เวียดนาม ตลาดสำคัญ ธุรกิจไทยยุคเออีซี













จักรยานสามล้อถีบในนครโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม ทำหน้าที่พานักท่องเที่ยวชมตัวเมือง ทั้งนี้ การเข้าลงทุนจากธุรกิจไทยในเวียดนามเพิ่มขึ้นเร็วๆ นี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญเพื่อนบ้านรายนี้มีต่อเศรษฐกิจไทย









© HOANG DINH NAM / AFP
จักรยานสามล้อถีบในนครโฮจิมินห์ซิตี้ ประเทศเวียดนาม ทำหน้าที่พานักท่องเที่ยวชมตัวเมือง ทั้งนี้ การเข้าลงทุนจากธุรกิจไทยในเวียดนามเพิ่มขึ้นเร็วๆ นี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญเพื่อนบ้านรายนี้มีต่อเศรษฐกิจไทย


กระแสการเข้าลงทุนจากธุรกิจไทยในเวียดนามที่เพิ่มขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญที่เพื่อนบ้านรายนี้มีต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2558

ข้อมูลเมื่อไม่นานมานี้จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของไทย หรือบีโอไอ แสดงให้เห็นว่า นับแต่ปี 2550 เป็นต้นมา ผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนในชาติสมาชิกอาเซียนเพิ่มขึ้น โดยเมื่อปีที่แล้ว มียอดการลงทุนอยู่ที่ 4,500 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับปริมาณการลงทุนในสหภาพยุโรป ของนักธุรกิจไทย

นายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า ส่วนใหญ่แล้วไทยจะเข้าไปลงทุนในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และพม่า ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 1,400 ล้านดอลลาร์ ระหว่างปี 2552-2556

เวียดนาม ซึ่งติดอยู่ในลำดับ 3 ของประเทศอาเซียนที่ได้รับเม็ดเงินลงทุนจากไทยมากสุดนั้น มีเงินทุนไหลเข้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหลังจากเบอร์ลี ยุคเกอร์ เข้าไปซื้อกิจการเมโทร แคช แอนด์ แคร์รี เวียดนาม ในราคา 879 ล้านดอลลาร์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ห้างสรรพสินค้าโรบินสันเพิ่งเข้าไปเปิดสาขาแรกในกรุงฮานอย อีกทั้งยังมีแผนเปิดห้างขนาด 12,000 ตารางเมตร ในเครสเซนท์ มอลล์ ชอปปิง เซ็นเตอร์ บริเวณเขต 7 นครโฮจิมินห์ ซิตี้ เดือนพฤศจิกายนนี้ และจะเปิดสาขาในเมืองสำคัญของเวียดนาม อาทิ ไฮฟอง ดานัง และเมืองเกิ่นเทอบริเวณปากแม่น้ำโขงด้วย

ส่วนธุรกิจอีกหลายรายที่เข้ามาลงทุนในเวียดนามแล้ว ต่างตัดสินใจเร่งเวลาการลงทุนให้เร็วขึ้น อย่างอมตะ คอร์ปอเรชัน นักพัฒนานิคมอุตสาหกรรมรายใหญ่สุดของไทย ซึ่งสร้างนิคมอุตสาหกรรมขนาด 70 ตารางกิโลเมตรในประเทศไทยเมื่อ 25 ปีก่อนตัดสินใจสร้าง "อมตะ ลองถั่นห์" นิคมอุตสาหกรรมแบบผสมผสานที่ทันสมัยบนพื้นที่กว่า 8,000 ไร่ ในจังหวัดด่องไน

ข้อมูลจากหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม ยังแสดงให้เห็นว่า ยักษ์ใหญ่จากไทยอีกสองรายคือเครือซีเมนต์ไทย และซีพี ซึ่งประสบความสำเร็จในการลงทุนในเวียดนาม มีแผนขยายกิจการด้วย

ขณะที่ นางสาวพรรณพิมล สุวรรณพงศ์ กงสุลใหญ่ไทย ณ นครโฮจิมินห์ซิตี้ ระบุว่า ไทยให้ความสำคัญกับเวียดนาม เพราะมีชายฝั่งทะเลยาว สะดวกในการขนส่งสินค้าทางเรือ

นอกจากนี้ เวียดนาม ยังเป็นประเทศปลายทางของถนนสำคัญหลายสาย และเป็นจุดสิ้นสุดแม่น้ำโขง ที่สามารถขนส่งสินค้ามาไทยได้ง่าย ทั้งยังมีศักยภาพด้านการส่งออก และการก้าวขึ้นมาเป็นตลาดเดี่ยวในเออีซี

ทางด้าน นายพนัส ไกรโรจนะนันท์ ซีอีโอบริษัทสุรินทร์ ออมย่า เวียดนาม เล่าว่า บรรดานักธุรกิจไทยที่ทำงานในเวียดนามมานานต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า การส่งออกสินค้าจากเวียดนามไปยังสหรัฐทำได้สะดวกกว่า รวมถึงการส่งออกโภคภัณฑ์ไปยังประเทศต่างๆ ผ่านทางถนนสายอาร์ 1 นอกเหนือไปจากจำนวนประชากรในประเทศที่มีมากถึง 90 ล้านคน




Create Date : 17 ตุลาคม 2557
Last Update : 17 ตุลาคม 2557 8:58:56 น.
Counter : 2244 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

underhil
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2557

 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
18
19
20
21
22
24
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog