พฤศจิกายน 2551

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
15
16
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
พจนานุกรมศัพย์ดนตรี หมวด ตัว S-Z
:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวS:::

-----------------------------------------------
Saltando (ซาลแทนโด)
ใช้คันชักสั้น ๆ เต้นไปบนสายเร็ว ๆ

Saltarello or salterello (It. ซาลตาเรลโล)
การเต้นรำแบบอิตาเลียนในศตวรรษที่ 16 มาจากคำว่า saltare มีความหมายว่ากระโดดดนตรีจะมีลักษณะนุ่มและรวดเร็วอยู่ในจังหวะประเภทนับสาม (สามจังหวะในหนึ่งห้อง) การเต้นรำแบบซาลตาเรลโลยังคงเป็นที่นิยมกันในศตวรรษที่19 แต่เป็นการเต้นรำที่มีความรุนแรงขึ้นคำว่าซาลตาเรลโล เคยใช้เรียกชื่อการเต้นรำมาตั้งแต่ตอนต้นศตวรรษที่ 20 แล้ว

Samba (แซมบ้า)
เพลงเต้นรำที่เป็นที่นิยมกันในรูปแบบของลาตินอเมริกัน

Saraband (ซาราบานด์), sarabanda (It. ซาราบานตา), sarabande (Fr. ซาราบานด์)
การเต้นรำที่สง่างามของศตวรรษที่ 16,17 และ 18 เป็นเพลงเต้นรำในจังหวะช้าประเภทนับสาม (สามจังหวะในหนึ่งห้อง)มักจะมีการเน้นหรือเป็นโน้ตตัวยาวในจังหวะที่สองเชื่อกันว่าการเต้นรำแบบนี้มาจากทางตะวันออกและมีรากฐานมาจากการเต้นรำที่แสดงความรักอย่างดูดดื่มรุนแรง การเต้นรำแบบซาราบานด์นี้ถูกนำเข้ามาในประเทศสเปนราวต้นปีค.ศ.1500ต่อมาก็มาปรากฏในประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสพร้อม ๆ กับมีแบบการเต้นที่ลดความรุนแรงลงเล็กน้อยจนในที่สุดก็กลายเป็นการเต้นรำที่มีความสง่างามดังจะพบได้ในเพลงสวีทของบาค

Saxhorn (แซกฮอร์น)
ตระกูลเครื่องเป่าประเภทแตรทองเหลืองที่มีส่วนปากเป่าเป็นรูปถ้วยท่อแตรมีลักษณะรูปกรวยและมีลูกสูบด้วยอด็อฟแซกเป็นผู้นำมาใช้ในปี ค.ศ.1845 มีทั้งหมด 7 ชนิดขนาดตั้งแต่เครื่องเสียงต่ำเบสจนถึงเสียงสูงเทร็บเบิ้ล

Saxophone (แซกโซโฟน)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ชนิดที่ทำด้วยโลหะประกอบด้วยลิ้นปี่เดี่ยวและท่อแบบกรวย อด็อฟแซกเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1840 ในประเทศเบลเยี่ยมมีลักษณะเสียงกลมกล่อมและเต็มเสียงเครื่องดนตรีแซกโซโฟนทุกชนิดล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องดนตรีที่ต้องย้ายคีย์

Scale (สเกล)
หมายถึงบันไดเสียง อนุกรมของเสียงซึ่งจัดเรียงไปตามลำดับ มาจากภาษาอิตาเลียน scala หมายถึง บันได ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ไดอาโทนิกสเกล
1.1 เมเจอร์
1.2 ไมเนอร์
2. โครมาติกสเกล

Scale degrees(สเกล ดีกรี)
ระดับขั้นบันไดเสียง ส่วนประกอบแต่ละส่วนของบันไดเสียง

Scherzando (It. สแคร์ซานโด)
ลักษณะขี้เล่น ,ตลก

Scherzo (It. สแกร์โซ)
ขบวนหนึ่งในบทเพลงที่มีลักษณะขี้เล่นสนุกสนานอยู่ในจังหวะรวดเร็วประเภทนับสาม (สามจังหวะในแต่ละห้อง)เบโธเฟนเป็นผู้นำสแกรโซเข้าไปแทนที่มินนูเอ็ดที่ใช้กันมาตั้งแต่ดั้งเดิมในบทเพลงประเภทซิมโฟนีและโซนาตาจำนวนมากของเขาโชแปงและบราห์มส์ได้แต่งบทประพันธ์หลายบทที่มีลักษณะอย่างเอางานเอาการ โดยใช้ชื่อว่า "สแกร์โซ"

Schlag (Ger.สแกร์ลา)
จังหวะเคาะ Beat.

Schnell (Gr. ชเนล)
เร็ว

Schottische (Gr. ชอทติสซ์)
การเต้นรำแบบลักษณะวงกลมในศตวรรษที่ 19 เหมือนการเต้นรำแบบโพลก้าอย่างช้า เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศอังกฤษว่า ''เยอรมันโพลก้า'' ชอทติสซ์นี้ปกติ จะอยู่ในจังหวะประเภทนับสอง (สองจังหวะในหนึ่งห้อง)

Schwer (Ger. ชแวร์)
หนักแน่น ,ครุ่นคิด

Sec (Fr. เสก)
ในแบบสั้น ๆ มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสที่มีความหมายว่า ''แห้ง"

Second (เซ็คเคินด์)
ระยะขั้นคู่เสียงไดอาโทนิกระหว่างสองเสียงที่อยู่ใกล้ชิดติดกันเมเจอร์เซ็คเคินด์ (คู่สองเมเจอร์) ไมเนอร์เซ็คเคินด์ (คู่สองไมเนอร์)

Second inversion (เซ็คเคินด์ อินเวอร์ชัน)
การพลิกกลับครั้งที่สอง การเรียงตัวกันใหม่ของคอร์ดเพื่อให้โน้ตตัวที่ 5 อยู่ในแนวเสียงที่ต่ำสุด

Segno (It. เซกโน)
เครื่องหมาย al segno หมายถึง ให้ไปที่เครื่องหมาย dal segno หมายถึง จากเครื่องหมาย ตัวย่อคือ D.S.

Segue (It. เซกูเอ, 'it follows')
ตามมา

Seguidilla (Sp. เซกีตียา)
เพลงเต้นรำแบบสเปนในจังหวะประเภทนับสาม (สามจังหวะในหนึ่งห้อง) มักจะอยู่ในคีย์ไมเนอร์ เพลงเซกีดียาปกติแล้วจะมีการคลอประกอบด้วยกีตาร์ เสียงร้องและกรับสเปน จะเห็นการเต้นรำแบบนี้ได้จากองค์ที่หนึ่งของอุปรากรเรื่อง คาร์เมน ของ จอร์ซบีเซ่

Sehr (Ger. เซ)
มาก ,อย่างยิ่ง

Semibreve (เซมิเบรเว)
หมายถึงโน้ตตัวกลม

Semiquaver (เซมิเควเว่อร์)
หมายถึง โน้ตเขบ็ตสองชั้น

Semicadence (เซมิเคเดนซ์)
ลูกจบกลางจุดพักบนคอร์ด ๆ หนึ่งที่ไม่ใช่คอร์ด I ซึ่งมีลักษณะไม่สมบูรณ์และสร้างแรงผลักดันให้เกิดทำนองเพลงเพิ่มเติม

Semitone (เซมิโทน)
ครึ่งเสียง

Semplice (It. เซมปลิเซ)
เรียบง่าย

Semplicemente (It. เซมปลิเซเมนเต)
สบาย ๆ ธรรมดา

Sempre (It. เซมเปร)
เป็นอยู่เสมอ ,ตลอดเวลา

Sentimento (It. เซนติเมนโต)
มีความรู้สึกไวอ่อนไหว

Senza (It. เซนซา)
ไม่มี, ปราศจาก

Septet (เซพเต็ต)
ลักษณะของวงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคหรือการขับร้องที่ประกอบด้วยผู้เล่น 7 คน

