ภาพที่ตกบนเรตินาเป็นภาพชนิดใด
เวลาบริจาคตาเราบริจาคส่วนไหน


โดย: tata 777 IP: 222.123.55.178 วันที่: 6 กันยายน 2553 เวลา:16:50:22 น.  

 
กลางวันหรือกลางคืนที่เรามองเห็นได้ดีกว่ากัน ทำไมเหรอ ตอบหน่อยสิ TT


โดย: tata777 IP: 180.183.202.6 วันที่: 8 กันยายน 2553 เวลา:15:48:44 น.  

 
กลางวันหรือกลางคืนที่เรามองเห็นได้ดีกว่ากัน ทำไมเหรอ ตอบหน่อยสิ TT


โดย: tata777 IP: 180.183.202.6 วันที่: 8 กันยายน 2553 เวลา:15:49:24 น.  

 
ปกติ เธอมองเห็นกลางคืนดีกว่ากลางวันหรอ ??


โดย: เราสงสัย IP: 118.172.178.234 วันที่: 13 ตุลาคม 2553 เวลา:6:36:03 น.  

 
พาเรงคิมาคืออารายคร้าบ รู้เเต่พาเรงไคมา งง ถ้ารู้ช่วยตอบกับทางเมล po_on-casnova@hotmail.com ด้วย T^Tนะคร้าบได้โปรด


โดย: ฮิบาริ IP: 58.9.254.84 วันที่: 14 ตุลาคม 2553 เวลา:19:48:34 น.  

 
#rep ด้านบนนะค่ะ

พาเรงไคมา / พาเรนไคมา หรือ พาเรงคิมา ตามที่หนังสือสสวท. เล่มใบไม้สีแดง คืออย่างเดียวกันนะค่ะ แค่เขียนคำไทยไม่เหมือนกันเฉยๆ แต่อ่านตามหลัก พาเรงไคมา คิดว่าเข้าแก๊บที่สุด


โดย: Beerzebil IP: 222.123.170.42 วันที่: 17 ตุลาคม 2553 เวลา:0:49:58 น.  

 
พี่เต๊นค๊ะคือนู๋ขอถามรัยหน่อยนะค๊ะ การที่เราจะศึกษาดูพวก ไซยาโนแบคทีเรีย และก้อ พวกโปรโตซัว อ่า วิธีใหนเหมาะแก่การดูที่สุดค๊ะ ระหว่าง เทคนิค wet mount กับ เทคนิค hanging drop mount อ่าค่ะ เพราะอะรัย


โดย: koi IP: 20.0.1.73, 27.130.162.14 วันที่: 6 ธันวาคม 2553 เวลา:23:01:02 น.  

 
คือผมสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการหายใจระดับเซลล์อะครับพี่เต๊นท์

ที่ รร. ผม อ.บอกว่า การตัดกรดไขมัน ผลลัพธ์ที่ได้ จะได้ 1Acetyl Co-enzyme A ต่อ c2 ตัว
1FADH ต่อการตัด1ครั้ง
1NADH ต่อการตัด1ครั้ง

เช่น ถ้าตัด C3H7COOH
จะได้อะซิติลCoA 2 ตัว (2คู่)
ได้FADH 3 ตัว (ตัด3ครั้ง)
ได้ NADH 3 ตัว (ตัด3ครั้ง)

มันเป็นความจริงรึปล่าวครับ คือผมลองหาหนังสือหลายๆเล่มเปิดดูมันไม่มีอ่าา
แล้วในเล่มที่พี่บอกคือ ตัด1ครั้งต้องเสียไป 2ATP แต่มะพูดถึงอันนี้อ่าคับ ผมสงสัยเรื่องนี้มาตั้งแต่ ม.4 ละ 555


โดย: meetwinz IP: 180.210.216.131 วันที่: 6 มกราคม 2554 เวลา:14:10:39 น.  

