space
space
space
 
มิถุนายน 2562
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
space
space
28 มิถุนายน 2562
space
space
space

จับตาเงินไหลเข้า
หลังจากที่ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 4/2562
หรือกนง. ให้คงอัตราดอกเบี้ยที่1.75%ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องจาก30.85มาเป็น30.765 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ.(อิงตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ประจำวันที่ 27 มิถุนายน 2562)https://www.bot.or.th/thai/financialmarkets/monetaryoperations/_layouts/application/exchangerate/exchangerate.aspx
รายละเอียดการประชุมของ กนง.และธปท. สรุปง่ายๆ 
1.กนง.เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายเงินเฟ้อและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจคืออัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องลดอีก 
2.หั่นตัวเลขการส่งออกลงเหลือ0%(ทำความเข้าใจกันว่าตัวเลข0%ไม่ใช่ไม่ส่งออกเลยแต่ส่งออกบวก+ลบ-แล้วออกมาได้0)และปรับลดGDPเหลือ3.3%จากราวๆ3.8%  
3.การใช้จ่ายภาครัฐ(G)ชะลอตัวลงหลังจากที่พรบ.รายจ่ายภาครัฐนั้นล่าช้ายังไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้ซักที 
4.ปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนสหรัฐที่อาจส่งผลต่อdemandในประเทศ  
5.ภาวะการเงินอยู่ในระดับผ่อนคลายและเอื้อต่อการเติบโตเศรษฐกิจ(เกริ่นไปแล้วในช่วงแรก)สภาพคล่องในระบบการเงินอยู่ในระดับสูงและอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับต่ำ สินเชื่อขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งธุรกิจและบริโภค(เดี่ยวคุยกันต่อเรื่องหนี้ครัวเรือน) 
6.ปัญหาเรื่องsearch for yield ของธุรกิจขนาดใหญ่(ซึ่งเป็นปัญหามานานในตลาดโลกที่มีอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมานาน)
-สิ่งที่น่ากังวลจากการที่บาทแข็งเร็วจนเกินไป จากต้นปีมาถึงตอนนี้ราวๆ5-6% แน่นอนว่ากระทบภาคส่งออกที่เป็นเครื่องจักรสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมาก แม้setจะปิดบวกขึ้นมากแต่ถ้าเจาะไปดูถึงตัวเลขหุ้นที่เกี่ยวกับการส่งออกติดลบระนาว   หลังจากที่ได้ดูผลการประชุม กนง.ไปหมดแล้วส่วนใหญ่จะวิเคราะห์กันว่าคงไม่ได้เห็น กนง.ลดอัตราดอกเบี้ยในปี62แน่นอน(แต่ก็ต้องดูเชิงมหภาค ด้วย)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กนง
*ธปท.ยอมรับว่ามีความกังวลต่อการแข็งค่าค่าเงินบาทซึ่งเป็นผลมาจากfund flowไหลเข้าระยะสั้นจากที่ค่าเงินดอลอ่อนลงซึ่งไม่สอดคล้องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
-ปัจจัยเสริมที่ทำให้เงินบาทแข็งค่า ส่วนนึงมาจากการที่ดุลบริการของเราเกินดุลมาโดยตลอดยิ่งในดุลบัญชีเดินสะพัดด้วยแล้ว เกินดุลค่อนข้างมากและทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงติดอันดับ12ของโลกรวมถึงหนี้ต่อGDPที่ค่อนข้างต่ำประมาณ40%ได้
-ซึ่งเรื่องนี้น่าสนใจว่าธปท.จะใช้เครื่องมือทางการเงินไหนในการดูแลแทรกแทงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งเกินไป เหรียญนั้นมี2ด้านเสมอผลดีจากค่าเงินแข็งก็มีเดี่ยวค่อยพูดถึงวิธีแก้รวมถึงผลดีต่อไป(ถ้าใช้วิธีง่ายๆคือการลดอัตราดอกเบี้ยลง มันจะติดตรงที่ว่าหนี้ครัวเรือนเราอยู่ในระดับสูงถึง70กว่า%ถ้าจำไม่ผิดโตมาเรื่อยๆมันเป็นตัวฉุดเพราะสำคัญมากต่อระบบfinance stability(หนี้NPLในภาคครัวเรือนสูงถึง12%) ทีนี้จากแนวโน้มnplที่เพิ่มขึ้นปีนี้ อาจจะทำให้ธนาคารต้องมีค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอยู่ในระดับที่ไม่น้อยไปกว่าปี”61 มากนัก และจะส่งผลต่อ credit cost (สัดส่วนค่าเผื่อหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อ) ที่สะท้อนค่าความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ อาจจะมีโอกาสทรงตัวเมื่อเทียบกับปี”61 ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ยังต้องเตรียมความพร้อมรองรับกฎเกณฑ์ของทางการที่จะทยอยใช้ ทั้งในเรื่องมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย มาตรฐานเงินกองทุนตามหลักเกณฑ์ Basel III ด้วย (เดี่ยวคุยต่อเรื่องนี้)

 
เศรษฐกิจและสังคม :https://econsidis.blogspot.com/
เรียนรู้เพิ่มเติมหรือสงสัยสอบถามที่facebook 
https://www.facebook.com/sidis.sidis.984


 



Create Date : 28 มิถุนายน 2562
Last Update : 28 มิถุนายน 2562 12:37:25 น. 0 comments
Counter : 494 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 1116722
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 1116722's blog to your web]
space
space
space
space
space