พฤศจิกายน 2551

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
15
16
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
พจนานุกรมศัพย์ดนตรี หมวด ตัว L- R
วันที่สองมกราฯมีข่าวเศร้า
สมเด็จเจ้าพระพี่นางสิ้นตักสัย
ของจงทรงเสด็จสู่สวรรคาลัย
ปวงชาวไทยขอเทิดไท้ถวายพระพร

เป็นสมเด็จพระพี่นางสองกษัตริย์
เป็นร่มฉัตรปกข้าอุทาหรณ์
เกล้ากระหม่อมปวงข้าฯพสกนิกร
ให้อาวรณ์อาลัยในพระองค์

ขอจงทรงเสด็จคืนสู่สวรรค์
ชั้นฟ้าอันวิจิตรพิศวง
แดนประทับปวงเทวาทุกพระองค์
ขอน้อมส่งสู่สวรรค์นิรันดร




ถวายด้วยความอาลัยแด่
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงโปรดฯ




วันนี้ก็ มาต่อ พจนานุกรม ครับ หมวด L-R





:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวL:::

------------------------------------------------

Lacrimoso (It. ลาคริโมโซ)
เศร้าโศก

Lagrimoso (It. ลากรีโมโซ)
ด้วยคราบน้ำตาด้วยอาการฟูมฟาย

Lamento (It. ลาเมนโต)
บทเพลงที่เศร้าสร้อย

Lamentoso (It. ลาเมนโตโซ)
อย่างเศร้าโศก

Landler (Gr. เลนด์เล่อร์)
การเต้นรำซึ่งได้รับความนิยมในประเทศออสเตรียในช่วงตอนต้นศตวรรษที่ 19 เป็นเพลงเต้นรำวอลซ์แบบช้าชนิดหนึ่ง

Landlich (Gr. เล็นด์ลิคช์)
สบาย ๆ

Langsam (Gr. ลางซาม)
ช้า

Largamente (It. ลากาเม็นเต)
ช้ามาก อย่างกว้าง ๆ

Largando (It. ลาร์กานโด)
ช้าลงตามลำดับขยายยืดเวลาออกไปเช่นเดียวกับคำว่า allargando

Larghetto (It. ลาร์เกทโต)
ช้า ช้ากว่าเลนโตแต่เร็วกว่าลาร์โก

Largo (It. ลาร์โก)
กว้างขยายเวลาออกไปสง่างามเป็นเครื่องหมายที่แสดงความช้า

Le meme mouvement (Fr. เลอ แมม มูเวอมอง)
อัตราความเร็วเหมือนเดิม

Leader (ลีดเดอร์)
หัวหน้าแนวไวโอลินที่หนึ่งในวงดนตรีออร์เคสตร้าในอดีตกาลมีหน้าที่เป็นผู้อำนวยเพลงด้วย

Leading note (ลี้ดดิ้งโน้ต)
โน้ตตัวที่ 7 ของบันไดเสียงแบบเมเจอร์และแบบฮาร์โมนิกไมเนอร์ที่เรียกลีดดิ้งโน้ตก็เพราะเป็นตำแหน่งเสียงที่นำไปสู่ตัวคีย์โน้ตหรือโทนิกในลักษณะครึ่งเสียง

Leading tone (ลี้ดดิ้ง โทน)
โน้ตลี้ดดิ้งโน้ตระดับขั้นที่ 7 ของบันไดเสียงซึ่งอยู่ต่ำกว่าโทนิกครึ่งเสียง

Lebhaft (Ger. เล็บฮัฟท์)
มีชีวิตชีวาสนุกสนานสดใส

Legato (It. เลกาโต)
เชื่อมโยงให้ความต่อเนื่องมักจะนำเครื่องหมายสเลอร์มาใช้เพื่อการต่อเนื่องของทำนองเพลงคำย่อคือ leg.

Leger (Fr. เลเจ)
เบา สบาย ๆ ละเอียดอ่อน

Ledger line (เลดเจอร์ไลน์)
เส้นที่เพิ่มเหนือหรือใต้บรรทัดห้าเส้น เพื่อขยายขอบเขตการบันทึกโน้ตที่อยู่นอกบรรทัดห้าเส้นหรือเรียกว่า "เส้นน้อย"

Legerement (เลคเจอร์เมนท์)
อย่างเบาอย่างรวดเร็ว

Leggiero, leggieramente (It. เลดเจโร)
เบาอย่างรวดเร็วบางเบาคำย่อคือ legg.

Legno (เลคโน)
ส่วนที่เป็นไม้ของคันชัก

Lentamente (It. เลนตาเมนเต)
อย่างเชื่องช้า

Leicht (Ger. ลายค์ท)
สบาย ๆ

Leicht bewegt (Ger. ลายค์ท เบเวคท์)
สบาย ๆ ร่าเริง

Leise (Ger. ลายเซอ)
เบานุ่มนวล

Lent (Fr. ลองต์)
ช้า

Lentamente (Fr. ลองเตเมนเต)
อย่างช้า ๆ

Lento (It. เลนโต)
ช้า ช้ากว่าอันดานเตแต่เร็วกว่าลาร์โก

Lesto (It. เล็สโต)
เร็วมีชีวิตชีวา

L.H. (แอล เอช)
มือซ้าย

Libretto (It. ลิเบรตโต)
คำร้องหรือเนื้อเรื่องของละครร้องอุปรากรออระทอริโอมาจากคำภาษาอิตาเลียนที่มีความหมายว่า หนังสือเล่มเล็ก

Licenza (It. ลิเซนซา)
อิสระ

Lieblich (Gr. ลีบลิคช์)
มีเสน่ห์ อ่อนหวาน

Lied (ลีด)
เพลงร้อง

Loco (It. โลโค)
ตำแหน่งเดิมใช้หลัง 8va เพื่อแสดงให้รู้ว่าต้องเล่นโน้ตต่าง ๆ ทั้งหลายให้อยู่ในลักษณะตามที่เคยเป็น

Lontano (It. ลอนตาโน)
ระยะห่าง, เบา

Loure (Fr. ลูเออร์)
1.ชื่อในภาษาฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 16 สำหรับเรียก bagpipe 2.เพลงเต้นรำแบบฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 17 ขนาดความเร็วธรรมดาจังหวะ t และอาจมีเครื่องดนตรีลูเออร์

Lower neighbor (โลเวอร์ เนเบอ)
โน้ตเสียงต่ำ ,โน้ตนอกคอร์ดชนิดหนึ่งเกิดจากการที่แนวเสียงเคลื่อนที่ลงหนึ่งขั้นและกลับไปยังโน้ตในคอร์ดตัวเดิม

Luftpause (ลุฟท์เพาว์)
หยุดเพื่อหายใจ

Lugubre (ลูกูเบอร์)
อย่างเศร้าสร้อย

Lullaby (ลูลาบาย)
เพลงกล่อมเด็ก

Lungo, lunga (It. ลุนโก)
ยาว

Lustig (Ger. ลุสทิก)
สนุกสนานร่าเริง

Lute (ลูท)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่นิยมมากที่สุดในระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 17 เวลาเล่นจะใช้นิ้วดีดสาย (ซึ่งขึ้นสายเป็นคู่ ๆ ไว้) ลูทมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์และมีส่วนคอเป็นแผ่นแบนมีขีดแบ่งเสียง 7 ขีดหรือมากกว่านั้นส่วนหมุดหมุนสายจะเอนทำมุมไปข้างหลังเพื่อช่วยยึดสายต่าง ๆ ไว้

Lydian mode (ลีเดียนโมด)
โมดลีเดียนโมดในเพลงโบสถ์ยุคกลางซึ่งอาจสร้างโดยการเล่นเปียโนคีย์ขาวจาก F ไปถึง F

Lyre (ไลร์)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่เก่าแก่มากมีรูปลักษณ์คล้ายพิณซึ่งมีชื่อเรียกต่าง ๆ มากมายและมีรูปร่างหลายหลากโดยทั่ว ๆ ไปจะประกอบด้วยกล่องเสียงแขนสองข้างและคานเล็ก ๆ จากที่มีรูปร่างหลายหลากจึงมีทั้งที่ดีดด้วยนิ้วดีดด้วยเพล็คทรัมหรือบางชนิดก็ใช้วิธีสีตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบคือพิณที่อยู่ในสุสานหลวงของนครอูร์ (ทางตอนใต้ของประเทศอิรักในปัจจุบัน)

Lyric (ไลริก)
คำร้อง






:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวM:::

---------------------------------------------------

Ma (It. มา)
แต่ เช่น Allegro ma non troppo หมายถึงเร็วแต่ไม่มากนัก

Ma non troppo (It. มา นอน ตร็อปโป)
แต่ไม่มากเกินไป

Machtig (Gr. เม็คช์ทิก)
มีพลัง

Madrigal (แมดริกัล)
เพลงร้องประสานเสียงประเภทเพื่อความบันเทิง (ไม่ใช่ทางศาสนา) ร้องโดยไม่ต้องใช้เครื่องดนตรีคลอประกอบ โดยแต่งอยู่ในลักษณะเค้าน์เต้อพ้อยท์ ได้รับ ความนิยมในช่วงศตวรรษที่ 14 ถึง 17ปกติเพลงแมดริกัลจะใช้เสียงร้องหนึ่งคนต่อหนึ่งแนวทำนอง