 
ขอให้พี่ช่วยอธิบายไบโอมหน่อยครับ พอดีไปเจอหนังสือ
2เล่มของผศ.สมาน แก้วไวยุทธบอกว่าทะเลทรายซาฮาร่าอุณหภูมิ30องศาเซลเซียสแต่จริงๆต้อง50องศาเซลเซียส


โดย: นิบุณ วัฒนญาณนนท์ IP: 10.8.6.104, 203.172.211.38 วันที่: 21 มกราคม 2554 เวลา:12:04:02 น.  

 
@คุณmeetwinz C3H7COOH ผมว่ามันเป็นแค่กรดอินทรีย์อ่ะครับ ยังไม่น่าจะเป็นกรดไขมันเพราะจำนวนโมเลกุลของกรดไขมัน น่าจะมีเยอะกว่านี้(ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ)


โดย: Mikekung IP: 110.168.204.45 วันที่: 24 พฤษภาคม 2554 เวลา:22:23:35 น.  

 
ระบบประสาทแบบรัศมีก้คือระบบประสาทแบบวงแหวนแระคะ เขาใช้คนละศัพท์กันเฉยๆ


โดย: tata777 IP: 202.28.182.5 วันที่: 4 กรกฎาคม 2554 เวลา:13:05:13 น.  

 
Na+ แพร่เข้าเซลล์แล้วเกิดไรก่อนอ่ะ
-Na+-K+ pump. หรือ 
-depolarization 

K+ ออกเซลล์ก่อนหรือเกิดRepolarizationก่อนอ่ะ

ระหว่างaxonยาว20cm มี5nodes of ranvier
กับ axonยาว10cm มี10nodes of ranvier อันไหนนำเร็วกว่า


โดย: K'kAnG IP: 124.122.19.137 วันที่: 8 สิงหาคม 2554 เวลา:18:41:58 น.  

 
ต่อๆ(พอดีหนูได้ข้อสอบแบบไม่มีเฉลยมาอ่ะ เลยสงสัย)
หนูว่าเกิดdepolarizationเลยอ่ะ เพราะถ้าเกิดNa+_K+ pump
มันก็ไม่สามารถเกิดaction potential ได้ซิ

K+ น่าจะออกก่อนเกิดrepolarizationป่ะ เพราะถ้าไม่งั้นก็
ไม่เกิดกลายกลับขั้นของเยื่อหุ้มเซลล์สู่แบบเดิม

ข้อ3 หนูระลึกได้แล้ว แต่ขอความมั่นใจ
ตอบaxon20 5nodesป่ะค่ะ จะได้เกิด saltatory conduction
ไกลๆไปเลยยย


โดย: K'kAnG IP: 124.122.19.137 วันที่: 8 สิงหาคม 2554 เวลา:18:53:37 น.  

 
พี่คับ ทำไม Lipid ไม่เป็น โพลีเมอร์อะคับ แล้วพวก fatty acid เป็นอะไรกับมันอะ


โดย: Thank IP: 58.8.158.229 วันที่: 12 ตุลาคม 2554 เวลา:1:04:24 น.  

 
ขอมาตอบแทน P'Tent ละกัน (เฉพาะข้อที่ได้นะ XD)
[#วศวัตติ์] : คำว่า "ไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรงได้" โดยความหมายแล้วเนื่องจากสารนั้นมีขนาดที่ "ใหญ่" เกินไป(Bulk) ทำให้ต้องใช้การลำเลียงแบบ Endocytosis [Active Tx] ซึ่งในกรณีที่ถามมานี้ ต้องตอบกลูโคสนะครับ ส่วน Hydrogen Ion สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้แต่ต้องใช้ Channel นะครับ เนื่องจากเป็นสารที่มีขั้ว ^^