Sequence (ซีเควนซ์)
ลักษณะการซ้ำทำนอง (บางครั้งก็มีการแปรผันไปบ้าง) โดยเริ่มที่ระดับเสียงต่างกันในแต่ละครั้งที่ซ้ำ

Serenade (เซเรเนด)
1. เพลงที่มีลักษณะไปทางด้านความรัก หรือเพลงยามเย็น
2. บทประพันธ์ที่แต่งไว้สำหรับการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มเครื่องสายและเครื่องลมไม้

Seventh (เซเว่นท์)
ขั้นคู่เสียงในลักษณะคู่เจ็ดจากบันไดเสียงแบบไดอาโทนิก

Seventh chord (เซเว่นท์คอร์ด)
คอร์ดที่ประกอบด้วยตัวพื้นต้นขั้นคู่สามขั้นคู่ห้าและขั้นคู่เจ็ด

Sforzata (It. สฟอร์ซาตา)
เน้น

Sforzato (It. สฟอร์ซาโต) Sforzando (It. สฟอร์ซานโด)
การเน้นหรือการย้ำอย่างทันทีทันใด ใช้กำลังคำย่อคือ sfs, sf.

Sfumato (สฟูเมโต)
เบาลงและค่อย ๆ จางหายไป

Sharp (ชาร์ป) #
เครื่องหมายแปลงเสียงเมื่อวางไว้ข้างหน้าโน้ตจะทำให้เสียงสูงขึ้นครึ่งเสียงในลักษณะโครมาติก

Siciliano (It. ซิชิเลียยาโน) Sicilienne (Fr. ซิซิเลี่ยน)
เพลงเต้นรำแบบซิซิเลียนในศตวรรษที่ 17 และ 18 ในจังหวะ u หรือ ตามปกติเพลงซิซิเลียน จะประกอบด้วยแนวทำนองแบบเพลงร้องและเสียงคลอประกอบที่ต่อเนื่องกันไปของคอร์ดแบบโบรคเค่น มักปรากฏในขบวนช้าของบทเพลงสวีทชุดแรก ๆ ของโคเรลลี และเจ .เอส .บาค

Sight-reading or sight-singing (ไซค์รีดดิ้ง หรือ ไซค์ซิงกิ้ง)
การเล่นดนตรีหรือร้องเพลงจากโน้ต โดยที่ไม่เคยเล่นหรือร้องเพลงนั้นมาก่อน

Signature (ซิกเนเจอร์)
สัญลักษณ์ที่บอกคีย์

Simile (It. ซิมิเล)
แบบเดียวกันดำเนินต่อไปด้วยวิธีเดียวกันโดยมีแบบตัวโน้ตและวลีเพลงเป็นหลักในการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คำย่อคือ sim.

Simple time (ซิมเปิลไทม์)
อัตราจังหวะธรรมดา อัตราจังหวะที่มีจังหวะพื้นฐานในใจแบ่งย่อยออกเป็น 2 จังหวะ เช่น h, o, k

Sin 'al fine (It. ซินัล ฟิเน)
จนจบ

Segno (It. เซ็นโย)
เครื่องหมายที่ใช้สำหรับย้อยเมื่อถึงเครื่องหมายนี้อีกครั้ง

Singend (Ger. ซินเก็นด์)
ในลีลาการร้อง

Sixteenth note (ซิกทีนโน้ต)
โน้ตเขบ็ตสองชั้นกำหนดให้โน้ตชนิดนี้จำนวนสิบหกตัวมีค่าเท่ากับโน้ตตัวกลมหนึ่งตัวและสี่ตัวมีค่าเท่ากับโน้ตตัวดำหนึ่งตัว

Sixteenth rest (ซิกทีนเรสท์)
โน้ตตัวหยุดที่มีค่าเท่ากับโน้ตตัวเขบ็ตสองชั้นหนึ่งตัว

Sixth (ซิกท์)
ขั้นคู่เสียงชนิดคู่หกที่มาจากการเรียงแบบไดอาโทนิก

Sixty-fourth note (ซิกตี้ ฟอร์ท โน้ต)
โน้ตเขบ็ตสี่ชั้นกำหนดให้โน้ตชนิดนี้หกสิบสี่ตัวมีค่าเท่ากับโน้ตตัวกลมหนึ่งตัวและสี่ตัวมีค่าเท่ากับโน้ตตัวเขบ็ตสองชั้นหนึ่งตัว

Sixty-fourth rest (ซิกตี้ ฟอร์ทเรสท์)
โน้ตตัวหยุดที่มีค่าเท่ากับโน้ตตัวเขบ็ตสี่ชั้นหนึ่งตัว

Skip (สคิป)
ขั้นคู่เสียงในรูปทำนองที่กว้างเกินกว่าคู่สอง

Slancio (It. สลานซิโอ)
ด้วยความกล้าหาญ

Slentando (It. สเลนทานโด)
ช้าลงตามลำดับ

Slur (สเลอ)
เส้นโค้ง มีความหมายว่า
1.โน้ตต่าง ๆ เหล่านี้ให้เล่นแบบเลกาโต้ (เสียงเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน)
2.วลีเพลงหรือส่วนของวลีเพลง
3.เมื่อโน้ตตัวหนึ่งมีการใช้เครื่องหมายสเลอเชื่อมจากโน้ตข้างหน้าอีกตัวหนึ่งโดยโน้ตทั้งคู่นี้ต่างก็มีระดับเสียงเดียวกันแล้ว เราเรียกว่า ทาย (tie) เครื่องหมายทายนี้ กำหนดให้โน้ตตัวที่สองไม่ต้องเล่น เพียงแต่ให้ยืดความยาวเสียงไปจนครบค่าโน้ตตัวนี้
4.หากเครื่องหมายสเลอบันทึกไว้เหนือหรือใต้จุดแบบสตั๊กคาโตแล้วโน้ตแต่ละตัว ให้เล่นให้สั้นลงเล็กน้อย

Smorzando (It. สมอร์ซานโด)
จางหายไป คำย่อ คือ smorz.

Snare drum (สแนร์ดรัม)
กลองสแนร์ หรือกลองแต็กที่ใช้ตีเดี่ยวหรือใช้ตีประกอบกับกลองชุด

Solfeggio (It. ซอลเฟตโจ)
การฝึกหัดขับร้องโดยออกเสียงตามพยางค์ โด - เร - มี ฯลฯ กำหนดให้ โน้ต C เป็น โดอยู่กับที่

Solo (โซโล)
คนเดียว, เดี่ยว ,บทเพลงประเภทเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีหรือนักร้องคนเดียว ในบทเพลงประเภทคอนแชร์โต ส่วนที่แสดงเดี่ยวกำหนดไว้สำหรับโซโลอิสท์ (นักแสดงเดี่ยว) แต่ส่วน ทูทิ (Tuti) เป็นการแสดงทั้งวง

Sonata (It. โซนาตา)
บทประพันธ์เพลงซึ่งตามปกติแล้วมี 3 หรือ 4 กระบวน (ท่อน) แต่ละกระบวนจบลงด้วยตัวเองได้ และกระบวนต่าง ๆ มีความแตกต่างกันในเรื่องของความเร็ว คีย์ และอารมณ์ ซี.พี.อี. บาค (ค.ศ. 1714-1788) เป็นผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นบิดาแห่งโซนาตาสมัยใหม่ บทประพันธ์โซนาตาของเขามีสามกระบวน คือ เร็ว -ช้า - เร็ว โดยทั่วไปแล้วมีการกำหนดกระบวนต่าง ๆ ในแบบฉบับโซนาตาคลาสสิก ดังนี้
1. กระบวนที่หนึ่ง ปกติแล้วจะอยู่ในโซนาตาฟอร์ม ในจังหวะรวดเร็ว
2. กระบวนที่สอง ปกติจะอยู่ในลีลาช้า และมีอารมณ์ลึกซึ้งกว่า
3. กระบวนที่สาม เป็นแบบมินนูเอ็ต (minuet) หรือ สแกรโซ (Scherzo)
4. กระบวนที่สี่ อยู่ในคีตลักษณ์แบบรอนโดหรือโซนาตาในจังหวะรวดเร็ว คำว่าโซนาตา มาจากคำภาษาอิตาเลียนว่า suonare หมายถึงทำให้เกิดเสียง เมื่อแรกใช้คำนี้ โซนาตา จะหมายถึงบทเพลงสำหรับ เครื่องดนตรีซึ่งตรงข้ามกับคำว่า แคนตาตา ที่หมายถึงบทเพลงสำหรับการขับร้อง sonata allegro form (โซนาตา อัลเลโกร ฟอร์ม)

