your enjoyable TENTarized knowledge :)
เข้าไปถามคำถามในเฟซบุคที่จะสะดวกตอบกว่านะ ^^
<<
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
3 ตุลาคม 2552

เฉลย: การรักษาสมดุลยภาพของร่างกาย

เฉลยเรื่อง การรักษาสมดุลยภาพของร่างกาย

ตอนที่ 1
1. ถูก สัตว์น้ำส่วนใหญ่หายใจด้วยเหงือก ปลาดาว ปลาหมึก ปลาสลิด หอย ลูกอ๊อด ตัวอ่อนแมลงปอ ฯลฯ ก็มีเหงือกทั้งนั้น
2. ถูก เป็นคุณสมบัติของโครงสร้างแลกเปลี่ยนแก๊สเลยล่ะ
3. ผิด ถุงลมของแมลงและนก (air sac) ช่วยเก็บอากาศเอาไว้สำหรับบิน แต่ถุงลมของค้างคาว (alveolus) เอาไว้แลกเปลี่ยนแก๊ส
4. ถูก Malpighian tubule ที่เป็นอวัยวะขับถ่ายของแมลงจะดูดของเสียจากช่องร่างกายเข้ามาในทางเดินอาหาร อุจจาระของแมลงเลยประกอบด้วยกรดยูริกและกากอาหาร เหมือนในขี้จิ้งจกไง
5. ผิด hemoglobin ไส้เดือนละลายอยู่ในน้ำเลือดต่างหาก
6. ถูก ทั้งอะมีบา ฟองน้ำ ไฮดรา แลกเปลี่ยนแก๊สและขับถ่ายของเสียด้วยการแพร่ผ่านเข้าออกผิวร่างกายโดยตรงเหมือนๆกันโดยไม่มีระบบมาทำหน้าที่เฉพาะ
7. ผิด ควบคุมด้วย CO2 อย่างเดียวนะ
8. ถูก สะอึกเกิดจากแบบนั้นแหละ ถ้าอยากหายสะอึกเลยต้องปรับวงจรการหายใจใหม่ อย่างเช่นกินน้ำไง
9. ถูก กากอาหารอุจจาระไม่ใช่ของเสียจาก metabolism เพราะเป็นของที่ย่อยไม่ได้ต่างหาก อุจจาระเลยอยู่ในเรื่องระบบย่อยอาหาร ไม่ได้อยู่ในเรื่องระบบขับถ่าย
10. ถูก แอมโมเนียเป็น N-waste จาก metabolism ของโปรตีน เป็นแก๊สมีพิษละลายน้ำได้ดีเลยเป็นของเสียสำหรับสัตว์ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นน้ำ
11. ถูก ไตควบคุม pH โดยขับถ่ายโปรตอนออกไป คุมสมดุลน้ำและเกลือแร่โดยเซลล์บุท่อหน่วยไตที่ดูดกลับและขับออกน้ำและเกลือแร่ตามคำสั่งของฮอร์โมนต่างๆ แถมยังสร้างฮอร์โมน erythropoietin ได้อีกด้วย
12. ผิด renal artery นำของเสียมากรองที่ไตก็จริง ทั้งยูเรีย แอมโมเนีย ยูริก แต่ด้วยความที่เป็น artery เลยต้องมี O2 สูงเพราะเพิ่งออกจากหัวใจ renal vein ต่างหากที่ต้องมี CO2 สูงเพราะรับมาจาก metabolism ต่างๆของเซลล์ที่ไต
13. ผิด ในปัสสาวะเกือบทั้งหมดเป็นน้ำไง -*- แต่ของเสียที่พบมากสุดในปัสสาวะมนุษย์คือยูเรีย
14. ถูก เบาหวานเกิดจาก insulin น้อยไป (หรือตัวรับ insulin ผิดปกติ) เบาจืดเกิดจาก ADH น้อยไป ปัสสาวะเลยออกมามีแต่น้ำ ส่วนเบาเค็มเกิดจาก aldosterone น้อยไป โซเดียมเลยออกมามาก
15. ถูก เป็นสิ่งสำคัญมากว่า hypothalamus คือศูนย์กลางการควบคุม homeostasis ของร่างกาย
16. ผิด กำลังการรักษา pH ต้อง ระบบขับถ่าย (ปัสสาวะออกไปทีละเยอะๆ) > ระบบหายใจ (หายใจเข้าออกทำให้เลือดลดความเป็นกรดทีละน้อยๆ) > บัฟเฟอร์ (เป็นแค่ปฏิกิริยาเคมี ปรับโมเลกุลสารทีละตัวๆ)
17. ผิด ต้องเปลี่ยนคำว่าเลือดดำ เป็นเลือดแดงนะ หัวใจปลามีไว้สูบฉีดเลือดดำไปฟอกที่เหงือก
18. ผิด สัตว์เลือดเย็นอย่าง จระเข้ ก็มีหัวใจสี่ห้องสมบูรณ์เหมือนกัน
19. ถูก การสลายนิวเคลียสของเม็ดเลือดแดง เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ mammal
20. ถูก อ่านดูในหนังสือจะพบว่า erythroblastosis fetalis เกิดขึ้นได้แค่กรณีเดียวเท่านั้นนะ ถ้าแม่เป็น Rh+ ก็ไม่มีโอกาสเกิดเลย
21. ผิด ตับ ไม่ใช่อวัยวะน้ำเหลือง
22. ถูก เพราะหน้าที่ของระบบน้ำเหลืองคือเทสารน้ำที่ออกมาบริเวณเนื้อเยื่อกลับเข้าระบบลำเลียงที่หลอดเลือดดำบริเวณไหล่ (subclavian vein) ซึ่งเข้าสู่หัวใจโดยตรง
23. ถูก กลุ่มเม็ดเลือดขาวที่มีนิวเคลียสหลายพู = granulocyte ทั้งหมดสร้างมาจากไขกระดูก
24. ถูก B-cell จะหลั่ง antibody ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม แต่ cytotoxic T-cell จะทำลายเซลล์แปลกปลอม เช่น เซลล์มะเร็ง เซลล์อวัยวะปลูกถ่าย หรือเซลล์ร่างกายที่ติดเชื้อไวรัส
25. ถูก จากปฏิกิริยา deamination หรือ transamination ที่ดึงหมู่ amino ออกจากกรดอะมิโนเพื่อใช้สันดาปกับ O2 นั้น (ดูเรื่องการหายใจระดับเซลล์) จะได้ของเสียออกมาเป็นแอมโมเนีย ซึ่งเป็นแก๊สพิษละลายน้ำ ร่างกายจะกำจัดแอมโมเนียโดยทำปฏิกิริยากับ CO2 ที่ตับได้ยูเรีย แล้วขับถ่ายออกมากับปัสสาวะ
26. ผิด ถึงความดันเลือดจะเป็นส่วนสำคัญสำหรับ glomerular filtration แต่การสร้างปัสสาวะยังมีกระบวนการ tubular secretion และ reabsorption อยู่ด้วย ของที่ปกติต้องดูดกลับหมด อย่างกลูโคสหรือกรดอะมิโน ถึงจะกรองได้มากขึ้นยังไงก็ต้องถูกดูดกลับให้หมดอยู่ดีนะ
27. ถูก เพราะ basophil หลั่งสารที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาภูมิแพ้ เช่น histamine
28. ถูก เพราะ medulla เอาไว้ควบคุมอัตโนวัติ ส่วนถ้าควบคุมได้อย่างกลั้นหายใจ หรือร้องเพลง จะใช้ cerebrum
29. ผิด ไม่เกี่ยววววกันเลย มั่วที่สุดในโลก -*-
30. ถูก แมงมุมใช้เลือดที่มีรงควัตถุลำเลียงแก๊สที่แลกเปลี่ยนได้จาก book lung แต่เลือดของแมลงวันไม่มีสี ไม่มีรงควัตถุ และไม่ใช้ลำเลียงแก๊ส เพราะระบบท่อลำเลียงเป็นโครงสร้างแลกเปลี่ยนแก๊สเพียงอย่างเดียวที่อากาศจากภายนอกเข้าหาเซลล์ร่างกายได้โดยตรง

