พฤศจิกายน 2551

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
15
16
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
พจนานุกรมศัพย์ดนตรี หมวด D-K
ต่อจากบล๊อกที่แล้ว




D ชื่อระดับเสียง (เร)

Da, dal, dallo, dalla (It. ดา, ดัล, ดัลโล, ดัลลา)
จาก, ที่, โดย, ไปยัง, สำหรับ, เหมือน

Da capo (It. ดา คาโป)
จากจุดเริ่มต้น คำย่อคือ D.C.

D.C. al Fine
หมายถึง ให้กลับไปใหม่ที่จุดเริ่มต้น และเล่นจนถึงคำว่า Fine

D.C. al Segno
หมายถึง ให้กลับใหม่ที่จุดเริ่มต้น และเล่นจนถึงเครื่องหมาย Segno

Dal segno (It. ดาล เซคโน)
ย้อนกลับจากเครื่องหมาย segno คำย่อคือ D.S.

D.S. al Fine
หมายถึง ให้กลับไปใหม่ที่เครื่องหมาย D.S. แล้วเล่นจนถึงคำว่า Fine(ฟิเน่)

Dampfer (แดมพ์เฟอร์)
เครื่องลดความดังของเสียง

Dans (Fr. ด็อง)
ใน ,ภายใน

Debut (Fr. เดบู)
การปรากฏตัวครั้งแรกต่อสาธารณะชน การบรรเลงครั้งแรก

Decibel (เดซิเบล)
หน่วยวัดความดังของเสียง คำย่อคือ db.

Decide (Fr. เดซีเด)
แน่นอน, ตัดสินใจแล้ว

Deciso (It. เดซีโซ)
กล้าหาญ มั่นใจเต็มที่ ตัดสินใจเด็ดขาด เต็มไปด้วยพลัง

Decrescendo (It. ดีเครเชนโด)
เบาลงทีละน้อย ๆ คำย่อคือ decresc.

Degree (ดีกรี)
ระดับขั้นของโน้ตในสเกล เช่นโน้ต D เป็นระดับขั้นที่สองของบันไดเสียง C เมเจอร์

Dehors (Fr. เดท์ออร์)
ด้วยการย้ำอย่างหนักแน่น ทำให้เด่นออกมา

Delicato (It. เดลิคาโต)
ด้วยท่าทางอันเรียบร้อยและละเอียดอ่อน

Demi (Fr. เดมิ)
ครึ่ง

Demisemiquaver (เดมิเซมิเควเวอร์)
โน้ตตัวเขบ็ตสามชั้น

Desto (It. เดสโต)
สดชื่นมีชีวิตชีวา

Detache (Fr. เดตาเซ)
ซึ่งแยกออกจากกัน

Deutlich (Gr. ดอยทริชค์)
ใส ,เด่น

Di (It. ดิ)
ไปยัง ,โดย ,ของ, สำหรับ, กับ

Di molto (It. ดิ มอลโต)
อย่างมาก

Diatonic (เดียอาโทนิก)
1.หมายถึงเสียงที่เกิดขึ้นในบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์
2.การเคลื่อนไปในลักษณะครึ่งเสียงแบบไดอาโทนิกหมายถึงการเคลื่อนที่ ไปยังโน้ตใกล้เคียงกันโดยมีชื่อโน้ตต่างกันขณะที่การเคลื่อนไปในลักษณะครึ่งเสียงแบบโครมาติกจะเป็นการเคลื่อนที่ไปที่โน้ตชื่อเดียวกันเพียงแต่มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเครื่องหมายแปลงเสียง

Diminished (ดิมินิชท์)
รูปแบบของคอร์ดที่ประกอบด้วยโน้ตลำดับที่ 1 3b 5b ( C Eb Gb)

Diminuendo (It. ดิมินูเอนโด)
เบาลงเรื่อย ๆ คำย่อคือ dim, dimin.

Diminution (ดิมินูชั่น)
การย่อ การแสดงโมทีฟโดยตัวโน้ตที่มีอัตราจังหวะสั้นกว่าตัวโน้ตเดิมในโมทีฟนั้น ๆ

Dissonance (ดิสโซแนนซ์)
เสียงกระด้างขั้นคู่เสียงหรือคอร์ดที่ฟังแล้วไม่รู้สึกผ่อนคลายและจำเป็นจะต้องเคลื่อนเข้าหาขั้นคู่เสียงหรือคอร์ดที่มีเสียงสบายกว่าหรือเสียงที่กลมกล่อมกว่าการเคลื่อนที่จากเสียงกระด้างไปหาเสียงกลมกล่อมนี้เรียกว่า "การเกลา" ขั้นคู่เสียงกระด้างได้แก่คู่สอง คู่เจ็ด และสำหรับคอร์ด คือ อ็อกเมนเต็ด และดิมินิชท์ทุกคอร์ด

Distinto (ดิสทินโต)
ชัดเจน

Divertimento (It. ดิเวอร์ติเมนโต)
คีตลักษณ์คล้ายแบบของสวีทและซิมโฟนีปกติประกอบด้วยเพลงเต้นรำและท่อนเพลงสั้น ๆ บรรเลงโดยวงดนตรีขนาดเล็ก

Divisi (It. ดิวิซิ)
แบ่งแยกออกจากกันใช้ในบทเพลงสำหรับบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเพื่อบ่งชี้ว่าให้นักดนตรีซึ่งมีอยู่มากมายนั้นแยกกันเล่นโน้ตในคอร์ดนั้น ๆ คำย่อคือ div.

Dolce (It. ดอลเช)
อ่อนหวานนุ่มนวล

Dolente (lt. ดอลเลนเต)
เศร้าสร้อย หงอยเหงา

Dolore (lt. โดโรเร)
เศร้า เจ็บปวด เสียใจ

Dominant (ดอมิแนนท์)
ขั้นที่ห้าของบันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์ คอร์ดดอมิแนนท์ก็คือทรัยแอดที่สร้างบนโน้ตเสียงนี้

Dominant seventh (ดอมิแนนท์ เซเวนท์)
คอร์ดดอมิแนนท์ที่เพิ่มโน้ตตัวที่ 7 ของบันไดเสียงเข้าไป เช่น G7 ( G B D F)

Doppio (It. ดอปปิโอ)
มากกว่าเป็นสองเท่า

Doppio movimento (It. ดอปปิโอ โมวิเม็นโต)
เร็วขึ้นเป็นสองเท่า

Doppio piu lento (It. ดอปปิโอ ปิว เล็นโต)
ช้าลงเป็นสองเท่า

Doroloso (It. ดอลโลโรโซ)
เศร้า, เซื่องซึม

Dorian mode (โดเรียน โมด)
โมดโดเรียน โมดที่ใช้ในเพลงโบสถ์ยุคกลาง ซึ่งอาจสร้างโดยการเล่นจาก D ไป D บนคีย์ขาวของเปียโน

Dot (ด๊อท)
จุด 1.จุดที่อยู่หลังตัวโน้ตนั้นย่อมเพิ่มความยาวเสียงอีกครึ่งหนึ่งของโน้ตตัวนั้นดัง 2.จุดที่อยู่เหนือหรือใต้ตัวโน้ตโด หมายถึง ให้เล่นแบบสตั้กคาโต

Double bar (ดับเบิล บาร์)
1.ปรากฏในส่วนจบของบทเพลงตอนหนึ่ง (ยังไม่จบเพลงทั้งหมด)
2.ปรากฏในส่วนจบของบทเพลงนั้นหรือท่อนของบทเพลงนั้นโดยสมบูรณ์ไม่มีต่ออีกแล้ว

Double bass (ดับเบิลเบส)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด

Double bassoon (ดับเบิลบาสซูน)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ที่ใช้ลิ้นคู่ ที่มีระดับเสียงต่ำ

Double flat (ดับเบิลแฟล็ท)
เครื่องหมายดับเบิลแฟล็ทจัดวางไว้ข้างหน้าโน้ตเพื่อทำให้โน้ตนั้นมีเสียงต่ำลงหนึ่งเสียงเต็ม

Double period (ดับเบิลพีเรียด)
ประโยคใหญ่คู่ประโยคใหญ่สองประโยคที่ประกอบกันอย่างสมดุลโดยแบ่งแยกกันด้วยลูกจบกลาง

Double sharp (ดับเบิลชาร์ป)
เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์จัดวางไว้หน้าตัวโน้ตเพื่อทำให้ระดับเสียงของตัวโน้ตสูงขึ้นหนึ่งเสียง

Doubling (ดับบลิ้ง)
การซ้ำโน้ตการจัดให้เสียงในคอร์ดเสียงเดียวกันอยู่ในแนวเสียงมากกว่าหนึ่งแนว

Douce(ment) (Fr. ดูส์มาน)
อย่างอ่อนหวาน

Downbeat (ดาวน์บีท)
หมายถึงจังหวะตกที่จังหวะแรกของห้องปกติมักให้เน้น ในการอำนวยเพลงนั้นจังหวะตกเกิดขึ้นจากการใช้สัญญาณตวัดมือลง

Drangend (Gr. เดรนเกนด์)
เร็วขึ้น

Drone (โดรน)
1.ชื่อท่อเสียงที่ติดกับเครื่องดนตรีประเภทปี่สก๊อต แต่ละท่อจะทำเสียงได้หนึ่งเสียงเป็นเสียงยาวต่อเนื่องกัน
2.การซ้ำและยาวต่อเนื่องกันของเสียงเบส เหมือนเสียงโดรน (หรือเรียกว่า "เสียงเสพ" คือเสียงหลักที่ลากยาวอย่างต่อเนื่องจากการเป่าแคน) ที่เกิดขึ้นตามข้อ 1 เราเรียกว่า โดรนเบส

Druckend (Gr. ดรุคเคนด์)
หนัก เน้น

Drum (ดรัม)
กลองเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบชนิดหนึ่ง
1.สะแนร์ดรัม หรือกลองเล็ก ประกอบด้วยแผงลวดขึงรัดผ่านผิวหน้ากลองด้านล่าง เพื่อให้เกิดเสียงกรอบ ๆ ดังแต๊ก ๆ ตัวกลองทำด้วยไม้หรือโลหะและสามารถรัดให้หนังตึงด้วยขอบไม้ด้านบนและล่างสามารถปลดสายสะแนร์เพื่อให้เกิดเสียงทุ้มดังตุ้มตุ้มได้และตีกลองเล็กด้วยไม้นิยมใช้กลองชนิดนี้ทั้งในวงดุริยางค์และวงดนตรี
2.เทเนอร์ดรัมมีขนาดใหญ่กว่าสะแนร์ดรัมเป็นกลองชนิดที่สร้างขึ้นโดยไม่ใช้สายสะแนร์โดยทั่วไปบรรเลงในหมวดกลองไม้ที่ใช้ตีก็เป็นชนิดหัวไม้หุ้มสักหลาด
3.กลองใหญ่เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดประกอบด้วยตัวกลองที่ทำด้วยไม้และมีหนังกลองทั้งสองด้านเสียงที่เกิดจากการตีกลองใหญ่จะไม่ตรงกับระดับเสียงที่กำหนดไว้ทางตัวโน้ตตีด้วยไม้ที่มีสักหลาดหุ้มชนิดที่มีหัวที่ปลายทั้งสองข้างใช้เพื่อทำเสียงรัว
4. กลองทิมปานี (หรือกลองเค็ทเทิ้ลดรัม) เป็นกลองที่มีลักษณะเป็นหม้อกระทะซึ่งมีหน้าหนังกลองหุ้มทับอยู่ด้านบนเป็นกลองชนิดเดียวที่ขึ้นเสียงแล้วได้ระดับเสียงที่แน่นอนเมื่อคลายหรือขันหน้ากลองโดยไม่ว่าจะใช้วิธีขันสกรูหรือเหยียบเพดดัล (ที่เหยียบ) ไม้ที่ใช้ตีก็มีการหุ้มนวมตรงหัวไม้ตี ตีได้ทั้งเป็นจังหวะและรัว

Duet (ดูเอ็ด)
บทประพันธ์สำหรับผู้เล่นสองคน

Dulcimer (ดัลซิเมอร์)
ขิมฝรั่งเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในยุคต้นที่ตีด้วยไม้ตีขิมเล็ก ๆ สองอัน

Duo (ดูโอ)
คู่หนึ่งหมายถึง duet

Duple time (ดูเพิ้ลไทม์)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะประเภทนับสองจังหวะในหนึ่งห้อง

Dynamic mark (ไดนามิก มาร์ค)
สัญลักษณ์และคำที่บ่งชี้ถึงความดังและความเบาของดนตรี เช่น เครเชนโด เดเครเชนโด p. f. ฯลฯ




:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวE:::

-----------------------------------------------------

E, ed (It. เอ, เอ็ด) ระดับเสียง E (มี)

Ecossaise (Fr. เอโคท์เสซ์)
เพลงเต้นรำของชาวสก๊อตเพลงเอโคท์เสซ์นี้เริ่มแรกมีปี่สก๊อตเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงคลอประกอบ และอยู่โนจังหวะj หรือ h ต่อมาจึงพัฒนาเป็นเพลงเต้นรำพื้นเมืองที่มีความเร็วในจังหวะ h เพลงประกอบด้วยสองวลี วลีละ 4 ห้อง เพลงหรือแปดห้องเพลงก็ได้พร้อมกับการกลับไปย้อนบรรเลงใหม่ด้วย

Edelmutig (Gr. เอเด็ลมูติก)
ชั้นสูง

Eifrig (Gr. ไอฟริก)
อย่างเร่าร้อน

Eigth note (เอท โน้ต)
โน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้นซึ่งจำนวนแปดตัวโน้ตจะมีค่าเท่ากับโน้ตตัวกลมหนึ่งตัว และสองตัวโน้ตมีค่าเท่ากับโน้ตตัวดำหนึ่งตัว

Eighth rest (เอท เรสท์)
การหยุดเสียงที่มีความยาวเท่ากับโน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น

Eilig (Ger. ไอลิก)
รีบเร่ง

Einfach (Ger. ไอน์ฟัคซ์)
สบายสบาย

Elegy (เอลลิจิ)
บทเพลงประเภทเศร้าโศกเพลงไว้อาลัยซึ่งก็คือดนตรีซึ่งใช้ประกอบบทกวีที่เศร้า

Embellishments (เอมเบลลิชเมนต์)
การประดับประดาทางตัวโน้ตดนตรี

Embouchure (Fr. อองบูชัวร์)
1. ส่วนปากเป่า (กำพวด) ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทั้งหลาย
2. เทคนิคการใช้ริมฝีปากและลิ้น โนการเล่นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม

En (Fr. อ็อง)
ใน ,เหมือน, ในรูปแบบของ

En cedant (Fr. อ็อง เซด็อง)
ช้าลงทีละน้อย

En dehors (Fr. อ็อง เดอออร์)
ภายนอก

En mouvement (Fr. อ็อง มูเวอมอง)
กลับไปใช้ความเร็วเท่าเดิม

Energico (It. เอนาร์โจ)
ด้วยพลังอำนาจเข้มแข็ง

English horn (อิงลิชฮอร์น)
เป็นเครื่องดนตรีประเภทปี่ลิ้นคู่มีขนาดท่อยาวกว่าปี่โอโบจึงเรียกว่าอัลโตโอโบส่วนลำโพงมีลักษณะคล้ายลูกแพร์และท่อโลหะที่ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวลิ้นของปี่นั้นจะมีลักษณะโค้งห้อยไปทางหลังและงอทำมุมเครื่องดนตรีนี้ไม่ใช่ของอังกฤษและไม่ใช่แตรฮอร์นเสียงปี่มีลักษณะไปทางเศร้าและคล้ายเสียงขึ้นจมูกปี่อิงลิชฮอร์นเป็นเครื่องดนตรีประเภทต้องย้ายคีย์