Sonata form (โซนาตา ฟอร์ม)
เป็นคีตลักษณ์สำหรับขบวนหนึ่งในบทเพลงประเภทคอนแชร์โต้โซนาตาซิมโฟนีหรืองานประเภทแชมเบอร์ ใช้กันทั่วไปเป็นส่วนมากในกระบวนที่หนึ่ง จึงมักเรียกว่าแบบกระบวนที่หนึ่ง (First movement form) แบบแผนของ โซนาตาฟอร์ม มี 3 ส่วน คือ
1.ส่วนเสนอความคิดทางดนตรี (exposition) กำหนดทำนองหลักเป็นแกนสำคัญ เพื่อสร้างเป็นลักษณะ เฉพาะของขบวนได้อย่างชัดเจน ในแบบคลาสสิกเคิ้ลโซนาตา มักจะมีสองทำนองหลักหรือสองกลุ่ม ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างกันด้วยบริดจ์แพสเซจ และจบลงด้วยคีย์ของบทเพลงนั้น ส่วนเสนอความคิดทางดนตรีนี้มักจะมีการซ้ำ
2. ส่วนพัฒนาความคิดทางดนตรี (Development) หรือเรียกว่า ฟรีฟานตาเซียคือส่วนที่มีการพัฒนาทำนองหลักของเอ็กซ์โปซิชั่นไปอย่างกว้างขวางและอิสระเสรี
3. ส่วนสรุป (Recapitulation) กำหนดให้ทำนองหลักกลับมาอีกครั้งหนึ่งแต่ต้องอยู่คีย์เดิมของเพลงนั้นและเพิ่มเติมโคดาเข้าไปในส่วนนี้ได้
4. โคดา (Coda) คือการลงจบที่มีส่วนขยายความด้วย Sonator (โซนาเตอร์) ผู้เล่น

Sordini (It. ซอดินี่)
เท้าเหยียบเพื่อลดเสียงในเปียโน senza sordini หมายถึงเหยียบที่คันบังคับเท้าที่ทำให้เสียงยาว con sordini หมายถึง ให้ปลดคันบังคับเท้าที่ทำให้เสียงยาว

Sordino (It. ซอดิโน)
แผ่นไม้หรือโลหะบาง ๆ (ที่เรียกว่ามิวท์) ใช้เสียบลงบนบริดจ์ (สะพานเสียง) ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย เพื่อทำให้เสียงเบาลงหรือลดเสียงลง

Sostenuto (It. ซอสเตนูโต)
หน่วงไว้, ยึดไว้

Sospirando (It. ซอสปิรานโด)
รูปแบบง่าย ๆ สบาย ๆ

Sostenuto (It. ซอสเทนูโต)
ทำเสียงยาวต่อเนื่องโดยให้ลากเสียงยาวเต็มค่าของตัวโน้ตซอสเทนูโตบางครั้งหมายถึงให้ช้าลงเล็กน้อย ,รั้งไว้

Sotto (It. ซอทโต)
ข้างใต้ ต่ำกว่า sotto voce หมายถึง ทำเสียงกระซิบกระซาบ ค่อนข้างเงียบ ทำเสียงเบา ๆ

Sotto voce (It. ซ็อตโต โวเช)
เสียงเบาและต่ำ

Space (สเปส)
ช่องว่างระหว่างเส้นสองเส้นของบรรทัดห้าเส้น ซึ่งมีทั้งหมดสี่ช่อง

Spater (Gr. สเปเตอร์)
ต่อมาหลังจากนั้น

Spirito (It. สปิริโต)
วิญญาณ

Spiritoso (It. สปิริโตโซ)
มีชีวิตชีวา

Spinet (สปิเน็ต)
1. เครื่องดนตรีฮาร์ปซิคอร์ดในรูปของกล่องขนาดเล็ก ๆ ที่มีด้านสี่ถึงห้าด้าน เหมือนเครื่องดนตรีชื่อ เวอร์จินัล สปิเน็ตมีสายเสียงหนึ่งสายต่อโน้ตหนึ่งตัว
2. เป็นชื่อเรียกเปียโนรุ่นอัพไรท์ขนาดเล็กสมัยใหม่

Spirito, spiritoso (It. สปิริโตโซ)
อย่างมีชีวิตชีวาด้วยชีวิตจิตใจ

Staccato (It. สตักคาโต)
ให้สั้นอย่างมากคำย่อคือ stacc.

Staff (สตัฟ), Stave (สต๊าฟ)
บรรทัดที่ประกอบด้วยเส้นตรงจำนวนห้าเส้นช่องสี่ช่องสำหรับการบันทึกโน้ตบอกระดับเสียง

Stark (Ger. ซตาร์ค)
แข็งแกร่ง, ดัง

Stem (สเต็ม)
เส้นตรงตามแนวตั้งสำหรับเชื่อมหัวโน้ตดนตรี

Step (สเต็ป)
การเคลื่อนที่ของทำนองเพลง จากตัวโน้ตตัวหนึ่งไปสู่โน้ตใกล้เคียงอีกตัวหนึ่งในระยะห่างขั้นคู่สองตามลักษณะขั้นแบบไดอาโทนิก มีสามชนิดดังนี้
1.หนึ่งเสียงเต็ม
2.ครึ่งเสียง
3.ขั้นอ็อกเมนเต็ด

Streng (Gr. สเตร็ง)
เคร่งครัด

Strepitoso (It. สเทรปิโตโซ)
ดังหนวกหู

Stretto Stringendo(It. สเตรทโต สตริน-เยน-โด)
เร่งเร็วขึ้น

Stretto (It. สเตรทโต)
1. ถ้าเกิดขึ้นในบทประพันธ์ประเภทฟิวก์หมายถึงส่วนที่เป็นทำนองถาม (ซับเจ็คท์) และทำนองตอบ (อ้านเซ่อร์) ไล่ติดตามใกล้จนมีลักษณะเกยกันอยู่
2. ถ้าเกิดขึ้นในบทประพันธ์ที่ไม่ใช่ฟิวก์หมายถึงส่วนสรุปจบของเพลงซึ่งเร่งจังหวะขึ้นเรื่อย ๆ

Stringendo (It. สตริงเจนโด)
การทำให้เร็วขึ้นคำย่อคือ string.

String quartet (สตริง ควอเต็ต)
เป็นแชมเบอร์มิวสิกสำหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย 4 ชิ้นประกอบด้วยไวโอลิน 2 คัน วิโอลา1 คัน และเชลโล 1 คัน

String quintet (สตริงควินเต็ต)
เป็นแชมเบอร์มิวสิกสำหรับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายห้าชิ้น

Sturmisch (Ger. ซตูร์มิช)
รุนแรงอย่างกับพายุ

Subdominant (ซับดอมิแนนท์)
ชื่อเรียกประจำขั้นที่สี่ของบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์คอร์ดซับดอมิแนนท์คือคอร์ดที่สร้างบนเสียงประจำขั้นนี้

Subito (It. ซูบิโต)
ทันทีทันใด p subito หมายถึงเบาอย่างทันทีทันใด

Subject (ซับเจ็คท์)
ทำนองหรือความคิดในทางดนตรี แนวความคิดหลักที่ใช้ในการแต่งบทประพันธ์ดนตรี

Sub-mediant (ซับมีเดียน)
โน้ตลำดับขั้นที่ 6 ของบันไดเสียง เช่น A เป็นโน้ตลำดับขั้นที่ 6 ของบันไดเสียง C.