Maestoso (It. มาเอสโตโซ)
อย่างภาคภูมิและสง่างาม

Mais (Fr. แม )
แต่

Mais pas trop (Fr. แม ปา โทร)
แต่ไม่มากเกินไป่

Major scale (เมเจอร์ สเกล)
บันไดเสียงแบบไดอาโทนิกที่ประกอบด้วยหนึ่งเสียงเต็มห้าขั้นและ ชนิดครึ่งเสียงสองขั้น

Mal (Ger.เมล์)
เวลา

Mambo (แมมโบ)
การเต้นรำแบบลาตินอเมริกัน ซึ่งปรากฏครั้งแรกในช่วงกลางศตวรรษที่ 20

Mancando (It. มานคานโด)
เบาลงทีละน้อยจนเสียงหายไป

Mandolin (แมนโดลิน)
เป็นเครื่องดนตรีชนิดเดียวในตระกูลลูทที่ยังคงนิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน แมนโดลินมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ มีสายเสียงจัดเป็นคู่จำนวนสี่คู่ซึ่งเล่นด้วยอุปกรณ์สำหรับดีดและมีเฟร็ตคล้ายกีตาร์

Maraca (Cu. มาราคา)
เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบใช้เขย่าเสียงในเพลงประเภทลาตินอเมริกันเครื่องดนตรีทำจากผลไม้แห้งประเภทบวบ ซึ่งมีเมล็ดเล็ก ๆ ภายในผล มีด้ามถือสำหรับสั่นให้เกิดเสียงได้และมักใช้เป็นคู่

Marcato (It. มาร์คาโต)
เน้นย้ำให้เด่นคำย่อคือ marc.

March (มาร์ช)
ดนตรีสำหรับการเดินแถวปกติจะอยู่ในจังหวะ o , h หรือ u

Marcia (It. มาร์เซีย)
เดินแถวสวนสนาม

Marcia funebre (It. มาร์เซีย ฟูเนเบร์)
เพลงเดินแถวแห่ศพ

Marimba (มาริมบา)
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบชนิดหนึ่งประกอบด้วยแท่งไม้ที่เทียบเสียงแล้วจัดเรียงคล้ายเปียโน โดยมีท่อกลวงซึ่งเป็นตัวทำเสียงก้องอยู่ใต้แท่งไม้แต่ละแท่งใช้ตีด้วยไม้ รูปค้อนส่วนหัวของไม้ถ้าสร้างจากวัสดุต่างกันเสียงที่เกิดจากการตีก็จะต่างกันออกไปมาริมบามีแหล่งกำเนิดมาจากทวีปแอฟริกาในปัจจุบันนี้เป็นที่นิยมกันทั่วไปในทวีปอเมริกามีรูปร่างคล้ายไซโลโฟนแต่เสียงทุ้มต่ำกว่าและมีช่วงเสียงประมาณ 5 อ๊อคเทฟ

Marque (มาร์คิว)
เน้น

Martellato (It. มาร์เทลลาโต)
อย่างเต็มกำลัง, เฉียบขาด

Martele (มาร์เทเล)
เน้นหนัก

Marziale (It. มาร์ซิอาเล)
เหมือนกับสงคราม

Mass (แมส)
เพลงสวดอย่างเป็นทางการของศาสนาคริสต์ นิกายโรมันแคธอลิค

Massig (Gr. แมสสิก)
ปานกลาง เหมือนกับ andante

Massig bewegt (Gr. แมสสิก เวชท์)
มีชีวิตชีวาปานกลาง

Mazurka (มาซูร์กา)
เพลงเต้นรำพื้นเมืองของชาวโปแลนด์ จากตำบลในมาโซเวีย ประเทศโปแลนด์ ปกติจะอย่ในจังหวะ m หรือ k โดยทั่วไปเขียนในลักษณะเพลงสองส่วนหรือ 4 ส่วน และแต่ละส่วน จะมีการย้อนและให้เน้นเสียงที่จังหวะ 2 หรือ 3

M.D. (เอ็ม ดี)
มือขวา เป็นคำย่อของคำว่า mano destra (En.) หรือ main droite (Fr.) measure (เมสเช่อร์) ตัวโน้ตหรือตัวหยุดที่อยู่ภายในระหว่างเส้นกั้นห้องสองเส้น จำนวนเคาะที่อยู่ภายใน ช่วงดังกล่าว จะถูกแสดงด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะ จังหวะแรกของแต่ละจังหวะมักจะเน้นเล็กน้อย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บาร์ (Bars ห้องเพลง)
Measure (เมสชูวร์)
ห้อง, กลุ่มของจังหวะที่อยู่ภายในเส้นกั้นห้อง โดยจังหวะแรกมักจะมีการเน้น

Mehr (Gr. เมร์)
มากขึ้น

Melodic goal (เมโลดิก โกล์)
จุดหมายของทำนอง จุดกำหนดที่สูงหรือต่ำในแนวทำนอง

Melodic minor scale (เมโลดิกไมเนอร์สเกล)
บันไดเสียงเมโลดิกไมเนอร์ บันไดเสียงที่เกิดจากการแปลงเนเจอรัลไมเนอร์ โดยการยกระดับขั้นที่ 6 และ 7 ขึ้นครึ่งเสียงในขณะไล่ขึ้น และลดระดับเสียงกลับเหมือนเดิมในขณะไล่ลง

Melodic shape (เมโลดิก เชป)
รูปร่างของทำนอง ทิศทางและโครงร่างของแนวทำนอง

Melody (เมโลดี้)
ทำนองเพลง เพลงร้อง ทำนองหลัก

Mellophone (เมโลโฟน)
หมายถึง แตรอี แฟล็ทอัลโตฮอร์นสมาชิกในตระกูลเครื่องทองเหลือง เมโลโฟนมีท่อแบบกรวย ส่วนปากเป่าเป็นรูปถ้วยและลูกสูบชนิดสามท่อเป็นเครื่องดนตรีประเภทต้องย้ายคีย์

Meme (Fr. แมม)
เหมือนเดิม

Meme mouvement(Fr. แมม มูเวอมอง)
อัตราความเร็วเหมือนเดิม

Meno allegro(It. เมโน อัลเลโกร)
น้อยลง Meno mosso หมายถึงเร็วช้าลง หรือช้ากว่า

Mesto (It.เมสโท)
เศร้าโศก ซึม

Meter (มิเตอร์)
การรวมกลุ่มจังหวะและเน้นแบบปกติในบทประพันธ์เพลงซึ่งบ่งชี้ด้วยเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
1. การนับจังหวะแบบง่ายหรือแบบธรรมดา
ประเภทนับ 2 จังหวะ (สองจังหวะต่อช่วงการนับ) g,h,i
ประเภทนับ 3 จังหวะ (สามจังหวะต่อหนึ่งช่วงการนับ) j,k,m
ประเภทนับ 4 จังหวะ (สี่จังหวะต่อหนึ่งช่วงการนับ) n,o,p
2. การนับจังหวะแบบผสม ตัวเลขบนของเครื่องหมายกำหนดจังหวะนั้น หารลงตัวได้ด้วยเลขสาม จังหวะผสมแบบนับสอง t,u (จังหวะนับสองหรือนับหก (ย่อย) ภายในหนึ่งห้อง) จังหวะผสมแบบนับสาม v (จังหวะนับสามหรือนับเก้า (ย่อย) ภายในหนึ่งห้อง) จังหวะผสมแบบนับสี่ 12/2 12/4 12/8 (จังหวะนับสี่หรือนับสิบสอง (ย่อย)ภายในหนึ่งห้อง)

Metronome (เมโตรนอม)
เป็นเครื่องมือที่สามารถตั้งให้ตีบอกจังหวะต่าง ๆ ใช้ในการกำหนดความเร็ว ของบทประพันธ์ และช่วยรักษาจังหวะด้วย ตัวอย่างเช่น M.M.=80 ซึ่งกำหนดไว้ที่ตอนต้นของบทเพลง หรือตอนหนึ่งของเพลง มีความหมายว่าให้ปฏิบัติโน้ตตัวดำหนึ่งตัวเท่ากับหนึ่งจังหวะ เมื่อตั้งเมโตรนอมที่ ตัวเลข 80 จะได้เสียงดีบอก 80 ครั้ง (โน้ตตัวดำ 80 ตัว) ต่อหนึ่งนาที

Mezzo (It. เมซโซ, 'half')
ปานกลาง

Mezzo forte (It. เมสโซ ฟอร์เต)
ดังปานกลาง

Mezzo piano (It. เมสโซ ปิอาโน)
ดังปานกลาง

Mezzo-soprano (เมสโซ โซปราโน)
เสียงร้องของหญิงที่มีช่วงเสียงระหว่างโซปราโนและอัลโตซึ่งทำให้เสียงมีคุณภาพยิ่งขึ้น

M.G. (เอ็ม จี)
ซ้ายมือคำย่อของคำว่า main gauche (Fr.)