[#นัท]อิโอซิโนฟิล กับ ลิมโฟไซต์ ไม่เกิด Phagocytosis ทั้งคู่นะครับ โดย Lymphocyte จะดักจับ/ทำลายเชื้อโรค โดยการสร้าง Antibody หรือใช้การเจาะเซลล์ ก็แล้วแต่ชนิดของ Lmyphocyte นะครับ ส่วน Eosinophil จะทำลายพวกพยาธิ + ภูมิแพ้ในเลือดโดยการหลั่ง Enzyme นะครับ // ส่วนพวกที่มี Phagoฯ นั้นคือ Neutrophil กับ Monocyte[macrophage//in connective tissue] นะครับ

[#น้ำฝน]น้ำเข้าสู่เซลล์ ไม่ใช่ออสโมซิสหรอคะ : ใช่อย่างแน่นอนครับ
ส่วน osmosis pressure กับ osmotic pressure เหมือนกัน ถ้าให้เปรียบคือ Osmosis เป็น [Noun] Osmotic เป็น [Adj] ครับ แต่ควรใช้ Osmotic Pressure มากกว่า



โดย: คนที่ผ่านมา IP: 223.207.178.41 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2554 เวลา:17:59:50 น.  

 
[#ซัน] ลองเลื่อนไปอ่านด้านบน รู้สึกพี่เต๊นท์ จะบอกว่า มีการค้นพบใหม่ว่า Duodenum มีการดูดซึมได้มากกว่าเนื่องจากมี Surface Area ที่มากกว่า ส่วน Jejunum นั้น สารสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว แต่ได้ในปริมาณที่น้อยกว่า // แต่ก็ยังไม่แน่นอนนะครับ =w=*

ส่วนที่ถามว่าระบบประสาทแบบรัศมี ก็คือแบบวงแหวนครับ อันเดียวกัน (วงกลมมันก็มีรัศมีนี้เนอะ)

[#kid] อย่างที่ทราบว่า Oxytocin มี Eff : กระตุ้นการหลั่งน้ำนมแบบ Positive Feedback กับ กระตุ้นการหดตัวของมดลูก ดังนั้นก็ลองจินตนาการดูละกันครับถ้ามันมากหรือน้อยเกินไป XD (แต่ผมก็ไม่ชัวร์นะ ว่ามันจะมีอะไรที่ซับซ้อนกว่านี้หรือเปล่า)


โดย: คนที่ผ่านมา IP: 223.207.178.41 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2554 เวลา:18:51:40 น.  

 
[#Seohyun_FEVER]
ถ้าให้ผมมองละก็ ตอบข้อ 1 น่าจะสมเหตุสมผลมากกว่า เนื่องจากลองวิเคราะห์ช้อยส์ข้อที่ 2 แล้ว "การมีชีวิตของเซลล์" นั้นหมายถึงว่าถ้าเราเอานิวเครียสออกจากเซลล์ เซลล์จะตายทันที(?) ซึ่งก็ไม่จริงใช่มั้ยละครับ เพียงแต่ว่าเซลล์ที่เอานิวเครียสออกไปนั้น จะมีอายุสั้นลงเนื่องจากขาดตัวที่จะควบคุมการทำงานของเซลล์ ซึ่งดูจากการทดลองก็จะเห็นว่า
- กลุ่มที่มีนิวเครียสสามารถแบ่งเซลล์ทดแทนจำนวนเซลล์อื่นๆที่ตายลงไปได้
- กลุ่มที่ไม่มีก็ไม่สามารถแบ่งเซลล์ทดแทนส่วนที่ตายลงไปได้


โดย: คนที่ผ่านมา IP: 223.207.178.41 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2554 เวลา:18:54:43 น.  

