มุมกาแฟยามบ่าย - ข้อคิดเพื่อการงาน, ชีวิต และสังคมที่น่าอยู่

<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
11 พฤศจิกายน 2553
 

น้ำท่วม..ภัยธรรมชาตินอกเหนือการควบคุม หรือ ภัยจากความประมาท เลินเล่อ ที่ไม่ได้ทำการควบคุม

โดยปกติ มนุษย์เรามักเบียดเบียนธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ อันเป็นผลให้เกิดพิบัติภัยตามหลังอันเนื่องมาจากการเบียดเบียนธรรมชาติ ไม่ว่าการบุกรุกป่า จนทำให้เกิดความแห้งแล้ง..การถมทางน้ำเพื่อทำถนน จนกลายเป็นการปิดกั้นเส้นทางน้ำ อันมีผลให้เกิดอุทกภัย (น้ำท่วม) ตามหลัง หรือจะเป็นการเน้นความเจริญจนลืมเลือนถึงนิเวศน์วิทยา

จะว่าไปแล้ว ในหลายๆปีที่ผ่านมา บ้านเมืองของเราผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม น้ำแล้ว ซ้ำซาก มาจนนับครั้งไม่ถ้วน..แล้งที ก็มีคนของรัฐบาลออกมาพูดที มีนักวิชาการออกมาโขกสับทุกเรื่อง มีสื่อประโคมข่าวราวกับรู้ทุกสิ่ง แล้วทุกอย่างก็เงียบไป รอผ่านไปอีก 5-6 เดือน ให้เกิดน้ำท่วม ก็ไอ้คนหน้าเดิมๆนี่แหล่ะที่ออกมาพูดซ้ำซาก เพียงแต่กลับประเด็นใหม่เป็นเรื่องของน้ำท่วม

ผมยังจำได้ว่าเมื่อช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา เราเจอภาวะแล้งสาหัสจนไม่มีน้ำใช้ ก็นายอภิสิทธิ์ คนนี้อีกแหล่ะที่ออกมาปรามการใช้น้ำของประชาชนคนธรรมดา อันกลัวว่าน้ำจะไม่เพียงพอต่อคนกรุงเทพฯใช้ ถึงขนาดห้ามไม่ให้ทางการเกษตรในอีกฤดูกาลด้วยซ้ำ แต่พอถึงน้ำท่วมกลับยัดเยียดให้คนต่างจังหวัดรับน้ำให้เต็มอิ่ม เพียงเพื่อไม่ให้คนกรุงเทพฯต้องเปียกน้ำแม้ตามตาตุ่ม และมาด้วยเศษเงินบ้านละ 5000 บ้านเป็นค่าเยียวยา มันคุ้มกับพวกเขามั๊ย ??? แล้วไหนจะท่าทีในการเยี่ยมชมภัยจากน้ำท่วมที่ดูเหมือนจะยิ้มโปรยเสน่ห์ ทั้งๆที่ประชาชนทั้งหลายกำลังเดือดร้อน..เลิก Fake ซักครั้ง มันจะลำบากมากแค่ไหน ???

อาจมีหลายคนแย้งผมว่าภัยธรรมชาติแบบนี้มันซ้ำซากมาหลายครั้งหลายคราว จะย้อนไปตั้งแต่สมัยป๋า สมัยน้ำชาติ สมัยนายชวน ยันสมัยทักษิณ หรือนาย อภิสิทธิ์ ผมก็ไม่เถียง แต่ที่ผมกำลังจะบ่นให้นายอภิสิทธิ์รู้ก็คือ เรื่องมันจะเป็นมานานตั้งแต่สมัยไหนก็ตาม แต่วันนี้คุณคือ “นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย” แม้จะไม่ใช่นายกฯที่มาจากคะแนนเสียงของผม แต่คุณก็อาสามาดำรงค์ตำแหน่ง เพราะฉะนั้นนี่คือภาระหน้าที่ของคุณที่ต้องแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนผู้กำลังเดือดร้อน เลิกซักทีไอ้เรื่องที่โยนปัญหาว่ามันเป็นมาแต่เก่าก่อน แต่คุณต้องดำเนินการในปัจจุบันเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และวางแผนป้องกันในอนาคต

ประเด็นหลักๆที่ผมจะเน้นคือ ภัยแล้งและน้ำท่วม มันเป็นสิ่งที่เกิดซ้ำซากจนคุณน่าจะมีเวลาในการหาแนวทางที่ป้องกันได้สำหรับปีถัดไป แต่จนถึงบัดนี้ ผมยังเห็นแนวทางดังกล่าวยกเว้นการไปนั่งเรือเป็ดออกแจกถุงยังชีพ หรือเดินลุยน้ำแค่ตาตุ่ม หัดทำงานให้สมกับตำแหน่ง ภาระหน้าที่ ที่คุณกระสันจะได้มาไม่ได้หรือไง