ตอนที่ 2
1. ค.
อัตรากรองเป็น 125 ml / min ดังนั้น 1 วันจะมีการกรองเกิดขึ้น 125 x 60 x 24 / 1000 = 180 ลิตร
กรองได้ 25 จากเลือด 100 เทียบบัญญัติไตรยางศ์ได้ว่า
กรองได้ 180 ลิตร จากเลือด 100 / 25 x 180 = 720 ลิตร
2. ข.
ต้องระบบหายใจ (ระบบท่อลม – tracheal system) เพราะเป็นระบบที่ไม่เหมือนชาวบ้านเขา สามารถนำแก๊สจากข้างนอกเข้าหาเซลล์ร่างกายได้โดยตรง ลองคิดดูว่าถ้าแมลงมีขนาดเท่าปลาวาฬ ท่อลมจะต้องแตกแขนงและซับซ้อนมากมายมหาศาลมากแค่ไหน มันเลยบอกว่าเล็กๆแค่นี้แหละดีแล้ว ~
3. ค.
ก. ถูก เป็นการรักษาสมดุลน้ำ เหมือนการที่ปลามีเกล็ด
ข. ถูก เป็นการรักษาอุณหภูมิร่างกาย ไขมันเป็นฉนวนความร้อน
ค. ผิด อย่าคิดว่าเป็นการรักษา pH ของร่างกาย เพราะเป็นแค่การขับเมือกป้องกันสภาพกรดเบส เหมือนกับผิวหนังของคนเรายังงั้นแหละ ไม่ได้เกี่ยวกับการทำให้ pH ของร่างกายอยู่ในสมดุลเลย ไม่เกี่ยวกับการทำให้มีกรดเบสในร่างกายมากขึ้นหรือลดลง เพราะถ้ากรดเบสเข้าร่างกายได้มันก็ตาย ลองเปรียบเทียบกับข้อ ก. ซึ่งคล้ายๆกัน จะเห็นว่าไส้เดือนดินป้องกันการเข้าออกของน้ำ ทำให้น้ำในร่างกายอยู่ในสมดุล ไม่ทำให้น้ำในร่างกายมีมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
ง. ถูก เป็นการรักษาอุณหภูมิ
4. ง.
ย้ำเป็นรอบที่ล้าน - - ว่าระบบท่อลมของแมลง centipede และ millipede เป็นโครงสร้างแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์อย่างเดียวที่ออกซิเจนเข้าไปหาเนื้อเยื่อได้โดยตรง
5. ข.
เมื่ออยู่ในที่สูง (high altitude) ร่างกายในตอนแรกที่ยังไม่ปรับตัวจะไม่ชิน ทำให้หูอื้อ คลื่นไส้ อาเจียนได้ แต่เมื่ออยู่ไปเป็นวัน เป็นสัปดาห์ จะทำให้ร่างกายค่อยๆปรับตัวให้เข้ากับปริมาณ O2 ที่มีอยู่น้อย ได้แก่
1) เพิ่มอัตราการหายใจและแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอด
2) เพิ่มการสร้างเม็ดเลือดแดงที่ไขกระดูกโดยอิทธิพลของฮอร์โมน erythropoietin ที่หลั่งออกมาทันที ซึ่งเม็ดเลือดแดงล็อตใหม่ๆจะออกมาในกระแสเลือดเมื่อผ่านไปแล้ว 5 วัน
3) เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ปริมาตรเลือด และปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจในแต่ละครั้ง
ฯลฯ
ข้อ c) ผิดเพราะปริมาตรเลือดเพิ่มขึ้นต้องทำให้ปริมาณน้ำเหลืองเพิ่มขึ้นด้วย หลอดเลือดฝอยไม่ได้มีหน้าที่สั่งการควบคุมปริมาณเลือดในร่างกาย แบบว่า พลาสมาอย่าออกไปเป็นน้ำเหลืองเลยนะขอให้อยู่ในหลอดเลือดต่อไปเถิด ไรเงี้ยทำไม่ได้หรอก และอีกอย่างคือการที่พลาสมาออกไปเป็นน้ำเหลืองเกิดจากการแพร่ (passive transport) เราไม่มีกลไกอะไรไปบังคับอยู่แล้ว
6. ข.
a) ถูก feather ของนกออกแบบมาตามหลักพลศาสตร์ของไหล (แบร์นูลลีย์) และกระดูกกลวงทำให้ตัวเบาบินได้ดี
b) ถูก หายใจเข้าและออกหนึ่งรอบ มันแลกเปลี่ยนผ่านปอดสองครั้ง
c) ผิด air sac ของนกไม่ได้แลกเปลี่ยนแก๊ส แค่เก็บอากาศและช่วยทำให้แลกเปลี่ยนได้ 2 รอบ/ครั้ง
7. ข.
a) ผิด เลือดแมลงไม่ลำเลียงออกซิเจนจึงไม่มีสี
b) ถูก ถึงจะไม่ลำเลียงแก๊สแต่ลำเลียงของเสีย อาหาร เอนไซม์ ฮอร์โมนต่างๆ
c) ผิด แมลงเป็นสัตว์ระบบเลือดเปิด บางส่วนเลือดจะอาบอยู่ในแอ่งเลือด (hemocoel)
8. ค.
หายใจออกกระบังคมคลาย กล้ามเนื้อหน้าท้องหด (ลองหายใจออกๆๆๆดูสิ จะพบว่าหน้าท้องแข็งเกร็งเป็นลูกๆเชียวล่ะครับ-สำหรับบางคนนะ 55)
9. ง.
metanephridium ในไส้เดือน มีการกรองที่ปากแตร (nephrostome) ที่เปรียบเสมือน Bowman’s capsule มีการดูดกลับและขับสารตลอดทางเดิน metanephridium เหมือนกับ tubular secretion และ reabsorption ในหน่วยไต (nephron) ของมนุษย์
10. ค.
a), c) ถูก เพราะกรดยูริกเป็น N-waste (มีอะตอมของไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ) ที่กำจัดโดยใช้น้ำน้อยที่สุด เพราะมันไม่ละลายน้ำ
b) ผิด ขี้จิ้งจกส่วนสีดำคืออุจจาระ ส่วนขาวต่างหากคือกรดยูริก
11. ค.
ข้อสอบเอนท์ที่ยากอยู่นะ
a) ถูก สารพิษต่างๆทำลายสารเคลือบถุงลมทำให้ถุงลมโป่งพองได้
b) ผิด คนละโรคกัน ถุงลมโป่งพองอาจจะมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งปอดได้
c) ถูก ถุงลมโป่งพองคือโรคที่สารเคลือบถุงลมถูกทำลาย ทำให้เวลาหายใจเข้าถุงลมพองออกแต่เวลาหายใจออกมันไม่ยอมแฟบ ทำให้แลกเปลี่ยนแก๊สไม่ดี
d) ถูก เมื่อถุงพองออกจึงเปรียบเสมือนเป็นขยะที่ใช้การไม่ได้ พื้นที่ผิวสำหรับแลกเปลี่ยนแก๊สของปอดจึงมีลดลงเรื่อยๆ
12. ค.
a) เกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อเพราะปล่อยออกซิเจนออกมาให้เซลล์
b) เกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อเพราะรับเอา CO2 ไปสำหรับลำเลียงไปปอด
c) เกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อเพราะ CO2 แปลงร่างเป็นรูปที่ถูกลำเลียงไปปอด คือ HCO3-
d) เกิดขึ้นที่ปอด เพราะรูปลำเลียง HCO3- เปลี่ยนกลับเป็น CO2 เพื่อขับออกนอกร่างกาย
13. ข.
pH เป็นกรดแสดงว่ามี metabolism สูง ทำให้ CO2 สูง และ H+ สูงตามลำดับ
metabolism สูงอาจจะเกิดจาก 1) ทำกิจกรรมมาก 2) อยู่ในที่เย็น (เพราะคนเป็นสัตว์เลือดอุ่น)
ก. ผิด อยู่ในที่ร้อนแล้วมี metabolism สูงก็ยิ่งร้อนเข้าไปใหญ่ ผิดวิสัยสัตว์เลือดอุ่นนะ
ข. ถูก ทำงานหนักๆแบบนี้ทำให้ metabolism สูงดีนักแล
ค. ผิด ไม่เกี่ยว ไม่ได้ทำงานหนักนะนั่งจู๋จี๋เนี่ย -*-
ง. ผิด ร้องเพลงหลังอาหารไม่เกี่ยวกับการใช้พลังงานขนาดนั้น
14. ก.
เป็นการทดลองในหนังสือเรียน ลองไปหาอ่านดู
เมื่อหยดน้ำสีเลื่อนไปเรื่อยๆ จะคำนวณหาปริมาตรแก๊สที่เกี่ยวใช้ต่อเวลาได้ เรียกว่าอัตราการหายใจ
ที่ใส่ NaOH ไปเพื่อให้ดูด CO2 ซึ่งอาจกวนระบบการทดลองได้ เมื่อเวลาผ่านไป O2 ก็จะถูกใช้ไปเรื่อยๆ
15. ก.
แรงดันเลือดเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับ glomerular filtration อันนี้ก็ข้อสอบเอนท์
16. ง.
อ่านได้ในบทที่ 9 : กายวิภาคพื้นฐานของสัตว์
ปกติแล้วหน่วยไตข้างหนึ่งมีล้านหน่วย แต่ใช้จริงๆห้าแสนหน่วย เมื่อตัดไปข้างนึง ข้างที่เหลือจะทำงานล้านหน่วยเต็มอัตรา ทำให้ประสิทธิภาพการกรองของเสียยังคงเท่าเดิม การบริจาคไตจึงสามารถทำได้
17. ค.
a), b) ถูก เพราะเซลล์เยื่อบุท่อหน่วยไตต้องดูดกลับ – ขับสาร จึงต้องการพื้นที่ผิวมาก (มี microvilli) และต้องการพลังงานมาก (มี mitochondria) เพราะสารบางชนิดต้อง active transport
c) lysosome เอาไว้ย่อยในเซลล์ เหมาะกับเม็ดเลือดขาวมากกว่า
18. ง.
จาก y > x > z จะได้ว่า
glomerulus กรองสาร A ผ่าน Bowman’s capsule ข้อ a) จึงถูก
ที่ห่วงเฮนเลพบว่าปริมาณสาร A มากกว่าที่กรอง แสดงว่ามีการขับเพิ่ม ข้อ c) จึงถูก
แต่พอในน้ำปัสสาวะพบว่าปริมาณสาร A ลดลงกว่าที่ห่วงเฮนเล แสดงว่ามีการดูดกลับในบริเวณ distal tubule หรือ collecting duct ข้อ b) จึงถูก
19. ข.
จระเข้มีหัวใจสี่ห้องสมบูรณ์ คือมีผนัง ventricle งอกขึ้นมานิดนึง ต่างจากของเต่าทะเลที่มีหัวใจสามห้อง คือ 2 atrium และ 1 ventricle ที่ไม่มีผนังใดๆมากั้น