 
[#koi]
เทคนิค hanging drop mount น่าจะดีกว่านะครับ เนื่องจากสามารถอยู่ได้นาน ซึ่ง wet mount เนี่ยมันทำได้ง่ายก็จริงแต่ว่ามันจะแห้งเร็วมากถ้าเราใช้ LM เนื่องจากความร้อนของแสง แต่ถ้าเราใช้ Hangฯ ถึงแม้ว่ามันจะซับซ้อนกว่าแต่เราสามารถใช้ได้นาน และสังเกตเห็นการเคลื่อนที่ได้ดีกว่าด้วย

[#meetwinz] เขาเรียกว่ากระกวนการ Beta-Oxidation ครับ แต่จะใช้ได้กับพวกที่เป็นกรดไขมันโมเลกุล "คู่" เท่านัน และก็อย่างที่เข้าใจครับ ตัด 1 ครั้ง ได้ FADH2 กับ NADH ออกมา พร้อมกับ Acetyl CoA โดยการตัดจะตัดทีละ 2 Carbon แต่ว่าการตัดนี้จะเกิดขึ้นได้ใน

[#Mikekung] กรดไขมันมีจำนวนคาร์บอนได้ตั้งแต่ 4 - 36 ตัว ครับ ^^

[#K'kAnG] "Na+ แพร่เข้าเซลล์แล้วเกิดไรก่อนอ่ะ" คำถามนี้ผมต้องถามกลับว่า ในกรณีไหนครับ? เพราะว่าการเข้ามาของ Na+ นั้นมีได้ 2กรณีคือ การรั่วเข้ามาทาง Leak-ch กับการเข้ามาโดยการเปิดของ Na+-Ch ซึ่งถ้าเข้ามาทาง Leak-ch แปลว่าเกิดขึ้นในสภาวะ Resting ซึ่งสามารถรักษาสมดุลศักย์โดยการใช้ Na+/K+Pump แต่ถ้าเป็นการกระตุ้นจนเกิด Action Potential การเข้า Na+ นี้ก็ทำให้เกิด Depolarize ครับ ^^

"K+ ออกเซลล์ก่อนหรือเกิดRepolarizationก่อนอ่ะ"
การออกของ K+ ทำให้เกิด Repolarize ครับ ^^

"ระหว่างaxonยาว20cm มี5nodes of ranvier
กับ axonยาว10cm มี10nodes of ranvier อันไหนนำเร็วกว่า"

ถ้าเราวิเคราะห์การนำไฟฟ้าของ Axon แล้ว จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ปัจจัยคือ จำนวน Synapse // ขนาด Axon // Myelin Sheath และจากโจทย์ 20 cm จะมีความต้านทานการนำไฟฟ้ามากกว่า 10 cm (จาก R=pL/A) แต่ว่าผลจาก Myelin Sheath จะมีผลมากกว่าขนาดของ Axon (Myelin Sheath ใหญ่และมีจำนวนน้อย จะส่งผลให้มี Node of Ranvier น้อยครับ//ในทางกลับกัน ถ้ามี Myelin Sheath จำนวนมาก จะทำให้มี Node เยอะ ทำให้นำได้ช้ากว่า//ลองจินตนาการถึง Axon 1เส้น แล้วมี Myelin Sheath เยอะๆเล็กๆ กับ ใหญ่ๆน้อยๆ ดูนะครับ ^^)

[#Thank] คำว่า Polymer หมายถึงสารขนาดใหญ่ที่เกิดจากการรวมกันของ Monomer เล็กๆ อาจจะเป็นชนิดเดียว[Homo-Polymer]กันหรือต่างชนิดกัน[Co-Polymer] ในปริมาณที่มาก แต่ว่า Lipid นั้นกลับเป็นเพียงโมเลกุลของสารขนาดใหญ่ที่มารวมกันจนดูมีขนาดใหญ่โดยใช้วิธีการ Dehydration ครับ


โดย: คนที่ผ่านมา IP: 223.207.178.41 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2554 เวลา:18:57:47 น.  

