บอกใคร ๆ เค้าว่าเราเป็น "นักเคมี" แต่เราไม่เก่งนะ ... เชื่อเราเถอะ
Group Blog
 
 
มกราคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
22 มกราคม 2552
 
All Blogs
 

การบริหารพื้นที่หน้างาน


ผมสงสัยว่าคนญี่ปุ่นเค้ามอง พื้นที่หน้างาน (Gemba) อย่างไร ???

คงไม่ใช่เพียงแค่ ไปดูหน้างานว่าเป็นอย่างไร คนทำงานทำอย่างไร แล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วแนะนำวิธิการแก้ไข การป้องกัน โดยอาศัยประสบการณ์ของเขาเอง ... อย่างนั้นหรือ ?
(ตอนแรกๆ ผมมองแค่นี้จริงๆ ...)

จากที่ไปหาข้อมูลมา พบว่าจริงๆ แล้ว คนในภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นโดดเด่นมากในเรื่องของพื้นที่หน้างาน
แม้ว่าความสามารถของพื้นที่หน้างานจะแตกต่างกันไปตามประเภทของอุตสาหกรรมก็ตาม

การมุ่งหน้าสู่พื้นที่จริง (Genchi) การตรวจสอบของจริง (Genbutsu) การรับรู้สภาพความเป็นจริงในการปฏิบัติงาน (Genjitsu) ซึ่งรวมไปถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อได้ลงไปสัมผัสพื้นที่หน้างานจริง
นำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาวิเคราะห์ แล้วใส่วงจร PDCA ลงในกระบวนการแก้ปัญหา ซึ่งวงจร PDCA เป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของระบบคุณภาพ
เครื่องมือในการนำมาใช้วิเคราะห์ แก้ไข ป้องกัน ปรับปรุง นั้นมีมากมาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสถานการณ์ของพื้นที่หน้างาน

ชีวิตการทำงาน คือ กระบวนการพบปัญหาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงต้องมีความพร้อมในการแก้ไขปัญหา

ปัญหาที่รับรู้กันโดยทั่วไป คือช่องว่างระหว่างสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้

แต่ยังมีปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่มีระดับสูงกว่านี้คือ เมื่อกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานแล้ว “จะต้องกำหนดภาพในอุดมคติที่ควรจะเป็น” ในระดับสูง
และมุ่งสู่การกำจัดช่องว่างของอุดมคติกับภาพที่เป็นจริงในปัจจุบัน เรียกว่า ปัญหาเชิงรูปแบบที่กำหนดขึ้น

ในการแก้ไขปัญหาแต่ละครั้ง ประโยชน์ที่ได้ไม่เฉพาะแต่ผลของการแก้ไขปัญหาเท่านั้น จะมีผลสะท้อนกลับเข้าสู่ตัวผู้แก้ปัญหา
คือได้เสริมประสบการณ์และสร้างความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ขณะเดียวกันจะช่วยตอกย้ำเจตคติ และสร้างทัศนคติที่ดี ต่อการเป็นนักแก้ปัญหาที่ดีต่อไปอีกด้วย

... พื้นที่หน้างานจะต้องมุ่งสู่เป้าหมายที่สูงขึ้นเพื่อผลักดันตนเอง และไม่ได้พอใจแค่สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ...

พื้นที่หน้างานของทุกแผนก มีความเชื่อมโยงไปถึงลูกค้า และเป็นกลไกสำคัญที่ก่อให้เกิด คุณค่าขององค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

“ความสามารถของพื้นที่หน้างาน นำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ” หรือกล่าวได้ว่า “กิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมด จำเป็นต้องอาศัยความสามารถของพื้นที่หน้างาน”

ความสามารถของพื้นที่หน้างาน สามารถตรวจวัดได้ด้วยบรรทัดฐาน 4 ประการ คือ คุณภาพ (Quality), ต้นทุน (Cost), ความรวดเร็ว (Delivery) และความยั่งยืนขององค์กร
ความสามารถของพื้นที่หน้างาน ไม่ได้เป็นเพียงแค่งานที่ทำจนคุ้นเคยเท่านั้น
แต่ต้องมีความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่หน้างาน โดยถือว่าคนเป็น “ผู้ปฏิบัติงาน” ที่มีความขยันขันแข็งและมีทักษาในการใช้ความคิด

ความสามารถของพื้นที่หน้างาน ไม่ใช่บางส่วมที่มีความสามารถและตั้งใจที่จะทำ
แต่ทุกคนจะต้องเข้าร่วมและเข้าใจความสำคัญของพื้นที่หน้างาน ที่จะเพิ่มพูนจนถึงระดับ “ความสามารถขององค์กร” โดยรวม