Suite (Fr. สวีท)
1. ดนตรีประเภทบรรเลง ประกอบขึ้นเป็นหลายกระบวน แต่ละกระบวนก็มี คีตลักษณ์ของเพลงเต้นรำที่ต่างกันไป ปกติแล้วจะเชื่อมกระบวนทั้งหมดเข้าด้วยกันโดยแต่งให้อยู่ในคีย์เดียวกัน คีตลักษณ์ของเพลงเต้นรำแบบสวีทนี้ก็มี allamande, bourree, courante, gavotte, gigue, minuet และ saraband ซึ่งจะปรากฏ อยู่ในบทบรรเลงประเภทสวีทแบบคลาสสิก
2. กลุ่มบทบรรเลงสั้น ๆ ที่อยู่ในคีตลักษณ์หรือแบบแผนการประพันธ์อะไรก็ได้ส่วนมากมักนำมาจากอุปรากรบัลเล่ต์ ฯลฯ

Symphony (ซิมโฟนี)
บทบรรเลงสำหรับวงดนตรีมีโครงสร้างเหมือนบทบรรเลงประเภทโซนาตาโดยทั่วไปประกอบด้วยสี่กระบวนบทบรรเลงประเภทซิมโฟนีและโซนาตาต่างก็พัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 18 บทบรรเลง ซิมโฟนีได้รับอิทธิพลจากบทบรรเลงโหมโรงอุปรากรแบบอิตาเลียนซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ เร็ว - ช้า - เร็ว แต่ละส่วนนี้ได้พัฒนาไปจนแยกออกได้หลายกระบวนและเมื่อเพิ่มส่วนที่เป็นมินนูเอ็ทเข้าไปแล้วก็จะทำให้บทบรรเลงซิมโฟนีมีสี่กระบวน คือ เร็ว -ช้า - เร็ว - เร็ว

Syncopation (ซิงโคเพชั่น)
การเน้นในส่วนจังหวะรองซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี คือ
1. ใช้เครื่องหมายโยงเสียงข้ามไปที่ส่วนจังหวะหลัก
2. ใช้เครื่องหมายเน้นที่จังหวะรองหรือระหว่างจังหวะ
3. ใช้ตัวหยุด ณ ที่ตัวหยุดจังหวะหลัก
4. ใช้โน้ตที่มีค่ายาวกว่าที่จังหวะรอง




:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวT:::

-----------------------------------------------------
Tablature (แท็บเลเจอร์)
การบันทึกโน้ตประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับกีตาร์สำหรับผู้ที่ไม่สามารถอ่านโน้ตได้โดยการบันทึกเป็นตัวเลขลงบนเส้น 6 เส้นที่ใช้แทนสายกีตาร์สามารถบอกระดับเสียงและตำแหน่งที่จะเล่นโน้ตตัวนั้น ๆ ได้

Tacet (La. ทาเซ็ท)
เงียบ

Takt (Gr. ทัคท์)
จังหวะ

Takthalten (Gr. ทัคท์คัลเท็น)
อัตราความเร็วเคร่งครัด

Tambourine (แทมโบรีน)
เครื่องดนตรีประเภทดีกระทบประกอบด้วยขอบไม้รูปวงกลม 2 ขอบโดยมีแผ่นโลหะคู่ที่เรียกว่ากระดิ่งสอดอยู่ระหว่างกลาง และปิดทับขอบไม้ด้านหนึ่งด้วยหน้ากลองสามารถตีที่หน้ากลองแต่ละครั้งด้วยข้อนิ้วมือและทำเสียงรัวได้โดยการสั่นที่ตัวแทมโบรินหรือใช้นิ้วหัวแม่มือถูไปรอบริมขอบหน้ากลองก็จะทำให้กระดิ่งเล็ก ๆ เหล่านี้เคลื่อนไหว

Tam-tam (แทม แทม)
หมายถึง ฆ้อง ประกอบด้วยแผ่นโลหะมีรูปร่างคล้ายชาม และให้ตีด้วยไม้หัวแข็ง

Tango (แทงโก)
การเต้นรำที่มีแบบอย่างมาจากการเต้นรำของชาวนิโกรอาฟริกันซึ่งต่อมาได้รับความนิยมในหมู่อเมริกันเชื้อชาติสเปน โดยใช้จังหวะและการเคลื่อนไหวที่มีแบบฉบับการเต้นของสเปน

Tanto (It. ตานโต)
มาก non tanto แปลว่า ไม่มากนัก

Tarantella (It. ตารานเตลลา), tarantelle (Fr. ตารานเตล)
การเต้นรำแบบอิตาเลียนในจังหวะ u มีการเคลื่อนไหวอย่างคงที่รวดเร็ว เชื่อกันว่า ตารานเตลลา ตั้งชื่อตามชื่อแมงมุมมีพิษชนิดหนึ่ง คือ ตารานตูลาซึ่งเมื่อกัดผู้คนเข้าไปแล้วก็ให้รักษาด้วยการเต้นชนิดนี้อย่างไรก็ตามทั้งชื่อตารานเตลลาและตารานตูลาอาจได้ชื่อตามเมือง ตารานโต้ ซึ่งเป็นชื่อเมืองท่าเรือทางตอนใต้ประเทศอิตาล

Tempo (เทมโป)
อัตราความเร็ว เครื่องหมายที่แสดงอัตราความเร็วนั้นได้แก่
1. ประเภทช้า : largo, grave, lento, adagio
2. ประเภทเร็วปานกลาง :andante, modorato
3. ประเภทเร็ว : allegro, vivace, presto

Tempo comodo (เทมโป กอมโมโด)
ความเร็วสบาย ๆ

Tempo giusto (เทมโป จุสโต)
ความเร็วคงที่ตลอด

Tempo ordinario (เทมโป ออร์ดินาริโอ)
ความเร็วสบาย ๆ ความเร็วธรรมดา

Tempo primo (It. เทมโป ปรีโม)
กลับไปที่อัตราความเร็วแรกเริ่ม

Tenerezza (It. เทเนเรสซา)
ความนุ่มนวล

Tenir (Fr. เดอนีร์)
หน่วงไว้, ยึดใว้

Tenor (เทเนอร์)
เสียงระดับสูงสุดของนักร้องชาย

Tenor clef (เทเนอร์เคลฟ)
หมายถึง ซีเคลฟบนเส้นที่สี่ของบรรทัดห้าเส้น โน้ตดนตรีของแตรทรอมโบน และซอเชลโลจะบันทึกลงในเคลฟชนิดนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เส้นน้อยจำนวนมาก

Tenuto (It. เตนูโต)
ยืดออกไป ทำเสียงให้ยาวยืดออกไปจนเตมค่าตัวโน้ตนัน คำย่อคือ ten.

