ซุนวู บทที่สิบสอง การใช้เพลิง

บทที่สิบสอง

การพิฆาตด้วยเพลิง

ซุนวูกล่าวว่าอันการพิฆาตด้วยเพลิงมีห้าอย่าง หนึ่ง ครอกพลเมืองข้าศึก สองเผาผลาญบรรดาเสบียงอาหารของข้าศึก สาม ทำลายกองลำเลียง สี่ กวาดล้างคลัง ยุทธโธปกรณ์ ห้า พิฆาตรี้พลศัตรู

แต่การใช้เพลิงต้องมีกรณีแวดล้อมเหมาะสม และเครื่องอุปกรณ์เชื้อเพลิง ต้องเตรียมไว้ให้พร้อม

ย่อมมีกำหนดเวลาในการวางเพลิงวันจะใช้เพลิง ก็ควรจะต้องตามฤดูกาล เวลาจะวางเพลิงต้องคอยวันเวลาที่อากาศแห้งแล้ง ส่วนฤดูที่จะใช้ เพลิงต้องรอเมื่อพระจันทร์โคจรระหว่างกลุ่มดาว ซึ่งเป็นวันที่ลมพัดจัดแล

อันการพิฆาตด้วยเพลิงต้องใช้กำลังทหารสำทับตามประเภทการใช้เพลิงทั้งห้าอีกด้วย

กล่าวคือเมื่อเกิดเพลิงภายในค่ายข้าศึก พึงตีซ้ำจากภายนอก

หากเกิดเพลิงขึ้นแล้วข้าศึก ยังเงียบเชียบอยู่ จงคอยที อย่าเพิ่งวู่วามเข้าตี

เมื่อเพลิงไหม้ลุกลามจนขีดสุดเห็นควรซ้ำเติมได้ จึงลงมือทันที ถ้าเห็นว่า ยังไม่ใช่โอกาส ก็พึงระงับเสีย

ในกรณีก่อเพลิงภายนอกได้สะดวกก็ไม่จำเป็นให้เกิดจากภายใน ควรกำหนดวันเวลาจัดการเสียทีเดียว

ในขณะลุกไหม้ทางเหนือลมจงอย่าเข้าตีทางด้านใต้ลม

ลมในเวลากลางวันพัดนานในเวลากลางคืน สงบ

การศึกนั้นพึงรู้การเปลี่ยนแปลง อันเนื่องแต่ละประเภทการใช้เพลิงทั้งห้า และระมัดระวังตนเองตามหลักคำนวณพยากรณ์

เพราะฉะนั้นผู้ที่ใช้เพลิงประกอบการโจมตี จึงสัมฤทธิ์ผลแน่ชัดส่วนวิธีการปล่อยน้ำเข้าช่วยทำลาย เพียงแต่เพิ่มพูนกำลังให้ยิ่งใหญ่ด้วยว่าน้ำนั้น ตัดทางคมนาคมของข้าศึกได้ แต่ไม่อาจบดขยี้ข้าศึก ให้แหลกลาญไป

อันการศึกนั้นแม้จะได้ชัยชนะในบั้นปลายก็ตาม แต่ถ้าไม่สามารถย่นระยะเวลารบ โดยเผด็จศึกเร็ววันย่อมเป็นโทษมหันต์จึงขอให้ชื่อว่า เพ่อหลิวหมายถึงการกระทำให้เสียทรัพย์สมบัติและชีวิตมนุษย์ โดยไม่ได้รับผลเป็นแก่นสารเลยด้วยเหตุนี ราชาผู้ทรงธรรมพึงใคร่ครวญผลได้ผลเสีย ในการทำสงครามให้จงหนักและขุนพลที่ดี ย่อมเผด็จศึกได้ในเร็ววัน

เมื่อไม่เห็นประโยชน์ก็ไม่พึงเคลื่อนทัพ เมื่อไม่สามารถเอาชนะ ก็ไม่พึงใช้กำลังทหารเมื่อไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมอันตราย ก็ไม่พึงทำสงคราม

พระราชาไม่ควรก่อสงครามเพราะความโกรธแค้น ขุนพล อย่ารบรุกด้วยเพราะความโกรธเกลียด ลงมือก็ต่อเมื่อเห็นผลประโยชน์ พึงระงับเสีย เมื่อเห็นทีจะเสียผลอันความโกรธก็อาจจะกลายเป็นยินดี ความแค้นก็อาจจะกลายเป็นหรรษาได้เช่นกันแต่ประเทศที่ล่มแล้วหวังดำรงอยู่ คนที่ตายแล้วจะกลับฟื้นชีพหาได้ไม่

เพราะฉะนั้นพระราชาจึงระมัดระวังต่อการทำศึกอย่างยิ่งยวด ขุนพลที่ดี ก็ย่อมสังวรณ์ไม่บุ่มบ่าม นี่คือวิธีดำรงประเทศให้ถาวร และรักษากำลังทัพให้สมบูรณ์คงไว้แล




Create Date : 18 สิงหาคม 2558
Last Update : 18 สิงหาคม 2558 13:56:52 น.
Counter : 341 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1940642
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31