Enharmonic (เอ็นฮาโมนิค)
แสดงถึงระดับเสียงเดียวกันที่เขียนต่างกัน เช่น A flat (Ab) เป็นระดับเสียงเดียวกันกับ G sharp(G#)

Ensemble (Fr. อองซอมเบลอะ)
การบรรเลงดนตรีซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เล่นหลายคน (ตรงกันข้ามกับการแสดงดนตรีคนเดียวที่มีผู้เล่นเพียงหนึ่งคนเท่านั้น) เป็นคำภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีความหมายว่า ด้วยกัน

Equalmente (It. เอควาล์เมนเต)
สม่ำเสมอ ,เท่ากัน

Espansione (It. เอสเพนซิโยเน)
แสดงความรู้สึก

Espressione (It. เอสเปรซิโยเน)
ด้วยความรู้สึก

Espressivo (It. เอสเพรสซิโว)
ด้วยความรู้สึกลึกซึ้งและประทับใจ คำย่อคือ espress. etude (Fr. เอทู้ด) บทเพลงสำหรับนักศึกษาในการฝึกเรื่องเทคนิคการเล่นเครื่องดนตรีที่กำลังศึกษา เครื่องดนตรีนั้นอยู่ เป็นคำภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีความหมายว่า "ศึกษา"

Etwas (Gr. เอทวาซ)
ค่อนข้าง

Euphonium (ยูโฟเนียม)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าแตรทองเหลืองที่มีระดับเสียงต่ำกำพวดเป็นรูปถ้วยและที่กดนิ้วเป็นระบบลูกสูบในสหรัฐอเมริกาชื่อนี้ใช้เรียกแตรบาริโทนความจริงแตรนี้ก็คือบีแฟลตเบสทูบาขนาดย่อมยูโฟเนียมแบบอเมริกันมักสร้างให้มีลำโพงสองข้างข้างหนึ่งต้องการให้เหมือนเสียงทรอมโบน
อีกข้างหนึ่งให้เป็นเสียงบาริโทนจริงในอังกฤษจะสร้างให้ท่อของยูโฟเนียมมีขนาดใหญ่กว่าบาริโทน และจัดว่ามีระดับเสียงสูงสุดในตระกูลทูบาเมื่อเขียนบันทึกเสียงดนตรีโดยใช้โน้ตให้อยู่ในเบสเคลฟแล้วก็จะเป็นประเภทไม่ต้องย้ายคีย์ ไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงแต่เมื่อเขียนโน้ตดนตรีให้อยู่ในเทร็บเบิ้ลเคลฟแล้วเหล่าโน้ตดนตรีที่ไต้นั้นจะมีลักษณะสูงกว่าเสียงจริงหนึ่งอ๊อกเทฟกับอีกหนึ่งเสียง

Evensong (อิเวนซอง)
บทสวดรอบค่ำในนิกายอังกฤษบทสวดเวสเปอร์ของนิกายคาทอลิค

Excercise (เอ็กเซอร์ไซซ์)
บทฝึกเทคนิค

Expression (เอ็กส์เพรสชั่น)
การแสดงออกทางด้านอารมณ์โดยผ่านออกมาทางด้านการแสดงดนตรีในลักษณะที่มีการปรับขนาดความดังความเบาและความเร็วของเพลง (การเร่ง การหน่วงและการเล่นตามอำเภอใจ)

Expressionism (เอ็กส์เพรสชั่นนิซึ่ม)
ดนตรีแบบหนึ่งเกิดขึ้นตอนต้นศตวรรษที่ 20 ดนตรีแบบนี้เป็นงานที่แสดงอารมณ์ของคีตกวีอย่าง ไม่ต้องเกรงใจคนฟังเลย





:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวF:::

---------------------------------------------------

F (เอฟ)
1. ชื่อระดับเสียงฟา
2. อักษรย่อของคำว่า forte แปลว่า ดัง

F clef (เอฟ เคลฟ)
หมายถึง เบสเคลฟ

Faciele (It. ฟาซีเล) facile (Fr.)
ง่าย ,คล่อง.

Falsetto (It. ฟัลเสตโต)
เสียงที่ร้องดัดให้สูงขึ้นกว่าเสียงร้องตามปกติ

Fandango (Sp. ฟันดังโก)
เพลงเต้นรำอย่างมีชีวิตชีวาของสเปนในจังหวะประเภทนับ 3 (สามจังหวะในหนึ่งห้อง) เพลงเต้นรำฟันดังโกเป็นเพลงเต้นรำโดยนักเต้นคู่หนึ่งพร้อมด้วยเครื่องดนตรี กีตาร์, คาสทะเนทส์และการขับร้องร่วมทำดนตรีคลอประกอบด้วยเพลงนี้ปรากฏครั้งแรกที่สเปน ในศตวรรษที่ 18

Fanfare (It. แฟนแฟร์)
การแสดงอวดอย่างสง่าของเหล่าแตรทรัมเป็ต

Fantasia (It. ฟานเตซีอา), fantaisie (Fr. ฟานต์ซี), fantasie (Ger.), Fantasy (Eng. แฟนตาซี)
1. คีตลักษณ์ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 17และ 18 โดยมีพื้นฐานจากการร้อง ล้อเลียนกันอย่างอิสระ
2. ผลงานดนตรีที่นักประพันธ์เขียนขึ้นตามความรู้สึกไม่ได้เขียนตามข้อกำหนดไว้ของคีตลักษณ์

Feirlich (Gr. ไฟร์ลิคซ์)
สนุกสนาน

Fermamente (It. เฟอร์มาเม็นเต)
อย่างมั่นคง เด็ดเดี่ยว

Fermata (It. เฟอมาตา)
การลากเสียงยาวเพิ่มขึ้นหรือหมายถึงการหยุดเสียงเครื่องหมายเฟอมาตาจะเพิ่มค่าเวลาของตัวโน้ตหรือตัวหยุดตามที่เครื่องหมายนี้กำกับไว้ข้างบน ซึ่งจะเพิ่ม ความยาวเท่าใดนั้นให้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ปฏิบัติ

Feroce (It. แฟรโรเช)
ป่าเถื่อน ,ดุร้าย

Festevole (It. เฟสเตโวเล)
สนุกสนาน ร่าเริง

Feu (Fr. เฟอ)
ไฟ เร่าร้อน

Fiddle (ฟิดเดิ้ล)
เป็นภาษาแสลงของคำว่าไวโอลิน และรวมใช้สำหรับสมาชิกอื่น ๆ ในตระกูลเครื่องสาย เช่น เบสฟิดเดิ้ล

Fiere (Fr. ฟิแอร์)
ภูมิใจ, ชั้นสูง

Fife (ไฟฟ์)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ที่มีขนาดเล็กเหมือนขลุ่ย ฟลูท แต่ไฟฟ์มีเสียงสูงกว่าหนึ่งอ๊อกเทฟ มีรูปิดเปิดหกถึงแปดรูและไม่มีคีย์สำหรับปิดเปิดรู ส่วนใหญ่ใช้ในวงขลุ่ยไฟฟ์และหมวดกลอง