20. ง.
ก. ถูก ฮอร์โมนนั้นคือ ADH เพิ่มปริมาตรเลือดและแรงดันเลือด
ข. ถูก hypothalamus ควบคุม homeostasis ต่างๆดังต่อไปนี้ อ่านเฉพาะคำที่อยู่นอกวงเล็บจะได้เอาไว้ท่องในห้องสอบนะครับ
หิว อิ่ม กระหาย หื่น ตื่น (หัวใจ)เต้น (รู้สึกร้อน-) เย็น อารมณ์ สมดุล(ยภาพของร่างกาย) (ความ)ดัน
ค. ถูก aldosterone ช่วยดูดโซเดียมแต่ขับโพแทสเซียมออกไป
ง. ผิด ADH หลั่งออกมาเพิ่มเพิ่มปริมาตรและแรงดันเลือด จึงหลั่งออกมาเมื่อเลือดมีแรงดันต่ำแต่มีแรงดันออสโมติกสูง หรือเมื่อเลือดมีปริมาตรลดลง
21. ข.
การปรับตัวเมื่ออุณหภูมิภายนอกสูงขึ้น
a) ถูก หลอดเลือดหดตัวทำให้เลือดอุ่นๆนั้นกักเก็บในหลอดเลือดได้ดีขึ้น ไม่ออกเป็นเหงื่อ ทำให้สงวนความร้อนได้
b) ผิด กล้ามเนื้อโคนขนต้องหดตัว ทำให้ขนลุกตั้งชัน
c) ถูก เพราะคนเป็นสัตว์เลือดอุ่น อัตราเมตาบอลิสมแปรผกผันกับอุณหภูมิภายนอก
22. ข.
ปลาอินทรีเป็นปลาทะเล ต้องกันน้ำออกกันเกลือเข้า แต่ปลาที่บึงบอระเพ็ดเป็นปลาน้ำจืด ต้องกันน้ำเข้ากันเกลือออกนะครับ
ก. ผิด มีเกล็ดเหมือนๆกันแต่หน้าที่ต่างกัน คือปลาบึงบอระเพ็ดกันน้ำเข้ากันเกลือออก ปลาอินทรีกันเกลือเข้ากันน้ำออก
ข. ถูก ปลาบึงบอระเพ็ดมีแต่น้ำเข้ามา เลยต้องหาทางกำจัดน้ำให้ได้มากที่สุด คือฉี่เจือจางอย่างบ่อยๆ
ค. ผิด ปลาบึงบอระเพ็ดต้องสงวนเกลือแร่ด้วยชีวิต จะขับออกไปทำไม
ง. ผิด ต้องฉี่บ่อยๆสิ เพราะมีน้ำเข้าร่างกายมาก
23. ค.
ก. ผิด สัตว์ปีกเป็นสัตว์เลือดอุ่นเหมือน mammal คืออุณหภูมิร่างกายจะคงที่ในช่วงอุณหภูมิภายนอกที่เปลี่ยนแปลง (ยกเว้นภาวะที่ไม่ปกติ เช่นมีไข้)
ข. ผิด กระรอกทะเลทรายต้องสงวนน้ำเอาไว้มากๆ เลยต้องมี Bowman capsule เล็กๆจะได้กรองได้น้อยๆ รวมถึงมีห่วงเฮนเลยาว จะได้ดูดกลับน้ำได้มากๆ
ค. ถูก หมาหายใจหอบเพราะมันรู้สึกร้อน การระบายความร้อนด้วยต่อมเหงื่อไม่ดีเหมือนในคน
ง. ผิด กลไกลการจำศีลของสัตว์เลือดเย็นกับสัตว์เลือดอุ่นต่างกัน แถมหมีขั้วโลกไม่ได้จำศีล มันแค่นอนหลับในฤดูหนาวเฉยๆ
24. ง.
คือถามว่าสารไหนเป็นระบบบัฟเฟอร์ของร่างกาย ก็ต้องทั้งหมดเลยเหมือนในหนังสือบอก
คือมีคู่สารไบคาร์บอเนต (ข้อ a) คู่สารไฮโดรเจนฟอสเฟต (ข้อ b) และพวกโปรตีนในเซลล์ต่างๆ (ข้อ c)
25. ค.
ลิ้นไบคัสปิดกั้นระหว่างห้อง atrium และ ventricle ด้านซ้าย ลองนึกดูว่าถ้าเกิดมันปิดไม่สนิท ก็จะทำให้เลือดที่ออกจาก aorta ส่วนหนึ่งทะลักกลับเข้ามาในหัวใจ ปริมาตรเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจลดลง ความดันเลือดจึงลดลงด้วย คล้ายๆกับใช้มือบีบน้ำออกจากภาชนะยืดหยุ่นได้ที่มีรูรั่วนั่นแหละ
26. ง.
ก. หอยแครง = เปิด, หอยงวงช้าง = ปิด เป็น mollusk ชั้นสูง
ข. ทากบก = เปิด เป็น mollusk, ทากดูดเลือด = ปิด เป็น annelid
ค. แม่เพรียง = ปิด เป็น annelid, เพรียงหิน = เปิด เป็น crustacean
ง. ไรฝุ่น = เปิด เป็นแมง, ไรแดง = เปิด เป็น crustacean
27. ค.
ระบบท่อน้ำ (water vascular system) ทำหน้าที่เป็นหลายๆระบบ ทั้งระบบลำเลียง ขับถ่าย แลกเปลี่ยนแก๊ส แต่ไม่เป็นระบบประสาท เพราะมีระบบประสาททางด้านท้อง (ventral nerve cord) แยกออกมา เรียกว่า nerve ring
28. ค.
ก. ถูก เพราะ pulmonary artery นำเลือดดำไปฟอกที่ปอด ส่วน pulmonary vein นำเลือดที่ฟอกแล้วกลับเข้าสู่หัวใจ
ข. ถูก เพราะ coronary artery นำเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วน coronary vein มีเลือดดำที่เพิ่งเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมา
ค. ผิด glomerulus เป็นหลอดเลือดฝอย ต้องมีความเร็วน้อยกว่าหลอดเลือดดำ
ข. ถูก arteriole เป็นหลอดเลือดแดง ต้องมีความดันมากกว่าหลอดเลือดดำ
29. ข.
เลือดจาก renal vein ไป renal artery ได้ต้องผ่านลำดับดังนี้ (ลองค่อยๆไล่นึกไปเรื่อยๆนะไม่มีอะไรยากเลย)
renal vein > inferior vena cave > right atrium > tricuspid valve > right ventricle > pulmonary semilunar valve > pulmonary artery > capillary ที่ alveolus > pulmonary vein > left atrium > bicuspid valve > left ventricle > aortic semilunar valve > aorta > renal artery
ยาวจัง . . . - -a
30. ก.
สัตว์ทะเลทีเป็น invertebrate ชั้นต่ำส่วนใหญ่ เช่น ปลาดาว แมงกะพรุน ไฮดรา จะมีสารละลายในร่างกาย isotonic ต่อน้ำทะเล จะได้ไม่ต้องควบคุมสมดุลไอออนให้มากความ
31. ข.
ก. ตกตะกอน กรุ๊ป B รับได้จากกรุ๊ป O และ B ด้วยกันเท่านั้น
ข. ไม่ตกตะกอน นาย ก. เป็นกรุ๊ป B รับเลือดจากนาย ข. เป็นกรุ๊ป O
ค. ตกตะกอน Rh- เมื่อรับ Rh+ มากกว่าหนึ่งครั้งเป็นต้นไปจะเป็นอันตราย
ง. ตกตะกอน ถ้าแม่เป็น Rh- เมื่อตั้งท้องลูก Rh+ (มี antigen Rh) แล้วครั้งหนึ่ง หากมีลูก Rh+ อีกคนอาจเกิดอันตรายได้
32. ก.
A = thromboplastin จากเกล็ดเลือดและเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย
B = prothrombin สร้างจากตับโดยอาศัยวิตามินเค
C = fibrinogen เป็น plasma protein ที่สำคัญสร้างมาจากตับ
D = fibrin ปกติไม่พบในเลือด เกิดขึ้นเมื่อต้องการให้เลือด ณ ตำแหน่งหนึ่งๆแข็งตัว (blood coaggulation)
ก. ผิด thromplastin ไม่ได้สังเคราะห์มาจากตับ
ข. ถูก ยาปฏิชีวนะอาจส่งผลต่อแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ที่สร้างวิตามินมากมาย อย่าง วิตามินเค, บี 12, biotin และ folate ได้
ค. ถูก fibrinogen เป็นหนึ่งใน clotting factor ที่พบในพลาสมา เมื่อพลาสมาไม่มี clotting factor ต่างๆ (รวมทั้ง fibrinogen) เราจะเรียกว่า serum ส่วนในน้ำเหลืองไม่พบ plasma protein เพราะน้ำเหลืองเกิดจากการแพร่ออกนอกหลอดเลือดฝอยของพลาสมา โมเลกุลโปรตีนมันใหญ่เกินกว่าจะแพร่ออก
ง. ถูก เพราะกระบวนการแข็งตัวของเลือดนับสิบขั้นตอน ต้องอาศัยแคลเซียมเป็นองค์ประกอบสำคัญ
33. ง.
a) ถูก ท่อน้ำเหลืองไม่มีพลาสมาโปรตีนเพราะมันใหญ่เกินกว่าจะเล็ดลอดออกมาจากหลอดเลือดฝอย
b) ผิด ถึงแม้เม็ดเลือดแดงจะออกมาจากหลอดเลือดฝอยไม่ได้ แต่ท่อน้ำเหลืองก็มีเม็ดเลือดขาวอยู่มากมาย (โจทย์บอกว่า การมีหรือไม่มีเม็ดเลือด)
c) ถูก หลอดเลือดแดงส่วนใหญ่ (ที่ไม่ใช่ pulmonary artery) จะไม่มีลิ้น ในขณะที่ท่อน้ำเหลืองจะมีลิ้นช่วยลำเลียง
34. ค.
a) ถูก ไม่มีนิวเคลียสจะได้บรรจุ hemoglobin ได้เยอะๆ
b) ถูก รูปร่างแบบ biconcave นี้ทำให้เพิ่มพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊ส
c) ผิด เม็ดเลือดแดงลำเลียงแก๊สได้สามชนิดแล้วดียังไง ในเมื่อ CO2 ลำเลียงกับเม็ดเลือดแดงแค่นิดเดียว แถม CO ยังเป็นแก๊สพิษที่ไม่มีประโยชน์กับร่างกายอีกด้วย
35. ก.
lymphocyte ไม่เป็น phagocyte ....ง่ายนะครับข้อนี้
36. ก.
a) ไม่สร้าง ในไขกระดูกเป็นที่สร้างและอนุบาล B-lymphocyte ที่สร้าง antibody ก็จริง แต่ B-cell จะทำงานได้ก็ต่อเมื่อออกลาดตระเวนในร่างกายและจ๊ะเอ๋กับ antigen เท่านั้นนะ
b) ไม่สร้าง ต่อมไทมัสเป็นที่อนุบาล T-lymphocyte ซึ่งไม่ได้ทำหน้าที่สร้าง antibody
c), d) สร้าง ม้ามและต่อมน้ำเหลืองเป็นอวัยวะในระบบน้ำเหลือง เป็นแหล่งปฏิบัติงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันมากมายอยู่แล้ว
37. ก.