ผมตั้งข้อสังเกตุแบบนี้ ประเทศไทยเราอยู่ทำเลที่เป็นที่ลุ่มเป็นส่วนใหญ่มีแนวน้ำ ลำคลองไหลผ่านเกือบทั้งประเทศ จนเคยได้รับสมญาว่า "เวนิชตะวันออก" เพราะสมัยก่อนเรามีแนวเส้นทางน้ำเป็นทางคมนาคมหลัก แต่เนื่องจากความเจริญทางสังคม เรามีถนนหนทางมากขึ้น แต่มันขึ้นแบบไร้ทิศทาง นึกอยากจะตัดตรงไหนที่คนมีเส้นมีสีกำกับก็ทำกัน ทำให้เส้นทางน้ำมากมายต้องติ้นเขิน ต้องเบี่ยงเบน และบางแห่งกลายเป็นบึงคลองที่ไร้ทางออก จนกลายเป็นแหล่งน้ำเน่าเสีย ไหนจะเรื่องของการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมที่ขาดการควบคุมจนการเป็นน้ำเน่าเสียในหลายแห่งอีก รวมถึงการยึดครองแหล่งน้ำไว้เพื่อทำรีสอร์ท, สนามกอลฟ์ บ้านพักตากอากาศของคนร่ำรวยทางการเงิน แต่ยากจนทางจิตสำนึกหลายๆคน

ดังนั้นน้ำเพื่อการบริโภคสำหรับกินและใช้จึงร่อยหรอลงทุกวัน ขณะที่ผู้บริโภคน้ำกลับต้องการมากขึ้น แต่เหลือเชื่อจริงๆที่น้ำใช้ทางการเกษตรกับต้องเจียดเอาไว้สำหรับผู้มีอันจะกินในเมืองหลวงกรุงเทพเสียก่อน ต้องกักเก็บเอาไว้สำหรับสนามกอลฟ์ของเศรษฐีก่อน ทั้งๆที่ประเทศเราเป็นประเทศเกษตรกร ซึ่งควรจะให้ความสำคัญต่อเกษตรกรเป็นอันดับหนึ่ง

ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วม ซ้ำซากเฉกเช่นปีนี้ ผมจึงมีแนวทางเสนอให้แก่รัฐบาลหรือใครก็ได้ที่สามารถนำไปสานต่อเพื่อให้เป็นจริงในอนาคต อย่างน้อยก็เพื่อลูกหลานในอนาคตจะได้ไม่ต้องมาพบกับเรื่อง "ซ้ำซากไร้สติ" เช่นนี้อีก

1) เรื่องเร่งด่วนอันดับแรก ระงับงบการใช้จ่ายที่อนุมัติไปแล้วตามกระทรวง ทบวน กรมต่างๆ เพื่อเอาเงินส่วนนั้นมาใช้สำหรับภาวะเร่งด่วน และการเยียวยาต่อประชาชนที่กำลังเดือดร้อนไปทั่วทั้งประเทศ...
- ถนนหลายสายมันพังไปแล้ว มันไม่ต้องการงบเทยาง ราดหน้าเพื่อไร้ฝุ่น ตอนนี้ ควรดึงมันกลับมาเข้าส่วนกลางได้แล้ว..
- ไอ้เสาธงชาติตามโรงพยาบาลหรืออะไรนั่น ก็ยังไม่จำเป็น เพราะโรงพยาบาลหลายแห่งน้ำท่วมมากจนต้องการบูรณะตัวอาคารและเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ก่อนเสาธงชาติ

2) เรียกหน่วยงานกรมที่ดิน, กรมทาง, กรมเจ้าท่า, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงจะเชิญตัวแทนจากนักวิชาการผู้เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชน (รวมตัวแทน NGO เข้ามาด้วยนะ วันหลังจะได้ไม่ต้องมาพูดนอกรอบอีก) เข้ามาประชุมวางผังเมือง ผังประเทศกันใหม่ซักที ไม่ต้องกลัวว่ามันจะอ้างว่าไม่ใช่วาระเร่งด่วน เพราะไอ้พวกที่เรียกมาประชุม ก็ล้วนเป็นตัวใหญ่ตัวโต มีอำนาจ มีความสามารถ (ยกเว้นบางคนที่ไต่เต้ามาจากการเลียแข้งขาผู้อื่น) และมีเวลา เพราะไม่ต้องลงไปลุยน้ำให้เปียกอยู่ตามต่างจังหวัดอยู่แล้ว ให้พวกเขาประชุมหาแนวทางป้องกันในอนาคต ว่าที่ดินส่วนใดจะบูรณะเป็นถนน ที่ดินส่วนใดจะบูรณะเป็นลำคลอง สำหรับการคมนาคมทางน้ำ รวมถึงที่ดินใดจะเป็นแนวตั้งรับน้ำป่าไหลหลาก ประเด็นใหญ่ของหัวข้อนี้คือ “เส้นทางน้ำ”

