Daisypath - Personal pictureDaisypath Happy Birthday tickers

การเลี้ยงดู เรื่องสำคัญไม่แพ้พันธุกรรม


เรื่องการหาเหตุผล หรือคำพูดที่จะพูดสอนลูกในกรณีต่าง ๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกัน เวลาคิดหาเหตุผลนั้น จะต้องเป็นเหตุผลที่ง่ายต่อความเข้าใจของเด็กด้วย ตัวอย่างที่อ่านจากหนังสืออีกตัวอย่างหนึ่งที่มีคำอธิบายที่ให้ข้อคิดดี ๆ นำไปปรับใช้กับสถานการณ์อื่น ๆ ได้อีก ลองอ่านกันดูค่ะ





>>เมื่อเราตระหนักว่าแต่ละช่วงวัยของเขาเรียนรู้อะไรบางอย่างที่สอดคล้องกับพัฒนาการได้เป็นอย่างดี ขณะที่เลี้ยงก็ต้องให้เขาให้ตรงเรื่อง ขณะที่เราอยากจะส่งเสริมลูกให้มีคิวต่าง ๆ ที่ดี แต่บางครั้งลูกทำอะไรบางอย่าง เรากลับไม่สามารถตอบสนองและสอนเขาได้ตรงอย่างที่ใจต้องการเช่น

ลูก 2 ขวบกำลังวิ่งมาหาคุณแม่ แล้วสะดุดหกล้มหรือชนโต๊ะแล้วร้องไห้จ้า ถ้าคุณแม่เข้าไปปลอบลูกว่าไม่เจ็บ เด็กจะมองหน้าคุณแม่ เพราะสำหรับเด็กจะเจ็บมาก เด็กจะยิ่งร้องจ้า

พ่อแม่บางคนอยากให้ลูกหยุดร้อง อาจพูดว่า "อะไรทำลูกตรงนี้ใช่ไหม นี่แน่ะ แม่จัดการให้แล้ว" เด็กก็จะงงว่าคุณแม่ทำอย่างนั้นทำไม เด็กก็ร้องต่อไป

ถ้าเป็นลูกชาย ถ้าปลอบแล้วยังร้องไม่หยุด ก็จะหงุดหงิดมากขึ้นว่า "หยุดร้องไห้เดี๋ยวนี้ ลูกผู้ชายห้ามร้องไห้"

คุณพ่อคุณแม่ที่เคยปลอบลูกดังตัวอย่างทั้ง 3 กรณีข้างต้น ต้องทบทวนวิธีการใหม่ให้ถูกต้องค่ะ





ตัวอย่างที่ 1 ถ้าเราบอกเด็กว่า "ไม่เจ็บ" เราสอนอะไรลูกบ้าง โกหกตัวเองใช่มั้ยคะ แต่ถ้ามีพื้นฐานกาาผูกพันและมีการเรียนรู้มุมอื่นเพียงพอก็ไม่เป็นไร ถ้าเราใกล้ชิดลูกน้อยแล้วปล่อยให้สิ่งอื่นมาเป็นต้นแบบอย่างนี้มากขึ้น จะเกิดปัญหา หนูน้อยที่พ่อแม่เคยสอนว่าเจ็บแล้วบอกว่าไม่เจ็บ โตขึ้นมาจะกลายเป็นคนไม่ยอมรับความจริง สับสนกับความคิดของตัวเอง นี่คือที่มาเล็ก ๆ ของปัญหาทางอารมณ์เมื่อเขาเติบโตขึ้น

ตัวอย่างที่ 2 "นี่แน่ะ ๆ แม่จัดการให้แล้ว" เราสอนลูกว่าแค้นนี้ต้องชำระ นอกจากนี้ยังสอนเด็กให้โทษคนอื่น โทษสิ่งที่ไม่มีตัวตนไม่มีเหตุผล ปัดความรับผิดชอบออกไป ไม่ใช่ความผิดของเขา

ตัวอย่างที่ 3 "ลูกผู้ชาย ห้ามร้องไห้" ความจริงลูกผู้ชายร้องไห้ได้ ถ้าร้องไห้กับอกแม่อกพ่อไม่ได้แล้ว จะไปร้องที่ไหน ถ้าบอกว่าลูกผู้ชายห้ามร้องไห้ ลูกก็จะรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ยอมรับจุดอ่อน หรือความรู้สึกแพ้ ความรู้สึกล้าของเขา แต่อารมณ์ความรู้สึกเป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้ เมื่อลูกเกิดอารมณ์ด้านลบ พ่อแม่ไม่ยอมรับ ลูกจะไปแสดงที่อื่น ถ้าลูกไม่แสดงออก สักวันหนึ่งจะระเบิดตูมออกมา



เมื่อลูกหกล้ม แล้วรู้สึกเจ็บ จะมีวิธีบอกหรือสอนลูกอย่างไร

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์

เวลาลูกล้มลงไป โอบลูกขึ้นมากอดไว้ เพราะเรารู้ว่าลูกต้องการคนที่มาปกป้องหรือดูแลเขา ถ้าเขารู้สึกเจ็บเราควรช่วยเหลือเขา กอดเขา แล้วมองหน้าเขา แทนที่จะบอกว่า "หนูไม่เจ็บ" ก็กลายเป็น "โอ๋...หนูเจ็บ" แสดงว่าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจเขานะ

ถ้าเปรียบเทียบกับกรณีของเด็กโต เมื่อหนูกำลังร้องไห้ วิ่งมาจากโรงเรียน ไม่ว่าเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ "หนูเสียใจอะไรมาเหรอลูก เขาจะรู้สึกว่าเราเข้าใจเขา เรามองเห็นความรู้สึกของเขา เราให้ความสำคัญและตระหนักถึงอารมณ์ของเขา



