การพัฒนาชีวิตมีสามด้าน ด้านสิ่งแวดล้อมและกายภาพ ด้านจิตใจ ด้านความรู้เข้าใจชีวิต ดังนั้นเรามาพัฒนาชีวิตกันเถอะ
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
10 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

๖. คนมีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี (สมาชิกที่ดีของรัฐ)

สมาชิกของรัฐผู้มีส่วนร่วมให้เกิดการปกครองที่ดี โดยเฉพาะคนในสังคมประชาธิปไตย พึงรู้หลักและปฎิบัติดังนี้
ก. รู้หลักอธิปไตย คือ รู้หลักความเป็นใหญ่ที่เรียกว่า อธิปไตย ๓ ประการ ดังนี้
๑. อัตตาธิปไตย ถือตนเป็นใหญ่ คือ ถือเอาตัวเอง ฐานะ ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ ของตนเป็นใหญ่ กระทำการด้วยปรารภตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตนเป็นประมาณ ในฝ่ายกุศล ได้แก่ เว้นชั่วทำดีด้วยเคารพตน
๒. โลกาธิปไตย ถือโลกเป็นใหญ่ คือ ถือความนิยมของชาวโลกเป็นใหญ่ หวั่นไหวไปตามเสียงนินทาและสรรเสริญ กระทำการด้วยปรารภจะเอาใจหมู่ชน หาความนิยม หรือหวั่นกลัวเสียงกล่าวว่าเป็นประมาณ ในฝ่ายกุศล ได้แก่เว้นชั่วทำดี ด้วยเคารพเสียงหมู่ชน
๓. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ คือถือหลักการ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม เหตุผลเป็นใหญ่ กระทำการด้วยปรารภสิ่งที่ได้ศึกษาตรวจสอบตามข้อเท็จจริง และความคิดเห็นที่รับฟังอย่างกว้างขวางแจ้งชัด และพิจารณาอย่างดีที่สุด เต็มขีดแห่งสติปัญญาจะมองเห็นได้ด้วยความบริสุทธิ์ใจว่า เป็นไปโดยชอบธรรม และเพื่อความดีงาม เป็นประมาณอย่างสามัญ ได้แก่ ทำการด้วยความเคารพหลักการ กฎ ระเบียบ กติกา
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ถ้าต้องการรับผิดชอบต่อรัฐประชาธิปไตย พึงถือหลักข้อ ๓ คือ ธรรมาธิปไตย

(ที.ปา. ๑๑/๒๒๘/๒๓๑)


ในอธิปไตยสูตร (องฺ.ติก. ๒๐/๔๗๙/๑๘๖) พระพุืทธเจ้าทรงแสดงความหมายของ อธิปไตย ๓ เฉพาะในแง่การปฎิบัติธรรมของพระภิกษุ แต่ความหมายเช่นนั้นอาจถือได้ว่า เป็นคำอธิบายเฉพาะกรณีหรือเป็นตัวอย่าง ดังจะเห็นว่า ธรรมาธิปไตย์ เป็นธรรมข้อหนึ่งของพระเจ้าจักรพรรดิ (ดูบทที่ ๗) เป็นคุณสมบัติของนักปกครอง เช่นเดียวกับที่เป็นคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า (องฺ.ติก. ๒๐/๔๕๓/๑๓๙; องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๓๓/๑๖๙) ในวิสุทธิมคฺค (๑/๑๒, ๑๖) ท่านจำแนกศีลเป็น ๓ ประเภท ตามอธิปไตย ๓ นี้ นอกจากนั้น พระอรรถกถาจารย์มักใช้ อัตตาธิปไตย และโลกาธิปไตย เป็นคำอธิบายความหมายของหิริ และโอตตัปปะ (ที.อ. ๓/๒๑๕; ม.อ.๒/๔๒๒; อิติ.อ. ๒๐๕; ชา.อ.๑/๑๙๘) ส่วนในหนังสือนี้ได้นำมายักเยื้องอธิบ่ยในแง่ของการปกครองทั้ง ๓ ข้อ เพราะเข้ากับเรื่องนี้ได้ดี และมองให้เห็นประโยชน์อีกด้านหนึ่ง

ข. มีส่วนในการปกครอง โดยปฎิบัติตามหลักการร่วมรับผิดชอบที่จะช่วยป้องกันความเสื่อม นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองโดยส่วนเดียว ที่เรียกว่า อปริหานิยธรรม ๗ ประการ คือ
๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พบปะปรึกษาหารือกิจการงาน (ที่พึงรับผิดชอบตามระดับของตน) โดยสม่ำเสมอ
๒. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจทั้งหลายที่พึงทำร่วมกัน
๓. ไม่ถืออำเภอใจใครต่อความสะดวก บัญญัติวางข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ อันมิได้ตกลงบัญญัติวางไว้ และไม่เหยียบย่ำล้มล้างสิ่งที่ตกลงวางบัญญัติกันไว้แล้ว ถือปฎิบัติมั่นอยู่ในบทบัญญัติใหญ่ที่วางไว้เป็นธรรมนูญ
๔. ท่านผู้ใดเป็นผู้ใหญ่มีประสบการณ์ยาวนาน ให้เกียรติเคารพนับถือท่านเหล่านั้น มองเห็นความสำคัญแห่งถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันพึงรับฟัง
๕. ให้เกียรติและคุ้มครองกุลสตรี มิให้มีการข่มเหงรังแก
๖. เคารพบูชาสักการะเจดีย์ ปูชนียสถาน อนุสาวรีย์ประจำชาติ อันเป็นเครื่องเตือนความทรงจำ เร้าให้ทำดี และเป็นที่รวมใจของหมู่ชน ไม่ละเลยพิธีเคารพบูชาอันพึงทำต่ออนุสรณ์สถานเหล่านั้นตามประเพณี
๗. จัดการให้ความอารักขา บำรุง คุ้มครอง อันชอบธรรม แก่บรรพชิตผู้ทรงศีลทรงธรรมบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นหลักใจและเป็นตัวอย่างทางศีลธรรมของประชาชน เต็มใจต้อนรับและหวังให้ท่านอยู่โดยผาสุก

(ที.ม. ๑๐/๖๘/๘๖)


นอกจากนี้ พึงประพฤติตนเป็นผู้ครองเรือนและหัวหน้าครอบครัวที่ดี ตามหลักปฎิบัติในบทที่ ๑๒ ว่าด้วยคนครองเรือนที่เลิศล้ำ โดยเฉพาะข้อ จ. ครองตนเป็นพลเมืองที่ดี




 

Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2553
1 comments
Last Update : 12 กุมภาพันธ์ 2553 10:01:38 น.
Counter : 386 Pageviews.

 

whenever you felt that your heart is going to breakdown
feel it with the love of God ask for his and then you will
find out what is the truth love in Your life as he does for me!

 

โดย: da IP: 203.144.144.165 10 กุมภาพันธ์ 2553 22:43:04 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ไม้แดง
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น และเป็นกลาง (หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
Friends' blogs
[Add ไม้แดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.