Military band (มิลิทารี่ แบนด์)
กลุ่มผู้เล่นเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องลมไม้เครื่องแตรทองเหลืองและเครื่องประกอบจังหวะ วงดนตรีประเภทนี้แรกเริ่มทีเดียวใช้เพื่อจุดประสงค์ทางทหารที่เรียกว่าวงดุริยางค์ทหาร ต่อมาจึงนำคำนี้มาเรียกวงดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทเดียวกันด้วย เช่น วงดุริยางค์นักเรียน

Minor scale (ไมเนอร์ สเกล)
บันไดเสียงไมเนอร์มี 3 แบบ คือ
1.เนเจอรัลไมเนอร์ประกอบด้วยโน้ตตัวเดียวกันกับบันไดเสียงเมเจอร์แต่เริ่มจากลำดับที่หกของบันไดเสียงเมเจอร์ตัวอย่างเช่น เอไมเนอร์ (Am)เป็นญาติกับซีเมเจอร์ (C)บันไดเสียงดีไมเนอร์เป็นญาติกับบันไดเสียงเอฟเมเจอร์และมีเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงเดียวกัน
2. ฮาร์โมนิกไมเนอร์คือบันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ที่ต้องทำให้ลำดับที่เจ็ดนั้นสูงขึ้นครึ่งเสียง
3. เมโลดิก ไมเนอร์ คือบันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ ที่ต้องทำให้ลำดับที่หกและลำดับที่เจ็ด สูงขึ้น ครึ่งเสียงในทางขาขึ้น และกลับเข้าสู่เนเจอรัลไมเนอรในทางขาลง

Minuet (Eng. มินนูเอ็ต), minuetto (It.)
การเต้นรำแบบฝรั่งเศสในยุคต้นที่อยู่ในจังหวะ 3 และมีความเร็วปานกลางคำว่า "มินนูเอ็ต" อาจมาจากภาษาฝรั่งเศลว่า ''menu'' ซึ่งมีความว่า "เล็ก" เพื่ออ้างอิงถึงลักษณะการก้าวย่าง ของการเต้นรำ

Misterioso (It. มีสเตรีโอโซ)
ลึกลับ

Misura (It. มิซูรา)
การนับจังหวะ

Mit (Ger.มิท)
กับ

Mixolydian mode (โมดมิกโซลีเดียน โมด)
โมดมิกโซลีเดียน โมดในเพลงโบสถ์ยุคกลางซึ่งอาจสร้างโดยการเล่นจาก G ไปหา G บนคีย์ขาวของเปียโน

M.M. (เอ็ม เอ็ม)
คำย่อของคำว่า Maelzels metronome

Modal music (โมดัล มิวสิก)
ดนตรีโมดัลดนตรีที่มีรากฐานมาจากบันไดเสียงของโมดในเพลงโบสถ์ยุคกลางมากกว่าที่จะขึ้นอยู่กับบันไดเสียงเมเจอร์ และบันไดเสียงไมเนอร์

Mode (โมด)
บันไดเสียงที่มีโน้ตครบแปดตัวซึ่งเกิดขึ้นในยุคกรีกตอนต้น แต่ละบันไดเสียงก็มีลักษณะการจัดเรียงตัวโน้ตให้ห่างเต็มเสียงและครึ่งเสียงแตกต่างกันไปและยังเป็นรากฐานการดนตรีของเพลงโบสถ์ในสมัยกลางบันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์ที่ใช้ในปัจจุบันเกิดจากโมดเหล่านี้ด้วย

Moderato(It. โมเดราโต)
1. ความเร็วปานกลาง ซึ่งเร็วกว่าอันดานเต แต่ช้ากว่าอัลเลเกรทโต
2. อย่างปานกลาง allegro moderato หมายถึง เร็วปานกลาง

Modere (Fr. โมเดเร)
ปานกลาง

Modulation (โมดูเลชั่น)
การเปลี่ยนคีย์จากคีย์หนึ่งไปยังอีกคีย์หนึ่งภายในบทเพลงเดียวกัน

Moglichst (Gr. โมกลิคส์ท)
มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

Moins (Fr. มวง)
น้อยลง

Molto(It. โมลโต)
มาก molto allegro หมายถึง เร็วมาก

Monophonic (โมโนโฟนี)
ดนตรีโมโนโฟนี หมายถึงดนตรีที่มีแต่ทำนองเท่านั้น

Morceou (Fr. มอร์โซ)
บทประพันธ์เพลงสั้น ๆ บทหนึ่ง

Mordent (มอร์เด้นท์)
การประดับประดาทำนองดนตรีแบบหนึ่ง

Morendo (It. มอเรนโด)
จางหายไป ค่อย ๆ ลดความดังลงเรื่อย ๆ มักจะอยู่ส่วนที่เป็นเคเดนซ์หรือส่วนจบของเพลง

Mosso (It. มอสโซ)
เคลื่อนไหว piu mosso หมายถึง เคลื่อนไหวมากขึ้นหรือเร็วขึ้น meno mosso หมายถึงเคลื่อนไหวน้อยลงหรือช้าลง

Motet (Fr. โมเท็ต)
บทประพันธ์สำหรับการขับร้องในลักษณะของเค้าน์เต้อร์พ้อยท์ โดยไม่มีแนวคลอ ประกอบ (a capella) ปกติมักจะร้องกันในโบสถ์ คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า mot หมายถึง คำ

Motif (Fr. โมทิฟ)
ท่วงทำนองหลักของดนตรี

Motive (โมทีฟ)
สำนวนแบบอย่าง เรื่องราว หรือส่วนของทำนองหลัก

Motivic development (โมทีวิก ดิเวลลอปเมนท์)
ช่วงพลิกแพลงโมทีฟ กลวิธีในการประพันธ์ในด้านการคนหาลักษณะเฉพาะต่าง ๆ และความเป็นไปได้ในการพลิกแพลงโมทีฟ

Moto (It. โมโต)
การเคลื่อนที่ con moto หมายถึง ด้วยการเคลื่อนที่หรือเร็วขึ้น

Mouth organ (เมาท์ออร์แกน)
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฮาร์โมนิกา เครื่องดนตรีที่มีลิ้นโลหะอิสระเล่นด้วยการใช้ปากเป่า เมาท์ออร์แกนประกอบด้วยตัวกล่องเล็ก ๆ ที่มีลิ้นทองเหลืองจัดเรียงไว้ บนแผ่นโลหะเพื่อให้ลมผ่าน เมื่อเป่าตรงช่องปากเป่าแล้ว จะทำให้ลิ้นโลหะนี้สั่นสะเทือนแล้วเกิดเสียงได้

Movement (มูฟเม้นท์)
ส่วนหนึ่งของโซนาตา ซิมโฟนี สวีท คอนแชร์โต้ ฯลฯ ที่มีความสมบูรณ์ภายในตัวเองแต่เมื่อไปรวมเข้ากับส่วนอื่น ๆ ที่เป็นมูฟเม้นท์เหมือนกันแล้วก็จะได้งานที่ใหญ่ยิ่งขึ้น

Munto (Gr. มุนเตอ)
มีชีวิตชีวาแข็งแกร่ง (เหมือนกับ allegro)

Musette (Fr. มิวเซต)
1.เครื่องดนตรีประเภทปี่ถุงลม คล้ายกับปี่สก็อต
2.บทเพลงที่เลียนแบบเสียงปี่ถุงลม






:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวN:::

---------------------------------------------------

Natural (เนเจอรัล)
เครื่องหมายเนเจอรัลจัดวางไว้ข้างหน้าโน้ตซึ่งใช้เครื่องหมาย ชาร์ปหรือแฟล็ตมาแล้วเพื่อคืนกลับสู่เสียงเดิมของโน้ตตัวนั้น

Natural diatonic semitones (เนเจอรัล ไดอาโทนิก เซมิโทน)
จาก E ไป F และจาก B ไป C เท่านั้นที่เป็นเซมิโทน ที่ไม่ต้องการเครื่องหมายชาร์ป และเครื่องหมายแฟล็ท

Natural minor scale (เนเจอรัล ไม์เนอร์สเกล)
บันไดเสียงเนเจอรัลไมเนอร์ พื้นฐานของบันไดเสียงไมเนอร์ ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะไดอาโทนิก

Natural sign (เนเจอรัล ไซน์)
เครื่องหมายเนเจอรัล สัญลักษณ์ซึ่งใช้ลบล้างการใช้เครื่องหมายชาร์ปหรือแฟล็ท ซึ่งมีอยู่ก่อน

Neigbor note (เนเบอ โน้ต)
โน้ตเคียง โน้ตนอกคอร์ดที่เคลื่อนขึ้น หรือลงตามลำดับขั้นจากโน้ตในคอร์ด และกลับไปยังโน้ตในคอร์ดตัวนั้นทันที