ความสามารถของพื้นที่หน้างาน ไม่เพียงแต่ดำเนินกิจกรรมปรับปรุง
แต่ยังต้องฝึกฝนความสามารถของพื้นที่หน้างานอย่างจริงจัง กำหนดเป้าหมาย และตั้งใจไปให้ถึง “สภาพที่เป็นต่อ” และนำหน้าบริษัทคู่แข่งให้ได้

การปรับปรุงคืออะไร

การปรับปรุง คือ กิจกรรมที่นำพาให้เกิดการแก้ไขปัญหา มองเห็นประเด็นของปัญหา และคิดถึงวิธีการในการปฏิบัติงานด้วยตัวเอง
การปรับปรุงสามารถทำได้ต่อเนื่องยาวนาน และความสามารถในการปรับปรุงงานของพื้นที่หน้างาน คือ สิ่งที่สนับสนุนความสามารถขององค์กร

การปรับปรุง 3 ระดับ ได้แก่

การปรับปรุงระดับต้น คือ กิจกรรมที่สามารถลงมือทำเองได้ โดยขจัดความสูญเปล่า (Muda), ความไม่สม่ำเสมอ (Mura), สิ่งที่เกินความสามารถ (Muri) และทบทวนกระบวนการทำงานและงานในหน้าที่ของตน
- เรามีพื้นที่หน้างานกี่พื้นที่ ในแต่ละพื้นที่ต้องทำงานอะไรบ้าง หรือรับผิดชอบอะไรบ้าง
- ก่อนทำงานเราต้องเตรียมอะไร จากใคร อย่างไรบ้าง
- สิ่งที่ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ในแต่ละพื้นที่มีอะไรบ้าง มีอุปกรณ์ป้องกันภัยอะไรที่ต้องใช้งาน
- ในงานแต่ละอย่าง เราต้องทำอะไรบ้าง ก่อน-หลัง มีการตรวจสอบการทำงานขณะที่ทำอย่างไรได้บ้าง
- เมื่อทำงานเสร็จแล้ว มีการตรวจสอบงานก่อนที่เราจะส่งมอบงานให้กับขบวนการถัดไป อย่างไรบ้าง
- เราจะต้องเก็บงาน อุปกรณ์ต่างๆ ในแต่ละพื้นที่อย่างไร รวมไปถึงการทำความสะอาดพื้นที่หน้างานด้วย
ทุกขั้นตอนของงานที่เราทำ มีอะไรบ้างที่สามารถลดขจัดความสูญเปล่า ลดความไม่สม่ำเสมอ และมีอะไรที่เป็นสิ่งที่เกินความสามารถ นำข้อมูลเหล่านี้มาปรับปรุงพื้นที่หน้างานของเราเอง

การปรับปรุงระดับกลาง คือ กิจกรรมระหว่างหน่วยงานและการติดตามผลในห่วงโซ่การทำงานทั้งหมด รวมถึงกระบวนการที่อยู่ก่อนหน้าและถัดไป ไม่ใช่แค่กระบวนการทำงานของตนเพียงอย่างเดียว

การปรับปรุงระดับสูง คือ กิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อพัฒนาวิธีการปฏิบัติงาน การฝึกอบรมพนักงานเพื่อยกระดับประสิทธิผล และขยายกิจกรรมการปรับปรุงที่เกิดขึ้นในพื้นที่หน้างาน ไม่ใช่แค่กิจกรรมสำหรับตนเองเท่านั้น
ในการปรับปรุงแต่ละระดับมีขั้นตอนต่างๆ มากมาย สามารถพิจารณาเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

จากครั้งที่แล้ว ได้พูดถึง R&D ...
... งาน R&D โดยทั่วไปมุ่งเน้นในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ การหาผลิตภัณฑ์ใหม่ การหาวัตถุดิบใหม่ รวมไปถึงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น หรือให้มีต้นทุนที่ถูกลง หรือให้เกิดการทำงานที่ง่ายขึ้น ...