 
[#tata777]
1. ถ้าสมองขาดเลือดอันตรายแน่นอนครับ แต่ไม่ทราบว่านานเท่าไหร่จะถึงขั้นวิกฤติ แต่ว่าการเกิดแม้เพียงไม่กิ่วินาทีก็ส่งผลกระทบต่อสมองแน่ครับ
2.การไคตินเป็นสารประเภทคาร์โบไฮเดรตครับ เป็นองค์ประกอบของเปลือกแมลง
3.มันก็เหมือนกับบรรยากาศโลกของเรานี้ละครับที่ว่าทำไมมี O2 ในเปอร์เซ็นต์ที่ไม่มาก หากให้ผมคิด ถ้าหากปริมาณของ O2 มีเยอะละก็ อาจจะส่งผลต่อการเกิดปฏิกิริยาบางอย่าง(สันดาป?) ที่รุนแรงทำให้ร่างกายของ สมชว. ไม่สามารถทนได้ก็ได้ครับ
4. ความเป็นพิษ แอมโมเนีย มากกว่า ยูเรีย มากกว่า ยูริก
ใช้พลังงานในการขับ ยูริก มากกว่า ยูเรีย มากกว่า แอมโมเนีย
5.ภาพที่ตกบนเรตินาเป็นภาพจริงหัวกลับครับ
6.เวลาบริจาค เราจะบริจาคเลนส์ตาครับ
7.หลักการเห็นภาพของดวงตาจะใช้การสะท้อนกลับของแสงจากวัตถุเข้าสู่ตา ดังนั้นถ้าถามว่าเวลาไหนชัดกว่าก็ต้องตอบเวลาที่มีแสงเยอะกว่าก็คือกลางวันครับ ^^ (แต่ถ้ากลางคืนเปิดสปอร์ทไลต์เยอะๆ ก็ไม่แน่นะ อิอิ)


โดย: คนที่ผ่านมา IP: 223.207.178.41 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2554 เวลา:19:04:51 น.  

 
พี่คับ proton leakage ที่ cristae กะ thylakoid ใน mitochondria กะ chloroplast จะทำให้เกิดไรขึ้นอะคับ ละ เหมือนหรือต่างกัน ยังไงอ่าคับ


โดย: parter IP: 27.130.159.203 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2554 เวลา:11:38:04 น.  

 
เรื่องสนหางสิงห์ในหนังสือพี่เต๊นท์หน้า 35 บอกว่าเป็นพวก Lycopodium แต่หน้า 44 บอกว่าเป็น gymnosperm และหางสิงห์เป็น lycopodium อย่างไรกันแน่คะ


โดย: ดาว IP: 27.55.0.77 วันที่: 3 ธันวาคม 2554 เวลา:15:01:16 น.  

 
Dialysis กับ Diffusion ต่างกันอย่างไรครับ ขอความรู้เพิ่มครับ ^^


โดย: คุณชายสามสลึงค์ IP: 180.180.48.16 วันที่: 3 ธันวาคม 2554 เวลา:15:31:31 น.  

 
คืออยากทราบว่า Aspergillus กับ penicillium มันเป็น deuteromycete หรือ Ascomycete อ่ะครับ ซึ่งที่อาจานสอนมันบอกว่าเป็น ascomycete แต่ว่าในหนังสือพี่เต๊นบอกว่ามันเป็น fungi imperfecti ซึ่งมันก็คือพวก deuteromycete ไม่ใช่หรอครับ คือว่าผมงงมากไม่รู้มันเป็นพวกไหนกันแน่ แล้ว water bloom กับ red tide มันต่างกันหรือเหมือนกันครับ ผมคิดว่า สาหร่ายสีเขียวหรือสีแดงทำให้เกิด water bloom และไดโนเฟกเจลเลท ทำให้เกิด red tide คิดแบบนี้ถูกรึป่าวอ่ะครับพี่ แล้วอยากรู้อีกว่า spore ของ Rhodophyta มันมีชื่อเรียกว่าอะไรอ่ะครับ ขอบคุณครับพี่เต๊นท์


โดย: สติ IP: 202.28.27.2 วันที่: 13 ธันวาคม 2554 เวลา:10:58:59 น.  

 
ไม่เข้าเกี่ยวกับการหายใจระดับเซลลค่ะ ช่วยอธิบายแบบง่ายๆได้ไหมคะ ขอบคุณมากค่ะ


โดย: กิ๊ฟ IP: 110.49.232.167 วันที่: 17 มกราคม 2555 เวลา:17:05:26 น.  