Fifth (ฟิฟท์)
1.ช่วงคู่เสียงของเสียงแบบไดอาโทนิก 5 เสียง

Figure (ฟิกเกอร์)
ประกายความคิด ส่วนที่สั้นที่สุดของแนวความคิดทางดนตรี

Fin (Fr. แฟง)
จบ

Fine (It. ฟิเน)
จบ

Finale (It. ฟิน่าเล)
ส่วนสรุปจบหรือส่วนท้ายสุดของท่อนในบทประพันธ์เพลงบทหนึ่ง

Fine (It ฟิเน)
จบ ,ปิดฉากลง D.C.al Fine หมายถึง ให้กลับไปที่จุดเริ่มต้นใหม่ และเล่นจน ถึงคำว่า Fine

First inversion (เฟริท์อินเวอร์ชั่น)
การพลิกกลับครั้งที่หนึ่งการเรียงตัวใหม่ของคอร์ดเพื่อให้โน้ตตัวที่สามอยู่ในแนวล่างสุด

Flag (แฟล็ก)
เขบ็ตเส้นตรงที่ลากจากก้านโน้ต เพื่อแสดงว่าตัวโน้ตนั้นมีอัตราจังหวะสั้นกว่าโน้ตตัวดำ

Flageolet (แฟล็กจะโอเลท)
1. เครื่องดนตรีรูปร่างคล้ายฟลูท ซึ่งจัดเข้าอยู่ในตระกูลนกหวีด (เป่า)
2. ปุ่มสำหรับให้เสียงขลุ่ยระดับเสียงสูงในเครื่องดนตรีออร์แกน

Flamenco or cante flamenco (Sp. ฟลาเมงโก)
ชื่อระบำหรือดนตรีของสเปนในสไตล์ยิปซีมีรากฐานมาจากคำว่า Canre .Id. ซึ่งบรรยายถึงอารมณ์และโศกนาฏกรรมแบบเพลงชาวอันดาลูเชี่ยนในตอนต้นศตวรรษที่ 19 ได้รับความนิยมและมีสีสันมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ชื่อฟลาเมงโกอาจจะใช้เป็นคำอธิบายถึงเครื่องแต่งกายสีฟลาเมงโกของชาวยิปซีปกติแล้วเพลงจะเริ่มต้นด้วยคำว่า "อาย" หรือ "เลลิ" ซึ่งมีพิสัยขั้นคู่เสียงหก และโดยทั่วไปจะคลอประกอบด้วยกีตาร์

Flat (แฟล็ท)
เครื่องหมายแฟล็ทนี้เมื่อวางข้างหน้าโน้ตตัวใดแล้ว โน้ตตัวนั้นจะมีเสียงต่ำลงครึ่งเสียง

Flautando (It. เฟลาตานโด)
เหมือนฟลูท ใส

Fling (ฟลิง)
การเต้นรำแบบสก๊อต ซึ่งเหมือนกับเพลงเต้นรำรีลปกติจะอยู่ในจังหวะ oถ

Fluchtig (Gr. ฟลุคช์ทิก)
อย่างละเอียดอ่อน

Flute (ฟลูท)
ชื่อขลุ่ยชนิดหนึ่งจัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ขลุ่ยฟลูทมีท่อกลวงทำเสียงได้โดยการเป่าผ่านส่วนปากเป่า (ที่เจาะไว้ด้านบนของท่อนส่วนปากเป่า) ที่น่าแปลกคือส่วนปากเป่าท่อนนี้มีลักษณะความกว้างของท่อไม่เท่ากันคือจะตีบเรียวลงจนถึงส่วนปลายสุดของท่อนกลไกการปิดเปิดรูและระบบการวางนิ้วของฟลูทสมัยใหม่ได้รับการออกแบบโดยทีโอบัลด์ โบเอม (เกิดปีค.ศ 1793)
ถึงแม้ว่าขลุ่ยฟลูทจะจัดไว้เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ก็ตามแต่ขลุ่ยฟลูทในปัจจุบันนี้ก็ทำด้วยโลหะเสียงของฟลูทมีลักษณะใสชัดเจนเหมือนโลหะเงินอีกทั้งเป่าขึ้นเสียงสูงได้ดีฟลูทเป็นเครื่องดนตรีประเภทไม่ต้องย้ายคีย์ (เสียงที่เกิดขึ้นจริงจะตรงกับที่เขียนบันทึกไว้)

Folk music (โฟล์ค มิวสิก)
คือดนตรีที่บรรยายถึงวัฒนธรรมประเพณีและอารมณ์ของประชาชนในชนบทหรือกลุ่มชนส่วน ต่าง ๆ ดนตรีโฟล์คเป็นดนตรีที่พัฒนาขึ้นท่ามกลางผู้คน ไม่ได้เกิดจากการแต่งอย่างเป็นกิจลักษณะ ตัวอย่างเพลงโฟล์คของอเมริกันก็มีเพลงชาวเขา เพลงเคาว์บอยและเพลงนิโกรสปีริชวล

Form (ฟอร์ม)
แบบแผนหรือรูปแบบในการประพันธ์เพลง ประกอบด้วยคีตลักษณ์ 7 ชนิด คือ
1. ไบนารี่แบบธรรมดาประกอบด้วยคีตลักษณ์ชนิด 2 ส่วน
2. เทอนารี่แบบธรรมดาประกอบด้วยคีตลักษณ์ชนิด 3 ส่วน
3. คอมเปานด์ไบนารี่หรือที่เรียกว่าโซนาตาฟอร์ม
4. รอนโด
5. ทีมแอนด์แวริเอชั่น
6. ฟิวก์
7. คีตลักษณ์แบบต่อเนื่องเป็นหนึ่งเดียวโดยไม่มีการซ้ำหรือพัฒนาต่อไปตัวอย่างเช่นพรีลูดบทแรกของ เจ เอส บาคชื่อว่า เดอะเวลล์เทมเปอร์คลาเวียคีตลักษณ์ทั้งเจ็ดชนิดสามารถผสมผสานเข้าด้วยกันได้มากมายหลายวิธี

Forte (It. ฟอร์เต)
ดัง

Fortissimo (It. ฟอร์ติสซิโม)
ดังมาก (ตัวย่อ ff.)

Forza (It.ฟอร์ซา)
เน้น Forzando (It. ฟอร์ซานโด) forzato (It. ฟอร์ซาโต) ด้วยการเน้นทันทีทันใด หรือการย้ำออกเสียงดัง การเน้นเช่นเดียวกับคำว่า sforzando

Fourth (ฟอร์ท)
1. ขั้นคู่เสียงของโน้ตสี่ตัว จากการเรียงแบบไดอาโทนิก
2. ขั้นที่สี่ในบันไดเสียงแบบไดอาโทนิก ซับดอมิแนนท์

Frei (Gr. ฟราย)
อิสระ

Freimutig (Gr. ฟรายมูติก)
อย่างตรงไปตรงมา

French horn (เฟรนช์ฮอร์น)
เครื่องเป่าประเภทแตรทองเหลืองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะท่อแตรขยายออกไปตลอดถึงปากลำโพง มีกำพวดแบบรูปกรวย และลูกสูบแตรซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มจากแตร ในยุคแรก ๆ ทำให้สามารถเล่นบันไดเสียงแบบโครมาติกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดระยะช่วงเสียงอันกว้างเสียงแตรฮอร์น มีลักษณะกลมกล่อม และเมื่อเป่าขึ้นไปในช่วงเสียงสูง ๆ จะมีความสง่างาม และค่อนข้างจะเป็นลักษณะคมจ้าแบบแตรในช่วงกลาง ๆ เสียงที่สูงมากและต่ำมากนั้นจะเล่นยากแตรเฟรนช์ฮอร์นนั้นสร้างได้ทั้งใน แบบ F และ Bb แต่สามารถรวมทั้งสองแบบเข้าไว้ในตัวแตรเครื่องเดียวกัน (ที่เรียกว่าดับเบิลฮอร์น) ได้ แตรเฟรนช์ฮอร์นเป็นแตรที่ต้องย้ายคีย์

