การพัฒนาชีวิตมีสามด้าน ด้านสิ่งแวดล้อมและกายภาพ ด้านจิตใจ ด้านความรู้เข้าใจชีวิต ดังนั้นเรามาพัฒนาชีวิตกันเถอะ
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
14 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
๙. คนประสบความสำเร็จ (ชีวิตที่ก้าวหน้าและสำเร็จ)

ผู้ที่ต้องการดำเนินชีวิตให้เจริญก้าวหน้าประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะในด้านการศึกษา หรืออาชีพการงานก็ตาม พึงปฏิบัติตามหลักต่อไปนี้
ก. หลักความเจริญ ปฏิบัติตามหลักธรรม ที่จะนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองที่เรียกว่า จักร (ธรรมประดุจล้อทั้งสี่ที่นำรถไปสู่จุดหมาย) ซึ่งมี ๔ข้อ คือ
๑. ปฏิรูปเทสวาสะ เลือกอยู่ถี่นที่เหมาะ คือ เลือกหาถิ่นที่อยู่ หรือแหล่งเล่าเรียนดำเนินชีวิตที่ดีซึ่งมีบุคคลและสิ่งแวดล้อมที่อำนวยแก่การศึกษา พัฒนาชีวิต การแสวงธรรมหาความรู้ การสร้างสรรค์ความดีงาม และความเจริญก้าวหน้า
๒. สัปปุริสูปัสสยะ เสาะเสวนาคนดี คือ รู้จักเสวนาคบหา หรือร่วมหมู่กับบุคคลผู้รู้ ผู้ทรงคุณ และผู้ที่จะเกื้อกูลแก่การแสวงธรรมหาความรู้ ความก้าวหน้างอกงาม และความเจริญโดยธรรม
๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ถูกวิธี คือ ดำรงตนมั่นอยู่ในธรรมและทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ตั้งเป้าหมายชีวิตและการงานให้ดีงามแน่ชัด และนำตนไปถูกทางสู่จุดหมาย แน่วแน่ มั่นคง ไม่พร่าส่าย ไม่ไถลเชือนแช
๔. ปุพเพกตปุญญตา มีทุนดีได้เตรียมไว้ ทุนดีส่วนหนึ่ง คือ ความมีสติปัญญา ความถนัด และร่างกายดี เป็นต้น ที่เป็นพื้นมาแต่เดิม และอีกส่วนหนึ่ง คือ อาศัยพื้นเดิมเท่าที่ตัวมีอยู่ รู้จักแก้ไขปรับปรุงตน ศึกษาหาความรู้สร้างเสริมคุณสมบัติ ความดีงาม ฝึกฝนความชำนิชำนาญเตรียมไว้ก่อนแต่ต้น ซึ่งเมื่อมีเหตุต้องใช้ก็จะเป็นผู้พร้อมที่จะต้อนรับความสำเร็จ สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์สุข และก้าวสู่ความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

(องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๓๑/๔๑)


ข. หลักความสำเร็จ ปฏิบัติตามหลักธรรม ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จแห่งกิจการนั้นๆ ที่เรียกว่า อิทธิบาท (ธรรมให้ถึงความสำเร็จ) ซึ่งมี ๔ ข้อ คือ
๑. ฉันทะ มีใจรัก คือ พอใจจะทำสิ่งนั้น และทำด้วยใจรัก ต้องการทำให้เป็นผลสำเร็จอย่างดีแห่งกิจหรืองานที่ทำ มิใช่สักว่าทำพอให้เสร็จๆ หรือเพียงเพราะอยากได้รางวัลหรือผลกำไร
๒. วิริยะ พากเพียรทำ คือ ขยันหมั่นประกอบ หมั่นกระทำสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน เอาธุระ ไม่ทอดทิ้ง ไม่ท้อถอย ก้าวไปข้างหน้าจนกว่าจะสำเร็จ
๓. จิตตะ เอาจิตฝักใฝ่ คือ ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด ไม่ปล่อยจิตใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย ใช้ความคิดในเรื่องนั้นบ่อยๆ เสมอๆ ทำิกิจหรืองานนั้นอย่างอุทิศตัวอุทิศใจ
๔. วิมังสา ใช้ปัญญาสอบสวน คือ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหย่อนเกินเลยบกพร่องขัดข้องเป็นต้น ในสิ่งที่ทำนั้น โดยรู้จักทดลอง วางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น เพื่อจัดการและดำเนินงานนั้นให้ได้ผลดียิ่งขึ้นไป
ตัวอย่างเช่น ผู้ทำงานทั่วๆ ไป อาจจำสั้นๆ ว่า รักงาน สู้งาน ใส่ใจงาน และ ทำงานด้วยปัญญา

(ที.ปา. ๑๑/๒๓๑/๒๓๓)


ค. หลักเผล็ดโพธิญาณ ดำเนินตามพระพุทธปฏิปทา ด้วยการปฏิบัติตามธรรม ๒ อย่างที่เป็นเหตุให้พระองค์บรรลุสัมโพธิญาณ เรียกว่า อุปัญญาตธรรม (ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติเห็นคุณประจักษ์กับพระองค์เอง) คือ
๑. อสนฺตุฎฐิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ ไม่สันโดษในกุศลธรรม คือ ไม่รู้อิ่ม ไม่รู้พอ ในการสร้างสรรค์ความดีและสิ่งที่ดี
๒. อปฺปฏิวาณิตา จ ปธานสฺมิํ บำเพ็ญเพียรไม่ระย่อ คือ เพียรพยายามก้าวหน้าเรื่อยไป ไม่ยอมถอยหลัง ไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมท้อถอยต่ออุปสรรค และความเหน็ดเหนื่อยยากลำบาก

(ที.ปา. ๑๑/๒๒๗/๒๒๓)




Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2553 6:03:21 น. 1 comments
Counter : 1074 Pageviews.

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: CrackyDong วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:6:33:47 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ไม้แดง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง (หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
Friends' blogs
[Add ไม้แดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.