 
หนังสือดีมากกกเลยคับ ผมพึ่งจบ ม 3 สาย วิทย คณิต ขึ้นม 4 อ่านเพื่อ จะได้รู้แล้วทบทวนก่อนเรียน ผมเข้าใจในบางเรื่องนะเพราะอาจจะเรียนมาไม่หมด คำศัพท์ดูจะยากโดยเฉพาะเรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ และอื่นๆ รบกวนพี่ เต๊นท์ ช่วยทำรากศัพท์ หน่อยนะคับ^^ รุ่นพี่ที่โรงเรียนเค้าเห็นหนังสือพี่ เค้าฝากมาถามว่า แค่อ่านเล่ม นี้ สามารถนำไปสอบ แพทย์ได้เลยหรือป่าวคับ หรือต้องซื้อพวก แท๊กบุค เพิ่มด้วยเหรอป่าวคับ
ปล. ปกหนังสือสวยมากคับ ผมซื้อน่าจะล่าสุดมั้ง พิมพ์ครั้งที่12^^


โดย: samd IP: 101.51.19.227 วันที่: 29 มีนาคม 2555 เวลา:13:52:06 น.  

 
ขอถามคำถามข้อสอบเข้ามหาลัยข้อนึงครับ ซึ่งเป็นคำถามที่คล้าย ๆ กับเนื้อหาในหนังสือ BIO By Tent หน้า 188 ที่ถามว่า ลำดับเบส DNA ใน cytoplasm ของเด็กชายจะคล้ายกับญาติผู้ใหญ่คนไหนมากที่สุด ระหว่าง ปู่ ย่า ตา ยาย ในหนังสือ BIO By Tent เลยว่า ยาย เพราะยายถ่ายทอดให้แม่ แม่ก็ถ่ายทอดให้เด็ก
ส่วนในหนังสือเฉลยข้อสอบ ตอบว่า ปู่ รบกวนอธิบายให้หน่อยครับ
ขอบคุณครับ


โดย: Sam IP: 171.6.212.140 วันที่: 11 กันยายน 2555 เวลา:3:12:55 น.  

 
อยากถามโจทย์จากหนังสือเล่มนึงคะ

สิ่งมีชีวิตที่เป็นพวกแอนแอโรบิกต้องการออกซิเจนในการหายใจหรือไม่
คำตอบคือ ไม่ต้องการออกซิเจนโมเลกุล แต่ต้องใช้ออกซิเจนอะตอมจากวัตถุดิบในเซลล์

อยากรู้ว่าคำตอบถูกมัยค่ะ ในหนังสือของพี่เต็นท์ก็เขียนว่าanaerobic bacteriaตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายจะเป็นสารอื่นแทนO2 เช่นNO3-,SO4^2-,CO3^2- ซึ่งตัวอย่างออกซิเจนอะตอมทุกตัวเลย สรุปว่าต้องมึออกซิเจนอะตอมมัยคะ


โดย: เหมียวเหมียว IP: 110.168.92.194 วันที่: 2 ธันวาคม 2556 เวลา:0:06:46 น.  

 
พี่เต๊นคะ อยากถามว่าสีตาทำไมถึงเป็นความแปรผันแบบต่อเนื่องเหรอคะ?

แล้วก็Melatonin นอกจากยับยั้งการเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์แล้ ยังกระตุ้น melanin ได้ด้วยเหรอคะ แล้วMSHล่ะ?? =_=""

รบกวนอธิบายหน่อยนะคะ ขอบคุณค่า :)


โดย: Pear IP: 182.53.63.252 วันที่: 26 กรกฎาคม 2557 เวลา:14:36:44 น.  