3) ระหว่างการดำเนินการ ก็สั่งให้กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงกลาโหม, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการคลัง ดำเนิการเยียวยาผู้ประสบภัยโดยเร่งด่วน โดยยึดหลัก “ประชาชนต้องมาก่อน” อย่างที่นายอภิสิทธิ์ เคยพูดเอาไว้

3 ข้อแรกต้องทำให้เสร็จสิ้นในเดือน พฤศติกายน โดยถือเป็นวาระแห่งชาติ..เห็นหรือยังว่าทำไม นายกรัฐมนตรีถึงจำเป็นต้องเป็นผู้นำของหน่วยงานเร่งด่วนชุดนี้

4) เมื่อเดือน ธันวาคม มาถึง สถานการณ์น้ำท่วมเริ่มจะลดลงแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการจัดเตรียมแผนปฏิบัติการสำหรับขุดลอก คลองบึง เส้นทางน้ำ ตามที่เหล่าผู้เกี่ยวข้องในขั้นตอนที่ 2 ประชุมไป โดยแผนงานในขั้นนี้ลงลึกในรายละเอียดสถานที่ที่จะขุด, งบประมาณ, การจัดสรรกำลังคน และขั้นตอนควบคุม มีเป้าหมายให้ดำเนินการในเดือน มีนาคม-เมษายน เพราะเป็นช่วงที่น้ำแล้งที่สุด เหมาะสำหรับการขุดลอกและทำความสะอาดแม่น้ำลำคลองที่ตื้นเขิน
มีหน่วยงานอยู่หน่วยงานหนึ่งที่เหมาะสมสำหรับงานนี้โดยเฉพาะ นั่นคือ "กรมราชทัณฑ์" ของกระทรวงยุติธรรม เกณฑ์นักโทษออกมาทำงานเพื่อสังคมได้เลย เพราะพวกเขาทำงานในค่าแรงที่ถูกกว่าการไปเหมาหน่วยงานเอกชนทำแน่นอน อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อนักโทษด้วย เพราะนักโทษที่ทำงานเพื่อสังคมจะได้รับการลดหย่อนโทษไปด้วย เป็นการได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
ส่วนอีกหน่วยงานหนึ่งที่น่าจะเรียกใช้มาเพื่อพัฒนาประเทศ คือ กรมทหารช่าง รวมถึงทหารเกณฑ์ต่างๆและหน่วยงานอาชีวศึกษา โดยให้หน่วยงานทั้งสองประสานงานกันในการทำเครื่องไม้ เครื่องมือขุดลอก ขุดเจาะที่ไม่ต้องไปเสียเงินงบประมาณแพงๆจากต่างประเทศ สร้าง-ซ่อมกันเองโดยสองหน่วยงานนี้ ผมเชื่อว่ามีคนมีความสามารถและอาสาที่จะทำงานนี้เพื่อชาติมากมายแน่นอน เหล่าเด็กๆอาชีวะก็จะได้เรียนรู้เรื่องการซ่อม-สร้างเครื่องจักรแบบของจริง เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ อีกทั้งยังมีรายได้ โดยงบที่ใช้ก็เวียนกลับไปเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานต้นสังกัดของพวกทหารช่างและกรมอาชีวศึกษาด้วย

5) มิถุนายน – กันยายน ของปีถัดไปทำการเก็บสถิติและข้อมูลเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อตุลาคม – พฤศจิกายน ทำการปรับปรุงแผนปฏิบัติการของปีถัดไปใหม่ ทำเช่นนี้ซัก 2 – 3 ปี ปัญหา “ภัยแล้งและน้ำท่วมซ้ำซาก” ก็จะลดลงไปเอง

ที่จริงผมยังมีแผนงานอีกมากมายสำหรับเรื่องนี้ตามต่อเนื่อง แต่มันคงเป็นเรื่องยาวที่จะต้องค่อยๆจัดลำดับเรียงกันต่อไป

ผมเชื่อว่าแนวคิดแบบนี้จะสามารถบริหารจัดการสิ่งที่พวกเราเรียกว่า “ภัยธรรมชาติ” ให้เหลือเพียง “ภัยอันคาดไม่ถึง” ซึ่งไม่น่าจะเลวร้ายเช่นทุกวันนี้
หวังว่าแนวคิดนี้ จะมีคนสามารถนำไปต่อยอดเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติจริงๆครับ

***************

บทความจากกระทู้

//www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P9875802/P9875802.html

//www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P9875978/P9875978.html

วันที่ 2-3 พย. 2553




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2553
0 comments
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2553 20:10:03 น.
Counter : 655 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

กาแฟยามบ่าย
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add กาแฟยามบ่าย's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com