ข้อนี้จะถูกต้องที่สุดเมื่อบอกว่าเซลล์ไหนในเลือด นะครับ (ถ้าไปดูเม็ดเลือดที่อื่นๆแล้วใช้ความรู้มหาลัยอาจไม่ตอบ ก. ก็ได้นะ)
ก. = eosinophil (สังเกตได้จากนิวเคลียสของมันมีสองพู งอไปงอมาคล้ายรูปตัว e : เพราะมันย่อมาจาก eosinophil ยังไงละ)
ข. = neutrophil (สังเกตได้จากนิวเคลียสมี 3 – 5 พู)
ค. = basophil (สังเกตได้จาก granule ติดสีเข้มมากและมีปริมาณมาก)
ง. = monocyte (สังเกตได้จากเซลล์มีขนาดใหญ่ ไม่มี granule และนิวเคลียสเป็นรูปถั่ว)
ปลาน้ำจืดดิบๆเป็นโฮสต์ชั้นดีของพยาธิต่างๆ ส่วน eosinophil เป็นเม็ดเลือดขาวที่เอาไว้กำจัดพยาธิ เห็นยังงี้ข้อนี้ก็ข้อสอบเอนท์นะ
38. ค.
วัคซีนเป็นเชื้อโรคที่ตายแล้ว กระตุ้นให้ร่างกายสร้าง antibody ตอบสนองขึ้นมาเอง จึงเป็นแบบจำเพาะ (เพราะเกี่ยวกับ antigen – antibody) และเป็นแบบก่อเอง (ร่างกายผู้รับสร้าง antibody ขึ้นมาเอง)
คำว่าภูมิคุ้มกันแบบรับมา (passive immunity) หมายถึงรับ antibody เข้ามาเลย เช่น เซรุ่มแก้พิษงู น้ำนมแม่
คำว่าภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (innate immunity) ตรงกับคำว่า non-specific defense ในหนังสือหน้า 100 คือพวกการทำงานของ phagocyte, lysozyme (สารต้านจุลชีพอย่างหนึ่งในน้ำตา, น้ำลาย), เยื่อเมือก, การอักเสบต่างๆ
39. ค.
a), c) ถูก HIV จัดเป็นไวรัสที่มี RNA เป็นสารพันธุกรรม (เรียกว่า retrovirus) ทำให้มันกลายพันธุ์ได้ง่าย
b) ผิด ทำลาย CD4+lymphocyte หรือ helper T-cell ต่างหาก ซึ่งเป็นเซลล์ศูนย์กลางควบคุมภูมิคุ้มกันของร่างกาย
40. ข.
อืมมม ข้อนี้เอาจริงๆข้อสอบเอนท์ไม่น่าถามเด็กม.ปลายเพราะมันเกินไปนิดนึง
งั้นก็จำไปเลย ว่าเวลากินเหล้าแล้วฉี่บ่อยๆเนี่ย (เห็นคนงานแถวบ้านเล่าให้ฟังพี่ไม่เคยกินหรอกครับ ^^)
มันเป็นเพราะแอลกอฮอล์ไปลด ADH ทำให้หน่วยไตดูดกลับน้ำลดลงครับ
ตัวอย่างสารที่ลดการหลั่ง ADH : alcohol, ยาบางอย่าง เช่น clonidine, haloperidol
ตัวอย่างสารที่เพิ่มการหลั่ง ADH : มอร์ฟีน, นิโคติน, cyclophosphamide
เห็นมั้ยจำๆไปเหอะอันนี้ไม่ยากอะไรหรอก ข้อสอบเอนท์นี่นะ -*-
41. ก.
a = เลือด, b = plasma แยกกับชั้นของเม็ดเลือดข้างล่าง, c = serum เพราะเลือดข้างล่างเกิดการแข็งตัว แสดงว่า clotting factors ต่างๆตกลงไปแล้ว
ก. ถูก อย่างที่บอก
ข. ผิด ตัด fibrinogen ทิ้งเพราะมันเป็น clotting factors
ค. ผิด พิษงูที่ฉีดเข้าม้า กระตุ้นให้ม้าสร้าง antibody มาต่อต้านพิษงูด้วยตัวม้าเอง เป็นแบบ active นะ
ง. ผิด เซรุ่ม (serum) ที่ได้มี antibody ที่ม้าสร้างเอาไว้เองเรียบร้อยอยู่แล้ว ฉีดให้คนคนก็รับเข้ามาโดยไม่ต้องสร้างใหม่ เลยเป็นแบบ passive
42. ก.
x = 0.1 เพราะกลูโคสจะกรองได้หมดและถูกดูดกลับหมดเช่นกัน
y = 0 เพราะโปรตีนที่ใหญ่ขนาดนั้นจะไม่ผ่านการกรองเข้ามา
z > 0.03 เพราะยูเรียเป็น N-waste ที่ท่อหน่วยไตจะต้องขับเพิ่มอีกเยอะแยะ พร้อมๆกับ N-waste ตัวอื่นๆทั้งแอมโมเนียและยูริก
43. ก.
โปรตีนที่มากสุดคือ albumin ซึ่งมีหน้าที่รักษาแรงดันออสโมซิสในหลอดเลือด คิดเสียว่า albumin เป็นตัวถูกละลายตัวหนึ่ง พอมันออกมาความเข้มข้นของพลาสมาก็เจือจางลง (นั่นคือแรงดันออสโมซิสของหลอดเลือดฝอยมีค่าลดลง) แต่การที่ albumin รั่วออกไปนั้นทำให้ปริมาณน้ำเหลืองรอบเซลล์เพิ่มมากขึ้น เพราะ
1) albumin และพลาสมาโปรตีนอื่นๆมีคุณสมบัติอุ้มน้ำ ถ้าเกิดโปรตีนหายไป น้ำในหลอดเลือดเลยทะลักออกมานอกหลอดเลือดฝอย ผู้ป่วยจะเกิดภาวะบวมน้ำ (edema) ได้
2) โปรตีนที่ออกมานอกหลอดเลือดฝอย เป็นเหมือนฟองน้ำที่วางอยู่นอกหลอดเลือดฝอย พอพลาสมาแพร่ออกมาก็ดูดซับเอาไว้ (เพราะมันอุ้มน้ำได้ดี) ทำให้ปริมาณน้ำเหลืองมากขึ้น และปริมาณพลาสมาน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น
อืมม ข้อสอบเอนท์ข้อนี้ยากอยู่ -*-
44. ง.
อัตราการหายใจขณะพัก เอาไว้ดูว่าจริงๆแล้วสัตว์ตัวนั้นมี metabolism สูงมากมั้ย และ class ที่มี metabolism สูงสุดๆในพวก vertebrate ก็คือ aves (พวกสัตว์ปีก) นั่นเอง เพราะการบินมันกินพลังงานมากจริงๆ โครงสร้างส่วนใหญ่ของร่างกายก็ต้องสอดคล้องและรองรับการบิน และ metabolism ที่สูงนี้ด้วย
ปล. คำว่าสัตว์สี่เท้า ในทางชีววิทยาหมายถึง vertebrate พวก tetrapod (ไม่ใช่ปลา-pisces)
ได้แก่ amphibian, reptile, สัตว์ปีก และ mammal ครับ
อย่างงูหรือนก เราก็ถือเป็นสัตว์สี่เท้าในเชิงอนุกรมวิธานและวิวัฒนาการนะ
45. ค.
a) ผิด พืชใต้น้ำอย่างสาหร่ายหางกระรอก ก็ไม่คายน้ำ
b) ผิด การขับเหงื่อไม่ใช่กลไกหลักในการกำจัดน้ำและแร่ธาตุ ต้องเป็นไตสิ
c) ถูก การคายน้ำเกือบทั้งหมดเกิดที่เซลล์คุม ส่วนการขับเหงื่อถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ
46. ก.
a) ถูก 98.5% ของออกซิเจนถูกลำเลียงในรูป oxyhemoglobin
b) ถูก 23% ของคาร์บอนไดออกไซด์ถูกลำเลียงในรูป carbaminohemoglobin
c) ผิด ลำเลียงในรูป HCO3- ต่างหาก หรือถ้าบอกว่ากรด H2CO3 มันก็เป็นกรดอนินทรีย์อยู่ดี ไม่ใช่กรดอินทรีย์
d) ผิด เลือดแมลงไม่ลำเลียงแก๊ส ย้ำรอบที่ล้านแปด
47. ค.
x จะต้องเป็นสารที่ไม่ทำให้เลือดแข็งตัว เพราะ
1) ยังคงตรวจพบ clotting factors อย่าง fibrinogen อยู่ในพลาสมา (A)
2) ตั้งทิ้งไว้แล้ว ยังไงๆเม็ดเลือดข้างล่างของเหลว A ก็ยังไม่ตกตะกอน เพราะ clotting factors ต่างๆไม่ตกลงมานั่นเอง
a) ผิด thrombin เป็น clotting factors อย่างหนึ่งที่ทำให้เลือดแข็งตัว
b) ถูก heparin เป็นสารโดยธรรมชาติที่เม็ดเลือดขาว basophil หลั่งออกมาป้องกันเลือดในหลอดเลือดแข็งตัว
c) ถูก hirudin เป็นสารที่พวก annelid ดูดเลือด อย่างปลิงดูดเลือด ทากดูดเลือด หลั่งออกมาเลียนแบบ heparin ของเรา เวลาดูดเลือดอยู่เลือดจะได้ไม่แข็งตัว
ข้อนี้ก็ข้อสอบเอนท์นะทำได้ไหม
48. ก.
หลอดเลือดนี้เป็น vein เพราะ 1) มีลิ้น 2) อาศัยการหดของกล้ามเนื้อลายๆรอบๆช่วยขับเคลื่อนเลือด
ถ้าเป็นหลอดเลือด vein ที่ขาตามที่โจทย์ให้มา แสดงว่า เลือดกำลังไหลกลับเข้าหัวใจห้องบนขวาผ่าน inferioir vena cava โดยมีกล้ามเนื้อลายรอบๆหดตัวบีบไล่เลือด และขณะนั้นลิ้น b กำลังปิดเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับ ส่วนลิ้น a กำลังเปิดให้เลือดพุ่งผ่านไป
49. ก.
อ่านบทที่ 9 นะ ..อัตราการหายใจจะเพิ่มขึ้นเพราะปอดเหลือข้างเดียว ตามปกติถุงลมทุกถุงทำงานเต็มที่
แต่อย่างที่บอกคือการกรองจะเท่าเดิม เพราะตามปกติไตจะใช้หน่วยไตแค่ครึ่งหนึ่งของที่มีเท่านั้น (ห้าแสนจากหนึ่งล้าน) ตัดไปหรือบริจาคไปข้างหนึ่งก็ไม่เป็นไร
50. ค.
a) ผิด จับ O2 ได้ดีกว่า ไม่งั้น CO2 ส่วนใหญ่ก็ต้องลำเลียงโดยใข้ hemoglobin สิ
b) ถูก โครงสร้างจตุรภูมิของ hemoglobin เป็น polypeptide สี่สาย แต่ละสายมีโมเลกุลของ heme แต่ละโมเลกุลของ heme มี Fe 1 อะตอมเป็นองค์ประกอบ แต่ละ Fe จับกับ O2 ได้ 1 โมเลกุล สรุปคือ hemoglobin 1 โมเลกุลขนส่ง O2 ได้ 4 โมเลกุลนั่นเอง
c) ถูก CO กับ O2 จับ hemoglobin ที่ตำแหน่ง Fe ของ heme เหมือนกัน CO จึงเป็นคู่แข่งตัวร้ายกาจของ O2 ในขณะที่ CO2 จะจับกับ hemoglobin ที่ตำแหน่งอื่นๆ ตรงกรดอะมิโน (ลองอ่านหน้า 90 พี่แอบพูดไว้นิดนึง)


