ซุนวู บทที่หนึ่ง การวางแผนเบื้องต้น

บทที่หนึ่งการวางแผนการเบื้องต้น

ซุนวูกล่าวว่า“การสงครามเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศชาติ เป็นจุดความเป็นความตายเป็นวิถีทางอันนำไปสู่การคงอยู่หรือดับสูญ พึงพินิจพิเคราะห์ให้จงหนักทีเดียว

ฉะนั้นจึงวินิจฉัยด้วยข้อสาเหตุห้าประการเปรียบเทียบถึงภาวะต่างๆ เพื่อทราบความจริง กล่าวคือ 1 ธรรม 2ดินฟ้าอากาศ 3 ภูมิประเทศ 4 ขุนพล 5 ระเบียบวินัย

ธรรม คือสิ่งที่บรรดาให้ ประชาชน ร่วมจิตสมานฉันท์ กับฝ่ายผู้นำ ร่วมเป็นร่วมตายโดยมิได้ระย่อต่อความเป็นภยันตรายใดๆเลย

ดินฟ้าอากาศคือเวลากลางวันกลางคืน ความร้อนความหนาวและความผันแปรเปลี่ยนแปลงแห่งอากาศ

ภูมิประเทศ ก็คือความใกล้ไกล ความทุรกันดาร หรือราบเรียบ แห่งพื้นที่ ความกว้างแคบของแนวรบตลอดจนยุทธภูมินั้นอยู่ในลักษณะเป็นตายอย่างไร

ขุนพลคือบุคคลผู้ประกอบด้วยสติปัญญา ความเที่ยงธรรม ความเมตตา ความกล้าหาญและความเข้มงวดเด็ดขาด

ระเบียบวินัยคือระบบการจัดสรรพลรบ วินัยแห่งทหาร และค่าใช้จ่ายของกองทัพ

สาเหตุห้าประการนี้ แม่ทันนายก่องย่อมรู้กันอยู่ทั่วๆกัน แต่ทว่าผู้รู้จริงจึงชนะ ผู้รู้ไม่จริงจึงปราชัย

ด้วยเหตุฉะนี้จึงต้องเปรียบเทียบสาเหตุต่างๆ เพื่อทราบความจริง กล่าวคือ ประมุขฝ่ายไหนมีธรรมขุนพลฝ่ายไหนมีสมรรถภาพ ดินฟ้าอากาศอำนวยประโยชน์แก่ฝ่ายใด การบังคับบัญชาฝ่ายไหนยึดปฏิบัติมั่นมวลพลฝ่ายไหน เข้มแข้ง ทหารฝ่ายไหนชำนาญศึก การปูนบำเหน็จ หรือลงโทษ ฝ่ายไหนทำได้ด้วยความเที่ยงธรรมจากเหตุเหล่านี้ ก็พอหยั่งถึงความมีชัยหรือความปราชัยได้แล้ว

แม่ทัพนายกองคนใดเห็นด้วยกับยุทโยบายของเราเอาไว้ชนะคงชนะ จงรับไว้ใช้ ผู้ใดไม่เห็นชอบด้วย ขืนใช้ไป คงจะต้องประสบความพ่ายแพ้แน่นอนก็ให้เขาออกจากหน้าที่ไปเถิด

เมื่อได้วางแผนการรบเหมาะสมและผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นชอบและเชื่อฟังดีแล้วก้าวต่อไป ก็คือสร้างเหตุการณ์ให้เกิดขึ้น เพื่อคอยเป็นกำลังเสริมทางภายนอกอีกด้านหนึ่ง อันว่าเหตุการณ์อันจะปลุกเสกขึ้นนั้น เรามิต้องถือเป็นหลักการตายตัวจงกระทำไปเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเราก็แล้วกัน

ยุทธศาสตร์คือวิชาเล่ห์เหลี่ยมแต้มคู

เพราะฉะนั้นเมื่อเรามีความสามารถจริง พึงแสดงให้เห็นว่า เราไม่มีความสามารถเลย

ครั้นตกลงจะทำการต่อสู้ด้วยแล้วให้แสดงประหนึ่งว่า ไม่มีความประสงค์เช่นนั้น

สิ่งใดใกล้ก็แสดงให้เห็นว่า ไกล สิ่งใดไกล ก็แสดงให้เห็นว่า ใกล้

คอยล่อศัตรูด้วยอามิสประโยชน์

เมื่อศัตรูแตกแยกร่ำส่ำระสายแล้วก็พึงเข้าหักเอา

จงเตรียมพร้อมเมื่อข้าศึกบริบูรณ์

หลีกเลี่ยงเมื่อข้าศึกเข้มแข็งแข็งกล้าอยู่

เย้าเมื่อศัตรูอยู่ในโทสจริต

พึงถ่อมตัว พินอบพิเทาเสริมให้ศัตรูโอหังได้ใจ

ต้องรังควาญให้เหน็ดเหนื่อยระอา เมื่อศัตรูพักผ่อนถนอมกำลัง

ยุรำตำรั่วให้ศัตรูแตกแยกความสามัคคี

พึงหักเอาเมื่อเขาไม่ได้เตรียมพร้อม เข้าจู่โจม ยามเมื่อเขาไม่ได้คาดฝัน

ทั้งนี้เป็นเงื่อนงำของทางทหารจงอย่าแย้มพรายให้ศัตรูล่วงรู้เจตนาแท้จริงของเราเป็นเด็ดขาด

อันแผนการที่ได้วางแผนกันอย่างดีในห้องประชุมและได้บ่งชี้ว่าชัยชนะ ตั้งแต่เมื่อยังไม่ได้ทำการรบกันย่อมเนื่องจากได้พิจารณาทบทวนแผนการนั้นโดยรอบคอบแล้ว ตรงกันข้าม จะปรากฏลางแพ้ตั้งแต่ต้นมือเมื่อการวางแผนการรบยังไม่ละเอียดรอบคอบ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นแล้ว นับประสาอะไรกับการสงครามซึ่งไม่ได้วางแผนการเสียเลยและด้วยสิ่งเดียวนี้ ก็ประจักษ์ชัดถึงโชคชัยและปราชัยแล้ว




Create Date : 17 สิงหาคม 2558
Last Update : 17 สิงหาคม 2558 21:08:12 น.
Counter : 987 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1940642
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31