Frets (เฟรทส์)
ขีดแบ่งเส้นบนแผงวางนิ้วของเครื่องดนตรีแบนโจ, กีตาร์ ,ลูท ,แมนโดลิน ,ซีตาร์ ฯลฯ เพื่อจัดให้มีระยะช่องห่างที่แน่นอนเหมาะกับตำแหน่งการวางนิ้วกดสายให้ได้เสียงต่าง ๆ

Fretta (เฟรทตา)
รีบเร่ง

Frisch (Gr. ฟริสซ์)
มีชีวิตชีวา

Frohlich (Gr. โฟร์ลิคช์)
สนุกสนาน

Fruheres zietmass (Gr. ฟูเฮเรส ซายท์มาส)
กลับไปใช้ความเร็วเท่าเดิม

Fugue (ฟิวก์)
การประพันธ์เพลงที่พัฒนามากที่สุดแขนงหนึ่งนิยมประพันธ์ในสมัยบาโรค ในบทประพันธ์เพลงประเภทคอนทราพันทัลมาจากคำภาษาลาตินว่า ฟูกา (fuga) ซึ่งหมายถึง "บิน" การประพันธ์แบบฟิวก์จะเริ่มด้วยทำนองที่เรียกว่าซับเจคท์ (Subject) เป็นการเน้นทำนองแบบที่หนึ่งก่อนต่อมาก็จะมีการเปลี่ยนแปลงด้วยทำนองที่เรียกว่าอานเซอร์ (answer) ซึ่งคล้ายกับซับเจคท์แต่เริ่มที่เสียงอื่น ๆ (โดยปกติเป็นคู่ 5 หรือคู่ 4ของคีย์) และจะมีแนวอื่นๆ (ปกติมีสองถึงห้าแนว) มารับโดยแนวอื่น ๆ นั้นเข้ามาทีละแนวทำนองส่วนที่ไม่ได้อยู่ในซับเจคท์ เรียกว่า เอพพิโซด (Episode)นอกจากนั้นหากเป็นทำนองที่เกยกันอยู่สองถึงสามแนว เรียกว่า สเตร็ทโตแพสเสจ (Stretto Passage)

Full cadence (ฟลูคาเด้น)
ลูกจบท้ายการดำเนินคอร์ดจาก V ไป I ซึ่งทำให้รู้สึกจบในลูกจบสมบูรณ์นั้นเสียงสูงที่สุดจบที่โทนิก ส่วนในลูกจบไม่สมบูรณ์นั้นเสียงสูงที่สุดจบที่โน้ตตัวอื่นนอกเหนือจากโทนิก

Full orchestra (ฟลูออร์เคสตรา)
วงออร์เคสตราที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีเต็มอัตราโดยใช้เครื่องดนตรีครบทั้ง 4 ประเภท คือ string instruments, wood-wind instruments, brass-wind instruments, และ percussion instruments

Fundamental (ฟันดาเมนทัล)
1. ตัวพื้นต้นของคอร์ด, เสียงแรกที่เป็นตัวสร้างคอร์ด, ราก
2. เสียงฮาร์โมนิกตัวแรกในอนุกรมโอเวอร์โทน (overtone series)

Funebre (It. ฟูเนเบร, Fr. ฟูเนเบลอ)
เศร้า มืดมน

Furioso (It. ฟูริโอโซ)
หยาบ ,ป่าเถื่อน ,ดุเดือด ,บ้าคลั่ง

Futurism (ฟอทูริซึ่ม)
ดนตรีแบบหนึ่งซึ่งมีการเคลื่อนไหวราวปี 1910 คีตกวีในลัทธินี้จะใช้ปืนกลไซเรน, นกหวีดไอน้ำ, เครื่องพิมพ์ดีดและอะไรต่อมิอะไรสารพัดที่มีเสียง มาใส่ในดนตรีของเขาซึ่งใช้วงออร์เคสตราอยู่แล้ว




:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวG:::

----------------------------------------------------

G (จี) ชื่อระดับเสียงซอล

G clef (จี เคลฟ)
กุญแจซอลหรือ เทร็บเบิ้ลเคลฟ

Gai (Fr. เก)
สนุกสนานมีชีวิตชีวา, พอใจ

Galliard (กาลยาร์ด)
เพลงเต้นรำสนุกสนานแบบหนึ่งปกติอยู่ในจังหวะประเภทนับสาม(สามจังหวะในหนึ่งห้องหรือ k) มีลีลารวดเร็วเพลงกาลยาร์ดได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 16 ถึงตอนกลางศตวรรษที่ 17 มักบรรเลงต่อจากเพลงเต้นรำที่ชื่อ พาวาน (pavan) (ที่มีความช้าและสม่ำเสมอมากกว่า)

Gavotte (Fr. กาวอท)
เพลงเต้นรำของฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 17 อยู่ในคีตลักษณ์แบบสองส่วนแต่ละวลีแต่ละส่วนจะเริ่มในจังหวะกลางของห้องเพลงเพลงเต้นรำกาวอทนี้มักเป็นเพลงหนึ่งในบทเพลงประเภทสวีท (suite)

Gedampft (Ger. เกแดมพ์)
ใช้เครื่องลดความดัง

Gefuhl (Ger. เกฟุล)
ความรู้สึก

Gehend (Ger. เกเฮน)
ช้าปานกลาง เท่าความเร็วของการเดิน

Geist (Ger. ไกสด์)
วิญญาณ, จิตใจ

Gemachlich (Ger. เกเม็คลิคช์)
สบาย ๆ ไม่เร่งรีบ

Gewichtig (Ger. เกวิคทิก)
ไตร่ตรอง ,หนักแน่น

Gigue or giga, jig (It. จิก)
เรียกอีกชื่อว่า "จิก" (jig) เป็นเพลงเต้นรำอิตาเลียนในยุคแรกซึ่งอาจมีชื่อมาจากคำว่า "จิกกา" (giga) ที่หมายถึงชื่อเครื่องดนตรีประเภทวิโอลชนิดหนึ่ง เพลงจิกนี้แต่งอยู่ในเครื่องหมายกำหนดจังหวะมากมาย เช่น m,u, และt มักใช้เป็นขบวนสุดท้ายของบทเพลงประเภทสวีทที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18

Giocoso (It. โจโคโซ)
ในเชิงการละเล่น รื่นเริง

Giusto (It. จุสโต)
เคร่งครัดเที่ยงตรง

Glanzend (Gr. เกล็นเซ็น)
สดใส, สว่าง

Glissando (It. กลีซานโด)
โน้ตดนตรีหลายเสียงที่เล่นติดต่อกันอย่างรวดเร็วกลีซานโดที่เล่นบนเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดทำได้โดยการใช้นิ้วมือหนึ่งนิ้วของผู้เล่นกดผ่านคีย์แบบไถลเลื่อนติดต่อกันไปถ้าหากเล่นจากเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (สี) ก็ทำได้โดยการรูดนิ้วไปตามสายในขณะที่สีไปด้วยกลีซานโดอาจจะเล่นได้จากเครื่องลมไม้บางประเภทมักจะได้ยินบ่อยครั้งจากเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีฮาร์ฟ (พิณ) ซึ่งทำได้ด้วยการใช้นิ้วหนึ่งนิ้วกรีดไปบนสายเสียง คำย่อคือ gliss.

