Group Blog
 
<<
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
14 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
@ @ sunscreen 101 กับ รำเพยเองจ๊ะ @ @

นานแล้วที่ไม่ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับกันแดด นี่ก็เข้าใกล้ summer อีกแล้ว มาทบทวนกันหน่อยดีกว่านะคะ

ข้อควรจำก่อนอ่านต่อ
UVB ช่วงคลื่นอยู่ระหว่าง 290-320 นาโนมิเตอร์
UVA II ช่วงคลื่นอยู่ระหว่าง 320-340 นาโนมิเตอร์
UVA I ช่วงคลื่นอยู่ระหว่าง 340-400 นาโนมิเตอร์

วันนี้เอาแค่เบื้องต้นก่อนนะคะ เอาแค่ 2 เรื่องพอ ขืนให้อ่านมากกว่านี้จะสับสนไปกันใหญ่
เรื่องที่ 1 SPF และ PA

- SPF และ PA ไม่ใช่สาร เป็นแค่ตัวเลขบอกประสิทธิภาพในการกันรังสียูวี.

- SPF บอกค่ากันรังสียูวีบี ไม่ได้บอกว่ากันแดดนั้นสามารถกันรังสียูวีเอได้แต่ประการใด

-PA (Protection grade of UVA) เป็นเครื่องบอกประสิทธิภาพในการป้องกันยูวีเอ เป็นมาตรฐานที่ญี่ปุ่นคิดขึ้นมา และไม่ใช่หลักสากล ดังนั้นคุณจะพบ PA ได้ในกันแดดที่มาจากญี่ปุ่น หรือว่าจากบางประเทศในแถบเอเชียเท่านั้นค่ะ

การวัดประสิทธิภาพจะใช้สัญลักษณ์ +, ++ และ +++ เป็นการบอกระดับของการกัน
PA+ สามารถกันยูวีเอได้บางส่วน เท่าที่รำเพยสังเกตดูพบว่าส่วนมากจะกันได้ช่วง 320-340 นาโนมิเตอร์ เท่านั้น
PA++ สามารถกันยูวีเอได้เกือบครบทั้ง 400 นาโนมิเตอร์ เช่นอาจจะกันได้ถึง 380 นาโนมิเตอร์
PA+++ สามารถกันยูวีเอได้ครบถึง 400 นาโนมิเตอร์

- PA บอกค่ากันรังสียูวีเอ แต่ว่าถ้าไม่ได้เขียนไว้ก็ไม่ได้หมายความว่ากันแดดนั้นจะไม่ดี เพียงแต่หมายความว่าผู้ซื้อต้องมีความรู้เพียงพอในการที่จะเลือกดูกันแดดที่สามารถกันรังสียูวีเอได้ โดยต้องอ่านจากสารประกอบสำคัญที่เขียนไว้ที่ฉลาก

-ค่า SPF หรือ PA สูงๆ ไม่ได้หมายความว่าจะดีเสมอไป เพราะว่าถ้าคุณทาน้อยกว่าปริมาณที่ควรทา มันก็กันได้น้อยกว่าตัวเลขที่กำหนดไว้อยู่ดี ข้อเสียอีกประการหนึ่งของการที่มีค่า SPF สูงๆคือว่าทำให้คนใช้กันแดดนั้นๆ หลงผิด คิดว่ามันกันแดดได้ยาวนาน โดยไม่คำนึงถึงว่ากันแดดมีการหลุดออกจากผิว เพราะเหงื่อ และการเสียดสีของผิว ดังนั้นการใช้กันแดดที่มีค่า SPF สูงๆอาจจะส่งผลเสียให้ผิวเสียได้เนื่องจากว่าผู้ใช้มั่นใจเกินไป ไม่ยอมทาซ้ำ

เรื่องที่ 2 จะรู้ได้อย่างไรว่ากันแดดที่คุณใช้นั้น กันได้นานเท่าไหร่

ตอบง่าย แต่เข้าใจยาก รำเพยจะพยายามเขียนให้เข้าใจได้ง่ายๆก็แล้วกันนะคะ

สูตรในการคิดคือ เวลาที่ผิวคุณจะไหม้ ถ้าไม่ได้ทากันแดดแล้วไปยืนตากแดด * ค่า SPF ที่เขียนไว้

เช่น ถ้าปกติผิวคุณเปลี่ยนสีตอนไปอยู่กลางแดดติดต่อกันสัก 10 นาที โดยที่ไม่ได้ทากันแดดนะคะ ก็ให้เอาค่า SPF มาคูณ เช่น 10 minutes * SPF 15 = 150 นาที

คำตอบก็คือ กันแดดที่คุณมีนั้นจะปกป้องผิวของคุณได้ 150 นาที ก่อนที่ผิวคุณจะไหม้ ย้ำว่านี่คือในกรณีที่ 1) คุณทากันแดดมากเท่าที่กับเค้าใช้คิดค่า SPF ของกันแดดนะคะ หรือ 1 กรัมต่อพื้นที่ผิว 1 ตารางเซนติเมตร; และ, 2) กันแดดของคุณสามารถกันรังสียูวีได้ครบถ้วนทั้งยูวีเอ และยูวีบี

คนแต่ละคนผิวมีความทนทานต่อแดดไม่เท่ากัน ดังนั้นเราควรใช้ตัวเลขค่า SPF เป็นแนวทางคร่าวๆค่ะ เพราะว่าตามปกติเราไม่ทากันแดดมากเท่าที่ควรจะทาอยู่แล้วน่ะค่ะ และคุณเองก็ไม่มีทางรู้เลยว่าปกติผิวคุณนั้นไปยืนกลางแดดกี่นาทีแล้วถึงจะไหม้ ....จริงไหมคะ

ช่วงนี้ใกล้หน้าร้อนแล้ว รำเพยจะมาเขียนเรื่องกันแดดให้อ่านกันเป็นระยะๆแล้วกันนะคะ ใครอยากรู้เรื่องไหนก็ถามไว้แล้วกัน ถ้าตอบได้จะตอบให้ค่ะ


Create Date : 14 มีนาคม 2551
Last Update : 14 มีนาคม 2551 15:11:34 น. 5 comments
Counter : 1029 Pageviews.

 
โห .. ยอดเลยค่ะ
กำลังคิดถึงครีมกันแดดพอดี
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: เช้านี้ยังมีเธอ วันที่: 14 มีนาคม 2551 เวลา:19:42:39 น.  

 
ได้ความรู้กลับไปนะเนี้ย


โดย: parry_Ke วันที่: 14 มีนาคม 2551 เวลา:21:46:37 น.  

 
จะใช้ครีมกันแดดแต่ละครั้ง เราต้องคำนวณถึงขนาดนี้เลยหรอคะ
เอาไงเอากันค่ะ เพื่อความสวย


โดย: ไอเนะกิจัง วันที่: 14 มีนาคม 2551 เวลา:23:36:41 น.  

 
หวาดดีจร้า

แต่งบล้อกสวยดีนะจ้ะ

ปายละจร้าบาย


โดย: ริ้วคลื่น วันที่: 16 มีนาคม 2551 เวลา:18:44:37 น.  

 
เข้ามาอ่าน อ่านแล้วเหมือนหัวใจได้เต้นอาราบิก


โดย: ตุ๊กตาไล่ฝนจากดวงตา วันที่: 21 มีนาคม 2551 เวลา:13:00:21 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

รำเพย
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 52 คน [?]




สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน blog แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยเผยแพร่และเพื่อการอ้างอิง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด
Friends' blogs
[Add รำเพย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.