Neo-classical (นีโอ คลาสสิกคอล)
ดนตรีแบบหนึ่งในศตวรรษที่ 20 ซึ่งหันกลับไปยึดแบบแผนดนตรีแบบคลาสสิกแต่ ใช้ท่วงทำนอง,เสียงประสาน,และอื่น ๆ ที่เป็นแบบสมัยใหม่

Nicht (Gr. นิคช์ท)
ไม่

Nicht zu schnell (Gr. นิคช์ท ซู ชเน็ล)
ไม่เร็วเกินไป

Nicht zu viel (Gr. นิคช์ท ซู วีล)
ไม่มากเกินไป

Nieder (Gr. นีเดอ)
ต่ำ

Niente (It. นิเอ็นเต)
ไม่มีอะไรเลย

Ninth (ไนท์)
ขั้นคู่เก้าของโน้ตที่เรียงลำดับกันแบบไดอาโทนิก

Nocturne (Fr. น้อคเทิร์น)
เพลงสำหรับกลางคืน เป็นเพลงประเภทชวนฝัน โรแมนติก เป็นที่นิยมกันในช่วง ปี ค.ศ.1800 ปกติแล้วน้อคเทิร์นจะใช้คอร์ดประเภทกระจายทำเป็นดนตรีคลอประกอบ จอห์นฟิลด์ (ค.ศ. 1782-1837) เป็นคนแรกที่แต่งดนตรีประเภทนี้ ต่อมาภายหลังโชแปงได้ยืมความคิด และชื่อมาใช้ต่อ

Non troppo (It. น็อน ตร็อปโป)
ไม่มากเกินไป

Non-harmonic tone (น็อนฮาร์โมนิคโทน)
โน้ตนอกคอร์ดระดับเสียงที่ไม่เข้ากับเสียงประสานพื้นฐาน

Notation (โนเทชั่น)
เครื่องหมายและสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกดนตรี

Note (โน้ต)
ตัวโน้ตสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนระดับเสียง

Note head (โน้ตเฮด)
หัวโน้ต ส่วนกลมของตัวโน้ต ที่เขียนคาบเส้นหรือในช่องเพื่อแสดงระดับเสียง




:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวO:::

---------------------------------------------------

Obbligato (It. ออบบลิกาโต, 'obligatory')
แนวการบรรเลงของเครื่องดนตรีในลักษณะคลอประกอบที่มีความสำคัญเกือบเท่ากับแนวของเครื่องดนตรีเดี่ยว(ในเพลงเดียวกันนั้น) มาจากภาษาอิตาเลียนมีความหมายว่า จำเป็น, เป็นพันธะ

Oboe (โอโบ)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ในตระกูลปี่ที่มีรูปร่างเป็นท่อกลวงผายออก (หรือเป็นกรวย) และมีลิ้นปี่เป็นลักษณะลิ้นคู่เสียงปี่โอโบมีลักษณะแหลมเสียดแทงและแบบนาสิก

Octava bassa (อ๊อคเทฟ เบสซ่า)
ปฏิบัติต่ำลงจากโน้ตที่เขียนเป็นคู่แปด

Octave (อ๊อคเทฟ)
ขั้นคู่แปดของโน้ตที่เรียงแบบไดอาโทนิก

Octet (ออคเต็ต)
ลักษณะของวงดนตรีประเภทแชมเบอร์มิวสิคที่มีผู้เล่นหรือนักดนตรีแปดคน

Oder (Gr. โอเดอร์)
หรือ

Odinario (ออดินาเรียน)
ทำตามปกติ

Ohne (Ger. โอเน)
ปราศจาก

Opera (โอเปรา)
หมายถึงอุปรากร เป็นละคร (ไม่ว่าจะในเชิงสุขหรือโศก) ปกติจะแสดงออกทางการร้องโดยตลอดและมีการออกท่าทาง ฉากและเครื่องแต่งตัว พร้อมการบรรเลงประกอบด้วยออร์เคสตร้า

Operetta (โอเปอเรตตา)
ละครอุปรากรเรื่องขนาดสั้น ๆ ที่มีบทเจรจาอยู่บ้าง

Opus (โอปุส)
หมายถึงผลงานทางดนตรี คำย่อคือ op. หรือ Op. ส่วนมากนักประพันธ์เพลง จะให้ลำดับเลขที่ผลงานของตนในลักษณะนี้ :- ชื่อ, โอปุส 1 เลขที่ 1 (Title, Op. 1 No. 1)

Oratorio (ออราทอริโอ)
ผลงานดนตรีทางศาสนาที่มีขนาดความยาวพอสมควรสำหรับขับร้องเดี่ยวการขับร้องประสานเสียง และวงดนตรีออร์เคสตร้า

Orchestra (ออร์เคสตร้า)
หมายถึงวงดนตรีที่ประกอบด้วยกลุ่มนักดนตรีที่เล่นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเครื่องลมไม้ แตรทองเหลืองและเครื่องตีกระทบวงดนตรีประเภทซิมโฟนีออร์เคสตร้าประกอบด้วยนักดนตรีประมาณหนึ่งร้อยคนส่วนใหญ่จะเล่นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย

Orchestral score (ออร์เคสตร้า สกอร์)
สมุดโน้ตที่ใช้ดูในขณะควบคุมการบรรเลงทุกแนวส่วนนักดนตรีจะมีเฉพาะแนวที่ตนต้องเล่นเท่านั้น

Orchestration (ออร์เคสเตชั่น)
วิชาการเรียบเรียงแนวบรรเลงสําหรับวงออร์เคสตร้า

Organ (ออร์แกน)
เครื่องดนตรีคีย์บอร์ดประเภทใช้ลมเมื่อมีลมเป่าผ่านท่อจะทำให้เกิดเสียงท่อละหนึ่งเสียงออร์แกนมีแผงนิ้วกดสำหรับมือและเท้าแผงนิ้วกดที่เล่นด้วยมือเรียกว่า แมนน่วล (manual) สำหรับที่เล่นด้วยเท้าเรียกว่าแผงนิ้วกดเพดดัล (Pedal) และการบังคับกลุ่มท่อต่าง ๆ ซึ่งจัดไว้เป็นพวกเดียวกันทำได้โดยการใช้ปุ่มกดหรือคันยกขึ้นลงที่เรียกว่า สต็อป ออร์แกนขนาดใหญ่จะมีกลุ่มท่อเปลี่ยนเสียงเรียกว่ารีจิสเตอร์เป็นจำนวนมากเพื่อใช้สร้างสีสันแห่งเสียงได้หลากหลายออร์แกนสมัยใหม่ใช้ไฟฟ้าบังคับแทนลม (ในอดีตใช้ลมบังคับ) ซึ่งตามแบบดั้งเดิมนั้นลมที่ใช้ก็เกิดจากการอัดลมด้วยเท้าของผู้เล่นหรือไม่ก็มีผู้ช่วยอัดลมแทนให้

Ornament (ออร์นาเมนต์)
การเสริมแต่งดนตรีหมายถึงสำนวนประดับประดาทำนองเพลงเช่นโน้ตประเภทอัดชะคะตูร่า,อับปอจจะตูรา ,อาร์เปจโจ ,เกรสโน้ต ,มอร์เด้นท์ ,ทริล และเทิร์น ส่วนประดับแนวทำนองเหล่านี้ เกิดจากผู้เล่นต้องการเพิ่มโน้ตเข้าไปอีกซึ่งบางครั้งก็เขียนกำกับไว้ด้วยแต่โดยมากจะใช้เครื่องหมายแทน

Oscuro (It. โอสกูโร)
มืดสลัว ลึกลับ

Ossia (It. ออซียา)
ใช้แทนที่ วิธีอื่น ๆ ในการเล่นทำนองเพลงโดยทั่วไปจะง่ายขึ้น

Ostinato (It. ออสตินาโต, 'obstinate')
ลักษณะซ้ำ ๆ ที่มักพบในแนวเสียงที่ต่ำสุด ซึ่งเป็นรากฐานในการแต่งบทประพันธ์เหนือแนวนั้น ๆ

Ottava (It. ออทตาวา)
คู่แปด All' ottava (8va... หรือ 8....) เมื่อบันทึกอยู่ข้างบนโน้ต หมายถึงให้เล่นสูงขึ้นหนึ่งขั้นคู่แปด แต่ถ้าบันทึกอยู่ใต้โน้ต หมายถึงให้เล่นต่ำลงหนึ่งขั้นคู่แปด

Ou (Fr. อู)
หรือ

Overtone series (โอเวอร์โทน ซีรีส์)
หมายถึง อนุกรมเหนือเสียงพื้นฐาน เครื่องดนตรีทุกชนิดให้เสียงพื้นฐาน (เสียงหลัก) ได้พร้อม ๆ กับเสียงฮาร์โมนิก (เสียงบริสุทธิ์ที่เกิดเพิ่มขึ้นเหนือเสียงพื้นฐานนี้) เนื่องจากเสียงฮาร์โมนิกหรือที่เรียกว่า โอเวอร์โทน จะเบากว่าเสียงพื้นฐาน จึงไม่อาจได้ยินเด่นชัดเท่าเครื่องดนตรีที่มี คุณภาพเสียงเดียวกันก็เพราะว่ามีแบบโอเวอร์โทนเหมือนกัน

Overture (โอเวอร์เจอร์)
เพลงโหมโรง ปกติแล้วเป็นดนตรีสำหรับใช้บรรเลงโหมโรงการแสดงบัลเล่ต์ อุปรากร ออราทอริโอ อย่างไรก็ตามบทเพลงประเภทคอนเสิร์ตโอเวอร์เจอร์ในศตวรรษที่ 19 (เช่นผลงานชื่อ อะเคเดมิคเฟสติวัลโอเวอร์เจอร์ ของบราห์ม) นับเป็นงานอิสระจัดว่ามีแบบการประพันธ์ที่เป็นได้ทั้งแบบโซนาตาและแบบเสรี อีกทั้งแต่งขึ้นจากแรง บันดาลใจในเหตุการณ์สำคัญ บทกวี หรือเรื่องราวต่างๆ






:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวP:::

---------------------------------------------------

P (พี)

เบา คำย่อของคำว่า piano. P., Ped. คำย่อของคำว่า ped.