Ternary (เทอนารี)
สามส่วนคีตลักษณ์แบบเทอนารี่นี้ส่วนที่หนึ่งและส่วนที่สามปกติแล้วจะเหมือนกันสำหรับส่วนกลางจะมีทำนองที่แตกต่างออกไป และมักจะอยู่ในคีย์ต่างกันด้วย

Ternary form (เทอนารี ฟอร์ม)
รูปแบบของเพลงที่มีโครงสร้างแบบ A B A

Tetrachord (เททราคอร์ด)
เสียงทั้งสี่ตามตำแหน่งในบันไดเสียงที่ประกอบขึ้นเป็นคู่สี่เพอเฟกต์บันไดเสียงเมเจอร์ประกอบด้วยเททาคอร์ดคล้ายกันสองชุด (ห่างกันเต็มเสียงสองคู่และครึ่งเสียงหนึ่งคู่)

Texture (เทซเจอร์)
ภาพรวม ผลของการเชื่อมโยงกันขององค์ประกอบทางดนตรีต่าง ๆ เช่น เสียงประสาน, ทำนอง, การเรียบเรียงเสียงสำหรับวงดนตรี

Theme (ทีม)
ความคิดทางดนตรีที่สมบูรณ์มักจะใช้เป็นเนื้อหาหลักในการทำแวริเอชั่น

Third (เทิ้ด)
ขั้นคู่ที่ได้จากระยะห่างเสียงแบบไดอาโทนิก หรือขั้นคู่ที่ 3

Thirty-second note (เทอตี้เซ็คกันโน้ต)
คือโน้ตเขบ็ตสามชั้นโน้ตชนิดนี้สามสิบสองตัวมีค่าเท่ากับโน้ตตัวกลมหนึ่งตัวและโน้ตสี่ตัวมีค่าเท่ากับโน้ตเขบ็ตหนึ่งชั้นหนึ่งตัว

Thirty-second rest (เทอตี้เซ็คกัน เรสท์)
การเงียบเสียงที่มีค่าเท่ากับโน้ตตัวเขบ็ตสามชั้นหนึ่งตัว

Tie (ทาย)
เครื่องหมายโยงเสียงระหว่างโน้ตใกล้เคียงสองตัวซึ่งมีระดับเสียงเดียวกัน โน้ตตัวที่สอง ไม่ออกเสียงอีกต่างหาก แต่จะปฏิบัติต่อจนหมดค่าของตัวโน้ต

Timesignature (ไทม์ซิกเนเจอร์)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะซึ่งแสดงถึงจำนวนจังหวะในแต่ละห้อง และชนิดของโน้ตที่นำมานับเป็นหนึ่งจังหวะ ตัวอย่างเช่น k สามจังหวะในหนึ่งห้อง และนำโน้ตตัวดำมานับ เป็นหนึ่งจังหวะ

Timpani (It. ทิมปานี)
กลองทิมปานี มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า Kettle Drum มีลักษณะคล้ายกะทะ

Toccata (It. ต้อกคาตา)
บทเพลงสำหรับเครื่องดนตรีคีย์บอร์ด มีทำนองที่รวดเร็ว ,กล้าเสี่ยง ,อิสระ และในแบบฉบับของ เคาน์เทอพอยท์

Tonic (โทนิก)
โน้ตตัวแรกของบันไดเสียงเรียกชื่อว่าคอร์ดโทนิก ก็คือทรัยแอ็ดที่สร้างบนโน้ตตัวนี้

Toujours (Fr. ตูชูร์)
เสมอ

Tranquillo (It. ทรานคิวโล)
สงบเงียบอยู่ในภวังค์แห่งความสงบ

Transcription (ทรานสคริปชั่น)
การเรียบเรียงบทประพันธ์เพลงสำหรับเสียงร้องหรือเครื่องดนตรีอื่น ๆ ที่ไม่ใช้เสียงร้องหรือเครื่องดนตรีของบทประพันธ์ดั้งเดิมบทนั้น

Transition (ทรานซิชั่น)
1. สำหรับคีตลักษณ์ทางดนตรีแล้วหมายถึงช่วงของดนตรีที่เปลี่ยนจากส่วนหลักไปสู่ส่วนอื่น ๆ ในบทเพลง (ตัวอย่างเช่นจากส่วนเอ๊กซโปซิชั่นไปสู่ดิเวลลอปเม้นต์ ในโซนาตา)
2. การเปลี่ยนคีย์แบบสั้น ๆ หรือแบบผ่านทาง

Transpose (ทรานสโพส)
แสดงหรือเขียนบทเพลงให้อยู่คีย์อื่น ๆ ต่างจากที่เขียนไว้ให้แล้ว

Transposing instrument (ทรานสโพสซิง อินสตรูเม้นต์)
เครื่องดนตรีประเภทที่ให้ระดับเสียงแตกต่างจากที่เขียนแสดงด้วยโน้ตกล่าวคือโน้ตที่ขียนไว้ให้เครื่องดนตรีเหล่านี้เล่นจะไม่เขียนตรงตามเสียงที่เครื่องดนตรีนั้นทำได้จริง ตัวอย่างเช่น ปี่คลาริเน็ตที่สร้างอยู่ในบีแฟล็ตถ้าหากผู้เล่นใช้การปิดเปิดนิ้วสำหรับโน้ตตัว D จากเครื่องดนตรีก็จะได้เสียงจริงคือเสียง C ที่มีระดับเสียงต่ำกว่า

Traps (แทรปส์)
กลองชุด มีกลอง ฉาบ ฯลฯ ใชในวงดนตรีสำหรับการเต้นรำ

Traurig (Ger. เทราริก)
เศร้า

Treble (เทร็บเบิล)
แนวการขับร้องหรือการบรรเลงในบทประพันธ์ที่มีระดับเสียงสูงสุด เรียกอีกชื่อว่า โซปราโน

Treble clef (เทร็บเบิล เคลฟ)
กุญแจซอล มีสัญลักษณ์จีเคลฟบนเส้น ที่สองของบรรทัดห้าเส้น เทร็บเบิลเคลฟในรูปลักษณ์ปัจจุบันนี้ พัฒนามาจากอักษรภาษาอังกฤษ ตัวจี

Tres (Fr. แตร)
มาก ,อย่างยิ่ง

Triad (ทรัยแอด)
คอร์ดซึ่งประกอบด้วยเสียง 3 เสียง มีชื่อเรียกตามลำดับว่ารู้ท คู่ 3rd และคู่ 5th

Triangle (ทรัยแองเกิล)
เครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยท่อนเหล็กขนาดเล็กดัดโค้งเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปลายข้างหนึ่งเปิด ถือด้วยเชือกและตีด้วยท่อนเหล็กเล็กๆ ทรัยแองเกิ้ลมีเสียงแหลมบาดหูใช้นาน ๆ ครั้ง

Trill (ทริล)
การประดับประดาทางทำนองดนตรีที่ทำด้วยการสลับเปลี่ยนที่อย่างรวดเร็ว ระหว่าง ตัวโน้ตหลักและโน้ตใกล้เคียงที่อยู่เหนือกว่าโน้ตตัวนี้ ในยุคสมัยของบาคและแฮนเดล ทริลมักจะเริ่มที่โน้ต ใกล้เคียง แต่สำหรับยุคต่อมา เช่น ยุคโชแปงและลิสซท์ ส่วนใหญ่แล้วการเล่นทริลจะเริ่มที่โน้ตตัวหลัก

Trio (ทรีโอ)
1. ดนตรีสำหรับผู้เล่นสามคน
2. ตอนกลางของบทบรรเลงประเภทมินนูเอ็ต มาร์ช หรือสแกรโซ

Triplet (ทริพเพล็ท)
คือกลุ่มตัวโน้ตสามตัวที่เล่นโดยใช้จำนวนเวลาเท่ากับโน้ตสองตัว ที่เป็นโน้ตประเภทเดียวกัน

Triple time (ทริบเปิ้ลไทม์)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะประเภทนับสาม ให้ปฏิบัติ สามจังหวะในแต่ละห้อง m,k,j ฯลฯ