Create Date : 03 ตุลาคม 2552
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2553 20:58:01 น. 45 comments
Counter : 53346 Pageviews.  

 
พี่ครับตอน 2 ข้อ 5...

ผมว่า แค่ 1 วันมันยังเวไปที่จะเพิ่ม RBC นะครับ


โดย: ภีม IP: 58.9.252.251 วันที่: 20 ตุลาคม 2552 เวลา:23:57:10 น.  

 
ภายในวันที่สองเม็ดเลือดแดงยังไม่มากขึ้นก็จริง
แต่ไขกระดูกสร้างมากขึ้น (ตามที่โจทย์บอก) แล้วครับ

<อ้างอิงจาก guyton, textbook of physiology, chapter 32>
ภาวะ O2 ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ (hypoxia) เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการกระตุ้นให้ไตหลั่งฮอร์โมน erythropoietin ครับ
ฮอร์โมนตัวนี้จะสร้างขึ้นภายในไม่กี่นาที เพื่อกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นทันทีทันใดครับ
กระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงจะเกิดได้มากขึ้น เร็วขึ้น และเม็ดเลือดแดงที่ได้จะมีปริมาตรเซลล์มากขึ้นด้วย
แต่เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่จะออกมาเมื่อผ่านไปแล้วห้าวัน

พี่จำได้คร่าวๆแค่ว่าโจทย์นี้พี่ดัดแปลงมาจากข้อสอบฉบับใหม่ๆอะ
(เอนท์?เอเน็ท?แพ็ท? - พี่อ่านนานแล้วจำไม่ได้จริงๆ -*- )
คลับคล้ายคลับคลาว่าบอกมาไม่ถึงห้าวันเหมือนกัน (หรือไม่บอกวันด้วยซ้ำไปนะ)


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 21 ตุลาคม 2552 เวลา:15:15:28 น.  

 
พี่ครับ
ข้อ19ตอน2แล้วถ้าตอบว่าจำนวนห้องหัวใจต่างจะได้ไหมครับ


โดย: foon IP: 110.49.177.22 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2552 เวลา:0:41:13 น.  