Panpipes (แพนไพป์)
ขลุ่ยแพนไพป์เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้แบบดั้งเดิมประกอบด้วยท่อกลวงหลายท่อที่มีขนาดต่าง ๆ มามัดรวมเข้าด้วยกันขลุ่ยชนิดนี้เล่นด้วยการเป่าเฉียงผ่านท่อส่วนเปิดของขลุ่ย

Parallel keys (พาราเลียว คีย์)
กุญแจเสียงคู่ขนานกุญแจเสียงเมเจอร์และไมเนอร์ซึ่งมีบันไดเสียงที่เริ่มจากระดับเสียงเดียวกันแต่มีเครื่องหมายของกุญแจเสียงต่างกัน

Parallel period (พาราเลียว พีเรียด)
ประโยคใหญ่คู่ขนานการที่ประโยคเพลงทั้งสองของประโยคใหญ่เริ่มต้นเหมือนกัน

Parallelism (พาราเลียวริซึ่ม)
เสียงคู่ขนานการเคลื่อนของแนวเสียง 2 แนวขึ้นไปในทิศทางเดียวกันและห่างกันในระยะขั้นคู่เท่า ๆ กัน

Parlando (It. ปาร์ลันโด)
เหมือนกับการพูด

Parte (It.เพรท)
แนว

Partita (พาร์ติตา)
เพลงชุดประเภทสวีทประกอบด้วยเพลงสั้น ๆ หลายเพลงหรือชุดของแวริเอชั่นพาร์ติตาได้รับความนิยมในศตวรรษที่ 17และ 18

Part song (พาร์ท ซอง)
บทเพลงร้องประสานเสียงสำหรับนักร้องสองแนวหรือมากกว่านั้น

Pas (Fr ปา)
ก้าว ,จังหวะ ,เต้นรำ

Pas beaucoup (Fr. ปา โบกู)
ไม่มากเกินไป

Pas du tout (Fr. ปา ดู ตู)
ไม่เป็นอันขาด

Passage (แพสเสจ)
หน่วยหรือท่อนสั้น ๆ ของบทประพันธ์ดนตรีบทหนึ่ง

Passepied (Fr. ปาส์พเย)
การเต้นรำแบบฝรั่งเศสที่มีความสนุกสนานรวดเร็วปกติแล้วอยู่ในจังหวะ m วลีของเพลงจะเริ่มในจังหวะที่สาม

Passing note (พาสซิ่ง โน้ต)
หมายถึงโน้ตผ่านตัวโน้ตที่ไม่ได้เป็นหน่วยของเสียงประสานเพียงแต่ผ่านตามลำดับขั้นจากเสียงในคอร์ดหนึ่งไปยังเสียงอีกเสียงหนึ่งในคอร์ดต่อไป

Passionato (It. ปาซิโอนาโต)
ด้วยความรู้สึกรักใคร่

Pastorale (It. ปาสโตราเล, Fr. ปาสโตราล)
1. ทำนองเพลงในจังหวะ u,v หรือ ที่เลียนเสียงเครื่องดนตรี (ปี่ หรือขลุ่ย) และดนตรีของกลุ่มชาวบ้านเลี้ยงแกะปกติจะมีทำนองในลักษณะลื่นไหลต่อเนื่องกันไปและประกอบด้วยเสียงคลอแบบโดรนเบส
2. การแสดงละครในยุคปลายศตวรรษที่ 15 ที่มีเนื้อเรื่องอิงชีวิตในชนบทหรือชีวิตที่มี ความสุขสบาย มีมาก่อนการเกิดอุปรากร

Pausa (It. เปาซา)
หยุด

Pause (พอซ)
การหยุดเสียงตามความพอใจของผู้เล่นหรือแล้วแต่ผู้กำกับเพลงคล้ายกับตาไก่ (fermata)

Pavan (Eng.), or pavana (It. ปาวานา) pavane (Fr. ปาวาน)
การเต้นรำแบบหนึ่งในราชสำนักยุโรปตอนต้นศตวรรษที่ 16 ซึ่งมีจังหวะสม่ำเสมอ การเต้นรำแบบปาวานนี้มีจังหวะช้า เหมือนลีลาท่าทางการเดินวางมาดแบบนกยูงคำว่า pavane อาจมาจากคำว่า pavo ในภาษาลาตินที่มีความหมายว่า "นกยูง" ปกติแล้วการเต้นรำนี้จะอยู่ในจังหวะประเภทนับสอง (สองจังหวะในหนึ่งห้อง) และมักแสดงนำหน้าการ เต้นรำแบบกาลยาร์ด

Pedal (เพดดัล)
กลไกของเปียโน ,ออร์แกน, ฮาร์ปซิคอร์ด หรือ ฮาร์ป ที่ใช้เท้าบังคับ
1. เพดดัลของเปียโน จะบังคับด้วยเครื่องลดเสียง ที่เรียกว่า แดมเปอร์ หรือด้วย ตำแหน่งของค้อนตีที่เรียกว่า แฮมเมอร์
2. เพดดัลของออร์แกนรวมหมายถึงแผงคีย์สำหรับเท้าและเท้าเหยียบบังคับความดัง - ค่อย
3. เพดดัลของฮาร์ปซิคอร์ดควบคุมคุณภาพเสียงด้วยการเปลี่ยนเครื่องดีดสาย (เครื่องดีดอ่อนก็จะได้เสียงเบาเครื่องดีดแรงก็จะได้เสียงดัง)
4. เพดดัลของฮาร์ปจะช่วยยกหรือลดระดับเสียงของสายเสียง (สำหรับดีด) ต่าง ๆ ให้เป็นเสียงโน้ตตัวจรได้คำย่อคือ Ped. p.

Pedal point (เพดดัลพอยท์)
เสียงที่ลากยาวหรืออย่างต่อเนื่องซ้ำ ๆ กันไปซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์กับเสียงประสานแนวอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ก็ได้เรียกอีกชื่อว่าออร์แกนพอยท์

Pentatonic scale (เพนตาโทนิกสเกล)
บันไดเสียงเพนตาโทนิกบันไดเสียง 5 ตัวโน้ต (CDEGA) ที่ร้องง่าย ๆ ซึ่งเป็นรากฐานของเพลงพื้นเมืองทั่ว ๆ ไป

Percussion family (เพอคัชชั่น แฟมมิลิ)
เครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องตีกระทบทั้งหลายซึ่งเล่นด้วยวิธีการตีด้วยไม้ตีหรือใช้สิ่งหนึ่งกระทบเข้ากับอีกสิ่งหนึ่งหรือโดยการสั่นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบทั้งหลายได้แก่ กลองใหญ่ ,แคริลลอน(ชุดระฆังหลายใบ) ,คาสทะเนทส์ ,เซเลสต้า ,ระฆังราว ,ฉาบ ,กลอคเคิ่นสปีล ,กิโร,เคทเทิ้ลดรัม (ทิมปานี) มาราคัส ,มาริมบา ,กลองเล็ก ,แทมโบริน ,แทมแทม (กลอง) เครื่องดนตรีรูปสามเหลี่ยมเคาะจังหวะสามเส้า ,ระนาด ฯลฯ

Perdendosi (It. แปร์เดนดอซี)
ลดเสียงลงทีละน้อยจนหายไปเบาลงเรื่อย ๆ

Perfect authentic cadence (เพอร์เฟคออร์เทนติกคาร์เด้นซ์)
ลูกจบสมบูรณ์ลูกจบลงท้ายซึ่งมีแนวเสียงที่สูงที่สุดอยู่ที่โทนิก