Triste (It. ตริสเต, Fr. ตริสต์ )
เศร้าโศก เสียใจ

Tristo (It. ตริสโต)
เศร้า

Trombone (ทรอมโบน)
แตรทรอมโบนเป็นเครี่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองที่มีท่อแตรแบบกลวง ยาวเท่ากัน ส่วนปากเป่าเป็นรูปถ้วยมีลักษณะสำคัญคือใช้ชักเลื่อนท่อแตรให้ยาวหรือสั้นด้วยมือได้ทำให้เล่นได้ครบทุกเสียงตลอดช่วงเสียงของแตรซึ่งผิดกับแตรอื่น ๆ ที่เปลี่ยนความยาวท่อโดยใช้ลูกสูบ (อย่างไรก็ตามบางครั้งเราอาจจะใช้ทรอมโบนชนิดที่มีลูกสูบได้แตรทรอมโบนพัฒนามาจากแตรทรัมเป็ต ขนาดใหญ่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 แตรทรอมโบนที่ใช้ในปัจจุบันนี้ มี 2 แบบ คือ เทเนอร์และเบส แตรทรอมโบนไม่ใช่แตรประเภทต้องย้ายคีย์ ถึงแม้ว่าจะใช้เทเนอร์เคลฟ เนื่องจากในช่วงเสียงสูงต้อง หลีกเลี่ยงการใช้เส้นน้อยก็ตาม

Trop (Fr. โทร)
มาก, มากเกินไป

Troppo (It. ตรอบโป)
มากเกิน Allegro ma non troppo หมายถึงเร็วแต่เร็วไม่มากนัก

Trumpet (ทรัมเป็ต)
แตรทรัมเป็ตเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองที่มีท่อแตรแบบกลวงยาวเท่ากันส่วนปากเป่าเป็นรูปถ้วยมีลูกสูบสามอันเสียงทรัมเป็ตมีลักษณะสดใสและเสียดแหลมบีแฟล็ตทรัมเป็ตเป็นเครื่องดนตรีที่ต้องย้ายคีย์

Tuning (จูนนิ่ง)
การตั้งเสียง, เทียบเสียงเครื่องดนตรี

Tuba (ทูบา)
แตรทูบาเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองที่มีระดับเสียงต่ำที่สุด
1.ท่อแตรของทูบามีลักษณะบานออก ส่วนปากเป่าเป็นรูปถ้วย มีลูกสูบ 3 - 4 ท่อ และเป็นเครื่อง ดนตรีที่สืบทอดมาจากเครื่องดนตรีประเภทเป่าเสียงเบสแบบโบราณชนิดหนึ่งที่ชื่อ เชอร์เพนท์ (serpent) ทูบาสร้างในแบบอีแฟล็ตและดับเบิ้ลบีแฟล็ต
2.แตรซูซาโฟน (เคยมีผู้เรียกว่าเบสสะพาย) คือทูบาที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา (ตั้งชื่อเป็นเกียรติยศแก่ จอห์น ฟิลิปส์ ซูซา นักประพันธ์เพลงชาวอเมริกัน) โดยสวมพาดบ่าข้างซ้ายได้ ในขณะที่เล่น ลำโพงแตร ซึ่งมีขนาดใหญ่สามารถถอดเก็บไว้ในกล่องเพื่อการนำพาไปไหนมาไหนได้

TubuIar bells (ทูบิวลาร์ เบลล์)
เครื่องดนตรีประเภทตีประกอบจังหวะที่มีระดับเสียงแน่นอนลักษณะเป็นท่อสั้น - ยาว ตามระดับเสียงมักใช้ตีประกอบกับวงโยธวาทิตขณะนั่งบรรเลง

Tune (ทูน)
เพลง ,ทำนองเพลง

Tutti (It. ตูตติ)
ทั้งหมด
1.ส่วนในบทประพันธ์เพลงที่เครื่องดนตรีทุกชิ้นหรือนักร้องทุกคนต้องแสดง
2.ส่วนในบทบรรเลงเพลงประเภทคอนแชร์โต้ที่ทุกคนในวงดนตรีต้องบรรเลง ยกเว้นผู้บรรเลงเดี่ยว




:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวU:::

-----------------------------------------------------

Uber (Ger. อูแบร์)
สนุกสนานร่าเริง

Ubermutig (Ger. อูแบร์มูติก)
สนุกสนาน ,ร่าเริง

Ukulele (ยูเคเลลี)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายของชาวฮาวายจัดอยู่ในตระกูลกีตาร์มีสายเสียง 4 สายพร้อมขีดแบ่งเสียงหรือเฟรทบนแผงวางนิ้ว

Un, una, uno (It. อุน, อูนา, อูโน)
หนึ่ง

Un peu (Fr. เอิง เปอ)
เล็กน้อย

Una corda (It. อูนาคอร์ดา)
คือเพดดัลทำเสียงเบา อยู่ตรงส่วนเท้าเหยียบข้างซ้ายของเปียโนมีหน้าที่บังคับกลไกของค้อนเพื่อทำให้เกิดเสียงเบา ในสมัยแรก ๆ เพดดัลจะบังคับกลไกทั้งหมดเคลื่อนที่ทำให้ค้อนตีสายเสียงเพียงเส้นเดียวเท่านั้น แทนที่จะตีสองหรือสามเส้น (una corda หมายถึงเส้นเดียว) หลักสำคัญในการเปลี่ยนกลไกการทำงานนี้ได้นำมาใช้ในแกรนด์เปียโนสมัยใหม่ คำย่อ คือ U.C . Tre corde หมายถึง เส้นสามเส้น หรือไม่ต้องใช้เพดดัลทำเสียงเบานี้

Unison (ยูนิซัน)
เล่นเสียงเดียวกันโดยใช้นักดนตรีหรือนักร้องจำนวนหลายคน คำว่า all' unisono หมายถึงให้เล่นแนวเพลงเดียวกัน แต่สูงขึ้นหนึ่งคู่แปด

Ungefahr (Gr. อุนเกอเฟร์)
โดยประมาณ

Unruhig (Ger. อุนรูฮิก)
เร่าร้อน, ตื่นเต้น

Up beat (อัพบีท)
จังหวะที่ไม่เน้นเสียงแรกเริ่มของวลีหรือบทเพลงมักจะอยู่ที่จังหวะสุดท้ายของห้อง ในการอำนวยเพลงอัพบีทจะบ่งชี้ด้วยการเคลื่อนที่ของมือ




:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวV:::

-----------------------------------------------------

Va (It. วา)
ดำเนินต่อไป

Valse (Fr. วอลท์ซ)
เพลงวอลท์ซ

Value (แวลู)
ความยาวของเสียง หรือค่าเวลาของตัวโน้ต

Valve (วาว)
ลูกสูบที่ใช้ในเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลืองเมื่อกดลูกสูบนี้ลงไปแล้วจะสามารถผันลมให้เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในท่อที่ต่อยาวขึ้นทำให้การสั่นสะเทือนของเสียงมีความยาวขึ้นนั่นคือเสียงจะต่ำลงอีกแตรส่วนใหญ่จะต้องติดตั้งลูกสูบนี้จะมีสามอันโดยมาตรฐานทั่วไป
แต่สำหรับแตรประเภทเสียงต่ำ เช่น บาริโทน ,ยูโฟเนียม และทูบาบางครั้งก็ใช้สี่อันในเครื่องดนตรีทองเหลืองส่วนใหญ่นั้น ลูกสูบที่หนึ่งจะทำให้เสียงต่ำลงหนึ่งเสียงเต็มลูกสูบที่สองจะทำให้เสียงต่ำลงครึ่งเสียงส่วนลูกสูบที่สามจะทำให้เสียงต่ำลงหนึ่งเสียงครึ่งเมื่อผสมผสานการเล่นลูกสูบเหล่านี้เข้าด้วยกันแล้วก็จะทำให้ผู้บรรเลงปฏิบัติโน้ตโครมาติกภายในพิสัยของเสียงได้ตามต้องการ

Vamp (แวมป์)
1.ให้ด้นเพลงแนวคลอประสาน
2. การขึ้นดนตรีก่อนประมาณสองถึงสี่ห้อง หรือมากกว่านั้นเพื่อเป็นการเตรียมให้ นักดนตรีหรือนักร้องแสดงเดี่ยวได้ ขณะจะเริ่มเพลงหรือระหว่างขึ้นบทใหม่ก็ได้