 
ไม่ได้ดิครับ
โจทย์ถามว่าต่างกันยังไง
หัวใจจระเข้มี 4 สมบูรณ์ หัวใจเต่าทะเลมี 4 ไม่สมบูรณ์
ยังไงๆก็ "4" เหมือนกันนะเห็นไหม


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 6 พฤศจิกายน 2552 เวลา:18:01:44 น.  

 
พี่ครับข้อ 44 ตอน 2 โจทย์ถามว่า
สัตว์ สี่เท้า ในclassใด ที่ีมีอัตราการหายใจขณะพักสูงที่สุด
ถ้าเกิดเฉลยเป็น ง.aves
แต่คลาสนี้มันไม่มีสัตว์สี่เท้าไม่ใช่หลอครับ


โดย: TuRn IP: 58.8.198.74 วันที่: 1 ธันวาคม 2552 เวลา:3:15:23 น.  

 
คำว่าสัตว์สี่เท้า (tetrapod) ในเชิงชีววิทยาไม่ได้หมายความว่าสัตว์ที่มีสี่เท้านะครับ
เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่ใช่ปลา
และมีสีเท้า หรือมีรยางค์คล้ายสัตว์สี่เท้าอะ
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ถือเป็นสัตว์สี่เท้าหมดอะ
ขนาดงูที่ไม่มีรยางค์ใดๆก็ถือเป็นสัตว์สี่เท้าตามสายวิวัฒนาการครับ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 1 ธันวาคม 2552 เวลา:21:07:27 น.  

 
พี่เต๊นคะ ข้อ 20 ตัวเลือกที่ 1 จะถือว่าผิดได้มั้ยคะ
ถ้าหนูคิดว่า hypothalamus เป็นตัวหลั่ง ADH ไม่ใช่ต่อมใต้สมองอะ
ขอบคุณค่ะ


โดย: มะนาว IP: 124.122.110.227 วันที่: 5 ธันวาคม 2552 เวลา:17:42:46 น.  

 
เป็นจุดที่ข้อสอบชอบเน้นนะ สำหรับ ADH
hypothalamus: สร้าง ADH แล้วหลั่งเอาไปเก็บที่ pituitary
posterior pituitary: เก็บ และ หลั่ง ADH เข้าสู่กระแสเลือด
ข้อนี้จะผิดก็ต่อเมื่อใช้คำว่า "ต่อมใต้สมองสร้าง ADH" อะไรเงี้ย
เวลาทำข้อสอบให้ถือว่า hypothalamus สร้าง และต่อมใต้สมองหลั่งครับ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 5 ธันวาคม 2552 เวลา:18:21:38 น.  

 
อ๋อ เข้าใจและ ขอบคุณค่ะ


โดย: มะนาว IP: 124.120.72.96 วันที่: 6 ธันวาคม 2552 เวลา:5:11:47 น.  

 
ที่น้องเข้าใจก็ถูกแล้วครับ แต่มันค่อนข้างซับซ้อนนะ

ภาวะภูมิแพ้จะมีการกระตุ้นเซลล์หลายๆชนิด เช่น basophil, mast cell (ตัวนี้รู้จักไหมนะ?), eosinophil
- basophil (และ mast cell) หลั่ง histamine เป็นหลัก ทำให้เกิดอาการของการแพ้ต่างๆ
เช่นหลอดเลือดขยาย ผิวก็เลยบวมเป็นตุ่ม หรือมีน้ำมูกมาก หรือทำให้หลอดลมตีบในคนเป็นหืด ซึ่งเป็นภูมิแพ้แบบหนึ่งเหมือนกัน
นอกจากนี้ basophil ยังหลั่งสารที่กระตุ้นและเรียก eosinophil มาช่วยด้วย
- eosinophil ในภาวะภูมิแพ้เค้ายังไม่รู้แน่ว่ามันสูงขึ้นเพื่ออะไร แต่สันนิษฐานจากสารของมันที่มีหลายชนิด เช่น
มีสารที่ทำลายสารพิษที่ทำให้เกิดอาการแพ้ อย่างที่น้องบอก (เช่น histaminase หรือ aryl sulfatase) หลั่งขึ้นมาต้าน basophil ที่สูงขึ้น
หรือสารที่ทำให้เกิดการอักเสบแบบแพ้ๆ (พี่ก็อธิบายไม่ถูก) มันจะไปทำลายเนื้อเยื่อด้วยสารคล้ายๆที่มันทำลายพยาธิได้ (เช่น major basic protein หรืออนุมูลอิสระต่างๆ)
ถ้าน้องแพ้ฝุ่น มันก็เป็นรูปแบบของการอักเสบแบบแพ้ๆเหมือนกัน เรียกว่า allergic rhinitis
ตัวอย่างของการอักเสบแบบแพ้ๆอย่างอื่น (ซึ่งทั้ง eosinophil และ basophil ก็สูงด้วย) เช่น หอบหืด (asthma) ผื่นลมพิษ (urticaria) ผื่นแพ้ตอนเด็กๆ (allergic eczema), ตาแดงแบบแพ้ๆ (allergic conjunctivitis) ฯลฯ
พอจะเข้าใจไหมเนี่ย ^^"


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 7 ธันวาคม 2552 เวลา:1:19:24 น.  

 
อ่อค่ะ คือมีหลายเซลล์ถูกกระตุ้นไปพร้อมๆกัน
ขอบคุณค่ะพี่เต๊น :))


โดย: MN IP: 118.172.95.4 วันที่: 7 ธันวาคม 2552 เวลา:8:10:28 น.  

 
พี่เต๊นคะ มันเคยมีข้อสอบเอ็นท์ที่คล้าย ๆ ข้อ 5 (ตัวเลือก)ประมาณว่า ถ้าเราขึ้นที่สูงที่มีออกซิเจนน้อย ในระยะแรก เลือดจะไหลช้าลง หรือเร็วขึ้นคะ แล้วถ้าอยู่ไปนาน ๆ จะต่างกับตอนเพิ่งขึ้นไปมั้ยคะ


โดย: มะนาว IP: 124.122.134.59 วันที่: 12 ธันวาคม 2552 เวลา:18:59:12 น.  

 
อ่า พี่ไปค้นมาให้
(จริงเอาข้อสอบมาให้ดูเลยดีกว่านะจะได้ดูว่าเค้าถามอะไร)

การปรับตัวเมื่อขึ้นไปที่สูง (acclimatization to high altitude)
เวลาขึ้นไปที่สูงแป๊บๆก็จะมีอาการเหมือนขาดอากาศเล็กน้อย เช่นหัวใจเต้นเร็วขึ้น ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจมากขึ้น
แต่พออยู่ไปซักวัน-สัปดาห์จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้สิ่งต่างๆเข้าที่เข้าทาง
1. ปริมาณเลือดไปปอดมากขึ้น
2. จำนวน RBC เพิ่มขึ้น
3. ความสามารถในการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ถุงลมมากขึ้น
4. เส้นเลือดฝอยในเนื้อเยื่อเพิ่มขึ้น
5. เซลล์มี mitochondria และเอนไซม์ในการหายใจระดับเซลล์เพิ่มขึ้น
ทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า "ถึงมี O2 น้อยๆก็อยู่ได้ ..ไม่แคร์" ประมาณนั้นครับ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 14 ธันวาคม 2552 เวลา:20:50:46 น.  

 
จาก ข้อ41อะครับ

เซรุ่มนี้คือต้องเอาพิษของสัตว์ที่มีพิษไปฉีดให้สัตว์ชนิด(ก)อื่นก่อนนำมาเลือดของ(ก)ที่ปั่นแล้วตกตะกอนแล้ว มาฉีดถึงจะเรียกว่าซรุ่มใช่หรือป่าวครับ

หรือว่าเอาเลือดจากสัตว์ที่มีพิษมาปั่นแล้วเอาเซรุ่มได้เลยอะครับ

ถามงงๆหน่อยยังไงก็ช่วยตอบให้ด้วยนะครับขอบคุณครับ


โดย: ป.ปลา IP: 125.25.6.84 วันที่: 6 มกราคม 2553 เวลา:21:31:56 น.  

 
หลักการทำเซรุ่มพิษงูที่ง่ายที่สุด
1. ฉีดพิษงูให้ม้า -> ม้าสร้างภูมิคุ้มกัน (active immune)
2. เอา serum ม้าที่มีภูมิคุ้มกันฉีดให้คน -> คนรับภูมิคุ้มกัน (passive immune)
ประมาณนี้อ่า ถ้าเกิดเอา serum งูมาฉีดให้เราคงไม่มีประโยชน์นะ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 7 มกราคม 2553 เวลา:21:47:30 น.  