ถ้าให้นำความคิดในแนวของ R&D มารวมกับความสามารถของพื้นที่หน้างาน
... พื้นที่หน้างานทุกจุด จะแสดงความสามารถในการคิด การปรับปรุง งานในพื้นที่ให้มีคุณภาพมากขึ้นได้ ทำให้มีต้นทุนที่ถูกลงได้ ทำให้มีความรวดเร็วมากกว่าเดิมได้
และเมื่อมีการนำมาใช้ในการปรับปรุงพื้นที่หน้างานอย่างต่อเนื่องแล้ว ก็จะเห็นความยั่งยืนขององค์กรที่จะสามารถผ่านพ้นวิกฤตที่เกิดขึ้นไปได้

ทุกคนรู้ดีว่า พื้นที่หน้างานทุกจุดในโรงงานของเรา ล้วนผ่านการคิด การปรับปรุงงานในพื้นที่ให้มี คุณภาพมากขึ้น มีต้นทุนที่ถูกลง และมีความรวดเร็วมากขึ้น มาแล้วทั้งสิ้น
เมื่อเราเห็นภาพที่เป็นระบบได้อย่างชัดเจน เราไม่ต้องกังวลว่าจะทำอะไรก่อน-หลัง เพราะว่าองค์ประกอบทั้งสามนั้นสอดคล้องกัน
เมื่อเราได้ทำอย่างต่อเนื่องจะทำให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารพื้นที่หน้างานของทุกจุดที่จะประสานกันอย่างเป็นรูปธรรม
หรืออาจจะมีคนนึกแย้งอยู่ในใจว่า ... หลีกเลี่ยงไม่ได้หรอกที่จะต้องปรับลดคุณภาพเพื่อต้นทุนจะได้ต่ำลง ...
... แต่หากในเวลาเดียวกัน เราสามารถแสดงให้เห็นว่า สามารถทำการพัฒนาคุณภาพไปพร้อมกับการลดต้นทุน ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติงานที่ยอดเยี่ยม (ได้เป้าหมายสองประการ)

ซึ่งการดัดแปลงและเชาว์ปัญญาของมนุษย์เท่านั้นที่จะสามารถทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นได้ นี่คือสิ่งที่เรียกว่า การเอาชนะความขัดแย้งกันเอง ซึ่งเป็นความสามารถของพื้นที่หน้างานที่แท้จริง

การบริหารพื้นที่หน้างานของทุกคน (Power of Gemba)
จะแสดงให้เห็นถึงพลังขององค์กรที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้า

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ถ้ามองว่ามันเป็นทฤษฎี มันก็จะอยู่แต่ในหนังสือ บทความ หรือในอีเมล์ที่ได้อ่านอยู่นี้เท่านั้น
แต่ถ้ามามองว่า เป็นแนวคิดการทำงานที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ หรือนำ
มาปฏิบัติได้แล้ว ...
... ก็ต้องเริ่มปฏิบัติกันตั้งแต่นาทีนี้ ... อาศัยจิตใจที่เข้มแข็งและความคิดที่ยืดหยุ่นของทุกคน มาปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่หน้างานกันนะครับ

...

... ผมเองก็ไม่ได้เก่งมาจากไหน ... แต่จากมุมมองและความคิดที่ได้จากการทำงานและจากเพื่อนร่วมงาน ทำให้ผมอยากจะทำงานร่วมกันกับทุกคนเพื่อความสำเร็จในมุมมองที่สูงกว่า พร้อมกับเป้าหมายสองประการที่ขัดแย้งกันเอง ... หรืออาจะมากกว่านั้น





 

Create Date : 22 มกราคม 2552
3 comments
Last Update : 22 มกราคม 2552 22:47:31 น.
Counter : 2328 Pageviews.

 

ขอบคุณที่ไปตอบกระทู้หนูนะคะ ^^

 

โดย: น้องผิง 11 กุมภาพันธ์ 2552 11:35:22 น.  

 

ขอบคุณที่แว๊บไปเยี่ยมและข้อความดีๆที่ฝากไว้นะคะ


 

โดย: onsutee 13 กรกฎาคม 2552 21:51:46 น.  

 

 

โดย: jodtabean (loveyoupantip ) 6 สิงหาคม 2554 3:41:31 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


เคมีรามคำแหง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เดิมเป็นนักเคมีทำงาน R&D ด้านยาง (rubber) กับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งได้สิบปี ...
... ตอนนี้มาทำงานด้านการขายและให้คำปรึกษา ...

ติดต่อได้ที่ 08-9114-8818 หรือทาง e-mail ครับ

ชอบออกกำลังกาย เล่นแบด ตีปิงปอง และเล่นเทนนิสได้
แต่ไม่ค่อยมีเวลาให้ได้ออกกำลังกายบ่อยๆ


.......

เราเชื่อเสมอว่าความรักเป็นสิ่งสวยงาม ...
Friends' blogs
[Add เคมีรามคำแหง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.