ลมหายใจของใบไม้
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
24 กันยายน 2553
 
All Blogs
 

:::รักอย่างไรให้เท่ารัก 5:::




โดย พญ.มณฑิรา พรศาลนุวัฒน์ จิตแพทย์

องค์ประกอบของความรัก

มีผู้อธิบายองค์ประกอบของความรักไว้หลายอย่าง
Sternberg (1986) กล่าวว่า ความรักมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
ความใกล้ชิดผูกพัน (Intimacy)
การอุทิศตัวต่อกัน (Commitment)
และอารมณ์รัก (Passion)

องค์ประกอบของความรัก ที่สำคัญ มีดังนี้

การอุทิศตนต่อกัน
ความผูกพัน
ความสนิทสนมอย่างลึกซึ้ง
การมองเห็นคุณค่าและส่วนที่ดีของอีกฝ่ายหนึ่ง
ความอดทน
การให้อภัย
อารมณ์รัก

อารมณ์รัก

อารมณ์รัก (Passion) คือ ความปรารถนา ที่ดึงดูดหญิงชายเข้าหากัน อารมณ์รักแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกโรแมนติก ความต้องการใกล้ชิดด้านกายภาพ กอด จูบ จับมือ รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์
ในระยะเริ่มต้น อารมณ์รักมักจะรุนแรงมาก และจะค่อยลดความรุนแรงลงเรื่อย ๆ (อย่างที่พ่อบ้านบางคนบอกว่าน้ำพริกถ้วยเก่า จืดจาง ต้องออกไปหาอารมณ์รักกับสาวน้อยหน้าใหม่ ใสปิ๊ง)
สำหรับผู้ชาย การแสดงออกซึ่งความรักจะเกี่ยวข้องกับความต้องการทางเพศเป็นอย่างมาก แต่ผู้หญิงมักถือว่า การแสดงออกซึ่งความรักและความห่วงใยนั้นมีความสำคัญกว่าการมีเพศสัมพันธ์

Physiology of love

ได้มีการศึกษาถึงโครงสร้างการทำงานของสมองและสารเคมีในร่างกายในขณะที่กำลังมีความรัก อยู่หลายชิ้น
Bartels A, Zeki S. ทำการวิจัยใน subject 17 คนซึ่งกำลังตกอยู่ในห้วงรัก โดยให้คนเหล่านั้นเข้าเครื่องตรวจ MRI scan พร้อมกับดูรูปถ่ายคนรักของตัวเอง ก่อนที่จะนำมาเปรียบเทียบกับผลตรวจเมื่อคนเหล่านั้นดูรูปถ่ายของเพื่อนสนิท 3 คนที่มีเพศเดียวกันกับคู่รักของตนตลอดจนมีอายุและระยะเวลาที่รู้จักกันมาพอ ๆ กับคู่รักด้วย ผลการศึกษาพบว่ามีการทำงานมากขึ้นของ foci ใน medial insula และ anterior cingulate cortex รวมทั้ง caudate nucleus และ putamen ทั้ง 2 ข้าง ในขณะที่ posterior cingulate gyrus และ amygdala ตลอดจน right-lateralized in the prefrontal, parietal และ middle temporal cortices มีการทำงานที่ลดลงอย่างชัดเจน ซึ่งตำแหน่งที่พบเหล่านี้ต่างออกไปจากที่พบในการศึกษาของอารมณ์ความรู้สึกอื่น ๆ จึงอาจสรุปได้ว่าการทำงานของอารมณ์รัก เกิดขึ้นที่สมองส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ
Marazziti D, Akiskal HS, Rossi A, Cassano GB. ได้ทำการศึกษาใน subject 20 คน ซึ่งเพิ่งตกหลุมรักในช่วง 6 เดือน เปรียบเทียบกับคนไข้ Obsessive Compulsive Disorder (OCD) ที่ไม่ได้รับการรักษา 20 คน และ control อีก 20 คน โดยนำมาตรวจวัดระดับ 5-HT transporter บริเวณ Platelet membrane ด้วยวิธี 3H-Par (3H-paroxetine) ผลการศึกษาพบว่า 3H-Par binding sites ในคนที่กำลังมีความรักและคนไข้ OCD มีปริมาณต่ำกว่า control อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คนที่กำลังอยู่ในห้วงของความรัก (early romantic phase of a love relationship) นั้นมีความหนาแน่นของ platelet 5-HT transporter ที่ลดลงกว่าคนปกติ เช่นเดียวกันกับคนไข้ OCD (นั่นอาจเป็นคำอธิบายที่ว่า เหตุใดคนมีความรักจึงชอบคิดซ้ำซากวกไปวนมาถึงคนรัก ไม่ต่างจากคนไข้ OCD)
Porges SW. กล่าวว่า วิวัฒนาการของ Autonomic Nervous System ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชั้นสูง ทำให้เกิดกระบวนการต่างๆทางอารมณ์ เช่น การเกี้ยวพาราสี, sexual arousal และความผูกพัน เชื่อว่า ระบบประสาทอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับความรัก ส่วนที่ 1 ได้แก่ Unmyelinated vagus nerve ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารและทำให้เกิดพฤติกรรม "อยู่เฉยๆ" (immobilized system) ส่วนที่ 2 ได้แก่ Sympathetic nervous system ซึ่งจะเป็นตัวเพิ่ม metabolic output และ inhibit visceral vagus ทำให้เกิดพฤติกรรม "หนี" หรือ "ต่อสู้" (fight or flight) ส่วนที่ 3 ได้แก่ Myelinated vagus ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม cardiac output โดยมีส่วนเชื่อมต่อกับ Cranial nerve ที่ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงออกของสีหน้าและการสนทนา
มีทฤษฎี Polyvagal Theory กล่าวถึงการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับความรัก ซึ่งมี 2 ขั้นตอน ได้แก่การเกี้ยวพาราสี และการดำรงความสัมพันธ์ โดยการเกี้ยวพาราสีจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสังคมและ Myelinated vagus ส่วนการดำรงความสัมพันธ์ จะมีความเกี่ยวข้องกับ Unmyelinated vagus ซึ่งทำหน้าที่ใน immobilized system และทำให้เกิดความรู้สึก "ปลอดภัย" หรือ "เชื่อใจ" ทฤษฎีดังกล่าวเชื่อว่า Vagus nerve มีการสื่อสารกับ hypothalamus ผ่านทาง oxytocin และ vasopressin ทำให้เกิด sexual arousal และความสัมพันธ์อันยืนนาน

