Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2550
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
5 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 
การบริจาคอวัยวะ


การบริจาคอวัยวะ


1 สภากาชาดไทย
//www.organdonate.in.th/asp/donate.asp

แบบฟอร์มใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ ( หัวใจ ตับ ไต ปอด และอื่นๆ) //www.redcross.or.th/donation/organ_donation_form.pdf




การอุทิศอวัยวะจะต้องแสดงความยินยอมขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

โดยการกรอกใบแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะ หรือญาติจะเป็นผู้แสดงความยินยอมมอบอวัยวะนั้นเพื่อเป็นทานให้กับศูนย์รับบริจาค

บุคคลที่ต้องการบริจาคอวัยวะควรมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดดังนี้ค่ะ

1. ผู้บริจาคอวัยวะต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
2. เสียชีวิตจากภาวะสมองตายด้วยสาเหตุต่างๆ
3. ปราศจากโรคติดเชื้อ และโรคมะเร็ง
4. ไม่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน, หัวใจ, โรคไต, ความดันโลหิตสูง, โรคตับ และไม่ติดสุรา
5. อวัยวะที่จะนำไปปลูกถ่ายต้องทำงานได้ดี
6. ปราศจากเชื้อที่ถ่ายทอดทางการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี, ไวรัสเอดส์ ฯลฯ

อวัยวะใหม่ที่สามารถนำมาปลูกถ่าย ได้แก่
หัวใจ, ตับ, ไต, ปอด, ตับอ่อน, กระดูก ฯลฯ


ปัญหาสำคัญคือ

จำนวนผู้ป่วยที่ต้องรับการปลูกถ่ายอวัยวะมีอยู่มาก แต่จำนวนผู้ที่บริจาคอวัยวะมีน้อย และยังต้องให้ตายเสียก่อนจึงจะเอาอวัยวะของผู้บริจาค มาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยได้ ยกเว้นเพียงอวัยวะเดียว คือ ไต ซึ่งมีอยู่ 2 ข้าง จึงอาจผ่าตัดมาให้กันได้ขณะมีชีวิตอยู่ โดยผู้บริจาคต้องเป็นญาติร่วมสายโลหิต หรือคู่สมรสที่แต่งงานกันมาอย่างน้อย 3 ปี

ประชากรของไทยมีกว่า 61 ล้านคน
แต่มีผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะเพียงแสนกว่าคน ซึ่งโอกาสที่จะได้อวัยวะจากผู้บริจาคเหล่านี้มีน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่มักมีอายุยืน กว่าจะตายก็อาจมีอวัยวะที่ชราภาพมากแล้ว ใช้งานได้ไม่ค่อยดี ต้องเป็นผู้ที่ตายจากอุบัติเหตุในวัยหนุ่มสาว จึงมีอวัยวะที่ค่อนข้างเหมาะสมแด่การปลูกถ่ายให้ผู้อื่น

ในโรงพยาบาลของรัฐหลายแห่ง มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุปีละหลายร้อยคน แต่ไม่สามารถนำอวัยวะของเขามาใช้ได้ เพราะเขาไม่ได้พกบัตรประจำตัว ผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะ ซึ่งอาจเป็นเหตุจากที่เขาไม่เคยบริจาค หรือมีบัตรบริจาคแต่ไม่สามารถนำมาประกอบการขอผ่าตัดบริจาคไม่ได้ทันท่วงที


อนึ่งโปรดทราบว่า

การซื้อขายอวัยวะ ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายไทย
และขัดต่อหลักจริยธรรมทางแพทย์

ศาสตราจารย์ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา กล่าวว่า การปลูกถ่ายอวัยวะมีขั้นตอนชัดเจน

ใครก็ตามไปตัดอวัยวะ จากคนที่ยังไม่เสียชีวิต
หรือคนที่แพทย์ยังไม่ได้ลงความเห็นว่า สมองตาย ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายฐานฆ่าคนตาย โดยไม่ไตร่ตรองไว้ก่อน


