|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | |
|
|
|
|
|
|
|
“ไหม”...จงกลับมา หาไม่ข้าจะตาย...Review หนังสือเล่มแรกในชีวิต...

ไหม : SETA เขียนโดย อเลซซานโดร บาริกโก แปล งามพรรณ เวชชาชีวะ สนพ. ผีเสื้อ ราคา 119 บาท 129 หน้า ที่มา ซื้อจากคิโนะคุนิยะ สาขาพารากอน ลักษณะการอ่าน อ่านอย่างละเอียด ช้าๆ เนิบๆ อ่านย้อนไปมา ซ้ำๆ ย้ำคิดย้ำทำ (ย้ำเป็นพิเศษตรงจดหมายฉบับที่2)
เรื่องราวเล่าย้อนไปในสมัยปี 1861 ประเทศฝรั่งเศส (เรารึก็หลงคิดว่าเรื่องราวมันเกิดในอีตาลีตั้งนาน) ชายคนหนึ่ง (ชื่อแอร์เว) ทำอาชีพซื้อขายหนอนไหม โดยเขาจะออกเดินทางในเดือนตุลาคม ใช้เวลาสามเดือนเพื่อไปซื้อหนอนไหมจากญี่ปุ่น และใช้เวลาอีกสามเดือนเดินทางกลับ ส่วนเวลาเหลือทั้งปีก็พักผ่อน
แอร์เวมีเมียอยู่หนึ่งคน ชื่อว่าเอแลน ใครๆ ต่างก็บอกว่าเสียงของเธอนั้นเพราะมาก ทั้งเรื่องเธอโผล่มาอยู่ไม่กี่ตอน พูดอยู่ไม่กี่คำ แต่เธอก็เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่ง ที่จะลืมเสียไม่ได้เลย
แต่ถึงจะมีเมียแสนดีรออยู่ที่บ้าน แต่เขากลับไปหลง (ขอใช้คำว่าหลง) สาวญี่ปุ่น เมียน้อยผู้มีอิทธิพล และจีบกันต่อหน้าผัวเธอแบบไม่กลัวตาย (ขอยืมสำนวนคุณ the grinning cheshire cat เห็นภาพดีเหลือเกิน) พ่อหนุ่มหนอนไหมของเราก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ ทำเอาเพ้อถึงสาวคนนั้นไปทั้งปี (ทั้งที่แม้แต่เสียงก็ไม่เคยได้ยิน) และหลังจากการเดินทางไปญี่ปุ่นคราวนั้น ก็ทำชีวิตเขาเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล
แอร์เวเดินทางไปญี่ปุ่นบนเส้นทางเดิมซ้ำๆ กันทั้งหมด 4 ครั้ง (แอบคิดเหมือนกันว่าคุณอเลซฯ แกจะแอบใช้เมนู Copy – Paste หรือเปล่านะ) ครั้งที่ 1 เขาพบ เขาหลง ครั้งที่ 2 เขาหลงมากกว่าเดิม พร้อมด้วยข้อความสั้นๆ จากสาวญี่ปุ่นที่บอกว่า “จงกลับมา หาไม่ข้าจะตาย” ครั้งที่ 3 ถึงแม้จะเริ่มเกิดสงคราม แต่เขาก็ยังมา จิตใจปั่นป่วนมากขึ้นเมื่อรู้สึกจะไม่ได้พบสาวญี่ปุ่นคนนั้นอีก ครั้งที่ 4 เขาไม่ควรกลับมาอย่างยิ่ง แต่เขาก็มา แต่ทุกอย่างผิดพลาด จบสิ้น ไม่มีหนอนไหม ไม่ทางติดต่อกับหญิงสาวคนนั้นอีกแล้ว
แต่อีกหกเดือนหลังจากนั้น แอร์เวได้รับจดหมาย ไม่รู้ว่าใครส่งมา แต่เนื้อความเป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด เขาจึงเดินทางไปหามาดามบลองช์ ผู้ซึ่งเคยแปลข้อความแรกให้...