 
พี่ค่ะหนูงงตรงข้อ 1 ที่เป็นคำนวณอ่ะค่ะที่เทียบแบบบัญญัติไตรยางค์ พี่อธิบายเพิ่มเติมได้หรือป่าวค่ะ


โดย: กวาง IP: 118.172.249.66 วันที่: 9 มกราคม 2553 เวลา:11:34:15 น.  

 
t/f ข้อ 21 อ่ะค่ะพี่เต๊น

ใน Q&A พี่เคยตอบ rep นึงว่า "ไขกระดูกกับไทมัสเป็นแหล่งสร้าง ยังทำงานไม่ได้
ส่วนต่อมน้ำเหลืองกับม้ามเป็นแหล่งปฏิบัติงาน จึงสร้าง Ab ได้" แพรวก็เลยอยากถามพี่ว่า ถ้าแพรวบอกว่ามีอีกเหตุผลนึงที่ข้อนี้ผิดนอกจากตับไม่ใช่อวัยวะน้ำเหลือง ก็คือต่อมไทมัสไม่ใช่สถานที่ปฎิบัติงานของเม็ดเลือดขาวแต่เป็นแหล่งสร้าง อย่างงี้จะได้มั้ยคะพี่ ??


โดย: frozen IP: 222.123.152.105 วันที่: 13 มกราคม 2553 เวลา:22:12:31 น.  

 
book lung คือปอดที่เป็นแผง แสดงว่าพอแลกเปลี่ยน gas จาก book lung แล้วแมงมุมยังต้องมีระบบหมุนเวียนเลือดเพื่อรับ O2 ไปให้เนื้อเยื่อต่ออีกที แบบนี้รึเปล่าคะ ?? (เพราะที่พี่บอกในเฉลยมันมีรงควัตถุด้วยใช่ป้ะ)


โดย: frozen IP: 222.123.152.105 วันที่: 13 มกราคม 2553 เวลา:22:49:57 น.  

 
พี่เต๊น แพรวเคยอ่านเล่มนึงเค้าบอกว่าโรคถึงลมโป่งพองเกิดจากสูดเอาอากาศที่เป็นพิษเข้ามา แล้วพวกควันพวกนั้นก็จะไปทำลายถุงลมจากที่มีถุงลมเยอะๆ มันก็จะทำให้ถุงลมทะลุถึงกันหมดเหมือนทำลายผนังถุงลมอ่ะพี่ ทำให้พื้นที่ผิวแลกเปลี่ยน gas น้อยลง แสดงว่าอันนี้ผิดหรอคะพี่ หรือว่ามันเกิดได้หลายสาเหตุอ่า??


โดย: frozen IP: 222.123.152.105 วันที่: 13 มกราคม 2553 เวลา:22:53:23 น.  

 
พี่เต๊นคะ ตอนที่ 2 ข้อ 19 ถ้าดูตามรูปที่พี่เฉลยแสดงว่าเต่าเป็นแบบ 4 ห้องไม่สมบูรณ์ใช่ป่าว แต่ในหนังสือบอกว่า amphibian มีหัวใจแบบ 3 ห้อง เต่านี่ amphibian ใช่ป่ะพี่ พอเอาในหนังสือมาตอบก็เลยตอบข้อ ง แต่ดูที่รูปที่พี่เฉลยมันก็ต้องตอบ ค จริงๆ กลายเป็นว่างงว่าตกลงเต่ามันมีหัวใจแบบไหนกันแน่ เแพรวว่าที่แพรวกับคุณ foonอยากจะให้พี่ช่วยน่าจะเป็นแนวเดียวกัน ประมาณนี้อ่า ~~


โดย: frozen IP: 222.123.152.105 วันที่: 13 มกราคม 2553 เวลา:23:13:09 น.  

 
# น้องกวาง
กรอง 25% แปลว่ามา 100 กรองได้ 25 ใช่ไหม
ที่นี้เค้าบอกว่าใน 1 นาที กรองได้ 125 mL
เราเลยต้องมาหาก่อนว่า ใน 1 นาที มันมาเท่าไหร่กันนะถึงกรองได้ 125 อะ
เทียบบัญญัติไตรยางศ์
กรองได้ 25 แปลว่ามา 100
กรองได้ 125 แปลว่ามา 100/25 * 125 = 500
แปลว่าใน 1 นาที มา 500 mL
ใน 1 วัน เลยมาทั้งหมด 500*60*24 = 720000 mL
คิดเป็น 720 L นั่นเอง เข้าใจมากขึ้นไหม ^^"


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 13 มกราคม 2553 เวลา:23:20:52 น.  

 
ขอบคุณพี่เต๊นมากๆเลยค่ะ


โดย: กวาง IP: 118.172.247.189 วันที่: 18 มกราคม 2553 เวลา:10:30:40 น.  

 
อยากรู้ว่าeosinophil มีวิธีจัดการกับสิ่งเเปลกปลอมอย่างไรครับ? ขอบคุณครับ


โดย: Cen IP: 202.149.25.234 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:19:44:43 น.  

 
# น้องแพรว
- ไม่ได้ครับ ตับไม่ใช่อวัยวะในระบบน้ำเหลือง
อวัยวะในระบบน้ำเหลืองแบ่งให้ยากๆเป็น
1. ปฐมภูมิ (primary lymphoid organ) = thymus + bone marrow
2. ทุติยภูมิ (secondary lymphoid organ) = lymphnode + spleen + ฯลฯ
นั่นคือยังไงๆไทมัสถึงจะยังทำงานไม่ได้แต่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำเหลืองและภูมิคุ้มกันโดยตรงเลยนะ
- book lung น้องเข้าใจถูกต้องแล้ว
ปอดแผง ก็มีเลือด มีรงควัตถุ เรื่องนี้พี่ก็ไม่เคยรู้จนมาเจอข้อสอบเอนท์ข้อนึงเนี่ยแหละ
พี่เคยแอบคิดไปเองว่าถ้าตบแมงมุมตาย -*- มันน่าจะมีเลือดสีแดงๆออกมา (มั้งนะ 55)
- ถุงลมโป่งพอง เกิดได้จากหลายๆสาเหตุ
ที่เกิดมากที่สุดก็คือสารพิษจากควันบุหรี่ไปทำลายสารลดแรงตึงผิวที่ผนังถุงลม
จากเดิมยืดหยุ่นได้ดี ลมเข้าก็พองลมออกก็แฟบ
กลับกลายเป็นแห้งๆไม่ยืดหยุ่น ลมเข้าลมออกก็ติ๊ต่างว่ามันพองตลอด แลกเปลี่ยนได้ไม่ดี
เปรียบเสมือนว่าถุงลมอันนั้นเจ๊งไปเลย
- ส่วนเรื่องเต่า พี่นึ่งนึกอยู่นานมากว่ารูปมันผิดรึเปล่า
คือพี่จะบอกว่า ..น้องคร้าบ
เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลาน ไม่ใช่สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำนะน้องงง -*-

# คุณ cen
- eosinophil ทำงานหลักๆในการกำจัดพยาธิและสารแปลกปลอมโดยกลไกหลักๆ
1. หลั่งสารกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่นๆ
2. หลั่งสารพิษไปทำลายพยาธิเองเลย


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:21:10:56 น.  

 
Happy Chinese New year ,,Valentine's dayy
ย้อนหลังนะคะพี่เต๊ น น ^^
ซินเจียยู่อี่ ซินหนี่ฮวดใช้ ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ ~!!


โดย: ซาลาเปา IP: 118.172.172.109 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:23:59:56 น.  

 
พี่เต๊นท์ค๊ะ
สรุปว่า เวลาเราเกิดอาการแพ้เนี่ยอิโอซิโนฟิล มันจาเพิ่มขึ้นสูงใช่ไหมค๊ะ ? ??
แต่ในหนังสือของพี่ เขียนว่า เบโซฟิล (ตรงหน้าที่อธิบายเกี่ยวกับ ต่อมน้ำเหลือง อ่ะค่ะ)

ง่ะ หนูสับสน !!
ช่วยด้วย


โดย: น้องญิ๋งญ๋วย :D IP: 61.7.149.38 วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:2:03:15 น.  

 
สูงทั้งสองครับ
ในหนังสือเขียน
basophil = ขับสารเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เช่น heparin, histamine (ทำให้แพ้)
eosinophil = กำจัดพยาธิ, ขับสารเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน
ที่ไม่ได้ให้ตัวอย่างของสารที่ eosinophil มาเพราะไม่จำเป็นต้องรู้ครับ
และก็ใช่ การแพ้บางอย่าง eosinophil ก็สูงขึ้นด้วยครับ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:22:45:42 น.  

