บอกใคร ๆ เค้าว่าเราเป็น "นักเคมี" แต่เราไม่เก่งนะ ... เชื่อเราเถอะ
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2550
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
13 พฤษภาคม 2550
 
All Blogs
 

กระบวนการเรียนรู้กับการสร้างความคิดสร้างสรรค์

จำไม่ได้ว่าเคย save จากที่ไหน นานแล้วเหมือนกัน

เห็นประโยชน์ที่จะพึงมีแก่ผู้ที่แวะมาเยี่ยมเยือน
จึงได้นำมาแบ่งปันกันครับผม

.........


การเรียนรู้คงมิใช่การจดจำคำครูสอนแล้วพอถึงเวลาสอบมานั่งนึกย้อนสิ่งเหล่านั้น
เพื่อจะนำมาตอบคำถามในข้อสอบ!
... เพราะนั่นเท่ากับเป็นการเก็บข้อมูลจากที่ครูสอน
เพื่อรอเวลาจะนำมาใช้หรือระบายข้อมูลนั้นออกมาอีกครั้งในช่วงเวลาสอบ
เหมือนเป็นการคัดลอกสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา
หากไม่ได้เกิดกระบวนการทางการย่อย หรือขบคิด วิเคราะห์หรือสังเคราะห์สิ่งที่ครูสอนเลย
เพราะนั่นเท่ากับเราได้รับฝากของบางอย่างไว้
โดยไม่รู้ว่าของนั้นมีคุณค่าหรือนำมาใช้ประโยชน์อะไรแก่ชีวิตเราได้บ้าง
เราไม่ได้ทดลองหยิบจับมันมาปฏิบัติแม้แต่เพียงเล็กน้อย

Dr.A. Noel Jones, Visiting Professor มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ได้เสนอว่าการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องเป็นกระบวนการ 5 ขั้นตอนดังนี้ (The Jones Model of Learning จาก ABAC Journal Vol. 26 No.1 January-April, 2006, p.4)

1. ผู้เรียนรู้ได้รับข้อมูลจากสื่อต่างๆ เช่น คุณครู ตำรา ซีดี หรือพูดคุยกัน เป็นต้น
2. ผู้เรียนรู้ถาม-ตอบเกี่ยวกับข้อมูลนั้น (เริ่มวิเคราะห์)
3. ผู้เรียนรู้เชื่อมโยงข้อมูลนั้นกับสิ่งที่ตนรู้
4. ผู้เรียนรู้สังเคราะห์หรือสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมา
5. ผู้เรียนรู้ประมวลเป็นความรู้ของตน

กล่าวได้ว่า กระบวนการเรียนรู้ของ Dr.Jones
คือการที่รับข้อมูลมาแล้วไม่ได้มานอนแช่นิ่งอยู่เฉยๆ ในหัวสมอง
แต่เกิดการย่อยเป็นส่วนๆ จากการถามตอบกับตนเอง
... ว่าได้รู้อะไรบ้างจากข้อมูลดังกล่าว มันเป็นเหตุเป็นผลอย่างไร
เกิดการเปรียบเทียบส่วนของประกอบต่างๆ ของข้อมูล
สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยเวลาในการครุ่นคิด
เมื่อสามารถเข้าใจข้อมูลอย่างพอสมควร
ก็เหมือนกับเราได้รู้ส่วนประกอบของสิ่งที่เราจะบริโภคใส่สมองแล้ว
ทีนี้ก็ต้องหาที่หาทางเก็บให้ถูกต้อง นั่นคือ
สิ่งที่จะเติมลงไปหรือสิ่งที่ได้รับการย่อยมาพอสมควรนั้น
จะสามารถเติมเต็ม/ต่อยอดกับความรู้เดิมของเราตรงส่วนไหน
นั่นคือการเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว
เมื่อเชื่อมโยงกันเสร็จก็สามารถมองภาพรวมหรือเรียกว่าสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา
เพื่อที่จะพัฒนาเป็นฐานความรู้ของเราได้ในที่สุด
จะเห็นว่ากระบวนการเรียนรู้เกิดจากการตระหนักรู้สองสิ่งคือ
ตระหนักรู้สิ่งที่จะบริโภคใส่สมอง กับตระหนักรู้สิ่งที่ตนเองมีอยู่ พูดง่ายๆ ก็คือ
รู้ให้ถ่องแท้ก่อนจะรับอะไรก็ตามมาใช้ประโยชน์
กระบวนการเรียนรู้จึงมิใช่การฟังคำครู จดตามคำครูสอน
โดยที่ไม่ได้ตระหนักรู้อะไรเพิ่มขึ้นเลย
ด้วยเหตุนี้ เด็กคนที่จดทุกคำพูดของครูกับเด็กที่ฟังครูพูดจนเข้าใจ แล้วจึงจด
จะมีผลต่างกันนั่นคือในห้องเรียนเด็กที่จดทุกคำพูดครูจะไม่ได้ใช้สมองคิด หรือเชื่อมโยง/วิเคราะห์อันใด
จิตใจคอยพะวงกับการจดให้ทันเท่านั้น
ผิดกับเด็กที่ฟังครูให้เข้าใจก่อน เขาจะเริ่มใคร่ครวญครุ่นคิด เริ่มแยกแยะ
เปรียบเทียบหรือเชื่อมโยงกับสิ่งที่เขาเคยพบเคยรู้จัก
เด็กคนนี้จึงได้เปรียบตั้งแต่ต้น เพราะเขาได้เริ่มเรียนรู้ไปก่อนแล้วตั้งแต่ในชั่วโมง
พอหมดเวลาครูสอน เขาจะพัฒนาไปได้เร็วกว่าในกระบวนการเรียนรู้ของตนโดยการกลับไปทบทวนศึกษาสิ่งที่ได้จดไปเพื่อให้เกิดความรู้ของตนในที่สุด

