ชุมชนมุสลิมมัสยิดอัต-ตักวา ย่านวัดเกต เชียงใหม่

ชุมชนมุสลิมมัสยิดอัต-ตักวา ย่านวัดเกต เชียงใหม่


 


 


           


                 


 ในปี พ.ศ. 1971 พญาสามฝั่งแกนได้สร้างวัดเกตและเจดีย์องค์ใหญ่อยู่ท่าฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง มีชาวบ้านอาศัยอยู่รอบๆ วัด และมีทุ่งนากว้างใหญ่คั่นอยู่ระหว่างหมู่บ้านอื่น  ในยุคสมัยที่เจริญรุ่งเรืองของการค้าขายทางเรือขึ้นล่องระหว่างเชียงใหม่กับหัวเมืองทางใต้จนถึงกรุงเทพฯ “ท่าน้ำวัดเกต” จึงถือเป็นย่านเศรษฐกิจของการขนส่งทางน้ำที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2317 – 2464) ยุคนี้เองเริ่มมีคนต่างถิ่นต่างเชื้อชาติและศาสนาเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในย่านวัดเกต ได้แก่กลุ่มพ่อค้าชาวจีน ชาวอเมริกา เข้ามาเผยแผ่ศาสนา  ชาวอังกฤษเข้ามาตั้งสำนักงานทำไม้ในภาคเหนือ  ชาวมุสลิมจากปากีสถานและอินเดียและจีนยูนนาน และชาวซิกข์จากแคว้นปัญจาบในอินเดีย


          ในปี พ.ศ. 2464 เมื่อทางรถไฟมาถึงเชียงใหม่ และได้เข้ามามีบทบาทด้านการขนส่งแทนการขนส่งทางน้ำ การค้าขายทางเรือจึงลดบทบาทลงและหายไป  ยุคของ “ท่าน้ำวัดเกต” ศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของเชียงใหม่จึงสิ้นสุดลง  มาบัดนี้ย่านวัดเกต เป็นดุจเพชรเม็ดอกที่ส่องประกายสุกใสที่ยังคงปรากฏร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ในรูปวิถีชีวิตที่สงบเรียบง่าย ย่านนี้จึงเป็นย่านการท่องเที่ยวที่ท่านจะได้สัมผัสถึงประเพณี วัฒนธรรม ของกลุ่มคนต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม และซิกข์ ที่ผสมกลมกลืนกันอย่างลงตัว


 


          ก่อนจะมาเป็นชุมชนมุสลิมอย่างเช่นทุกวันนี้ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของคนพื้นเมืองกลุ่มใหญ่ ซึ่งเดิมอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ของโรงเรียนจิตต์ภักดีปัจจุบัน  ก่อนหน้านั้นมีการอยู่ร่วมกันหลายชาติพันธุ์ ลักษณะเป็นชุมชนแออัด ขาดระเบียบวินัย มีทั้งซ่องโสเภณี ร้านขายเหล้าทั่วชุมชน มีมุสลิมอาศัยปะปนในชุมชนนี้ไม่เกิน 10 ครอบครัว มีทั้งมุสลิมเชื้อสายจีนยูนนาน อินเดียเชื้อสายปากีสถาน บังคลาเทศ  ชาวมุสลิมมีการเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น มีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์กันในกลุ่มมุสลิมกันเอง คนอินเดียเชื้อสายปากีสถานในย่านนี้เป็นคนที่อยู่ใต้ปกครองของนักล่าอาณานิคมอังกฤษ ติดตามเจ้านายอังกฤษเพื่อมาทำงานกลุ่มหนึ่ง และผู้อพยพกลุ่มหนึ่ง  ความสัมพันธ์ของมุสลิมในย่านนี้ค่อนข้างจะดี มีการไปมาหาสู่กันโดยผ่านทางวิถี ประเพณี พิธีกรรมทางศาสนา  มีครูสอนศาสนาคนอินเดียชื่อ อุสตาสมูลซี ซึ่งมีภรรยาเป็นคนไทย สอนศาสนาตามบ้านของมุสลิมในย่านนี้ แต่ส่วนใหญ่มักจะส่งลูกหลานไปเรียนศาสนาภาคบังคับที่มัสยิดบ้านฮ่อ  ยุคนั้นมัสยิดบ้านฮ่อจะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสนาของคนมุสลิมในเชียงใหม่


          ตระกูลดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาก่อนที่จะมีมัสยิดเกิดขึ้น ก็จะมีตระกูล อนุวงศ์เจริญ  พงค์พฤกษฑล  วีระพันธ์  รุจิพรรณ  รัศมีจันทร์  นานาวิชิต  บุญสวัสดิ์  สุวรรณมาลี  บุษกร  มาลีกุล เป็นต้น


          ในกลุ่มของมุสลิมในย่านนี้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร์มุสลิมคนแรกและคนเดียวในภาคเหนือ คือ คุณอารีย์  วีระพันธ์  และยังมีนายทหารไทยมุสลิมคนแรกของเชียงใหม่ คือ ท่าน พ.อ. บรรจง  รัศมีจันทร์  ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของมุสลิมย่านนี้และมุสลิมเชียงใหม่  ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ชุมชนมุสลิมย่านนี้ยังคงเป็นแหล่งผลิตแพทย์  ทันตแพทย์  นายทหาร  ตำรวจ  วิศวกร  ครู  อาจารย์  ข้าราชการ  นักธุรกิจ  และผู้มีชื่อเสียงออกสู่สังคมไทยตลอดมา  มุสลิมย่านนี้มีมัสยิดอัต-ตักวาเป็นศูนย์รวมจิตใจ มีประชากรจำนวน 443 คน หรือประมาณ 98 ครอบครัว (ตามทะเบียนสัปบรุษมัสยิด 2548)


 


ความเป็นมาของมัสยิด


          การสร้างมัสยิดในสมัยนั้นเริ่มต้นจาก คุณยง  ฟูอนันต์  (ผู้ก่อตั้ง ห.จ.ก. ฟูอนันต์  ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ชื่อเดิมคือ “ฮุหยั่งโม๋” ชื่ออาหรับชื่อว่า “อับดุรเราะห์มาน อิสหาก อันชัยนี” อพยพมาจากประเทศจีน หมู่บ้าน “เซียวเหว่ยเกิง” อำเภอหมงหัว มณฑลยูนนาน ได้รวบรวมที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ อาทิเช่น คุณหว่างหมิ่นแซ๋ว  คุณสมพงษ์  อยู่อย่างไท  คุณสุจิต  ตรงเพียรเลิศ  คุณม่าหยู่ฉี่         คุณหย่างเอนเจ๋า  คุณเปรม  รุจิพรรณ  โดยได้ขอซื้อที่ดินจาก คุณแอนด์  เบน  ซึ่งท่านเป็นผู้ที่มีจิตในสูงมาก ได้ขายที่ดินให้ในราคาเดิมทั้งที่การวางมัดจำได้ล่วงเลยมานานแล้ว  โดยได้รับการช่วยเหลือทางด้านการเงินจากสมัครพรรคพวก ทั้งที่อาศัยอยู่บริเวณนี้และจากที่อื่นๆ  ได้เริ่มสร้างกำแพงและอาคารมัสยิดเมื่อปี พ.ศ. 2510 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มกราคม


ใน2513  โดยมีเอกอัคราชทูตซาอุดิอารเบียเป็นประธานในพิธี  และตั้งแต่บัดนั้นมัสยิดอัต-ตักวา ก็เป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาวมุสลิมในเมืองเชียงใหม่  มีโรงเรียนสอนศาสนาแห่งแรกในภาคเหนือชื่อโรงเรียนจิตต์ภักดี


มัสยิดอัต-ตักวา เป็นศูนย์รวมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศาสนา  เช่น สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ และอีกหลายหน่วยงาน เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในวิชาการของศาสนาอิสลามในภาคเหนือ


 


นโยบายการบริหาร


นโยบายการบริหารงานของมัสยิดอัต-ตักวา มีเป้าหมายดังต่อไปนี้


   1.   ส่งเสริมการศึกษาทั้งทางด้านศาสนา   สามัญ  และวิชาชีพแก่ปวงสัปบรุษ


    2.   พัฒนาคุณธรรมทางด้านศาสนาแก่ปวงสัปบรุษ


    3.   พัฒนาคุณภาพชีวิตของปวงสัปบรุษให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น  และสามารถพึ่งพาตนเองได้


          4.   ยกระดับมัสยิดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน  และให้ปวงสัปบรุษมีจิตผูกพันตลอดไป


          5.   ประสานนโยบาย และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐทุกระดับ  เพื่อความเจริญของท้องถิ่น


          6.   ขจัดอบายมุขและสิ่งที่ผิดต่อหลักการสศาสนาอิสลาม


          7.   มัสยิดแสวงหาทุนดำเนินการต่าง ๆ  ด้วยการพึ่งพาตนเองพร้อมทั้งยินดีรับน้ำใจจากบุคคลทั่วไป