Variation (แวริเอชั่น)
คีตลักษณ์ทางดนตรีชนิดหนึ่งที่กำหนดให้ทำนองเพลงหลักคงไว้เป็นหัวใจสำคัญแต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงผกผันไป ด้วยวิธีการเปลี่ยนแปลงคีย์บ้างเปลี่ยนจำนวนจังหวะในการนับบ้างเปลี่ยนจังหวะบ้างเปลี่ยนเสียงประสานบ้าง เปลี่ยนความเร็วของจังหวะบ้างหรือเปลี่ยนอารมณ์เพลงบ้าง

Veloce (It. วิโลเช)
เร็วอย่างคล่องแคล่วว่องไว

Vif (Fr. วิฟ)
สนุกสนาน, ร่าเริง

Vigoroso (It. วิโกโรโซ)
มีพลังงานพละกำลังกล้า

Viol (It. วิโอล)
เครื่องดนตรีตระกูลเครื่องสายประเภทหนึ่งเล่นด้วยคันชักได้รับความนิยมในระหว่าง ศตวรรษที่ 16และ 17 ปกติแล้วจะมีสายเสียงเส้นบาง ๆ หกเส้น ส่วนหลังเครื่องดนตรีแบนราบมีขีดแบ่งเส้นและช่วงไหล่ของเครื่องดนตรีเอียงลาด ลักษณะเสียงที่ได้จะเบาละเอียดอ่อนเครื่องดนตรีที่สำคัญในตระกูลนี้ได้แก่เทร็บเบิ้ลวิโอล ,เทเนอร์วิโอล และ เบสวิโอล

Viola (It. วิโอลา)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในตระกูลไวโอลินคืออัลโตไวโอลิน,วิโอลามีขนาดใหญ่กว่าไวโอลินเล็กน้อยและเทียบสายต่ำลงมาคู่ห้าเป็นเครื่องดนตรีหลักที่ใช้ในวงดนตรีประเภทออร์เคสตร้าและวงแชมเบอร์มิวสิกมีลักษณะเหมือนเสียงนาสิกโน้ตดนตรีสำหรับซอวิโอลานี้เขียนอยู่ในอัลโตเคลฟ

Violin (It. ไวโอลิน)
หมายถึงซอไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเล่นด้วยคันชักไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีในวงดนตรีออร์เคสตราที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้เพราะมีเสียงที่ให้ความรู้สึกมากมาย

Violoncello (It. วิโอลอนเชลโล)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่เล่นด้วยคันชักเรียกย่อว่าซอเชลโลมีรูปร่างเหมือนไวโอลินแต่มีขนาดความยาวเป็นสองเท่าของไวโอลินโดยประมาณและมีความหนากว่าเมื่อวัดจากส่วนหน้าไปยังหลังเครื่องเล่นด้วยวิธีการนั่งหนีบระหว่างเข่าโดยมีหมุดยึดไว้กับพื้นเสียงจะต่ำกว่าไวโอลินมาก และมีลักษณะทุ้มลึก ๆ คันชักซอเชลโลมีลักษณะคล้ายกับของไวโอลินแต่มีขนาดสั้นกว่าโน้ตดนตรีของเชลโลเขียนบันทึกลงในเบสเคลฟแต่บางครั้งก็เขียนในเทเนอร์และเทร็บเบิ้ลเคลฟเมื่อต้องขึ้นเสียงสูง ๆ ทั้งนี้เพื่อเลี่ยงการเขียนเส้นน้อยนั่นเอง

Virginal (เวอร์จินัล)
เครื่องดนตรีคีย์บอร์ดในศตวรรษที่ 16 และ 17 เป็นฮาร์ปซิคอร์ดขนาดเล็กสายเสียงเครื่องดนตรีทั้งหลายตั้งเป็นมุมฉากกับคีย์สำหรับกดและใช้เกี่ยวด้วยคันเบ็ดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า virgulas ซึ่งชื่อนี้อาจจะเป็นที่มาของชื่อเครื่องดนตรีก็ได้มีสายเสียงหนึ่งเส้นสำหรับโน้ตแต่ละตัวเสียงที่ได้เหมือนเสียงของคลาวิคอร์ดคือบางและอ่อนหวานเวอร์จินัลรุ่นแรก ๆ เล็กจนสามารถวางเล่นบนหน้าตักได้ต่อมาก็ได้มีการต่อขาเครื่องดนตรีนี้ปกติมีช่วงเสียงสี่คู่แปดอาจเขียนชื่อเป็น

virginal หรือ virginals
หมายถึงเวอร์จินัลหนึ่งเครื่องนั่นเอง

Virtuoso (เวอร์จุโอโซ)
ผู้แสดงที่มีความชำนาญทางเทคนิคมาก

Vivace (It. วิวาเช)
1. อย่างมีชีวิตชีวาสนุกสนาน allegro vivace หมายถึงมีชีวิตชีวามากกว่าหรือเร็วกว่าอัลเลโกร
2. วิวาเชอย่างเดียวหมายถึงมีความเร็วมากกว่าอัลเลโกรแต่ไม่เร็วเท่าเปรสโต

Vivo (It. วิโว)
อย่างมีชีวิตชีวาสนุกสนานร่าเริง

Vla
อักษรย่อของคำว่า viola.

Vocal music (โวคัล มิวสิก)
ดนตรีสำหรับการขับร้องเดี่ยวหรือหมู่

Voce (It. โวเช), Voice (วอยซ์)
1.เสียงดนตรีที่เกิดจากสายเสียงในกล่องเสียง (โวคัลคอร์ด)
2.แนวการปฏิบัติในบทประพันธ์เพลงสำหรับเสียงร้องหรือเครื่องดนตรี เช่น เสียงร้องแนวเบส ในบทประพันธ์เพลงประเภทขับร้องประสานเสียง (คอรัส)

Voice leading(วอยซ์ ลีดดิง)
การนำเสียงส่วนสำคัญที่ครอบคลุมการเคลื่อนที่ของแนวเสียงแต่ละแนวในดนตรีที่มีแนวทำนองหลายแนว

Voix (Fr. วัว)
เสียง

Volante (It. โวลันเต)
ด้วยความละเอียดอ่อน ,รวดเร็ว

Volento (It. โวลลันโต)
อย่างรวดเร็วดั่งบินไดั

Volta (It. โวลตา)
เวลา





:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวW:::

-----------------------------------------------------
Waltz (วอลท์ซ)
เพลงวอลท์ซเป็นเพลงเต้นรำดั้งเดิมของชาวเยอรมันในจังหวะ k ได้รับความนิยมราวปี ค.ศ. 1800 จากนั้นก็เป็นเพลงเต้นรำมาตลอดสามารถปรับเปลี่ยนความเร็วของเพลงได้จากช้าถึงค่อนข้างเร็ว เพลงวอลท์ซพัฒนามาจากเพลงเลนด์เลอร์ (เพลงเต้นรำชาวนาออสเตรีย) เป็นเพลงเต้นรำแรก ๆ เพลงหนี่งที่คู่เต้นจะโอบกอดกันเต้นไป

Waltzer (Ger.วอลท์เซอร์)
เพลงวอลท์ซ

Wehmutig (Ger. เวมูติก)
เศร้า

Wenig (Ger. เวนิก)
เล็กน้อย

Weniger (Ger. เวนิเกอร์)
น้อยลง

Whole note (โฮล โน้ต)
โน้ตตัวกลมซี่งมีค่าเป็นสี่เท่าของโน้ตตัวดำ

Whole rest (โฮล เรสท์)
1. จังหวะที่เงียบเสียงนานเท่ากับโน้ตตัวกลม
2. การหยุดเต็มห้องสำหรับเครื่องหมายกำหนดจังหวะทั้งหลาย ยกเว้นเครื่องหมายกำหนดจังหวะ nถ