เรื่องราวหลังจากนี้ Spoilนะจ๊ะ (แค่นี้ก็เล่ามาจะจบเล่มแล้ว)
ขอแอบบอกนิดนึง เราเองก็เขียนไปตามความคิดเห็นส่วนตัวนะจ๊ะ วิจงวิจารณ์อะไรไม่เป็นหรอก เป็นคนทื่อๆ นะ (แหะๆ) อ่านแล้วรู้สึกอย่างไรก็เขียนไปตามนั้นจ้า ไม่แปลกนะถ้าขัดกับคนอื่น
เนื้อความในจดหมายยาวเจ็ดหน้ากระดาษนั้น เป็นถ้อยคำของหญิงสาวถึงชายหนุ่ม บรรยายถึงบทรักเร่าร้อน แต่ก็สวยงามหมดจด เมื่อบรรยายถึงจุดสิ้นสุด ก็ลงท้ายด้วยข้อความว่า “เราจะไม่พบกันอีก ลาก่อน”
หลังจากแอร์เวรู้เนื้อความในจดหมายนั้นแล้ว เหมือนสิ่งที่ค้างคาในใจทั้งหลายก็หมดไป เขาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขต่อมาอีกหลายปี จนภรรยาเสียชีวิตด้วยโรคไข้สมอง แต่เขาก็พบความจริงบางอย่างที่ช็อคความรู้สึกมาก จึงเดินทางไปหามาดามบลองช์ อีกครั้งเพื่อถามให้แน่ใจว่า
“คุณเป็นคนเขียนจดหมายฉบับนั้นใช่หรือไม่” “เอแลนขอให้คุณเขียน และคุณก็ทำตาม”
มาดามบลองช์ตอบว่า
“ฉันไม่ได้เขียน” “จดหมายฉบับนั้นเอแลนเป็นคนเขียน” “เธอเขียนไว้แล้วเมื่อตอนมาหาฉัน ขอให้ฉันคัดลอกเป็นภาษาญี่ปุ่น และฉันก็ทำให้ นี่คือความจริง”
นี่คือความจริง
จดหมายที่แอร์เวหลงคิดว่ามาจากหญิงสาวลึกลับ กลับเป็นจดหมายจากเมียของเขาเอง ทำไมเธอต้องทำเช่นนั้นด้วยนะ ไม่รู้ว่าแอร์เวจะเข้าใจเธอหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ หลังจากรู้ความจริงนั้น เหมือนเขาได้ปลดเปลื้องพันธนาการ และสิ่งต่างๆ ที่เกาะกุมจิตใจตลอดเวลาหลายปีออกไปหมด เขากลับเป็นแอร์เวคนเดิม เหมือนก่อนที่จะไปญี่ปุ่น และ ”มีความสุขในสิ่งที่แต่ก่อนนี้เขาปฏิเสธเสมอมา”
ความเห็นจากคนอ่าน ไม่เคยอ่านงานของ อเลซซานโดร บาริกโก มาก่อน พออ่านแล้วก็ซึ้งเลยว่างานเขียนที่เขาพูดกันว่ามัน น้อยได้มาก น่ะเป็นอย่างนี้นี่เอง ถูกใจเรานักล่ะ เพราะเป็นคนอ่านหนังสือแบบย้ำคิดย้ำทำ ไม่เข้าใจเหมือนกัน บางประโยคก็อ่านซ้ำๆ อยู่ได้ แต่แย่หน่อยที่อ่านจบมา สองวันแล้ว ความรู้สึกที่ลอยฟุ้งอยู่รอบตัวหลังจากอ่านจบมันเลยหายๆ ไป แต่ไม่เป็นไร พออ่านซ้ำอีกรอบก็ทำให้คิดอะไรได้หลายอย่างเหมือนกัน
สิ่งแรกที่ทุกคนต้องคิดเหมือนๆ กันอย่างแน่นอนก็คือ ทำไมเอแลนถึงเขียนจดหมายฉบับนั้นขึ้นมา นั่นสิทำไม สำหรับเราคิดว่า คนเป็นเมีย ถึงแม้จะเจอหน้าผัวอยูปีหนึ่งแค่ห้าเดือน แต่ความเปลี่ยนแปลงในตัวของแอร์เวในแต่ละครั้งที่กลับจากญี่ปุ่น เอแลนต้องสังเกตได้อย่างแน่นอน แต่เธอจะทำอะไรได้ ในเมื่อเขาตกอยู่ในภวังค์ของความหลงขนาดนั้น ขนาดกอดเธอ ยังคิดว่าเธอเป็นตัวแทนของผู้หญิงคนอื่น เธออาจจะคิดก็ได้ว่า “ก็ได้...หลงมันมากใช่มั้ย งั้นหลงให้มันสุดๆ ไปเลยนะ แต่เธอจะไม่มีวันรู้หรอก ว่านั่นมันตัวฉันเอง ข้อความจากฉัน และสุดท้าย คือ เธอกำลังหลงฉัน...” (จขบ.แอบแรงหน่อยนะ)
เธอจึงหลอกสามีตัวเองให้เข้าใจว่านั่นคือจดหมายจากชู้รัก แต่ความจริงไม่ใช่ เราว่าเอแลนน่าเห็นใจมาก ถึงแม้สิ่งที่เธอทำจะชวนอึ้งขนาดไหนก็ตาม คิดดู คนเป็นเมียไม่สามารถจะเอาตัวเองให้ผัวหลงได้ แต่กลับต้องสวมรอยเป็นคนอื่นแล้วให้ผัวหลงแทน (แล้วก็สำเร็จเสียด้วย บ้าจริง!)
