ซุนวู บทที่สอง การดำเนินการสงคราม
บทที่สอง

การดำเนินสงคราม

ซุนวู กล่าวว่าการเคลื่อนพลนั้น รถใช้ในการโจมตี อันเทียมด้วยม้าสี่ และรถพิทักษ์หุ้มเกราะหนังแต่ละพันคัน พลรบนับแสน ซึ่งพร้อมสรรพด้วยเกราะ โล่ห์ดั้งแขนการลำเลียงอาหารในระยะทางไกลตั้งพันโยชน์ ค่าใช้จ่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศรายจ่ายในการรับรอง ฑูตานุทูต ค่าเครื่องอุปกรณ์อาวุธ เช่นกาวหรือยางไม้ ค่าซ่อมแซม เครื่องรบนานาชนิดต้องใช้จ่ายวันละตำลึงทอง จึงจะสามารถยกพลจำนวนเรือนแสนได้

ดังนั้นการนำพลเข้าโรมรันกัน หลักสำคัญคือ รีบคว้าเอาชัยชนะในเร็ววันถ้าปล่อยให้การรบยืดเยื้อแล้ว อาวุธยุทโธปกรณ์จะลดความคมกล้าขวัญทหารนับวันจะเสื่อมลง เมื่อคิดจะโหมเข้าหักเมือง กำลังรี้พล ก็อ่อนเปลี้ยแล้วกองทัพต้องติดศึกอยู่นานวันฉะนี้ การคลังของประเทศก็เข้าตาจน

อันอาวุธขาดความคมกล้าขวัญทหารเสื่อมโทรม กำลังรี้พลกะปลกกะเปลี้ย และทรัพย์สินเงินทองฝืดเคืองเมื่อเป็นเช่นนี้ ประเทศราชทั้งหลายก็จักฉวยโอกาสลุกฮือทันที

เมื่อเป็นเช่นนี้ถึงแม้จะมีผู้สติปัญญาเฉียบแหลมปานใดก็ไม่สามารถบริหารงานให้ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น

ตามที่ทราบมาการรบนั้น แม้แต่ผู้เขลาก็ยังทราบว่า ต้องการความรวดเร็ว ไม่เคยปรากฏว่าผู้ฉลาดใดนิยมการยืดเยื้อชักช้าเลย

อันการศึกติดพันกันเป็นเวลานานแต่ประเทศชาติกลับได้ประโยชน์จากเหตุนั้นยังไม่เคยปรากฏเลย

ผู้ใดไม่ทราบผลร้ายของสงครามโดยถ่องแท้ ผู้นั้นย่อมไม่ซาบซึ้งในผลดีของสงครามเช่นเดียวกัน

ผู้สันทัดจัดเจนในการศึก เขาไม่ระดมพลถึงคำรบสองเขาจะไม่ลำเลียงเสบียงอาหารถึง สามครั้ง อาวุธยุทโธปกรณ์ เครื่องใช้ซ่อมจากประเทศของตน แต่เสบียงอาหารพึงเอามาจากศัตรู ด้วยเหตุนี้อาหารของเหล่าทหารจึงเพียงพอ

ประเทศจะยากจนก็เพราะต้องส่งเสบียงอาหารแก่กองทัพในระยะทางไกล ด้วยว่า การกระทำเช่นนั้นย่อมทำให้ เหล่าประชายากแค้นแสนเข็ญ

ในเขตทหารจะซื้อสิ่งของ ก็ต้องซื้อด้วยราคาแพงของแพงจักทำให้เงินทองของราษฏรร่อยหรอสิ้นเปลืองไป การสิ้นเปลืองนี้แหละจะนำซึ่งการเกณฑ์สรรพวัตถุต่างๆอีก

กำลังแรงงานและกำลังทรัพย์ของประเทศ ต้องสิ้นเปลืองไปจนหมดสิ้น ทุกครัวเรือนจักว่างเปล่ารายได้ของประชาราษฎร์ ต้องถูกเกณฑ์ใช้ เจ็ดในสิบส่วน

การสิ้นเปลืองของประเทศอาทิ รถรถที่ชำรุดเสียหาย ม้าลาที่พิกลพิการ เสื้อเกราะ หมวกเหล็ก ธนู หอกหลาวดั้งแขน โล่ใหญ่ ตลอดจนวัวเขื่อง และรถหนักจะต้องสูญเสีย หกในสิบส่วน

ฉะนั้นขุนพลผู้ประกอบด้วยสติปัญญา พึงหาเลี้ยงรี้พลของตนจากศัตรูการกินข้าวของศัตรูหนึ่งส่วนมีผลดีเท่ากับกินของตนเองยี่สิบส่วนใช้พืชเลี้ยงสัตว์พาหนะของ ต้นถั่วหรือฟางข้าวหนึ่งส่วน เท่ากับใช้ของตนเอง ยี่สิบส่วน

ดังนั้นการที่จะให้ทหารเข่นฆ่า ข้าศึก ก็โดยปลุกปั่นให้เกิดความเคียดแค้นจะให้รี้พลหักหาญเข้าช่วงชิงสัมภาระทั้งหลายของศัตรูก็โดยให้สินจ้างรางวัล

ดังการรบด้วยยานรถผู้จับรถข้าศึกได้สิบคันขึ้นไป ต้องปูนบำเหน็จทหารเข้ายึดคนแรกได้ให้ถึงขนาดแล้วเปลี่ยนธงประจำรถขึ้นทำเนียบของเรา เชลยศึกซึ่งจับได้นั้น ต้องเลี้ยงดูโดยดีเพื่อช่วงใช้ตามควร นี่แหละจะได้ชื่อว่า ยิ่งชนะศึกเพียงใดก็ยิ่งเพิ่มความเกรียงไกรแก่ตนเอง เพียงนั้น

เพราะฉะนั้นการทำสงคราม ต้องรีบกำชัยชนะเผด็จศึกในเร็ววัน ไม่ควรเนิ่นช้าอยู่ ขุนพลผู้รอบรู้การศึกคือวีรบุรุษผู้กำความเป็นความตายของประชาชนและผู้แบกไว้ซึ่งภาระอันนำความร่มเย็นหรือทุกข์เข็ญแก่ประเทศชาตินั้นแล




Create Date : 17 สิงหาคม 2558
Last Update : 17 สิงหาคม 2558 21:12:55 น.
Counter : 419 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1940642
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31