|
|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
|
พูดคุยเรื่องการแต่งเว็บ
| คงต้องสร้างห้องนี้ไว้ เอาไว้เผื่อทดสอบการใช้เทคนิค ในการแต่งเว็บ เพราะไปทดสอบที่บ้านคนอื่นคงไม่ดี ใครหลงเข้ามา.. จะแนะนำเทคนิคให้ใช้บ้าง จะขอขอบพระคุณอย่างสูงจ้า..
Create Date : 30 มกราคม 2548 |
Last Update : 31 มกราคม 2548 22:33:58 น. |
|
6 comments
|
Counter : 784 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: jj IP: 210.246.72.139 วันที่: 16 มกราคม 2549 เวลา:2:12:28 น. |
|
|
|
โดย: แล้วมาอ่านด้วยนะ IP: 210.246.75.66 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:14:36:27 น. |
|
|
|
โดย: ส IP: 210.246.73.243 วันที่: 11 พฤษภาคม 2549 เวลา:11:30:55 น. |
|
|
|
โดย: ส IP: 210.246.73.243 วันที่: 11 พฤษภาคม 2549 เวลา:11:36:16 น. |
|
|
|
โดย: l IP: 210.246.73.243 วันที่: 11 พฤษภาคม 2549 เวลา:12:29:05 น. |
|
|
|
โดย: Thanvarath วันที่: 15 สิงหาคม 2549 เวลา:16:05:04 น. |
|
|
|
| |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวอยู่ว่า ภพ, ภพ, ดังนี้
ภพ ย่อมมีได้ด้วยเหตุเพียงเท่าไรเล่า? พระเจ้าข้า".
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีกามธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, กามภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ?. "หามิได้ พระเจ้าข้า"
อานนท์ ! ด้วยเหตุแหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ(การรู้แจ้ง)เป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (เป็นเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นกลไกผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นทราม, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, รูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ?. "หามิได้ พระเจ้าข้า"
อานนท์ ! ด้วยเหตุแหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ(การรู้แจ้ง)เป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (เป็นเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นกลไกผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นกลาง, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ถ้ากรรม มีอรูปธาตุเป็นวิบาก จักไม่ได้มีแล้วไซร้, อรูปภพ จะพึงปรากฏได้แลหรือ?. "หามิได้ พระเจ้าข้า"
อานนท์ ! ด้วยเหตุแหละ กรรมจึงเป็นเนื้อนา, วิญญาณ(การรู้แจ้ง)เป็นเมล็ดพืช, ตัณหาเป็นยาง (เป็นเชื้องอก) ของพืช. ความเจตนาก็ดี ความปรารถนาก็ดี ของสัตว์ทั้งหลาย ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นกลไกผูกพัน ตั้งอยู่แล้ว ด้วยธาตุชั้นประณีต, การบังเกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้.
อานนท์ ! ภพย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
(-ติกกนิบาต อังคุตตรนิกาย เล่มที่ ๒๐/๒๘๘/๕๑๗ (อริย. ๒๘๕).
"ข้อนี้ แสดงให้เห็นว่า อวิชชาเป็นเครื่องกั้นเจตนา (กรรม) ซึ่งเป็นปัจจัยให้วิญญาณเจริญงอกงามไปตามความปรารถนาของสัตว์นั้นๆ".
*ผัสสะ คือแดนเกิดส่วนมากของนิพเพธิกธรรม*
ดูก่อนภิกษุ ท. ! เราจักแสดงซึ่งธรรมปริยาย ชื่อนิพเพธิกปริยาย แก่พวกเธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังซึ่งข้อความนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.
ดูก่อนภิกษุ ท. ! ธรรมปริยายชื่อนิพเพธิกธรรมนั้น เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อน ภิกษุ ท. !
๑. กามทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะ(เหตุเป็นแดนเกิด)แห่งกามทั้งหลาย, เวมัตตา(ประมาณต่างๆ)แห่งกามทั้งหลาย, วิบาก(ผลสุกวิเศษ)แห่งกามทั้งหลาย, นิโรธ(ความดับไม่เหลือ)แห่งกามทั้งหลาย, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกาม, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.
๒. เวทนาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลาย, เวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย, วิบากแห่งเวทนาทั้งหลาย, นิโรธแห่งเวทนาทั้งหลาย, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.