 
คือในสัตว์เลือดเย็น Melatonin กระตุ้น melanin ให้รวมกลุ่มกันทำให้สีผิวจางลง
ส่วน MSH กระตุุ้นให้ Melanin กระจายทำให้สีผิวเข้มขึ้น
อ่านในหนังสือพี่เต๊นหน้า144อ่ะ


โดย: pop IP: 180.180.57.15 วันที่: 26 ธันวาคม 2557 เวลา:23:48:03 น.  

 
สำบายดีค่ะพี่~~
เออคือพี่หนูสงสัยว่าnucleolusที่สังเคราะribosomeอ่ะคือมันสังเคราะทุกที่ที่มีribosomeเลยหรอค่ะพี่หรือยังไงค่ะต่อไปนะพี่หนูเคยดูเค้าสอนชีวะในเน็ตนี้แหละเค้าบอกว่าpeptidoglycanพบได้ในแบคทีเรียกับสาหร่ายแต่พี่บอกว่าสารpeptidoglycanพบในแบคทีเรียส่วนพืชกะสาหร่ายจะพบcelluloseสรุปคือมันยังไงอ่ะ555พี่ๆแล้วcell membrane ยอมให้พวกน้ำ อากาศผ่านได้ไหมค่ะแล้วฟรักโทส กาแลคโทสที่เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวนี้ผ่านได้ไหมค่ะ เอาแค่นี้ก่อน5555


โดย: ลูกเหม็น IP: 1.1.209.39 วันที่: 14 เมษายน 2558 เวลา:13:12:57 น.  

 
ข้อเสียเปรียบและข้อได้เปรียบ ระหว่าง hanging drop mount กับ wet mount มีอะไรบ้างค่ะ


โดย: มีนา IP: 118.172.40.86 วันที่: 18 มิถุนายน 2558 เวลา:20:58:11 น.  

 
I'm amazed at how quick your blog loaded on my cell phone ..
yiwu agent https://www.flickr.com/people/goodcantrading/


โดย: yiwu agent IP: 157.7.52.183 วันที่: 5 กรกฎาคม 2558 เวลา:7:14:59 น.  

 
หนูจะถามว่า กฎเมนเดลข้อที่2กฎการรวมกลุ่มกันอย่างอิสระ เทียบได้กับการแบ่งเซลล์ระยะ anaphase I หรือ metaphase I คะ หนูสับสนมาก หนังสือ ที่เรียนพิเศษ บางเว็บ บอกไม่ตรงกันค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ


โดย: Nam IP: 171.7.116.111 วันที่: 19 กันยายน 2558 เวลา:0:16:26 น.  

 
nice article,it is useful to me and others,please just keep it....
//www.moveit.at/data/20151104/data_recovery_software_for_a_mac.html //www.moveit.at/data/20151104/data_recovery_software_for_a_mac.html


โดย: http://www.moveit.at/data/20151104/data_recovery_software_for_a_mac.html IP: 157.7.52.183 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2558 เวลา:23:56:50 น.  

 
wi.Like the legs, waxing, shaving and laser hair removal are all good solutions. Make advance reservations at (512) 389-8900. At my age and with a long term spinal cord injury (SCI), I was a prime candidate for diabetes, heart disease, blood clots, continued loss of range of motion and mobility.Practice Playing SafelyWhen you step up to the ball and just before you take your swing, look around.
Wholesale Jerseys //www.wholesalejerseysfine.com/


โดย: Wholesale Jerseys IP: 157.7.52.183 วันที่: 3 สิงหาคม 2559 เวลา:21:45:00 น.  

 
อยากให้พี่ช่วยสอนเรื่องวงจรชีวิตของราเมือก ทั้งแบบพลาสโมเดียมและเซลลูลาร์ค่ะ


โดย: tatongNoiyai IP: 171.5.246.243 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2561 เวลา:19:35:36 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

มิสเตอร์คัสตาร์ด
Location :
Igloo house Antarctica

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 240 คน [?]




เมลล์มาคุยกันได้นะครับ
tentaroro@yahoo.com :)

[Add มิสเตอร์คัสตาร์ด's blog to your web]