บอกใคร ๆ เค้าว่าเราเป็น "นักเคมี" แต่เราไม่เก่งนะ ... เชื่อเราเถอะ
Group Blog
 
 
มกราคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
7 มกราคม 2552
 
All Blogs
 

R&D of Product

R&D

R&D ย่อมาจากคำว่า Research & Development แปลว่า การวิจัยและพัฒนา ซึ่งคำนี้ได้ถูกนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละหน่วยงานจะนำไปใช้ในการสื่อความหมายอย่างไร ทุกธุรกิจต่างก็มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเอง ดังนั้นบางครั้งความหมายในรูปแบบของการวิจัยและพัฒนาอาจเรียกได้ว่าเป็น R&D of Products คือ มุ่งเน้นไปที่การทำวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพ (Quality) และประสิทธิภาพ (Efficiency) ของตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ หรือบางครั้งอาจจะทำให้เป็นผู้นำตลาดใหม่ได้อีกด้วย

ซึ่งโดยความหมายของการวิจัยและพัฒนา คือ การศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด (เช่นผลิตภัณฑ์ วิธีการ กระบวนการ กลุ่มคน องค์ความรู้) เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งดังกล่าวเป็นอย่างดี และนำความรู้ความเข้าใจนั้นมาใช้ให้เกิดการปรับปรุงหรือพัฒนาในสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หรือเป็นการสร้างสิ่งใหม่ (Innovation) ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นด้านนวัตกรรมใหม่ๆ หรือเป็นด้านที่ทำเพื่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาสิ่งเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น จะเห็นว่าต่างก็มีคุณค่าด้วยกันทั้งสองด้านขึ้นอยู่กับวาระและโอกาส จากเหตุการณ์การค้นพบสิ่งใหม่ๆ ในอดีตของนักวิทยาศาสตร์ จะเห็นว่า เมื่อทำการวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อที่จะปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมให้ดีขึ้น เราก็อาจค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างไม่คาดคิด

จากปรัชญาของการพัฒนาที่ว่า “ทุกๆ อย่างสามารถพัฒนาและปรับปรุงต่อไปได้อีก” จึงต้องใช้ R&D of Products เป็นเครื่องมือเชิงรุกในการแข่งขันทางธุรกิจ พอจะสรุปเหตุผลมาสนับสนุนในการใช้ R&D of Products ได้ ดังนี้
1. สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เพราะว่าลูกค้ามีความคาดหวังในคุณภาพหรือบริการเป็นประเด็นหลัก
2. สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้ก่อให้เกิดกำไรมากขึ้น
3. ผู้ประกอบการเกิดความภูมิใจต่อผลิตภัณฑ์ของตนเอง ทำให้พนักงานในองค์กรเกิดความภูมิใจ ตั้งใจทำงาน และซื่อสัตย์ต่อองค์กร
4. เป็นแบบอย่างให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หน่วยงานต่างๆ องค์กรได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ ซึ่งจะทำให้ในองค์กรมีแต่หน่วยงานที่มีคุณภาพ และเป็นการยกระดับคุณภาพขององค์กร

ในทางปฏิบัติเราได้นำความพึงพอใจของลูกค้ามากำหนดเป็น “คุณภาพของผลิตภัณฑ์” แล้วเรามาพิจารณาต่ออีกว่าโดยทั่วไปนั้น คุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นสามารถแบ่งมุมมองออกได้ เป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. คุณภาพทางด้านเทคนิค
2. คุณภาพในด้านเวลา
3. คุณภาพทางจิตวิทยา
4. คุณภาพหลังการขาย
5. คุณภาพด้านคุณธรรมและจริยธรรม


ดังนั้นจึงขอเสนอมุมมองเริ่มต้นของการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จะทำให้เราเห็นภาพรวมในมุมกว้าง หรือกล่าวได้ว่าเป็นแผนที่โดยรวมของเส้นทางเพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย ทำให้สามารถจัดระบบรวมถึงจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำการวิจัยและพัฒนาได้อย่างตรงจุด องค์ประกอบอย่างคร่าวๆ นี้ ประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลัก ได้แก่

1. การกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Targets Identification)
การกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของความต้องการของลูกค้าและความเหมาะสมขององค์กรธุรกิจของตนเป็นสำคัญ แต่ถ้าหากสามารถกำหนดเป้าหมายผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์สูงได้ ก็นับได้ว่าเป็นความได้เปรียบสำหรับการแข่งขันเป็นอย่างยิ่ง
จากเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ที่ได้ ยังต้องอาศัยรายละเอียดของข้อมูลทางเทคนิคของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจำเป็นต้องเรียนรู้กันโดยทั่วไป ได้แก่
1.1 หลักการพื้นฐาน (Basic concept) ได้แก่ หลักการทำงาน หลักการออกแบบ หลักการทางวิชาการ การคำนวณทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
1.2 หลักการผลิต (Manufacturing Concept) ได้แก่ วิธีการผลิต ชนิดของเครื่องจักร ชนิดของวัตถุดิบ หรือวัสดุต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานการทดสอบ ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ของหลักการผลิตจะมีแง่มุมของความหลากหลายมากกว่าหลักการพื้นฐานอยู่มาก

เมื่อได้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์อย่างครบถ้วนมากที่สุดแล้ว เราจะต้องทำความเข้าใจกับข้อมูลเหล่านั้นอย่างถ่องแท้เสียก่อน เนื่องจากว่า ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ถือเป็นพื้นฐานสำหรับข้อมูลด้านอื่นๆ ต่อไป และนอกจากข้อมูลของผลิตภัณฑ์โดยตรงแล้ว บางครั้งอาจจำเป็นต้องหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้หลักการพื้นฐานหรือหลักการผลิตที่คล้ายคลึงกัน เนื่องจากว่าข้องมูลของผลิตภัณฑ์อื่น อาจจะมีประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราในแง่ของการประยุกต์ใช้งาน บางกรณีอาจถึงขั้นทำให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่เลยก็เป็นได้

2. แนวทางของการดำเนินการ (Ways to Targets)
วิธีการวิจัยและพัฒนาใดๆ ก็ตามที่ตั้งอยู่บนรากฐานของความปลอดภัย (Safety) ของชีวิตและทรัพย์สิน ก็จะถือว่าวิธีการวิจัยและพัฒนาดังกล่าวนั้นเป็นวิธีการที่ถูกต้องทั้งสิ้น” ซึ่งยังต้องการข้อมูลพื้นฐานในการพิจารณาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่
2.1 พิจารณาจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน อาศัยตำรา เอกสารทางวิชาการ และอินเตอร์เนท
2.2 พิจารณาจากผู้มีประสบการณ์ด้านนั้นๆ โดยทั่วไปจะหาได้จากบุคลากรภายในองค์กร โดยยึดหลักความสอดคล้องกับเทคโนโลยีของตนเป็นหลัก
2.3 พิจารณาจากสมมุติฐานของตนเอง คือการคาดเดาอย่างมีเหตุผล ที่ต้องการการพิสูจน์ต่อไป
2.4 พิจารณาจากความเหมาะสมขององค์กร ได้แก่ นโยบาย ทิศทางของตลาด ซึ่งจะต้องได้จากการประชุม ปรึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวิจัยและพัฒนา ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญ มีความหลากหลาย และไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานจะให้ความสำคัญต่อปัจจัยใดเป็นหลัก ถึงอย่างไรก็ตามข้อมูลสำคัญต่างๆ ทั้งหมดนี้อาจจะยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเราก็เป็นได้

3. บุคลากรที่มีศักยภาพ (Potential Man)
บุคลากรเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญมากที่สดสำหรับการวิจัยและพัฒนาทุกประเภท ผลสำเร็จหรือความล้มเหลวมากกว่า 80-90% เกิดจากตัวบุคลากรทั้งสิ้น แต่มิได้หมายความว่าจะต้องให้ความสำคัญกับบุคคลเหล่านี้เป็นพิเศษเหนือกว่าบุคลากรฝ่ายอื่นๆ ทุกสิ่งทุกอย่างมักจะมีจุดสมดุลของตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งระบบการจัดการสมัยใหม่ เช่น ระบบบริหารคุณภาพ หรือวิธีการจัดการภายในของฝ่ายวิจัยและพัฒนาเอง ก็เป็นระบบบริหารที่จัดวางรูปแบบของการวิจัยพัฒนาให้เป็นระบบ สามารถสืบค้นย้อนกลับได้ มีการจัดประชุมแลกเปลี่ยนความรู้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้สามารถถ่ายเทความรู้จากคนหนึ่งไปสู่ผู้อื่นได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ถึงแม้ว่าจะไม่มีระบบการจัดการใดที่ สามารถให้แนวทางความคิดความอ่าน และจินตนาการกับมนุษย์ได้ แต่ระบบการจัดการประเภทนี้ก็สามารถจัดการเพื่อไม่ให้ทุกสิ่งทุกอย่างถูกรวมอยู่ในตัวของคนเพียงคนเดียว ซึ่งก็เป็นการช่วยลดความเสี่ยงขององค์กรธุรกิจในยามที่ต้องขาดแคลนบุคคลเหล่านี้ไป ให้ไม่ต้องเสียเวลามานั่งนับหนึ่งใหม่ พอจะสรุปลักษณะต่างๆ ของบุคคลที่เหมาะกับงานนี้ได้ ดังนี้
3.1 เป็นคนมีความรู้พื้นฐานเหมาะสมกับงาน
3.2 เป็นคนที่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพิ่มเติมได้
3.3 เป็นคนที่มองได้ทั้งภาพรวมและภาพเฉพาะ
3.4 เป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
3.5 เป็นคนที่มีทักษะการประยุกต์สูง