๓. สัญญาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลาย, เวมัตตาแห่งสัญญาทั้งหลาย, วิบากแห่งสัญญาทั้งหลาย, นิโรธแห่งสัญญาทั้งหลาย, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสัญญา, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.
๔. อาสวะทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งอาสวะทั้งหลาย, เวมัตตาแห่งอาสวะทั้งหลาย, วิบากแห่งอาสวะทั้งหลาย, นิโรธแห่งอาสวะทั้งหลาย, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.
๕. กรรม อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งกรรม, เวมัตตาแห่งกรรม, วิบากแห่งกรรม, นิโรธแห่งกรรม, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.
๖. ทุกข์ อันบุคคลพึงรู้แจ้ง, นิทานสัมภวะแห่งทุกข์, เวมัตตาแห่งทุกข์, วิบากแห่งทุกข์, นิโรธแห่งทุกข์, แนวปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, แต่ละอย่างๆ เป็นธรรมที่บุคคลพึงรู้แจ้ง.
๑.๑. กามทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! กามคุณ ๕ ประการเหล่านี้ คือรูปทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ(ตา), เสียงทั้งหลายอันพึงจะได้ยินด้วยโสตะ(หู), กลิ่นทั้งหลายอันจะพึงรู้สึกด้วยฆานะ(จมูก), รสทั้งหลายอันพึงรู้สึกด้วยชิวหา(ลิ้น), สัมผัสทั้งหลาย อันจะพึงสัมผัสด้วยกายะ(กาย) อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา(อิฏฐา), น่าใคร่(กันตา), น่าพอใจ(มนาปา), มีลักษณะอันน่ารัก(ปิยรูปา), เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยแห่งความใคร่(กามูปสัญหิตา), เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด(รชนิยา) มีอยู่.
ดูก่อนภิกษุ ท. ! อารมณ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ หาใช่กามไม่. ในอริยวินัย เรียกอารมณ์ทั้งหลาย ๕ ประการเหล่านี้ว่า กามคุณ, แต่ว่า :-
ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก(สังกัปปะราคะ) นั่นแหละคือกามของคนเรา.
อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก นั้น หาใช่กามไม่.
ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึกนั่นแหละคือกามของคนเรา.
อารมณ์อันวิจิตร ก็มีอยู่ในโลกตามประสาของมันเท่านั้น, ดังนั้น ผู้มีปัญญาจึงนำออกเสียซึ่งฉันทะ ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น ดังนี้.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็นิทานสัมภวะ(เหตุเป็นแดนเกิด) ทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งกามทั้งหลายคือผัสสะ.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวมัตตาแห่งกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! เวมัตตาแห่งกามทั้งหลาย คือความใคร่ในรูปารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในสัททารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในคันธารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในรสารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ความใคร่ในโผฏฐัพพารมณ์ ก็อย่างหนึ่งๆ, ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เราเรียกว่า เวมัตตาแห่งกามทั้งหลาย.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! วิบากแห่งกามทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! บุคคลมีความใคร่ในอารมณ์ใดอยู่ ย่อมยังอัตตภาพอันเกิดจากกามในอารมณ์นั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญบ้าง มีส่วนแห่งมิใช่บุญบ้าง, ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกามทั้งหลาย.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิโรธแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! ความดับแห่งกามมี เพราะความดับแห่งผัสสะ.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกาม เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกาม, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีวา สัมมาวายามา สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งเวมัตตาแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งวิบากแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิโรธแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งแนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกามทั้งหลายอย่างนี้, ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งกาม.
๒.๒. ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวทนาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า?