สาเหตของเรื่องทั้งหมดเราจะโทษใครดี ตาแอร์เว หรือหญิงสาวคนนั้น
หญิงสาว – ถ้าคิดว่าเธอเป็นสาเหตุ เพราะว่าหล่อนเป็นฝ่ายยั่วแอร์เวก่อน (ฉากที่แอบดื่มชาจากถ้วยแอร์เว ในขณะที่หนุนตักผัวอยู่) แล้วไหนจะฉากปิดตาอาบน้ำนั่นอีกล่ะ ผู้ชายคนไหนไม่หลงก็บ้าแล้ว แต่ในความเป็นจริง เธออาจแค่เบื่อๆ ก็ได้ อยู่ดีๆ ก็มีผู้ชายมาจากฝรั่งเศสมาถึงที่ ก็ยั่วเล่นสักหน่อยเป็นไร การที่ส่งข้อความแรกให้ก็เพื่อลองใจเล่นๆ เท่านั้นแหละ ว่าเขาจะกลับมาไหม แต่พอคิดอีกที โทษเธอคนเดียวก็ไม่ได้หรอก แอร์เวเองก็ไม่เคยบอกว่ามีเมียแล้ว (ถ้าเคยบอกเธอก็ฟังไม่ออกอยู่ดี)
แอร์เว – เราว่าเขาแค่หลงจริงๆ นะ ไม่ได้เรื่องเลย เขาเองก็รู้ตัวดีว่ารักเมียมากแค่ไหน แต่ความลุ่มหลงมันรุนแรงเสียจนถอนตัวไม่ขึ้น มนต์มายาของหญิงสาวที่แม้แต่เสียงก็ไม่เคยได้ยิน และได้พบเพียงปีละหนเท่านั้น มันคงเร้าความรู้สึกมากกว่าเมียที่นั่งรออยู่ที่บ้าน ถึงแม้ว่าเราจะสัมผัสได้ถึงความรู้สึกแสนเจ็บปวดของแอร์เวในตอนหนึ่งที่เขาบอกว่า...
“แม้แต่เสียงของเธอผมก็ไม่เคยได้ยิน” “เป็นความเจ็บปวดประหลาดนัก” “ที่จะตายด้วยความอาลัยสิ่งซึ่งมิเคยได้สัมผัส”
อ่านแล้วปวดใจตามจริงๆ แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่า “ผู้ชายคนนี้มันเพ้อถึงชู้อยู่นาเว้ยยย ไปเห็นใจมันทำม้ายยยย...”
แต่หลังจากเขารู้ความจริงเรื่องจดหมายแล้ว เราขอเดาว่า เขาเองก็คงคิดได้เหมือนกัน ว่ามีเอแลนเท่านั้น ที่เป็นรักจริงของเขาตลอดมา จากประโยคที่ว่า ”มีความสุขในสิ่งที่แต่ก่อนนี้เขาปฏิเสธเสมอมา” เหมือนเวลาเราย้อนกลับคิดถึงเรื่องผิดพลาดสมัยเด็กๆ แล้วก็ส่ายหัวให้กับความไร้เดียงสานั้น พร้อมกับถอนหายใจ แล้วก็ดำเนินชีวิตต่อไป
Timeline ขำๆ ปี 1861 เรื่องราวเริ่มขึ้น แอร์เวอายุ 32 ปี ปี 1864 แอร์เวเดินทางไปญี่ปุ่นเป็นครั้งที่สี่ (และครั้งสุดท้าย) ปี 1869 คลองสุเอซเปิดใช้ การเดินทางไปญี่ปุ่นใช้เวลาเพียงยี่สิบวัน ปี 1871 บาดาลบิอู ไปจากลาวิลดิเยอ ปี 1874 เอแลนเสียชีวิตด้วยโรคไข้สมอง ปี 1884 ไหมเทียมขึ้นลิขสิทธิ์ ปี 1897 แอร์เวเสียชีวิต รวมอายุ 68 ปี
สิ่งที่ได้หลังจากอ่านจบ แน่นอนคือความบันเทิง ภาษาสั้นๆ ง่ายๆ ได้ใจความ แต่สื่อความหมายได้ลึกซึ้งเหลือเกิน ถ้าอ่านภาษาอิตาลีออกได้ก็คงดี อยากอ่าน Version ต้นฉบับบ้าง (ฝันกลางวันจริงๆ) หลังจากนี้คงหางานเล่มอื่นๆ ของคุณอเลซฯมาอ่านต่อ ติดใจซะแล้ว
นอกจากนั้น ก็ได้ข้อคิดว่า “ความหลงไม่เข้าใครออกใคร” ในชีวิตประจำวันเราก็หลงมาหลายอย่าง หลงผู้ชาย หลงสิ่งของ หลงตัวเอง แต่ถ้าความหลงมันมืดมัวบังตา เราจะมองเห็นสิ่งดีๆ อื่นๆ ไม่ได้เลย
ถ้าเราหลงผู้ชาย เราจะลืมเพื่อน ลืมพ่อแม่ ลืมคนอื่นๆ ที่ดีและคอยเป็นห่วงเราเสมอ ถ้าเราหลงในสิ่งของ ในจิตใจเราจะมีแต่กิเลส ความอยากได้อยากมี จนลืมไปว่า “ถึงไม่มีมัน เราก็อยู่ได้” ถ้าเราหลงตัวเอง เราจะมองข้ามความดีของคนอื่นๆ ไปหมด เห็นแต่ความดีของตัวเองเท่านั้น