Period (พีเรียด)
ส่วนเล็ก ๆ ในบทประพันธ์เพลงบทหนึ่งปกติจะประกอบด้วยวลีสองวรรค

Pesante (It. เปซานเต)
หนักแน่น ,ครุ่นคิด

Peu (Fr. เปอ)
เล็กน้อย

Peu a peu (Fr. เปอะ อะ เปอะ)
ทีละเล็กละน้อยตามลำดับ

Phrase (It. เฟรส)
วรรคเพลงที่มีแนวความคิดทางดนตรีลงตัววรรคหนึ่ง

Phrygian mode (ฟรีเจียน โมด)
โมดฟรีเจียน โมดในเพลงโบสถ์ยุคกลางซึ่งอาจสร้างโดยการเล่นคีย์ขาวของเปียโนจาก E ถึง E

Piacere (It. ปิอาเชเร)
ขึ้นอยู่กับผู้เล่น

Piacevole (It. ปิอาเชโวเล)
พอใจ

Pianissimo (It. ปิอานิสซิโม)
เบามาก

Piano (It. ปิอาโน) piano (เปียโน)
เบา คำย่อคือ P เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดประเภทใช้สายเสียงเดิมมีชื่อเรียกว่าเปียโนฟอร์เตเพราะทำได้ทั้ง เสียงเบา (เปียโน) และเสียงดัง (ฟอร์เต) ได้ สายเสียงจะถูกตีด้วยค้อนซึ่งเชื่อมโยงไปที่คีย์กดโดยผ่านเครื่องกลไกซับซ้อนที่เรียกว่าแอ็คชั่นเปียโนมีเพดดัล3แบบคือ
1. เพดดัลประเภทให้เสียงต่อเนื่อง อยู่ทางขวาส่วนเท้าเหยียบของผู้เล่น (มักจะเรียกผิดบ่อย ๆ ว่า เพดดัลสำหรับทำเสียงดัง)เมื่อเหยียบเพดดัลลงไปแล้วจะทำให้เสียงทุกเสียงที่กดยาวต่อเนื่องกันไป
2. เพดดัลประเภทเดี่ยวอยู่ตรงกลางส่วนเท้าเหยียบของผู้เล่นทำให้เสียงยาวต่อเนื่องหรือลากยาว (พบไม่บ่อยนัก) ได้เสียงเดียวหรือคอร์ดเดียว
3. เพดดัลแบบอูนาคอร์ดาอยู่ทางซ้ายส่วนเท้าเหยียบ คือเพดดัลทำเสียงเบาได้ช่วยลดเสียงหรือทำให้เสียงเบาลง

Piano staff (เปียโนสเตฟ)
บรรทัดห้าเส้นของเปียโน

Picolo (ปิคโคโล)
ขลุ่ยขนาดเล็กมีระดับเสียงสูงกว่าฟลูตอยู่หนึ่งช่วงคู่ 8 ขลุ่ยปิคโคโลมีเสียงสดใสแหลมบาดหูยิ่ง เสียงที่ปฏิบัติได้จากขลุ่ยมีระดับเสียงสูงกว่าที่เขียนบันทึกไว้หนึ่งช่วงคู่แปด

Pietoso (It. ปิเอโตโซ)
เศร้าโศก

Pitch (พิทช์)
ระดับเสียงที่แน่นอนเสียงหนึ่ง ๆ ในระยะช่วงเสียงที่กำหนดมาเรียบร้อยแล้วโดยมีจำนวนรอบการสั่นสะเทือนต่อวินาที (ความถี่เสียง) ของวัตถุใด ๆ ตัวอย่างเช่นการทำให้เกิดระดับเสียง A เหนือ C กลางของเครื่องดนตรีอะไรก็ตามจะต้องได้ความถี่ 440 รอบต่อวินาที

Piu (It. ปิว)
มากกว่า Piu mosso หมายถึง เคลื่อนไหวมากขึ้นหรือเร็วขึ้น

Piu mosso (It. ปิว มอสโซ)
เร็วขึ้น

Piu moto (It. ปิว โมโต)
เคลื่อนไหวมากขึ้นหรือเร็วขึ้น

Pizzicato (It. ปิซซิคาโต)
ให้ใช้ดีดแทนที่การสีบนสายเสียงของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายคำย่อคือ pizz.

Placabile (It. ปลาคาบิเล)
สงบ, นุ่มนวล

Placido (It. ปลาชีโด)
เงียบสงบ, สงบ

Plagal cadence (เพลเกิ้ล คาเดนซ์)
ลูกจบเพลเกิ้ลลูกจบที่ใช้ในการดำเนินคอร์ดจาก V ไป I

Plectrum (เพลคทรัม)
ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ทำด้วยโลหะ พลาสติกหรือวัสดุอย่างอื่น ๆ ใช้สำหรับดีดสายเสียงของเครื่องดนตรี เช่นกีตาร์ ,แมนโดลิน ,ยูคาเลเล ,ซีตาร์ ฯลฯ

Plotzlich (Gr. ปล็อตส์ลิคช์)
ทันทีทันใด

Plus (Fr. ปลูซ)
มากกว่า, มากขึ้น

Po (It. โป)
น้อย

Poco (It. โปโก)
เล็กน้อย Poco a poco หมายถึงทีละเล็กละน้อยตามลำดับ

Poi (It.โปอิ)
และแล้ว ,หลังจากนั้น

Polacca (It. โปลักกา)
เพลงเต้นรำโพโลเนส

Polka (โพลก้า)
การเต้นรำเป็นรูปวงกลมที่มีชีวิตชีวาในจังหวะ h เพลงโพลก้าเริ่มปรากฏในช่วงปี ค.ศ.1830 ในประเทศโบฮีเมีย ( ปัจจุบันคือประเทศสาธารณรัฐเช็คและสโลวัก) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากทั่วภาคพื้นยุโรปและยังคงได้รับความนิยมต่อมาจวบจนกระทั่งสิ้นศตวรรษที่ 19

Polonaise (โพโลเนส)
บทเพลงเต้นรำของชาวโปแลนด์ ในจังหวะ k (เดิมเป็นเพลงเต้นรำที่มีลักษณะโอ่อ่าและสง่างาม) ใช้แสดงในงานพระราชพิธีและเพื่อการเฉลิมฉลอง เฟรดเดริก โชแปง เป็นผู้แต่งบทเพลงเต้นรำนี้เพื่อเป็นตัวแทนแห่งความเป็นชาตินิยมของชาวโปแลนด์

Polyphonic (โพลีโฟนิก)
ดนตรีโพลิโฟนีลักษณะของดนตรีที่ประกอบด้วยแนวเสียงที่มีความสำคัญเท่า ๆ กันตั้งแต่สองแนวขึ้นไป

Polyphony (โพลีโฟนี)
ดนตรีที่ประกอบด้วยทำนองอิสระตั้งแต่สองแนวขึ้นไปซึ่งมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เค้าน์เต้อร์พ้อยท์ คำว่าโพลีโฟนีมาจากคำในภาษากรีกมีความหมายว่าหลาย ๆ เสียง

Pomposo (It. ปอมโปโซ)
อย่างสง่างามมีความภาคภูมิใจและโออ่า


Ponticello (พอนติเชลโล)
หย่อง

Portamento (It. ปอร์ตาเมนโต)
ในดนตรีประเภทขับร้องไวโอลินและทรอมโบนปอร์ตาเมนโตหมายถึงให้ปฏิบัติแบบเลื่อนเสียงอย่างรวดเร็วจากเสียงหนึ่งไปยังอีกเสียงหนึ่งในทางปฏิบัติเปียโนก็คือให้เล่นประมาณครึ่งหนึ่งของสตั๊กคาโต

Portato (It. ปอร์ตาโต)
ยืดยาว

Precipitato, precipitoso (It. เปรซิปิตาโต)
ทันทีทันใด ,เร่งรีบ

Prelude (Fr. เปรลูด)
บทเพลงที่ทำหน้าที่เป็นบทนำทางดนตรีในสมัยของโจฮันเซบาสเตียนบาค (ค.ศ.1685-1750) เพลงแบบนี้มักไปคู่กับเพลงประเภทฟิวก์หรือใช้เป็นเพลงบรรเลงนำในบทเพลงชุด (สวีท) จากสมัย เฟรดเดริก โชแปง (ค.ศ.1810-1849) เป็นต้นมาบทเพลงเปรลูดก็กลายเป็นบทเพลงประเภทอิสระประเภทหนึ่ง

Presse (Fr. แปรสเซ)
เร็วขึ้น

Prestissimo (It. เปรสติสซีโม)
เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้เร็วอย่างยิ่งยวด

Presto (It. เปรสโต)
เร็วมากเร็วอย่างยิ่งเร็วกว่าอัลเลโกรแต่ช้ากว่าเปรสติสซีโม

Prima, primo (It. ปรีมาม ปรีโม)
อันดับแรก ,ที่หนึ่ง

Prime (ไพร์ม)
1. ตัวพื้นต้นของคอร์ด
2. โน้ตตัวแรกของบันไดเสียง (คีย์โน้ต)
3. ขั้นคู่เสียงของยูนิซัน

Principale (พริ้นซิเปล)
ผู้เล่นนำหรือผู้เล่นเดี่ยว

Processional (โพรเซสชันแนล)
เพลงสวดหรือการแสดงเดี่ยวออร์แกนในโบสถ์ ในระหว่างขบวนของคณะประสานเสียงและคณะบาทหลวง