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! เวทนาทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้ คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็นิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลาย คือ ผัสสะ.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สุขเวทนาอันเป็นไปด้วยอามิส(เหยื่อ) ก็มีอยู่, สุขเวทนาอันปราศจากอามิส ก็มีอยู่. ทุกขเวทนา อันเป็นไปด้วยอามิส ก็มีอยู่, ทุกขเวทนาอันปราศจากอามิส ก็มีอยู่. อทุกขมสุขเวทนาอันเป็นไปด้วยอามิสก็มีอยู่, อทุกขมสุขเวทนา อันปราศจากอามิส ก็มีอยู่. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็วิบากแห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! บุคคลเสวยเวทนาใดอยู่ ย่อมยังอัตตภาพอันเกิดจากเวทนานั้นให้เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งบุญบ้าง เป็นอัตตภาพมีส่วนแห่งมิใช่บุญบ้าง. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งเวทนาทั้งหลาย.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิโรธแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! ความดับแห่งเวทนามี เพราะความดับแห่งผัสสะ.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งเวทนา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีวา สัมมาวายามา สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งเวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งวิบากแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิโรธแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งแนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งเวทนาทั้งหลายอย่างนี้, ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งเวทนา.
๓.๓. ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็สัญญาทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า?
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! สัญญาทั้งหลาย ๖ ประการเหล่านี้ คือรูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพะสัญญา ธัมมสัญญา.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็นิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลาย คือ ผัสสะ.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวมัตตาแห่งสัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! สัญญาในอารมณ์คือรูปทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือเสียงทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือกลิ่นทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือรสทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือโผฏฐัพพารมณ์ทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ สัญญาในอารมณ์คือ ธัมมารมณ์ทั้งหลาย ก็อย่างหนึ่งๆ. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตาแห่งเวทนาทั้งหลาย.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็วิบากแห่งสัญญาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! เรากล่าวซึ่งสัญญาทั้งหลายว่า เป็นสิ่งที่มีผลออกมาเป็นคำพูด(โวหารเวปักกา) เพราะว่าบุคคลกระทำซึ่งสัญญาในสิ่งนั้นๆ ว่าอย่างไร เขาย่อมกล่าวออกมาอย่างนั้นๆ เช่นว่า เราเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ๆ เป็นต้น. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งสัญญาทั้งหลาย.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิโรธแห่งสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! ความดับแห่งสัญญามี เพราะความดับแห่งผัสสะ.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสัญญา เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งสัญญา, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีวา สัมมาวายามา สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งเวมัตตาแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งวิบากแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิโรธแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งแนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสัญญาทั้งหลายอย่างนี้, ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งสัญญา.
๔.๔ ..ข้อความกล่าวถึงอาสวะ ท่านยกเว้น เพราะไม่เกี่ยวกับผัสสะ
๕.๕. ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็กรรม อันบุคคลพึงรู้แจ้ง เป็นอย่างไรเล่า?
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! เราซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคลมีเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็เวมัตตาแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในนรก มีอยู่, กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่, กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่, กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในมนุษยโลก มีอยู่, กรรมอันทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่. ดูก่อนภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ก็วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! เรากล่าวซึ่งวิบากแห่กรรมว่า มีอยู่ ๓ อย่าง คือวิบากในทิฏฐธรรม(ทันควัน) หรือว่า วิบากอุปะปัชชะ(เวลาต่อมา) หรือว่า วิบากในอประปริยายะ(เวลาถัดมาอีก). ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! นิโรธแห่งกรรม เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลายมี เพราะความดับแห่งผัสสะ.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! แนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรคนี้แล คือ นิโรธคามินีปฏิปทาแห่งกรรม, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีวา สัมมาวายามา สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
*ดูก่อนภิกษุ ท. ! ในกาลใดแล อริยสาวกย่อมรู้ชัดซึ่งกรรม อย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งเวมัตตาแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งวิบากแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิโรธแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งนิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ซึ่งแนวทางปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรมทั้งหลายอย่างนี้, ในกาลนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์อันเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลสนี้ว่า เป็นที่ดับแห่งกรรม.
๖.๖. ..ข้อความกล่าวถึงทุกข์ ท่านยกเว้น เพราะไม่เกี่ยวกับผัสสะ
(บาลี มหาวรรค ฉักกนิบาต อังคุตตรนิกาย ไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ หน้า ๔๕๗ ข้อ ๓๓๔ ปฏิจจ. ๒๖๙). ตรัสแก่ภิกษุ ท. ! ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวัน.
"พึงสังเกต คำว่าผัสสะนั้นมีความสำคัญเพียงไร อาการที่จะเกิดความคิด หรือเวทนา หรือสัญญา หรือทิฏฐิ ใดๆ ย่อมจะผ่านที่ผัสสะ".