Glockenspiel (Gr. กลอคเคิ่นสปีล)
เครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ
1. ท่อนเหล็กซึ่งมีระดับเสียงทางดนตรี 1 ชุด มีลักษณะการเรียงคล้ายคีย์บอร์ดประเภทเปียโน เล่นโดยใช้ไม้ตี 2 อัน
2. เบลไลร่าเป็นกลอคเคิ่นสปีลชนิดที่พกพาไปได้ Gondoliera (It. กอนโดเลียรา) เพลงเรือชนิดหนึ่ง

Gong (กอง)
ฆ้อง

Grace note (เกรส โน้ต)
โน้ตตัวเล็ก ๆ ไม่มีอัตราจังหวะที่เขียนหน้าตัวโน้ตที่ต้องการให้เล่นสบัดเสียงจากเสียงหนึ่งไปเสียงหนึ่ง เช่น จากเสียงโดชาร์ปไปเสียงเร

Gracieux (Fr. กราสิเยอ)
สง่างาม

Grand staff (แกรนด์สต๊าฟ)
บรรทัดห้าเส้นคู่ (อาจเรียกว่า บรรทัดห้าเส้นใหญ่ หรือ บรรทัดห้าเส้นของเปียโน) การเชื่อมบรรทัดห้าเส้นของกุญแจเทร็บเบิ้ล และกุญแจเบสโดยใช้วงเล็บหรือปีกกา

Grandioso (It. กรันดิโอโซ)
สง่างาม ,กล้าหาญ

Grave (It. กราเว่, Fr. กราท์เว)
ช้าอย่างเคร่งขรึม, ช้ากว่าเลนโตแต่เร็วกว่าลาร์โก

Grazioso (It. กราซิโอโซ)
รื่นเริงบันเทิงใจ

Gregorian chant (เกรเกอเลียน แชนท์)
เพลงสวดของศาสนาโรมันคาทอลิกซึ่งได้รับการปรับปรุงใหม่โดยสันตะปาปาเกร็กกอร์รี่ที่ 1 (ค.ศ.590-604)

Guiro (Cu. กิโร)
เครื่องดนตรีประเภทตีกระทบใช้ในเพลงลาตินอเมริกากิโรทำจากลูกบวบแห้งที่มีรอยบากอยู่ส่วนบน เมื่อใช้ไม้ขูดไปตามรอยบากแล้วจะเกิดเสีย

Guitar (กีตาร์)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเล่นโดยวิรีการใช้เพล็คทรัม (Plectum ) คือนำวัสดุแผ่นเล็กและบางดีดหรือกรีดไปบนสายเสียง (หรือจะใช้นิ้วผู้เล่นก็ได้) กีตาร์ที่มีหกสายนี้จะมีส่วนหลังและส่วนหน้าเป็นแผ่นแบนมีแผงกดนิ้วซึ่งมีขีดแบ่งสายด้วยปัจจุบันเรามักจะติดอุปกรณ์ส่วนที่เป็นไมโครโฟนและส่วนขยายเสียงเข้าไว้กับกีตาร์




:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวH:::

-------------------------------------------------

Habanera (Sp.อาบาเนรา)
เพลงเต้นรำแบบช้าของชาวคิวบาซึ่งได้รับความนิยมในประเทศสเปนเพลงอาบาเนรานี้อาจมีกำเนิดมาจากทวีปแอฟริกาบทเพลงจะเริ่มด้วยการเกริ่นนำสั้น ๆ แล้วตามด้วยดนตรีสองส่วนซึ่งประกอบด้วย 8 ห้องเพลงและ 16 ห้องเพลงตามลำดับ

Half cadence (ฮาล์ฟคาร์เด้น)
ลูกจบกลาง

Half note (ฮาล์ฟ โน้ต)
หมายถึงโน้ตตัวขาวซึ่งจำนวนโน้ตสองตัวนี้รวมค่าความยาวเท่ากับโน้ตตัวกลมหนึ่งตัวและโน้ตตัวดำสองตัวรวมค่าความยาวเท่ากับโน้ตตัวขาวหนึ่งตัว

Half rest (ฮาล์ฟ เรสท์)
ตัวหยุดโน้ตตัวขาวสัญลักษณ์ให้หยุดออกเสียง มีค่าเท่ากับตัวโน้ตตัวขาวหนึ่งตัว

Half step (ฮาล์ฟ สเต็ป)
ขั้นครึ่งเสียง (อาจเรียกว่าเซมิโทน หรือ m2 , ขั้นคู่ 2 ไมเนอร์) ขั้นคู่ที่เล็กที่สุดในดนตรีตะวันตก

Hammerklavier (Gr. ฮามเมอร์คลาเวียร์)
ชื่อเยอรมันดั้งเดิมที่หมายถึงเปียโนบทเพลงโซนาตาของเบโธเฟนโอปุส 106 นั้นตามปกติแล้วเรียกว่า ฮามเมอร์คลาเวียร์ โซนาตา

Harmonic minor scale (ฮาร์โมนิก ไมเนอร์สเกล)
บันไดเสียงฮาร์โมนิกไมเนอร์บันไดเสียงที่เกิดจากการยกระดับขั้นที่ 7 ของเนเจอรัลไมเนอร์ ขึ้นครึ่งเสียง

Harmonics (ฮาร์โมนิกส์)
เป็นเสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายโดยวิธีการแตะนิ้วเพียงเบา ๆ ณ จุดต่าง ๆ ที่ระยะแบ่งครึ่งหรือเศษหนึ่งส่วนสี่บนสายเสียงเครื่องดนตรีเพื่อให้เกิดเสียงสูงกว่าการกดนิ้วแบบธรรมดา(กดติดแผงวางนิ้ว) ณ จุดเดียวกันและในห้วงเวลาเดียวกัน

Harmonic progression (ฮาร์โมนิกส์โปรเกรสชั่น)
การดำเนินเสียงประสานกลุ่มของคอร์ดซึ่งเป็นฐานของทำนองหรือบทประพันธ์นั้นบางครั้งอาจเรียกว่า เสียงประสานพื้นฐาน

Harmonic rhythm (ฮาร์โมนิกส์ริธึ่ม)
จังหวะของเสียงประสานรูปแบบของจังหวะที่กำหนดในการเปลี่ยนเสียงประสาน

Harmonization (ฮาร์โมไนซ์เซชั่น)
การใส่เสียงประสาน การใส่คอร์ดที่เหมาะสมให้กับทำนอง

Harmony (ฮาร์โมนี)
1. การผสมเสียงเข้าด้วยกัน เช่น คอร์ด
2. ความสัมพันธ์ระหว่างอนุกรมของคอร์ด โครงสร้างของคอร์ดในคีตนิพนธ์

Harp (ฮาร์ป)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย พิณเสียงจากการใช้นิ้วดีดสายเสียงของเครื่องดนตรีปกติแล้วมี 47 สายและที่เหยียบเพดดัล 7 อันเพดดัลแต่ละอันจะควบคุมสายเสียงแต่ละชุดเช่น เพดดัล อันหนึ่งจะบังคับสายเสียง C ทั้งหมดและอีกอันหนึ่งจะบังคับสายเสียง D ทั้งหมดฮาร์ปเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ชนิดหนึ่งที่มีการกล่าวถึงตั้งแต่ราว 3,000 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ

Harpsichord (ฮาร์ปซิคอร์ด)
เครื่องดนตรีที่เกิดก่อนเปียโนสายเสียงภายในเครื่องดนตรีจะถูกเกี่ยวด้วยไม้ดีด (quills) ขณะที่เรากดคีย์ลงไป (ตรงข้ามกับเปียโนซึ่งใช้ค้อนเคาะ) ฮาร์ปซิคอร์ดไม่อาจให้เสียงที่ดังหรือเบาตามลำดับได้อย่างไรก็ตามก็มักจะมีคีย์บอร์ดสองแผงคือแผงหนึ่งจะให้เสียงดังอีกแผงหนึ่งจะให้เสียงเบาปุ่มหรือเครื่องพ่วงใช้เพื่อเชื่อมสายเสียงแต่ละชุดทำให้เกิดเสียงหลายอ๊อคเทฟจากการกดเพียงคีย์เดียวเท่านั้น ฮาร์ปซิคอร์ดได้รับความนิยมมากในช่วงศตวรรษที่สิบ 16 ถึงศตวรรษที่ 18