เหมือนกับคำสอนพุทธศาสนาที่ว่า ความอยากได้ อยากมี และการถือเอาว่าสิ่งนั้นเป็นของตน จะนำมาซึ่งความทุกข์ เพราะในความจริงแล้ว สิ่งเดียวที่เป็นของเรา และติดตัวเราไปตลอดก็คือ กรรม คำว่า “ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส” จะพูดกี่ครั้งก็ยังถูกเสมอ
เริ่มที่หนังสือ ไหงจบลงที่เรื่องกรรมได้เนี่ย....-_-“
อ่านแล้วเชิญหนอน(หนังสือ) ทั้งหลายมาคุยกัน ขอจบดื้อๆ อย่างนี้แหละ
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ “ไหม” จากที่อื่นๆ ได้ดังนี้
จากคุณ the grinning cheshire cat จากคุณ grappa จากเว็บ Faylicity
และวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่องนี้ จากคุณ renton_renton
อีกเว็บที่วิจารณ์ภาพยนต์ได้ถึงกึ๋นมากค่ะ 55+ คุณ LMJ แนะนำมาค่ะ
Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2551 |
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2551 0:07:33 น. |
|
22 comments
|
Counter : 1628 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: scarborough IP: 58.9.62.179 วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:0:11:12 น. |
|
|
|
โดย: แม่ไก่ วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:11:05:39 น. |
|
|
|
โดย: BoOKend วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:11:59:16 น. |
|
|
|
โดย: แม่ไก่ วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:24:11 น. |
|
|
|
โดย: Clear Ice วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:10:27:03 น. |
|
|
|
โดย: แม่ไก่ วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:11:00:18 น. |
|
|
|
โดย: แม่มดพันปี วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:08:03 น. |
|
|
|
โดย: คนขับช้า วันที่: 29 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:5:55:01 น. |
|
|
|
โดย: แก้วกังไส วันที่: 2 มีนาคม 2551 เวลา:7:21:16 น. |
|
|
|
โดย: azzurrini วันที่: 3 มีนาคม 2551 เวลา:8:29:16 น. |
|
|
|
โดย: ..NiM IP: 202.228.229.75 วันที่: 24 เมษายน 2551 เวลา:16:35:21 น. |
|
|
|
โดย: AnaloKz IP: 124.121.223.51 วันที่: 17 พฤษภาคม 2551 เวลา:17:26:45 น. |
|
|
|
โดย: AnaloKz IP: 124.120.3.50 วันที่: 23 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:13:23 น. |
|
|
|
โดย: อันยา โพธิวัฒน์ IP: 203.170.208.171 วันที่: 16 กันยายน 2551 เวลา:14:28:17 น. |
|
|
|
|
|
|
ตอนนี้กำลังอ่าน
ความคืบหน้า : เพิ่งเริ่มอ่าน
|
|
|
|
|
|
|
ขำกับตรงนี้มาก "(แอบคิดเหมือนกันว่าคุณอเลซฯ แกจะแอบใช้เมนู Copy – Paste หรือเปล่านะ)" หัวเราะกลิ้งไปกลิ้งมา เราเป็นหนักกว่าอีก ตอนแรกนึกว่าหนังสือเข้าเล่มผิดเสียอีก แต่เปิดเทียบกันแล้วมันมีจุดต่างกันนิดหน่อยนี่หว่า ฮา
บล็อกนี้ก็วิจารณ์หนังเรื่องนี้ค่ะ สนุกดี
//vendetta.exteen.com/20080219/movie-silk