เจ้าสวามิภักดิ์ต่ออำนาจ ยอมเป็นทาสคณาธิปไตย เพียงหัวโขนไม่กี่ใบ ก็ทำให้เจ้าลืมตน โดยลืมไปว่าคนที่หลงใหลต่อการเสพอำนาจนั้นมีจุดจบที่น่าสยดสยองเพียงใด เพราะคำกล่าวที่ว่า “อำนาจทำให้ฉ้อฉล ยิ่งอำนาจเบ็ดเสร็จเท่าใด ยิ่งฉ้อฉลเบ็ดเสร็จเท่านั้น” (power tends to corrupt ,and absolute power corrupts absolutely) ยังคงเป็นความจริงอยู่เสมอ
 
กุมภาพันธ์ 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
3 กุมภาพันธ์ 2550

สตรีศึกษา (Women's Studies)

สตรีศึกษา (Women's Studies)

โดย อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์

สตรีศึกษาในฐานะที่เป็นวิชาถูกพัฒนาขึ้นมาในสถาบันทางวิชาการในโลกตะวันตกตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา
ในประเทศอังกฤษ วิชาแรกของสตรีศึกษาสายอังกฤษเปิดสอนโดย จูเลียต มิตเชลล์ (Juliet Michell) ในสถาบันชื่อ Anti-University เมื่อปี คศ.
1968-9 (พ.ศ. 2511-2) ในสหรัฐอเมริกา สตรีศึกษาในฐานะเป็นหลักสูตรเต็มรูป เปิดการสอนที่ San Diego State University ในปี คศ. 1970
(พ.ศ. 2513) จุดเน้นของสตรีศึกษาคือเป็นสหวิทยาการ หรือ สหสาขาวิชา ครอบคลุมข้ามมนุษยศาสตร์ (humanities) สังคมศาสตร์ (Social
sciences) และ วิทยาศาสตร์ (sciences) สาขาต่าง ๆ สิ่งที่สตรีศึกษาาพยายามทำไม่เพียงแต่นำเอามิติมุมมองทางวิชาการของนักสตรีนิยม
เข้ามาสู่โครงสร้างที่ดำรงอยู่ของมหาวิทยาลัย เช่น การเรียน การสอน ในสาขาวิชาต่างๆ เท่านั้น แต่พยายามที่จะปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
และเนื้อหาของวิชา ต่าง ๆ เพื่อให้สะท้อนถึงความห่วงใย ปัญหาและผลประโยชน์ต่าง ๆ ของผู้หญิงอีกด้วย

ในบทความที่เขียนขึ้นเมื่อตอนต้น ๆ ของการเรียนการสอนสตรีศึกษา เอเดรียน ริช (Adrienne Rich) ‘ (1975) ว่า ลักษณะ
“ชายเป็นศูนย์กลาง” (androcentric) ของมหาวิทยาลัยจะต้องถูกเปลี่ยนแปลง ก่อนที่สตรีศึกษาจะถูกมองว่าเป็นเพียง “แฟชั่น” ชั่วครั้งชั่วคราว
ของหลักสูตรชายเป็นศูนย์กลางที่ “แท้จริง” พูดอีกอย่างหนึ่งคือถ้าโครงสร้างของการศึกษาในมหาวิทยาลัยยังไม่ถูกเปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นมา
คือมีลักษณะแบบชายเป็นศูนย์กลางตราบนั้น สตรีศึกษาก็จะถูกมองว่าเป็นกระแสที่เข้ามาชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น
อนึ่ง เอเดรียน ริช ยังเสนอต่อไปอีกว่า สตรีศึกษาจะต้องเป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียน-ผู้สอนสามารถเข้าถึงกันได้ในฐานะ “ส่วนตัว”
(personal) และจะต้องมีลักษณะ “ต่อต้าน ลำดับชั้นสูงต่ำของการบังคับบัญชา” (anti-hieraschical style) ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้เปิดโอกาสให้ผู้หญิง
สามารถ “สำรวจและค้นหาบรรดารากเหง้าต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงพวกเธอเข้าด้วยกันทั้งหมด”