องค์กรจะต้องพิจารณาจากศักยภาพของบุคลากรเหล่านี้มากกว่าจำนวนของบุคลากร และบุคลากรเหล่านี้ต้องได้รับการฝึกฝนและฝึกอบรมอยู่ตลอดเวลาทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพ่อปรับทัศนคติ สร้างความรู้ ความเข้าใจ และเปิดวิสัยทัศน์ให้กับบุคลากรเหล่านี้

4. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็น (Needed Equipment)
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องใช้งานเหล่านี้มีราคาแพง แต่องค์กรธุรกิจไม่จำเป็นต้องจัดหามาเป็นเจ้าของทั้งหมด จัดหาเท่าที่จำเป็นในการใช้งาน ที่เหลือเพียงแต่ไปขอใช้บริการเครื่องมือต่างๆ จากสถาบันศึกษา หรือสถาบันวิจัยต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศรวมถึงต่างประเทศได้
บุคลากรผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ จะต้องมองภาพรวมของการใช้เครื่องมือต่างๆ ให้ชัดเจน โดยต้องสรุปให้ได้ว่า เราต้องการอะไรและจำเป็นต้องใช้เครื่องมือชนิดใดในการวิเคราะห์ ซึ่งถ้าเครื่องมือดังกล่าวไม่สะดวกจะสามารถใช้เครื่องมือตัวใดทดแทน ผละผลการวิเคราะห์จากเครื่องมือแต่ละตัวมีความน่าเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใดหรือมีข้อยกเว้นอะไรบ้าง ถ้าผลการวิเคราะห์จากเครื่องมือวิเคราะห์ชนิดนี้เป็นอย่างนี้แล้วจะต้องนำไปวิเคราะห์ต่อด้วยเครื่องมือชนิดใดอีก หรือในระหว่างการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือชนิดนี้อยู่ จะสามารถส่งไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องมืออีกชนิดหนึ่งไปพร้อมๆ กันได้หรือไม่ สรุปได้ว่า “ถ้าบุคลากรสามารถมองงานออกได้ตลอดทั้งกระบวนการ ก็จะสามารถลดปัญหาความซับซ้อนของการใช้เครื่องมือลงได้มาก เป็นการประหยัดเวลาและค่าใช่จ่ายที่เกิดจากการใช้เครื่องมือที่ไม่ตรงกับความต้องการ”


งาน R&D โดยทั่วไปมุ่งเน้นในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ การหาผลิตภัณฑ์ใหม่ การหาวัตถุดิบใหม่ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น ให้มีต้นทุนที่ถูกลง ให้การทำงานง่ายขึ้น

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงองค์ประกอบอย่างคร่าวๆ ที่จะทำให้ทุกท่านมองเห็นภาพของ R&D ได้ชัดเจนมากขึ้น และอาจจะทำให้ R&D staff ได้มองเห็นและคิดถึงภายในบางมุมที่อาจจะมองข้ามไป ข้อมูลทั้งหมดนี้ได้มาจากงานเขียนของ R&D Engineer ผู้มีประสบการณ์ท่านหนึ่งของ MTEC แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่โดย R&D Chemist …




 

Create Date : 07 มกราคม 2552
1 comments
Last Update : 7 มกราคม 2552 22:55:27 น.
Counter : 5305 Pageviews.

 

ข้อมูลมีประโยชน์มากครับ

 

โดย: edm (EDM ) 21 พฤศจิกายน 2560 14:29:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


เคมีรามคำแหง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เดิมเป็นนักเคมีทำงาน R&D ด้านยาง (rubber) กับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งได้สิบปี ...
... ตอนนี้มาทำงานด้านการขายและให้คำปรึกษา ...

ติดต่อได้ที่ 08-9114-8818 หรือทาง e-mail ครับ

ชอบออกกำลังกาย เล่นแบด ตีปิงปอง และเล่นเทนนิสได้
แต่ไม่ค่อยมีเวลาให้ได้ออกกำลังกายบ่อยๆ


.......

เราเชื่อเสมอว่าความรักเป็นสิ่งสวยงาม ...
Friends' blogs
[Add เคมีรามคำแหง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.