ซุนวู บทที่สี่ ลักษณะการยุทธ

บทที่สี่

ลักษณะการยุทธ

ซุนวูกล่าวว่าผู้เชี่ยวชาญการศึกในสมัยโบราณ ก่อนอื่น เขาต้องสร้างความเกรียงไกรแก่ตนเอง เพื่อคอยโอกาสที่จะเอาชนะข้าศึกโอกาสทีจะชนะได้นั้นอยู่ที่เรา ส่วนโอกาสที่จะพ่ายแพ้นั้นอยู่ที่ข้าศึก

เพราะฉะนั้นผู้เชี่ยวชาญการศึก แม้อาจจะสร้างความเกรียงไกรแก่ตนเอง แต่ไม่สามารถทำให้ข้าศึกจะต้องอยู่ในฐานะเอาชนะได้ (เพราะเป็นเรื่องของข้าศึกเอง) จึงกล่าวได้ว่าอันชัยชนะนั้น เราอาจจะหยั่งรู้แต่ไม่สามารถจะสร้างขึ้น

ในขณะที่ยังเอาชนะข้าศึกไม่ได้พึงตั้งรับเอาไว้ก่อน ครั้นเมื่อจะเอาชนะข้าศึกได้ จงเร่งรุกเถิด การตั้งรับเพราะกำลังยังด้อย รุกเพราะมีกำลังเหลือหลาย ผู้สันทัดในการตั้งรับจะเสมือนหนึ่งซ่อนเร้นยังใต้บาดาลชั้นเก้า (เงียบกริบปราศจากวี่แววใดๆ)ผู้เชี่ยวชาญในการรุก ดุจไหวตัว ณ ฟากฟ้าชั้นเก้า (ก่อเสียงกัมปนาทน่าสะพรึงกลัว) ด้วยเหตุนี้จึงสามารถรักษากำลังของตน และได้ชัยชนะอย่างสมบูรณ์

การหยั่งรู้ชัยชนะซึ่งใครๆก็รู้อยู่แล้ว มิใช่ชัยชนะอันดีเลิศ เมื่อรบแล้วพลโลกต่างก็แซ่ซ้องสรรเสริญ ก็มิใช่ชัยชนะอันเยี่ยมเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุว่ายกขนสัตว์หนึ่งเส้นได้ มิใช่ผู้ทรงพลัง ผู้เห็นเดือนเห็นตะวันได้มิใช่ผู้มีสายตาดี ผู้ที่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง ก็ไม่ใช่ผู้มีประสาทหูดี

ผู้ได้ชื่อว่าเชี่ยวชาญการศึกในสมัยโบราณ เขาชนะเพราะว่า เหตุที่อาจเอาชนะได้ง่าย ฉะนั้นชัยชนะของผู้เชียวชาญจึงไม่มีนามบันลือในสติปัญญา ไม่มีความดีทางความกล้าหาญ

ดังนั้น ชัยชนะของเขาเป็นสิ่งที่แน่นอน ไม่ผันแปรที่ว่าไม่ผันแปรนั้น ก็โดยที่เขารบต้องชนะ ชนะเพราะว่าข้าศึกแพ้แล้วนั่นเอง

ดังนั้นก่อนอื่น ผู้ที่เชียวชาญการศึก ต้องอยู่ในฐานะไม่แพ้และไม่พลาดโอกาสที่ข้าศึกจักต้องแพ้ด้วย

ด้วยเหตุนี้กองทัพที่กำชัยชนะ จึงรบเมื่อเห็นชัยแล้ว แต่กองทัพที่แพ้ จะรบเพื่อหาทางชนะ

ผู้เชี่ยวชาญการศึกมุ่งผดุงคุณธรรม และรักษาระเบียบวินัย จึงสามารถประสิทธิ์โชคชัยได้

หลักยุทธศาสตร์มีอยู่ว่า

1. ศึกษาภูมิประเทศ

2. การคำนวณความสั้นยาวแห่งยุทธบริเวณ

3.การว่างอัตราพลรบ

4.การหาจุดศูนย์ถ่วงแห่งกำลัง

5. สู่ความมีชัย อันลักษณะพื้นภูมิทำให้เกิดการคำนวณการคำนวณทำให้เกิดการวางอัตราพลรบ การวางอัตราพลรบ ทำให้เกิดความมีชัยในที่สุด

เมื่อกองทัพที่ชนะ(เมื่อเข้าทำศึกกับข้าศึก) จึงเสมือนเอาของ “หนัก” ไปชั่งกับของ “เบา”แต่กองทัพที่แพ้ กลับเสมือนหนึ่ง เอาของ “เบา” ไปชั่งเทียบกับของ “หนัก”

การทำสงครามของผู้กำชัยชนะเปรียบประดุจปล่อยน้ำที่ทดไว้ให้พุ่งสู่ห้วยเหวลึกตั้งพันเยิ่น นี่คือลักษณะการยุทธแล




Create Date : 18 สิงหาคม 2558
Last Update : 18 สิงหาคม 2558 5:02:23 น.
Counter : 337 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1940642
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31