Love and Affection

ความรักคือรูปแบบหนึ่งของอารมณ์ ใครบางคนได้เคยกล่าวไว้ว่า ความรัก คือ อารมณ์ที่สร้างปัญหาให้กับมนุษย์ ความรักเป็นอารมณ์ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ อันประกอบไปด้วยหลายขั้นและหลายองค์ประกอบที่ซับซ้อน ซึ่งได้แก่ Companionate และ Romantic Love
Romantic Love เป็นรูปแบบความรักที่มีความสอดคล้องกับวัฒนธรรมมาแต่โบราณโดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย Romantic Love มีส่วนเกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้น ความต้องการทางกายและสัญชาติญาณในการสืบเผ่าพันธุ์ จึงเป็นรากฐานของ Romantic Love
Love โดยทั่วไปหมายถึงความสัมพันธ์ในสังคม (social relationship) มากกว่าขบวนการหรือสภาวะทางอารมณ์ (Emotional process or state) เมื่อเรากล่าวว่าคนสองคนเป็นคู่รักกัน เราจะหมายถึงความสัมพันธ์ทางอารมณ์ที่มั่นคง ซึ่งอาจจะเป็นความรู้สึก "รัก" ภายใต้ภาวะที่เหมาะสม แต่ไม่จำเป็นว่าความรู้สึกนั้นจะต้องคงที่
ในความรักที่แท้จริง อาจจะมีความรู้สึกหลาย ๆ แบบปะปนกัน ตั้งแต่ ความหวัง ความหลงใหล ความโกรธ การวางเฉย ความเบื่อ ความรู้สึกผิด ความทุกข์ ขึ้นอยู่กับรูปแบบของปฏิสัมพันธ์กันระหว่างคู่รัก ในช่วงเวลาต่างๆ ความสัมพันธ์อาจเปลี่ยนจาก Romantic Love ไปเป็น Companionate Love หรือจาก Companionate Love ไปเป็น Romantic Love ก็ได้
Sternberg (1987) กล่าวว่า ความรัก มีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ความผูกพัน (Intimacy) ความหลงใหล (Passion) และข้อผูกมัด (Decision Making)