Program music (โปรแกรม มิวสิก)
บทประพันธ์ดนตรีที่กำหนดไว้สำหรับการเล่าเรื่องราวบรรยายเรื่องราวของรูปภาพเหตุการณ์ และสร้างสรรค์อารมณ์เป็นคำตรงข้ามกับคำว่าแอ็บสลูทมิวสิก(ดนตรีบริสุทธิ์ที่แต่งขึ้นด้วยจุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อการนี้) ดนตรีประเภทโปรแกรมมิวสิกยุคแรกสุดก็คือการบรรยายเสียงเป่าเขาสัตว์นกร้อง เสียงระฆังและการสงครามเพลงซิมโฟนิคสวีทของริมสกี้คอร์ซาคอฟชื่อเซฮาราซาด Scheherazade เป็นตัวอย่างหนึ่งของบทประพันธ์เพลงประเภทนี้

Psaltery (ซอลเทอรี)
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายยุคแรก ๆ ที่สร้างเหมือนกับเครื่องดนตรี ดัลซิเมอร์ แต่ใช้ดีดด้วยนิ้วหรือเพลคทรัมมากกว่าการตีด้วยค้อน

Pulse (พัลซ์)
จังหวะการเน้น

Punta d'arco (It.)
ใช้ส่วนบนของคันชัก



:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวQ:::

---------------------------------------------------

Quadrille (ควอดริล)
การเต้นรำแบบฝรั่งเศสในตอนต้น ค.ศ. 1800 จังหวะเพลงควอดริลเปลี่ยนไปมาระหว่าง u และ h การแสดงเต้นรำแบบนี้จัดเป็นคู่หลายคู่โดยให้เคลื่อนที่ไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมตามปกติแล้วจะมีทำนองเพลงซึ่งเลือกมาจากเพลงยอดนิยมหรือไม่ก็เพลงจากอุปรากร

Quadruple time (ควอทดรูเปิ้ลไทม์)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะประเภทมีสี่จังหวะในแต่ละห้อง p,o,n ฯลฯ

Quarter note (ควอเตอร์โน้ต)
หมายถึงโน้ตตัวดำที่กำหนดว่า จำนวนโน้ตตัวดำ 4 ตัวจะเท่ากับโน้ตตัวกลม 1 ตัวและจำนวนโน้ตตัวดำ 2 ตัวเท่ากับโน้ตตัวขาว 1 ตัว

Quarter rest (ควอเตอร์เรสท์)
หมายถึง โน้ตตัวหยุดที่มีค่าเท่ากับโน้ตตัวดำหนึ่งตัว

Quartet (ควอเต็ต)
บทประพันธ์เพลงสำหรับเครื่องดนตรีหรือไม่ก็แนวร้อง 4 แนวบทประพันธ์ประเภทสตริงควอเต็ตเขียนไว้สำหรับไวโอลินสองเครื่อง วิโอลา และเชลโลอย่างละหนึ่งเครื่องมักเรียกวงดนตรีประเภทนี้ว่าวง chamber music

Quasi (ควาสิ)
ค่อนข้าง ,เกือบ ๆ เกือบเท่า, ราวกับว่า Allegretto quarsi allegro หมายถึงเร็วปานกลางหรือเกือบเท่าอัลเลโกร

Quasi trill (ควาสิทิว)
เล่นคล้าย trill

Quaver (เควเวอร์)
โน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น (eight note)

Quintet (ควินเต็ต)
บทประพันธ์เพลงสำหรับเครื่องดนตรีหรือไม่ก็เสียงร้อง 5 แนว

Quintuple time (ควินทูเปิ้ล ไทม์)
เครื่องหมายกำหนดจังหวะ มีห้าจังหวะในหนึ่งห้อง q, 5/4, 5/2 ฯลฯ





:::อภิธานศัพท์ดนตรี หมวดตัวR:::

---------------------------------------------------

Rallentando (It. ราลเลนตานโด)
ช้าลงทีละเล็กละน้อยคำย่อคือ rall.

Rapido (It. ราปิโด)
เร็ว ,ไว

Rasch (Ger. รัช)
เร็วมีชีวิตชีวา

Rattenendo (It. รัตเตเน็นโด)
ช้าลงทีละน้อย

Rattenudo (It. รัตเตนูโด)
ช้าลง

Recessional (รีเซสชั่นแนล)
บทเพลงสวดหรือการเดี่ยวออร์แกนในโบสถ์ขณะที่วงนักร้องประสานเสียงหรือพระกำลังเดินออก หลังจากเสร็จพิธีแล้ว

Recital (รีไซเทิล)
การแสดงดนตรีต่อหน้าสาธารณะชน, คอนเสิร์ต

Recitative (เรซิตาทีฟ)
บทร้องที่ไม่กำหนดจังหวะตายตัวเหมือนเลียนเสียงพูดเพื่อดำเนินเรื่องราวซึ่งมักใช้ในอุปรากรการแสดงออราทอริโอ

Recitativo (เรซิตาทีโว)
ช่วงที่เหมือนกับพูด

Recorder (รีคอร์ดเดอร์)
ขลุ่ยที่มีปลายส่วนปากเป่าเป็นลักษณะนกหวีด ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ มีเสียงนุ่มนวลบางเบานิยมเล่นกันในศตวรรษที่ 16 และ 17 และได้รับการปรับปรุงใหม่ ในปี ค.ศ.1920 ต่อมาก็ยังคงได้รับความนิยมเรื่อยมามี 4 ชนิด คือ
1.เดสแคนท์ (โซปราโน)
2.เทร็บเบิ้ล (อัลโต)
3.เทเนอร์
4.เบส

Reed (หรีด)
แผ่นไม้อ้อหรือโลหะซึ่งหากทำให้สั่นสะเทือนด้วยปากเป่าแล้วก็จะทำให้อากาศสั่นตามไปด้วย เครื่องดนดรีประเภทเครื่องลมไม้หลายชนิดเกิดเสียงดนตรีด้วยวิธีการเช่นนี้
1. ตระกูลปี่คลาริเนตมีลิ้นเดี่ยวเพื่อไหวสั่นตรงบริเวณส่วนปากเป่า (กำพวด)
2. ตระกูลปี่โอโบมีลิ้นคู่เพื่อไหวสั่นตรงบริเวณส่วนปากเป่า (กำพวด)
3. เมาท์ออร์แกน ,แอ็คคอเดียน, คอนแชร์ตินา ฯลฯ มีลิ้นชนิดทำด้วยโลหะสำหรับเสียงแต่ละเสียง (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลิ้นอิสระ)

Reed instrument (หรีด อินสตรูเมนต์)
เครื่องดนตรีประเภทที่เกิดเสียงได้ด้วยการทำให้ลิ้นปี่ (ของเครื่องดนตรี) สั่นสะเทือน Reel (รีล) การเต้นรำที่มีผู้เต้นตั้งแต่สองคู่ขึ้นไปเคลื่อนไปเป็นวงกลมการเต้นรำแบบรีลจะอยู่ในจังหวะเร็วประเภทนับสอง (สองจังหวะในหนึ่งห้อง) มีการซ้ำทำนอง 4-8 ห้องอย่างสม่ำเสมอได้รับความนิยมทั้งในสก็อตแลนด์ ,ไอร์แลนด์ และอเมริกา

Register (รีจิสเตอร์)
ส่วนที่มีความแตกต่างทางช่วงเสียงของเสียงร้องและเครื่องดนตรี

Regore (It. รีโกเร)
เข้มงวดไม่ยืดหยุ่น con rigore หมายถึงลักษณะความเร็วที่แน่นอนตายตัว

Related keys (รีเลเต็ดคีย์)
คีย์ทางเมเจอร์และไมเนอร์ที่มีเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงเดียวกันคีย์เมเจอร์ทุกคีย์มีญาติทาง ไมเนอร์ ซึ่งเริ่มต้นที่ลำดับที่หกของบันไดเสียงเมเจอร์

Relative (รีเลทีฟ)
คีย์ทางเมเจอร์และไมเนอร์ที่มีเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงเดียวกัน เช่น คีย์ Am จะรีเลทีฟกับคีย์ C major กล่าวคือ ทั้งคีย์ Am และคีย์ C ต่างก็ไม่มีเครื่องหมายชาร์ปและแฟล็ท

Relative major (รีเลทีฟเมเจอร์)
รีเลทีฟเมเจอร์คำที่ใช้กล่าวถึงกุญแจเสียงและบันไดเสียงเมเจอร์ที่มีเครื่องหมายของกุญแจเสียงเหมือนกันกับกุญแจเสียงและบันไดเสียงไมเนอร์ที่เชื่อมโยงกันรีเลทีฟเมเจอร์เริ่มบนระดับขั้นที่สามของบันไดเสียงรีเลทีฟไมเนอร์