Heftig (Ger. เฮฟทิก)
ดุเดือด, เครียด, โกรธ

Heimlich (Ger. ฮายม์ลิคช์)
ลึกลับ

Heiter (Ger. ฮายเตอร์)
เรียบ ๆ สดใส สนุกสนาน

Hold (โฮล์ด)
ยืดออกไป

Homophonic (โฮโมโฟนิค)
ดนตรีโฮโมโฟนีหมายถึงดนตรีที่มีแนวเสียงหลัก 1 แนวเสียงและมีเสียงประสานประกอบเสียงหลักนั้น

Hopak (Ru. โฮปัก)
เรียกอีกชื่อว่าโกปัก (gopak) เพลงระบำที่มีชีวิตชีวาของรัสเซียอยู่ในจังหวะประเภทนับ 2 (h)

Hornpipe (ฮอร์นไปป์)
เป็นเพลงเต้นรำพื้นเมืองเก่าแก่ของอังกฤษลักษณะเพลงมีชีวิตชีวาเพลงฮอร์นไปป์ได้รับความนิยมในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึง 19 โดยเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ชาวกลาสีเรือเพลงฮอร์นไปป์ในศตวรรษที่ 17และ 18 จะอยู่ในจังหวะ j และต่อมาเปลี่ยนเป็นจังหวะ oถ

Hubsch (Gr. ฮุบช์)
มีเสน่ห์ ,สวยงาม

Hunting horn (ฮันติ้ง ฮอร์น)
เครื่องดนตรีประเภทแตรทองเหลืองที่มีรูปลักษณ์เป็นท่อขดเป็นวงไว้โดยไม่มีลูกสูบฮั้นติ้งฮอร์นเป็นบรรพบุรุษของเฟรนช์ฮอร์นใช้ในการล่าสัตว์และสวมใส่ไว้บนบ่าของผู้เล่นเป็นแตรแบบธรรมชาติชนิดหนึ่ง

Hurtig (Gr. ฮูติก)
เร็ว

Hymn (ฮิม)
เพลงศาสนาหรือเพลงศักดิ์สิทธิ์





:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวI:::

-------------------------------------------------

Im ersten zeitmass (Gr. อิม แอร์เต็น ซายท์มาส )
กลับไปใช้ความเร็วเท่าเดิม

Imitation (อิมิเทชั่น)
ลูกล้อ ,การซ้ำเนื้อหาทำนองเดียวกันโดยแนวเสียงต่าง ๆ กัน

Immer (Gr. อิมเมอร์)
เสมอ

Immer im tempo (อิมเมอร์ อิม เทมโป)
รักษาจังหวะเดิมไว้

Immer belebter (Gr. อิมเมอร เบเล็บเทอ)
มีชีวิตชีวามากขึ้นทีละน้อย

Immer langsamer werden (Gr. อิมเมอร์ ลางซัมเมอ แวร์เด็น)
ช้าลงทีละน้อย

Imperfect authentic cadence (อิมเพอร์เฟค ออร์เทนทิค คาร์เด็น)
ลูกจบไม่สมบูรณ์ ลูกจบท้ายซึ่งมีแนวเสียงที่สูงที่สุดจบในตัวโน้ตอื่นที่ไม่ใช่โทนิก

Imperfect cadence (อิมเพอร์เฟค คาร์เด็น)
ลูกจบไม่สมบูรณ์

Impressionism (อิมเพรชชั่นนิซึ่ม)
ดนตรีแบบหนึ่งตอนปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20

Impromptu (อิมพร้อมทุ)
เพลงที่เขียนในลักษณะอิสระเสรี มีคีตลักษณะไม่แน่นอนนิยมกันในยุคโรแมนติก (ศตวรรษที่ 19) อิมพร้อมทุมักให้ความรู้สึกถึงการด้นเพลงคือในลักษณะเล่นไปแต่งไป

Improvisation (อิมโพรไวเซชัน)
การเล่นดนตรีอย่างพลิกแพลงโดยใส่กลเม็ดเด็ดพรายเอาเองไม่ได้เตรียมไว้หรือถูกกำหนดด้วยความสามารถของผู้เล่น ที่ภาษาไทยเราเรียกว่า "การด้น" หรือ "คีตปฎิภาณ"

Incalzando (It. อินคาลซานโด)
อย่างรีบเร่ง

Incidental music (อินสิเดนทัล มิวสิก)
ดนตรีประกอบละคร ละครกรีกมักจะมีดนตรีประกอบเช่นเดียวกับละครของเชคสเปียร์ละครสมัยใหม่ส่วนมากก็ใช้ดนตรีประกอบละครด้วย

Indesciso (It. อินเดซิโซ)
ตัดสินใจไม่ได้ ,ลังเลใจ

Innig (Ger. อินนิก)
คุ้นเคยด้วยจิตใจ

Inquieto (It. อินควีเอโต)
กระสับกระส่าย

Instrumentation (อินสทรูเม้นเทชั่น)
การเลือกใช้เครื่องดนตรีการเลือกใช้เครื่องดนตรีในบทประพันธ์

Interval (อินเทอร์วอล)
ระดับเสียงที่แตกต่างกันระหว่างเสียงสองเสียงขั้นคู่เสียงไดอาโทนิกอาจเป็นลักษณะพลิกกลับ คือ ขั้นคู่เสียงชนิดเมเจอร์เมื่อพลิกกลับแล้วจะเป็นไมเนอร์ ในทำนองเดียวกันขั้นคู่เสียงชนิดไมเนอร์เมื่อพลิกกลับจะเป็นเมเจอร์ส่วนขั้นคู่เสียงเพอร์เฟคยังคงเป็นเพอร์เฟค ถึงแม้จะพลิกกลับแล้วก็ตาม

Intonation (อินโทเนชั่น)
การทำให้มีระดับเสียงถูกต้องจะด้วยวิธีการเล่นหรือการร้องก็ตาม


Invention (อินเวนชั่น)
เป็นชื่อที่ เจ.เอส.บาค คิดขึ้นใช้ในการแต่งเพลงประเภทสองแนวและสามแนว อินเวนชั่น (บทเพลงสั้น ๆ ที่เขียนในลักษณะของเคาร์เตอร์พอยท์แบบอิสระ)

Inversion (อินเวอร์ชัน)
การพลิกกลับ
1. ขั้นคู่เสียงที่มีการพลิกกลับโดยให้โน้ตตัวต่ำกว่ากลับขึ้นไปอยู่สูงกว่าเดิมหนึ่งอ๊อคเตฟ
2. คอร์ดจะอยู่ในลักษณะพลิกกลับ หากทำให้โน้ตตัวใดตัวหนึ่ง (นอกจากโน้ตตัวพื้นนั้น) อยู่ต่ำสุดสำหรับคอร์ดนั้น ๆ

Irresoluto (It. อีเรโซลูโต)
อย่างตัดสินใจไม่ได้มีอาการลังเล

Istesso (It. อิสเตสโซ)
เหมือนกัน

Istesso tempo (It.อิสเตสโซ เทมโป)
อัตราความเร็วเหมือนเดิม




:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวJ:::

-------------------------------------------------

Jam session (แจมเซสชั่น)
การเข้าร่วมเล่นดนตรีแจ๊สอย่างไม่เป็นทางการ โดยไม่ต้องใช้โน้ตดนตรี