หมอบอกว่าให้เน้นเรื่องอารมณ์ของลูก ให้เห็นความสำคัญของลูก คุณแม่บอกว่า "คุณหมอขา ลูกของดิฉันไม่ใช่แค่หนูเจ็บเท่านั้น พอเขาเจ็บแล้วขี้โมโห รุนแรง ขว้างปาของ " อย่างนี้ไม่ใช่ว่าจะให้คุณแม่ตามใจให้ลูกทำลายข้าวของได้ ให้บอกลูกว่า "หนูโมโห แต่ขว้างของไม่ได้" จับมือไว้อย่าให้ขว้าง จับไว้ให้แน่น ๆ นิ่ง ๆ เอาของที่จะขว้างออกไป



ถึงแม้การรู้อารมณ์จะเป็นสิ่งที่ดี แต่เราไม่ควรปล่อยให้เด็กจมจ่อมอยู่กับอารมณ์ด้านลบนาน ๆ การปล่อยให้เด็กนัวเนียกับความรู้สึกแย่ ๆ ทำให้เด็กเปลี่ยนแปลงตัวเองไม่ได้ ปรับอารมณืตัวเองไม่ได้ เด็กจะกลายเป็นคนอารมณ์เสีย หงุดหงิดเมื่อเติบโตขึ้น

ถ้าเป็นเด็กเล็กต่ำกว่า 2 ขวบ ให้คุณพ่อคุณแม่เบี่ยงเบนพาไปเล่นอย่างอื่น หันเหออกไปจากสถานการณ์ที่ทำให้เขาเจ็บ พาไปชี้นกชมไม้ที่อื่น หรือคุณพ่อคุณแม่อาจจะบอกตัวเองว่าตรงนี้ทำให้ลูกหกล้มง่ายนะ ให้ดูแลกันดี ๆ

ถ้าลูกโตกว่านั้น ลูกเริ่มเข้าใจ เริ่มฟังอะไรเป็น "อ้อ หนูเจ็บๆ" เบี่ยงเบนอารมณ์เหมือนกัน แล้วถามว่า "หนูเจ็บเพราะอะไรลูก" เบี่ยงเบนไปที่เหตุของความเจ็บปวดนั้น "อ้อ หนูสะดุดตรงนี้ ตรงนี้ลื่นนะ มีเชือกกั้นอยู่ มีสายไฟนะ คราวหน้าเดินผ่านตรงนี้ ระวังนิดนึง จะได้ไม่เจ็บอีก" หรือถ้าเด็กดูงง ไม่รู้เรื่อง ฟังไม่เข้าใจ "อ้อ หนูเจ็บ คุณแม่จะพาไปทายา" เบี่ยงเบนความรู้สึกนี้ไปยังการแก้ไขปัญหา

คุณพ่อคุณแม่คะ ขอฝากว่าอารมณ์ทุกอารมณ์ ความรู้สึกทุกความรู้สึกของลูกนั้น เป็นสิ่งที่เรายอมรับได้ ลูกจะโมโหหรืออยากได้ของน้อง ทุกอารมณ์เรายอมรับ เข้าใจได้หมด แต่ไม่ใช่ทุกพฤติกรรม...หนูอาจเจ็บ อยากได้ของน้อง อิจฉาน้อง แต่แย่งของน้องไม่ได้ ถ้าแย่งชิงของมา ให้ลูกคืนไป แล้วเราไปเล่นอย่างอื่นฯลฯ

หวังว่าคุณพ่อคุณแม่จะเอาข้อแนะนำนี้ไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่น ๆ ได้ (ไม่ใช่แค่เรื่องหกล้ม แต่อาจเป็นการหกล้มทางจิตใจ ทางอารมณ์)


ที่มา : หนังสือ เสริมสร้าง IQ EQ ให้ลูกวัยเรียน






 

Create Date : 08 พฤษภาคม 2550
2 comments
Last Update : 8 พฤษภาคม 2550 15:41:12 น.
Counter : 1275 Pageviews.

 

อิอิ มาแอบขโมยเอาไปใช้จ้า

 

โดย: UtsU 8 พฤษภาคม 2550 14:28:22 น.  

 

โอ้โห สอนผิดมาตลอดค่ะ
เพราะจะปลอบว่าไม่เจ็บ
เค้าจะได้ไม่ร้องไห้
ต่อไปนี้ต้องเปลี่ยนใหม่แล้วค่ะ

 

โดย: ตรีนุช3903 11 พฤษภาคม 2550 0:01:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


YingLek
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




เรื่องราวของลูกเจี๊ยบเริ่มขึ้นตั้งแต่วันเด็ก ปี 2548 หลังจากคลอดแล้ว แม่ก็ได้เรียนรู้ว่าการมีลูกเป็นของตัวเองไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย มันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์มาก ๆ ทำให้แม่ต้องอ่านหนังสือเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูกหลายเล่ม รวมทั้งเข้าไปพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน ๆ แม่ลูกอ่อน หลาย ๆ คน ซึ่งก็พบว่าพฤติกรรมในแต่ละวัยของลูกก็จะคล้าย ๆ กัน เม้าท์เรื่องลูกกันสนุกสนานมาก การเลี้ยงลูกเหนื่อยก็จริง แต่เมื่อแม่ได้เห็นพัฒนาการและรอยยิ้มของลูก ความเหนื่อยก็หายไปได้ในทันที

Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2550
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
8 พฤษภาคม 2550
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add YingLek's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.