พูดถึงเรื่องการเรียนรู้
ผู้เขียนเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับแนวคิดทางสถาปัตยกรรม
ผู้เขียนจำไม่ได้ว่าใครเป็นคนคิดหรือเป็นต้นตำรับสิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ นั่นคือ วิธีการที่จะส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์มีอยู่สองขั้นตอนคือ
1. ทำปัญหาที่แปลกให้คุ้นเคย
2. ทำปัญหาที่คุ้นเคยให้แปลก
เนื่องจากอาชีพทางสถาปนิกต้องการแนวคิดแปลกใหม่
หรือความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ
ฉะนั้นจึงมีหนังสือจากผู้มีความรู้หรือผู้โด่งดังต่างๆ
พยายามหาวิธีคิดค้นเพื่อที่จะบรรลุถึงความคิดสร้างสรรค์ได้ตลอดเวลา หนึ่งในวิธีที่พบก็คือ

ทำปัญหาที่แปลกให้คุ้นเคย กับทำปัญหาที่คุ้นเคยให้แปลก?

หนึ่งคือ เมื่อเราพบปัญหาที่แปลกใหม่สำหรับเรา
เราก็พยายามเชื่อมโยงมันกับปัญหาที่เราเคยประสบมาก่อน
เปรียบเทียบพิจารณาดูว่ามันเหมือนมันคล้ายหรือแตกต่างอย่างไร นี่คือขั้นตอนของการทำปัญหาที่แปลกให้คุ้นเคย
ซึ่งเมื่อพิจารณากับกระบวนการเรียนรู้ของ Dr. Jones แล้ว มันก็คือ การถาม-ตอบ
การวิเคราะห์สิ่งใหม่ๆ ที่เราได้จากครูสอนนั่นเอง
ซ้ำยังมีการเชื่อมโยงกับสิ่งที่รู้มาก่อนอีก กล่าวคือ ปัญหาที่แปลกใหม่
เทียบเท่ากับสิ่งที่ครูสอนในชั่วโมงนั่นเอง
เพราะฉะนั้น วิธีการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่เริ่มต้น
จากการทำปัญหาที่แปลกให้คุ้นเคยก็คือ การเกิดกระบวนการเรียนรู้ (ปัญหา) นั่นเอง
แต่ยังไม่จบอยู่แค่นั้น เราอาจจะรับรู้หนทางแก้ปัญหาแปลกใหม่ซึ่งตอนนี้
กลายเป็นคุ้นเคยกับเราแล้วโดยเราเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับสิ่งที่รู้มาก่อน
แต่นั่นอาจเป็นแนวทางเดียวหรือแค่มุมมองเดียวของเราที่มีต่อปัญหา
ต้องมาถึงขั้นตอนที่สองคือ
ทำปัญหาที่คุ้นเคยให้แปลก หมายความว่า
เราควรมองปัญหาที่กลายเป็นคุ้นเคยแล้วในมุมมองใหม่ๆ ที่เรายังไม่เคยมอง เช่น มองดอกไม้ ในสายตากวีหมายถึง
ผู้หญิงคนรัก ดอกไม้ในสายตาของผึ้งหรือแมลงจะมีค่าความหมายอย่างไร เป็นต้น
สรุปง่ายๆ คือ
การนำความคิดหรือคุณค่าความหมายของคนหลากหลายอาชีพสาขาที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อที่จะได้เห็นมุมมองอื่นๆ
ต่อสิ่งนั้นอย่างเข้าใจถ่องแท้และรอบด้านมากขึ้น
เรียกได้ว่าเป็นการย้ายตำแหน่งที่เรายืนดูบางสิ่งบางอย่าง
เพื่อจะเกิดความคิดที่แปลกใหม่หรือความคิดสร้างสรรค์ในที่สุด
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือ กระบวนการเรียนรู้กับการสร้างความคิดสร้างสรรค์
ซึ่งอาจจะหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้ว่า
เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่จะเข้ามากับสิ่งที่มีอยู่ในตน
และทั้งหมดนั้นก็เป็นแค่กรอบความคิดหรือมโนทัศน์หนึ่งเท่านั้น

ถ้าเราก้าวขาออกมายืนอีกมุมหนึ่ง

เราอาจจะได้เห็นอะไรที่ดีกว่าก็เป็นได้!
-

..........

อ่านแล้วได้คิดเหมือนกันครับผม




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2550
0 comments
Last Update : 15 พฤษภาคม 2550 21:24:24 น.
Counter : 672 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


เคมีรามคำแหง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เดิมเป็นนักเคมีทำงาน R&D ด้านยาง (rubber) กับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งได้สิบปี ...
... ตอนนี้มาทำงานด้านการขายและให้คำปรึกษา ...

ติดต่อได้ที่ 08-9114-8818 หรือทาง e-mail ครับ

ชอบออกกำลังกาย เล่นแบด ตีปิงปอง และเล่นเทนนิสได้
แต่ไม่ค่อยมีเวลาให้ได้ออกกำลังกายบ่อยๆ


.......

เราเชื่อเสมอว่าความรักเป็นสิ่งสวยงาม ...
Friends' blogs
[Add เคมีรามคำแหง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.