การแสดงความจำนง ในการบริจาคอวัยวะ

1. กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะให้ชัดเจน ที่อยู่ควรจะตรงกับทะเบียนบ้าน (หากต้องการให้ส่งบัตรประจำตัวไปยังสถานที่อื่น กรุณาระบุ)

2. เมื่อศูนย์รับบริจาคอวัยะฯ ได้รับข้อความแสดงความจำนงบริจาคอวัยวะของท่านแล้ว ศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ จะส่งบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะให้ตามที่อยู่ที่ได้ระบุไว้

4. หลังจากที่ท่านได้รับบัตรประจำตัวผู้มีความจำนงบริจาคอวัยวะจากศูนย์รับบริจาคอวัยวะฯ แล้ว อย่าลืมกรอกชื่อ และรายละเอียดการบริจาคลงในบัตร

5. กรุณาเก็บบัตรประจำตัวผู้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้กับตัวท่าน หากสูญหายกรุณาติดต่อกับศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาดไทย

กรุณาแจ้งเรื่องการบริจาคอวัยวะแก่บุคคลในครอบครัวหรือญาติให้รับทราบ


การบริจาคไต ขณะผู้บริจาคยังมีชีวิตอยู่

ผู้บริจาค ต้องได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจ ปัสสาวะ อัลตราซาวน์ ตรวจคลื่อนหัวใจอย่างละเอียด เพื่อให้มีความแน่ชัดว่ามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีความเสี่ยงน้อยที่สุด

ผู้บริจาคต้องมีความเข้าใจในเรื่อง
การบริจาค มีความตั้งใจ เต็มใจ ที่จะช่วยเหลืออย่างบริสุทธิ์ใจ
ปราศจากอามิสสินจ้างตอบแทน


ภายหลังการบริจาคไต ผู้บริจาคไตจะเป็นอย่างไรบ้าง

ผู้บริจาคไตจะเหลือไตเพียงข้างเดียว
หลังการผ่าตัดเพียงพักฟื้น 2-4 สัปดาห์ ก็จะสามารถทำงานได้ตามปกติ
ผู้บริจาคจะยังคงมีสุขภาพปกติ แข็งแรงเหมือนคนที่มีไต 2 ข้างตามปกติ สามารถทำงาน ออกกำลังกาย เดินทาง และมีอายุยืนยาวเหมือนคนปกติ

เพียงแต่ควรระมัดระวังดูแลไตที่เหลือไม่ให้เกิดการติดเชื้อ ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนต่อไต

สถานที่ติดต่อ
ศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย
อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5 ถ.อังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 1666

รพ.ที่เป็นศูนย์รับบริจาคอวัยวะของรัฐมี 10 แห่ง คือ

รพ.จุฬาลงกรณ์, รพ.ศิริราช, รพ.รามาธิบดี,
รพ.พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, รพ.ราชวิถี, รพ.ภูมิพล,
รพ.วชิรพยาบาล, รพ.ตำรวจ, รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ และ รพ.ศรีนครินทร์ ขอนแก่น


108 คำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนไต
มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย
สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย
คลิก:108 คำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนไต

เวบ บริจาคร่างกายของสภากาชาด คลิก: บริจาคร่างกาย สภากาชาด


ไตวาย แต่ไม่ตายไว บทความจากประสบการณ์แพทย์โรคไต //web.ku.ac.th/saranaroo/chap20a.htm
โดย น.อ. ฉัตรชัย สุนทรธรรม
กองศัลยกรรม รพ. จันทรุเบกษา พอ.บนอ.
ร.ร. การบิน กำแพงแสน นครปฐม

คลิก:ไตวายไม่ตายไว

เรื่องให้อ่านเล่นๆ ค่ะ
จากเวบของ สสส.
กว่าจะได้...ชีวิตใหม่ของผู้รอรับบริจาคอวัยวะ


คลิก:กว่าจะได้ ชีวิตใหม่










Create Date : 05 มิถุนายน 2550
Last Update : 5 มิถุนายน 2550 17:37:46 น. 0 comments
Counter : 636 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

พิมพการัง
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




. .
Friends' blogs
[Add พิมพการัง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.