Jazz (แจ๊ส)
ดนตรีแจ๊สมีรูปแบบมากมาย (เริ่มตั้งแต่แรกไทม์และพัฒนาเรื่อยมาทั้งทางด้านเสียงประสานและจังหวะมีชื่อเรียกต่างกันตามรูปแบบเพลงบูลส์, บูกี้วูกี้, สวิงและ ,บีบ๊อบ) ดนตรีแจ๊สเป็นรากฐานแบบอย่างดนตรีเต้นรำของชาวอเมริกันตั้งแต่ปลายศตวรรษ 1900 เมื่อครั้งนักดนตรีข้างถนนชาว นิโกรในเมืองนิวออร์ลีนส์ดัดแปลงจังหวะแบบอาฟริกันและทำนองเพลงไปเป็นดนตรีแบบใหม่
1.เพลงแรกไทม์ (ragtime) เป็นดนตรียุคแรกสุดของดนตรีแจ๊ส มีเสียงประสานที่เรียบง่ายใช้เพียงแต่คอร์ด I - IV และ V จังหวะก็อยู่ในลักษณะ2 ถึง 4 ต่อห้องเพลง และเล่นอยู่ในแบบฉบับที่ตายตัวมากเนื่องจากนักดนตรีส่วนใหญ่อ่านโน้ตไม่ได้ จึงต้องใช้วิธีด้นแนวดนตรีของตนเอง
2.เพลงบูลส์ (blue) ได้รับความนิยมราวปีศตวรรษ 1912 แรกเริ่มนั้นคือเพลงสำหรับร้องมีจังหวะช้ากว่าเพลงแรกไทม์เสียงประสานก็ซับซ้อนกว่าเพราะใช้คอร์ดพวกเซเวนมากและใช้การด้นสั้น ๆ บ่อยครั้ง
3. เพลงบูกี้วูกี้ (boogie-woogie) เริ่มในปีศตวรรษ 1920 มีลักษณะสำคัญคือ การซ้ำทำนองเบสด้วย โน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้นในจังหวะ o และมีการด้นทำนองอย่างอิสระ
4. เพลงสวิง (swing) ได้รับการพัฒนามาจากแบบแรก ๆ ใช้เสียงประสานที่มากกว่า คือ ใช้ทั้งคอร์ด 7 และคอร์ด 9 จังหวะก็อยู่ในลักษณะประเภทนับสองและนับสี่แต่มีความราบรื่นประเภทสามพยางค์ ซึ่งให้อารมณ์ดีกว่าการเคร่งจังหวะของดนตรีแจ๊สในยุคแรก ๆ การด้นเบรค ฯลฯ ที่เคยใช้ในยุคแรกก็ได้นำมาใช้ด้วย
5.เพลงบีบ๊อบ (bebop) เป็นเพลงที่ได้รับการพัฒนาต่อไปอีกทั้งทางด้านจังหวะและเสียงประสาน เสียงประสานมีความซับซ้อนมากโดยใช้คอร์ดประเภท 7,9,11 และ 13 พอ ๆ กับการ เปลี่ยนแปลงท่วงทำนองและเสียงประสานทุกชนิดจังหวะที่มีความเคร่งครัดโดยให้ความรู้สึกการ ใช้โน้ตตัวเขบ็ต 2 ชั้นในประเภทนับ 4 ในแต่ละห้อง

Jete (เจท)
การทำคันชักเต้นบนสาย

Jota (Sp. โจตา)
การเต้นรำเเบบสเปนในจังหวะประเภทนับ 3 ประกอบด้วยผู้เต้นรำเป็นคู่ ๆ โจตาเกิดขึ้นที่เมือง อะทกอน (ทางตอนเหนือของประเทศสเปน) มีลักษณะการเต้นที่รวดเร็วและมีคาสทะเนทส์เป็นเครื่องดนตรีประกอบ




:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวK:::

-------------------------------------------------

K., KV ตัวย่อ Kochel - Verzeichnis
ระบบการจัดผลงานการประพันธ์ของโมทซาร์ทโดยใช้แนวทำนองเป็นหลักเชื่อว่าเรียงลำดับผลงานตามลำดับที่โมทซาร์ทประพันธ์

Kettledrum (เค็ทเทิลดรัม)
เรียกอีกชื่อว่าทิมปานี (Timpani)

Key (คีย์)

1. คีย์ (หลักเสียง) จะเป็นเมเจอร์หรือไมเนอร์ขึ้นอยู่กับบันไดเสียงเมเจอร์หรือไมเนอร์บทประพันธ์แต่งจากคีย์ที่กำหนดให้ย่อมจะมีโน้ตตัวจรใด ๆ ที่อยู่นอกบันไดเสียงได้
2. คีย์โน้ตเป็นโน้ตตัวแรกของบันไดเสียงหรือที่เป็นโทนิก
3.คีย์ซิกเนเจอร์หรือที่เรียกว่าเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงหมายถึงเครื่องหมายชาร์ปหรือแฟล็ทที่อยู่หลังเครื่องหมายเคลฟตรงส่วนเริ่มต้นของบรรทัดห้าเส้นทุกบรรทัดเพื่อบ่งชี้ให้ทราบถึงคีย์หรือบันไดเสียงของบทเพลงนั้น
4.หนึ่งในจำนวนแป้นกดนิ้วสำหรับเล่นเปียโนหรือเครื่องดนตรีคีย์บอร์ดอื่น ๆ
5.กลไกการปิดและเปิดรูสำหรับรูเสียงบางตำแหน่งของเครื่องดนตรีประเภท เครื่องลมไม้

Key center (คีย์เซ็นเตอร์)
ศูนย์กลางของกุญแจเสียงกุญแจเสียงหลักของบทประพันธ์ท่อนหนึ่งหรือของบทประพันธ์ทั้งบท

Key note (คีย์โน้ต)
ตัวโทนิก

Key signature (คีย์ซิกเนเจอร์)
เครื่องหมายของกุญแจเสียงกลุ่มของเครื่องหมายชาร์ปหรือเครื่องหมายแฟล็ท ที่เขียนไว้บริเวณต้นบรรทัดห้าเส้นของแต่ละบรรทัดเพื่อแสดงการแปลงอักษรชื่อโน้ตให้เป็นไปตามบันไดเสียงแลกุญแจเสียง

Kraftig (Ger. เคร็ฟติก)
แข็งแกร่งมีพละกำลัง



Create Date : 14 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 18 มีนาคม 2552 20:57:04 น.
Counter : 2206 Pageviews.

9 comments
  
ขอบคุณนะค่ะที่แวะไปที่บล็อค

มีความสุขมาก ๆ ค่ะ
โดย: ความเจ็บปวด วันที่: 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา:2:06:16 น.
  
เป็นความรู้ค่ะ
ตอนเป็นนักเรียน สุดเหงา เลยซี้อกีต้ามาตัวนึง หนังสือโน้ตด้วย
จนป่านนี้ผ่านมานาน..ลืมหมดค้าา
โดย: YUCCA วันที่: 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา:2:32:00 น.
  
ฝัดดีจ้า

โดย: @...ปุ๋ย...@ (bussatip ) วันที่: 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา:2:54:58 น.
  
ทักทายยามเที่ยง
ขอให้อิ่มหนำกับอาหารเที่ยงยัมยัมนะจ๊าาา

โดย: adaytrip วันที่: 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา:11:07:19 น.
  


/



โดย: Irish girl วันที่: 14 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:13:26 น.
  


แวะมาเยี่ยมค่ะ

สุขสดชื่นกับวันหยุดสุดสัปดาห์นะคะ
โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 15 พฤศจิกายน 2551 เวลา:3:36:01 น.
  
มาทักทายในวันหยุดค่ะ
โดย: kai (aitai ) วันที่: 15 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:46:24 น.
  

verygood

โดย: ween IP: 58.11.44.154 วันที่: 1 กันยายน 2552 เวลา:17:05:19 น.
  
อยากได้โน๊ตของเบสหมดทั้งคอ
โดย: new IP: 192.168.151.9, 202.143.144.194 วันที่: 4 มกราคม 2553 เวลา:12:17:22 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

OFFBASS
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]