บ้านท่านขุนชวงเลียง ตำนานมุสลิมเชียงใหม่
บ้านท่านขุนชวงเลียง ตำนานมุสลิมเชียงใหม่ หลังเปลี่ยนมือ







ท่านเจิ๋งชงหลิ่ง  ได้เดินทางร่วมกับกลุ่มพ่อค้าที่มาจากมณฑลยูนนาน เพื่อทำการค้า  บริเวณรัฐฉาน ประเทศพม่า และเข้าสู่ประเทศไทยทางเขต อำเภอแม่สาย  จังหวัดเชียงราย เข้าสู่จังหวัดลำปาง  ตาก  ลำพูน และเชียงใหม่ ต่อมาท่านสมรสกับชาวพื้นเมือง คือ คุณย่านพ ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ซึ่งมีศักดิ์เป็นป้าของจอมพลถนอม  กิติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ท่านจึงได้ ปักหลัก ปักฐานอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย


 


 


 


 ภาพท่านเจิ้งชงหลิ่ง(ขุนชวงเลียง)


 


 


 ท่านเจิ๋งชงหลิ่ง  ได้เข้ามาค้าขายบริเวณอำเภอแม่แจ่ม ตั้งอยู่ชายแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้ของเชียงใหม่ ที่ติดกับชายแดนของประเทศไทย จนกระทั้งในปี พ.ศ.๒๔๕๘  ท่านจึงมุ่งสู่ตัวเมืองเชียงใหม่และตั้งถิ่นฐานบริเวณย่านศูนย์การค้าเวียงพิงค์ หรือ ไนท์บาร์ซ่าร์ เป็นผืนดินที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านเจ้าผู้ครองนคารเชียงใหม่ บริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของท่านจึงกลายเป็นศูนย์กลางการรวมตัวของพ่อค้าชาวจีนยูนนานมุสลิม เป็นจุดพักสินค้า  ที่ใช้ม้าและล่อ เป็นพาหนะ


               เมื่อท่านได้สร้างหลักฐาน ในจังหวัดเชียงใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  จึงได้รับความไว้วางใจจากทางราชการไทยให้รับสัมปทานในการทำธุรกิจกิจกรรมทางไปรษณีย์มีหน้าที่ส่งจอหมายโดยใช้ขบวนม้า-ล่อ เป็นพาหนะ เพื่อจัดส่งในพื้นที่ในส่วนต่างๆ ของภาคเหนือ  นอกจากนั้น บทบาทที่สำคัญยิ่ง ของท่านเจิ๋งชงหลิ่ง ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะนำความเจริญทางเศรษฐกิจสู่ภาคเหนือ ของประเทศไทยในยุคต่อมาจนถึงปัจจุบัน คือ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๓  ที่ทางราชการเริ่มมีนโยบายการก่อสร้างทางรถไฟเส้นทางจาก จังหวัดลำปาง สู่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านเป็นผู้ที่นำขบวนม้า-ล่อ ในการลำเลียงวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างต่าง ๆ จากจังหวัดเชียงใหม่ไปถ้ำขุนตาล  และเมื่อการก่อสร้างทางรถไฟสู่เชียงใหม่ได้สำเร็จลง  ต่อมาท่านได้บริจาคที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของท่านจำนวนพื้นที่ประมาณ ๒๒๔ ไร่ ๒ งาน ในการสร้างการรถไฟ และก่อสร้างสนามบินในจังหวัดเชียงใหม่

 


หลักฐานในการบริจาคที่ดินในราชกิจจานุเบกษา


นายเล่าเจิง ชาติฮ่อ


 


 


 





ตลอดระยะเวลาอันยาวนานท่านเป็นผู้หนึ่งที่เสียสละและมีบทบาทคุณูปการที่สำคัญยิ่งต่อการเสริมสร้างความเจริญให้สาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับท้องถิ่นและประเทศชาติโดยรวม  ท่านจึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  พระราชทาน  บรรดาศักดิ์ให้เป็นขุนชวงเลียงและพระราชทานนามสกุลของท่านเป็นวงศ์ลือเกียรติ   ท่านจึงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของชาวเชียงใหม่คือท่านขุนชวงเลียง ลือเกียรติ


 


 


 


 


 ภาพลูกหลานของท่านเจิ๋งชงหลิ่งหรือท่านขุนชวงเลียงในอดีต


 


 


              ปี  ค.ศ. ๑๙๖๔ ท่านขุนชวงเลียง  ลือเกียรติ ได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์  ซึ่งเป็นหลัการปฏิบัติข้อที่ ห้า ที่ชาวมุสลิมทุกคนจะต้องปฏิบัติอย่างน้อย ๑ ครั้ง ในชั่วชีวิตหนึ่งโดยมีเงื่อนไขเฉพาะบุคคลที่มีความสามารถ ณ. เมืองเม็กกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย  และท่านถึงแก่กรรม ณ สถานที่อันบริสุทธิ์แห่งนั้น  เหลือแต่ความทรงจำที่ชาวยุนนานมุสลิมจังหวัดเชียงใหม่ทุกคน ยังคงตระหนักถึงคุณูปการอันยิ่งใหญ่ของท่าน  และแบบอย่างของความเสียสละ ยึดมั่น ห่วงใยในวิถีชีวิตของคนรุ่นลูกรุ่นหลาน  ในการสืบสานสัจธรรม ให้คงอยู่ในสายเลือด ของชาวไทยมุสลิมที่มีเชื้อ



บทความที่เกี่ยวข้อง

มัสยิดเฮดายาตุ้ลอิสลามบ้านฮ่อ เชียงใหม่


 







 




 




 




 




 




 




 




 




 




 




 




 




 




 




 




 




 




 






ที่มาของบทความ


 


 หนังสือมรดกศาสนาในเชียงใหม่ภาค ๒  ประวัติและการพัฒนาการของศาสนาในเชียงใหม่


 จัดทำโดย  คณะทำงานฝ่ายวบรวมประวัติและพัฒนาการของศาสนาในเชียงใหม่


 ภาคศาสนาอิสลาม โดย สุชาติ เศรษฐมาลินี และคณะ


 ในโอกาสสมโภชน์เชียงใหม่ ๗๐๐ ปี (๑๘๓๙-๒๕๓๙)


 จัดพิมพ์โดย  คณะอนุกรรมการด้านศาสนางานสมโภชเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี จังหวัดเชียงใหม่


 ภาพถ่ายพิมพ์และนำเสนอ  โดย  นายชุมพล  ศรีสมบัติ  


 


 



 


ภาพโดย นายชุมพล  ศรีสมบัติ


www.muslimchiangmai.net




Create Date : 15 พฤษภาคม 2554
Last Update : 15 พฤษภาคม 2554 22:07:38 น.
Counter : 883 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tonyma
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ชุมพล ศรีสมบัติ

สร้างลิงค์ของโปรไฟล์ในแบบที่เป็นตัวคุณเอง

free counters

พฤษภาคม 2554

2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
31
 
 
All Blog