Whole step (โฮล สเต็ป)
ขั้น 1 เสียง ขั้นคู่ที่ประกอบด้วยขั้นครึ่งเสียง 2 ขั้น

Whole tone scale (โฮลโทนสเกล)
บันไดเสียงโฮลโทน บันไดเสียงที่สร้างขึ้นจากตัวโน้ต 6 ตัว และตัวโน้ตแต่ละตัวห่างกันในระยะขั้น 1 เสียง

Wie (Ger. วี)
เหมือนกับ

Wind instrument (วินด์ อินสตรูเม้นต์)
เป็นเครี่องดนตรีที่มีเสียงดนตรีเกิดจากการปิดกั้นแนวการสั่นสะเทือนของลมเครื่องดนตรีชนิดนี้มี 2ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ตระกูลเครื่องลมทองเหลือง เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยทองเหลืองหรือโลหะอื่น ๆ ได้แก่บาริโทน, บิวเกิ้ล ,คอร์เน็ต, เฟรนช์ฮอร์น ,เมลโลโฟน ,ทรอมโบน ,ทรัมเป็ต และทูบา
2. ตระกูลเครื่องลมไม้เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยไม้ (ถึงแม้ว่าปัจจุบันนี้จะทำด้วยโลหะก็ตามได้แก่ บาสซูน, คลาริเน็ต, อิงลิชฮอร์น ,ฟลูท, โอโบ, พิคโคโลทั้งฟลูทและพิคโคโลปัจจุบันนิยมทำด้วยโลหะแต่ก็ยังคงจัดไว้เป็นพวกเครื่องลมไม้ ส่วนออร์แกนและแอ็คคอเดียน อาจพิจารณาจัดไว้เป็น พวกเครื่องลมไม้ก็ได้

Wutend (Ger. วูเต็น)
โกรธ




:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวX:::

-----------------------------------------------------

Xylophone (ไซโลโฟน)
เครื่องดนตรีประเภทตีกระทบที่เราเรียกว่า ระนาดฝรั่ง ประกอบด้วยท่อนรางไม้ต่าง ๆ ที่จัดเรียงไว้แบบคีย์บอร์ดของเปียโน มีท่อกลวง (ตัวทำกังวาน) ติดไว้ข้างล่างของรางแต่ละรางเพื่อให้เล่นตีด้วยไม้ที่มีหัวทำด้วยวัสดุต่าง ๆ ไซโลโฟนมีช่วงเสียงประมาณสี่คู่แปด



------------------------------------------------------






:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวY:::

-----------------------------------------------------

Yodel (โยเดล)
แบบการร้องเพลงชนิดหนึ่งที่ไม่มีคำร้อง (ร้องแบบโห่) นิยมกันในหมู่ชาวเขาในประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย ลักษณะของเพลงคือเปลี่ยนเสียงจากเสียงต่ำในช่วงอกไปยังเสียงฟอลเซทโต(faIsetto :เสียงที่ร้องดัดให้สูงขึ้นกว่าเสียงร้องตามปกติ) อย่างรวดเร็วและสลับไปมา

------------------------------------------------------





:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวZ:::

------------------------------------------------------



Zart (Ger. ซาร์ท)
นุ่มนวล

Zeitmass (Ger. ซายท์มาส)
อัตราความเร็ว จังหวะ

Ziemlich (Ger. ซีมลิคช์)
อย่างปานกลาง

Zither (ซิ-เทอร์)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายซิเทอร์ประกอบด้วยกล่องไม้ที่ทำเป็นห้องเสียงให้สายเสียงจำนวน27 ถึง 45 เส้นขึงพาดไว้และมีสายเสียงจำนวนสี่ถึงห้าเส้นขึงพาดบนแผงวางนิ้วซึ่งจะเล่นด้วยการดีด โดยใช้แหวนโลหะ(เพลคทรัม) ที่สวมอยู่ที่นิ้วหัวแม่มือข้างขวาสายเสียงอื่น ๆ ก็ถูกดีดด้วยนิ้วมือที่เหลือโดยจัดให้เป็นแนวคลอประกอบเครื่องดนตรีซิเทอร์ได้รับความนิยมมากในแถบบาวาเรียและประเทศออสเตรีย

Zogern (Gr. โซแจร์นด์)
ช้าลงทีละน้อย

Zuruckhaltend (Ger. ซูรุคคัลเทน)
ช้าลง

...





Create Date : 19 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 18 มีนาคม 2552 20:51:23 น.
Counter : 2129 Pageviews.

13 comments
  
ศัพท์ดนตรีวันนี้ นางฟ้ารู้จักแน่ ๆก็ แซมบ้ากับแทงโกค่ะ เคยลองหัดเต้นอยู่ตอนนี้คืนคนสอนไปหมดแล้ว

ขอบคุณสำหรับเสียงโหวต ครอบครัวตัว "หงส์" ด้วยนะคะ...จุ๊บ..จุ๊บ..
โดย: นางฟ้าของชาลี วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:8:56:49 น.
  
วันนี้แม่ปูมาแบบเฉพาะกิจมาแบบเร่งด่วน มารบกวนขอแรงโหวตให้นางงามหงส์ด้วยค่ะ กำลังโหวตกันอยู่ค่า ช่วยแวะบล็อกแม่ปูนิดนึงนะคะ ขอบคุณมากค่า
โดย: ปูขาเก เซมารู วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:9:25:52 น.
  
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

แวะมาอ่านขอบคุณที่นำมาฝากนะคะ
โดย: อุ้มสี วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:9:29:19 น.
  
โดย: teddybear@LB วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:11:07:48 น.
  
ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะคะ วันหลังมาอีกนะคะ
โดย: Jaii (iamjaii ) วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:17:16:46 น.
  
ขอบคุณค่ะที่แวะไปเยี่ยม
รูปยังลงไม่หมดเลยค่ะ เด๋วว่างๆจะลงเพิ่ม
และเร็วๆนี้จะลง Review ที่เซี่ยงไฮ้ค่ะ อย่าลืมแวะไปนะคะ
โดย: กิฟ (Sanhachutha ) วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:17:04 น.
  
อ่านแล้วงงๆ ไม่รู้จักเลยซักคำ
ฟังได้อย่างเดียวค่ะสำหรับเพลง
โดย: fonrin วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:21:53 น.
  
ขอบคุณครับที่ชม ปลามีหลายหน้านะครับแวะไปชมได้
โดย: Tsukiyama วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:38:57 น.
  
มาเยี่ยมอีกรอบ ขอบคุณค่ะสำหรับกำลังใจที่มีให้อ่ะนะ
โดย: teddybear@LB วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:13:58:52 น.
  





มานับถอยหลัง
รอรับวันคริสมาสต์และปีใหม่ (บวกลบกันนิดหน่อย)
กันเนอะ


หาแบบนับถอยหลังปีใหม่ไม่เจอ
ก็เลยเป็นฝรั่ง ๆ ไปหน่อยนะคะ

โดย: โสดในซอย วันที่: 20 พฤศจิกายน 2551 เวลา:23:20:39 น.
  
ฟังเป็นอย่างเดียวค่ะ อิๆ
โดย: kai (aitai ) วันที่: 21 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:01:53 น.
  
ความรู้แน่น เพียบจริงๆค่ะบล๊อกนะ บางอย่างเราเพิ่งรู้วันนี้แหละค่ะ

ขอบคุณที่แวะไปทานของอร่อยๆในเชียงใหม่ด้วยกันนะคะ
โดย: ปลาทอง9 วันที่: 21 พฤศจิกายน 2551 เวลา:16:38:52 น.
  
ความรู้แน่น เพียบจริงๆค่ะบล๊อกนะ บางอย่างเราเพิ่งรู้วันนี้แหละค่ะ

ขอบคุณที่แวะไปทานของอร่อยๆในเชียงใหม่ด้วยกันนะคะ
โดย: ปลาทอง9 วันที่: 21 พฤศจิกายน 2551 เวลา:16:38:55 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

OFFBASS
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]