 
อยากถามพี่อ่ะค่ะว่า ตกลงแล้ว เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับภูมิแพ้คือ eosinophil หรือ basophil กันแน่ และ เม้ดเลือดขาวชนิดที่มีแกรนูลจำเพาะ มีกระบวนการพิโนไซโทซิสและมีร่างแหเอนโอพลาสซึมชนิดไม่มีไรโบโซมเกาะติดอยู่หรือเปล่าและก็อยากถามว่าต่อมไขมันมีบทบาทเกี่ยวกับการต่อต้านสิ่งแปลกปลอมยังไงและในข้อสอบ เอน โจทเขาถามว่า นายแดงมีหมู่เลือด A จะพบ anti A antibody ในซีรัมของนายแดงตลอดเวลา แม้นายแดงไม่เคยถ่ายเลิอดมาก่อนก็ตาม สภาวะนี้จัดเป็นภูมิต้านทานแบบใด
ก. ภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด
ข. ภูมิคุ้มกันแบบก่อเอง
ค. ภูมิคุ้มกันแบบรับมา
พี่คิดยังไงค่ะ
และก็อันนี้ตอบอันไหนค่ะ พี่ช่วยอธิบาย
ในขณะที่แมลงขยับปีกขึ้น การทำงานของกล้ามเนื้อยึดเปลือกที่บริเวณอก และกล้ามเนื้อตามยาว เป็นการทำงานแบบไหนค่ะ antagonism หรือ agonism และพี่ค่ะกล้ามเนื้ออกไก่มีสีจางในขณะที่กล้ามเนื้ออกของนกเป็ดน้ำมีสีเข้ม เพราะว่าไก่ไม่ใช้กล้ามเนื้ออกในขณะที่นกเป็ดน้ำใช้ หรือว่ากล้ามเนื้ออกของสัตว์ทั้งสองกลุ่มนี้มีโปรตีนต่างกัน
ขอบคุณมากๆถ้าพี่ช่วยอธิบาย




โดย: pung 012 IP: 118.172.83.133 วันที่: 9 เมษายน 2553 เวลา:21:45:40 น.  

 
- อาการแพ้ในม.ปลายเกี่ยวกับ basophil ครับ เขียนไว้ให้ในหนังสือแล้ว
- เม้ดเลือดขาวชนิดที่มีแกรนูลจำเพาะ มีกระบวนการพิโนไซโทซิสและมีร่างแหเอนโอพลาสซึมชนิดไม่มีไรโบโซมเกาะติดอยู่หรือเปล่า
ประโยคนี้มันไม่เป็นคำถามนะน้อง
- แบบก่อเองครับ
มนุษย์จะสร้าง anti-A, anti-B ตั้งแต่ปีแรกของชีวิต เพราะเขาเชื่อว่าช่วงนั้นจะได้รับสารที่คล้าย antigen A และ antigen B มาจากอาหาร, เชื้อโรคต่างๆ
ทำให้สร้าง anti-A, anti-B ขึ้นมาและคงอยู่ตลอดชีวิต จึงเป็นภูมิคุ้มกันแบบก่อเองเหมือนเวลาที่เป็นหวัดหรือได้รับวัคซีนซึ่งเป็น antigen แล้วสร้าง antibody ขึ้นมาครับ
ส่วนภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด (innate immunity) เป็นข้อหลอก หมายถึงภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ
เช่น cilia, lysozyme, เมือก, pH ของผิวหนังและกระเพาะ ฯลฯ
- กล้ามเนื้อแมลง เป็น antagonism ครับ มันทำงานตรงข้ามกัน
- กล้ามเนื้อนกเป็ดน้ำแดงเข้มกว่า เพราะมันใช้งานมากกว่าครับ
สีกล้ามเนื้อสัตว์ปีกเกิดจากโปรตีน myoglobin ที่ใช้ขนส่ง O2 ในกล้ามเนื้อ
ถ้าแดงมาก แสดงว่า myoglobin มาก แสดงว่าใช้ O2 มาก แปลว่ามีการทำงานของกล้ามเนื้อมากกว่านะ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 10 เมษายน 2553 เวลา:13:51:51 น.  

 
ไปเจอข้อสอบอยู่ข้อหนึ่งครับว่า

อวัยวะขับถ่ายที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงหน่วยเนฟรอนของสัตว์มมีกระดูกสันหลังมากที่สุด

บางเล่มเฉลย nephridium บางเล่มเฉลย mulpigian

2อันนี้ต่างกันยังไงครับ


โดย: Bank IP: 117.47.5.84 วันที่: 24 มิถุนายน 2553 เวลา:13:04:46 น.  

 
ข้อ4.กากบาทครับพี่เต๊น ทำไมตอบช้อยส์1. ไส้เดือนไม่ได้อ่ะครับไส้เดือนมันแลกเปลี่ยนผ่านผิวหนังโดยตรง งั้นอากาศมันก็แพร่เข้าสู่เซลล์ได้เลยสิครับ


โดย: ปลื้ม IP: 223.205.60.98 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2553 เวลา:13:15:34 น.  

 
ข้อ40ไม่น่าจะเกินอ่าครับ เพราะว่ามันมีอยู่ในหนังสือ สสวท.

เล่มที่เป็นรูปคนเตะกร้ออะครับ


โดย: เจม แฮปปี้ IP: 58.64.110.78 วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:22:43:42 น.  

 
หนูจะสอบชีวเรื่องนี้ ตอน 11.00 โมง

นู๋ เครียดด เพราะยังม่ได้อ่านหนังสือเยยย


โดย: GeGa IP: 192.168.247.191, 192.168.247.191, 127.0.0.1, 180.180.51.170 วันที่: 2 มีนาคม 2554 เวลา:9:55:15 น.  

 
พี่เต๊น หนูอ่านทันแค่ แบบฝึกหัด กะเฉลย

หนุจะทำข้อสอบได้ไม๋ ?? เนี๊ยยยย ^^


โดย: GeGa IP: 192.168.247.191, 192.168.247.191, 127.0.0.1, 180.180.51.170 วันที่: 2 มีนาคม 2554 เวลา:9:56:41 น.  

 
ขอเบอร์กับรูปหน่อยครับ


โดย: lol IP: 58.8.54.225 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2554 เวลา:9:34:53 น.  

 
ไม่มีข้อสอบการรักษาดุลยภาพของร่างกายม.6บ้างหรือค่ะ


โดย: เบ้น IP: 180.180.134.120 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2554 เวลา:21:38:35 น.  

 
คุณ lol เป็นเกย์หรอคับ


โดย: saith253 IP: 172.16.0.4, 101.109.103.63 วันที่: 27 ธันวาคม 2554 เวลา:14:00:16 น.  

 
งงตรง albuminที่มีหน้าที่รักษาระดับแรงดันออสโมซิสของเลือดกับ antidiuretic hormone ที่ควบคุมการดูดน้ำกับ albumin รักษาระดับแรงดันออสโมซิสก้น่าจะเกียวกับการควบคุมน้ำในเลือดแล้วงี้มันต่างกันยังไงหน้าที่2อันนี้อะครับ


โดย: jef IP: 182.52.199.217 วันที่: 29 ธันวาคม 2556 เวลา:17:54:22 น.  

 
อยากทราบว่า...ดูคำถามจากที่ไหนหรอคะ???


โดย: ิิbb_bb IP: 49.230.155.115 วันที่: 23 พฤษภาคม 2557 เวลา:9:31:47 น.  

 
พี่เต๊นค่ะ คือเฉลยข้อ 1 ตอนที่ 2 อ่ะค่ะ มันมีสูตรอยู่หน้าไหนของหนังสือหรอค่ะ คือหนูหาไม่เจออ่ะค่ะ


โดย: Jane IP: 182.53.120.252 วันที่: 18 มีนาคม 2558 เวลา:21:05:28 น.  

 
คำถามดูจากไหนค่ะ ?


โดย: น้องเนย IP: 180.183.56.188 วันที่: 19 มีนาคม 2558 เวลา:14:31:55 น.  

 
Microsoft is saying open source software in general is bad.
[url=//www.replicasbag.net/fr/]sac chanel rabat[/url]


โดย: sac chanel rabat IP: 192.99.14.34 วันที่: 6 สิงหาคม 2558 เวลา:2:36:41 น.  

 
ดีมาก


โดย: รังสิมา IP: 182.52.132.232 วันที่: 11 มกราคม 2559 เวลา:12:02:54 น.  

 
พี่ครับ ผมงงข้อ 34 อะครับ การที่โปรตีนอัลบูมินมันหลุดออกมาน้ำก็ตามมาด้วยไม่ใช่หรอครับ เเล้วทำไมเเรงดันออสโมซิสลดลงอะครับ เเทนที่จะเพิ่มขึ้นเพราะมีพลาสมาในเลือดน้อยอะครับ



โดย: อาน IP: 49.228.110.219 วันที่: 25 กรกฎาคม 2565 เวลา:14:50:08 น.  

 
UK Pornstar Tips From The Best In The Business uk pornstar


โดย: Alta IP: 51.210.176.129 วันที่: 19 มีนาคม 2567 เวลา:16:57:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

มิสเตอร์คัสตาร์ด
Location :
Igloo house Antarctica

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 240 คน [?]




เมลล์มาคุยกันได้นะครับ
tentaroro@yahoo.com :)

[Add มิสเตอร์คัสตาร์ด's blog to your web]