 


หลักการบริหารมัสยิดอัต-ตักวา


คณะกรรมการมัสยิดได้มาโดยการคัดเลือกบุคคลที่มีจิตใจเสียสละตามความเห็นชอบของปวงสัปบรุษ  การคัดเลือกดำเนินการตามขั้นตอนคือ


- จัดประชุมตามระเบียบการเลือกตั้งกรรมการมัสยิดที่ระบุใน พ.ร.บ. บริหารองค์กรอิสลาม


- ให้ปวงสัปบรุษเสนอชื่อบุคคลที่ตนเห็นชอบ


-นำรายชื่อบุคคลที่ถูกเสนอชื่อให้ปวงสัปบรุษรับรอง หากมีการเสนอชื่อ หรือรับรองบุคคลเกิน  12  คน  ให้มีการลงคะแนนจะใช้วิธีเปิดเผยโดยการยกมือ หรือ ทางลับ โดยการกาบัตรลงคะแนนตามหมายเลขบุคคลที่ถูกรับรอง  ไม่น้อยกว่า 9 แต่ไม่เกิน 12 คน


การแต่งตั้งตำแหน่งในคณะกรรมการมัสยิด ให้อีหมามเรียกประชุมคณะกรรมการ  เพื่อเสนอแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่ง  โดยมติคณะกรรมการ  การออกระเบียบต่าง ๆ จะต้องผ่านมติคณะกรรมการมัสยิดโดยอีหม่ามเป็นผู้บริหารให้เป็นไปตามระเบียบนั้น ๆ


 


การหาทุนของมัสยิด


          การหาทุนดำเนินการด้านต่าง ๆ ของมัสยิดอัต-ตักวา ได้จาก


 -การบริจาค


-การจัดงานการกุศลประจำปี ปีละ 2  ครั้ง


-ค่าเช่าบ้านพักอาศัยที่มีผู้วากั๊ฟ(อุทิศให้) กับมัสยิดเพื่อใช้ในกิจการของมัสยิด


เงินทุนที่ทางมัสยิดได้รับจากรายการดังกล่าวทำให้มัสยิดสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องอาศัยการเรี่ยไร


 


การส่งเสริมการศึกษา


          ทางมัสยิดส่งเสริมการศึกษาทั้งทางศาสนา  สามัญ และวิชาชีพ


ทางด้านศาสนามัสยิดเป็นเจ้าของโรงเรียนจิตต์ภักดี  เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับอิบติดาอียะห์ (เทียบมัธยมต้น) จนถึงระดับซานะวียะห์ (เทียบระดับมัธยมปลาย) โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน  ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้เป็นที่เชื่อถือของมุสลิมทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือจดภาคใต้ของประเทศ  นักเรียนที่จบชั้นซานะวียะห์ ของโรงเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้อาทิเช่น  ในประเทศซาอุดิอาระเบีย ประเทศอียิปต์ และในประเทศไทยอาทิเช่น  วิทยาลัยอิสลามยะลา ฯลฯ


สำหรับวันเสาร์-อาทิตย์ และทุกเย็นเว้นวันศุกร์ ทางมัสยิดก้ได้จัดการเรียนการสอนศาสนาภาคฟัรฎูอีน (ภาคบังคับ) ให้แก่เด็กและเยาวชนในชุมชนโดยมัสยิดรับผิดชอบค่าใช้จ่าย


สำหรับในภาคค่ำ ทางโรงเรียนก็ได้จัดการสอน คัมภีร์กุรอาน และการปฏิบัติศาสนกิจแก่ปวงสัปบุรุษและมุสลิมใหม่ ที่สนใจที่จะเพิ่มเติม ความรู้ในเรื่องของศาสนา


ส่วนทางด้านสามัญ ทางโรงเรียน ได้จัดการศึกษานอกโรงเรียน(กศน.)เพิ่ม สำหรับนักเรียนศาสนาให้สามารถเรียนจบจนถึงชั้น ม.6   ทั้งยังเพิ่ม วิชาภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์  โดยมีครูที่เชี่ยวชายเฉพาะทางทำการสอน


 สำหรับการศึกษาวิชาชีพ  ได้จัดให้  มีการอบรมตัดเย็บเสื้อผ้า  และการอบรมการตัดผมชายเป็นครั้งคราว และยังตั้งทุนให้สำหรับนักเรียนที่เรียนดี ไปเรียนวิชาชีพที่ วิทยาลัยสารพัดช่างตามความถนัด เพื่อเป็นทุนในการประกอบวิชาชีพต่อไป