Relative minor (รีเลทีฟไมเนอร์)
รีเลทีฟไมเนอร์คำที่ใช้กล่าวถึงกุญแจเสียงและบันไดเสียง ไมเนอร์ที่มีเครื่องหมายของกุญแจเสียงเหมือนกันกับกุญแจเสียงและบันไดเสียงเมเจอร์ที่เชื่อมโยงกันรีเลทีฟไมเนอร์เริ่มบนระดับขั้นที่สามของบันไดเสียงรีเลทีฟเมเจอร์

Repeat (รีพีท)
เล่นซ้ำอีกครั้งหนื่ง

Repeat sign (รีพีท ไซน์)
เครื่องหมายย้อนกลับสัญลักษณ์ที่ใช้กำหนดให้เล่นโน้ตที่อยู่ระหว่างเครื่องหมายนี้ซ้ำอีกครั้ง

Repetition (Fr.รีพีททิชั่น)
การซ้ำการย้ำความคิดทางดนตรี

Resolution (รีโซลูชั่น)
การเกลาเสียงกระบวนการของการเกลาเสียงกระด้างให้กลายเป็นเสียงกลมกล่อมหรือกล่าวได้ว่าเสียงกระด้างเกลาไปหาเสียงกลมกล่อม

Rest (เรสท์)
ตัวหยุดที่เป็นเครื่องหมายที่บ่งชี้ให้งดออกเสียงที่จังหวะนั้น ๆ

Retenant (Fr. เรเตอะนอง)
ให้หวนกลับไปที่ความเร็วเดิมอย่างทันทีทันใด

Retenir (Fr. เรอเตอนีร์)
ช้าลงปานกลาง

Revenir au tempo (Fr. เรอเตอนีร์ อะเทมโป)
กลับไปสู่ความเร็วเดิม

R.H. (อาร์เอช)
มือขวา

Rhapsody (แรปโซดี)
เพลงชวนฝันที่อยู่ในคีตลักษณ์แบบอิสระมีลักษณะการแสดงออกทางวีรกรรมชาตินิยมหรือพื้นเมือง

Rhythme (ริทึ่ม)
ทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเวลาและจังหวะในทางดนตรี

Rigadoon (Eng.), riguadon (Fr. รีโกดอน)
การเตันรำที่มีชีวิตชีวาของฝรั่งเศสในศตวรรษที่17การเต้นรำแบบรีโกดอนเดิมเป็นการเต้นรำของ ชาวนาต่อมาได้รับความนิยมในราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 13, 14 และ 15 และเป็นที่รู้จักกันในนามของ ริกาดูน ในประเทศอังกฤษ

Rinforzando (รินฟอร์ซานโด)
ย้ำ ,เน้น ,หนุน คำย่อคือ rf., rfz., rinf.

Risoluto (It. รีโซลูโต)
เด็ดขาด, กำหนดแน่นอน ,ตกลงใจ

Rit (ริท)
เล่นจังหวะให้ช้าลง

Ritardando (It. รีทาร์ดานโด)
ช้าลงทีละเล็กละน้อย rallentando คำย่อคือ rit, ritard.

Ritenuto (It. รีเทนูโต)
ช้าลงทันทีทันใด (มักใช้ผิดบ่อย ๆ ว่าคล้ายกับ rallentando หรือ ritardando) คำย่อคือ riten.

Ritmico (It. รีทมีโก)
อย่างเป็นจังหวะ ,เน้นจังหวะให้ชัดเจน

Roll (รอล)
เสียงรัวกลองให้เกิดเสียงซ่า ๆ อย่างในการเล่นกลองเล็ก เกิดจากการเล่นสลับอย่างรวดเร็วของไม้ตีกลองระหว่างมือแต่ละข้างเสียงรัวยังทำได้จากกลองทิมปานีจากการตีแบบสลับมือทีละข้างและเล่นได้จากกลองใหญ่และฉาบด้วย เช่นกัน

Romance (โรมานซ์), (It. โรมานซา)
บทประพันธ์เพลงที่มีลักษณะโรแมนติกนุ่มนวลบทเพลงแห่งธรรมชาติที่น่าทะนุถนอม

Romantic (โรแมนติก)
แบบแผนการประพันธ์ที่พัฒนาในช่วงศตวรรษที่ 19 ตามหลังยุคคลาสสิกดนตรีโรแมนติกย้ำทางด้านความรู้สึกมากกว่าคีตลักษณ์นักประพันธ์เพลงในยุคนีได้แก่ ชูเบิร์ท, แบร์ลิโอส, เมนเดลโซน ชูมานน์ ,โชแปง, ลิสซต์ ,บราห์มส์, และว้ากเนอร์

Rondo (รอนโด)
บทเพลงที่มีทำนองหลักสลับด้วยทำนองอื่น ๆ ที่มีลักษณะแตกต่างกันตัวอย่างดังต่อไปนี้ A แทนทำนองหลักตัวอักษรอื่น ๆ แทนทำนองซึ่งแตกต่างออกไป A b A c A ตามปกติแล้วบทเพลงประเภทรอนโดมักจะแจ่มใสสนุกสนานและมีลีลารวดเร็วและจะอยู่ในกระบวนสุดท้ายของโซนาตาคอนแชรโต้และซิมโฟนี

Root (รู้ท)
ตัวพื้นต้น, ราก เป็นเสียงสำหรับสร้างคอร์ดและบันไดเสียงเป็นโทนิกของบันไดเสียงทรัยแอ็ดจะอยู่ในสภาพตัวพื้นต้น

Root position (รู้ท โพสิชั่น)
ตำแหน่งโน้ตพื้นต้นการเรียงตัวของคอร์ดเพื่อให้โน้ตพื้นต้นอยู่ในแนวเสียงที่ต่ำสุด

Round (ราวน์ด)
คีตลักษณ์ของแคนนอนซึ่งมีแนวของเสียงเข้ามาในช่วงระยะที่สม่ำเสมอที่โน้ตตัวเดียวกันและซ้ำทำนองเดียวกันนี้ เพลงราวน์ดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือหนูตาบอดสามตัว (three blind mice)

Rounded binary (ราวน์ด ไบนารี)
โครงสร้างแบบสองส่วนชนิดราวน์ดคีตลักษณ์ของโครงสร้างแบบสองส่วนที่มีลักษณะเหมือนโครงสร้างแบบสามส่วน

Rubato (It. รูบาโต)
มาจากภาษาอิตาเลียนมีความหมายว่า ลัก, หยิบฉวย การใช้เวลาจากส่วนหนึ่งส่วนใด ของวลีเพลง(อย่างรีบเร่ง) แล้วเพิ่มเวลาให้กับวลีอีกส่วนหนึ่ง (ให้ช้าลง)

Ruhig (Gr. รูฮิก)
เงียบสงบ

Rullante (รูแลนเท)
การกลิ้ง

Rumba (รุมบ้า)
การเต้นรำแบบคิวบาที่ได้รับอิทธิพลของจังหวะแบบอาฟริกันเป็นแบบเต้นรำที่ได้รับความนิยมในอเมริกาในช่วงทศวรรษเริ่มจากค.ศ. 1930 จังหวะรุมบ้ามีลักษณะขืนจังหวะ

Run (รัน)
ทำนองเพลงที่ไล่เรียงเสียงไปอย่างรวดเร็ว เหมือนการไล่เสียงแบบบันไดเสียง






เดี๋ยวพรุ่งนี้ มา ต่อ จนจบเลย





ข้อมูลทั้งหมดนี้ มาจาก - คุณ พ่อมดคนสุดท้ายแห่งศตวรรษ -จาก Piano lover.net





Create Date : 17 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 18 มีนาคม 2552 20:52:35 น.
Counter : 1743 Pageviews.

6 comments
  
โอ้!!!

น่าจะรวบรวมเป็นเว็บเอาไว้ค้นหาในเน็ตได้เลยนะคะ..

เป็นเล่มเขียวในเน็ต
โดย: เด็กเกเรกับอมยิ้มที่ขโมยมา วันที่: 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา:1:31:34 น.
  
โอ้ย คนนอกวงดนตรีอย่างเรา ไม่รู้อะไรเลยอ่ะ
โดย: patra_vet วันที่: 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา:2:07:17 น.
  
เหมือนคอมเม้นต์ข้างบนเลยค่ะ คนนอกวงดนตรีอย่างเรา ไม่รู้อะไรเลยค่ะ

คงเป็นประโยชน์ดีมาก ๆสำหรับคนดนตรีค่ะ--
โดย: นางฟ้าของชาลี วันที่: 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา:10:06:36 น.
  
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ขอบคุณนะคะที่นำมาฝาก
โดย: อุ้มสี วันที่: 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา:11:10:07 น.
  
สวัสดีค๊าพี่ ไปเที่ยวอุบลฯ มาด้วย ^^


เหม่งก็ชอบดนตรีค่ะ

อยากรู้จังหาบล๊อคเหม่งเจอได้ไงค่ะ

อิ อิ เพื่อนใหม่เหม่งเลยอยากทราบค่ะพี่ว่าท่านไปจะไดมาจะได
โดย: น้าหนูนีล_น้องขวัญ วันที่: 17 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:35:05 น.
  
โดย: นายแมมมอส วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:0:32:02 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

OFFBASS
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]