องค์ประกอบดังกล่าวเปรียบเสมือนมุมทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า อันเป็นตัวกำหนดรูปแบบของความรัก 8 ชนิด ได้แก่
1. เฉย (nonlove) เป็นความรู้สึกของคนทั่วไปในสังคมที่ไม่รู้จักกันมาก่อน
2. ชอบ (Liking) หมายถึง ความรู้สึกใกล้ชิดผูกพัน ต่ออีกบุคคลหนึ่ง แต่ปราศจากความหลงใหล หรือข้อผูกมัด
3. รักแรกพบ (Infatuated Love) เกี่ยวข้องกับความรู้สึกหลงใหล แต่ปราศจากความผูกพันหรือข้อผูกมัด
4. หมดรัก (Empty Love) เกิดจากการตัดสินใจผูกมัดที่ปราศจากความผูกพัน และความหลงใหล พบได้ในคู่รักที่คบกันมาสักระยะจนความรู้สึกถูกใจในรูปร่างหน้าตาเริ่มหมดไป
5. รักโรแมนติก (Romantic Love) ประกอบด้วยความหลงใหล ผูกพัน โดยปราศจากข้อผูกมัด
6. Fatuous Love เป็นความรักที่มีข้อผูกมัด และความรู้สึกหลงใหล แต่ปราศจากความผูกพัน
7. Consummate Love เป็นความรักที่มีองค์ประกอบครบทั้งสามด้าน คือทั้งความหลงใหล ข้อผูกมัด และความใกล้ชิดผูกพัน

Freud กล่าวว่า ความรัก ทำให้ได้มาซึ่งพลังอำนาจ และความรุนแรง
ฟรอยด์คิดว่าประสบการณ์และความรู้สึกจากวัยเด็ก จะมีผลต่อความสัมพันธ์ และความเข้าใจในความสัมพันธ์อื่น ๆ ในชีวิต

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อการเลือกบุคคลที่ตนจะมีความสัมพันธ์ด้วย (object choice) ดังที่ฟรอยด์ได้เคยอธิบายว่าการเลือกบุคคลที่จะมีความสัมพันธ์ด้วยอาจจะเป็นแบบ anaclitic ซึ่งเป็นการเลือกเพราะบุคคลที่ตนเลือกนั้นกระตุ้นให้ระลึกถึงบุคคลที่มีความสำคัญในอดีต หรือการเลือกแบบ narcissistic โดยการเลือกบุคคลที่มีลักษณะบางอย่างเหมือนตนเอง โดยที่ทั้งสองแบบนั้นอาจเป็นแบบบวก (positive way) คือเลือกคนที่เหมือนบุคคลในอดีตหรือเหมือนตน แบบลบ (negative way) คือเลือกคนที่ตรงกันข้ามกับบุคคลในอดีตหรือตนเอง และแบบอุดมคติ (ideal way) คือบุคคลที่ตนเลือกนั้นเป็นเหมือนดังที่ตนเองอยากให้บุคคลในอดีตหรือตนเองเป็น







 

Create Date : 24 กันยายน 2553
0 comments
Last Update : 24 กันยายน 2553 7:15:41 น.
Counter : 596 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Peakroong
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]





"หากต้องตัดสินใครสักคน

เริ่มจาก "ทำไม"คงจะดีกว่า"อย่างไร"

เพราะสิ่งที่มองเห็นไม่แน่ว่ามีอยู่จริง

สิ่งที่มองไม่เห็นใช่ว่าไม่มี

สิ่งที่คิดว่าใช่อาจไม่ใช่

สิ่งที่ไม่คิดว่าใช่สำหรับคุณ

มันอาจใช่เลยสำหรับใครอีกคน"


"
๐ ให้ลมหายใจของใบไม้เป็นบันทึกคนกล่อง
คำเขียนของคนล้มลุกคลุกคลาน
แต่ยังมีลมหายใจเป็นของตัวเอง
แม้ไม่ใช่ทุกอย่างที่มีหากเป็นทุกอย่างที่เป็น
เก็บความว่างเปล่าไว้เติมเต็ม..

๐ ขอบคุณตัวละครทุกตัว
ทั้งที่มีอยู่จริงและที่ไม่มีตัวตน
ขอบคุณวันเวลา-ครูบา-อาจารย์
ที่สอนให้เก็บเกี่ยว ฝึกให้คิด สอนให้เขียน

๐ ขอบคุณเพื่อนเพื่อนชาวไซเบอร์
ที่กรุยทางให้สร้างสรรรค์บล็อคได้เท่าใจ
ขอบคุณทุกภาพงดงามจากบล็อกน้องญามี่ขอบคุณ https://www.thaipoem.com
ที่ให้เพลงประกอบเป็นอมตะนิรันดร์กาล

๐ ขอบคุณความเป็นเธอ..
ที่ส่งผ่านการ"ให้"มาเสมอฝัน
ขอบคุณความเป็นฉัน..
คนเกี่ยวประสบการณ์ระหว่างวันมาถักทอ


'ปีฆรุ้ง
27 มกราคม 2553


Friends' blogs
[Add Peakroong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.