 


การพัฒนาท้องถิ่น


ทางมัสยิดประสานงานกับหน่วยงานของรับระดับท้องถิ่น และหน่วยงานต่าง ๆ ของทางราชการและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ และเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมเช่น  ปัญหาการพนัน  ยาเสพติด การลักขโมย  เป็นต้น


มัสยิดมีทรัพย์สินที่นำมาใช้บริการดังต่อไปนี้


 


 


-เครื่องใช้ในการจัดเลี้ยงสัปบุรุษนำไปใช้ได้โดยไมต้องเสียค่าบำรุง


-สถานที่พร้อมอุปกรณ์  สำหรับ การจัดงานแต่งงาน (วะลีมะห์)  และงานอื่น ๆ โดย อาจมีการบริจาค หรือค่าบำรุงสถานที่ในราคาถูก


-มีห้องประชุมให้บริการกับสมาชิกในชุมชน องค์กรในชุมชน หรือองค์กรอื่นๆ โดยแจ้งเป็นหนังสือขออนุญาติจากอีหม่ามมัสยิด


 


 


ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ


-เงินเดือนครูสอนศาสนา ครูพิเศษสอนภาษา ครูสอนศาสนาภาคบังคับ(ฟัรฎูอีน)


 -เงินเดือน พนักงาน เจ้าหน้าที่ ส่วนต่าง ๆ ของโรงเรียนและมัสยิด


   -ค่าน้ำประปา ,ค่าไฟฟ้า


 -ค่าอาหารนักเรียนโรงเรียนจิตต์ภักดีทุกวัน วันละ 3 มื้อ และนักเรียนฟัรฎูอีน เฉพาะเสาร์-อาทิตย์


องค์กรในชุมชน -กลุ่มออมทรัพย์มุสลิมเชียงใหม่ เป็นการรวมตัวของคนในชุมชนและมุสลิมต่างพื้นที่ ร่วมกันตั้งกองทุนเพื่อการให้ยืม ตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2546-ปัจจุบัน มีสมาชิก 130 คน มีเงินหมุนเวียน ณ. ปัจจุบันประมาณ 2 แสนกว่าบาท สมาชิกทั้งหมดมี  130  คน และยังมีกองทุนสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือสมาชิก กรณี ป่วย  คลอดบุตร และเสียชีวิต


          -กลุ่มผู้สูงอายุ มัสยิดอัต-ตักวา


          -กลุ่มยุวมุสลิม มัสยิดอัต-ตักวา


          -กลุ่มสตรีมุสลิมมัสยิดอัต-ตักวา


อ้างอิง


-แผ่นพับย่านวัดเกต วรวิมล ชัยรัตน์ ชาวบ้านย่านวัดเกต โครงการปฏิบัตการชุมชนเมืองน่าอยู่  สสส***.


-หนังสือความเป็นมาของโรงเรียนจิตต์ภักดี  โดย นายยง  ฟูอนันต์****


-เอื้อเฝื้อสนับสนุนข้อมูลโดย  ผ.ศ. สุชาติ  เศรษฐมาลินี


-ข้อมูลชุมชน ขอขอบคุณ  คุณทวีศักดิ์  พงษ์พฤกษฑล  คุณพิศยา  รัศมีจันทร์ และชาวบ้านที่ให้ข้อมูล


                                                          รวบรวมข้อมูลเรียบเรียงโดย


                                                        นายชุมพล   ศรีสมบัติ



มุมมองที่แปลกตา...ของมัสยิดอัต-ตักวา เชียงใหม่



 



                                     



 



                                 



 



                               



 



                                         



 



                                         



 



                                         



 



                                             



 



                                           



 



                                           



 



                                       



 



                                       



 



                                         



 



                                       



 



                                       



 



                                     



 



                                     



                                     



 



                                     



                                       



 



                                     



 



                                     



                                   



 



 



                   



 



                                                             



 



 



       



 



                                     



                                       



                                   



ที่มา

//www.oknation.net/blog/attaqwa/2007/10/01/entry-2





Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2554 16:59:28 น.
Counter : 937 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tonyma
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชุมพล ศรีสมบัติ

สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

free counters

กุมภาพันธ์ 2554

 
 
1
4
5
6
7
8
9
11
12
14
15
16
17
18
19
21
22
24
25
26
27
28
 
 
All Blog