อย่างไรก็ตามมีนักสตรีนิยมอีกไม่น้อยที่ยังไม่ปลงใจกับ “สตรีศึกษา” ที่มีนัยมุ่งเป็นเฉพาะ “ผู้หญิง” เท่านั้น และได้นำเสนอยุทธวิธีแบบ นักบูรณาการ (integrationist strategies) หลาย ๆ ยุทธวิธี ซึ่งรวมเอาคำที่กว้างกว่า “สตรีศึกษา” เช่นคำว่า “เพศสภาพศึกษา” (gender studies)
เข้าไว้ด้วย (โปรดดูเพิ่มเติมในหัวข้อ “เพศสภาพศึกษา”)

กระนั้นก็ตามฝ่ายที่ยืนยันว่าจำเป็นต้องใช้ “สตรีศึกษา” ก็มีเหตุผลว่าหลักสูตร เนื้อหา และการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเท่าที่เป็นมา
และเป็นอยู่ไม่เพียงแต่ไม่สะท้อนออกซึ่งเรื่องราว ประสบการณ์ ความรู้และผลประโยชน์ของผู้หญิงเท่านั้น แต่กลับสะท้อนโลกและความรู้ของ
ผู้ชาย จึงจำเป็นที่จะต้องมีหลักสูตรการศึกษาที่ต้องค้นหาเรื่องราว ประสบการณ์และความรู้ของผู้หญิงกันใหม่ โดยใช้มิติมุมมองแบบ “สตรีนิยม”
(feminism)

อนึ่ง นักสตรีนิยมที่ไม่เห็นด้วยก็โต้แย้งว่าการที่ “สตรีศึกษา” พยายามนำผู้หญิงเข้ามาเป็นศูนย์กลางของการศึกษาเรียนรู้ (gynocentric) ไม่เพียงแต่เป็นการพยายาม “ย้อน” กระแสไปอีกทางเท่านั้น ซึ่งไม่ต่างอะไรกับข้อกล่าวหาว่าพวกผู้ชายทำอย่างนั้นมาตลอดต่อไปนี้ผู้หญิงจะทำ บ้าง ซึ่งนอกจากจะไม่ถูกต้องแล้วยังล้าสมัยไปแล้วด้วย

ที่กล่าวข้างบนเป็นเหตุการณ์ในโลกตะวันตก ในกรณีของประเทศไทย การที่มีหลักสูตร “สตรีศึกษา” เปิดสอนขึ้นเป็นทางการแห่งแรก ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสาตร์ ชี้ให้เห็นว่าในทัศนะของนักสตรีนิยมไทย “สตรีศึกษา” เป็นชื่อที่เหมาะสมกับ บริบทของสังคมไทย แต่ในขณะเดียวกันก็มีสถาบันบางแห่งที่ทำงานเชิงปฏิบัติการเคลื่อนไหวในเรื่องผู้หญิงก็หันไปใช้คำว่า “gender” ตามกระแสความสนใจของแหล่งทุนจากภายนอกประเทศบ้างและเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยตามทัศนะที่หลากหลายของสิ่งที่เรียก
ว่า “สตรีนิยม” “สตรีศึกษา” และ “เพศสภาพศึกษา”

น่าตั้งข้อสังเกตุเหมือนกันว่า มโนทัศน์หรือแนวความคิดเรื่อง gender เป็นสิ่งที่ถูกคิดขึ้นมาในวงวิชาการและวงการเคลื่อนไหวเรื่องผู้หญิง
ในโลกตะวันตก ตอนแรกเริ่มเพื่อแยกและแสดงให้เห็นความแตกต่างเรื่อง “เพศ” ทางชีววิทยา และ “เพศสภาพ” ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกสร้างทางสังคม ดังกล่าวแล้วในตอนต้น แต่เมื่อเข้ามาสู่สังคมไทย หน่วยงานและสถาบันบางแห่งแปลคำนี้ว่า “บทบาทหญิงชาย” ซึ่งผิดไปจากความหมายดั้งเดิม คำว่าบทบาทหญิงชายน่าจะตรงกับข้อความว่า “gender relations” แต่ก็อีกนั่นแหละก็ยังไม่น่าจะถูกต้องนัก เพราะเพศสภาพเป็นสิ่งที่ถูกสร้างทาง
สังคมที่ไม่ได้มีเพียง สองเพศสภาพ คือหญิงกับชายที่แยกขาดออกจากกันอย่างแน่นอนตายตัว แต่เป็นสภาวะที่มีหลายสภาพและเคลื่อนย้าย ไปมาได้โดยไม่หยุดนิ่ง gender relations จึงไม่จำกัดว่าเป็นเพียงความสัมพันธ์หญิงชาย หากเป็นความสัมพันธ์ระหว่างหญิงกับหญิงรักหญิง ซึ่งเป็นอีกเพศสภาพหนึ่งก็ได้

ในกรณีของหลักสูตรสตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การเลือกใช้ชื่อหลักสูตรและปริญญาว่าสตรีศึกษา ก็เนื่องมา จากในเงื่อนไขหรือบริบทของสังคมไทย เมื่อมองความสัมพันธ์ของผู้คนส่วนใหญ่ยังอยู่ในลักษณะของหญิง-ชายอยู่โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึง
การดำรงอยู่และเพิ่มขึ้นของปรากฎการณ์ต่าง ๆ เช่น ความรุนแรงทางเพศรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การข่มขู่ลวนลามทางเพศ การข่มขืน จนถึง การค้า
ผู้หญิงทั้งในทางเพศ และในเรื่องแรงงาน การกีดกันผู้หญิงออกจากโครงสร้างอำนาจทางการเมือง การบริหารในทุกระดับยังคงมีอยู่ การไม่ให้ คุณค่างานและบทบาทหน้าที่ทางด้านการผลิตซ้ำ (reproduction) ในครัวเรือนของผู้หญิง ในขณะที่กดค่าจ้างแรงงานและจำกัดโอกาสของผู้หญิง ในการผลิต (production) การกีดกันไม่ให้ผู้หญิงได้มีโอกาสประกอบพิธีกรรมทางศาสนาบางอย่าง อันเป็นหนทางที่จะเข้าสู่การบรรลุทาง จิตวิญญาณ เช่น การไม่ยอมรับภิกษุณีเหล่านี้ เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าสตรีศึกษาในความหมายที่ผู้หญิง และเรื่องราวของผู้หญิงเป็นจุด ศูนย์กลางของความสนใจ ยังมีความสำคัญในลำดับสูงมาก ซึ่งอาจต่างไปจากสถานการณ์ในประเทศโลกตะวันตกบางประเทศที่ความสัมพันธ์ ์หญิงชายได้เปลี่ยนแปลงไปในระดับที่ปัญหาความสัมพันธ์หญิงชายมี “น้อย” ลง

อนึ่ง แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าสตรีศึกษาจะศึกษาเฉพาะเรื่องราวของผู้หญิงเท่านั้นไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงผู้ชายก็ดี และ ผู้หญิงกับผู้หญิงก็ดี ผู้ชายกับผู้ชายก็ดี หรือเพศสภาพอื่น ๆ เช่น “ทอม” “ดี้” “กระเทย” “ตุ๊ด” และอื่น ๆ เท่าที่มีการสร้างทางสังคมขึ้นมาใน
สังคมไทยล้วนอยู่ในขอบเขตความสนใจของสตรีศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้งสิ้น




Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2550 19:48:11 น. 0 comments
Counter : 1548 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Street Fighting Man
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ถึงชนจะชิงชัง แต่กูยังจะหยัดยืน
กู้เกียรติที่มารกลืน ให้มวลชนเข้าใจใจ
กูชาติทหารหาญ ประวัติการณ์นั้นยาวไกล
พิทักษ์ไผทไทย นี้สืบทอดมายาวนาน
ทหารไทยบ่ขายชื่อ บ่ขายชาติและวิญญาณ
เกียรติยศอุดมการณ์ บ่ขายกินเป็นเงินตรา
เพื่อผองประชาชาติ จะพลีชีพให้ลือชา
ลบคราบน้ำตา…อา ! ที่อาบนองแก้มผองชน
ผู้นำผู้ใดดี จะร่วมทางด้วยอดทน
ผู้นำที่เดนคน จะคัดค้านไม่เกรงใคร
น้ำใจนี้เดี่ยวเด็ด ดั่งเหล็กเพชรที่ทนไฟ
เนื้อร้ายต้องตัดไป ไม่ลังเลให้คนแคลน
ถึงแม้สมุนมาร จะคงคอยคำรามแทน
อุปสรรคถึงเหลือแสน จะบุกหน้าบ่ถอยหลัง
มอบรักต่อคนดี และต่อผีคือชิงชัง
ผีดิบจะล้มดัง เพราะเรี่ยวแรงที่ระดม
เสียงสูคือเสียงผี ที่หลอกคนด้วยคารม
[Add Street Fighting Man's blog to your web]